เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 14713 รบกวนสอบถามเกี่ยวกับผู้นำเชียร์ (ลีด) ของทางฝั่งจุฬาฯ ครับ
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


 เมื่อ 17 มิ.ย. 13, 22:48


รบกวนสอบถามท่านผู้รู้ว่า เริ่มมีการนำเชียร์มาตั้งแต่ฟุตบอลประเพณีครั้งที่เท่าไรครับ  อีกข้อที่อยากรบกวนสอบถามก็คือ ทำไมท่าเชียร์ของลีดผู้ชายถึงยืนหน้าตรง แต่ทำไมของลีดสุภาพสตรี ถึงต้องหมุนตัวไปทางซ้ายอย่างเดียวครับ

รบกวนสอบถามเท่านี้ครับ
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 18 มิ.ย. 13, 02:01

สงสัยต้องรอซายาเพ็ญฯมาตอบครับ    ข่าวลือไม่ได้กรองจากเจ้ากรมข่าวลือได้ยินมาว่าสมัยซายาเพ็ญฯ เป็นนิสิต รู้สึกจะเคยเป็นคนถือพระเกี้ยวด้วยหรือไงนี่แหละ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 18 มิ.ย. 13, 08:08

สมัยเป็นนิสิตเคยแต่นั่งบนสแตนด์เชียร์ ความจริงก็นั่งเชียร์มาแต่ชั้นมัธยมแล้ว รูปแบบการเชียร์ของเด็กมัธยมก็ถ่ายทอดมาจากรุ่นพี่ที่อยู่ในมหาวิทยาลัยอีกที

สิ่งหนึ่งที่สมัยเด็กทำได้ แต่เมื่ออยู่เป็นรุ่นจูเนียร์หรือซีเนียร์แล้วทำไม่ได้คือการออกเสียง "วี้ด......." ในเพลงบูมนี่แหละ

สำหรับข้อข้องใจของคุณสมุน ๐๐๗ ไม่ทราบว่าข้อมูลในกระทู้ที่พันทิปนี้จะพอช่วยได้หรือเปล่า

http://topicstock.pantip.com/chalermthai/topicstock/2007/11/A6031629/A6031629.html

บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 18 มิ.ย. 13, 09:22

สมัยผม ผมเป็นยาม (รปภ.) ครับ ดูแลพื้นที่อยู่แถวๆหน้าสแตนด์เชียร์ แฮ่ๆ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 18 มิ.ย. 13, 09:51

ผู้นำเชียรสมัยก่อน จะเป็นชายแท้มาดผู้นำ ลงมายืนหน้ากองเชียรเพื่อให้จังหวะการร้องเป็นไปโดยพร้อมเพรียง คล้ายกับคอนดักเตอร์ที่ทำหน้าที่อยู่หน้าวงดนตรี ส่วนใหญ่ประธานเชียรจะเป็นผู้ทำหน้าที่นี้เสียเอง บางครั้ง ประธานเชียรหญิงจะสลับเข้ามาบ้าง ก็ดูดี สง่างาม เป็นธรรมชาติ

ดูเหมือนว่าเกษตรจะเป็นผู้นำในการเชียรที่ทุกคนเปล่งเสียงหนักแน่น เร้าใจ แบบอัฒจรรย์แทบจะถล่มทลาย เริ่มต้นที่รักบี้ กีฬายอดนิยมในสมัยนั้น ซึ่งแต่ไหนแต่ไรมา กองเชียรทุกสถาบันจะออกแนวเถื่อนๆ เกษตรมาทำให้การเชียรกีฬามีอารยะธรรมขึ้น
เหตุที่เกษตรทำได้ เพราะนิสิตใหม่อยู่หอทุกคน การเรียกมาซ้อมร้องเพลงเชียรจึงทำได้ทั้งกลางวันกลางคืน และก็ทำอยู่แล้ว พอเอามารวมกันเชียรกีฬาของมหาวิทยาลัย ก็ทำได้ทันทีอย่างดีเยี่ยม

ภายหลัง จุฬาและธรรมศาสตร์ก็เอามั่ง เรียกประชุมน้องใหม่รวมกันในหอประชุมใหญ่เพื่อซ้อมร้องเพลงเชียรของมหาวิทยาลัย ผู้นำในการให้จังหวะก็จะเป็นประธานเชียรและทีมงาน ออกแนวดุดันเพื่อให้ดูเป็นแมน ตอนหลังลดความกร้าวตรงนี้ลงโดยจัดผู้หญิงมาเป็นเชียรลีดเดอร์บ้าง แต่ยังคงเน้นท่าที่ตรงไปตรงมาในการรักษาจังหวะ เพื่อให้การร้องเป็นไปโดยพร้อมเพรียง
เมื่อผมจบออกมาแล้ว เชียรลีดดิ้งเริ่มกลายพันธุ์เป็นการแสดง มีการคัดเอานิสิตหญิงสวยๆมาหัดท่าทางต่างๆ (คงเอาแบบมาจากเมืองนอก)และแต่งกายแบบแฟนซี จนสุดท้าย เชียรลีดเดอร์ผู้ชายแท้ๆก็โดนเบียดออกไป เพราะท่าเชียรกลายเป็นท่าเต้น ที่เน้นจะโชว์ความสามารถของพวกตน มากกว่าที่จะทำให้การร้องเพลงเชียรเป็นไปด้วยความตื่นเต้นเร้าใจ

ผมเคยดูในทีวี เห็นการเต้นหมู่ของเชียรลีดเดอร์ หลายครั้งเป็นคนละจังหวะกับการร้องเชียรบนอัฒจรรย์ จนต้องมีคนออกไปยืนโบกมือให้จังหวะคนร้อง ให้ร้องลงจังหวะกับคนเต้น แต่ทำอย่างไรก็ไม่เป็นผล ดูทุเรศมาก กล้องก็ซูมให้ดูพวกเชียรลีดเดอร์ทำหน้าเบื่อโลกอยากจะตายซะให้ได้เสียอีก

ผมเลิกดูกีฬาไปหลายรายการ เพราะเห็นว่ามันเป็นการแสดงและเป็นธุรกิจไปหมดแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 18 มิ.ย. 13, 10:44

สมัยคุณนวรัตนเป็นนิสิต  วันบอลประเพณี ถ้าไม่ได้ลงสนามเสียเอง  ทำหน้าที่อะไรบ้าง พอจะฟื้นความหลังได้ไหมคะ

จำอะไรเกี่ยวกับเชียร์ลีดเดอร์ไม่ค่อยได้ค่ะ    เพราะตอนอยู่ปี 1  มัวตื่นเต้นว่าเพื่อนคนไหนถูกคัดเลือกเป็นดรัมเมเยอร์มากกว่า   เพราะชุดดรัมเมเยอร์จะพิสดารกว่าชุดเชียร์ลีดเดอร์   ร้อยทั้งร้อยนุ่งกระโปรงสั้นมากๆ   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 18 มิ.ย. 13, 11:03

ตอนนี้เพื่อนอักษรรุ่นเดียวกัน มาชุมนุมกันใน Facebook ค่ะ     เลยเข้าไปตั้งคำถามไว้แล้วเรื่องลีดจุฬาฯ   เดี๋ยวคงได้คำตอบ  
เท่าที่จำได้ในสมัยนั้นเชียร์ลีดเดอร์มีทั้งผู้ชายผู้หญิง แต่จำนวนปีละไม่กี่คน    คณะอักษรมีแต่ผู้หญิง   ผู้ชายพลัดเข้ามาเรียนน้อยมาก  อย่าว่าแต่จะหาหนุ่มที่หุ่นให้เป็นเชียร์ลีดเลย  แค่เอาตัวมาให้ครบทีมโดยไม่เลือกสูงต่ำดำขาวก็หายากมากแล้ว

ท่าหลีดในสมัยนั้นไม่มีอะไรพิสดารเหมือนเดี๋ยวนี้   ให้จังหวะคือให้จังหวะ    ไม่ใช่ว่าคนให้จังหวะเต้นโชว์เสียเอง  การแต่งกายก็แค่รัดกุมทะมัดทะแมง  แต่ไม่มีการออกแบบเป็นจุดสนใจ    แค่สวมถุงมือขาวให้เห็นลีลาชัดๆ  
พูดก็พูดเถอะ พอทีมบอลลงสนาม ความตื่นเต้นก็พุ่งไปสู่จุดศูนย์กลางที่สนามกันหมด     พี่ๆเขาให้ร้องเพลงเชียร์ก็ร้องไป  ร้องไปตบมือไปเป็นจังหวะ มันไม่ผิดพลาดอยู่แล้ว    เลยมองข้ามเชียร์ลีดเดอร์ริมสนามไปทั้งรายการเลย  
คงจะเป็นเหตุผลนี้เอง เลยจำอะไรเกี่ยวกับเชียร์ลีดเดอร์ไม่ได้ค่ะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 18 มิ.ย. 13, 11:30

ผมเล่นแต่รักบี้ครับ ฟุตบอลไม่ถนัด

ฤดูบอลประเพณี ก็ช่วยเขาลงโค็ดแปรอักษร ซึ่งเป็นงานที่คณะถาปัดได้รับมอบหมายให้ทำ เป็นงานหนักมาก ใช้คนหลายสิบ ผลัดกันทำทั้งกลางวันกลางคืนร่วมเดือน

แล้วแบ่งเวลามาคิดว่าจะร่วมพาเหลดของคณะอย่างไร เขาจะกำหนดตีมกว้างๆ เช่น ปีหนึ่งเขากำหนดให้เล่นเรื่องเกี่ยวกับวรรณคดีไทยนะ พวกผู้หญิงก็จะแต่งเป็นนางเงือกบ้าง ผู้ชายก็แต่งเป็นตัวละครโน่นนี่ ส่วนผมปีนั้นออกแบบและทำชุดหกเขยตีคลีขึ้นมา วันจริงก็หาเพื่อนที่ยังไม่รู้จะเล่นอะไรมาสมทบให้ครบหกคน ขี่ม้าอย่างในรูปนี้ไปเชียรบอล ตอนแรกๆก็สนุกอยู่ แต่เดินไปๆชักหนัก เพราะโครงทำจากไม้ไผ่หุ้มด้วยลวดกรงไก่ แล้วเอากระดาษปิดกาวแปะทับทีจะชั้นๆเป็นตัวม้า เห็นจะหลายสิบกิโลอยู่ แล้วมาตกอยู่ที่คนเดินหน้า(คือผม)กับคนหลัง คนอยู่กลางสบายหน่อยไม่ต้องแบก มีอารมณ์สามารถทะลึ่งกับคนดูได้เป็นอย่างดี

แต่กว่าจะถึงสนามศุภต้องจอดพัก ถอดเข้าถอดออกไม่รู้กี่เที่ยว พอไปถึงสนามตัวม้าก็พังเละเสียแล้ว แทบจะดูไม่ออกว่าไอ้บ้าหกคนนี้มันเล่นอะไรของมัน เดินอยู่พักหนึ่งทีมงานเขาก็มาไล่ออกจากสนามไป


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 18 มิ.ย. 13, 15:37

ฮิฮิ กระทู้นี้ลูกพระเกี้ยวเลยได้มาลำลึกความหลังกัน
รุ่นคลาสสิคสุดน่าจะเป็นซายานวรัตนฯ   ส่วนซายาเพ็ญฯกับท่านอาจารย์เทาฯ นี่ไม่รู้ใครอาวุโสกว่ากัน เดาไม่ถูกเลย
ผมสงสัยแต่ซายาเพ็ญฯ นี่ศิษย์เก่าคณะไหนครับ เพราะในเรือนไทยนี่ท่านเหมือนอับดุล ใครถามอะไรมาทั้งภาษาไทย ประวัติศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ฯลฯ เห็นท่านตอบได้หมด


เดี๋ยวนี้รู้สึกว่าฟุตบอลประเพณีนี่จุดสนใจไม่ได้อยู่ที่ฟุตบอลอีกต่อไปแล้วนะครับ การแข่งฟุตบอลกลายเป็นส่วนประกอบย่อย จุดสนใจกลับอยู่ที่ตัวเชียร์ลีดเดอร์ของแต่ละฝ่าย รองลงมาก็ขบวนแห่ล้อการเมือง ส่วนการแข่งฟุตบอลกลายเป็นส่วนเติมเต็มให้งานกีฬาประเพณีดูเป็นกีฬาไปแล้ว  เพราะทุกๆ ปี ผมจะเห็นแต่ข่าวว่าเชียร์ลัดเดอร์ของแต่ละฝ่ายเป็นใคร แล้วก็มีภาพน่ารักๆ ใสๆ ของสาวๆ เต็มไปหมด ส่วนนักฟุตบอลคือใครไม่มีใครสนใจ   เจ๋ง  เจ๋ง  เจ๋ง
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 18 มิ.ย. 13, 15:59

ส่วนซายาเพ็ญฯกับท่านอาจารย์เทาฯ นี่ไม่รู้ใครอาวุโสกว่ากัน เดาไม่ถูกเลย

คุณเทาชมพูท่านอาวุโสกว่าหลายปี

ผมสงสัยแต่ซายาเพ็ญฯ นี่ศิษย์เก่าคณะไหนครับ เพราะในเรือนไทยนี่ท่านเหมือนอับดุล ใครถามอะไรมาทั้งภาษาไทย ประวัติศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ฯลฯ เห็นท่านตอบได้หมด

การศึกษามิได้หมายถึงเพียงในห้องเรียนเท่านั้น ในโลกอินเตอร์เน็ตนี้ก็มีความรู้มากมายให้ค้นหา   ยิ้มเท่ห์

เดี๋ยวนี้รู้สึกว่าฟุตบอลประเพณีนี่จุดสนใจไม่ได้อยู่ที่ฟุตบอลอีกต่อไปแล้วนะครับ การแข่งฟุตบอลกลายเป็นส่วนประกอบย่อย

จุดประสงค์หลักของการแข่งขันฟุตบอลประเพณีเพื่อเชื่อมความสามัคคีระหว่างสถาบันเป็นหลัก

ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๘-๒๔๙๙ จิตร ภูมิศักดิ์ ประพันธ์เพลง มาร์ชธรรมศาสตร์-จุฬา สามัคคี เพื่อให้นิสิตนักศึกษาทั้ง ๒ สถาบันใช้ร้องในงานฟุตบอลประเพณี



บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 18 มิ.ย. 13, 16:24

สมัยผมอยู่ปี 1 งานฟุตบอลเป็นครั้งที่ 50 พอดี ในตอนนั้นมีการปล่อยข่าวลือกันว่า เขาจะเลิกจัดงานแล้ว เพราะคนสนใจน้อย ถ้าอยากให้งานมีต่อ ต้องช่วยกันทำงาน
สมัยนั้น คณะที่มีคนหล่อๆสวยๆ ก็จะต้องเป็นนิเทศ หรือทางอักษร ทางบัญชีอะไรแถวๆนั้น คณะนิติศาสตร์ ไม่ค่อยจะถึงเกณฑ์เท่าไหร่ ก็เลยรับงานประเภท ซ่อม Plate แปรอักษร หรืองานสร้างอุปกรณ์สำหรับขบวนล้อการเมืองแทน (จำได้ว่า ปีนั้นคณะผู้จัดงาน อยากได้ ปิรามิด ขนาดใหญ่ แต่แรงงาน เด็กนิติ ลืมวิธีคำนวณพื้นที่ผิดของทรงปิรามิดที่เรียนกันตอน ม. ปลายไปเสียแล้ว ไปซื้อแผ่นไม้อัดไม่ถูกว่า ต้องซื้อกี่แผ่น ต้องไปตามเพื่อนที่อยู่วิทยาฯ มาคำนวณให้ (ฮ่า)

อีกส่วนหนึ่ง ก็ไปรับหน้าที่เป็น รปภ. อย่างที่ผมเล่า ก็จะมีงาน 2 ส่วน คือ ดูขบวน กับ พวกคุมพื้นที่ คอยดูแลให้พื้นที่ ที่เราสงวนไว้สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ "ว่าง" ก็คือ ไม่ให้คนเข้าไปในพื้นที่เหล่านี้ เพราะถ้าคนเข้าไปมากๆแล้ว การจะเคลียร์คนจำนวนมากๆ ออกจากพื้นที่ จะทำได้ยากมาก ผมไปอยู่ส่วนนี้แหละ

หลังๆ คณะนิติ เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ มีคนหน้าตาดีๆ มากขึ้น นิสิตผู้ชายน้อยลง งานที่รับมาทำก็เปลี่ยนไป กลายเป็นลีดฯ กันเสียหลายคน (แต่เป็นคนเชิญพระเกี้ยวไม่ได้ เพราะ เกรดออกช้า (ฮ่าๆ)) งานใช้แรงงานก็เลยลดน้อยลงไป

ตอนนี้ ฟุตบอลประเภณี ครั้งที่เท่าไหร่แล้วหนอ   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 18 มิ.ย. 13, 17:16

ฮิฮิ กระทู้นี้ลูกพระเกี้ยวเลยได้มาลำลึกความหลังกัน
รุ่นคลาสสิคสุดน่าจะเป็นซายานวรัตนฯ   ส่วนซายาเพ็ญฯกับท่านอาจารย์เทาฯ นี่ไม่รู้ใครอาวุโสกว่ากัน เดาไม่ถูกเลย
ผมสงสัยแต่ซายาเพ็ญฯ นี่ศิษย์เก่าคณะไหนครับ เพราะในเรือนไทยนี่ท่านเหมือนอับดุล ใครถามอะไรมาทั้งภาษาไทย ประวัติศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ฯลฯ เห็นท่านตอบได้หมด

ถ้าอยากรู้ว่าซายาเพ็ญเคยเรียนอยู่คณะไหนต้องไปสังเกตดีๆที่กระทู้สัตว์ประหลาดค่ะ      แต่ถ้าดูทั้งเรือนไทยแล้ว    ท่านเหมาคณะในจุฬาไปเกือบหมด   คุณชายประกอบเทพยังไม่เคยถามเรื่องราวทางแพทย์  ทางบัญชี ทางเศรษฐศาสตร์ ทางกฎหมาย   ทางนิเทศ  ฯลฯ ก็ลองถามท่านดู

ไปทิ้งคำถามไว้ที่ FB กลุ่มเพื่อนชาวชงโคด้วยกันก่อนไปข้างนอก     บ่ายกลับเข้ามา ได้คำตอบว่า ในรุ่นเรามีเชียร์หลีดผู้หญิงประดับรุ่นอยู่คนเดียว  เลยเกือบจะไม่มีใครจำได้      เพื่อนยังบอกด้วยว่าสมัยนั้นพี่ๆเขาคัดเลือกหลีดผู้หญิง จากหุ่นสูง มาดแมน กำยำ ล่ำสัน   เพราะเป็นหลีดต้องตัวโต คนบนอัฒจันทร์จึงจะมองเห็นชัด   การออกท่าออกทางก็ต้องขึงขังเข้มแข็งเป็นจังหวะจะโคน   จึงจะเรียกจังหวะจากคนดูได้     ท่าหลีด ก็เอามาจากผู้ชายนั่นแหละ     ชายหญิงแต่งกายไม่ต่างกัน  
ทีนี้ผู้หญิงเข้าอักษรตอนปี 1 นั้นร้อยละร้อย น้ำหนักอย่างมากสุดก็ 45 ก.ก.  บางคนหนักแค่ 38 ก.ก. ความสูงก็ไม่ถึง 160 ซม. เลยหาคนมาเป็นหลีดหญิงได้ยากมาก     ทั้งรุ่นมีเพื่อนคนนี้ที่สูง สง่า  หน้าคม  มาดก็ห้าวนิดหน่อยเพราะเป็นเด็กซนมาตั้งแต่เรียนมัธยม    เลยได้เป็นหลีดของรุ่นอยู่คนเดียว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 18 มิ.ย. 13, 17:52

ไปเปิดกูเกิ้ลตามหาดรัมเมเยอร์จุฬาดู    เพราะเกิดสงสัยขึ้นมาว่า ปีหลังๆทำไมถึงได้ยินแต่คำว่า เชียร์ลีดเดอร์    ดาราสวยๆที่จบจุฬาธรรมศาสตร์ก็มักจะมีประวัติต่อท้ายว่าเคยเป็นเชียร์หลีดในมหาวิทยาลัยมาก่อน     เลยแปลกใจว่าทำไมไม่ได้เป็นดรัมเมเยอร์   เพราะตามตำนานจุฬา คนสวยของมหาวิทยาลัยและคณะล้วนเป็นดรัมเมเยอร์กันทั้งนั้น   
เลยพบข่าวของจุฬาในปี 2551  บอกว่า
"หนึ่งกิจกรรมที่จะเป็น "สีสัน" ให้กับงานนอกจากเชียร์ลีดเดอร์แล้ว ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังมีการรื้อฟื้น "ดรัมเมเยอร์" ขึ้นมาอีกด้วย หลังจากที่ "หาย" ไปนานถึง 14 ปี "
 "จริงๆ แล้วเริ่มต้นเพราะว่านิสิตคณะทำงานหยิบยกเรื่องดรัมเมเยอร์ขึ้นมา ซึ่งผมในฐานะรุ่นพี่ก็เห็นด้วย เพราะดรัมเมเยอร์ของจุฬาฯ ที่เป็นสีสันของงาน มันหายไปนานมาก ขณะที่ฟากธรรมศาสตร์เขามีทุกปี ครั้งสุดท้ายของจุฬาฯ คือ งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 50 ซึ่งตอนนั้นเป็นเหมือนช่วงรอยต่อของงานฟุตบอลประเพณี ช่วงนั้น งานนี้เป็นที่ได้รับความสนใจมากจนถึงจุดหนึ่ง ความสนใจถึงขีดสุดแล้วก็เริ่มซาลง ดรัมเมเยอร์ของจุฬาฯจึงหายไปด้วย"

http://campus.sanook.com/911350/%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%AC%E0%B8%B2%E0%B8%AF%E0%B8%9F%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99-%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C/


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 18 มิ.ย. 13, 20:52

บอลประเพณีในสมัยก่อนโน้น เป็นงานใหญ่ของปี ในสายตาคนกรุงเทพ     หนังสือพิมพ์ใหญ่ 2 ฉบับแห่งยุคคือไทยรัฐกับเดลินิวส์จะเริ่มทยอยลงข่าวเมื่อใกล้วันงาน    และเมื่อผลการแข่งบอลออกมาเป็นยังไง วันรุ่งขึ้นก็พาดหัวข่าวตัวเบ้อเริ่ม      อาจเป็นเพราะในยุคนั้นเป็นยุคที่ห้ามประชาชนและนิสิตนักศึกษาสนใจการเมืองเด็ดขาด    ก็เลยไม่ค่อยจะมีข่าวอะไรให้หนังสือพิมพ์เล่นได้มากนัก นอกจากข่าวอาชญากรรมแล้ว ข่าวดีๆให้คนอ่านคลายเครียดบ้างก็คือข่าวบอลประเพณีตอนปลายปีนี่แหละค่ะ

นิสิตนักศึกษาตื่นเต้นล่วงหน้ากันเป็นเดือนๆ โดยเฉพาะพวกเข้าปีแรก      เพราะก่อนหน้านี้เมื่ออยู่ม.ปลาย ได้แต่ชะเง้อมองพี่ๆสวมเสื้อยืดสีชมพูเดินไปมาตามถนนในวันงาน  โฉบฉายผ่านหน้าร.ร.ไปมาน่าอิจฉายิ่งนัก     พอเข้าเรียนได้ก็นับวันนับคืนอยากไปร่วมงาน    แต่กว่าจะถึงวันนั้นก็ซ้อมเดินพาเหรดในสนามซะอ่วม   เพราะต้องฝึกเดินเข้าจังหวะตอนปิดเทอมกลางอยู่ตลอดช่วงปิดเทอม   แล้วยังต้องไปตัดเสื้อ ซื้อหมวกซื้อถุงมือสำหรับสวมในงานนี้โดยเฉพาะ     สีประจำคณะอักษรฯคือสีเทา   ชุดที่พี่ๆเขาดีไซน์มาให้ยังไงก็ไม่พ้นสีเทา      แฟชั่นสมัยนั้นเป็นสีสดใส    ก็คงเดาได้ว่าชุดสีเทาที่ใส่ในงานนี้ก็ใส่ได้แค่หนเดียวเท่านั้นก่อนจะซุกเข้ามุมลึกสุดของตู้     พวกที่เป็นดรัมเมเยอร์ก็เหมือนกัน   ชุดที่สวมก็ดีไซน์มาให้ใส่เฉพาะงานนี้งานเดียว  แต่ก็ไม่เห็นมีใครปฏิเสธ   

ความนิยมอีกอย่างคือพอถึงวันงาน  แต่เช้าพวกนิสิตนักศึกษาต่างก็แห่กันขึ้นรถสิบล้อบ้าง รถกระบะบ้าง ขับวนเวียนกันไปตามถนนสายต่างๆ    แผดเสียงร้องเพลงเชียร์กันไปตลอดทาง    พอรถสวนกันระหว่างสีชมพูกับเหลืองแดงก็วี้ดบู้มเข้าใส่กัน     ชาวบ้านร้านถิ่นก็มองกันหน้าตาตื่นเต้น     รถราที่สวนทางไปก็มีคนโบกมือให้  ไม่มีใครรังเกียจ   อาจเป็นเพราะสมัยนั้นกรุงเทพรถยังไม่ติดเท่าไหร่   มหาวิทยาลัยก็ยังมีน้อยแห่ง  ใครเข้าเรียนได้ชาวบ้านก็มองเป็นเทพระดับย่อยๆอยู่แล้ว  ทำอะไรก็ไม่น่าเกลียด  หรือน่าเกลียดชาวบ้านก็ไม่กล้าว่า       ถ้าเป็นสมัยนี้คงโดนก่นด่ากันตั้งแต่ต้นทาง หรืออาจจะมีขวดน้ำขวดเบียร์ลอยมากระทบ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 18 มิ.ย. 13, 21:06

  บอลประเพณีสมัยนั้นจุดสนใจมีตั้งแต่เริ่มเปิดงาน     ส่วนการแข่งลงสนามเมื่อปิดท้ายรายการ ก็ยังได้รับความสนใจมากอยู่ดี  แต่ความตื่นเต้นเฮฮาไปอยู่ตั้งแต่ขบวนนิสิตนักศึกษาเคลื่อนเข้ามาในสนาม      ความเท่ที่สุดสมัยนั้นคือขบวนล้อการเมือง ยกป้ายถ้อยคำเสียดสีเจ็บๆคันๆ  โดยต้องระวังไม่ให้ก้าวร้าวมากไป    ไม่งั้นคนต้นคิดจะต้องออกจากมหาวิทยาลัยกันง่ายๆ    รองลงมาก็ล้อเลียนสังคม ยกเอาเหตุการณ์สดๆร้อนๆมาล้อกัน  แค่นั้นก็เท่เป็นที่เฮฮาถูกใจของคนดูมากแล้ว      ถ่ายทอดทีวีให้คนดูทางบ้านตื่นเต้นไปด้วย
  จากนั้นก็คือดรัมเมเยอร์เดินนำขบวนนิสิตนักศึกษาแต่ละคณะเข้ามา  มีดรัมเมเยอร์ไม้หนึ่งไม้สอง     ส่วนเชียร์ลีดเดอร์อยู่ริมสนาม หน้าอัฒจันทร์  ไม่ได้เป็นจุดเด่นอย่างสมัยหลังๆนี้
  คุยคนเดียวชักเบื่อ  ขอหยุดแค่นี้ก่อนค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.103 วินาที กับ 20 คำสั่ง