เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 3978 อยากทราบ .... มีใครทราบบ้าง
นวล
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 08 มิ.ย. 01, 15:10

พัดนภาพรประภา ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศานุวัดติวงศ์
ทรงเขียนถวายพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา
สำหรับงานทำบุญพระชันษาครบ 60 ปี เมื่อ พ.ศ. 2467 นั้น
เมื่อทำพัดเล่มนี้เสร็จแล้ว สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯ
ทรงปรารภว่า เสียดายที่ทรงคิดได้ช้าไป ควรจะทำต้นไม้ข้างหลังนั้น
เป็นต้นฝ้ายต้นหนึ่ง ต้นบุนนาคต้นหนึ่งจะดีกว่า
ด้วยเจ้าคุณจอมมารดาสำลีนั้น ท่านมีกำเนิดในสกุลบุนนาค

สิ่งที่อยากทราบก็คือ...
ต้นบุนนาคมีลักษณะอย่างไรคะ
ขอบคุณ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 18 พ.ค. 01, 19:47

มีรูปอยู่ที่เว็บนี้ค่ะ คุณนวล

http://kanchanapisek.or.th/cgi-bin/show2.cgi/kp6/BOOK22/pictures/l22-106d' target='_blank'>http://kanchanapisek.or.th/cgi-bin/show2.cgi/kp6/BOOK22/pictures/l22-106d
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW591x001.jpg'>
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 18 พ.ค. 01, 20:14

ส่วนต้น หาภาพประกอบไม่ได้  
เว็บที่ลงรายละเอียดเรื่องนี้ลงภาพผิด ค่ะ สับสนกับจันทร์กะพ้อ ดิฉันก็เลยไม่ได้ทำลิ้งค์ให้
แต่คัดรายละเอียดมาลงให้อ่าน แทน

บุนนาค (Mesua ferrea Linn.)

บุนนาคเป็นพันธุ์ไม้ในวงศ์ Clusiaceae (Guttiferae) พวกเดียวกับสารภี มะดัน มะพูด พบขึ้นตามป่าชื้น เป็นไม้เนื้อแข็ง เติบโตช้า มีชื่อเรียกอื่นๆ ตามท้องถิ่นดังนี้ เชียงใหม่เรียก สารภีดอย แม่ฮ่องสอนเรียก ก๊กก่อ ก้ำก่อ ปัตตานีเรียกปะนาคอ บุนนาคเป็นไม้ต้นขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง เปลือกเรียบ เรือนยอดเป็นพุ่มคล้ายเจดีย์ ใบดกทึบสีเขียวแก่ทางด้านบน ด้านล่างสีเขียวนวล ใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปรีหรือรูปรีแกมรูปใบหอกยาวประมาณ ๙ ซม. กว้าง ๒.๕-๓ ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน เนื้อใบเหนียวและค่อนข้างแข็ง ใบอ่อนออกเป็นกิ่งชุดใหม่ ห้อยลู่ลง สีนวลอมเขียวหรือสีแดง ระยะที่แตกใบอ่อนจึงสวยงามมาก ระยะที่มีดอกในช่วงเดือนมีนาคม-กรกฎาคม จะยิ่งสังเกตได้ง่าย ดอกออกตามซอกใบ มีขนาดใหญ่ ๖-๗ ซม. สีขาวหรือขาวอมชมพู กลีบดอกมี ๔ กลีบแผ่กว้างแต่ละกลีบรูปเกือบกลม ขอบเป็นลอนคลื่นเล็กน้อย ตรงกลางดอกมีเกสรจำนวนมากเป็นพู่สีเหลืองสด ทั้งดอกจึงดูคล้ายไข่ดาว และมีกลิ่นหอมแรง
พันธุ์ไม้ชนิดนี้มีประโยชน์มาก เนื้อไม้เหนียวและแข็งแรงทนทาน จึงได้ชื่อเป็น "iron wood" ใช้ในการก่อสร้างได้ทุกประเภท ราก ใบ ดอกใช้ เป็นสมุนไพร น้ำมันจากเมล็ดใช้จุดตะเกียงและทำเครื่องสำอาง ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
พระยาวินิจวนันดร อดีตอธิบดีกรมป่าไม้ ได้เขียนไว้ในหนังสือไม้ประดับบางชนิดของไทยที่ท่านรวบรวมไว้ดังนี้
"บุนนาคมีอยู่ทั่วไปตามป่าชื้น นอกจากเป็นไม้ดอกที่ดีที่สุดชนิดหนึ่งแล้ว ยังเป็นไม้ใบที่สวยงามน่าดู อันจะหาไม้อื่น เทียบได้ยากด้วย เพราะใบเขียวแก่ขนาดย่อม พุ่มทึบรูปเจดีย์ ใบอ่อนขาวๆ หรือแดงๆ ถ้าปลูกเป็นไม้ริมถนนกันมากๆ ในที่สุดก็จะได้ไม้แข็งแรงทนทานที่สุดชนิดหนึ่งใช้ด้วย"
บันทึกการเข้า
นวล
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 18 พ.ค. 01, 23:21

ขอบคุณค่ะ คุณเทาชมพู ให้ข้อมูลได้ไวจริงๆ
อิฉันลองนึกภาพของต้น พร้อมตอนแตกใบอ่อน
และออกดอกแล้ว น่าจะสวยงามมากนะคะนี่

ขอถามต่ออีกสักข้อนะคะ แล้วสกุล "บุนนาค" นี้
ได้มาจากชื่อพันธุ์ไม้นี้หรือเปล่าคะ หรือพันธุ์ไม้นี้
ได้ชื่อมาจากสกุล
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 19 พ.ค. 01, 08:37

สกุลบุนนาค สืบเชื้อสายขึ้นไปได้ถึงเจ้าพระยาเฉกอะหมัดในสมัยพระเจ้าทรงธรรม  อยุธยาตอนกลาง
 แต่ว่าชื่อนามสกุลมาจากบรรพบุรุษคนสำคัญสมัยต้นรัตนโกสินทร์คือเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค)สมุหกลาโหมในรัชกาลที่ ๑ ค่ะ
บันทึกการเข้า
ดาหาชาดา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 19 พ.ค. 01, 16:50

แล้วต้นฝ้ายต้นหนึ่ง หมายถึงใครคะคุณนวล
บันทึกการเข้า
อำแดงริน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 19 พ.ค. 01, 18:08

ขอมาเดาต้นฝ้ายค่ะ มาจาก"สำลี"ในชื่อเจ้าคุณจอมมารดาสำลี หรือเปล่าคะ
บันทึกการเข้า
นวล
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 20 พ.ค. 01, 01:18

ใช่แล้วค่ะ คุณอำแดงรินตอบถูก รับรางวัลจากเรือนไทยได้... ฮา ฮา ฮา

ขอบรรยายภาพพัดนภาพรประภานี้สักหน่อยนะคะ
จะได้เห็นว่างามแค่ไหน (อย่างกับว่าเห็นของจริงเองอย่างนั้นแหละ แหะ แหะ)

พัดเล่มนี้เจ้าของมีพระประสงค์ว่า จอให้มีหนูซึ่งเป็นนักษัตรปีประสูติอยู่ด้วย
แต่หนูเป็นสัตว์สกปรกผิดอนามัย เพราะฉะนั้นจะทรงพระดำริประการใด
ก็แล้วแต่จะโปรด สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯ จึงออกแบบถวาย

ใช้พื้นแพรสีฟ้าพิมพ์สีตดเป็นรูปหน้าต่างเวลาค่ำคืน เห็นท้องฟ้างามประเสริฐ
ซึ่งเป็นคำแปลของ "นภาพรประภา" มีต้นฝ้ายอยู่ข้างหลัง หมายความว่า
ทรงเป็นพระธิดาของเจ้าคุณจอมมารดาสำลี ที่ขอบหน้าต่างมีหนูเกาะอยู่ 6 ตัว
ซึ่งหมายความว่า ประสูติปีชวด และมีพระชันษาเวียนมาบรรจบครบปีชวด
อีก 5 ครั้ง นมเป็นอักษา น.พ.ป. ซึ่งเป็นพระนามย่อ
(พัดรูปร่างคล้ายเลขศูนย์นะคะ)
เสียดายที่สแกนภาพมาให้ดูไม่ได้

คุณเทาชมพูขา ขอบคุณค่ะ #4 แต่ที่อิฉันอยากทราบคือว่า
ท่านสมุหกลาโหม เจ้าพระยาอรรคฯ นั้น ท่านตั้งของท่านขึ้นเองก่อน
แล้วจึงค่อยเอาไปตั้งเป็นชื่อต้นไม้หรือเปล่านะคะ หรือว่าเป็น
ชื่อต้นไม้มาแต่โบราณกาลแล้ว
เพราะจำได้คลับคล้ายคลับคลาว่า นามสกุลเพิ่งมีกันในสมัย ร.6
แต่ก่อนหน้านั้นไม่มี เพียงแต่ว่าลำดับสายสกุลกันเองว่ามาจากสายไหน
หรือว่าอิฉันจำผิด ก็โปรดทักท้วง
บันทึกการเข้า
นวล
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 20 พ.ค. 01, 01:41

นึกขึ้นมาได้ เดี๋ยวคุณเทาชมพูจะงง
คืออิฉันหมายถึงว่า จะคล้ายกับต้นตาเบบูย่าหรือเปล่า
ที่ได้มีการตั้งชื่อใหม่เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใดนะคะ
บันทึกการเข้า
พระลาน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 20 พ.ค. 01, 02:22

พัดเล่มนี้มีความงามมาก เป้นภาพที่มีมิติ หาภาพพัดนั้นไม่เจอ ขอโพสต์ภาพพัดอื่น ฝีมือสมเด็จฯครู แทนหละกันนะ
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW591x009.jpg'>
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 20 พ.ค. 01, 02:45

เรื่องของสมเด็จฯ ครู ซึ่งทรงเป็นศิลปินชั้นครูอย่างยิ่งพระองค์หนึ่งของรัตนโกสินทร์ ทำให้ผมนึกถึงเรื่องหนึง ที่อาจจะละเอียดอ่อนไม่เหมาะสมก็ได้ ทางเรือนไทยจะพิจารณาลบความคิดเห็นของผมนี้ก็ได้ครับ

ในการที่จะกล่าวต่อไปนี้ หากเป็นการระคายเคืองประการใด พระราชอาญาไม่พ้นเกล้าพ้นกระหม่อม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน ทรงเป็นอัครศิลปินอีกพระองค์หนึ่งของรัตนโกสินทร์ ผลงานฝีพระหัตถ์ทางศิลปะของพระองค์นั้นไม่ต้องบรรยาย มีพระราชนิพนธ์ฝีพระหัตถ์อยู่ฉบับหนึ่ง คือเรื่องพระมหาชนกที่ทรงได้เค้าจากมหาชนกชาดก ซึ่งมีความวิเศษอย่างไรและทันสมัยทันเหตุการณ์อย่างไร ผมคงไม่ต้องกล่าวแล้ว เพราะวิเศษจริงๆ ทั้งภาษาและสาระ

ในหนังสือนั้น ทรงเอาพระทัยใส่โดยโปรดฯ ให้ศิลปินไทยร่วมสมัยชั้นนำ วาดรูปประกอบด้วย เป็นรูปที่มีความน่าสนใจทางศิลปะทั้งนั้น
นอกจากนั้น ตอนที่พระมหาชนกว่ายน้ำไปกลางทะเล เจอนางเมขลา มีภาพประกอบที่ในหลวงทรง "ปรุง" เอง จากคอมพิวเตอร์ส่วนพระองค์ และผู้จัดทำหนังสือได้อัญเชิญมาลงไว้ในหนังสือด้วย

ผมว่าผมจำฝีพระหัตถ์ได้ไม่ผิด รูปพระมหาชนกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในชาร์ตคอมพิวเตอร์นั่นเป็นฝีพระหัตถ์สมเด็จฯ ครูครับ ลูกศิษย์ท่านลองไปดูสิครับ พอผมดูไปดูมาก็แน่ใจเลยแหละ เพราะองค์ผู้ทรง "ปรุง" จากคอมพิวเตอร์ใหม่ คือในหลวง ท่านก็มิได้ทรงปิดบังแต่อย่างใดเลย ในชาร์ตนั่นยังมีพระสัญลักษณ์ประจำพระองค์สมเด็จฯ ครู อยู่ด้วย เป็นรูปตัว น. ลักษณะพิเศษ ชัดเลย ศิษย์สมเด็จฯ ครูเห็นต้องจำได้

ก็เพียงแต่บันทึกไว้เท่านั้นแหละครับว่า ชาร์ตคอมพิวเตอร์ฝีพระหัตถ์ที่ในหลวงทรง "ปรุง" ประกอบหนังสือพระมหาชนก พระราชทานแก่คนไทยนั้น ได้ทรงคัดสรรผลงานฝีพระหัตถ์ของศิลปินเอกแห่งรัตนโกสินทร์องค์หนึ่ง รวมเอาไว้ด้วย คือสมเด็จฯ ครู ถือได้ว่าพระราชรสนิยมทางศิลปะสูง และเป็นของขวัญพระราชทานแก่คนไทย ที่มีค่าทางศิลปะทีเดียว
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 20 พ.ค. 01, 02:52

ผมเห็นว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงให้เกียรติสมเด็จฯ ครูมาก โดยทรงโปรดให้มีพระสัญลักษณ์ประจำพระองค์สมเด็จฯ ครู รวมอยู่ในภาพฝีพระหัตถ์ด้วยครับ
บันทึกการเข้า
พระลาน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 20 พ.ค. 01, 03:52

สัญญลักษณ์ประจำพระองค์ของสมเด็จครู ที่ได้พัฒนาจากตัวหนู
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW591x012.jpg'>
บันทึกการเข้า
พระลาน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 20 พ.ค. 01, 03:56

สมเด็จฯครู
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW591x013.jpg'>
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 20 พ.ค. 01, 07:58

ตอบคุณนวล
ต้นบุนนาคมีมาก่อน   หม่อมบุนนาค (เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา) ได้ชื่อตามต้นไม้ค่ะ
ชื่อนี้มีกันหลายคน  ไม่ใช่ชื่อพิเศษอะไรค่ะ
พ่อแม่ตั้งชื่อลูกตามชื่อต้นไม้ เป็นเรื่องธรรมดาของคนไทยสมัยก่อนค่ะ
เจ้าพระยาพลเทพ ในรัชกาลที่ ๑ ก็ชื่อบุนนาคเหมือนกัน เรียกกันว่า บุนนาค บ้านแม่ลา
อย่างชื่อ อิน จัน กระถิน   ฝ้าย นี่ก็ต้นไม้ทั้งนั้น

คุณนกข. ขอบคุณมากสำหรับเรื่องที่นำมาเล่าให้ฟังค่ะ  เป็นเรื่องที่แสดงพระอัจฉริยภาพในทั้งสองพระองค์    อ่านแล้วทำให้ปลื้มปิติอย่างยิ่ง
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง