เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 28
  พิมพ์  
อ่าน: 177536 สัตว์ประหลาด 2
mrpzone
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 16 ส.ค. 13, 22:06

มี "สัตว์ประหลาด" ตัวใหม่ให้คุณพีและชาวเรือนไทยร่วมสนุกทายกันว่ามันคือตัวอะไร

รับรองว่า "สัตว์ประหลาด" ตัวนี้ไม่ธรรมดา



ช่วงนี้มิสเตอร์พีกำลังขมักเขม้นทำการบ้านของคุณประกอบและคุณหนุ่มสยาม
พยายามหาทางลบโมเสคกระทู้ญี่ปุ่นโน้นมาหลายวันแล้วครับ

แหะๆ ล้อเล่นครับ มิกล้าดอกครับ  ยิงฟันยิ้ม

ได้รับข้อมูลเบื้องต้นจาก อ.เพ็ญชมพู และได้ใบ้คำว่า.. สัตว์ประหลาด และ ไม่ธรรมดา
แสดงว่าต้องมีอะไรพิเศษเป็นแน่แท้ อย่างน้อยต้องเป็นที่ฮือฮาระดับประเทศหรือระดับโลก

มาให้น้ำคุณพี  ยิ้มเท่ห์

ขอบพระคุณอาจารย์ใหญ่สำหรับน้ำมะนาวแสนอร่อย ชื่นใจมากๆ เลยครับ  อายจัง

ปรึกษากับอากู๋ผู้รอบรู้อยู่นานสองนาน ใช้คีย์เวิร์ดเกี่ยวกับหนูแล้วค่อยตามข้อมูลไปเรื่อยๆ เจอข้อมูลที่หน้าข่าวต่างประเทศจากเว็บผู้จัดการครับ สุดยอด รอดมา 11 ล้านปี "หนูหิน" พันธุ์ใหม่ในลาว

อื้อฮือ.. หนูหินพันธุ์นี้น่าสนใจจริงๆ ด้วยครับ

  • ช่วงต้นปี 2548 นักวิทยาศาสตร์ชื่อ โรเบิร์ต ทิมมินส์ (Robert Timmins) พบร่างไร้ชีวิตของสัตว์ประหลาดตัวนี้โดยบังเอิญขณะเดินอยู่ในตลาดสดของเมืองคำม่วน ประเทศลาว ชาวบ้านเรียกมันว่า “ข่าหนู” ลำตัวจากปลายจมูกจนถึงหางประมาณ 40 เซนติเมตร มีหนวดยาว ขาสั้น หางยาวมีขนปุกปุย ลำตัวสีเข้มตลอด
  • ทิมมินส์กล่าวว่า ชาวลาวในแขวงคำม่วนบางคนเรียกมันว่า “หนูหิน” ซึ่งที่จริงไม่ควรจะเรียกเช่นนั้น เพราะว่าเจ้าสัตว์ชนิดนี้แม้จะดูคล้ายๆ หนู คล้ายๆ กระรอก แต่ก็ไม่มีอะไรที่ใกล้ชิดกับหนูหรือกระรอกเลยสักนิดเดียว แต่ถ้าจะเรียกว่า “ตัวเม่นที่ไม่มีขนแหลม” ดูจะเหมาะมากกว่า
  • นักวิทยาศาสตร์ของ สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าโลก (Wildlife Conservation Society) ใช้เวลาศึกษาเกือบปี และแถลงว่า เป็นสัตว์โลกชนิดใหม่ที่ไม่มีผู้ใดเคยรู้จักมาก่อน บรรพบุรุษของมันสูญพันธุ์จนหมดสิ้น ญาติผู้ใหญ่ที่ใกล้มันที่สุดก็คือ สัตว์ตระกูลหนูที่เป็นฟอสซิลอายุ 11 ล้านปี ซึ่งมีการค้นพบก่อนหน้านี้ในมณฑลส่านตง (Shandong) ของจีน และนักดึกดำบรรพ์ชีวศาสตร์เรียกมันว่า Diatomys shantungensis
  • ไม่เพียงแต่เจ้าสัตว์ประหลาดตัวนี้จะเป็นสมาชิกใหม่ของสัตว์ตระกูลหนูตัวโต (Rodent) เท่านั้น แต่มันยังเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสายพันธุ์ใหม่ที่ถูกค้นพบในรอบ 30 ปี
  • นักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเวอร์มอนต์ ในสหรัฐฯ ได้เป็นผู้ศึกษาดีเอ็นเอ และ ตีพิมพ์ผลการวิจัย (ร่วม) ในนิตยสาร Systematics and Biodiversity ว่า บุคลิกลักษณะแตกต่างและโดดเด่นจากบรรดาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในปัจจุบัน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่จะเปิดทางไปสู่การศึกษาวิวัฒนาการของพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทหนูทั้งหลาย
  • นักวิทยาศาสตร์ให้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ (ภาษาละติน) แก่สัตว์พันธุ์ใหม่จากภาคกลางของลาวว่า Laosnastes aenigmamus คำแรกหมายถึง “ผู้อาศัยอยู่ในหินในลาว” ส่วนคำหลังหมายถึง “หนูประหลาด” เชื่อกันว่า มันเป็นสัตว์ที่ออกหากินในเวลากลางคืน และน่าจะกินพืชเป็นอาหาร อาศัยอยู่ตามซอกหินในที่ราบสูงป่าเขตร้อน

ที่เว็บผู้จัดการไม่มีรูปภาพให้ชมแล้ว ไปได้ภาพจาก วิกิ ครับ



เพิ่มเติมข้อมูลจากวิกิที่ไม่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นอีกนิดครับ

หนูหิน นั้นเป็นสัตว์ที่ชาวพื้นเมืองรับประทานเป็นอาหารโดยปกติอยู่แล้ว แต่ว่าเพิ่งจะมาเป็นรู้จักของชาวโลกในกลางปี ค.ศ. 2005 จากการบันทึกเทปวิดีโอของนักวิทยาศาสตร์ชาวตะวันตกจากมหาวิทยาลัยฟลอริดาสเตต และนักดูนกชาวไทยที่ได้เข้าไปสำรวจสิ่งมีชีวิตที่นั่น แต่ว่าก่อนหน้านั้นในปี ค.ศ. 2004 ได้มีนักอนุรักษ์ธรรมชาติและนักสัตววิทยาชาวอเมริกันผู้หนึ่งได้พบกับหนูหินมาแล้ว จากการที่เป็นอาหารย่างไม้ขายในตลาดสดของแขวงคำม่วน ซึ่งเขาเชื่อว่าต้องเป็นสัตว์ชนิดใหม่อย่างแน่นอน

ปล. พยายามค้นหาข้อมูลแต่ก็ไม่พบว่า นักดูนกชาวไทย ท่านนี้คือใครครับ?

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 16 ส.ค. 13, 22:19

ตบมือให้ในความพยายามของคุณพี ได้คะแนนสิบเต็มสิบตามเคย  ยิงฟันยิ้ม

ปล. พยายามค้นหาข้อมูลแต่ก็ไม่พบว่า นักดูนกชาวไทย ท่านนี้คือใครครับ?

นายอุทัย ตรีสุคนธ์ ปัจจุบันเป็นอุปนายกสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย เป็นนักดูนก มีผลงานด้านภาพถ่ายและหนังสือรูปภาพเกี่ยวกับนกเป็นที่รู้จักกันมานาน

ข้อมูลนี้มีอยู่ในเว็บผู้จัดการนั่นแหละ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 16 ส.ค. 13, 22:28

อย่างนี้ต้องได้ถ้วย


บันทึกการเข้า
mrpzone
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 16 ส.ค. 13, 23:25

ตบมือให้ในความพยายามของคุณพี ได้คะแนนสิบเต็มสิบตามเคย  ยิงฟันยิ้ม

เย้...  ยิงฟันยิ้ม

อย่างนี้ต้องได้ถ้วย

ขอบคุณค้าบบบ  ยิงฟันยิ้ม

เปิดหาข้อมูลหลายเว็บ ขออนุญาตเสริมข้อมูลเพิ่มเติมครับ..

(1) ข้อมูลเรื่องชื่อ นักดูนกชาวไทย ท่านนี้ในวิกิภาคภาษาไทยไม่ได้แสดงชื่อเอาไว้ แต่หากเป็นวิกิภาคภาษาอังกฤษ จะแสดงเอาไว้ในหัวข้อ Discovery ย่อหน้าสุดท้ายครับ

On June 13, 2006, David Redfield, a professor emeritus of Florida State University, and Thai wildlife biologist Uthai Treesucon announced they had captured, photographed and videotaped a live specimen of the species in the village of Doy in Laos.

(2) ภาพของ อ.อุทัย ตรีสุคนธ์ หนึ่งในสุดยอดนักปักษีวิทยาของไทย จากเว็บ naiwimut.org น่าจะเป็นอัลบัมภาพในปี 2004 (สังเกตจากชื่ออัลบัมที่เก็บภาพ) ซึ่งเมื่อตอนเดินทางไปร่วมทริปกับ ศ.เดวิด เรดฟิลด์ แล้วพบหนูหินที่ลาว รูปร่างหน้าตาของ อ.อุทัย น่าจะหล่อเฟี้ยวประมาณนี้ครับเพราะห่างเพียงแค่สองปี



(3) คลิปที่ ศ.เดวิด เรดฟิลด์ ถ่ายเหตุการณ์ขณะพบหนูหิน และได้เผยแพร่ที่เว็บ http://www.rinr.fsu.edu/rockrat


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 17 ส.ค. 13, 10:00

^
^


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 20 ส.ค. 13, 19:46

ชื่อสัตว์ตัวนี้คงผ่านตาคุณพีมาบ้าง เอามาให้คุณพี (หรือชาวเรือนไทยใจดีท่านอื่นก็ได้) ช่วยเฉลย  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
mrpzone
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 21 ส.ค. 13, 02:01

ชื่อสัตว์ตัวนี้คงผ่านตาคุณพีมาบ้าง เอามาให้คุณพี (หรือชาวเรือนไทยใจดีท่านอื่นก็ได้) ช่วยเฉลย  ยิงฟันยิ้ม

ด้วยความยินดีครับ ยิงฟันยิ้ม

สัตว์้เขายาวหายากมากและใกล้สูญพันธุ์ชนิดนี้ พบได้เพียงที่แถบชายแดนลาวเวียดนามเท่านั้น ชาวลาวเรียก "เสาลา" หรือ "ซาวลา" ตามลักษณะเขาของมันที่เหมือนแกนของหูกปั่นฝ้าย ส่วนชาวเวียตนามเรียกว่า "ซอนเดือง" (แปลว่าแพะภูเขา) และ ดร.จอห์นแมคคินนอน ฝรั่งผู้ค้นพบในคณะสำรวจสภาพพื้นที่ธรรมชาติสำหรับการอนุรักษ์ร่วมกับรัฐบาลประเทศเวียดนามเพื่อขยายพื้นที่ป่า เรียกว่า "วัววูกวาง" (เรียกตามลักษณะที่เหมือนวัวและพบที่ป่าวูกวาง) ได้ชื่อวิทยาศาสตร์ใหม่เอี่ยมว่า Pseudoryx nghetinhensis แถมยังชื่อนิคเนมเท่ๆ ว่า "ม้ายูนิคอร์นแห่งเอเชีย"

หารายละเอียดและเกล็ดความรู้มาเรียนเสนอดังข้างล่างครับ


(แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของซาวลาจากวิกิ)

ยูนิคอร์นแห่งเอเชีย เสาลา (Saola) : เมื่อ ดร.จอห์นแมคคินนอน ส่งให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตรวจดีเอ็นเอก็ได้ข้อสรุปว่า สัตว์ชนิดนี้เป็นสัตว์ชนิดใหม่ที่ไม่เคยมีใครพบมาก่อน ทั้งยังเป็นสัตว์ที่ต่างจากสัตว์อื่นๆ ที่เคยรู้จักกันมา นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้มันว่า "ซูโดริกซ์เหง่ตินเนนซิส" ซึ่งแปลว่าโอริกซ์ปลอมแห่งเหง่ติน เนื่องจากวัวป่าชนิดนี้ดูคล้าย "โอริกซ์" แอนทีโลปเขาตรง ที่อาศัยอยู่ในแอฟริกาและตะวันออกกลาง นอกจากนี้ พวกมันยังได้รับสมญาว่า "ยูนิคอร์นแห่งเอเชีย" เนื่องมันมีเขายาวตรงเป็นแท่งบิดเป็นเกลียวแบบเดียวกับตัวยูนิคอร์นในตำนาน การค้นพบเสาลาทำให้ทั่วโลกสนใจป่าวูกวางเป็นอันมาก รัฐบาลเวียตนามจึงได้ประกาศให้ป่าวูกวางเป็นเขตสงวนและขยายพื้นที่จากเดิม 100,000 ไร่ เป็น 375,000 ไร่


(ภาพจากเว็บผู้จัดการออนไลน์)

เวียดนามชุบชีวิต "ซาวลา" ยืดเวลาสูญพันธุ์ : ซาวลาถูกค้นพบครั้งแรกปี 2535 ในป่าเขตรอยต่อระหว่าง จ.เหงะอาน (Nghệ An) กับ จ.ห่าตี๋ง (Hà Tĩnh) ติดชายแดนแขวงบอลิคำไซ (ບໍລິຄໍາໄຊ) กับแขวงคำม่วน (ຄໍາມ່ວນ) ของลาวที่อยู่ถัด จ.เถื่อเทียนเหว กับ จ.กว๋างบี่ง (Quảng Bình) ขึ้นไป ด้วยรูปลักษณ์ที่ดูคล้ายกวางป่าโอริก (Oryx) ในแอฟริกา จึงได้ชื่อทางวิทยาศาสตร์เป็น Pseudoryx nghetinhensis ซึ่งคำหลังเป็นชื่อย่อของ 2 จังหวัดในเวียดนามอันเป็นแหล่งที่พบครั้งแรก แต่องค์การอนุรักษ์ธรรมชาติแห่งหนึ่งในสวิตเซอร์แลนด์โต้แย้งว่า แท้จริงแล้วซาวลาพบครั้งแรกในเขตป่าชายแดนลาว-เวียดนาม ในปี 2535 เช่นเดียวกัน โดยมันปรากฏอยู่ในกล้องอินฟราเรดที่ถ่ายภาพโดยอัตโนมัติ อย่างไรก็ตามการพบซาวลาในปีนั้น นับเป็นการค้นพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสายพันธุ์ใหม่เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2479 เป็นต้นมา ทั้งนี้เป็นข้อมูลของมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า หรือ World Wildlife Fund ความเป็นสัตว์หายาก บวกกับลักษณะเฉพาะของซาวลา ทำให้นักวิทยาศาสตร์ตั้งฉายาให้เป็น "ม้ายูนิคอร์นแห่งเอเชีย" ซึ่งหมายถึงม้าเขาเดียวในนิยายปรัมปรา ที่หาไม่พบในที่อื่นๆ แต่แท้จริงแล้วซาวลามีเขา 2 เขา จึงทำให้มีผู้เรียกกวางชนิดนี้ว่า "เสา-หลา" โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลาว ซึ่งออกเสียงคล้ายกับชื่อเดิม เนื่องจากลักษณะเขาคู่ที่ตั้งชั้น คล้ายกับ "เสา" ของ "หลา" อันเป็นอุปกรณ์ปั่นด้าย ที่ใช้กันมาแต่โบราณกาลในอนุภูมิภาค ไม่ปรากฏหลักฐานว่า เพราะเหตุใดจึงเรียกสัตว์ชนิดนี้ว่า “ซาว-ลา” และ ใครเป็นผู้ตั้งชื่อนี้ ซึ่งมีความหมายว่า “หายาก (สวยงาม) ประดุจเดือนและดาว” ในภาษาเวียดนาม


(ภาพจากวิกิ)

ข้อมูลจากวิกิ : ซาวลา หรือ วัวหวูกว่าง (เวียดนาม: sao la; อังกฤษ: Vu Quang ox) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ชนิดใหม่ที่เพิ่งค้นพบในปี ค.ศ. 1992 (พ.ศ.2535) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pseudoryx nghetinhensis มีรูปร่างคล้ายแพะผสมกับเลียงผา จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับวัว (Bovidae) จัดเป็นแอนทิโลปชนิดหนึ่ง ถูกพบครั้งแรกในเวียดนาม ขนตามลำตัวสั้นมีสีน้ำตาลเข้ม มีลักษณะเด่นคือ มีลายสีขาวบริเวณใบหน้า เขาโค้งยาวและแหลมคม อาจมีเขายาวมากกว่า 50 เซนติเมตรได้ ต่อมใต้ตามีขนาดใหญ่ใช้หลั่งสารเคมีที่สื่อสารกับตัวเมีย ซาวลามีความยาวหาง 30 เซนติเมตร ความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่ 84 เซนติเมตร น้ำหนัก 80-100 กิโลกรัม พบเฉพาะป่าทึบชายแดนลาวกับเวียดนามเท่านั้น จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Pseudoryx มีพฤติกรรมออกหากินตามลำพังในช่วงเช้าตรู่ถึงตอนบ่าย แต่บางครั้งอาจพบเห็นหากินในเวลากลางคืน มักอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้น มีฤดูผสมพันธุ์ในช่วงเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน ตั้งท้องนานประมาณ 8 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว

เวียดนามนำมาตั้งชื่อเป็นพายุ

pI5oLGrwFRw

มีเกล็ดความรู้ที่เกี่ยวข้องกับซาวลา นั่นคือ ประเทศเวียดนามได้เสนอชื่อพายุเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์สัตว์ชนิดนี้ต่อชาวโลก ว่า พายุซาวลา โดยได้เสนอชื่อต่อองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ซึ่งอธิบายว่าซาวลาเป็นสัตว์ที่ถูกค้นพบที่เวียดนาม (Saola : An animal recently found in Viet Nam) และ จากข้อมูลผลกระทบที่เกิดจากพายุซาวลาสรุปว่า เกิดในระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม – 4 กันยายน พ.ศ. 2555 ประเทศที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, ญี่ปุ่นและจีน สร้างความเสียหายมูลค่า 161 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีผู้เสียชีวิต 82 คน

พายุซาวลานี้เกิดไล่เรี่ยกับพายุชื่อไทย พายุโซนร้อนขนุน ที่ไปต้มยำกุ้งสร้างความเสียหายก่อนหน้าเพียงไม่กี่วันที่แถบประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้และเกาหลีเหนือ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตใกล้เคียงกัน คือ 89 คน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 21 ส.ค. 13, 08:38

ขอบพระคุณคุณพีมากที่กรุณาค้นคว้าเรื่อง "สาวล่า" (ชื่อนี้สะดวกปากคนไทยในการเรียกขานมากกว่า) มาขยาย

"สาวล่า" เป็นสัตว์ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ แต่ยังโชคดีกว่า "สมัน" ของเราซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว



เรารู้ถึงคุณค่าของ "สมัน" ต่อเมื่อเราสูญเสียมันไปแล้ว อย่าให้เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นซ้ำรอยกับ "สาวล่า" เลย



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 25 ส.ค. 13, 14:08

จมูกดั่งงวงช้าง                 เขานั้นดั่งเขาแพะไพร
แปลกหนอตัวอะไร             มีชื่อไทยด้วยนะเออ
  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 26 ส.ค. 13, 17:00

เป็นภาระหนักของมิสเตอร์พีอีกแล้ว   

ไปเจอปลาประหลาดตัวนี้ เลยเอาเข้าในคอลเลคชั่นค่ะ    เขากำลังตรวจสอบกันว่ามันอายุตั้ง 200 ปีจริงหรือ
หน้าตาน่าเกลียดมากเลย   เอามานึ่งบ๊วย วางจนจานเปล คงกินไม่ลง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 27 ส.ค. 13, 09:19

ปลาของคุณเทาชมพูชื่อว่า Shortraker rockfish Sebastes borealis ถูกจับได้เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ที่นอกชายฝั่งอลาสกา  ดูจากด้านข้างหน้าตาก็ไม่เลวนัก ถ้าจะทำต้มยำได้หลายชามอยู่   ยิงฟันยิ้ม



ที่น่าสนใจคือเขาทราบอายุปลาตัวนี้ได้อย่างไร คุณพีคงเข้ามาให้คำตอบได้พร้อมกับชื่อสัตว์ประหลาดตัวข้างบนในไม่ช้า



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 27 ส.ค. 13, 10:40

อ้างถึง
ที่น่าสนใจคือเขาทราบอายุปลาตัวนี้ได้อย่างไร คุณพีคงเข้ามาให้คำตอบได้พร้อมกับชื่อสัตว์ประหลาดตัวข้างบนในไม่ช้า

สงสารคุณพี ว่าการบ้านหนักมาก  เลยมาตอบข้อสอบให้แทนนะคะ
นักวิจัยสามารถที่จะตรวจสอบอายุปลา shortraker rockfish  ได้จากจำนวนวงแหวนปีที่เจริญเติบโตตามกระดูกใบหู

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 27 ส.ค. 13, 11:12

นักวิจัยสามารถที่จะตรวจสอบอายุปลา shortraker rockfish  ได้จากจำนวนวงแหวนปีที่เจริญเติบโตตามกระดูกใบหู

ปลามีหู แต่ไม่มีใบหูหนอ กระดูกที่สามารถใช้ตรวจสอบอายุของปลาเรียกว่า "otolith" อยู่ในหูชั้นใน เทียบเท่ากับกระดูกค้อน ทั่ง โกลน ของคนเรา

อ่านรายละเอียดเรื่อง "กระดูกหูปลา" ได้ที่  http://www.fisheries.go.th/if-center/web2/images/pdf/2s.pdf



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 27 ส.ค. 13, 11:44

อดได้คะแนนเลยหนอ


บันทึกการเข้า
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 27 ส.ค. 13, 14:22

ข้อสังเกตเล็กน้อยของผมครับว่าปลาตาโตๆ เกล็ดสีส้ม/แดงอย่างนี้ เนื้อหวานอร่อยมาก
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 28
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 20 คำสั่ง