เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8
  พิมพ์  
อ่าน: 43880 บางกอกยุค60
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 15 มิ.ย. 13, 21:48

ห้องเสื้อ ระพี  ที่ดังที่สุดในยุค 1960s  ดารานางงาม ทั้งหลายมาเดินแบบให้ห้องเสื้อนี้ทั้งนั้น


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 17 มิ.ย. 13, 17:35

ในยุค 1960s ต้นๆ  มีวงดนตรีเล็กๆของอังกฤษ เล่นด้วยกีต้าร์และกลอง เล่นเป็นแบคกราวน์อยู่ในหนังเพลงวัยรุ่นชื่อ The Young Ones ของคลิฟ ริชาร์ดส์   ชื่อวงว่า The Shadows  จากนั้นดนตรีที่เล่นแบบนี้ก็กลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางของวัยรุ่นไทย   เรียกกันว่า วงชาโดว์  ทั้งๆชื่อจริงของวงดนตรีแบบนี้คือ สตริง คอมโบ
ในค.ศ. 1966 (พ.ศ. 2509) วงสตริงคอมโบยอดนิยมเกิดขึ้นในกรุงเทพ ชื่อ"ดิอิมพอสซิเบิ้ล" หรือชื่อเรียกสั้นๆ ว่า "ดิอิม" เป็นวงดนตรีสตริงคอมโบวงแรกๆของไทย  นักร้องนักดนตรีรุ่นแรกคือ วินัย พันธุรักษ์, อนุสรณ์ พัฒนกุล, สุเมธ แมนสรวง และพิชัย ทองเนียม และได้นักร้องนำคือ เศรษฐา ศิระฉายา

" ดิ อิม" เป็นขวัญใจวงการเพลงป๊อปของไทยมา 10 ปี จึงถึงจุดสิ้นสุดของวง

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 20 มิ.ย. 13, 12:47

นางนพมาศจุฬา ยุค 60s ปลายๆ  ชื่ออัมพร กีรติบุตร


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 05 ก.ค. 13, 17:28

ภาพนี้บรรยายไว้สั้นๆ ว่า  A waterfront area in Bangkok   ดูจากรูปแล้วเข้าใจว่าเป็นท่าเรือคลองเตย?
เจ้าทุยจะถูกส่งไปทางเรือหรือไร?
ฝรั่งถ่ายไว้เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1960


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 05 ก.ค. 13, 17:39

1960s เป็นยุคที่อเมริกาให้ความช่วยเหลือไทยในรูปแบบต่างๆ  โดยมากเป็นหน่วยงานทั้งทางทหาร และองค์การไม่แสวงหากำไร    บริษัทอเมริกันในกรุงเทพก็มีหลายแห่ง      ส่วนอังกฤษที่เคยมีอิทธิพลทางวัฒนธรรมกับไทยก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ เริ่มซาลงไปกว่าเก่า
ชาวอเมริกันมาประจำทำงานอยู่ในกรุงเทพมากขึ้น  หอบครอบครัวมาด้วย    ในเมื่อคอนโดและอพาตเม้นท์ยังไม่มี    บ้านดีๆ มีบริเวณและรั้วรอบขอบชิดในกรุงเทพทางชานเมืองด้านตะวันออก เช่นเพลินจิต ถนนวิทยุ สาทร สีลม ไปจนสุขุมวิทตอนต้นจึงมีอยู่มากที่ให้ฝรั่งเช่า    เด็กๆก็ถูกส่งเข้าโรงเรียนนานาชาติที่ซอยร่วมฤดี
เด็กฝรั่งในรูปนี้ สังเกตว่ามีทั้งสวมถุงเท้ารองเท้าเรียบร้อยและไม่สวม    เดาว่าพวกที่มาเมืองไทยใหม่ๆยังแต่งตัวเต็มยศเหมือนตอนอยู่อเมริกา    ส่วนพวกที่อยู่มานานระยะหนึ่งก็ใช้หนังธรรมชาติดีกว่า  ไม่อบเท้า
เด็กฝรั่งไม่เคยเห็นสามล้อ  จึงชอบกันมาก


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 05 ก.ค. 13, 17:43

ภาพนี้บรรยายว่า   Thai Naval Officers at Camp Sattahip 1962 นายทหารเรือไทยที่ฐานสัตหีบ ในค.ศ. 1962     มีทหารเรือฝรั่งอเมริกันยืนอยู่ด้านหลัง   


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 05 ก.ค. 13, 17:49

รถยนต์พระที่นั่ง ยี่ห้อเดมเลอร์ของอังกฤษ ในยุค 1960s


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 05 ก.ค. 13, 19:53

ยุคนั้น กรุงเทพยังมีรถสามล้อเครื่องอยู่


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 05 ก.ค. 13, 19:55

โรงแรมที่ออกแบบได้เก๋ที่สุดในยุค 1960s  สยามอินเตอร์คอนติเนนตัล
ในยุค 2013 เหลือแต่ภาพในอดีต


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 05 ก.ค. 13, 21:06

หนังสือการ์ตูน ในยุค 1960s


บันทึกการเข้า
ภูริทัต
อสุรผัด
*
ตอบ: 30


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 07 ก.ค. 13, 00:05

ภาพคุณ อัมพร สวยมากเลยครับ
ปัจจุบันไม่เห็นคุณคุณ อัมพร ออกงานสังคมอีกเลย
ภาพการ์ตูน หนูจ๋า เบบี้ ชวนให้รำลึกวัยเยาว์เหลือเกิน
จำได้ว่ามีหนังสือชื่อ ชัยพฤกษ์ อะไรทำนองนี้
ต้องเจียดเงินจากค่าขนมซื้ออ่านทุกฉบับเลย
บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 07 ก.ค. 13, 10:05

1960s เป็นยุคที่อเมริกาให้ความช่วยเหลือไทยในรูปแบบต่างๆ  โดยมากเป็นหน่วยงานทั้งทางทหาร และองค์การไม่แสวงหากำไร    บริษัทอเมริกันในกรุงเทพก็มีหลายแห่ง      ส่วนอังกฤษที่เคยมีอิทธิพลทางวัฒนธรรมกับไทยก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ เริ่มซาลงไปกว่าเก่า
ชาวอเมริกันมาประจำทำงานอยู่ในกรุงเทพมากขึ้น  หอบครอบครัวมาด้วย    ในเมื่อคอนโดและอพาตเม้นท์ยังไม่มี    บ้านดีๆ มีบริเวณและรั้วรอบขอบชิดในกรุงเทพทางชานเมืองด้านตะวันออก เช่นเพลินจิต ถนนวิทยุ สาทร สีลม ไปจนสุขุมวิทตอนต้นจึงมีอยู่มากที่ให้ฝรั่งเช่า    เด็กๆก็ถูกส่งเข้าโรงเรียนนานาชาติที่ซอยร่วมฤดี
เด็กฝรั่งในรูปนี้ สังเกตว่ามีทั้งสวมถุงเท้ารองเท้าเรียบร้อยและไม่สวม    เดาว่าพวกที่มาเมืองไทยใหม่ๆยังแต่งตัวเต็มยศเหมือนตอนอยู่อเมริกา    ส่วนพวกที่อยู่มานานระยะหนึ่งก็ใช้หนังธรรมชาติดีกว่า  ไม่อบเท้า
เด็กฝรั่งไม่เคยเห็นสามล้อ  จึงชอบกันมาก
๕๕๕​  รูปสามล้อกับเด็กฝรั่งที่คุณเทาชมพูเอามาลง คห.๙๔ ดูเหมือนจะเป็นบ้านผมที่ร่วมฤดี ซอย ๓ แม่ผมทำโรงเรียนอนุบาลมาตั้งแต่ประมาณ ๑๙๕๐ แรกเริ่มมีแหม่มอเมริกันทำ Nursery School/Kindergarten ที่ YWCA (หรือ YMCA ไม่แน่ใจ) ที่ถนนสาทร เพื่อให้เด็กฝรั่งเล็กๆที่พ่อมาทำงานเมืองไทยได้มีที่เรียนที่เล่น ชวนแม่ไปเป็นผู้ช่วย ทำอยู่ปีหรือสองปี แหม่มคนนั้นกลับเมืองนอก แม่ผมเลยทำต่ออยู่พักหนึ่งแต่สถานที่ค่อนข้างแคบ พอดีผู้จัดการ Standard Vacuum Oil  เช่าบ้านหลังใหญ่ติดถนนสุขุมวิทย์  เลยซอยนานาไปหน่อย มีเรือนที่ห่างจากตัวบ้านเป็นเรือนเปิดหมดสี่ด้าน มีฟลอร์เต้นรำ เหมาะที่จะมีงานใหญ่ๆ เขามีลูกสาวสองคนอายุพอดี แม่เลยทาบทามขอยืมเรือนที่มีฟลอร์เต้นรำไปทำรร.อนุบาล  Mrs. E.P.J. Fee ก็ใจดีจัง ยอมให้เปิด รร. ได้อาทิตย์ละสามหรือสี่วัน แม่ก็หาแหม่มภริยาคนอเมริกันสองสามคนไปช่วย คิดว่าทำอยู่ได้ปีสองปี พอดีพ่อไปซื้อที่ที่ ร่วมฤดี ซอย ๓ กลางทุ่งนา แม่ออกแบบบ้านให้ใช้เป็น รร.อนุบาลได้ ชั้นล่างเปิดสามด้าน ด้านที่สี่เป็นครัว แล้วย้าย รร.มาทำที่บ้าน พร้อมกับย้ายบ้านจากปากซอยต้นสน เยื้องสถานทูตอังกฤษ (เช่าบ้านจาก มจ. สกล วรวรรณ) แม่เปิด รร.อนุบาลอยู่หลายปี จนน้องสาวผมรับช่วงต่อ ตอนนี้หลานสาวยังทำต่อ

สมัยแม่ทำมีแต่เด็กฝรั่ง เด็กไทยมีน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่เกิดเมืองนอก เพิ่งกลับมา บางคนพูดไทยยังไม่ค่อยได้ พ่อแม่เลยส่งมาเรียน เด็กส่วนมากอายุประมาณ ๓ ถึง ๕ ขวบ กว่าจะย้ายเข้า รร.ก็รู้ ABC พอออกเสียงคำใหม่ๆได้  รร.มีเฉพาะตอนเช้า ดูเหมือนอาทิตย์ละ ๔ วัน บางทีมีนักเรียน ๗๐ - ๘๐ คน แทบทุกคนมีพี่เลี้ยงแต่แม่ให้พี่เลี้ยงอยู่ได้แค่สองสามวันแรกถ้าเด็กยังไม่คุ้นกับ รร. บางคนเอาของว่างมากินตอน ๑๐ โมง แต่ส่วนมากไม่มีมา ทางรร.ก็มีให้  มีหลายชาติ ใช้ภาษาอังกฤษในระหว่างเด็กด้วยกัน ยกเว้นบางครั้ง ผมนั่งดูหนังสืออยู่บนบ้าน ได้ยินเสียงเด็กฝรั่งพูดไทยกันก็เลยเงี่ยหูฟัง สะดุ้งเลย ด่ากันคล่องแบบในตลาดเลย คงไม่รู้ความหมายเท่าไหร่ แต่จากน้ำเสียงแล้วคิดว่าคงได้มาจากคนรถ คนสวน แม่ครัว ฯลฯ ที่บ้านทะเลาะกัน แม่ผมไม่สันทัดภาษาไทยเท่าไหร่ ผมถามว่ารู้หรือเปล่าว่าเด็กว่าอะไรกัน ไม่รู้ ดีแล้วที่ไม่รู้

ดูจากรูปคิดว่าเป็นรูปที่บ้าน แม่ไปเอาสามล้อมาจากไหนไม่ทราบ ตอนนั้นกทม.ไม่มีสามล้อแล้ว จำได้ว่ามีจอดอยู่ที่บ้านนานหลายเดือน แต่ตอนนั้นผมนอนหอพักแล้ว ไม่ค่อยได้กลับบ้าน เด็กในรูปบางคนอายุเกินที่แม่สอนอยู่ ผมว่าคงมี party อะไรสักอย่าง อาจมีศิษย์เก่าหรือพี่น้องเด็กมาร่วมด้วย ในรูปรู้สึกว่าเด็กโตเป็นคนขี่สามล้อ ดูท่าทีมีคนเข็นข้างหลัง แต่ผมไม่รู้จักใครสักคน

เห็นรูปบ้านข้างๆที่เลือนๆแล้วนึกได้ว่ามีอเมริกันมาพักอยู่บ้านนั้นหลายเดีือน พอดีมีคนถามผมในเวบอื่น ถึงการใช้คำว่า ain't ว่าใช้ในกรณีใด ทำให้นึกถึงตอนที่มีจ่าทหาร JUSMAG กับภริยามาเช่าบ้านหลังที่เห็นลางๆในรูป แม่อยากแสดงตัวเป็นเพื่อนบ้านที่ดีเพราะในซอย ๓ ตอนนั้นไม่มีฝรั่งอยู่นอกจากแม่ผม เลยทำขนมไปเยี่ยม สักพักก็ลากลับ ผมถามแม่ว่าเป็นยังไง แม่บอกว่า "She was nice and friendly but she says 'ain't'." จำติดตาเลยว่าการใช้คำว่า 'ain't' คำเดียวเท่านั้นบ่งถึงระดับการศึกษา หรือ ระดับการศึกษาของพ่อแม่หรือครอบครัว แม่ผมหมดความนับถือเพราะคำคำเดียว

สมัยน้องสาวผมดำเนินงานต่อ วันหนึ่งมีควาญช้างพาช้างผ่านมา บอกน้องสาวว่าช้างหิว อยากจะขอกล้วยให้ช้างกิน แล้วจะให้เด็กในรร.ขี่ช้างคนละรอบ น้องสาวเป็นคนรอบคอบ เลยถามก่อนว่า ช้างจะกินมากน้อยแค่ไหน ควาญบอกว่าต้นกล้วยทั้งกอจะกำลังเหมาะ ไม่ทราบหมดไปกี่ต้นแต่เสร็จแล้วเด็กได้ขี่ช้างทุกคน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 07 ก.ค. 13, 10:16

จุดไต้ตำตอแบบหนึ่งในล้าน 
เพิ่งรู้ว่าซอยร่วมฤดีในสมัยอาจารย์หมอศานติอยู่กลางทุ่งนา     ตอนที่ดิฉันจำความได้ เมืองขยายถึงสะพานพระโขนงแล้ว  แต่ว่าลึกเข้าไปสัก ๕๐๐ เมตร ในซอยต่างๆของสุขุมวิทก็ยังเป็นสวนผักสวนมะพร้าวอยู่  เลยสะพานพระโขนงถึงจะเป็นทุ่งนา

พูดถึงคำว่า 'ain't'
เข้าใจว่าคุณแม่ของท่านคงจะเป็นอเมริกันจากรัฐตะวันออกกระมังคะ   อาจจะแถวนิวอิงแลนด์  ถือกันว่าอเมริกันแถวนั้นมีการศึกษา เป็นผู้ดิบผู้ดีกว่าทางตะวันตก   ชาวอเมริกันในรัฐทางตะวันตกเป็นพวกนักบุกเบิกอพยพมาตั้งถิ่นฐาน  คล้ายๆคนจีนที่เสื่อผืนหมอนใบข้ามทะเลไปตายเอาดาบหน้า   ภาษาของพวกนี้ก็เลยเอาสะดวกเข้าว่า ไม่ถูกหลักภาษาอังกฤษเท่าไหร่   อย่างคำว่า ain't ซึ่งพูดแทน are not 
ตอนไปเรียนใหม่ๆ  อาจารย์ก็กวดขัน เขียนรายงานห้ามใช้ I'm   ห้ามใช้ isn't   ต้องใช้ I am , is not  แต่พอออกจากห้อง เพื่อนก็ I'm , isn't  กันทั้งนั้น  ตอนนี้เวลาเขียนอีเมล์  ภาษาเสียหมดแล้ว
บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 07 ก.ค. 13, 18:52

พูดว่ากลางทุ่งนาก็หนักไปหน่อย แต่มีบ้านน้อยมาก ตอนปลูกบ้านยังต้องขุดบ่อถมที่ให้สูงขึ้น ในซอย ๓ บ้านผมเป็นบ้านที่สาม  หลังบ้านเป็นทุ่ง ตอนกบฎแมนแฮตตันมีทหารบกจากต่างจังหวัด ผมว่าสักกองร้อยหนึ่ง มาพักในทุ่งหลังบ้าน ผมคิดว่าเตรียมจะเข้าตีกองสันญาณทหารเรือแต่ไม่รู้ว่ากองสันญาณอยู่ไกลไปแค่ไหน ตอนสมัยที่บ้านยังอยู่ปากซอยต้นสนนั้น ซอยนานาเหนือยังมีคนอินเดียเลี้ยงวัว ตัดหญ้าให้วัวกิน บางทีเอาหญ้าบันทุกรถม้ามีหินลากตามหลังรถม้า ผมคิดว่าเป็นหินลับมึดที่ใช้ไปนานจนสึกเฉพาะตรงกลางเลยลากไปตามถนนคอนกรีตเพื่อให้ตรงกลางหายเว้า  บางที่มีคนอินเดียเร่ขายน้ำอบไทย เดินโฆษณาไปตามซอยใช้คำพูดว่า ทาเมียหอมผัว ทาผัวหอมเมีย น้องๆผมชอบคำโฆษณาหัวเราะกันทุกที
บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 08 ก.ค. 13, 10:21

จุดไต้ตำตอแบบหนึ่งในล้าน 
เพิ่งรู้ว่าซอยร่วมฤดีในสมัยอาจารย์หมอศานติอยู่กลางทุ่งนา     ตอนที่ดิฉันจำความได้ เมืองขยายถึงสะพานพระโขนงแล้ว  แต่ว่าลึกเข้าไปสัก ๕๐๐ เมตร ในซอยต่างๆของสุขุมวิทก็ยังเป็นสวนผักสวนมะพร้าวอยู่  เลยสะพานพระโขนงถึงจะเป็นทุ่งนา

พูดถึงคำว่า 'ain't'
เข้าใจว่าคุณแม่ของท่านคงจะเป็นอเมริกันจากรัฐตะวันออกกระมังคะ   อาจจะแถวนิวอิงแลนด์  ถือกันว่าอเมริกันแถวนั้นมีการศึกษา เป็นผู้ดิบผู้ดีกว่าทางตะวันตก   ชาวอเมริกันในรัฐทางตะวันตกเป็นพวกนักบุกเบิกอพยพมาตั้งถิ่นฐาน  คล้ายๆคนจีนที่เสื่อผืนหมอนใบข้ามทะเลไปตายเอาดาบหน้า   ภาษาของพวกนี้ก็เลยเอาสะดวกเข้าว่า ไม่ถูกหลักภาษาอังกฤษเท่าไหร่   อย่างคำว่า ain't ซึ่งพูดแทน are not 
ตอนไปเรียนใหม่ๆ  อาจารย์ก็กวดขัน เขียนรายงานห้ามใช้ I'm   ห้ามใช้ isn't   ต้องใช้ I am , is not  แต่พอออกจากห้อง เพื่อนก็ I'm , isn't  กันทั้งนั้น  ตอนนี้เวลาเขียนอีเมล์  ภาษาเสียหมดแล้ว
I'm, isn't พวกนี้ใช้กันในภาษาพูดเป็นประจำ ถึงแม้จะใช้เขียนไม่ได้ แต่ก็ไม่ทำให้สะดุ้งแบบ ain't  อาจเป็นเพราะเป็นคำที่เกิดจากพูดเร็วๆ แต่คำว่า ain't ไม่ใช่คำที่เกิดจากการพูดเร็วหรือสั้นๆ เพราะแทนคำได้หลายคำ I ain't hungry yet. (= am not)  I ain't seen him. (= haven't, have not) He ain't home. (= isn't, is not)  She ain't been here. (= hasn't, has not)  Ain't nobody seen him yet.  ยิ่งกว่านั้นบางทีใช้ double negative - I ain't heard nothing about the robbery.

พูดถึงแม่ ความจริงเป็นชาวฝรั่งเศส มีอยู่สมัยหนึ่งที่ผมไม่ยอมรับว่าแม่เป็นฝรั่งเศส ผมคิดว่าตั้งแต่สงครามอินโดจีนที่เราเรียกร้องดินแดนคืน ความรู้สึกของคนไทยต่อฝรั่งเศสเสื่อมลงไปมาก แม้กระทั่งภาษาฝรั่งเศสก็เลิกสอนในชั้นมัธยม สมัยเด็กผมเลยไม่ค่อยยอมบอกใครว่าแม่เป็นชาวฝรั่งเศส ว่าที่จริงแล้วแม่เองก็ไม่ได้คิดว่าตัวเป็นฝรั่งเศส

ยายผมพาลูกสามคน อายุ 3 4 กับ 5 ขวบ หนีสามี (ตาผม) ไปอเมริกา ลือกันว่าเพราะสามีเป็นชาวไร่องุ่นอยู่แคว้น Alsace ทำเหล้าองุ่นเป็นอาชีพ แต่ติดนิสัยชิมผลิตภัณฑ์ของไร่มากไปหน่อย ยายทนไม่ได้ เลยพาลูกสามคนไปอเมริกา ตอนนั้นยายอายุ 26 นับว่าใจป้ำมาก ตั้งหลักแหล่งแถวชิคาโก อยู่ได้ 13 ปี ยายเกิดไปหลงรักชาวอังแกเรียน เลยพาลูกทั้งสามกลับไปยุโรป คงคิดจะแต่งงาน ไปถึงยุโรปกลางสงครามโลกที่ 1 พอไปถึงเมือง Budapest ถึงรู้ว่าเสือนั่นมีเมียแล้ว ยายกับลูกเลยเคว้งอยู่ใน Budapest เป็นคนไร้ถิ่น ยายโดนตัดไตไปข้างหนึ่งแล้วเพราะวัณโรคไต ข้างที่เหลือเกิดวายขึ้นมานั่น เลยถึงแก่กรรมที่ Budapest  พี่สาวแม่มีจดหมายไปหาพ่อ (ตาผม)ที่ฝรั่งเศส ส่งเงินมาเป็นค่ารถไฟ สาวสองคนเลยได้กลับไปฝรั่งเศส ตอนนั้นแคว้น Alsace ตกอยู่ในกำมือของเยอรมันแล้ว แม่อายุ 16 ต้องเริ่มเรียนเป็นภาษาเยอรมันเพราะตำราภาษาฝรั่งเศสโดนเผาไปหมดแล้ว (แคว้น Alsace นี้ตามประวัติศาสตร์บางทีก็เป็นเยอรมัน บางทีก็ฝรั่งเศส ภาษาพื้นเมืองเองก็เป็น dialect เยอรมัน) เมื่อสงครามเลิกแคว้น Alsace ก็คืนไปเป็นของฝรั่งเศส

แม่จบมัธยมแล้วก็เรียนพยาบาลที่เมืิอง Strasbourg จนจบ แล้วทำงานในเมืองเล็กๆ เป็นพยาบาลดูแลเด็กเพิ่งคลอดตามหมู่บ้านต่างๆแถวนั้น สมัยเด็กเคยสงสัยว่าแม่ทำไม่มีน่องยังกับนักฟุตบอลล์ มารู้ตอนไปเยี่ยมแถวนั้นทีหลังว่า แม่ขี่จ้กรยานขึ้นเขาลงห้วยไปตามหมู่บ้านต่างๆ บันทุกตาชั่งไปหลังรถเพื่อชั่ง นน.เด็ก ต่อมารัฐบาลฝรั่งเศสดำริจะมีการประชาสงเคราะห์ เลยส่งแม่ไปเรียน Social Work ที่ Simmons College เมือง Boston  แม่เล่าว่าคืนหนึ่งเต้นรำอยู่กับ ดร.จำรัส ฉายะพงษ์ วนไปได้รอบ ดร.จำรัสก็โบกมือให้ใครคนหนึ่งที่หลบมุมมืดอยู่ แม่ถามว่าโบกมือให้ใคร ดร.จำรัส บอกว่าเพื่อน แม่ถามว่าทำไมเขาหลบอยู่ ตอบว่า เขาเต้นไม่เป็น แม่บอกว่า แนะนำให้รู้จักแล้วจะสอนให้เต้น หนุ่มคนนั้นโชคดี ผมก็โชคดี เพราะลงเอยเป็นพ่อผม แม่จบแล้วก็กลับไป Alsace  ส่วนพ่อจบแล้วทำงานโรงสร้างเครื่องยนตร์เครื่องบินอยู่หนึ่งปีถึงกลับเมืองไทย อยู่เมืองไทยได้ไม่ถึงปีก็มีจดหมายไปชวนแม่มาเมืองไทย แม่ก็ใจป้ำยอมมา

โดยเหตุที่แม่อยู่อเมริกา 13 ปีตอนเด็กกับอีก 4 ปีตอนเรียนที่บอสตัน พูดอังกฤษก็แบบอเมริกัน พูดฝรั่งเศสได้แต่สำเนียงชาว Alsace ไม่ใช่แบบชาวปารีส เวลามีคนถามว่าเชื้อชาติใหน จะตอบว่า "I'm Alsatian." เสมอ ไม่ยอมรับว่าเป็นฝรั่งเศส นอกจากคนถามจะพูดต่อว่า "Isn't that part of France?" ถึงจะยอมรับ คนส่วนมากคิดว่าเป็นอเมริกัน แต่งงานกับพ่อจดทะเบียนไทยกับฝรั่งเศสแล้ว หายหน้าไปจากวงฝรั่งเศสเลย สถานทูตเองก็คงไม่รู้ว่าคนในสังกัดหายไป ผมเองเลยเอาอย่างแม่ ตอนเรียนมัธยมถ้าเพื่อนถามว่า แม่ชาติอะไร ผมก็ตอบว่าแม่มาจาก Alsace เป็นชาว Alsatian  ข้อเสียของการตอบแบบนี้ก็คือ บางทีจะโดนย้อนว่า แม่เอ็งก็พันธุ์เดียวกับหมาซี เป็นที่ครื้นเครงกันมาก คนฝรั่งเศสนี่ค่อนข้างแปลกหรืออย่าน้อยก็แม่ผมแปลก ถ้าพูดฝรั่งเศสแล้วไม่ใช่สำนวนคนปารีส จะมีปมด้อย ถ้าคนถามแม่ว่าพูดฝรั่งเศสได้ไหม แม่จะตอบว่าได้ แต่จะต้องเสริมทุกทีว่า "but it is peasant French."  พูดได้ แต่แบบชาวสวน เคยต้องไปสถานทูตฝรั่งเศสทีหนึ่งจะขอวีซ่า มีคนเอเซีย ผมคิดว่าอาจเป็นคนเขมร เป็นพนักงานสถานทูต ท่าทีพูดฝรั่งเศสคล่อง ผมถามแม่ว่า ภาษาเขาเป็นยังไง แม่ทำมือนิ้วชี้แตะนิ้วหัวแม่มือแสดงว่ายอดเยี่ยม พร้อมกับพูดว่า "It's perfect. It's Parisien French." ผมถามแม่ว่า แล้วจะพูดกับเขาเป็นภาษาฝรั่งเศสไหม แม่บอกว่า ยังไม่แน่  พอถึงเวลาไปพูดด้วยกลับใช้ภาษาอังกฤษ คิดว่าแม่คงกระดากที่สำเนียงสู้คนต่างชาติไม่ได้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 20 คำสั่ง