เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 43862 บางกอกยุค60
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 09 มิ.ย. 13, 00:14

คุณcvtบอกแยกแคลาย
คุณเพ็ญชมพูบอกแยกแคราย 2528
ตกลงแครายเขียนยังไงเอ่ย
วอนเลยหน่อยครับ
แล้วทำไมบอกปีพ.ศ.ได้ด้วยทึ่งครับทึ่ง อายจัง

เมื่อก่อนเขียนอย่างเป็นทางการว่าแคลาย จนเมื่อราว 10 ปีมานี้ถึงได้เปลี่ยนเป็นแคราย นัยว่าเมื่อก่อนแถวนี้มีต้นแคเรียงราย จริงเท็จอย่างไรก็ไม่ทราบ แต่เปลี่ยนไปแล้ว

ในภาพเป็นมุมมองไปยังแยกแครายจากถนนรัตนาธิเบศร์ ถนนสายนี้สร้างขึ้นเมื่อราวปี 2528 นี้เองครับ ดังนั้นภาพนี้ไม่เก่ากว่านั้นแน่
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
ภูริทัต
อสุรผัด
*
ตอบ: 30


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 09 มิ.ย. 13, 00:36

ครับ กระจ่างแจ้งดีครับ
มาดูถนนวิภาวดีรังสิตกันดีกว่า


บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 09 มิ.ย. 13, 00:46

สวัสดีครับคุณ jalito
แปลว่าห้างนี้ต้องสร้างก่อนยุค60แน่ๆเลย
ไม่คุ้นเลยครับ อธิบายได้แจ่มชัดมากครับ
แต่โรงเรียนที่วามาไม่ใช่โรงเรียนวึดสระปทุมหรือครับ
อันนี้ผมก็ไม่แน่ใจ เพราะไม่เคยได้ยินชื่อโรงเรียนนี้เลย


อ่านประวัติโรงเรียนการช่างอินทราชัยแบบย่อๆได้ที่นี่ครับ

http://www.intrachai.ac.th/icc/index.php?name=page&file=page&op=%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%AF
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 09 มิ.ย. 13, 01:20

คุณcvtบอกแยกแคลาย
คุณเพ็ญชมพูบอกแยกแคราย 2528
ตกลงแครายเขียนยังไงเอ่ย
วอนเลยหน่อยครับ
แล้วทำไมบอกปีพ.ศ.ได้ด้วยทึ่งครับทึ่ง อายจัง

เมื่อก่อนเขียนอย่างเป็นทางการว่าแคลาย จนเมื่อราว 10 ปีมานี้ถึงได้เปลี่ยนเป็นแคราย นัยว่าเมื่อก่อนแถวนี้มีต้นแคเรียงราย จริงเท็จอย่างไรก็ไม่ทราบ แต่เปลี่ยนไปแล้ว

ในภาพเป็นมุมมองไปยังแยกแครายจากถนนรัตนาธิเบศร์ ถนนสายนี้สร้างขึ้นเมื่อราวปี 2528 นี้เองครับ ดังนั้นภาพนี้ไม่เก่ากว่านั้นแน่
    แต่เดิมเป็นสามแยกแคลาย  ต่อมามีโครงการตัดถนนทางตะวันตกเฉียงเหนือของกทม.เพื่อเป็นโครงข่ายเชื่อมต่อเมืองหลวงกับจังหวัดทางด้านตะวันตกเช่นสุพรรณบุรี ฯลฯ  สามแยกแคลายจึงกลายเป็นสี่แยกจุดเริ่มต้นถนนรัตนาธิเบศร์  ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพระนั่งเกล้า จนบรรจบถนนวงแหวนตะวันตกที่บางใหญ่ และมีจุดแยกไปสุพรรณที่บางบัวทอง สามารถเดินทางต่อไปได้จนถึงอุทัยธานี
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 09 มิ.ย. 13, 15:47

สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ถนนราชดำเนิน พ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๐๒ (ถูกเผาไปเมื่อเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖)  ยังคงเห็นสามล้อถืบให้บริการ ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 09 มิ.ย. 13, 15:51

จิตร ภูมิศักดิ์ บรรยายไว้ในโคลงสรรเสริญเกียรติกรุงเทพมหานครยุคไทยพัฒนา พ.ศ. ๒๕๐๗ - บางกอกยุค ๖๐ ขนานแท้  ยิ้มเท่ห์  ว่า

อ้า…กรุงเทพมหานคร                                       ยุคพัฒนากร 
นอนละเมอเพ้อพัฒนาการ   
พัฒนาอาชีพเชี่ยวชาญ                                     ไทยนี้ชำนาญ
อาชีพแจ่มแจ๋วอัศจรรย์   
ซื้อขายสินค้าสำคัญ                                         ยื้อแย่งแข่งขัน
"กินแบ่ง" ระยำตำบอน   
ไอ้เปี๊ยกตูดปะตัวปอน                                       วิ่งแล่นตะลอน
ร้องขาย "เรียงเบอร์…เรียงเบอร์"   
เช้าเห็นเย็นเจอะค่ำเจอ                                     ขายดีจริงเออ 
เรียงเบอร์-กินแบ่งโบยบิน   
บังเกิดขบวนการใต้ดิน                                     เป็นอุตสาหกิน
ขายแข่งกินแบ่งรัฐบาล   
บอกใบ้ให้หวยบรรหาร                                     พระเจ้าอาจารย์ 
อุตตริมนุสธรรมนองเนือง   
ไพร่ฟ้าหน้าเศร้าเปล่าเปลือง                              หวยล่อคางเหลือง 
หมดเนื้อหมดตัวปางตาย   
เจ้ามือกินอิ่มพริ้มพราย                                     ปลอกคอคุ้มกาย 
พวกพ้องของท่าน…หวานหวาน !   
หวยราษฎร์หวยรัฐระบัดบาน                               แตกกิ่งตระการ
เส้นเศรษฐกิจชาติสำคัญ   
เส้นเลือดยุคชาติสร้างสรรค์                               อา…อย่าขบขัน 
ชาตินั้นคือ "กู" หนูเอ๋ย !   

บันทึกการเข้า
ภูริทัต
อสุรผัด
*
ตอบ: 30


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 09 มิ.ย. 13, 16:15

แฟชั่นบางกอกยุค60 สวยเก๋ไม่เบา
สีสันฉูดฉาดไปหน่อย
รูปนี้ อาภัสรา สวยสมนางงามจักรวาล


บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 09 มิ.ย. 13, 16:32

  สุภาพสตรีข้างหลังคุณอาภัสรา ใช่คุณปวีณา? ชายกระโปรงสูงล้ำยุคมากเลย
บันทึกการเข้า
ภูริทัต
อสุรผัด
*
ตอบ: 30


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 09 มิ.ย. 13, 16:43

ลืมพิจารณาคนเคียงข้างไป
น่าจะใช่คุณ ปวีณา จริงๆด้วย
แฟชั่นยุคนั้นก็ไม่เบา
ถ้าเป็นสมัยนี้ก็เรียกว่าสั้นเสมอหู อิอิ
ครานี้มาดูรูปย่านวัยรุ่นยุค60กันดีกว่า
ไม่มีย่านไหนที่คนบางกอกจะไม่รู้จัก


บันทึกการเข้า
ภูริทัต
อสุรผัด
*
ตอบ: 30


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 09 มิ.ย. 13, 16:54

เป็นโรงหนังที่นานๆทีพ่อกับแม่จะพาไป
แต่ยังจำความสนุก ตื่นเต้น ที่จะได้ดูหนัง
ยังไม่ลืมกลิ่นป็อบคอร์น กลิ่นไอติม
กลิ่นในโรงหนัง เป็นความทรงจำที่ยังติดจมูกอยู่เลย
จำได้ว่าหนังสุดท้ายที่ได้ดูที่โรงนี้
เป็นภาพยนตร์ไทยชื่อว่า เหนือกว่ารัก
ยังจำคุณ ทาริกา ธิดาทิตย์ บวชชีโกนหัว
ในเรื่องนี้ หนังเศร้ามาก เห็นแม่นั่งร้องไห้
ผ้าเช็ดหน้าเปียกชุ่ม ส่วนพ่อก็ตาแดงๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 09 มิ.ย. 13, 20:09

  สุภาพสตรีข้างหลังคุณอาภัสรา ใช่คุณปวีณา? ชายกระโปรงสูงล้ำยุคมากเลย
ใช่ค่ะ น้องสาวคุณอาภัสรา คุณปวีณา หงสกุล ในมินิสเกิร์ตซึ่งเพิ่งเป็นของใหม่ในช่วง 2507
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 09 มิ.ย. 13, 20:10

นางสาวไทยในยุค 1960s ที่ได้ตำแหน่งจากการประกวด Miss Universe ทั้งสองคน  คุณอาภัสราได้เป็นนางงามจักรวาล  คุณจีรนันท์ เศวตนันทน์ ได้รองอันดับสอง
ยุคนั้นประเทศไทยยังไม่ได้โกอินเตอร์  เป็นประเทศเล็กๆที่คนอเมริกันและยุโรปไม่ค่อยรู้จัก    พอนางสาวไทยของเราไปได้ตำแหน่งนางงามจักรวาล จึงตื่นเต้นกันทั้งประเทศ


บันทึกการเข้า
ภูริทัต
อสุรผัด
*
ตอบ: 30


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 09 มิ.ย. 13, 20:25

ตรงนี้รึกไม่ออกว่าที่ไหน
มีใครพอคุ้นไหมเอ่ย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 09 มิ.ย. 13, 20:34

1960s  เป็นยุคที่คนดูทีวีฟังเพลงสุนทราภรณ์จากช่อง 4 เจื้อยแจ้วเป็นประจำก่อนนอน   เพราะมาออกเป็นรายการสุดท้าย
นักแสดงของช่อง 4  ร้องเพลงสุนทราภรณ์กันได้ทั้งนั้น

ขอทบทวนความทรงจำว่าในรูปนี้มีใครบ้าง   จำได้บางคน   ถ้าคุณ SILA และคุณเทพกรผ่านมา ช่วยซ่อมให้ครบด้วยนะคะ
ผู้ชายจากขวาไปซ้าย     คุณฉลอง สิมะเสถียร 'คุณชายกลาง' คนแรกของละครทีวีบ้านทรายทอง   ถัดมา คุณรอง เค้ามูลคดี   คนที่สามเป็นพระเอกละครทีวีเหมือนกันแต่นึกชื่อไม่ออก   คนที่สี่คือคุณนฤพนธ์  ดุริยพันธุ์   ถัดจากคุณนฤพนธ์คือนักร้องสุนทราภรณ์   คุณเลิศ ประสมทรัพย์  และคุณวินัย จุลละบุษปะ
ผู้หญิงจากขวาไปซ้าย  คุณนงลักษณ์ โรจนพรรณ   คุณกนกวรรณ ด่านอุดม  คุณอารีย์ นักดนตรี  ถัดไปเป็นนักร้องสุนทราภรณ์ทั้ง 4 คน คุณศรีสุดา รัชตวรรณ  คุณวรนุช อารีย์ ส่วนอีก 2 คนไม่แน่ใจค่ะ  



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 09 มิ.ย. 13, 20:37

ตรงนี้รึกไม่ออกว่าที่ไหน
มีใครพอคุ้นไหมเอ่ย
รูปนี้น่าจะลงในกระทู้เก่า รูปก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอกมาแล้ว
คุณเพ็ญชมพู หรือไม่ก็คุณ siamese เป็นคนเฉลยหรือเปล่าคะ

สี่แยกราชประสงค์หรือเปล่า?
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.087 วินาที กับ 19 คำสั่ง