เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 27060 อยากได้ภาพเกี่ยวกับการทหารในสมัย ร.5 ครับ
เป็นหนึ่ง
อสุรผัด
*
ตอบ: 18

เอกชน


 เมื่อ 19 พ.ค. 13, 14:13

เนื่องจากได้รับมอบจากหน่วยงานให้ทำประวัติหน่วย แต่มีบางส่วนที่ต้องเล่าเกี่ยวกับการทหารในสมัย ร.5 ด้วย  จึงอยากจะรบกวน ถึงท่านผู้รู้ทั้งหลายหากมีภาพเกี่ยวกับการฝึก การจัดหน่วย ของทหารในสมัยนั้น รบกวนหน่อยนะครับ  ซึ่งก็จะมีการกล่าวถึง กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดชด้วยครับ   ขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 19 พ.ค. 13, 16:41

อยู่หน่วยใดหรือ ?

ภาพสมัยรัชกาลที่ ๕  ทหารซ้อมรบ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 19 พ.ค. 13, 16:43

ภาพการใช้สัตว์ประเภทช้าง ในการร่วมบรรทุกของและออกรบด้วย


บันทึกการเข้า
เป็นหนึ่ง
อสุรผัด
*
ตอบ: 18

เอกชน


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 19 พ.ค. 13, 16:49

สารวัตรทหารครับ   เท่าที่สืบค้นดู มีไม่มากครับ จากประวัติจะมีการกล่าวถึงการจัดทหารแบบใหม่ (แบบยุโรป)  ทหารแขนแดง  พระยาวิเศษสัจจธาดา  แต่หาภาพที่เกี่ยวข้องได้น้อยเต็มที่ครับ คือต้องการนำมาตัดต่อวีดีโอใช้สอนนักเรียนทหารครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 19 พ.ค. 13, 17:04

ความเป็นมาของทหารในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ หากจะกล่าวถึงการจัดทหารแบบยุโรปนั้นสามารถย้อนลึกไปถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ เลยก็ว่าได้ แต่คุณเป็นหนึ่งอยากได้ข้อมูลในการจัดทหารในช่วงรัชกาลที่ ๕ ก็เป็นช่วงหนึ่งที่เริ่มจัดกองทหารเป็นร่างอย่างชัดเจน

ปูพื้นก่อนว่าการหัดทหารแบบยุโรป ที่เรียกโดยก่อนนั้นเรียกว่า "กองทหารน่า" คือ ทหารซึ่งอยู่ข้างหน้ากระบวนเสด็จ ซึ่งมีอยู่ ดังนี้

๑. ทหารแบบยุโรป

๒. กองทหารมหาดไทย

๓. กองทหารกลาโหม

๔. กองทหารเกณฑ์หัด

ครั้นต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่า การทหารเริ่มมีความเจริญมามากแล้ว ควรให้เริ่มมีการจัดนายทหารให้มีตำแหน่งประจำกรมตามกองทหาร ซึ่งเป็นชั้นสัญญาบัตร

หลังจากรัชกาลที่ ๕ ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่ ๒ แล้วทรงเริ่มวางพระราชอำนาจในด้านกิจการทหารมาเป็นลำดับ โดย พ.ศ. ๒๔๑๗ ทรงเริ่มให้มียศของทหาร ตามอย่างประเทศอังกฤษ

การจัดระเบียบมีกำหนด

๑. กรมทหารราบที่ ๑ (รักษาพระองค์)

๒. กรมทหารราบที่ ๒ (ล้อมวัง)

๓. กรมทหารราบที่ ๓ (ฝีพาย)

๔. กรมทหารม้า ที่ ๑

๕. กรมทหารปืนใหญ่ ที่ ๑

๖. กรมทหารช่าง

๗. กรมทหารหน้า

๘. กรมทหารเรือพระที่นั่งเวสาตรี

๙. กรมทหารเรือพระที่นั่งอรสุมพล
บันทึกการเข้า
เป็นหนึ่ง
อสุรผัด
*
ตอบ: 18

เอกชน


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 19 พ.ค. 13, 17:14

หากจะว่ากันจริงๆ แล้ว การจัด การฝึกซ้อม การแต่งกายของทหารไทย เริ่มเป็นแบบสมัยใหม่ ก็เนื่องจากการที่พระเจ้าลุกเธอทั้งหลายทรงสำเร็จการศึกษาจากประเทศในทวีปยุโรปครับ  เมื่อกลับมาก็นำมาปรับปรุงกองทัพ มีเครื่องหมาย สังกัดอะไรต่างๆ การฝึกอะไรตามภาพด้านบนก็เป็นแบบสมัยใหม่  จึงอยากได้ภาพช่วงนี้มาเพื่อจัดทำประวัติเหล่าครับ  ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 19 พ.ค. 13, 17:19

เมื่อกองทหารที่จัดขึ้นใหม่ ๙ กรม ก็ให้ขึ้นกับกระทรวงยุทธาธิการ ต่อมาเมื่อมีการปฏิรูปการปกครองแบ่งเป็นกระทรวงแล้วก็ยกหน่วยทหาร ขึ้นกับ "กระทรวงกลาโหม" และลดกระทรวงยุทธาธิการเหลือเพียง กรมยุทธาธิการ

และการทหารได้เจริญก้าวหน้าอีกครั้งเมื่อ เหล่าพระราชโอรสที่ได้เติบโต ได้เริ่มเข้ารับราชการในหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะ จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ซึ่งได้โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑

กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ฯ ทรงตรากตรำตั้งใจเป็นอย่างมากเพื่อให้กองทหารเจริญรุ่งเรือง ย่อมทำให้พระองค์สุขภาพไม่แข็งแรงอยู่เนื่อง ๆ

มีการพัฒนาให้ทหารแบ่งเป็น กองพล กองพัน กองร้อย หมวด หมู่ และเริ่มตราพระราชบัญญัติการเกณฑ์ทหาร ให้ชายไทย รับราชการทหาร ๒ ปี ใน พ.ศ. ๒๔๔๔ เป็นต้นมา
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 19 พ.ค. 13, 17:22

ภาพการฝึกในโรงเรียนายร้อย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 19 พ.ค. 13, 17:26

ภาพนี้คุณเป็นหนึ่ง ย่อมถูกใจแน่ ๆ เลยกับ ภาพสารวัตรทหาร ปลอกแขนจักร แดง


บันทึกการเข้า
เป็นหนึ่ง
อสุรผัด
*
ตอบ: 18

เอกชน


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 19 พ.ค. 13, 17:27

เยี่ยมครับ ขอบคุณมากๆ ครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 19 พ.ค. 13, 19:09

ภาพทหารสารวัดในความเห็นที่ ๘ เป็นทหารสารวัดในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ ที่เปลี่ยนเครื่องแบบจากสีกากีมาเป็นสีกากีแกมเขียวมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๒ เพื่อให้เหมือนกับเครื่องแบบทหารบกของชสจิสัมพันธมิตร

เรื่องราวของทหารสารวัดนั้นแทบจะไม่มีเอกสารใดกล่าวถึงเลย  คงพบแต่เรื่องเสือป่า "หัวแดง" ซึ่งจมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม  เศวตนันทน์) บันทึกไว้ในอนุสรณ์ "ศุกรหัศน์" ว่า

"ในทางรักษาความสงบในค่ายของเสนาหลวงรักษาพระองค์  ได้ทรงตั้งกองสารวัตรขึ้น  มีวิธีการอย่างเดียวกับสารวัตรทหาร  ครั้งแรกก็พันแดงอย่างเดียวกัน  ภายหลังเมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๑ เลิกแล้ว  ทรงทราบว่า เอ็ม.พี.ของอังกฤษ คือ สารวัตรทหาร หรือ Military Police เขาเข้มแข็ง และแต่งกายโดยมีปลอกหมวกสีแดงเป็นเครื่องหมายเพื่อให้ เห็นได้ง่าย  จะได้ไม่มีใครค่อยกล้าทำผิด  จึงทรงดัดแปลงเครื่องแบบสารวัตรเสือป่า  ให้ใช้ปลอกหมวกทรงหม้อตาลสีแดงทั้งหมดเหมือนกัน  ในการซ้อมรบเสือป่าสารวัตร มีหน้าที่มาก และสารวัตรเสือป่านี้ส่วนมากเป็นสารวัตรในพระราชสำนักด้วย  ในค่ายหลวงทุกแห่งมีป้ายบอกเขต  เป็นป้ายเครื่องหมายเสนาธิการเสือป่า คือ แผ่นป้ายพื้นสีดำ  มีสอดสีแดง  ต่อจากริม ๒ ข้างคล้ายๆ แถบธงชาติ  เป็น ๕ แถบ  คือริ้วดำเล็ก  ริมริ้วแดง  แล้วพื้นดำใหญ่ต่อไปริ้วแดง  จึงถึงริมดำ  กลางมีรูปกระบี่เสือป่า คือดาบไทยปลายงอนไขว้กัน  อันเป็นเครื่องหมายเสนาธิการเสือป่า  ป้ายนี้ปักทั่วปริมณฑล  และส่วนมากปักตรงช่องทางเข้าออก  เสือป่าจะออกไปนอกเขตป้ายนี้โดยไม่มีบัตรอนุญาตผ่านออกไม่ได้  และมีสารวัตรคอยกำกับอยู่

"วันหนึ่งนักเลงดีผู้นั้น  ซึ่งเป็นเสือป่าราบจะออกนอกบริเวณโดยไม่มีบัตรอนุญาต  สารวัตรก็ห้าม  ทีแรกก็ถามว่า ถ้าไม่ออกนอกป้ายสารวัตรได้ไหม  สารวัตรบอกว่าถ้าไม่ล้ำป้ายละก็ได้  ทีแรกถอนป้ายสารวัตรขึ้น  แล้วเดินถือไปข้างหน้า  ตัวแกเดินตามป้ายนั้น  จะออกไปตลาดบ้านโป่ง  สารวัตรต้องขัดขวางและพาตัวมายังผู้บังคับบัญชา  ดูเหมือนเรื่องจะทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท  จึงมีพระราชกระแสตัดสินชี้ขาดว่า ถ้าร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ถูกป้ายเลยและไม่ล้ำแนวป้ายไม่ผิด  ถ้าร่างกายถูกป้ายและล้ำแนวป้ายมีผิด  ปรากฏว่า เสือป่าพรานนั้นถูกขังบริเวณค่ายสนาม ๓ วัน"

กับอีกตอนหนึ่งท่านเล่าไว้ว่า

"อีกเรื่องหนึ่ง  ย้อนเล่าถึงการลักลอบเล่นการพนัน  สารวัตรทราบเบาะแสว่า มักจะชวนกันไปเล่นชายทุ่ง  สารวัตรใหญ่คือ เจ้าคุณพิทักษ์ภูบาล   ก็สั่งการให้สารวัตรไม่น้อยกว่า ๑๐ คนไปซุ่มคอยทีอยู่  และให้แต่งกายนอกเครื่องแบบด้วย  ครั้นได้เวลาท่านพวกนั้นก็ไปกันจริง  คราวนี้เป็นเสือป่าพรานหลวงรวมกันไม่น้อยกว่า ๑๐ คนเหมือนกัน  พอได้ชัยภูมิดีก็ลงมือเล่นไฮโล  เพราะเสือป่าทุกคนมีเบี้ยเลี้ยงคนละ ๑ บาท  ไม่หักค่าข้าว  สำหรับเงิน ๑ บาทสมัยนั้นถ้าใช้ซื้ออาหารรับประทานอย่างประหยัด  เหลือไม่น้อยกว่าวันละ ๓๐ สตางค์ คือเช้า ๒๐ สตางค์  กลางวัน ๒๕ สตางค์  เย็น ๒๕ สตางค์  เป็นใช้ทั้งหมด ๗๐ สตางค์อย่างเหลือเฟือ  พอวันเบี้ยเลี้ยงออกก็มักแอบหาความสนุกพิเศษดังนี้  เมื่อลงมือเล่นกันไปได้สักครู่สารวัตรก็ตรูกันออกไปจับ  ปรากฏได้ตัวผู้เล่นรวมทั้งของกลาง เช่น เครื่องเขย่า  สตางค์พร้อม  ก็นำมาสอบสวนยังกองสารวัตร  ทุกคนรับเป็นสัตย์  ไม่รับไม่ไหวเพราะพยานหลักฐานผูกมัดอยู่  สารวัตรใหญ่ก็นำเรื่องราวเสนอตามลำดับ  จนถึงองค์สมเด็จพระผู้บัญชาการกองเสนาหลวง ร.อ. คือ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖  เมื่อได้ทรงพิจารณาสำนวนการสอบสวนจนสิ้นกระบวนความแล้ว  จึงมีพระราชบันทึกวินิจฉัยความดังต่อไปนี้

“ทราบแล้ว  ขอบใจสารวัตรมากที่เอาใจใส่ในหน้าที่  จนสามารถได้ตัวผู้กระทำความผิด  ซึ่งเราชิงชังยิ่งนัก  เพราะนักรบไม่บังควรหมกมุ่นด้วยอบายมุข  โดยเฉพาะการพนัน  เพราะมีโทษถึง ๖ สถาน เช่น ๑ เมื่อชนะย่อมก่อเวร ๒ เมื่อแพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป ๓ ทรัพย์ย่อมฉิบหาย ๔ ไม่มีใครเชื่อถือถ้อยคำ ๕ เป็นที่หมิ่นประมาทของเพื่อน ๖ ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย”  นี้ทรงมีพระราชบันทึกตามแบบในนวโกวาทของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระราชอุปัชฌาย์  ตรงเผง  และทรงเพิ่มเติมต่อไปว่า “ทั้งเป็นทางให้เกิดการลักเล็กขโมยน้อย  ไม่ตั้งใจปฏิบัติการงาน  เป็นการเสื่อมเสียมาก  ซึ่งผู้บังคับบัญชาควรจะกวดขันให้รัดกุม  เพราะวิสัยฝุ่นเมื่อมีช่องก็มักเล็ดลอด  ถ้าผู้บังคับบัญชาเอาใจใส่ดูแล  เหตุจะไม่เกิดขึ้น

อนึ่ง สารวัตรเสือป่าที่จัดให้แต่งกายด้วยหมวกสีแดง  หรือเรียกว่าหัวแดงนั้น  ก็เพื่อไว้สำหรับป้องกัน  มิใช่ประสงค์จะให้ “จับกุม” ผู้กระทำความผิด  ก็เมื่อสารวัตรไปใช้วิธีแอบซุ่มคอยจับ  และมิหนำซ้ำไม่ใช้เครื่องแบบด้วย  จึงเป็นการปฏิบัติงานผิดความมุ่งหมายของเรา  การจับกุมผู้กระทำผิดเสียแล้ว  กับการป้องกันมิให้มีการกระทำผิดเกิดขึ้น  มีผลต่างกันมาก  คือไม่เกิดการเสียหายทุกฝ่าย  ฉะนั้นการปฏิบัติงานของสารวัตรเสือป่าคราวนี้  นับว่าเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่และความประสงค์  จนเป็นผลเสียหายเกิดขึ้นแก่กองเสนาหลวง ร.อ.  ดังนั้นโทษใดที่ควรจะปรับแก่ผู้กระทำผิด  เพราะเล่นการพนันให้ลงโทษนั้นแก่บรรดาสารวัตรผู้ไปซุ่มจับผู้กระทำผิดนั้นด้วย”
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 19 พ.ค. 13, 19:35

รูปยาซิกาแรต จ่าโทสารวัตรทหารเรือ และทหารเรือสารวัตร


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 19 พ.ค. 13, 19:37

นายสิบโททหารพาหนะสารวัตร และ จ่านายสิบสารวัตรทหาร


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 19 พ.ค. 13, 20:18

ภาพทหารยืนเรียงทำความเคารพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะเสด็จรถม้าเสด็จนิวัติพระนคร กลับจากยุโรป ครั้งที่ ๒


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เป็นหนึ่ง
อสุรผัด
*
ตอบ: 18

เอกชน


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 20 พ.ค. 13, 11:08

ขอบคุณทุกท่านที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเหล่าทหารสารวัตร  หากมีเพิ่มเติมยินดีเป็นอย่างยิ่ง 
เผลอแป๊บเดียวเป็นสมาชิกเว็บมา 11 ปีแล้วล่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 19 คำสั่ง