เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 24424 นิราศหนองคาย:ใครอยู่เบื้องหลังวรรณคดีที่ถูกสั่งเผา
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 16 พ.ค. 13, 15:09

เกริ่นความเป็นมาของเรื่องไว้ก่อนค่ะ

จะเริ่มเรื่องเมืองหนองคายจดหมายเหตุ      ในแดนเขตเขื่อนคุ้งกรุงสยาม
บังเกิดพวกอ้ายฮ่อมาก่อความ              ทำสงครามกับลาวพวกชาวเวียง
ซึ่งเจ้าเมืองเขตขัณฑ์ตะวันออก              ก็แต่งบอกเขียนหนังสือลงชื่อเสียง
ในเขตแดนหนองคายเมืองรายเรียง              เมืองใกล้เคียงบอกบั่นกระชั้นมา
ว่าล้วนพวกอ้ายฮ่อทรลักษณ์                      ประมาณสักสามพันล้วนกลั่นกล้า
เที่ยวรบปล้นขนทรัพย์จับประชา              ลาวระอามิได้อาจขยาดกลัว
บันทึกการเข้า
spyrogira
อสุรผัด
*
ตอบ: 36


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 16 พ.ค. 13, 15:14

ลงทะเบียนล่วงหน้าครับ ..
.. เรื่องนี้น่าสนใจ เหมือนจะเกี่ยวดองกับเรื่อง วีรกรรมปราบฮ่อด้วยใช่ไหมครับ ..
 เจ๋ง เจ๋ง เจ๋ง
บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 16 พ.ค. 13, 15:25

เข้ามาจองเก้าอี้แถวหน้ารอชม
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 16 พ.ค. 13, 15:44

เริ่มเรื่อง นิราศหนองคาย



ราชกิจจาปี วันอาทิตย์ เดือน ๙  แรม ๕ ค่ำ พ.ศ. ๒๔๒๑      ลงว่า
หนังสือนิราศหนองคายที่ตีพิมพ์เย็บเป็นเล่มไว้นั้น  ใครได้ซื้อมาอ่านมาฟัง  ให้พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง 
เก็บเอามาเผาไฟเสียให้สิ้น  อย่าให้มีแบบฉบับเหลืออยู่ได้

ให้เอาตัวอ้ายทิมขุนพิพิธภักดี ในกรมพระสุรัสวดี เป็นคนคิดนิราศหนองคาย ถ้อยคำฟุ้งซ่านร่านระเหลือเกินมากนัก ให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยน ๕๐ จำคุกไว้ และหนังสือนิราศหนองคายที่ตีพิมพ์เย็บเป็นเล่มไว้นั้น ใครได้ซื้อมาอ่านมาฟัง ให้พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมืองเก็บเอามาเผาไฟเสียให้สิ้น อย่าให้มีแบบฉบับเหลืออยู่ได้

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จาก ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕ นำเบอร์ ๑๕๓
วันอาทิตย์เดือน ๙ แรม ๕ ค่ำ ปีขาล


ล้วนความจริงไม่แกล้งมาแต่งปด      ได้จำจดผูกพันจนวันกลับ
ถึงความร้ายการดีที่ลี้ลับ               ได้สดับเรื่องหมดจดจำมา
ซึ่งบางพวกไม่ได้ขึ้นไปทัพ             บางคนกลับผูกจิตริษยา
แล้วกล่าวโทษติฉินแกล้งนินทา        ค่อนขอดว่ากองทัพเสียยับเยิน


หลวงพัฒนพงษ์ภักดี (ทิม สุขยางค์)


Where they have burned books, they will end in burning human beings.
Dort, wo man Bücher verbrennt, verbrennt man am Ende auch Menschen.


Heinrich Heine
จากบทละคร Almansor (๑๘๒๑)

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 16 พ.ค. 13, 16:06

ลงทะเบียนล่วงหน้าครับ ..
.. เรื่องนี้น่าสนใจ เหมือนจะเกี่ยวดองกับเรื่อง วีรกรรมปราบฮ่อด้วยใช่ไหมครับ ..
 เจ๋ง เจ๋ง เจ๋ง

พวกฮ่อเข้ามารุกรานหลายครั้งด้วยกันค่ะ    ถ้าหมายถึงครั้งที่ก่อให้เกิดอนุสาวรีย์ปราบฮ่อ  (องค์เดิม) ด้านหลังสถานีตำรวจภูธร อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย  เป็นคนละครั้งกับในนิราศหนองคาย     ครั้งนี้ เกิดขึ้นเมื่อฮ่อยกกองทัพมารุกรานมณฑลลาวพวนในร.ศ.๑๐๕ (พ.ศ.๒๔๒๙) ไทยส่งกองทัพไปปราบหลายทัพด้วยกัน
พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมทรงยกทัพขึ้นไปสมทบในการปราบฮ่อในระยะหลัง    เสร็จศึกแล้ว จึงมีรับสั่งให้จัดสร้างอนุสาวรีย์ปราบฮ่อขึ้น    เป็นสถานบรรจุอัฐิของเหล่าทหารที่เสียชีวิตในการปราบฮ่อค่ะ


ทำท่าจะจบกระทู้ได้ตั้งแต่ค.ห. 3 แล้วมั้ง     คุณเภ็ณย์ฌร์มภูว์เล่าหมดแล้วนี่


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 16 พ.ค. 13, 16:27

เริ้่มปุ๊บ .... จบปั๊บ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 16 พ.ค. 13, 16:47

ยังไม่ได้เปิดตัวผู้อยู่เบื้องหลังเลยหนอ คุณเฒาว์ฌร์มภูว์  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 16 พ.ค. 13, 16:59

หยอดอีกหน่อย  ยิ้มเท่ห์

ราชกิจจาปี วันอาทิตย์ เดือน ๙  แรม ๕ ค่ำ พ.ศ. ๒๔๒๑      ลงว่า
หนังสือนิราศหนองคายที่ตีพิมพ์เย็บเป็นเล่มไว้นั้น  ใครได้ซื้อมาอ่านมาฟัง  ให้พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง  
เก็บเอามาเผาไฟเสียให้สิ้น  อย่าให้มีแบบฉบับเหลืออยู่ได้

ให้เอาตัวอ้ายทิมขุนพิพิธภักดี ในกรมพระสุรัสวดี เป็นคนคิดนิราศหนองคาย ถ้อยคำฟุ้งซ่านร่านระเหลือเกินมากนัก ให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยน ๕๐ จำคุกไว้ และหนังสือนิราศหนองคายที่ตีพิมพ์เย็บเป็นเล่มไว้นั้น ใครได้ซื้อมาอ่านมาฟัง ให้พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมืองเก็บเอามาเผาไฟเสียให้สิ้น อย่าให้มีแบบฉบับเหลืออยู่ได้

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จาก ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕ นำเบอร์ ๑๕๓
วันอาทิตย์เดือน ๙ แรม ๕ ค่ำ ปีขาล

***************************
คุณเพ็ญจะว่ายังไง  กับหลักฐานข้างล่างนี้

จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ประจำวันจันทร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 9   ลงไว้ดังนี้

"  ทอดพระเนตรเห็นราชกิจจาซึ่งออกวันนี้ หน้า 153 ที่ 20 ว่าด้วยนิราศหนองคาย     เพ้อเจ้อว่าเป็นมีพระบรมราชโองการให้เก็บฉบับเผา ที่จริงไม่ได้ทรงสั่ง    กริ้วว่าลงผิด    ดูเป็นการสั่งการสั่งงานไม่ประมาณการไป รับสั่งให้หากรมขุนบดินทรมาแล้ว ออกขุนนางทรงกริ้วมาก รับสั่งต่อไปต้องเอาโทษ ถ้าจะลงอะไรแปลกประหลาดให้มาถามก่อน

แสดงว่า ไม่มีพระบรมราชโองการให้เผา    แต่กลับไปปรากฏข้อความในราชกิจจาฯ ว่า ทรงสั่งให้เผานิราศหนองคาย     ผู้ที่ต้องรับไปเต็มๆคือพระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนบดินทรไพศาลโสภณ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 16 พ.ค. 13, 18:51

ราชกิจจาปี วันอาทิตย์ เดือน ๙  แรม ๕ ค่ำ พ.ศ. ๒๔๒๑      ลงว่า
หนังสือนิราศหนองคายที่ตีพิมพ์เย็บเป็นเล่มไว้นั้น  ใครได้ซื้อมาอ่านมาฟัง  ให้พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง  
เก็บเอามาเผาไฟเสียให้สิ้น  อย่าให้มีแบบฉบับเหลืออยู่ได้

ราชกิจจาอีกฉบับ วันอังคาร  แรม ๗ ค่ำ  ตามมาติดๆ
หนังสือฉบับนี้เป็นหนังสือขัดขวางต่อราชการแผ่นดิน   เป็นที่หมิ่นประมาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินแลท่านเสนาบดีผู้มีกตัญญูต่อแผ่นดิน
หาควรจะอ่านจะเก็บหนังสือนี้ไว้ไม่ ด้วยเป็นที่ขัดขวางราชการแผ่นดิน   แลเป็นที่หม่นหมองต่อพระบาทสมเด็จพระเข้าแผ่นดิน  แลท่านเสนาบดี

ต้นร่างหนังสือฉบับนี้ก็ได้โปรดเกล้า ฯ  ให้เรียกมาทำลายเสีย

ฉบับที่ตีพิมพ์แล้วยังไม่ได้ขายไปนั้น   ให้ผู้ซึ่งส่งไปพิมพ์ซื้อมาทำลายเสียทั้งสิ้น

แต่หนังสือที่ได้ซื้อไปแต่ก่อนแล้วนั้น   ถ้าผู้ใดยังมีหนังสือนั้นก็ให้ฉีกทำลายเสีย
อย่าให้ติดเป็นแบบอย่างอยู่ในแผ่นดินสืบไป


จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ประจำวันอังคาร เดือน ๙ แรม ๗ ค่ำ จดบันทึกไว้ว่า

"ทรงร่างประกาศไปลงพิมพ์ราชกิจจาว่าด้วยนิราศหนองคาย พระศรีสุนทรเป็นผู้รับพระบรมราชโองการ ส่งไปวันศุกร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๙"

ประกาศที่ทรงร่างเอง และส่งไปพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษานั้น ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕ นำเบอร์ ๑๖๑ วันอาทิตย์เดือน ๙ แรม ๑๒ ค่ำ ปีขาล สัมฤทธิศก ๑๒๔๐ แผ่นที่ ๒๑ ตอนที่๑ ดังนี้

ประกาศ

เรื่องอ้ายทิมแต่งนิราศฯ

ด้วยพระศรีสุนทรโวหาร เจ้ากรมพระอาลักษณ์ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่าอ้ายทิม ขุนพิพิธภักดี ในกรมพระสุรัสวดี คิดหนังสือนิราศว่าด้วยกองทัพซึ่งจะยกขึ้นไป ณ เมืองหนองคาย เพื่อจะป้องกันรักษาพระราชอาณาเขต ตามราชประเพณีมาแต่ก่อน อ้ายทิมบังอาจแต่งหนังสือออกพระนามพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินตัดทอนแทรกเปลี่ยนถ้อยคำเจือลงในกลอน แลกล่าวความกระทบกระเทือนถึงท่านผู้บัญชาการแผ่นดินและผู้อื่น ๆ โดยถ้อยคำหยาบคาย ยกย่องเหตุซึ่งได้ขัดขวางราชการแผ่นดินขึ้นเชิดชูไปต่าง ๆ จึงทรงพระราชดำริห์พร้อมด้วยท่านเสนาบดีว่า ราชประเพณีแต่ก่อนมีการทัพศึกมาเวลาใด พระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินแลท่านเสนาบดีก็ปรึกษาพร้อมกันจัดกองทัพไปรับรองป้องกันพระราชอาณาเขต หามีผู้ใดขัดขวางแลติเตียนเหลือเกินดังนี้ได้ไม่ ถ้ามีผู้ใดพูดจาดังนี้ในเวลามีการทัพ ก็จะต้องมีโทษถึงประหารชีวิตตามพระราชกำหนดกฎหมาย บัดนี้ อ้ายทิมมาทำหนังสือว่ากล่าวเหลือเกิน เท็จบ้างจริงบ้าง เป็นการหมิ่นประมาทต่อราชการแลท่านผู้บัญชาการ จะเป็นแบบอย่างต่อไปภายหน้า เมื่อมีราชการทัพศึกก็จะบังคับบัญชาได้โดยยาก จึงให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนอ้ายทิม ๕๐ ที ส่งตัวไปจำไว้ ณ คุก อย่าให้ผู้ใดเอาเยี่ยงอย่าง แลหนังสือฉบับนี้เป็นหนังสือขัดขวางต่อราชการแผ่นดิน เป็นที่หมิ่นประมาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน แลท่านเสนาบดีซึ่งมีกตัญญูต่อแผ่นดิน และยำเกรงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน แลท่านเสนาบดีซึ่งช่วยรักษาแผ่นดินอยู่ ก็หาควรจะอ่าน จะเก็บหนังสือนี้ไว้ไม่ ด้วยเป็นที่ขัดขวางต่อราชการแผ่นดินแลเป็นที่หม่นหมองต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินแลท่านเสนาบดี ต้นร่างหนังสือฉบับนี้ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้เรียกมาทำลายเสีย ฉบับที่ตีพิมพ์แล้วยังไม่ได้ขายไปนั้น ให้ผู้ซึ่งส่งไปลงพิมพ์ซื้อมาทำลายเสียทั้งสิ้น แต่หนังสือที่ไปซื้อไปแต่ก่อนแล้วนั้น ถ้าผู้ใดยังมีหนังสือนั้น ก็ให้ฉีกทำลายเสีย อย่าให้ติดเป็นแบบอย่างอยู่ในแผ่นดินสืบไป

ประกาศมา ณ วันอังคาร เดือน ๙ แรม ๗ ค่ำ ปีขาล สัมฤทธิศก ศักราช ๑๒๔๐ เป็นวันที่ ๓๕๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน


สรุปว่าไม่เผา แต่ให้เอาไปทำลาย

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 16 พ.ค. 13, 20:48

เป็นอันรู้แล้วว่าไม่มีใครสั่งเผา
บันทึกการเข้า
spyrogira
อสุรผัด
*
ตอบ: 36


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 17 พ.ค. 13, 10:19

แหม .. จบเร็วจังฮะ อาจารย์ ..  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 17 พ.ค. 13, 11:28

ยังไม่จบก็ได้ค่ะ
 ยิงฟันยิ้ม
เป็นอันได้เบื้องหลังนิราศหนองคายมา 1 เรื่องแล้วว่า  ที่ว่าถูกสั่งเผานั้นไม่จริง  ราชกิจจานุเบกษาลงข้อความผิดพลาดไป   (ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้นานๆครั้ง)  แต่ว่าหนังสือเล่มนี้ถูกสั่งริบและให้ทำลายจริง   จะด้วยวิธีไหนก็ตามไม่ได้กำหนดรายละเอียด
เห็นได้จากประกาศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงร่างเอง และส่งไปพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษานั้น มี
ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา   เล่มที่ 5 นำเบอร์ 161 วันอาทิตย์ เดือน 9 แรม 12 ค่ำ ปีขาล สัมฤทธิศก 1240 แผ่นที่ 21 ตอน
ที่ 1ดังนี้

ประกาศ

เรื่องอ้ายทิมแต่งนิราศฯ

ด้วยพระศรีสุนทรโวหาร เจ้ากรมพระอาลักษณ์ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่าอ้ายทิม ขุนพิพิธภักดี ในกรมพระสุรัสวดี คิดหนังสือนิราศว่าด้วยกองทัพ ซึ่งจะยกขึ้นไป ณ เมืองหนองคาย เพื่อจะป้องกันรักษาพระราชอาณาเขต ตามราชประเพณีมาแต่ก่อน อ้ายทิมบังอาจแต่งหนังสือ ออกพระนามพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินตัดทอนแทรกเปลี่ยนถ้อยคำเจือลงในกลอน แลกล่าวความกระทบกระเทือนถึงท่านผู้บัญชาราชการแผ่นดิน  แลผู้อื่นๆ โดยถ้อยคำหยาบคาย ยกย่องเหตุซึ่งได้ขัดขวางราชการแผ่นดินขึ้นเชิดชูไปต่าง ๆ จึงทรงพระราชดำริห์พร้อมด้วยท่านเสนาบดีว่า ราชประเพณีแต่ก่อนมีการทัพศึกมาเวลาใด พระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินแลท่าน  เสนาบดีก็ปรึกษาพร้อมกันจัดกองทัพไปรับรองป้องกันพระราชอาณาเขต หามีผู้ใดขัดขวางแลติเตียนเหลือเกินดังนี้ได้ไม่    ถ้าผู้ใดพูดจาดังนี้ในเวลามีการทัพ ก็จะต้องมีโทษถึงประหารชีวิตตามพระราชกำหนดกฏหมาย

บัดนี้ อ้ายทิมมาทำหนังสือว่ากล่าวเหลือเกิน เท็จบ้าง  จริงบ้าง เป็นการหมิ่นประมาทต่อราชการแลท่านผู้บัญชาการจะเป็นแบบอย่างต่อไปภายหน้า เมื่อมีราชการทัพศึก ก็จะบังคับบัญชาได้โดยยาก จึงให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนอ้ายทิม 50 ที ส่งตัวไปจำไว้ ณ คุก อย่างให้ผู้ใดเอาเยี่ยงอย่าง และหนังสือฉบับนี้เป็นหนังสือขัดขวางต่อราชการแผ่นดิน เป็นที่หมิ่นประมาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน  แลท่านเสนาบดีผู้ซึ่งมีกตัญญูต่อแผ่นดิน แลยำเกรงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน แลท่านเสนาบดีซึ่งช่วยรักษาแผ่นดินอยู่ ก็หาควรจะอ่าน จะเก็บหนังสือนี้ไว้ไม่ ด้วยเป็นที่ขัดขวางต่อราชการแผ่นดินแลเป็นที่หม่นหมองต่อพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าแผ่นดินแลท่านเสนาบดี

ต้นร่างหนังสือฉบับนี้ก็ได้โปรดเกล้าฯให้เรียกมาทำลายเสีย ฉบับที่ตีพิมพ์แล้วยังไม่ได้ขาย
ไปนั้น ให้ผู้ซึ่งส่งไปลงพิมพ์ซื้อมาทำลายเสียทั้งสิ้น แต่หนังสือที่ไปซื้อไปแต่ก่อนแล้วนั้น ถ้าผู้ใดยังมีหนังสือนั้น ก็ให้ฉีกทำลาย
เสียอย่างให้ติดเป็นแบบอย่างอยู่ในแผ่นดินสืบไป

ประกาศมา ณ วันอังคาร เดือน 9 แรม 7 ค่ำ ปีขาล
สัมฤทธิศก ศักราช 1240 เป็นวันที่ 3570
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 17 พ.ค. 13, 12:03

ขอย้อนกลับไปสู่ต้นเรื่อง สำหรับท่านที่ยังไม่เคยอ่านนิราศหนองคาย  จะได้เข้าใจความเป็นมา   ส่วนท่านที่รู้เรื่องดีแล้วข้ามค.ห.นี้และต่อจากนี้ไปก็ได้    ไปรอท้ายกระทู้ได้เลยค่ะ   ยิ้มเท่ห์

พื้นหลังของเรื่องนี้มีอยู่ว่าในพ.ศ. 2418   เกิดศึกฮ่อมารุกรานเมืองหนองคาย    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯจึงโปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรงเป็นแม่ทัพแรก  ยกกองทัพออกจากกรุงเทพมหานคร  เดินทางเรือไปขึ้นบกที่สระบุรี แล้วเดินทางต่อไป    ส่วนกองทัพที่สอง มีเจ้าพระยาภูธรภัย สมุหนายก ยกพลออกจากรุงเทพมหานคร ไปขึ้นบกที่เมืองอุตรดิตถ์ และเดินทางไปยังเมืองหลวงพระบาง

ในกองทัพของเจ้าพระยามหินทรฯ  มีนายทิม ทนายคนสนิทของท่านเดินทางไปด้วย    นายทิมได้บันทึกเรื่องราวการเดินทางไว้ชื่อว่า นิราศหนองคาย   ซึ่งเนื้อหาเน้นบันทึกเหตุการณ์ล้วนๆ  ไม่ใช่บันทึกเส้นทางแบบคร่าวๆ แต่หนักไปทางอารมณ์รักของกวีอย่างที่นิยมกันในการแต่งนิราศสมัยต้นรัตนโกสินทร์

การเดินทัพของเจ้าพระยามหินทรฯ มีอุปสรรค เมื่อเดินทางจากสระบุรีไปถึงหาดพระยาทด แขวงเมืองสระบุรี ก็ไม่สามารถเคลื่อนทัพต่อไปได้    เนื่องจากเป็นฤดูฝน ฝนตกหนัก  น้ำท่วมในดงพระยาไฟ    เกรงว่าไพร่พลจะเป็นอันตราย จึงต้องหยุดชะงักอยู่กลางทาง

ส่วนทางเมืองหนองคาย   เจ้าพระยามหาอำมาตย์ (ชื่น กัลยาณมิตร) ซึ่งเป็นข้าหลวงออกไปตั้งสักเลกอยู่ในมณฑลร้อยเอ็ดคุมกองทัพเมืองนครราชสีมากับพระยานครราชเสนี (กาจ สิงห์เสนี) ตอนนั้นยังเป็นพระยาปลัด  กับพระยกกระบัตรเมืองนครราชสีมา ยกไปตีพวกฮ่อที่เวียงจันทน์จนแตกพ่ายไปอยู่ที่เมืองเชียงขวางในแขวงพวน

ทางกรุงเทพฯทราบข่าว  เห็นว่าพวกฮ่อยังไม่หมดกำลังอาจกลับมารบใหม่อีก จึงเร่งรัดกองทัพเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง ให้เดินทัพต่อไปอย่าหยุด  ท่านจึงเคลื่อนกองทัพไปถึงเมืองนครราชสีมา ไปทางเมืองพิมาย เมืองพุทไธสง   ขณะนั้นกองทัพเจ้าพระยาภูธรราภัยได้ยกไปถึงเมืองหนองคาย  เข้าโจมตีพวกฮ่อจนแตกพ่ายไป

ดังนั้นทางกรุงเทพมหานคร จึงได้มีท้องตราคำสั่งให้เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง จัดแบ่งทหารออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งให้ไปสมทบกับเจ้าพระยาภูธราภัย อีกส่วนหนึ่งให้เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ นำกลับมาถึงกรุงเทพมหานคร เมื่อเดือน 5 ปีชวด อัฐศก พุทธศักราช 2419 รวมเวลายกกองทัพไป และกลับทั้งสิ้น 8 เดือน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 พ.ค. 13, 21:19 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 17 พ.ค. 13, 20:41

   ขอขยายความอีกหน่อยว่า ผู้บัญชาการกองทัพทางกรุงเทพฯ คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์  

   การยกทัพครั้งนั้น  พิจารณาลำดับขั้นตอนของการทำศึกแล้ว ก็ค่อนข้างจะวุ่นวายเอาการอยู่เหมือนกัน    ใครเป็นผู้บัญชาการกองทัพอยู่ทางกรุงเทพก็คงปวดเฮด     เพราะทัพที่ส่งไปจากเมืองหลวงเพื่อไปปราบฮ่อที่หนองคายโดยตรง เกิดไปชะงักอยู่กลางทางที่ดงพระยาไฟ     ถ้าหากว่าชะงักด้วยเหตุสุดวิสัยเหลือที่จะเดินทัพต่อไปได้  เช่นเกิดโรคระบาดตายกันเสียเกือบเกลี้ยงทัพก็ยังพอทำเนา     แต่นี่ต้องหยุดกลางทางเพราะเหตุผลว่าฝนตกน้ำท่วม บุกป่าฝ่าดงต่อไปไม่ไหว     ผบ.ทบ.สมัยนั้นท่านก็คงอนุโลมไม่ลง    ขนาดฝนตก ยังฝ่าฝนไม่ไหว แล้วจะไปรบกับใครได้  
  สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์  ท่านก็เลยไม่ฟัง  หากแต่มีคำสั่งเร่งรัดให้รีบเดินทัพต่อไป    แต่เจ้าพระยามหินทรฯแม่ทัพแจ้งกลับมาว่าไปไม่ได้  เพราะเส้นทางในดงพระยาไฟ ฝนตกน้ำยังท่วม    เดินทัพไปขณะนั้นเกรงไพร่พลจะเป็นอันตราย
  ขณะโต้กันไปตอบกันมา ระหว่างเจ้าพระยาในดงพระยาไฟ และสมเด็จเจ้าพระยาในเมืองหลวง    ศึกฮ่อทางเมืองหนองคายก็แตกพ่ายไปเรียบร้อยด้วยทัพพระยามหาอำมาตย์ (ชื่น  กัลยาณมิตร) ซึ่งไม่ใช่ทัพปราบฮ่อเลยสักนิด  เพียงแต่คุมไพร่พลขึ้นไปสักเลกชายฉกรรจ์  แต่ในสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น   ท่านก็สามารถขอความร่วมมือจากเจ้าเมืองนครราชสีมา ช่วยกันคุมกองทัพไปตีฮ่อแตกพ่ายได้สำเร็จ                
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 17 พ.ค. 13, 20:52

     เมื่อเจ้าพระยามหินทรฯซึ่งยังอยู่กลางทาง    ทราบข่าวว่าฮ่อแตกพ่ายถอยหนีทิ้งหนองคายไปแล้ว   ก็ถือว่าเสร็จศึกกันไปโดยปริยาย   ไม่มีความจำเป็นต้องเคลื่อนทัพกันไปทางอีสานอีก       ก็ทำท่าจะหันทัพกลับกรุงเทพ    แต่ฝ่ายสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ผู้บัญชาการกองทัพทางกรุงเทพฯ ยังไม่ยอมให้ทัพเจ้าพระยามหินทรฯกลับมา     เพราะท่านยังไม่ไว้ใจพวกฮ่อ   เห็นว่าพวกนี้ยังมีกำลังอยู่   เมื่อรู้ว่าทัพไทยยกกลับหมด  พวกนี้ก็อาจจะยกทัพย้อนกลับมายึดหนองคายได้อีก
    เพื่อความรอบคอบในการศึก   สมเด็จเจ้าพระยาฯท่านก็สั่งให้กองทัพเจ้าพระยามหินทรฯเดินทางต่อไป   ทัพเจ้าพระยามหินทรฯจึงเดินทัพทางบกตั้งแต่แก่งคอยจนถึงไปนครราชสีมา  ตั้งพักกองทัพรอคำสั่งจากกรุงเทพฯ จนได้รับท้องตราให้ยกขึ้นไปเมืองหนองคาย ตามเป้าหมายเดิมจนถึงกองทัพนครราชสีมา     ไปทางเมืองพิมาย เมืองพุทไธสง เพราะขณะนั้นแล้งจัด จะเดินทางโคกหลวงซึ่งเป็นทางตรงก็กันดารน้ำ
   ในระหว่างนั้นกองทัพที่สองของไทย คือกองทัพเจ้าพระยาภูธราภัยยกทัพไปถึงที่หมาย  ปราบปรามพวกฮ่อที่เมืองพวนราบคาบไปแล้ว   ก็เป็นอันว่าทัพของเจ้าพระยามหินทรฯ ก็ถูกสั่งให้แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งยกไปสมทบกับทัพเจ้าพระยาภูธราภัย  อีกส่วนหนึ่งเดินทางกลับทางดงพระยากลาง มาลงเรือที่ท่าเรือพระพุทธบาทกลับถึงกรุงเทพฯ     เดินทางไปกลับรวมแล้ว 8 เดือน แต่ไม่ได้รบกับพวกฮ่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.129 วินาที กับ 20 คำสั่ง