เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
อ่าน: 62078 เจ้านางเชียงตุง
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 16 พ.ค. 13, 12:55

เจ้าฟ้าจ่าแสง มหาเทวีสุจันทรี และราชธิดา - เจ้านางมายรีและเจ้านางเกนรี


บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 16 พ.ค. 13, 13:15

เจ้านางเฮินคำ  เจ้าน้องของเจ้าห่มฟ้าแห่งแสนหวี  เป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนของเจ้านางแว่นทิพย์  อภิเษกเป็นมหาเทวีของเจ้าฟ้าส่วยไต้แห่งยองห้วย  ภายหลังการลงนามในสนธิสัญญาปางหลวง  เจ้าฟ้าส่วยไต้ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหภาพพม่า  เมื่อคณะทหารยึดอำนาจการปกครอง  เจ้าฟ้าส่วยไต้ถูกจับกุมคุมขังและเสียชีวิตอย่างมีเงื่อนงำ  มหาเทวีเฮินคำและโอรสธิดาถูกกักบริเวณ  ในท้ายที่สุดมหาเทวีต้องลอบพาโอรสธิดาหลบหนีถึงขั้นต้องว่ายน้ำข้ามมาฝั่งไทย


บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 16 พ.ค. 13, 13:18

เจ้าฟ้าส่วยไต้กับเจ้านางเฮินคำในวันอภิเษก


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 16 พ.ค. 13, 13:20

เจอรูปเจ้านางเมียะจันตาและเจ้าพี่เจ้าน้องในกระทู้ของคุณเงาอดีตค่ะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 16 พ.ค. 13, 13:32

รูปบนหน้าปกหนังสืองามนัก ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 12 ก.ค. 16, 15:16

เจ้าฟ้าจ่าแสงกับมหาเทวีสุจันทรี


ชีวิตของทั้งสองท่านได้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์เรียบร้อยแล้ว แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ถูกห้ามฉายทั้งในพม่าและไทย  ร้องไห้



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 13 ก.ค. 16, 13:49

เมื่อเดือนตุลาคม ปีที่แล้ว (พ.ศ. ๒๕๕๘)  มหาวิทยาลัยเหมืองแร่โคโลราโด (The Colorado School of Mines) ได้มอบรางวัลเชิดชูเกียรติให้กับเจ้าฟ้าจ่าแสงแห่งสีป้อที่หายสาบสูญ ในฐานะที่ประสบความสำเร็จในวิชาชีพและเป็นศิษย์เก่าของสถาบันแห่งนี้ หลังเรียนจบได้นำความรู้จากสหรัฐอเมริกาไปพัฒนาในด้านเหมืองแร่และด้านเกษตรกรรมให้กับประชาชนชาวเมืองสีป้อ  อิงเง เซอร์เจนท์ (Inge Sargent) หรืออดีตมหาเทวีสุจันทรีแห่งสี่ป้อพร้อมธิดาทั้งสอง คือเจ้าเกนนารี (Sao Kennari) และเจ้ามายารี (Sao Mayari) เป็นผู้รับรางวัลแทนเจ้าฟ้าจ่าแสงในพิธีมอบรางวัลซึ่งมีแขกมาร่วมงานกว่า ๓๐๐คน

อิงเง เซอร์เจนท์ กล่าวระหว่างขึ้นรับรางวัลว่า เจ้าฟ้าจ่าแสงวางแผนที่จะพัฒนาเหมืองแร่ในเมืองสีป้อ แต่เป็นไปในทางที่รับผิดชอบและปลอดภัยต่อสังคม โดยหวังให้ชาวไทใหญ่ได้ผลประโยชน์จากโครงการเหล่านี้  ขณะที่อุปกรณ์เครื่องมือบางส่วนจากต่างประเทศเพิ่งมาถึง น่าเสียดายที่เกิดรัฐประหารขึ้นเสียก่อน ชาวไทใหญ่ทุกคนที่เชื่อมั่นในการศึกษาจะภูมิใจในตัวเจ้าฟ้าจ่าแสง เจ้าฟ้าองค์สุดท้ายของสีป้อ

แม้จะเวลาจะล่วงเลยมา ๕๔ ปี นับตั้งแต่เนวินยึดอำนาจและเจ้าฟ้าจ่าแสงถูกจับตัวไป แต่ในทุก ๆ ปี อดีตมหาเทวีแห่งสีป้อและธิดาทั้งสองยังคงเขียนจดหมายถึงรัฐบาลพม่า เพื่อทวงถามชะตากรรมของเจ้าฟ้าจ่าแสง แต่จนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่ได้รับคำตอบ

ภาพและเรื่องจาก  ภาษาไทย : http://transbordernews.in.th/home/?p=10069   ภาษาอังกฤษ :  http://www.bnionline.net/feature/item/911-former-prince-of-hsipaw-honored-in-colorado.html

บนเวที จากซ้ายไปขวา เจ้าเกนนารี เจ้ามายารี และอดีตมหาเทวีสุจันทรี


บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 13 ก.ค. 16, 14:18

อ่านสิ้นแสงฉานแล้วก็สงสารสุจันทรีมหาเทวีมากๆค่ะ
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 08 ก.พ. 23, 09:35

สิ้นแล้ว เจ้านางสุจันทรี มหาเทวีองค์สุดท้ายแห่งสีป้อ

สำนักข่าว Shan News รายงานว่า เช้าวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เจ้านางสุจันทรีมหาเทวีของเจ้าฟ้าจ่าแสง เจ้าฟ้าหลวงองค์สุดท้ายแห่งเมืองสีป้อ รัฐฉาน ได้เสียชีวิตลงแล้วจากโรคชรา ด้วยวัย ๙๑ ปี ที่บ้านพักในสหรัฐอเมริกา

เจ้านางสุจันทรี หรือ Inge Sargent ชาวออสเตรีย ซึ่งได้พบรักกับเจ้าฟ้าจ่าแสง สมัยที่ทั้งคู่ไปเรียนหนังสืออยู่ในรัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา กระทั่งทั้งคู่ได้แต่งงานกันในอเมริกาเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๔๙๖ โดยที่เธอไม่รู้เลยว่าสถานะที่แท้จริงของเจ้าฟ้าจ่าแสงในรัฐฉานนั้นเป็นใคร จนได้มารับรู้เมื่อทั้งคู่เรียนจบและเดินทางกลับมายังรัฐฉานในภายหลัง

ตลอดเวลา ๑๒ ปีที่เจ้านางสุจันทรีอยู่ในรัฐฉานในฐานะมหาเทวี เจ้านางได้เป็นแรงสนับสนุนสำคัญของเจ้าฟ้าจ่าแสงในการบริหารกิจการบ้านเมือง จนเป็นที่รักของชาวเมืองสีป้อ กระทั่งในปี ๒๕๐๕ เมื่อนายพลเนวินทำรัฐประหารในพม่าและเข้ามาครอบครองรัฐฉาน ล้างระบอบเจ้าฟ้าลงทั้งหมด เจ้าฟ้าจ่าแสงถูกทหารพม่าจับกุมตัวไปคุมขัง และไม่ได้กลับไปยังเมืองสีป้ออีกเลย

เจ้านางสุจันทรีได้พาลูกสาว ๒ คน คือเจ้ามายารี และเจ้าเกนนารี กลับไปอยู่ออสเตรีย และต่อมาได้ย้ายไปพำนักอยู่ในสหรัฐอเมริกา จนเพิ่งเสียชีวิตลงเมื่อวานซืนนี้

ในอเมริกา เจ้านางสุจันทรีได้เขียนหนังสือเรื่อง "Twilight Over Burma - My Life as a Shan Princess" ได้รับการตีพิมพ์ในปี ๒๕๓๗ เป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมมากเล่มหนึ่ง จนต่อมามีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ มีการตั้งชื่อเป็นภาษาไทยว่า "สิ้นแสงฉาน" เมื่อปี ๒๕๕๙ แต่ปรากฏว่าถูกสั่งห้ามฉายในประเทศไทย

ในปี ๒๕๕๑ ด้วยความผูกพันกับรัฐฉาน เจ้านางสุจันทรีได้ตั้งกองทุนขึ้นเพื่อสนับสนุนเยาวชนที่ทำคุณประโยชน์แก่รัฐฉาน โดยมอบทุนที่ใช้ชื่อว่า "Sao Thusandi Leadership Award" ให้ปีละ ๑ ทุน คนละ ๔,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ และมีการมอบทุนให้ทุกปีอย่างต่อเนื่อง จนถึงปีที่แล้ว (๒๕๖๕) มีเยาวชนไตในรัฐฉานได้รับทุน Sao Thusandi Leadership Award ไปแล้วรวม ๑๔ คน

ในวันเสาร์ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ที่จะถึงนี้ เวลา ๙.๓๐ น. ชาวไตที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย จะร่วมกันจัดทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้านางสุจันทรีที่วัดป่าเป้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

จากเฟซบุ๊กของ คุณปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์


บันทึกการเข้า
Rattananuch
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 08 ก.พ. 23, 10:30

ตอนเด็กๆเคยอ่านเรื่องเกนรี มายรีของโสภาค สุวรรณ แล้วต่อมาได้ทราบว่าเป็นเค้าโครงเรื่องจากเรื่องสิ้นแสงฉาน แต่ในนิยายเปลี่ยนเป็นสุภาพสตรีไทยแทน แล้วมายรีก็เสียชีวิตตั้งแต่เด็กเพราะจมน้ำตายเพราะความใจดำของญาติชาวไทยเหลือแต่นางเอกเกนรี
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 08 ก.พ. 23, 10:35

สิ้นแสงฉาน หรือ Twilight Over Burma

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 08 ก.พ. 23, 11:35

ไยฉานจึงสิ้นแสง …….

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 09 ก.พ. 23, 11:16

สิ้น "อิงเง่ ซาร์เจนท์" มหาเทวีองค์สุดท้ายแห่งสีป่อ เจ้าของผลงาน "สิ้นแสงฉาน"
..
"อิงเง่ ซาร์เจนท์" หรือนามสกุลเดิม อีเบอร์ฮาร์ด เป็นชาวออสเตรีย เกิดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ปี 1932 (พ.ศ. 2475) เธอพบ "เจ้าจาแสง" ครั้งแรก ที่เมืองเดนเวอร์ รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา ขณะทั้งคู่ศึกษาในมหาวิทยาลัยช่วงต้นทศวรรษ 1950 ระหว่างคบหากัน อิงเง่ไม่เคยรู้เลยว่าชายคนรักเป็นเจ้าฟ้าหลวงแห่งสีป่อ และเมื่อความรักสุกงอม ทั้งคู่ก็แต่งงานกันเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ปี 1953 ที่เมืองเดนเวอร์
..
ความจริงมาเปิดเผยเอาเมื่อเจ้าจาแสงซึ่งสำเร็จการศึกษาด้านวิศวกรรมเหมืองแร่ พาอิงเง่เดินทางกลับไปใช้ชีวิตที่เมืองสีป่อ เมื่อเรือเข้าเทียบท่าที่พม่า อิงเง่สงสัยว่าทำไมถึงมีผู้คนมาต้อนรับมากมายขนาดนั้น เจ้าจาแสงจึงบอกว่าพระองค์คือผู้ปกครองนครรัฐสีป่อในรัฐฉาน
..
แม้ตกใจ แต่ด้วยความรักก็ทำให้ในระยะเวลาไม่นาน อิงเง่สามารถเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับสังคมไทใหญ่ได้อย่างกลมกลืน เธอได้รับชื่อใหม่ว่า "สุจันทรี" และได้รับการแต่งตั้งเป็นมหาเทวีแห่งสีป่ออย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 1957
..
เจ้าจาแสงและมหาเทวีแห่งสีป่อ ได้ชื่อว่าเป็นคู่รักราชนิกุลที่ได้รับความนิยมสูงสุดในบรรดานครรัฐไทใหญ่ 30 กว่าแห่ง ส่วนหนึ่งอาจเพราะเจ้าจาแสงเรียนจบจากมหาวิทยาลัยต่างประเทศ และมุ่งมั่นนำความรู้กลับมาพัฒนาสีป่อ อีกส่วนอาจเป็นเพราะมหาเทวีเป็นชาวต่างชาติ ซึ่งชาวสีป่อและชาวไทใหญ่ในนครรัฐอื่น ๆ ไม่คุ้นตานัก
..
“ทีแรกนั้นชาวบ้านตื่นตระหนกกับการมีเจ้านายฝ่ายหญิงเป็นสตรีชาวยุโรป ในช่วงแรก ๆ หลายคนถึงกับตั้งแง่ แต่แล้วไม่นานกำแพงดังกล่าวก็ถูกทลายลง ทุกวันนี้มหาเทวีเป็นที่รักและชื่นชมของคนทั้งสีป่อซึ่งยอมรับเธอเป็นพวกเดียวกับพวกเขา” โอกู ครารุพ-นีลเซน นักเขียนชาวเดนมาร์กผู้เคยไปเยือนสีป่อช่วงปลายทศวรรษ 1950 บอกไว้ในหนังสือของเขาชื่อ "The Land of the Golden Pagodas"
..
เจ้าจาแสงและสุจันทรีร่วมกันพัฒนานครรัฐสีป่อ ทั้งด้านการเกษตรกรรม สาธารณสุข การศึกษา เพื่อให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่แล้วทุกอย่างก็หยุดชะงัก เพราะในวันที่ 2 มีนาคม ปี 1962 นายพลเนวินนำกำลังทหารยึดอำนาจของรัฐบาลอูนุที่มาจากการเลือกตั้ง ล้มล้างรัฐธรรมนูญ
..
หนึ่งวันก่อนนายพลเนวินทำรัฐประหาร เจ้าจาแสงทรงเดินทางด้วยเครื่องบินไปเข้าประชุมรัฐสภาที่กรุงย่างกุ้ง จากนั้นกลับไปที่ตองจี เพื่อเยี่ยมไข้พระพี่นางซึ่งประชวรหนัก เจ้าจาแสงจึงยังไม่ทราบถึงเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้น และเสด็จออกตั้งแต่เช้า เพื่อขึ้นเครื่องบินไปยังสนามบินล่าเสี้ยวประจำสีป่อ
..
แต่เมื่อมาถึงประตูเมืองตองจีบนทางหลวงสู่เมืองเฮโฮ ทหารที่ตั้งด่านอยู่ก่อนแล้วก็เรียกให้รถยนต์พระที่นั่งของเจ้าจาแสงจอด มีคนพบเห็นพระองค์เป็นครั้งสุดท้ายว่าถูกทหารอาวุธครบมือควบคุมตัวไป
..
สุจันทรีซึ่งอยู่ที่สีป่อ พยายามสืบหาว่านายพลเนวินนำตัวเจ้าจาแสงไปไว้ที่ไหน แต่ก็ถูกทหารจับตามองแทบไม่คลาดสายตา ทั้งยังไม่ได้รับคำตอบที่แน่ชัดว่าตกลงแล้วเจ้าจาแสงยังทรงมีพระชนมชีพอยู่หรือจากไปแล้ว จนวันหนึ่ง สุจันทรีตัดสินใจพาพระธิดาคือมายรีและเกนรีเดินทางเข้าไปพำนักที่กรุงย่างกุ้ง เพื่อจะได้สืบข่าวอย่างละเอียดได้มากขึ้น
..
แม้สุจันทรีจะพยายามทวงถามความยุติธรรมถึงชีวิตของเจ้าจาแสงจากนายพลเนวินเท่าใด แต่นายพลเนวินและบรรดาทหารก็ไม่เคยให้คำตอบที่มากไปกว่า "เจ้าจาแสงสบายดี" และถูกกักตัวไว้ในที่ปลอดภัยแห่งหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้น ทหารระดับใหญ่โตบางรายกลับบอกว่า "เจ้าจาแสงไม่เคยถูกควบคุมตัว" ด้วยซ้ำ ส่วน "โบเสตจะ" อดีตนักการเมืองพม่า เล่าให้สุจันทรีทราบถึงข่าวร้ายว่า เจ้าจาแสงถูกทหารปลงพระชนม์แล้ว ที่ค่ายทหารบาตูเมี้ยวทางเหนือของตองจี ไม่นานหลังถูกควบคุมตัว
..
เมื่อสถานการณ์ต่าง ๆ เลวร้ายลงเรื่อย ๆ ท้ายสุด สุจันทรีจึงต้องพามายรีและเกนรีออกจากพม่ากลับไปยังออสเตรีย จากนั้นทำงานที่สถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย อยู่สักพัก ระหว่างนั้น "อิงเง่" ได้รู้จักและคุ้นเคยกับครอบครัวของ โสภาค สุวรรณ นักเขียนชื่อดังของไทย เนื่องจากบิดาของโสภาครับราชการในสถานเอกอัครราชทูตที่นั่น เป็นที่มาของนวนิยายเรื่อง "เกนรี มายรี" ของโสภาค
..
ปี 1966 อิงเง่และทายาททั้งสอง เดินทางไปตั้งรกรากที่สหรัฐอเมริกา เธอแต่งงานกับ โฮวาร์ด "แทด" ซาร์เจนท์ ในปี 1968 แม้ชีวิตที่นครรัฐสีป่อจะจบลง แต่อิงเง่ยังคงผูกพันกับชาวสีป่อ เธอเขียนหนังสือ "Twilight Over Burma: My Life as a Shan Princess" (แปลเป็นภาษาไทยในชื่อ "สิ้นแสงฉาน") บอกเล่าชีวิตของเธอและเจ้าจาแสง ควบคู่กับการตีแผ่ความโหดร้ายของเผด็จการทหารยุคนายพลเนวิน
..
อิงเง่ ซาร์เจนท์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ในวัย 91 ปี ทิ้งเรื่องราวยุครุ่งเรืองของนครรัฐสีป่อแห่งรัฐฉาน ไว้ให้ผู้คนทั่วโลกได้จดจำและนึกถึง

สิ้น "อิงเง่ ซาร์เจนท์" มหาเทวีองค์สุดท้ายแห่งสีป่อ เจ้าของผลงาน "สิ้นแสงฉาน"
..
เรื่อง: สุทธาสินี จิตรกรรมไทย เจียจันทร์พงษ์
จากเพจ Silpawattanatham - ศิลปวัฒนธรรม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 09 ก.พ. 23, 11:22

 ยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 09 ก.พ. 23, 14:35

R.I.P. Sao Nang Thusandi, The Mahadevi of Hsipaw (1932 – 2023)

ภาพลงสี โดย คุณหนุ่มสยาม


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 20 คำสั่ง