เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 60500 จิตร ภูมิศักดิ์ : พฤษภาห้าร้อยเก้า แดดลบเงาจางหาย
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 26 พ.ค. 17, 20:21

น้องเนเน่นี่ตลกดี ถึงขนาดยก จิตร ให้เป็นปัญญาชนอันดับหนึ่งของจุฬาเลยเหรอ
100 ปีที่ผ่านมาจุฬาผลิตบุคลากรสาขาต่างๆ มีคุณูปการในหลากหลายด้าน แต่ช่างไร้ความหมายโดยสิ้นเชิงเพราะเนเน่ยังไม่เคยรู้จัก 5555
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 27 พ.ค. 17, 08:01

ในปีนี้ผมอยากเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยมี "วันจิตร ภูมิศักดิ์" เพราะที่ผ่านมาไม่ได้พูดถึงเขาเท่าที่ควร ใครบ้างที่มีคุณูปการมาอย่างยาวนานแม้กระทั่งตายไปนานแล้ว แต่ยังมีคนอ่านงานเขียนของเขาจนวันนี้ ไม่มีใครเลยนอกจากจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งเป็นปัญญาชนหมายเลขหนึ่งของจุฬาฯอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้นในปีนี้สภานิสิตจุฬาจะจัดงานจิตร ภูมิศักดิ์ "วันแห่งความคิดเห็นแตกต่าง" ขึ้นให้ได้ ผมจะเสนอเรื่องนี้ถึงอธิการบดี

เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล (ว่าที่) ประธานสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา ๒๕๖๐

น้องเนเน่นี่ตลกดี ถึงขนาดยก จิตร ให้เป็นปัญญาชนอันดับหนึ่งของจุฬาเลยเหรอ
100 ปีที่ผ่านมาจุฬาผลิตบุคลากรสาขาต่างๆ มีคุณูปการในหลากหลายด้าน แต่ช่างไร้ความหมายโดยสิ้นเชิงเพราะเนเน่ยังไม่เคยรู้จัก 5555


ความคิดมีหลายหลาก         ผิดถูกมากน้อยต่างกัน
ความคิดที่ดีนั้น                ไม่เย้ยหยันดูถูกใคร

ชีวิตมีหลายหลาก              ผิดถูกมากน้อยต่างไป
ชีวิตที่ยิ่งใหญ่                  อยู่ที่ใจให้ส่วนรวม

ความคิดบริสุทธิ์                อาจมีจุดอ่อนและหลวม
เฉลยความกำกวม             หาจุดร่วมเพื่อสังคม

น้องเนเน่อาจจะใช้ถ้อยคำยกย่องจิตรเกินเลยไปหน่อยอย่างที่คุณผกานินิว่า เนเน่ ! แก้เป็นอย่างนี้จะดีไหม

ใครบ้างที่มีคุณูปการมาอย่างยาวนานแม้กระทั่งตายไปนานแล้ว แต่ยังมีคนอ่านงานเขียนของเขาจนวันนี้ หนึ่งในคนเหล่านั้นก็คือ จิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งเป็นปัญญาชนคนสำคัญของจุฬาฯ

คุณผกานินิเห็นด้วยไหมเอ่ย  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 27 พ.ค. 17, 11:40

ใช่ครับ เห็นด้วยกับอาจารย์เพ็ญชมพูเลย พอใช้คำว่าหนึ่งในนั้นก็จะสวยงามขึ้นมาทันที ไม่มีใครปฏิเสธ ผมเองแมัไม่ค่อยเข้าใจเนื้องานของ จิตรเท่าไหร่ แต่ยอมรับในความปราดเปรื่องครับ
แต่อีกอย่างนะครับ เหตุผลที่ว่าตายไปนานแล้วแต่ยังมีคนอ่านงานเขาอยู่.   เอ๊ะนักเขียนหลายคนเขาก็ตายไปนานแล้วยังมีคนอ่านงานเขาอยู่. มิพักต้องยกชื่อมาเอ่ย ก็มิเห็นมีใครยกท่านเหล่านั้นเป็นปัญญาชนอันดับหนึ่งของที่ใดที่หนึ่งเลยนะครับ. ฮาา

ผมสงสัยเหมือนกันนะครับว่าน้องเขา เข้าใจความยิ่งใหญ่ของจิตร จริงๆหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 25 ก.ย. 17, 12:46

ในปีนี้ผมอยากเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยมี "วันจิตร ภูมิศักดิ์"

เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล อดีตประธานสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา ๒๕๖๐ กล่าวถึงกิจกรรมที่เขาอยากให้มีจัดขึ้นในจุฬาฯ

ถึงแม้ "วันจิตร ภูมิศักดิ์" จักมิอาจมีขึ้นได้ในปีนี้ที่จุฬาฯ แต่ที่บ้านเกิดของเขาที่อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี กำลังจัดให้มีงานนี้เกิดขึ้น

วันนี้ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๐ เป็นวันครบรอบ ๘๗ ปีชาตกาล "จิตร ภูมิศักดิ์" เป็นปีแรกที่คณะบุคคลในนาม "คณะกรรมการเชิดชูเกียรติภูมิ จิตร ภูมิศักดิ์ ณ บ้านเกิด" จัดงานทำบุญรำลึกปัญญาชน นักคิด นักเขียน ที่อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี


๒๕ กันยายน ๒๔๗๓ แม่แสงเงิน ภรรยานายตรวจสรรพสามิต ได้ให้กำเนิดลูกชายคนแรกและคนเดียวของครอบครัว ชื่อ "สมจิตร" ก่อนจะเปลี่ยนเป็น "จิตร ภูมิศักดิ์" ในเวลาต่อมา

ช่วงอยู่มหาวิทยาลัย เมื่อปี ๒๔๙๖ ได้รับตำแหน่งเป็นสาราณียกร รับผิดชอบจัดทำหนังสือของมหาวิทยาลัย ฉบับ ๒๓ ตุลาคม วันปิยมหาราช จิตรถูกกล่าวหาว่า เขียนบทความทำลายชาติ ศาสนาและสถาบัน ก่อให้เกิดความแตกแยกในหมู่ประชาชน อาจารย์และนิสิตบางกลุ่มจึงเคลื่อนไหวให้ซักฟอกสอบสวนกันในหอประชุม จุฬาฯ ในตอนนั้นมีนิสิตกลุ่มหนึ่งเข้ามาทางด้านหลังแล้วจับจิตร โยนลงจากเวที หรือที่เรียกว่า “โยนบก” ทำให้จิตรบาดเจ็บต้องเข้า โรงพยาบาล พร้อมถูกลงโทษพักการเรียน

ปี ๒๔๙๗ ระหว่างที่ถูกพักการเรียน จิตรไปสอนหนังสือที่โรงเรียนอินทรศึกษาอยู่ระยะหนึ่ง แต่สอนได้ไม่นานก็ถูกไล่ออก จึงไปทำงานหนังสือพิมพ์ไทยใหม่ ยุคนั้น สุภา ศิริมานนท์ เป็นรองผู้อำนวยการ

ปี ๒๔๙๘ จิตรกลับเข้าเรียนอีกครั้งและสำเร็จปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต

ปี ๒๕๐๐ จากนั้นเป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ จนกระทั่งถูกจอมพลสฤษดิ์ สั่งจับในข้อหา “สมคบกันกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในและภายนอกราชอาณาจักร และกระทำการเป็นคอมมิวนิสต์” เมื่อ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๐๑

จิตรถูกคุมขังอยู่นานจนถึงเดือนธันวาคม ๒๕๐๗ และปลายปี ๒๕๐๘ ตัดสินใจเข้าป่า เพื่อเข้าร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ในนาม สหายปรีชา กระทั่งถูกอาสาสมัครและทหารล้อมยิงเสียชีวิตที่บ้านหนองกุง ตำบลคำบ่อ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๐๙

ผลงานในฐานะนักคิด นักเขียนที่มีการจัดพิมพ์เป็นเล่ม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ โฉมหน้าศักดินาไทย, ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ, โองการแช่งน้ำและข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา, สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยศรีอยุธยา ฯลฯ

จิตร ภูมิศักดิ์ มีชีวิตอยู่ในโลกเพียง ๓๖ ปี จากวันเกิด ๒๕ กันยายน ๒๔๗๓ ถึงวันตาย ๕ พฤษภาคม ๒๕๐๙

จิตรได้รับการเคารพนับถือและยกย่องจากสังคมในฐานะนักปราชญ์ นักประวัติศาสตร์ นักภาษาศาสตร์ และนักคิดนักอุดมการณ์

http://www.komchadluek.net/news/people/296715


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 05 ต.ค. 17, 10:56

วันนี้ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๐ เป็นวันครบรอบ ๘๗ ปีชาตกาล "จิตร ภูมิศักดิ์" เป็นปีแรกที่คณะบุคคลในนาม "คณะกรรมการเชิดชูเกียรติภูมิ จิตร ภูมิศักดิ์ ณ บ้านเกิด" จัดงานทำบุญรำลึกปัญญาชน นักคิด นักเขียน ที่อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี  

ตกลงงานรำลึกถึงจิตรฯ จัดไปหรือยังครับ มีเต็นท์ไว้ให้คนเห็นต่างทุกรูปแบบหรือเปล่า

นั่นน่ะซิ เห็นข่าวเงียบไป แต่คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาในการจัด เพราะคนที่มาร่วมงานก็เพื่อรำลึกถึงคนที่เขารัก ส่วนคนที่ไม่รักก็คงไม่มาร่วมงาน คงไม่จำเป็นที่จะต้องจัดเต็นท์รอ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 05 พ.ค. 18, 19:26

๕ พฤษภาคม ๒๕๖๑

รำลึกถึงจิตร ภูมิศักดิ์ในปีที่ ๕๒ แห่งการจากไป ที่หนองกุง สกลนคร




นายวิชาญ ฤทธิธรรม อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร กล่าวว่า

พิธีการในงานรำลึกจิตร ภูมิศักดิ์ที่จัดขึ้นทุกปี มีแนวคิดเสมือนว่าจิตรยังมีตัวตน ยังมีเลือดเนื้อ และเป็นปัญญาชน ไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงเน้นความเรียบง่าย นอกจากนี้สิ่งสำคัญคือ จะต้องอยู่กับเด็ก ๆ ในพื้นที่ ไม่ทอดทิ้งเยาวชน

https://www.matichon.co.th/news/943068


บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 05 พ.ค. 18, 22:17

เข้ามาบอกว่าเพลงเพราะมากครับ


ผลงานของจิตร ภูมิศักดิ์ นี่อธิบายเป็นคำพูดไม่ถูก เข้าใจคนที่เข้าใจ และเข้าใจคนที่ไม่เข้าใจ แต่ไม่เข้าใจว่าอธิบายยังไงให้เข้าใจ จบกัน!!
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 06 พ.ค. 18, 13:53

เข้ามาบอกว่าเพลงเพราะมากครับ

ชื่อ เพลงจิตรเดียวกัน
เขียนโดย อาจารย์วิชาญ ฤทธิธรรม
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร


จิตรเดียวกัน
คนสามัญแห่งยุคสมัย
จิตรคนนี้คือใคร จิตรคนนี้คือใคร
เขาคือขวัญใจของสามัญชน

เขาคือปัญญาชน
ที่ดั้นด้นมาถึงภูพาน
เขาคือปราชญ์บัณฑิต
เขียนชีวิตท้าทายเผด็จการ

เขาคือวีรชน
อุทิศตนเพื่อชนชาวบ้าน
บริสุทธิ์สง่ากล้าหาญ บริสุทธิ์สง่ากล้าหาญ
เขาคือวิญญาณรักความเป็นธรรม

จิตรเดียวกัน
คนสามัญแห่งยุคสมัย
จิตรคนนี้คือใคร จิตรคนนี้คือใคร
เขาคือขวัญใจของอนุชน

ห้าพฤษภา
พี่น้องเรามา ณ บ้านหนองกุง
ห้าสิบปีพ้นผ่าน
สืบสานตำนานของคนใจสูง

โอ้สหายปรีชา
ศรัทธาพราวแสงดาวยังรุ่ง
เขาตายชายป่าหนองกุง เขาตายชายป่าหนองกุง
แต่จิตรยังรุ่งอยู่กลางใจคน

จิตรเดียวกัน
คนสามัญแห่งยุคสมัย
จิตรประชาธิปไตย จิตรประชาธิปไตย
เขาคือขวัญใจของเราทุกคน

ขอคารวะจิตร ภูมิศักดิ์ ขอคารวะจิตร ภูมิศักดิ์
จิตร ภูมิศักดิ์เป็นที่รักของเราทุกคน
จักร ภูมิสิทธิ์เป็นมิ่งมิตรของเยาวชน
วันนี้เรามารวมพล วันนี้เรามารวมพล
พวกเราทุกคนล้วนจิตรเดียวกัน
พวกเราทุกคนล้วนจิตรเดียวกัน

คารวะจิตร ภูมิศักดิ์
เป็นเสาหลักรักความเป็นธรรม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 07 พ.ค. 18, 13:51

ผลงานของจิตร ภูมิศักดิ์ นี่อธิบายเป็นคำพูดไม่ถูก เข้าใจคนที่เข้าใจ และเข้าใจคนที่ไม่เข้าใจ แต่ไม่เข้าใจว่าอธิบายยังไงให้เข้าใจ จบกัน!!

ลองให้รองศาสตราจารย์ศรีศักร  วัลลิโภดมอธิบายเรื่องของจิตรให้ฟัง เผื่อคนที่ไม่เข้าใจอาจจะเข้าใจ และคนที่เข้าใจอาจจะเข้าใจมากขึ้น  ยิงฟันยิ้ม

เมื่อนึกถึง จิตร ภูมิศักดิ์

ถ้าจิตร ภูมิศักดิ์ยังไม่ตาย ปลายเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๔๕ นี้ เขาก็จะมีอายุ ๗๒ ปี คือครบหกรอบ สมควรที่จะได้รับการเฉลิมฉลองเยี่ยงนักปราชญ์สำคัญทั้งหลายของบ้านเมือง แต่ด้วยความเป็นคนล้ำยุคของจิตร ทำให้การยอมรับในความเป็นปราชญ์เกิดขึ้นภายหลังที่จิตรเสียชีวิตไปนามพอสมควร

โดยปกติ ความล้ำยุคของคนในสังคมไทยมีอยู่ทุกยุคทุกสมัย แต่น้อยคนที่จะประสบเคราะห์กรรมที่หนักหนาสาหัสเช่นจิตร ภูมิศักดิ์ เพราะส่วนใหญ่จะถูกมองว่าเป็นขบถทางความคิดหรือทางปัญญา ได้รับการประณามหยามเหยียดจากคนที่ล้าหลังทางปัญญาบางกลุ่มบางเหล่าเท่านั้น ดูเหมือนคนล้ำยุคจะอยู่รอดได้ดีในระดับชาวบ้านตามท้องถิ่น เพราะไม่เป็นที่รู้จักของคนในระดับคนชั้นกลางและคนที่มีการศึกษาในเมือง

แต่ในกรณีของจิตร สถานการณ์ทางสังคมและการเมืองทำให้จิตร ภูมิศักดิ์ไม่เพียงแต่จะเป็นขบถทางปัญญาเท่านั้น หากเป็นขบถต่อชาติต่อแผ่นดินอีกด้วย

การเป็นขบถทางสังคมนั้นเกิดขึ้นภายในรั้วจามจุรีสีชมพู สถาบันอุดมศึกษาที่มีเกียรติและศักดิ์ศรีเป็นอันดับหนึ่งของประเทศชาติ แต่มีกรอบประเพณี จารีต และค่านิยมที่กดดันความคิดอิสระเสรีของความเป็นมนุษยชาติมากยิ่งกว่าสถาบันการศึกษาอื่นใดที่ร่วมสมัยในขณะนั้น

ข้าพเจ้าก็เป็นนักศึกษาคนหนึ่งในสถาบันนี้ โดยเรียนอยู่ในรุ่นหลังจิตร ภูมิศักดิ์ ราว ๔-๕ รุ่น รู้สึกว่าการเรียนการศึกษาที่ได้รับมักจะอยู่ในกรอบที่เข้มงวด ดังเห็นได้จากการสอบเลื่อนชั้นเรียน คนที่สอบได้ดี ได้เกียรตินิยม มักเป็นคนที่ท่องเก่ง จนเกือบกล่าวได้ว่าจำเล็กเชอร์ของอาจารย์ได้ทุกคำพูดก็ว่าได้

ข้าพเจ้าชอบไปห้องสมุดในเวลาว่าง ห้องที่นักศึกษาไปใช้มากมักเป็นห้องวารสาร เพราะส่วนใหญ่ชอบไปอ่านหนังสือพิมพ์ หรือวารสารที่เกี่ยวกับแฟชั่นและสิ่งเริงรมย์กัน แต่ห้องหนังสือที่ให้ความรู้ดี ๆ มีหนังสือดี ๆ นั้นไม่ค่อยมีคน ที่มีก็มักเป็นพวกเอางานที่อาจารย์กำหนดไปนั่งทำ มีหนังสือดี ๆ มากมายที่แทบไม่มีคนอ่าน หลายเล่มเก็บไว้นานจนมอดไชเป็นรู เปิดดูรายชื่อผู้ยืมเกือบจะไม่มี ถ้ามีก็เป็นชื่อซ้ำ ๆ กันไม่กี่คน และหนึ่งในจำนวนนั้นก็คือ จิตร ภูมิศักดิ์

นักศึกษารุ่นข้าพเจ้าและรุ่นหลัง ๆ ลงมาส่วนใหญ่ไม่ใคร่มีใครรู้จักจิตร ภูมิศักดิ์ ที่รู้มีส่วนน้อย และมักรู้จักในทางลบมากกว่าทางบวก นั่นก็คือรับรู้เพียงว่าจิตรเป็นนักศึกษาที่ชอบเรียนเรื่องภาษาไทย ภาษาเขมร เป็นนักเขียน นักแสดงความคิดที่พวกครูบาอาจารย์ไม่ชอบ และที่สำคัญก็คือเป็นพวกคอมมิวนิสต์ที่ถูกโยนบก รวมทั้งมีอีกหลายคนที่มีความคิดเช่นเดียวกับจิตร ภูมิศักดิ์ และถูกสันติบาลตามตัวและจับไปเป็นผู้ต้องหาร่วมกับจิตรในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ด้วย

ข้อกล่าวหาเรื่องการเป็นคอมมิวนิสต์นี้ได้เปลี่ยนสถานภาพของจิตรจากการเป็นขบถทางความคิด และการเป็นคนนอกรีตในสังคมรั้วสีชมพู มาเป็นขบถทางการเมืองต่อรัฐและชาติบ้านเมืองไป
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 07 พ.ค. 18, 13:53

ในความคิดของข้าพเจ้าเชื่อว่า ส่วนหนึ่งของความเป็นตัวตนในจิตร ภูมิศักดิ์ คือผลผลิตจากความขัดแย้งทางสังคมในรั้วสีชมพูนั่นเอง

มีค่านิยมบางอย่างที่สร้างอัตตาและความเหลื่อมล้ำให้เกิดขึ้น อย่างเช่นคณะศึกษาที่เหมาะกับบรรดาพวก เลิศลบนารีในแหล่งหล้า ก็คือคณะอักษรศาสตร์ที่จิตรศึกษาอยู่ ส่วนคณะสำหรับเอกบุรุษสุดสง่า ก็คือคณะวิศวกรรมศาสตร์ ก็คงเป็นเหตุมิใช่น้อยที่ทำให้นักศึกษาชายอย่างจิตร ที่ไม่อยู่ในกรอบของจารีตและความคิด จะถูกดูถูกโดยครูอาจารย์และนักศึกษาหญิงส่วนใหญ่ในคณะ และถูกนักศึกษาชายในคณะวิศวกรรมศาสตร์จับโยนบก รวมทั้งต่อมาถูกจับเข้าคุก

ความเป็นตัวตนของจิตรในคณะที่นักศึกษาชายมีพื้นที่เพียงแต่เป็นคนกลุ่มน้อย ที่ต้องคอยเอาอกเอาใจพวกผู้หญิงที่เรียนเก่ง ท่องเก่ง มีศักดิ์มีตระกูล ก็คือการแหกกรอบทางสังคมและประเพณีที่คนทั้งหลายเห็นว่าดีงามมาหาทางเลือกเฉพาะตน นั่นคือการแสวงหาความรู้ ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ที่นอกเหนือไปจากการเรียนแบบท่องจำในคณะวิชาได้อย่างดียิ่ง

ข้าพเจ้าคิดว่า ถ้าไม่ยึดติดกับการเรียนแบบท่องจำตามตำรา และบ้า ๆ บอ ๆ อยู่กับความมีปมด้อยปมเด่นทางสังคมแล้ว ก็มีทั้งช่องว่างและอะไรหลาย ๆ อย่างในรั้วสีชมพูที่นักศึกษาสามารถหาความรู้และเรียนรู้ให้เป็นนักปราชญ์ราชครูได้

จิตร ภูมิศักดิ์ คือนักศึกษาที่ว่านี้ และก็ไม่เป็นที่น่าประหลาดใจ ที่คนนอกรั้วสีชมพูจะรู้จักจิตรดีกว่าคนที่อยู่ในรั้ว

ข้าพเจ้ารู้จักและคุ้นเคยกันดีกับท่านอาจารย์มหาฉ่ำ ทองคำวรรณ ผู้เชี่ยวชาญการอ่านศิลาจารึกของกรมศิลปากร ที่ได้รับเชิญให้ไปสอนพิเศษที่คณะอักษรศาสตร์ ท่านอาจารย์ฉ่ำบอกว่า จิตร ภูมิศักดิ์มีความรู้ในเรื่องภาษาเขมรในระดับผู้เชี่ยวชาญทีเดียว และเป็นคนที่ทางคณะหรือทางราชการควรจ้างไว้ให้สอน ให้ทำงานค้นคว้า

สิ่งที่ท่านอาจารย์ฉ่ำพูดนี้คือความจริง เพราะความเชี่ยวชาญที่แท้จริงของจิตรนั้นอยู่ภาษาศาสตร์ นิรุกติศาสตร์ และวรรณคดี ที่เป็นฐานในการไปเชื่อมโยงกับความรู้และข้อมูลเรื่องต่าง ๆ ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นอย่างดี

โดยเฉพาะทางสังคมศาสตร์นั้น ข้าพเจ้าคิดว่าจิตรได้อ่านได้รู้มากกว่าพวกที่เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเสียด้วยซ้ำ โดยเฉพาะสังคมศาสตร์ทางฝ่ายสังคมนิยม เลยมองเห็นอะไรที่ไม่เป็นแต่เพียงฝ่ายเดียวอย่างคนอื่น ๆในยุคนั้น ที่ถูกมอมเมาโดยกระแสทุนนิยมจากอเมริกา


แต่ทั้งนั้นทั้งนั้น ความยิ่งใหญ่ของจิตร ภูมิศักดิ์ คงไม่ได้อยู่ที่การอ่านหนังสือและนึกคิดจากสิ่งที่มาจากตำรา หากมาจากการมีประสบการณ์เป็นสำคัญ เป็นประสบการณ์ที่เกิดจากการเป็นเด็กบ้านนอก จากภูมิกำเนิด และจากการที่ไปทำงานเป็นมัคคุเทศก์ นำคนไปเที่ยวในที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะที่นครวัดนครธม เป็นต้น เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้จิตรสามารถนำเอาความรู้ที่ได้จากการเรียนและตำรามาคิดและเชื่อมโยง จนเขียนขึ้นเป็นเรื่องราวที่คนทั่วไปเข้าใจได้ดีกว่าบรรดานักวิชาการและนักศึกษาที่ติดกรอบทั้งหลาย

จิตร ภูมิศักดิ์ คือนักแหกกรอบที่ยิ่งใหญ่ เพราะมีศักยภาพในทางจินตนาการสูง และสิ่งนี้แหละคือความเป็นคนล้ำยุคของจิตร ที่คนทั้งหลายในรุ่นเดียวกัน หรือรุ่นหลัง ๆ ลงมาตามไม่ทัน คิดไม่ถ้วนเลยทำให้เกิดอคติกับจิตรไปต่าง ๆ นานา


จาก บทบรรณาธิการวารสารเมืองโบราณปีที่ ๒๘ ฉบับที่ ๔ ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๔๕

http://lek-prapai.org/home/view.php?id=948
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 28 ต.ค. 18, 15:40

คณะศึกษาที่เหมาะกับบรรดาพวก เลิศลบนารีในแหล่งหล้า ก็คือคณะอักษรศาสตร์ที่จิตรศึกษาอยู่ ส่วนคณะสำหรับเอกบุรุษสุดสง่า ก็คือคณะวิศวกรรมศาสตร์ ก็คงเป็นเหตุมิใช่น้อยที่ทำให้นักศึกษาชายอย่างจิตร ที่ไม่อยู่ในกรอบของจารีตและความคิด จะถูกดูถูกโดยครูอาจารย์และนักศึกษาหญิงส่วนใหญ่ในคณะ และถูกนักศึกษาชายในคณะวิศวกรรมศาสตร์จับโยนบก รวมทั้งต่อมาถูกจับเข้าคุก

เหตุการณ์โยนบกอันลือลั่นเกิดขึ้นในวันนี้เมื่อ ๖๕ ปีก่อน

๒๘ ตุลาคม ๒๔๙๖ ขณะที่จิตรกำลังชี้แจงกับนิสิตกว่า ๓,๐๐๐ คน ในหอประชุมอยู่นั้น ได้มีนิสิตที่โกรธแค้น นำโดยนายสีหเดช บุนนาค ขึ้นไปจับจิตรขณะที่อยู่บนเวทีที่สูงจากพื้น ๕ ฟุต และโยนลงมาเบื้องล่างเพื่อเป็นการลงโทษตาม “ธรรมเนียม” หรือเรียกกันต่อมาว่ากรณีโยนบก

แม้จะเป็นการกระทำที่ป่าเถื่อนเพียงใด แต่ในบรรยากาศอำนาจนิยมในขณะนั้น ขจร สุขพานิช สาราณียกรหนังสือชุมนุมจุฬาฯ กลับมองว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่น่าสนใจอะไร เพราะโยนบกก็เท่ากับเป็นการเพิ่มโทษเท่านั้นเอง เมื่อเทียบกับการโยนน้ำ !!!

แทนที่คนผิดจะถูกลงโทษ สภามหาวิทยาลัยได้สั่งให้พักการเรียนจิตรเป็นเวลา ๑๒ เดือน ข้อหามีความโน้มเอียงไปทางซ้าย

ที่มา: คัดจากตอนหนึ่งของบทความ “ชีวิตและงาน จิตร ภูมิศักดิ์” โดย ธนาพล อิ๋วสกุล และคณะ ใน นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤษภาคม ๒๕๔๗

จิตร ภูมิศักดิ์ กับกรณีโยนบก "๒๘ ตุลาคม ๒๔๙๖"
https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_8702


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 25 ก.ย. 19, 15:23

๒๕ กันยายน ๒๔๗๓ วันเกิดของจิตร ภูมิศักดิ์ หากจิตรยังมีชีวิตอยู่ วันนี้เขาจะมีอายุ ๘๙ ปี

คงไม่มีใครเดาได้ว่าถ้าหากเขาได้ใช้ชีวิตผ่านความผันแปรของการเมืองไทยตลอดเวลากว่าห้าสิบปีที่ผ่านมาหลังจากวันที่เขาเสียชีวิต จิตรจะมองประเทศไทยอย่างไร จะเข้ากับขั้วการเมืองฝ่ายไหน แต่ที่เห็นได้ชัดคือเรื่องราวของจิตรผ่านการประกอบสร้างและเขียนใหม่หลากครั้งหลายหน เขาถูกจดจำในฐานะสัญลักษณ์ของบุคคลผู้ "ยืนเด่นโดยท้าทาย" ส่วนความเป็นคอมมิวนิสต์ของเขากลับถูกลืมเลือนไป

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ มีการจัดคอนเสิร์ตรวมเพลงของจิตร ซึ่งบรรเลงโดยวงออร์เคสตร้าจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และถ่ายทอดโดยสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ซึ่งในวีดิโอนำเสนอก่อนช่วงแสดงดนตรีได้มีการอัญเชิญพระราชดำรัสของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ว่า

"จิตร ภูมิศักดิ์เป็นคนที่ค้นคว้าทางวิชาการได้กว้างขวางและถี่ถ้วน"

และนอกจากนั้นยังมีการยกข้อความของพระยาอนุมานราชธนที่ว่า

"ผมไม่เชื่อว่านายจิตรเป็นคนหัวรุนแรง แต่มีความรู้สึกว่า คนรุ่นเก่าจะไม่เข้าใจเขา"

จากที่คอนเสิร์ตครั้งนั้นจะกลายเป็นการประกาศอุดมการณ์ของจิตรอย่างยิ่งใหญ่ กลับกลายเป็นการ "ไล่ผี" ความเป็นคอมมิวนิสต์ให้พ้นไปจากตัวเขาแทน ปัจจุบันความเป็นคอมมิวนิสต์ของจิตรและความหมายของเพลง "แสงดาวแห่งศรัทธา" จึงถูกสลายความหมายลงไป เหลือแต่เพียงความหมายทางนามธรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับอุดมการณ์สังคมนิยมเท่านั้น



https://prachatai.com/journal/2019/05/82415
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 17 ก.ย. 20, 19:42

ขอบพระคุณท่านอาจารย์ใหญ่ที่กรุณา แยกเรื่อง "ความคิดแหวกแนวของเนติวิทย์" ไปเปิดเป็นกระทู้ใหม่  ยิงฟันยิ้ม

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6778.0

ขออนุญาตซ่อมกระทู้ที่แยกไว้ ด้วยความช่วยเหลือของ https://web.archive.org : Internet Archive Wayback Machine

ความคิดแหวกแนวของเนติวิทย์
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 17 ก.ย. 20, 20:16

การต่อสู้ของเนติวิทย์ เพื่อกู้เกียรติภูมิของ จิตร ภูมิศักดิ์ ในจุฬา

ในการประชุมคณะกรรมการบริหารองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสมัยสามัญครั้งที่ ๔ / ๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๓

นายกสโมสรนิสิตรัฐศาสตร์  (นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล) เสนอให้มีการสร้างอนุสาวรีย์ จิตร ภูมิศักดิ์ โดยให้มีการส่งหนังสือไปยังมหาวิทยาลัยเพื่อขอให้มีการดำเนินการสร้างอนุสาวรีย์ฯ  ที่ประชุมมีมติ "ไม่รับรอง" ด้วยคะแนนเสียงรับรอง ๕ เสียง  ไม่รับรอง ๑๑ เสียง  งดออกเสียง ๑๐ เสียง  จากทั้งหมด ๒๖ เสียง

ต่อจากวาระการสร้างอนุสาวรีย์ฯ นายกสโมสรนิสิตรัฐศาสตร์เสนอให้มีการออกหนังสือเพื่อเป็นการขอบคุณและขอโทษจิตร ภูมิศักดิ์ กรณีที่จิตรไม่ได้รับความเป็นธรรมจากมหาวิทยาลัย และได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เหมาะสมและไร้มนุษยธรรม การลงมติในวาระนี้ ที่ประชุมมีมติ "ไม่รับรอง" ให้มีการออกหนังสือขอบคุณและขอโทษในนาม อบจ. ด้วยคะแนนรับรอง ๕ เสียง  ไม่รับรอง ๑๒ เสียง  งดออกเสียง ๑๐ เสียง  จากทั้งหมด ๒๗ เสียง

https://www.matichon.co.th/politics/news_2344818

แม้ข้อเสนอจะไม่ผ่านการรับรอง แต่เป็นการเริ่มต้นที่ดีเพื่อให้ประชาคมจุฬา (และคนทั่วไป) หันมาสนใจเรื่องราวของ จิตร ภูมิศักดิ์  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 25 ก.ย. 20, 11:00

ร่วมรำลึก ๙๐ ปีชาตกาล จิตร ภูมิศักดิ์

จิตร   ภูมิศักดิ์ผู้              ทระนง
ภู      ผาใหญ่ยืนยง         เปรียบได้
มิ      เคยพรั่นพะวง         ทุกข์ยาก ใดนา
ศักดิ์   สิทธิ์เสรีไซร้           มอบไว้แก่ชน


#รับพี่จิตรคืนจุฬา ป้ายจอ LED ฉลองวันเกิด จิตร ภูมิศักดิ์ ที่ จามจุรีสแควร์ชั้นใต้ดิน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 20 คำสั่ง