เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 60492 จิตร ภูมิศักดิ์ : พฤษภาห้าร้อยเก้า แดดลบเงาจางหาย
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 28 พ.ค. 13, 10:01

横眉冷对千夫指 俯首甘为孺子牛

แม้คนพันบัญชาชี้หน้าเย้ย  
จงขวางคิ้วเย็นชาเฉยเถิดสหาย        
ต่อผองเหล่านวชนเกิดกล่นราย        
จงน้อมกายก้มหัวเป็นงัวงาน


บทกวี ลายมือ จิตร  ภูมิศักดิ์  

จากหนังสือ "ถึงร้อยดาวพราวพรายกระจายแสง" จากโยนบกถึงทีปกร (พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๕๐๑), วิชัย นภารัศมี บรรณาธิการ, โครงการสรรพนิพนธ์ จิตร ภูมิศักดิ์ ชุดกวีนิพนธ์, สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน, กรุงเทพฯ, ๒๕๕๑

คำอธิบายความ



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 02 มิ.ย. 13, 09:06

และนี่คือปณิธานที่มาจากใจของ จิตร ภูมิศักดิ์ โดยตรง

   ข้าขอ
เปล่งคำสาบานไปกับสายลม
จักพิทักษ์ชีวิตผู้ทุกข์ตรม
จักลบล้างการกดขี่ระทม
และต่อสู้ล้มอำนาจอธรรม

   ชีพนี้
จักอุทิศพลีเพื่อกอบกู้ธรรม
จักจองล้างทรราชระยำ
ให้โลกร่ำลือในวีรกรรม
ตราบจนฟ้าดินจักสิ้นมลาย


จาก เพลงหยดน้ำบนผืนทราย

เพลง "หยดน้ำบนผืนทราย" ประพันธ์ขึ้นประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ถือเป็นเพียงการตั้งชื่อขั้นต้นเท่านั้น เพราะลายเส้นดินสอที่จิตรเขียนชื่อเพลงในต­้นฉบับนั้นอ่อนมาก เนื้อเพลงนี้ จิตรได้นำลักษณะความขัดแย้งและแตกต่างทางส­ังคมให้มาเกี่ยวโยงกับความขัดแย้งและแตกต่­างทางธรรมชาติ

จิตรใส่ทำนองของเพลง โดยเฉพาะตอนคำปณิธานนี้ได้อารมณ์แกร่งและเข้มแข็งมาก

ลองฟังดู



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 04 มิ.ย. 13, 09:09

จิตร  ภูมิศักดิ์ได้ทำตามคำสาบานแล้ว 

คงเป็นหน้าที่ของ "นวชนที่กล่นราย" สืบทอดเจตนารมณ์ของจิตรต่อไป

ตัดกิ่งยังแตกก้าน          ยังผลิบานทั้งช่อใบ
รากแก้วปลูกฝังไว้         เป็นไม้ใหญ่ที่ยืนยง

ยิ่งตัดยิ่งแตกราก          แม้นจำพรากรากยังคง
อุดมการณ์ที่ซื่อตรง       ไม่ลืมหลงไม่ลืมเลือน


บทกวีโดย "นวชน" ดอกฟ้ากับหมาวัด #๒๓

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 05 พ.ค. 16, 08:35

เย็นวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๐๙ ทหารป่านิรนามหลงทางมาขอข้าวที่บ้านหนองกุง และถูกล้อมยิงตายริมชายป่านอกหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่พบเขาล้มร่างอยู่ใต้สะเดา และเคลื่อนศพมาเผาที่โคนไม้แดงหลังพลบค่ำ......... ขยิบตา

ร่วมรำลึก ๕๐ ปีแห่งการล้มลงของ จิตร ภูมิศักดิ์

พฤษภาห้าร้อยเก้าแดดลบเงาจางหาย เขาตายอยู่ข้างทางเกวียน

เขาตายเหมือนไร้ค่าแต่ต่อมาก้องนาม ผู้คนไถ่ถามอยากเรียน

วันเวลาที่ผันผ่าน เป็นตำนานเล่าขานมานานปี


๒๕๕๐
จิตร ภูมิศักดิ์ : เขาตายเหมือนไร้ค่าแต่ต่อมาก้องนาม ผู้คนไถ่ถามอยากเรียน
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/05/K5378590/K5378590.html

๒๕๕๑
จิตร ภูมิศักดิ์ : เป็นนักคิดนักเขียน ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2008/05/K6584396/K6584396.html

๒๕๕๒
จิตร ภูมิศักดิ์ : เขาตายในชายป่าเลือดแดงทาดินอีสาน อีกนาน อีกนาน อีกนาน
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/05/K7827374/K7827374.html

๒๕๕๓
จิตร ภูมิศักดิ์ : คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/05/K9207572/K9207572.html

๒๕๕๔
คือ “จิตร ภูมิศักดิ์” คือ “ปราชญ์สามัญชน”
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2011/05/K10525223/K10525223.html
บันทึกการเข้า
kulapha
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 07 พ.ค. 16, 20:24

2559 : รายงาน: 50 ปีการจากไปของ จิตร ภูมิศักดิ์ จาก ‘ผีใบ้หวย’ สู่ ‘อาจารย์จิตร’

http://prachatai.org/journal/2016/05/65617
บันทึกการเข้า
kulapha
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 09 พ.ค. 16, 22:01



คารวาลัยแด่ อุชเชนี
อ่านบทสัมภาษณ์จากโลกหนังสือฉบับนี้ (ปีที่ 3 ฉบับที่6 มีนาคม 2523) ระลึกถึงกวีโรแมนติคท่านนี้ผู้กลับคืนสู่อ้อมแขนพระเจ้าไม่กี่เพลานี้เอง
เคยเป็นอาจารย์ - ศิษย์ ณ สำนักเทวาลัย

บทสัมภาษณ์พาดพิงถึงจิตร หลายตอนด้วยความทึ่ง


โลกหนังสือ  : เคยเป็นอาจารย์สอนจิตร ภูมิศักดิ์ ใช่ไหม ตามสายตาแล้วช่วงนั้นแกเป็นคนอย่างไร
อุชเชนี       : แกเป็นคน..เป็นคนน่าสงสารมาก ดิฉันว่าแกเป็นนักเรียน เป็นนักศึกษา เป็นผู้คงแก่เรียน
                       เป็นคนที่...เป็นนักค้นคว้า เป็นนักวิจัย เป็นคนที่ไม่ได้พอใจแต่เพียงเล็คเชอร์ของอาจารย์
                       แกจะไปหาอะไรต่ออะไรมาเพิ่มเติมของแก และตอนที่แกหามาเพิ่มเติม บางทีก็เกินไปกว่าที่อาจารย์หามา
                       และอันนี้ดิฉันถือว่าอันตราย แกจะมีอะไรมายันว่า นี่ผมค้นมา พอเจอไอ้นี่ มันก็ยากที่ผู้ใหญ่จะรับหรือบางทีก็....
                       เราต้องเข้าใจว่าการเรียนวรรณคดี คำบางคำ มันเป็นเรื่ีองของการสันนิษฐานว่าไอ้นี่มาจากนั่น
                       ไอ้นี่คงคือคำนั้นนั่นเอง อะไรอย่างนี้

                       เมื่อเราได้รับการสอนมาแบบนั้น เด็กๆทั่วไปก็คงเข่้าใจ และเวลาเราตอบข้อสอบ เราก็จะตอบไปตามนั้น
                       ทีนี้ถ้าหากว่าเกิดมีคนไปค้นมาอย่างจริงจังและสามารถตอบได้ว่า คำนี้นั้นคืออะไร ก็เห็นว่าจะเสียหน้าที่ถูกแย้ง
                     
                       ...นี่ อันทำพิษ (อุชเชนีเปิดให้ดูบทกลอนที่ชื่อ "ในนิมิต")
                       "กลีบกุหลาบฉาบชมพูพรูพรั่งฟ้า" ที่ดิฉันเรียกว่า "อันทำพิษ" เพราะว่าอันนี้เป็นอันที่คุณจิตร ภูมิศักดิ์
                       ขอไปลงในหนังสือมหาวิทยาลัยแล้วเธอถูกโยนบก ไอ้กลอนอันนี้ที่คุณจิตรขอก็ถูกเซ็นเซอร์ด้วย
               
                       " เมื่อขอบฟ้าพร่าพราวหลาวทองทาบ  พุ่งปลายปราบทะลวงถิ่นทมิฬถอย
                         ความมืดแมกแหลกเรื้อไม่เหลือรอย    หทัยพร้อยแสงชมพรากสว่างพราว"

                        อู๊ (ขึ้นเสียงสูง) เขาเห็นชื่อดิฉัน เขาก็คงเซ็นเซอร์แล้ว
                        ตอนนั้นเป็นอาจารย์ที่จุฬา  เขาคงเห็นนามปากกาก็ไม่เอาแล้ว ไม่อ่านด้วยซ้ำว่าเราพูดอะไร

                       ส่วนที่คุณจิตรแกเขียน ก็มีพูดถึงพระสงฆ์ คุณจิตรก็วิจารณ์พระสงฆ์
                       คนที่ไม่อ่านบทความทั้งหมด..ขีดเส้นใต้แดงๆตรงนั้่นแล้วเอาตรงนั้นไปประณาม
                       ไม่ดูบ้างว่า ข้างบนเขาพูดมาอย่างไร
       
                       คือคุณจิตร เป็นคนเขียนทุกอย่างๆมีเหตุมีผล ไม่ใช่นึกอยากเก็บพระมาด่า มันไม่ใช่อย่างนั้นร
                       ไม่ใช่ว่าเขาไม่เคารพ เขาเพียงแต่พูดเรื่องจริง

                       ....คนเราลงว่าอยากจะหาเรื่อง มันก็ง่ายนิดเดียว หยิบตรงไหนขึ้นมานิด..
                       แล้วคนพวกนี้เรียกว่าอ่านหนังสือไม่เป็น ไม่ดูทั้งความ เอะอะก็มาจับนิดหนึ่งแล้วก็มาว่่า....

                 
                      ป่านนี้ อาจารย์และศิษย์คู่นี้คงได้เจอกันแล้ว ยิ้ม





               
บันทึกการเข้า
kulapha
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 10 พ.ค. 16, 09:07


มาดูฉบับเต็มของกลอนเจ้าปัญหาที่อุชเชนีแต่ง จิตรขอ และจิตรถูกโยนบก

"กลีบกุหลาบฉาบชมพูพรูพรั่งฟ้า
ว่อนเมฆาเหมือนฝันขวัญพี่เอ๋ย
นภาพิศนิมิตหวามงามกว่าเคย
ชวนสังเวยบูชิตชีวิตนี้

แต่ละชีพต่างกลีบกุหลาบร่อน
ชะลอช้อนชุ่มรักเป็นสักขี
การุณยมานหวานล้ำฉ่ำฤดี
โลมปถพีทุกย่างทางครรไล

ฟ้าระริกเงาระรวยกลางห้วยกว้าง
ก็เหมือนอย่างเราฝังพลังไข
ว่าดวงรุ้งพุ่งผ่านม่านตาใจ
ลึกละไมละเมียดหวังตั้งตาคอย

เมื่อขอบฟ้าพร่าพราวหลาวทองทาบ
พุ่งปลายปลาบทะลวงถิ่นทมิฬถอย
ความมืดแมกแหลกเรื้อไม่เหลือรอย
อุทัยพร้อยแสงพร่างสว่างพราย

เพื่อฟากฟ้าสายัณห์อย่างวันนี้
จักปรายปรีดิ์เปี่ยมพ้นล้นความหมาย
เพื่อมรรคาประชาชนจักกล่นราย
ด้วยกลีบกรายกุหลาบแก้วผ่องแพรวใจ"

พร้อมกับบทสัมภาษณ์ส่วนตัวต่อกลอนบทนี้

"ตรงนี้นะคะ คือมองเห็นภาพในหัวตัวเองที่ต้องการคำพูด
คือแสงสว่างของดวงอาทิตย์ที่มันพุ่งอย่างนี้เลยทีเดียวเชียว
แล้เวแสงสว่างอันนี้แหละที่เหมือนกับหลาวทองที่จะทำให้มันมืดหาย
มันต้องเลือกคำกว่าจะออกไปอย่างนี้แหละค่ะ"  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 10 พ.ค. 16, 09:16

อายไปคงไม่รู้แน่ๆ ขออนุญาตถามครับ
ในเวลานั้น เหตุใดกลอนนี้จึงก่อให้เกิดปัญหาหละครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 10 พ.ค. 16, 10:44

"ในนิมิต" ของอุชเชนี มีท่อนเดียวเท่านั้นที่ "อาจจะ" มีปัญหา เพราะเป็นเสี้ยนแทงใจเผด็จการทุกสมัยให้เจ็บปวดได้

เมื่อขอบฟ้าพร่าพราวหลาวทองทาบ
พุ่งปลายปลาบทะลวงถิ่นทมิฬถอย
ความมืดแมกแหลกเรื้อไม่เหลือรอย
อุทัยพร้อยแสงพร่างสว่างพราย


ความจริง กลอนนี้น่าจะติดร่างแหมากกว่า เรื่องที่ถูกกล่าวหาร้ายแรงเป็นเรื่องของ จิตร ภูมิศักดิ์ เอง คือ บทความเรื่อง "พุทธปรัชญาแก้สภาพสังคมตรงกิเลส วัตถุนิยมไดอะเลคติค แก้สภาพสังคมที่ตัวสังคมเอง และแก้ได้ด้วยการปฏิวัติ มิใช่ปฏิรูปตามแบบสิทธารถ ปรัชญาวัตถุนิยมไดอะเลคติค กับปรัชญาของสิทธารถผิดกันอย่างฉกรรจ์ตรงนี้" (หรือรู้จักกันอีกชื่อคือ "ผีตองเหลือง") เขียนวิจารณ์ความเสื่อมทรามของพระภิกษุสงฆ์ที่หากินภายใต้ร่มกาสาวพัสตร์ ภายใต้กรอบลัทธิมาร์กซ์ ซึ่งจิตรกำลังศึกษาอยู่ในขณะนั้น ในนามปากกา นาครทาส   และบทกวีชื่อ "เธอคือหญิงรับจ้างแท้...ใช่แม่คน" ในนามปากกา ศูลภูวดล ที่วิจารณ์ผู้หญิงที่รักสนุกแต่พอท้องขึ้นมาแล้วปัดความรับผิดชอบ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 10 มี.ค. 17, 19:00

๑๐๐ ปีจุฬาฯ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๐  จะมีการรำลึกถึงศิษย์เก่าที่ชื่อว่า "จิตร ภูมิศักดิ์" บ้างไหมหนอ ?


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 05 พ.ค. 17, 09:03

ห้าพฤษภาฯสองห้าศูนย์เก้า  
สามัญชนทอดเงาเพื่อเล่าขาน  
กำเนิด “จิตร ภูมิศักดิ์” เป็นตำนาน  
กำเนิดปราชญ์ก่อนกาลสายธารธรรม

ณ แดนดินถิ่นไทยในอีสาน
ยังมีงานรำลึกร่วมนึกถึง
ห้าสิบเอ็ดปีผ่านไปให้คะนึง
ชายผู้ซึ่งเป็นปราชญ์ไทยได้ล้มลง

เป็นการล้มจากไปยิ่งใหญ่กว่า
ทั้งอาเธอร์ซีซาร์อย่าได้หลง*
เขาจากไปเหมือนไร้ค่าแต่ยืนยง
ทระนงได้เห็นเป็นตำนาน


*
สหายไฟ - นายผี - อัศนี  พลจันทร  กล่าวถึงวาระสุดท้ายของ จิตร  ภูมิศักดิ์ ว่า การล้มของเขาเป็นการล้มที่ยิ่งใหญ่กว่าการล้มของ ซีซาร์, อาเธอร์ และนารายณ์มหาราช


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 06 พ.ค. 17, 07:59


อัจฉริยะอย่างจิตร ตายเร็วไปหลายสิบปี
ถ้าตอนนี้ยังอยู่ อาจนั่งอมยิ้มนั่งมองการเคลื่อนไหวของสาวกทางความคิดที่กำลังก่อกบฎในจุฬากันอย่างสนุกสนาน นักปฏิวัติรุ่นใหม่จะโดนปราบหรือแนวร่วมจะขยายตัวขึ้น สถานการณ์น่าสนใจมากครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 06 พ.ค. 17, 08:24

วันนั้นจิตรล้มลง ณ ตรงนี้
หลอมร่างกับธุลีดินอีศาน
วันนี้จิตรยืนเด่นเป็นตำนาน
ปลุกจิตวิญญาณเสรีชน


โชน วาริชภูมิ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 17 พ.ค. 17, 10:57

ขอบพระคุณท่านอาจารย์ใหญ่ที่กรุณา แยกเรื่อง "ความคิดแหวกแนวของเนติวิทย์" ไปเปิดเป็นกระทู้ใหม่  ยิงฟันยิ้ม

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6778.0
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 26 พ.ค. 17, 19:27

ในปีนี้ผมอยากเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยมี "วันจิตร ภูมิศักดิ์" เพราะที่ผ่านมาไม่ได้พูดถึงเขาเท่าที่ควร ใครบ้างที่มีคุณูปการมาอย่างยาวนานแม้กระทั่งตายไปนานแล้ว แต่ยังมีคนอ่านงานเขียนของเขาจนวันนี้ ไม่มีใครเลยนอกจากจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งเป็นปัญญาชนหมายเลขหนึ่งของจุฬาฯอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้นในปีนี้สภานิสิตจุฬาจะจัดงานจิตร ภูมิศักดิ์ "วันแห่งความคิดเห็นแตกต่าง" ขึ้นให้ได้ ผมจะเสนอเรื่องนี้ถึงอธิการบดี

เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล (ว่าที่) ประธานสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา ๒๕๖๐


https://thematter.co/pulse/politics-of-netiwit/23595

อย่างน้อยก็มีชาวจุฬาคนหนึ่งนึกถึง จิตร ภูมิศักดิ์  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.052 วินาที กับ 20 คำสั่ง