เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 5648 เห็นว่าคนไทยที่จบปริญญาเอกคนแรกมีหลักฐานใหม่ว่าไม่ใช่กรมหมื่นสวรรควิสัยฯแล้ว
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


 เมื่อ 03 พ.ค. 13, 21:01

เท่าที่ค้นเจอบอกว่าคือ ดร.ชู แต่ค้นหาประวัติอย่างอื่นอีกเลย คิดว่าถึงเป็นสามัญชนแต่ก็น่าจะเป็นบุตรข้าราชการสำคัญพอดูน่าจะมีประวัติสืบค้นได้นะคะ

ไม่ทราบว่ามีท่านใดพอจะมีประวัติบ้างคะ ฮืม

ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 03 พ.ค. 13, 21:25

เรือนไทยเคยตอบเรื่องนี้มาแล้วค่ะ
http://www.reurnthai.com/index.php?action=printpage;topic=1527.0
ใครมีรายละเอียดบ้างไหมคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 03 พ.ค. 13, 21:30

ชวนให้ระลึกถึงนายชู เปรียญ  ผู้เป็นสามเณรเปรียญวัดพระเชตุพน  แล้วลาสิกขามาเรียนต่อที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบภาษาอังกฤษ  จบแล้วสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงไปเรียนวิชาการศึกษาที่ประเทศเยอรมนี  สำเร็จเป็นดอกเตอร์คนแรกของเมืองไทย  ตามประวัติท่านว่า กลับมารับราชการครั้งแรกในกรมแต่งตำรา  แล้วย้ายไปเป็นผู้ช่วยพระยาภาสกรวงศ์จัดพิพิธภัณฑ์ที่หอคองคอร์เดีย  จากนั้นก็ไม่พบประวัติอีกเลย

หนังสือจดหมายเหตุเสด็จประพาสยุโรป ร.ศ. ๑๑๖ แต่งโดยพระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิรยศิริ) ผู้ตามเสด็จและทำหน้าที่จดบันทึกการเดินทาง เขียนไว้ตอนหนึ่งว่า

วันที่ ๑๐ มิถุนายน ร.ศ. ๑๑๖  ขณะ รัชกาลที่ ๕ ประทับอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เวลาบ่าย เมื่อเสวยพระกระยาหารกลางวันแล้ว พระยาศรีสุริยราชวราวัตรก็ได้... "นำนายชูเปรียญ ซึ่งมาส่งเสด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท นายชูคนนี้เป็นนักเรียนที่เล่าเรียนในเยอรมันสอบไล่ได้ดีแล้ว และได้ประกาศนียบัตรเป็น ดอกเตอร์ออฟฟิลอซโซฟี่ เป็นคนไทยคนแรกที่ได้เล่าเรียนถึงได้รับประกาศนียบัตรชั้นนี้ มีพระราชดำรัสด้วยตามสมควรแล้วเสด็จขึ้น"

หนังสือพิมพ์สยามไมตรีรายสัปดาห์ ฉบับวันอังคารที่ ๑๔ ธันวาคม ร.ศ. ๑๑๖  ลงข่าวว่า

"เราได้ทราบข่าวว่า นายชู เปรียญ ซึ่งเปนนักเรียน ได้ไปเล่าเรียนศึกษาวิชาสอบไล่ได้เปนนายศิลปชั้นสกลวิทยาลัย ในกรุงเยอร์มนีนั้นกลับมาถึงกรุงเทพฯ แล้ว จะได้มีตำแหน่งรับราชการในกรมศึกษาธิการ รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๒ ชั่งในชั้นแรก ๆ..."

นายชู ได้เคยแต่งหนังสือ และเคยทำงานในกรมพิพิธภัณฑ์ เมื่อเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ มีจดหมายพิมพ์ดีดลงวันที่ ๑๔ มกราคม ร.ศ. ๑๑๗ ทูลกรมหมื่นสมมตอมรพันธ์ ว่าเจ้าหมื่นศรีสรรักษ์ (เพ่ง บุนนาค) เจ้ากรมพิพิธภัณฑ์ขอลาออกจากตำแหน่งเพราะทำผิด ถูกขังเร่งเงินหลวงอยู่ ท่านได้ให้นายชู มาเป็น "กุเรเตอร์" ในพิพิธภัณฑ์ และได้แนะนำตัวนายชูให้ทราบว่า เดิมทำการในกรมศึกษาธิการ เป็นพนักงานตรวจแต่งตำราเรียน ขณะนั้นพิพิธภัณฑ์เปิดให้ประชาชนมาดูอาทิตย์ละ ๒ หน..

"ผู้ที่มาดูน้อย นอกจากงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาฉัตรมงคลซึ่งผู้ที่มาดูนับหมื่นแต่ชอบดูส่วนแนชุรัล ฮีสตอรี ยิ่งกว่าสิ่งอื่น"

"นายชูบาเรียน ตามที่สังเกตความรู้เปนดอกเตอร์ฟิโลโซฟีในการปราชญ์ แลเข้าใจอยู่ในทางแนชุรัล ฮิสตอรีด้วย ตัวก็เต็มใจที่จะทำการนี้ยิ่งกว่าการทำการอยู่ในกรมศึกษาธิการ เพราะสังเกตดูในกรมศึกษาธิการจัดอยู่ข้างอังกฤษ ไม่สู้ถูกกับข้างเยอรมัน เมื่อตรวจตำราเรียนอยู่ แลได้ไปเลกเชอร์ที่โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์สอนเด็กนั้น ก็ว่านักเรียนไม่สู้จะเข้าใจนัก ไม่เหมือนอย่างนายสนั่น..."

นายชูจบการศึกษาระดับปริญญาเอก Ph.D. จากประเทศเยอรมัน เมื่อกลับเมืองไทยได้รับราชการอยู่ที่กรมศึกษาธิการ มีหน้าที่ตรวจ และแต่งตำราเรียน แต่อยู่คนละสำนักกับนักเรียนที่จบจากอังกฤษ การสอนไม่เก่งเท่านายสนั่น (ภายหลังได้เป็นเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี) มีความสนใจด้านประวัติศาสตร์ ต่อมาได้ย้ายไปรับราชการที่กรมพิพิธภัณฑ์มีหน้าที่เป็นผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์

ภายหลังเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ ได้ส่งสำเนาเล็กเชอร์ เรื่อง “เล็กเชอร์ ตำนานพงษาวดารโลก ตอน๑ " ซึ่ง นายชู บาเรียน เป็นผู้แสดง ถวายในหลวง รัชกาลที่ ๕ และทรงมีพระราชกระแส ซึ่งแจ้งเป็นหนังสือโดยกรมพระสมมตอมรพันธ์ ลงวันที่ ๒๑ มกราคม ร.ศ. ๑๑๗ ว่า "ดี แต่ยากแก่ผู้ไม่มีความรู้"

ข้อมูลจากบทความเรื่อง ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต: บัณฑิตผู้แสวงหาความรู้เองได้   โดย ดร.ชัยลิขิต สร้อยเพชรเกษม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 04 พ.ค. 13, 10:27

ยกกระทู้คุณ V_Mee ที่เคยตอบในทิปมาลงให้อ่านครับ

ดร.คนแรกที่เป็นคนไทย คือ นายชู เปรียญ สำเร็จการศึกษา Ph.D. ทางด้านการศึกษาจากเยอรมัน นายชู เปรียญ ท่านนี้ เดิมเคยเป็นบวชเป็นสามเณรที่วัดพระเชตุพน สอบได้เป็นเปรียญสามประโยคตั้งแต่เป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ แล้วลาสิกขา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกไปศึกษาวิชาครูที่ประเทศเยอรมัน สำเร็จการศึกษาชั้น M.A. แล้วคงศึกษาต่อจนจบชั้น Ph.D. ทางการศึกษา เมื่อกลับเข้ามารับราชการ มีหลักฐานว่าในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ผู้ดูการพิพิธภัณฑ์ แล้วย้ายไปเป็นพนักงานแต่งตำรา กรมศึกษาหัวเมืองในบังคับบัญชาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส หลักฐานสุดท้ายที่ปรากฏคือ รับราชการในกระทรวงมหาดไทย ต่อจากนั้นไม่ปรากฏหลักฐานว่า ลาออกจากราชการหรือถึงแก่กรรมเมื่อใด ไม่ปรากฏทายาทผู้สืบสกุลหรือหลักฐานเรื่องนามสกุลเลย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี ทรงเป็นดุษฎีบัณฑิตพระองค์ที่สอง ทรงสำเร็จการศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยทุบบิงเงน ประเทศเยอรมัน ภายหลังจากนายชู เปรียญ ราวสิบปี ดุษฎีนิพนธ์ที่ทรงทำไว้ชื่อ "Siam's Rural Economy under King Chulalongkorn" เมื่อเสด็จกลับประเทศไทยแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับราชการในกระทรวงมหาดไทย ได้รับพระราชทานยศชั้นที่ ๒ โท (เทียบเท่านายพันโท) แล้วเลื่อนขึ้นมาเป็นลำดับ สุดท้ายทรงเป็น มหาอำมาตย์ตรี (เทียบเท่า พลตรี) ตำแหน่ง ผู้ช่วยราชปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย สิ้นพระชนม์โดยทรงกระทำอัตวินิบา

มีเอกสารหลักฐานเป็นเอกสารจดหมายเหตุที่เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ  ยืนยันชัดเจนครับว่า นายชู เปรียญ สำเร็จการศึกษา Ph.D. จากเยอรมันแน่นอนครับ 

เมื่อนายชู เปรียญสำเร็จการศึกษาชั้น Ph.D. แล้ว  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตื่นเต้นมาก  โปรดให้มีการพระราชทานเลี้ยงพระราชทานแก่นายชู เปรียญ พร้อมกับผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากเยอรมันอีก ๒ คน  ในโอกาสนั้นโปรดพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เป็นเกียรติยศ

ตำแหน่งในสมัยก่อนอย่าดูถูกว่าเป็นตำแหน่งต่ำ  ขอได้โปรดคิดถึงสภาพสังคมในยุคนั้นที่เพิ่งเริ่มจัดการศึกษา  ผู้ที่มีหน้าที่จัดพิพิธภัณฑ์ก่อนหน้านายชู คือ นายราชารัตยานุหาร (พร  บุนนาค) ซึ่งต่อมาได้เป็น เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ เสนาบดีกระทรวงธรรมการ 

เมื่อนายชู เปรียญ ย้ายไปเป็นอาจารย์แต่งตำราในกรมศึกษาหัวเมืองนั้น  มีลายพระหัตถ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ประทานสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่า  แต่งตำราแล้วใช้ไม่ได้  จึงขอส่งตัวคือนให้กระทรวงมหาดไทย  ไปทำราชการในแผนกอื่น

เรื่องนายชู เปรียญ นี้  กว่าจะหาเอกสารหลักฐานมาปะติดปะต่อกันได้นั้นยากมาก  เอกสารที่กล่าวถึงการรับราชการนั้นกระจัดกระจายแทรกอยู่ตามเอกสารเรื่องต่างๆ  ไม่มีการบันทึดไว้เป็นเรื่องเฉพาะ  ที่สำคัญ คือ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงพระนิพนธ์ประวัติบุคคลต่างๆ ไว้มาก  และทรงเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของนายชู เปรียญ  ก็มิได้ทรงพระนิพนธ์ถึงประวัตินายชู เปรียญ ไว้เลย  จึงคาดว่า คงจะเป็นประเภท "ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด"
ที่มา ปริญญาเอก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 04 พ.ค. 13, 20:35

สันนิษฐานเป็นส่วนตัวไว้ก่อน จนกว่าจะมีหลักฐานมาเพิ่มเติมมากกว่านี้ ว่าดร.ชูน่าจะอายุสั้น   จึงไม่ปรากฏว่ามีบรรดาศักดิ์ขุนนาง และไม่มีทายาทสืบต่อพอจะขอพระราชทานนามสกุลในรัชกาลที่ ๖   
นับว่าน่าเสียดาย สำหรับประวัติดร.คนแรกของสยาม  ที่คนร่วมสมัยไม่ได้รวบรวมไว้เป็นเรื่องเป็นราวมากกว่านี้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 04 พ.ค. 13, 21:02

ตามประวัติ ชิต บุรทัต กวีคนสำคัญในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีบิดาชื่อ ชู เปรียญ  เช่นกัน

เป็นคนเดียวกับ ดร.ชู หรือเปล่าหนอ  ฮืม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 04 พ.ค. 13, 21:14

ถ้าเป็นคนเดียวกัน น่าจะมีพรรคพวกในวงการหนังสือของนายชิตรู้บ้างว่าพ่อนายชิตจบถึงปริญญาเอกจากเยอรมัน     หรือนายชิตก็น่าจะเอ่ยถึงไว้บ้าง
และ...นายชิตน่าจะรู้ภาษาเยอรมัน  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 04 พ.ค. 13, 21:19

ยกกระทู้คุณ V_Mee ที่เคยตอบในทิปมาลงให้อ่านครับ

ดร.คนแรกที่เป็นคนไทย คือ นายชู เปรียญ สำเร็จการศึกษา Ph.D. ทางด้านการศึกษาจากเยอรมัน นายชู เปรียญ ท่านนี้ เดิมเคยเป็นบวชเป็นสามเณรที่วัดพระเชตุพน สอบได้เป็นเปรียญสามประโยคตั้งแต่เป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ แล้วลาสิกขา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกไปศึกษาวิชาครูที่ประเทศเยอรมัน

นายชิต  บุรทัต  เกิดเมื่อวันที่ ๖ กันยายน  พ.ศ. ๒๔๓๕  เป็นบุตรนายชู  นางปริก  ได้รับการศึกษาขั้นต้นจากบิดาซึ่งเป็นเปรียญ ๕ ประโยค
อ้างจาก
http://www.gotoknow.org/posts/280111
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 05 พ.ค. 13, 09:36

หลังจากที่รับราชการมาได้ระยะหนึ่ง  พบว่านายชูป่วยต้องออกจากราชการไปตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๕  แล้วก็ไม่พบหลักฐานอีกเลย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 05 พ.ค. 13, 21:09

 ถ้าดร.ชู ป่วยจนต้องออกจากราชการ  โรคภัยไข้เจ็บที่ท่านเป็นอยู่คงจะส่งผลรุนแรงจนกระทั่งทำงานต่อไปไม่ไหว   แค่ลาป่วยไม่พอ ต้องลาออกไปเลย     
  ท่านอาจจะอายุสั้น  หรือถ้าอยู่ต่อมาจนรัชกาลที่ ๖  ก็คงมีโรคภัยเบียดเบียนแบบเรื้อรัง   จึงไม่ปรากฏเรื่องราวและผลงานอีก     ความจริงถึงออกจากราชการ แต่มีความรู้ขั้น Ph.D   ในปลายรัชกาลที่ ๕ และต่อมาถึงรัชกาลที่ ๖  ก็น่าจะทำงานเกี่ยวกับหนังสือหนังหากับโรงพิมพ์เอกชนได้  พอจะมีข่าวคราวให้มิตรสหายในวงการหนังสือได้เอ่ยถึงบ้าง
บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 07 พ.ค. 13, 08:26

ขอบคุณสำหรับคำตอบของทุกท่านค่ะ
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 19 คำสั่ง