เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 6483 งานบุญบั้งไฟ
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
 เมื่อ 17 พ.ค. 01, 22:32

วันนี้ได้ดูข่าว บีบีซี มีรายงานประเพณีบุญบั้งไฟของไทยด้วยครับ
ดีใจมากครับ เพราะนานๆจะมีข่าวประเพณีของไทยให้ดูซะทีหนึ่ง

ค้นข้อมูลในเว็ปเพจของจังหวัดยโสธร เข้าบอกว่า

... " งานประเพณีบุญบั้งไฟ จัดให้มีขึ้นในวันเสาร์-อาทิตย์ที่ ๒ ของเดือนพฤษภาคม    
ทุกปีจะมีขบวนแห่บั้งไฟ ซึ่งประดับประดาอย่างสวบงาม มีหลายขนาด
คือ บั้งไฟกิโล    บั้งไฟหมื่น และบั้งไฟแสน ตามน้ำหนักของดินประสิว  
สำหรับขบวนโดยชาวบ้านทั้งเด็ก     หนุ่มสาวตลอดจนผู้สูงอายุ
และจะมีการจุดบั้งไฟกันในวันรุ่งขึ้น ... "

เพื่อนฝรั่งบอกว่า ประเทศยูผลิตจรวดได้มาแต่โบราณแล้วหรือ อะเมซซิ่งแจงๆ
เลยมานึกสงสัยประวัติของประเพณีนี้ ว่าเริ่มแต่สมัยใดกันแน่ ... มีใครพอทราบมั้ยครับ

ฝากความคิดถึงๆ คุณแจ้ง ถ้าผ่านเข้ามาอยากทามว่ามีเพลงลูกทุ่งเกี่ยงกับ
งานบุญบั้งไฟบ้างมั้ยครับ ฮี่ๆๆๆ
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 17 พ.ค. 01, 08:27

เอารูปขบวนแห่บั้งไฟจากเว็ปไซต์จังหวัดยโสธรมาฝากครับ

http://www.thai.net/yaso/gif.html' target='_blank'>http://www.thai.net/yaso/gif.html
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW586x001.jpg'>
บันทึกการเข้า
วิภา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 17 พ.ค. 01, 10:40

สวัสดี๋ค่ะ
บันทึกการเข้า
วิภา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 17 พ.ค. 01, 10:59

ขอโทษเด้อค่ะผิดพลาดทางเทคนิคน่ะค่ะ
พิธีกรรมนี้คงมีอายุมายาวนานในหมู่ประชาชนกลุ่มไทย-ลาวในอีสานจนเกินกว่าจะอธิบายกำเนิดอันแท้จริงของพิธีกรรมนี้ได้แม้แต่ในต้นฉบับเรื่องพญาคันคาคก็หาได้บันทึกไว้ไม่เกี่ยวกับการยิงบั้งไฟ
       ตกค่ำจะมีการเซิ้งบั้งไฟ  การเซิ้ง คือการร้องเล่นหรือการร่ายยาว โดยมีแคน กลองยาว ฉิ่ง ฉาบ และ ฆ้อง เป็นคนตรีประกอบ หรืออย่างน้อย ก็มีกลองยาวหรือแคนก็ได้  การเซิ้งจะมีหัวหน้าหรือคนร้องนำ ร้องเป็นคำกลอนขึ้นก่อน แล้วลูกแถวก็จะร้องตามเป็นหมู่ เรียกว่า กาพย์เซิ้ง ข้อความและคำกลอนที่เซิ้งอาจกล่าวถึงตำนาน หรือนิทานพื้นบ้านที่รู้จักกันดีสำหรับคนอีสาน เช่นกาพย์เซิ้ง  ท้าวผาแดงนางไอ่  มาดูและฟังกันว่าว่าเพลงเซิ้งเป็นจั่งได๋ (เป็นอย่างไร)
       "  โอ่  เฮา  โอ่  ศรัทธา เฮา โอ่
 ขอเหล้าเด็ดนำเจ้าจักโอ
ขอเหล้าโท  นำเจ้า จักถ่วย
หวานจ้วยๆต้วยปากหลานชาย
ตักมายายหลานซายให้คู
ขั้น บ่  คูตูข่อย  บ่หนี
ตายเป็นผี กะสินำมาหลอก
ออกนอกบ้าน  กะซิหว่าน  ดินนำ
ตายเป็นนก  สิมากัดเครือพลู
ตายเป็นหนูสิมากัดเครือหูก
ตายเป็นลูกน้อย   สิมาแอวกินนม......"
     เสียใจด้วยเด้อค่ะนี่บ่แมนเพพลงลูกทุ่ง
บันทึกการเข้า
วิภา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 17 พ.ค. 01, 17:54

โอ แปลว่า ขันใส่น้ำ
ถ่วย แปลว่าถ้วย
ตักมายาย หมายถึง  ตักมาแจก
คู แปลว่า ครบถ้วน
ตูข่อย  แปลว่า พวกผม
 จริงๆแล้วมีเรื่องท้าวผาแดง-นางไอ่ด้วยนะคะ
ถ้ายังไงมีคนสนใจเดี๋ยวมาเล่าให้ฟังค่ะ  ข้อมูลทั้งหมดจากหนังสือค่ะ เขียนโดย คุณ สมัย สทุธธรรม
บันทึกการเข้า
เปี้ยว
พาลี
****
ตอบ: 321

วิชาการ.คอม, อาจารย์ภาคฟิสิกส์ มหิดล


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 17 พ.ค. 01, 18:04

ท่าทางจะสนุกครับ มีเสียงแคนอยู่ด้วยคงครื้นเครงน่าดูผมว่า ผมเป็นคนนึงที่ชอบเสียงแคน

เอ ไอ้คำว่า "ให้คู" ในเพลงเซิ้งข้างบนหมายความว่าอะไรครับ เคยมีคน(สาวๆเชียวนะ อิอิ) ชวนผมไปดูงานบุญบั้ง แต่ตอนนั้นไม่ว่างก็เลยไม่ได้ไป ยังเสียดายจนบัดนี้ .. เสียดายไม่ได้ดูบั้งไฟนะ ไม่ใช่อย่างอื่น อิอิ
บันทึกการเข้า
วิภา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 17 พ.ค. 01, 18:19

คูแปลว่าครบถ้วนค่ะ ให้คูก็เลยแปลว่า ให้ครบและถ้วนหน้าค่ะ เสียใจด้วยนะคะทคุณเปรี้ยวไม่ได้ไปงานบุญบั้งไฟกับสาว
บันทึกการเข้า
วิภา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 17 พ.ค. 01, 18:48

ขอโทษนะคะหัดแสกนใหม่น่ะค่ะ ภาพนี้ก็งานบุญบั้งไฟนะคะ
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW586x007.jpg'>
บันทึกการเข้า
วิภา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 17 พ.ค. 01, 18:53

พวกที่เข้าร่วมขบวนแห่ฟ้อน-เซิ้งธรรมะ จะต่งกายกันอย่างเรียบร้อยสวยงามเพื่อเข้า

ร่วมในวันแห่บั้งไฟ ซึ่งมักจะเริ่มในตอนกลางวันหรือบ่ายของวัน

แห่
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW586x008.jpg'>
บันทึกการเข้า
วิภา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 17 พ.ค. 01, 19:04

แต่เดิมคนที่เข้าขบนแห่ฟ้อน-เซิ้งบั้งไฟในขบวนอย่างเป็นระเบียบ ที่ เรียกว่า"เซิ้งธรรม" จะเป็น "ผู้ชาย"ทั้งหมดโดยแต่งกายเป็นหญิงแต่ภายหลังใช้ทั้งผู้หญิงและผู้ชายรวมกันและจนกระทั่งปัจจุบันนิยมใช้ผู้หญิงทั้งหมด
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW586x009.jpg'>
บันทึกการเข้า
แจ้ง ใบตอง
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 17 พ.ค. 01, 21:41

เมื่อสองอาทิตย์ที่แล้วที่ผมไปราชการแถบๆ อีสานใต้ เค้าก็มีงานบุญบั้งไฟด้วยเหมือนกัน แต่ที่จัดใหญ่โต

จนกลายเป็นสัญลักษณ์ต้องจังหวัดยโสธร  จังหวัดแถวๆ ภาคอีสานนี่เค้าจะมีงานประจำจังหวัด  เช่น

ของอุบลฯ ก็มีงานแห่เทียนพรรษา  จังหวัดนครพนมมีงานไหลเรือไฟ จังหวัดร้อยเอ็ดมีงานบุญเผวส

จังหวัดเลยมีงานผีตาโขน สกลนครมีแห่ปราสาทผึ้ง ฯลฯ คาดว่าคงจะเป็นนโยบายในการส่งเสริม

การท่องเที่ยวของภาคอีสาน เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติของภาคอีสานจะด้อยกว่าภาคอื่นๆ

จึงต้องหาจุดเด่นด้านวัฒนธรรมประเพณีเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว...



ประเพณีบุญบั้งไฟเป็นฮีตหนึ่งใน ๑๒ ฮีต ของชาวอีสานจัดขึ้นในเดือนหก  ปฏิบัติสืบต่อกันมานานจนเป็น

ประเพณี ชาวอีสานมีความเชื่อว่าการจุดบั้งไฟเป็นการส่งสัญญาณให้พญาแถนซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งฝน(พระพิรุณ?)

บันดาลให้ฝนตกลงมา เรื่องนี้ก็มีตำนานครับ (ใครที่พอทราบแล้ว ผมก็จะเล่าให้ฟังอีกครั้งหนึ่งก็แล้วกัน)

เกิดในสมัยพระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพญาคันคาก (ภาคกลางว่าคางคก) สาเหตุเกิดจากพญาแถนละเลย

การปฎิบัติหน้าที่ คือแกล้งทำให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ยังผลให้สรรพสัตว์มนุษย์และพืชเดือดร้อนอย่าง

แสนสาหัส พวกสัตว์ทั้งหลายจึงหาวิธีการที่จะปราบพญาแถน ตกลงกันได้ว่าจะให้พญานาคียกทัพไปปราบ  

นกกระจอกยังไม่ทันกินน้ำ พญานาคีก็พ่ายแพ้กลับมา พวกสัตว์จึงให้พญาต่อแตนยกทัพไปอีก แต่ก็สู้กองทัพ

พญาแถนไม่ได้  ทำให้พวกสัตว์ทั้งหลายท้อแท้ใจเป็นอันมาก...



ร้อนถึงพญาคันคาก ต้องออกมาปราบทุกข์เข็ญของมวลสรรพสัตว์ จึงอาสาที่จะปราบพญาแถนเอง โดยให้พวก

ปลวกทั้งหลายก่อโพน(จอมปลวก) ให้สูงถึงฟ้า เพื่อเป็นเส้นทางให้เหล่าทหารอันประกอบด้วย มด มอด ตะขาบ

แมงป่อง เดินทางไปถึงเมืองของพญาแถนได้ พญาคันคากใช้วิธีการรุกเงียบ โดยให้มอดทำหน้าที่กัดด้ามอาวุธต่างๆ

ของทหารพญาแถน ตะขาบและแมงป่องให้เข้าไปซ่อนตัวอยู่ในกองฟืน เสื้อผ้า พอได้โอกาสเหมาะพญาคันคากก็ส่ง

สัญญานให้โจมตีได้ พวกตะขาบ แมงป่องก็รุมกัดต่อยทหารพญาแถนเป็นการใหญ่ ฝ่ายทหารพญาแถนก็คว้าอาวุธจะมาสู้

อาวุธก็หักใช้การไม่ได้ กองทัพเกิดระส่ำระสาย จนพญาแถนต้องทำสัญญาสงบศึกกับพญาคันคาก โดยมีข้อตกลงดังนี้



๑. หากพญาแถนเห็นบั้งไฟที่มนุษย์จุดขึ้นมา ต้องบันดาลให้ฝนตกยังโลกมนุษย์ทันที

๒. ถ้าได้ยินเสียงกบเขียด แสดงว่าฝนได้ตกไปถึงโลกแล้ว

๓. ถ้าได้ยินเสียงโหวด หรือว่าวธนู ต้องให้ฝนหยุดตกเนื่องจากถึงฤดูเก็บเกี่ยว



หลังจากทำสัญญาแล้ว พญาแถนก็ถูกปล่อยตัว  ตั้งแต่นั้นมาพอเดือนหกเมื่อไหร่ ชาวอีสานก็ต้องจุดบั้งไฟเป็นการ

เตือนพญาแถนว่าให้ฝนตกลงมาได้แล้ว พญาแถนก็ไม่เคยผิดสัญญาซักที แถมปีนี้พญาแถนยังบันดาลให้ฝนตกก่อน

กำหนดเสียด้วย ตกกันตั้งแต่สงกรานต์ สงสัยพญาแถนคงจะอายุมากแล้ว ขี้หลงขี้ลืม ชาวอีสานบางจังหวัดจึงต้อง

จุดบั้งไฟกันเร็วกว่ากำหนดเพราะว่ากลัวบั้งไฟเปียก...



มาว่าเรื่องบั้งไฟต่อ  บั้งไฟแบ่งเป็น ๓ ขนาดครับ การวัดขนาดของบั้งไฟ ใช้ปริมาณของหมื่อ (ดินดำ) เป็นการกำหนด

ขนาดเล็กหน่อยจะเรียกว่าบั้งไฟร้อย มีน้ำหนักของดินดำไม่เกิน ๑๒ กิโลกรัม   ขนาดใหญ่หน่อยเรียกว่าบั้งไฟหมื่น

(หมื่นคือมาตรวัดน้ำหนักของชาวอีสาน ๑๒ กิโลกรัมเป็น ๑ หมื่น ดังนั้นหากท่านไปเจอชาวอีสานซื้อมะละกอหนึ่งหมื่น

ก็อย่าเพิ่งตกใจว่าเค้าซื้อไปทำอะไรมากมายปานนั้น) มีดินดำตั้งแต่ ๑๒ - ๑๑๙ กิโลกรัม ขนาดใหญ่ที่สุดเรียกว่าบั้งไฟแสน

(แสนเป็นมาตรวัดเช่นกัน ๑๐ หมื่นเป็นหนึ่งแสน) มีดินดำตั้งแต่ ๑๒๐ กิโลกรัม กันขึ้นไป...



สมัยก่อนใช้ไม้ไผ่ในการทำบั้งไฟ โดยเอาไม้ไผ่มาทะลวงเอาข้อออกให้ทะลุตลอดลำ สมัยใหม่เปลี่ยนมาใช้ท่อเอสลอน

หรือท่อเหล็กนับว่าทันสมัยพอสมควร กระบวนการอัดดินดำแต่ก่อนใช้ตำเอา สมัยใหม่ใช้ไฮดรอลิคอัด ประหยัดเวลา

ไปได้เยอะ พวกที่ทำดินดำเก่งๆ ส่วนมากจะเป็นพระ เพราะฉะนั้นท่านอย่าแปลกใจถ้าเห็นพระแถบอีสานกำลังขะมักเขม้น

ในการทำดินดำไม่เอาเวลาไปปฎิบัติวัตรที่ควร เพราะท่านเองก็ชอบสนุกสนาน สมัยใหม่มีดินดำสำเร็จรูปตวงขายเป็นกิโลๆ

นับว่าสะดวกขึ้นไม่ต้องลำบากพระเจ้า...



ก่อนจุดบั้งไฟก็มีการแห่บั้งไฟไปที่ฐาน มีการ"เซิ้ง" นอกจากเซิ้งที่คุณวิภาได้บอกไว้ ยังมีเซิ้งอื่นๆ อีก เช่น เซิ้งขอ

เป็นการเซิ้งขอเงิน ขอเหล้า ฯลฯ ส่วนมากพวกนี้จะสนุกสนานหยาบโลน ออกไปทางสองแง่สองง่าม แล้วก็มีเซิ้งให้พร

ให้แก่พวกที่สมทบทุนหรือบริจาคปัจจัยต่างๆ ให้ สุดท้ายก็เป็นพวกเซิ้งเล่านิทานอย่างที่คุณวิภาว่าไว้...



การจุดบั้งไฟนี่ก็มีการพนันกันด้วยว่าของใครสูงกว่ากัน โดยใช้นาฬิกาจับเวลาว่าของใครตกช้ากว่ากัน ใครแพ้

ก็เสียเงินไปตามระเบียบ หรือถ้าจุดแล้วบั้งไฟไม่ขึ้นก็จะถูกโยนลงโคลน (ถ้าใครยังจำแบบเรียนมานีมานะได้ บุญโฮมเขียน

จดหมายมาหาชูใจหรือดวงแก้วนี่แหละ เล่าเรื่องบุญบั้งไฟ, การถูกโยนลงบ่อโคลน กลองเส็ง ฯลฯ)  เป็นที่สนุกสนานกัน

เรื่องการจุดบั้งไฟพนันนี่เสี่ยงมาก เพราะว่าอยากชนะก็ใส่ดินดำไปเยอะๆ ทำผิดสูตรบั้งไฟก็แตก เสียชีวิตกันไปเพราะ

บั้งไฟเกือบทุกปี...



เพลงลูกทุ่งเกี่ยวกับบุญบั้งไฟที่ร้องได้จบเพลงไม่มีเลยครับคุณจ้อ มีแต่ร้องได้นิดๆ หน่อยๆ

เป็นเพลงของไวพจน์ เพชรสุพรรณ ที่ร้องว่า

...โอ่ เฮ้า โอ เฮ้า โอ่ เฮา โอ (ซ้ำ)

สาวคนโก้เจ้าสิไปไส (ซ้ำ)

ไปงานบั้งไฟเมืองยโสธร...



จำได้เท่านี้เอง คงต้องรบกวนคุณวิภาหรือเพื่อนๆ คนใดถ้ามีเพลงเกี่ยวกับบุญบั้งไฟก็มาโพสมาให้ร้องกันบ้างครับ



สุดท้ายอยากจะสารภาพกันซื่อๆ ว่าผมอยู่อีสานมาแปดปีเต็มแล้วยังไม่เคยไปเที่ยวงานบุญบั้งไฟซักที ที่ว่ามาข้างบน

มั่วเอามั่ง เอามาตามเว็บมั้ง สรุปให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน ถ้ามีผิดตกตรงไหนต้องรบกวนเพื่อนชาวอีสานแก้ไขให้ด้วยครับ

หรือใครต้องการข้อมูลละเอียดก็ ไปชมได้ที่เว็บนี้



http://members.mweb.co.th/northeast/rocket.htm' target='_blank'>http://members.mweb.co.th/northeast/rocket.htm

http://members.mweb.co.th/northeast/heet.htm' target='_blank'>http://members.mweb.co.th/northeast/heet.htm

http://thaiedu.tfb.co.th/knowledge_c_17.htm' target='_blank'>http://thaiedu.tfb.co.th/knowledge_c_17.htm

http://www.yasothon.go.th/html/as611.html' target='_blank'>http://www.yasothon.go.th/html/as611.html
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 18 พ.ค. 01, 03:29

ขอบคุณมากๆ ทั้งคุณ นิภา และ คุณแจ้งเลยครับ
ผมก็พึ่งทราบที่มาวันนี้เอง อ่านแล้วอยากไปดู
คงต้องหาโอกาสไปเที่ยวให้ได้สักครั้งหนึ่ง
บันทึกการเข้า
วิภา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 18 พ.ค. 01, 10:32

เอารูปเซิ้งมาฝากค่ะภาพเก่าไปหน่อยนะคะเพาะหนังสือเก่า
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW586x012.jpg'>
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 19 คำสั่ง