เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 2981 บทกวี “รำลึกปราชญ์คึกฤทธิ์” โดย ปรง เจ้าพระยา
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 27 เม.ย. 13, 08:52

           หากยังอยู่ถึงวันนี้ร้อยปีเกิด       
“ซอยสวนพลู”จะบรรเจิดเลิศเพียงไหน
ทุกคนมาที่ซอยนี้ปรีดิ์เปรมใจ          
คารวะปราชญ์ยิ่งใหญ่ในภพโพ้น

เกิดในเรือกลางลำน้ำเจ้าพระยา
จึงล้ำลึกยิ่งธาราอ่าผกโผน
บางคราเฉียบเรียบระลอกออกอ่อนโยน    
ครากึกก้องกว่าตะโพนครึกโครมครัน     

สายโลหิตชิดฝ่าละอองธุลีพระบาท
จึ่งประกาศศักดิ์ธำรงที่คงมั่น
ยิ่งพิพัฒน์สัตยาประศาสน์ธรรม์
ไม่ไหวหวั่นประภาษ “กูไม่กลัวมึง

สมค่านามที่ได้รับพระราชทาน
คือสื่อสารสารัตถศาสตร์เกินคาดถึง
คือมาดมั่นวิจารณญาณอันลึกซึ้ง
ยิ่งกว่า “หนึ่งในล้าน” สานธานี

ซึ้งศึกษาแหล่งประชาธิปไตย
จึ่งเนื้อนัยวิสัยทัศน์ชัดวิถี
เริ่มก่อตั้งพรรคการเมืองเรืองทฤษฎี
เป็นนายกรัฐมนตรีเปรื่องปรีชา

เป็นนักการสื่อสารที่ปราดเปรื่อง
โลกลือเลื่อง “สยามรัฐ”คู่รัฐา
เปี่ยมประพันธ์วรรณศิลป์ปิ่นวรรณนา
เลิศภาษาหลากศาสตร์ศิลป์ระบิลไกล

หนึ่งผู้ฟื้นคืนชีพนาฎศิลป์
โขนธรรมศาสตร์พิลาสถิ่นแผ่นดินไฉน  
เป็น “นายกสารขัณฑ์”อันเกริกไกรฃ
ฟื้นสักวาปัญญาไทยให้คงคืน

ทุกเวทีมี “คึกฤทธิ์”ประสิทธิ์สรรพ์
สารพันศาสตร์ศิลป์รินรสรื่น
การละครหลากมิติผลิยั่งยืน
ไม่ถูกกลืนกระแสกล้าโลกาภิวัตน์

เป็นนักปราชญ์ทุกศาสตร์ศิลป์ยินสาธก
เกินหยิบยกถ้วนศรัทธาปูมประวัติ
หากยอดปราชญ์ยังชีพอยู่อยากรู้ชัดฃ
“ซอยสวนพลู”ชูโลกทัศน์พิพัฒน์กระไร

ในฐานะเด็กด้อยตามรอยเท้า
เคยพึ่งพิงร่มเงามิ่งไม้ใหญ่
กรองกานท์นี้ด้อยคารมคมเจียระไน
แทนมาลัยจำหลักรอยไม้ร้อยปี
(แทนมาลัยกราบกรานไม้พันปี)-

ปรง เจ้าพระยา มิตรสนิทของ “สุดสงวน”เขียนรำลึกไว้
ในไทยโพสต์ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๔)

หมายเหตุ   แต่งขึ้นในวาระครับรอบ 100 ปี พลตรีม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เมื่อ 2 ปีก่อน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 27 เม.ย. 13, 09:23



เมื่อโลกนี้ไม่มีคนชื่อคึกฤทธิ์
มันจะผิดแปลกไปที่ไหนนั่น
ทิวาวารยังจะแจ้งแสงตะวัน
ยามราตรีมีพระจันทร์กระจ่างตา

ไก่ยังจะขานขับรับอุทัย
ฝนจะพร่ำ ร่ำไปในพรรษา
คลื่นยังกระทบฝั่งไม่สร่างซา
สกุณา ยังร้องระงมไพร

ลมจะพัดชายเขาเหมือนเก่าก่อน
เข้าหน้าร้อนไม้จะออกดอกไสว
ถึงหน้าหนาวหนุ่มสาวจะเร้าใจ
ให้ฝันใฝ่ในสวาสดิ์ไม่คลาดคลา

ประเวณีจะคงอยู่คู่ฟ้าดิน
ไม่สุดสิ้นในความเสน่หา
คนที่รักคึกฤทธิ์อย่าคิดระอา
เพียงนึกถึงก็จะมาอยู่ข้างกาย

คอยเข้าปลอบประโลมในยามทุกข์
เมื่อมีสุขก็จะร่วมอารมณ์หมาย
เมื่อรักแล้วไหนจะขาดสวาสดิ์วาย
ถึงตัวตายใจยังชิดมวลมิตรเอย."
 
 ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 27 เม.ย. 13, 09:32

“ยี่สิบเมษายน...คิดถึงอาจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมช”
ของ
อัคนี หฤทัย

๑. ถ้าวันนี้ยังมีคนชื่อคึกฤทธิ์
ก็คงเหมือนมีเข็มทิศชี้ทางให้
ให้รู้ทิศแต่ละทิศที่พึงไป
รู้ความเคลื่อนไหววันต่อวัน

จะคงมีภูมิปัญญาอันระยับ
ซึ่งไม่มีมุมอับเมื่อคับขัน 
จะร้อยแปดปัญหาสารพัน
ก็ค่อยคลี่คลายมันเป็นเรื่องมา 

จะยังมี”ซอยสวนพลู”อยู่ให้อ่าน
จะมีบทวิจารณ์อันเฉียบกล้า
คอยติง คอยเตือน ด้วยเมตตา
แห่งปรัชญาเมธี เป็นบันทึก 

จะมีสัพพัญญูผู้เจนจบ
ทั้งรัก ทั้งท้ารบให้รู้สึก 
ทุกเรื่องราวทุกรายล้วนลุ่มลึก
ตกผลึกอยู่ในความเป็นคึกฤทธิ์ 

จะเหมือนยังมีญาติผู้ใหญ่
ให้กราบ ให้ไหว้ได้สนิท 
มืดก็ช่วยชี้นำทางความคิด
ด้วยความเป็นกัลยาณมิตรเสมอมา 

เหลิงอำนาจก็ต้านด้วยเห็นต่าง
กล้ายืนอยู่กลางวิกฤติกล้า 
ถึงไม่มีกองกำลังไว้รบรา
ก็มีปลายปากกาอันกริบคม 

จะมีผู้ต่อสู้กับเผด็จการ
ด้วยจิตวิญวิญญาณที่เพาะบ่ม 
เหมือนวันร้อนก็ผ่อนคลายด้วยสายลม
อยู่ใต้ร่มไม้ใหญ่ซึ่งยรรยง

๒. ถ้าวันนี้ยังมีคนชื่อคึกฤทธิ์
คงสั่งสอนบรรดาศิษย์ผู้ผิดหลง 
คงมีผู้ถวายชีวิต ป้องราชวงศ์
เต็มกำลังแรงส่งซึ่งภักดี 

จะมีผู้อยู่อย่างไรได้ทั้งสิ้น
เพื่อแผ่นดินสิ้นศึกระหว่างสี   
จะมีผู้จงรักพระจักรี
จะร้อยวันพันปีไม่เปลี่ยนไป 

จะมีผู้สูงวัยใจนักเลง
เป็นคนกล้าคนเก่งแห่งกาลสมัย 
ซึ่งยามโกรธยามเกรี้ยวก็ราวไฟ
ยามการุณย์ก็ราวไล้ทิพย์ธารา 

ด้วยรักและคิดถึงจึงเขียนคำกวี
จารไว้ ณ วันที่ยี่สิบเมษา
กราบคึกฤทธิ์ปราโมชประมวลมา
ทุกคำคือเครื่องบูชา ต่างอัญชลี”


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 28 เม.ย. 13, 09:33

          สักรวาถ้าจะใช้ราชาศัพท์                                    สักรวา ม.ร.ว. พ่อคึกฤทธิ์                                 
          ขอจงรับคำ "ถวาย" ไว้ให้มั่น                                ผู้พิชิตเมืองญี่ปุ่นอุ่นจริงหนอ
          "ถวายการรับเสด็จ" เคล็ดสำคัญ                            ให้พวกแควนแหงนเถ่อชะเง้อคอ
          ความจงรักภักดีพลัน "ถวาย" ไป                            คอยฟังข้อความเล่าเขารับรอง
          ยามประชวรด่วนเข้า "ถวายตรวจ"                           รักสนุกทุกข์ถนัด ณ บัดนี้
          เมื่อยพระกาย "ถวายนวด" ก็พอได้                         เกิดคดีพันผูกเหมือนถูกถอง
          "ถวายรักษา" พระโรคหายคล่อยคล่องใจ                   กิจวัตรจัดประจำตามทำนอง
          "ถวายอนุญาต" ให้ลุกได้เอย.                              อาหารของหนังสือพิมพ์ต้องชิมเอย.

                    คึกฤทธิ์ ปราโมท                                            ญาติมิตร พ.ศ. ๒๔๙๗
                    ๑ ตุลาคม ๒๕๐๘                                 (ญาติมิตร - นามปากกาของ สำราญ ทรัพย์นิรันดร)
   
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 28 เม.ย. 13, 09:58

ปราชญ์ผู้น้อย ถาม

วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๔

ขอตอบแทน ด้วยกลอนอันยิ่งใหญ่ที่ ใครคนหนึ่งในดวงใจของคุณ เพ็ญชมพูเขียนไว้ในราว ๒๔๙๔  เขียนไปถามปัญหา คึกฤทธิ์  ปราโมช

(ที่จริงตั้งใจว่าจะหาทางส่งให้อยู่แล้วค่ะ)   ถ้าคุณเพ็ญฯ มีแล้ว     จะไปหางานของ เขา ผู้นี้ส่งมาอีกให้ได้

          "ถึงคึกฤทธิ์มิตรหม่อมผู้จอมปราชญ์
ขอโอกาสไต่ถามความสงสัย
คือเรื่องนามสยามรัฐผมอัดใจ
หนังสือไทยพาหลงจนงงงม
ได้ยินท่านอ่านว่า  "สยา - มะ - รัฐ"
คล้ายจะคัดเป็นบาลีมี่ขรม
"สยามะ" แปลว่าทองต้องนิยม
แปลคารมชื่อเรื่องว่าเมืองทอง
แต่ผมรักศักดิ์ไทยมิใช่แขก
ได้ยินแหกกระเชอ "มะ" ใคร่จะถอง
ชื่อไทยไทยไพล่ไปเปลี่ยนให้เพี้ยนคลอง
เหมือนจองหองชืื่อไทยไม่ไพเราะ
ผมเองอ่านขนานนาม "สยาม - รัฐ"
แปลความชัด "เมืองไทย" ได้เสนาะ
จะเถียงเขาเล่าก็คร้านรำคาญทะเลาะ
จึงเขียนเคาะถามสหายให้คลายใจ

         เมื่อเดิมดั้งตั้งชื่อหนังสือพิมพ์
หม่อมหงุมหงิมคิดแปลกันแค่ไหน
มีจำนงจงจำแนกแขกหรือไทย
มี "มะ" ไหม  ไทยหรือทองที่ปองแปล
อย่าตีขลุมคลุมทั้งสองคลองระบิล
โปรดตัดสินถ้อยแถลงให้แดงแจ๋
ถ้าปรองดอง "สองนัยใช้ได้แล"
เป็นโกรธแน่ไม่รู้หายให้ตายซี
ที่ดักคอก็เพราะเห็นเคยเล่นลิ้น
ดูผันผินกลอกกลับจริงพับผี่
อย่าตอบยวนเลยข้อนี้ขอที
ตอบดีดีให้คนอื่นพลอยชื่นใจ


         ข้อที่สองรองลงมาเมตตาบอก
ชื่อเมืองนอกเมืองนารถราไหน
ที่พากเพียรเรียนวิชาภาษาไทย
มีหรือไม่น้อยหรือมากอยากรู้จัง
จงทุกพาราฝรั่งและอังกฤษ
มหาวิทยาลัยที่ไหนมั่ง
จงตีแผ่แม้สักนิดอย่าปิดบัง
อย่าดันทุรังตอบชุ่ยคุยนะเออ

         เป็นสิ้นความถามหม่อมน้องเพียงสองข้อ
ตอบอย่ารอลืมไว้จะไผลเผลอ
ขอขอบคุณล่วงหน้ามาบำเรอ
หวังเสมอว่ายินดีช่วยชี้แจง
จะรออ่านสารตอบทุกรอบวัน
กว่าจะผันมาพบคำรบแถลง
(ตอบสักหน้าอย่าได้หวาดกระดาษแพง
ขอแสดงความนับถือ(นี่สื่อกานต์)"

                  จิตร  ภูมิศักดิ์

ค่ายจักรพงษ์ดงพระราม
ปราจีนฯ คามนามนิยมกรมทหาร
ศกสองสี่เก้าสี่ปีพุทธกาล
พุทธวารยี่สิบห้าเมษายน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 28 เม.ย. 13, 10:00

ปราชญ์ผู้ใหญ่ ตอบ

วันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๔

        "พูดถึงนาม "สยามรัฐ" อัดใจแท้
เป็นสองแง่สุดจะอ้างถูกข้างไหน
"รัฐ นั้นคำแขกแปลกกว่าไทย
นำมาใช้ควบ "สยาม" นามกร
แขกอยู่หลังไทยอยู่หน้าท่าไม่งาม
ปราชญ์ท่านห้ามผิดตำรามาแต่ก่อน
จะเรียกให้ถูกแท้เป็นแน่นอน
ควรผันผ่อนเติมอะ "สยามะรัฐ"

         ส่วนข้อสองขอสนองความสงสัย
ภาษาไทยที่เขาเรียนเพียรฝึกหัด
จนฝรั่งพูดไทยได้ชัดชัด
มีอยู่ที่สหรัฐอเมริกา
ณ สำนักศึกษาทันสมัย
ชื่อ "ฮาวาร์ด" มหาวิทยาลัย
หลักสูตรไทยมีอยู่พึงรู้เอย"

อ่านจดหมายจากจักร ภูมิสิทธิ์
ถามคึกฤทธิ์จอมปราชญ์องอาจหลาย
ขอบพระคุณ คุณวันดี มิมีคลาย
จากสหายถึงสหายด้วยใจจริง

บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 28 เม.ย. 13, 10:30

                "สัปดาห์นี้มีเรื่องความเมืองใหญ่               ไทยถูกฟ้องขับไล่ขึ้นโรงศาล
                เคยเป็นเรื่องโต้เถียงกันมานาน                 ที่ยอดเขาพระวิหารรู้ทั่วกัน
                กะลาครอบมานานโบราณว่า                   พอแลเห็นท้องฟ้าก็หุนหัน
                คิดว่าตนนั้นใหญ่ใครไม่ทัน                    ทำกำเริบเสิบสันทุกอย่างไป
                อันคนไทยนั้นสุภาพไม่หยาบหยาม            เห็นใครหย่อนอ่อนความก็ยกให้
                ถึงล่วงเกินพลาดพลั้งยังอภัย                  ด้วยเห็นใจว่ายังเยาว์เบาความคิด
                เขียนบทความด่าตะบึงถึงหัวหู                 ไทยก็ยังนิ่งอยู่ไม่ถือผิด
                สั่งถอนทูตเอิกเกริกเลิกเป็นมิตร               แล้วกลับติดตามต่อขอคืนดี
                ไทยก็ยอมตามใจไม่ดึงดื้อ                    เพราะไทยถือเขมรผองเหมือนน้องพี่
                คิดตกลงปลงกันได้ด้วยไมตรี                 ถึงคราวนี้ใจเขมรแลเห็นกัน
                หากไทยจำล้ำเลิกบ้างอ้างขอบเขต            เมืองเขมรทั้งประเทศของใครนั่น?
                ใครเล่าตั้งวงศ์กษัตริย์ปัจจุบัน                 องค์ด้วงนั้นคือใครที่ไหนมา?
                เป็นเพียงเจ้าไม่มีศาลซมซานวิ่ง              ได้แอบอิงอำนาจไทยจึงใหญ่กล้า
                ทัพไทยช่วยปราบศัตรูกู้พารา                 สถาปนาจัดระบอบให้ครอบครอง
                ได้เดชไทยไปคุ้มกะลาหัว                    จึงตั้งตัวขึ้นมาอย่างจองหอง
                เป็นข้าขัณฑสีมาฝ่าละออง                   ส่งดอกไม้เงินทองตลอดมา
                ไม่เหลียวดูโภไคไอศวรรย์                   ทั้งเครื่องราชกกุธภัณฑ์เป็นหนักหนา
                ฝีมือไทยแน่นักประจักษ์ตา                  พราะทรงพระกรุณาประทานไป
                มีพระคุณจุนเจือเหลือประมาณ               ถึงลูกหลานกลับเนรคุณได้
                สมกับคำโบราณท่านว่าไว้                    อย่าไว้ใจเขมรเห็นจริงเอย...

                            ---------------------------------------

                                                     ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

                                             หนังสือพิมพ์สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์

                                                           ๑๘ ตุลาคม ๒๕๐๒


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 28 เม.ย. 13, 10:53

ท่านอาจารย์ มรว. คึกฤทธิ์ กับการแสดงในเรื่อง หลวิชัย-คาวี 

และกระทู้เก่าของอาจารย์เทาชมพูคลาสสิก เรื่องคาวี  ตอนชุบตัวท้าวสันนุราช แสดงที่  สถานีโทรทัศน์กองทัพบก เมื่อคืนวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๐๒


http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3148.0;wap2



บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 19 คำสั่ง