เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 36265 อยากทราบเรื่องกองอาทมาตค่ะ
นักรบกองอาทมาฏ
อสุรผัด
*
ตอบ: 34


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 09 มิ.ย. 13, 22:03

คือท่านเชื่อตามที่ท่านเห็นนั้นเอง ว่ามาจากสายมวยไชยาต้องใช่อยู่แล้ว

ที่ครูให้ลงรูปชุดนี้ก็เพื่อ ต้องการบอกว่ามันมีอยู่จริงยังไม่ได้หายสาบศูนย์ไป และต้องการเผยแพร่ว่าที่ถูกต้องมันคืออะไร ไม่ใช่พันๆแล้วก็บอกว่านี้น่ะคาดเชือกของมวยไชยาสายปรมาจารย์เขตร ศรียาภัย
บันทึกการเข้า
นักรบกองอาทมาฏ
อสุรผัด
*
ตอบ: 34


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 09 มิ.ย. 13, 22:35

กลับมาเรื่องวิชาดาบอาทมาฏ
ประเด็นที่ 1 วิชาดาบอาทมาฏเป็นดาบที่มาจากสำนักดาบเจ้ารามหรือไม่ ผมอยากจะเรียนว่า ครูมาโนทย์ เข้าเรียนที่รามคำแหง ปี 2521(ครูแปรงเป็นรุ่นพี่หนึ่งปี)และเข้าร่วมกับผู้ชื่นชอบวิชาดาบและมวยที่นั้น ตั้งชมรมดาบเจ้ารามขึ้นมา เพียง 1 ปี ก็เป็นครูฝึกให้กับรุ่นน้อง ประเด็นนี้ผมว่าสำนักดาบเจ้ารามทราบกันเป็นอย่างดี แม้แต่เพลงมาร์ชของสำนักดาบเจ้ารามยังมีประโยคหนึ่งว่า " ฝึกดาบอาทมาฏเกรียงไกร" ซึ่งทุกวันนี้เมื่อครบรอบวันตายของครูมาโนทย์สำนักดาบเจ้ารามก็ไปทำบุญให้กับ ครูมาโนทย์ ทุกปีมิได้ขาด ผมเสียอีกที่ไม่ได้ไป

ประเด็นที่ 2 เรื่องการสืบทอดวิชาดาบอาทมาฏ ที่ครูมาโนทย์กล่าวว่า ครูสุริยาบอกว่าเป็นวิชาที่ถูกฉีกออกไปก่อนเสียกรุงครั้งที่ 1 เอาไปเก็บใว้ที่พิษณุโลก เป็นที่ยอมรับแล้วว่าครูสุริยามีตัวตนจริง แด่เสียชีวิตแล้วนั้นได้ถ่ายทอดวิชาให้ครูมาโนทย์จริงตามที่ครูมาโนทย์กล่าวใว้ทุกประการ ซึ่งการกล่าวของครูสุริยาเรื่องที่มาของวิชาดาบนั้นเป็นผมๆก็เชื่อครูผม

ประเด็นที่ 3 ที่มาของวิชาดาบ ครูมาโนทย์บอกว่าเรียนมาจากครูสุริยา ท่านsamun007ท่านก็บอกว่าไม่สามารถเชื่อได้ว่าเป็นวิชาเก่าที่ถูกถ่ายทอดกันอย่างลับๆ ผมกล่าวว่าหากผมเรียนวิชาทวนมาจากปู่ผมแล้วปู่ผมบอกผมว่าเรียนมาจากปู่ผมอีกที ท่านก็ว่าไม่เชื่อ หากผมใช้หลักการเดียวกับท่านsamunบ้างละครับ
ว่าที่ครู นาค เรียนวิชามาจากบิดาของท่าน ผมไม่สามารถเชื่อได้ว่ามันเป็นวิชาของคนโบราณจริงเนื่องจากผมก็ไม่ทราบเหมื่อนกันว่าตัววิชาจริงๆก่อนที่ครูนาคได้รับมามันเป็นอย่างไร เป็นวิชาที่มีการถ่ายทอดกันมาจากกรุงเก่า แต่มาโพล่ก่อนวิชาอื่นๆเลยเป็นวิชาแท้ไป แล้ววิชาที่มาโพล่ทีหลังเลยกลายเป็นวิชาที่ดัดแปลงมา
ซึ่งเหมื่อนกับการคาดเชือกที่ท่านเห็นว่าที่มีอยู่ก่อนเป็นวิชาที่ถูกถ่ายทอดมามักจะเป็นสิ่งที่ถูก
บันทึกการเข้า
นักรบกองอาทมาฏ
อสุรผัด
*
ตอบ: 34


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 09 มิ.ย. 13, 22:57

ประเด็นที่ 4 เรื่องถ่ายทอดในสายตำรวจและทหาร ที่ผมกล่าวเช่นนั้น ผมไม่ได้มองที่ว่าต้องเป็นวิชาดาบอาทมาฏน่ะครับ ผมอยากเห็นวิชามวยและดาบของไทยถูกเผยเพร่ไป เช่นเดียวกับเจตนารมณ์ของครูนาค ท่านsamunกล่าวว่า"ครูหมีไปสอนที่ ราบ ๑๑ ไม่ใช่หรือครับ อ.ชาติชาย ก็ไปวางรากฐานอาทมาทไว้ที่ จปร. (แต่แอบงงว่า เข้าไปได้โดยที่ มวยไทยสายเก่าของที่โน่นไม่มีปฏิกิริยาอะไรเลยหรือ)" ผมอยากจะกล่าวว่าตอนนั้นท่านทรงกิติเป็น ผบ.โรงเรียนนายร้อย ท่านคงมองไม่ออกมั้งครับว่ามันเป็นวิชาที่ถูกดัดแปลงมาไม่ใช้วิชาโบราณ และเอาไปแสดงต่อหน้าพระที่นั่ง สมเด็จพระเทพฯ ซึ่งท่านก็ทรงรับสั่งกับ ครูชาติชายว่า "อย่าทิ้ง จปร.นะ"ในขณะที่ทรงพระราชทานเหรียญที่ระลึกเมื่อปี46 หรือแม้แต่ National Geographic เข้ามาทำสารคดีเกี่ยวกับศิลปการต่อสู้ในภูมิภาคนี้ได้คัดเลือกเอาวิชาอาทมาฏเป็นวิชาดาบของไทย และคัดเลือกวิชามวยไชยาเป็นตัวแทนวิชามวย พวก ฝรั่งมันคงโง่น่ะครับ ซึ่งครั้งนั้นเราเสียท่าหนุมานเหินหาวให้กับฝรั่งไป ถูกเอาท่าไปแสดงในหนังเรื่อง ทรอย ในรายการคุณพระช่วยเราจึงเอาท่านี้มาแสดง โดยยังปิดท่าอื่นๆใว้เป็นความลับ

 ซึ่งผมก็งงเหมื่อนกันครับว่า ทำไมถึงมาเลือกวิชาดาบอาทมาฏ ทำไมไม่เลือกวิชาดาบสายครูนาค หรือสายพุทไธสรรค์ หรือสายที่โพล่มาก่อนวิชาดาบอาทมาฏ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 09 มิ.ย. 13, 23:03

ผมไม่เคยดึงท่านเข้าไปในความขัดแย้งใดๆเลยครับ และเท่าที่ผมทราบคนที่ฝึกมวยไชยาก็รักใคร่กันดี ไม่เห็นแบ่งเป็นอย่างที่ท่านว่าเลย ครูแปรงกับครูเล็กหรือครูชาติชายก็เป็นเพื่อนกัน ที่เคยเรียนเคยสนับสนุนกันมาก่อน ไม่เห็นจะขัดแย้งกันเลย บางทียังเอาลูกศิษย์มาประลองกันด้วยซ่ำไป ไม่เห็นจะมีการขัดแย่งใดๆเลยครับ ส่วนตัวผมเองก็รักและเคารพครูทั้งสองท่าน หรือไม่ว่าจะเป็นครูมวยหรือผู้ฝึกมวยสายไหนผมเคารพทุกท่านครับ ถึงไม่เคยสอนผม ไม่เคยเป็นเพื่อนกันแต่เราก็เป็นคนที่รักหมัดมวยด้วยกันทั้งนั้น ถึงขึ้นชกกัน จบการแข่งขั้นเราก็ขอโทษขอโพยกัน

ผมแค่ถามความคิดเห็นของท่านเพื่อเป็นความรู้เท่านั้นเอง และถามท่านถึงหลักฐานที่สนับสนุนความคิดเห็นของท่านเท่านั้นครับ

ถ้าคุณรู้มาแค่นี้ก็ดีแล้วล่ะครับ อย่าพยายามไปรู้มากอย่างที่ผมเคยได้ยินมาเลยครับ จะเศร้าใจไปเปล่า ๆ และผมคิดว่า ถ้าคนที่ตามข่าวในวงการนี้ ซึ่งมันแคบมาก ๆ มานาน ก็จะรู้เองล่ะครับ ว่าอะไรเป็นอะไร   ผมถึงต้องออกตัวก่อนว่า ผมจะเขียนเท่าที่ผมรู้เท่านั้น

บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 09 มิ.ย. 13, 23:07

พอดีวันนี้รับงานออกแบบอาคารมาเลยขอทำงานก่อนน่ะครับ แต่ขอถามทิ้งท้ายคุณsamun007ครับเนื่องจากเห็นว่าท่านมีความรู้เรื่องทางด้านวิชาการต่อสู้ของไทยเป็นอย่างดี คือเรื่องการพันหมัดที่ท่านปรมาจารย์เขตร เขียนใว้ในหนังสือปริทัศน์มวยไทยว่าการพันหมัด หรือถักหมัด บิดเป็นเกียวให้เป็นก้นหอยที่สันหมัด ท่านว่ามันมีวิธีพันหมัดหรือถักหมัดแบบนั้นจริงหรือไม่ เพราะเห็นมีคนบอกว่าไม่มีคนถักแบบนั้นได้แล้ว มันศุนย์หายไปแล้วเช่นกัน เลยไม่เคยมีคนเห็นว่ามันเป็นอย่างไร อย่างนี้ท่านเชื่อไหมว่ามันมีวิชานี้อยู่  



ที่บอกเพราะเคยเห็นมาแล้ว ในคลิปวิดีโอ ที่เขาโปรโมทมวยไชยาสายหนึ่งทางโทรทัศน์ ก็เห็นทางสายนั้นเขาถักก้นหอยได้ครับ แม้แต่รูปเก่า ๆ ของลูกศิษย์ครูเขตร์บางท่าน เช่น ครูทอง ก็เห็นถักก้นหอยเหมือนกัน  เพราะฉะนั้น ลูกศิษย์สายครูทอง ก็น่าจะทำกันได้เกือบหมด


จะว่าไป นอกจากสายครูทองแล้ว ในหนังสือของ อ. คฤกษ์เดช กันตามระ (ต้องขออภัยถ้าสะกดชื่อท่านผิดนะครับ) ท่านก็เขียนหนังสือเกี่ยวกับมวยไทยขึ้นมา ในนั้นก็เห็นมีสอนพันหมัดครบทุกประการนี่ครับ เพราะว่า ครูเขตร์ ท่านเคยได้รับเชิญให้ไปสอนมวยไชยาที่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยในช่วงเวลาหนึ่ง มีลูกศิษย์ไปเรียนกับท่านไม่น้อยเช่นกัน

ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่า คนที่บอกว่าถักแบบนั้นไม่ได้ เพราะเรียนมาไม่ครบหรือเปล่า เพราะวิชานี้ เท่าที่รู้ พอเข้าสำนักไปสักระยะ ถ้าถึงเวลาและฝีมือพอตัวจะขึ้นครูได้  ครูก็จะถ่ายทอดวิชาถักแบบนี้มาให้ ไม่ได้ปิดบังอะไรทั้งสิ้น

ถ้าบอกว่า ทำไม่ได้ และสูญหายไป  พูดแบบนี้ เขียนแบบนี้  ต้องขอยืมสำนวนครูเขตร์มาใช้ล่ะครับ

พูดได้ทำได้จึงเป็นครู

สำหรับผม ทำไม่ได้ครับ เพราะไม่เคยเรียนมาครับ



ถ้าอ่านความเห็นของผมดี ๆ คุณจะรู้ว่า ผมตอบคำถามตามที่คุณถามมาว่า การถักก้นหอย ยังมีจริงอยู่หรือไม่ คุณถามมาว่ามีจริงไหม เมื่อผมเคยเห็น ผมก็ต้องตอบว่ามีจริงสิครับ จะให้ตอบว่าไม่มีจริงหรือ ?  


เพราะฉะนั้นที่คุณบอกผมว่า

แล้วบอกได้ทันที่ว่าที่เห็นนั้นคือของแท้ ตามเหตุผลที่ท่านกล่าว ว่าได้เห็นจากคลิปวีดีโอ

ผมคิดว่าคุณอาจจะลืมคำถามที่คุณถามผมมาแล้วกระมังครับ ?



===================================================================================


คือท่านเชื่อตามที่ท่านเห็นนั้นเอง ว่ามาจากสายมวยไชยาต้องใช่อยู่แล้ว

ที่ครูให้ลงรูปชุดนี้ก็เพื่อ ต้องการบอกว่ามันมีอยู่จริงยังไม่ได้หายสาบศูนย์ไป และต้องการเผยแพร่ว่าที่ถูกต้องมันคืออะไร ไม่ใช่พันๆแล้วก็บอกว่านี้น่ะคาดเชือกของมวยไชยาสายปรมาจารย์เขตร ศรียาภัย


อย่างที่ผมได้เรียนไปแล้วว่า ผมไม่เคยเรียนการถักก้นหอย เพราะฉะนั้น ผมจึงไม่มีความรู้ในเรื่องนี้

ผมได้แต่เดา ตามที่ครูเขตร์ท่านเขียนไว้ในหนังสือปริทัศน์มวยไทยเท่านั้น  ธรรมเนียมการเอาหมัด ทั้งส่วนที่เป็นหลังหมัดถูบริเวณใบหน้าก่อนจะตีมวยกันนี้ ถ้ามันไม่มีอยู่จริง ครูเขตร์ท่านจะเขียนไว้หลอก ๆ กระนั้นหรือครับ  ?

ครูเขตร์ท่านเป็นถึงระดับผู้ทรงคุณวุฒิอย่างนั้นแล้ว ท่านไม่น่าจะทำอะไรที่มันไม่ถูกต้องนะครับ
บันทึกการเข้า
นักรบกองอาทมาฏ
อสุรผัด
*
ตอบ: 34


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 09 มิ.ย. 13, 23:11

และตั้งแต่กระทู้แรกที่ผมเข้ามาผมก็กล่าวแต่ต้นว่าผมเชื่อ ซึ่งเป็นความเชื่อส่วนตัวของผมเช่นเดียวกับท่านที่เชื่อเรื่องการคาดเชือก
พอดีเปิดเข้ามาเจอ เลยอยากจะแนะนำงานวิจัยเล่มนี้ครับ "http://www.sac.or.th/databases/ethnicredb/research_detail.php?id=630"

ผมเป็นคนหนึ่งที่ฝึกดาบอาทมาฏครับ ทุกวันนี้เราก็ยังฝึกกันอยู่ที่สำนักฯ
โดยส่วนตัวผมแล้วคำว่าอาทมาตหรือ อื่นๆที่ออกเสียงคล้ายกันผมคิดว่าหมายถึง กองทหารมอญ ครับ แต่วิชาดาบนั้นจากที่ในหนังสือสารคดีนั้นว่าเป็นวิชาดาบที่ถูกฉีกออกแล้วไปเก็บใว้ทางเหนือนั้น ผมมีความเห็นต่างจากนั้น
คือผมเชื่อประการหนึ่งว่าเป็นวิชาที่สมเด็จพระนเรศใช้สอนลูกขุนนางที่เกณฑ์มาฝึกวิชาที่พิษณุโลกเมื่องครั้งทรงเสด็จกลับมาจากการเป็นองค์ประกัน
เหตุผลหนึ่งที่สนับสนุนว่าวิชาดาบที่สำนักดาบอาทมาฏนเรศวรฝึกเป็นวิชาดาบที่ทรงสอน คือ "เป็นวิชาที่ผสมผสานวิชาดาบ หลายวิชาเข้าด้วยกัน เช่นวิชาดาบเหนือ วิชาดาบไต และรวมเข้ากับวิชาดาบของอยุธยา เป็นวิชาดาบที่เราฝึกอยู่ สังเกตุง่ายๆวิชาดาบทางเหนือและพม่าจะเน้น ตัดปาด วิชาดาบของอยุธยาจะเน้นปะทะ แต่อาทมาฏมีทั้งสองวิชานี้ ซึ่งคนที่จะคิดรวมวิชาดาบหลายๆวิชาเข้าเป็นวิชาเดียวกันนั้นผมไม่เห็นจะมีใครไปได้นอกจากสมเด็จพระนเรศ อาจเป็นไปได้มากว่าทรงเรียนวิชาดาบมาจากพม่าโดยที่พระองค์ทรงเป็นวิชาดาบของอยุธยาอยู่ก่อนแล้ว จึงทรงรวมวิชาดาบนี้ขึ้นมาใหม่ แต่การที่วิชาดาบนี้ไม่แพร่หลายไป อาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราชวงศ์ในแต่ละครั้งนั้นมักฆ่าขุนนางที่จงรักภักดีราชวงศ์เดิมเสียเป็นส่วนมาก จึงทำให้วิชานี้หายไปกับการเปลี่ยนราชวงศ์ แต่ยังมีฝึกอยู่ในกลุ่มคนมอญไม่แพร่หลายออกไป
อีกประการหนึ่งคือชื่อท่าต่างๆ ล้วนเป็นชื่อที่ถูกตั้งมาเป็นอย่างดี มีชื่อไม่ใช่น้อย เช่น ท่าแม่ไม้สามท่า ก็เรียกคลุมไตรภพ ไม้รำ12ท่า ท่าไม้รำสอดสร้อยมาลา เสือลากหาง ฟันเงื้อสีดา หงษ์ปีกหัก ท่ายักษ์ พระรามแผลงศร เชิญเทียนตัดเทียน มอญส่องกล้อง ลับหอกลับดาบ ช้างประสานงา กาล้วงไส้ พญาครุฑยุดนาค และ เรียงหมอน ชื่อท่าไพเราะทั้งนั้น ท่ากลยุทธ์ ท่ากลศึก ท่าตัดข้อตัดเอ็น  27 ท่า และท่าหนุมานเชิญธอีก 48 ท่า มีชื่อท่าทั้งนั้นครับ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 09 มิ.ย. 13, 23:17

และตั้งแต่กระทู้แรกที่ผมเข้ามาผมก็กล่าวแต่ต้นว่าผมเชื่อ ซึ่งเป็นความเชื่อส่วนตัวของผมเช่นเดียวกับท่านที่เชื่อเรื่องการคาดเชือก


ถูกครับ ความเชื่อเป็นสิ่งที่ห้ามกันไม่ได้  ปัญหามันมีอยู่ว่า แล้วมีอะไรมารองรับความเชื่อไหมล่ะครับ ?

อย่างเรื่องการคาดเชือก หลักฐานก็ค่อนข้างชัดเจนทั้งในปริทัศน์มวยไทย และ รูปอื่น ๆ ไม่ว่าจะถักก้นหอยผิดหรือถูก แต่สุดท้าย มันก็มีการถักก้นหอยแบบนี้อยู่จริง ผิแต่ว่าใครจะเรียนมาผิดหรือถูกก็ว่ากันไป

แต่การที่ออกมาตั้งสมมติฐานว่า วิชานี้คิดค้นมาแบบนี้ ผมว่าก็ควรจะมีหลักฐานมารองรับด้วยเหมือนกันนะครับ

บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 09 มิ.ย. 13, 23:31

กลับมาเรื่องวิชาดาบอาทมาฏ
ประเด็นที่ 1 วิชาดาบอาทมาฏเป็นดาบที่มาจากสำนักดาบเจ้ารามหรือไม่ ผมอยากจะเรียนว่า ครูมาโนทย์ เข้าเรียนที่รามคำแหง ปี 2521(ครูแปรงเป็นรุ่นพี่หนึ่งปี)และเข้าร่วมกับผู้ชื่นชอบวิชาดาบและมวยที่นั้น ตั้งชมรมดาบเจ้ารามขึ้นมา เพียง 1 ปี ก็เป็นครูฝึกให้กับรุ่นน้อง ประเด็นนี้ผมว่าสำนักดาบเจ้ารามทราบกันเป็นอย่างดี แม้แต่เพลงมาร์ชของสำนักดาบเจ้ารามยังมีประโยคหนึ่งว่า " ฝึกดาบอาทมาฏเกรียงไกร" ซึ่งทุกวันนี้เมื่อครบรอบวันตายของครูมาโนทย์สำนักดาบเจ้ารามก็ไปทำบุญให้กับ ครูมาโนทย์ ทุกปีมิได้ขาด ผมเสียอีกที่ไม่ได้ไป

เท่าที่ผมทราบมา ครูมาโนช น่าจะเป็นรุ่นพี่ครูแปรงนะครับ เพราะท่านเคยให้สัมภาษณ์ไว้สักที่ว่า ท่านเข้าเรียนในชมรมอาวุธไทย ม.ราม ราว ๆ ปี 2524 เพราะฉะนั้นเป็นไปไม่ได้เลย ที่ครูมาโนชจะเป็นรุ่นน้องครูแปรง

ส่วนเรื่องเพลงมาร์ช ตรงนี้ผมไม่ทราบจริง ๆ ครับ ผมรู้เพียงแต่ว่า ในวิชาดาบจ้าวราม เกิดจากลูกศิษย์ของหลาย ๆ สำนักดาบในกรุงเทพ + ฝั่งธนบุรีมาร่วมสังเคราะห์วิชากัน และก็ชมรมจริง ๆ เกิดมาจากการที่ว่า จะมีการแสดงอะไรสักอย่างนี่แหละ และต้องการคิวบู๊ จึงเกิดชมรมศิลปการแสดงขึ้นมา ทีนี้ เมื่อต้องการคิวบู๊ ก็เลยมีการทาบทามให้บรรดานักศึกษา ม. รามในยุคนั้น จัดทำคิวบู๊ขึ้นมา จึงกลายมาเป็นตำนานชมรมอาวุธไทย ม. ราม ครับ  ที่ผมรู้ก็คร่าว ๆ ได้เพียงเท่านี้

ประเด็นที่ 2 เรื่องการสืบทอดวิชาดาบอาทมาฏ ที่ครูมาโนทย์กล่าวว่า ครูสุริยาบอกว่าเป็นวิชาที่ถูกฉีกออกไปก่อนเสียกรุงครั้งที่ 1 เอาไปเก็บใว้ที่พิษณุโลก เป็นที่ยอมรับแล้วว่าครูสุริยามีตัวตนจริง แด่เสียชีวิตแล้วนั้นได้ถ่ายทอดวิชาให้ครูมาโนทย์จริงตามที่ครูมาโนทย์กล่าวใว้ทุกประการ ซึ่งการกล่าวของครูสุริยาเรื่องที่มาของวิชาดาบนั้นเป็นผมๆก็เชื่อครูผม

ตรงนี้ ผมก็เชื่อตามที่คุณบอกมาครับ เพราะในนิตยสาร สารคดี ก็ลงไว้อย่างนั้น ผมไม่ได้ติดใจเรื่องที่ครูสุริยาสอนครูมาโนชครับ

แต่ที่ผมสงสัยก็คือ เนื้อหาที่สอนมามากกว่าว่า สอนอย่างไรแค่ไหน เท่านั้นเอง

ประเด็นที่ 3 ที่มาของวิชาดาบ ครูมาโนทย์บอกว่าเรียนมาจากครูสุริยา ท่านsamun007ท่านก็บอกว่าไม่สามารถเชื่อได้ว่าเป็นวิชาเก่าที่ถูกถ่ายทอดกันอย่างลับๆ ผมกล่าวว่าหากผมเรียนวิชาทวนมาจากปู่ผมแล้วปู่ผมบอกผมว่าเรียนมาจากปู่ผมอีกที ท่านก็ว่าไม่เชื่อ หากผมใช้หลักการเดียวกับท่านsamunบ้างละครับ
ว่าที่ครู นาค เรียนวิชามาจากบิดาของท่าน ผมไม่สามารถเชื่อได้ว่ามันเป็นวิชาของคนโบราณจริงเนื่องจากผมก็ไม่ทราบเหมื่อนกันว่าตัววิชาจริงๆก่อนที่ครูนาคได้รับมามันเป็นอย่างไร เป็นวิชาที่มีการถ่ายทอดกันมาจากกรุงเก่า แต่มาโพล่ก่อนวิชาอื่นๆเลยเป็นวิชาแท้ไป แล้ววิชาที่มาโพล่ทีหลังเลยกลายเป็นวิชาที่ดัดแปลงมา
ซึ่งเหมื่อนกับการคาดเชือกที่ท่านเห็นว่าที่มีอยู่ก่อนเป็นวิชาที่ถูกถ่ายทอดมามักจะเป็นสิ่งที่ถูก

ทำความเข้าใจกันใหม่ก่อนนะครับ

 1. ผมเชื่อว่า ครูสุริยา ท่านได้วิชาอาทมาทมาแน่ ๆ
 2. ครูสุริยาท่านสอนให้ครูมาโนชแน่ ๆ
 3. ก่อนครูมาโนชจะเรียนดาบกับครูสุริยา ท่านเคยเรียนดาบสายกรมพละมาก่อน  ภายหลังครูมาโนชมาเรียนต่อที่ ม. ราม ท่านก็มาเข้า ชมรมอาวุธไทย ม. ราม และได้เรียนดาบจ้าวราม

 4. สิ่งที่ผมสงสัยก็คือ วิชาดาบอาทมาทในยุคแรกที่ครูสุริยาถ่ายทอดให้ครูมาโนช ก่อนที่ครูมาโนชจะเข้ามาเรียนดาบจ้าวรามต่อนั้น เป็นอย่างไร ?  เนื้อหามีแค่ไหน ? ซึ่งผมได้บอกไปแล้วว่า ถ้าอยากจะรู้จริง ๆ ก็คงต้องไปกราบเรียนถามครูสุริยา แต่คงเป็นไปไม่ได้แล้ว

 5. วิชาสาย อ. นาค เท่าที่ผมเห็น ก็เป็นดาบในทางเดียวกับ สำนักดาบอื่น ๆ ในภาคกลาง ไม่ว่าจะสายพุทธหรืออิสลามครับ แนวทางคล้าย  ๆ กัน ขึ้นพรหมนั่ง พรหมยืน แทบไม่แตกต่าง ท่านไหว้ครูก็คล้าย ๆ กัน มันยังพอสืบหาที่มาได้ไม่ยากครับ


 
       ตามนี้ครับ ที่ผมสรุปให้ได้
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 09 มิ.ย. 13, 23:43

ประเด็นที่ 4 เรื่องถ่ายทอดในสายตำรวจและทหาร ที่ผมกล่าวเช่นนั้น ผมไม่ได้มองที่ว่าต้องเป็นวิชาดาบอาทมาฏน่ะครับ ผมอยากเห็นวิชามวยและดาบของไทยถูกเผยเพร่ไป เช่นเดียวกับเจตนารมณ์ของครูนาค ท่านsamunกล่าวว่า"ครูหมีไปสอนที่ ราบ ๑๑ ไม่ใช่หรือครับ อ.ชาติชาย ก็ไปวางรากฐานอาทมาทไว้ที่ จปร. (แต่แอบงงว่า เข้าไปได้โดยที่ มวยไทยสายเก่าของที่โน่นไม่มีปฏิกิริยาอะไรเลยหรือ)" ผมอยากจะกล่าวว่าตอนนั้นท่านทรงกิติเป็น ผบ.โรงเรียนนายร้อย ท่านคงมองไม่ออกมั้งครับว่ามันเป็นวิชาที่ถูกดัดแปลงมาไม่ใช้วิชาโบราณ และเอาไปแสดงต่อหน้าพระที่นั่ง สมเด็จพระเทพฯ ซึ่งท่านก็ทรงรับสั่งกับ ครูชาติชายว่า "อย่าทิ้ง จปร.นะ"ในขณะที่ทรงพระราชทานเหรียญที่ระลึกเมื่อปี46 หรือแม้แต่ National Geographic เข้ามาทำสารคดีเกี่ยวกับศิลปการต่อสู้ในภูมิภาคนี้ได้คัดเลือกเอาวิชาอาทมาฏเป็นวิชาดาบของไทย และคัดเลือกวิชามวยไชยาเป็นตัวแทนวิชามวย พวก ฝรั่งมันคงโง่น่ะครับ ซึ่งครั้งนั้นเราเสียท่าหนุมานเหินหาวให้กับฝรั่งไป ถูกเอาท่าไปแสดงในหนังเรื่อง ทรอย ในรายการคุณพระช่วยเราจึงเอาท่านี้มาแสดง โดยยังปิดท่าอื่นๆใว้เป็นความลับ

 ซึ่งผมก็งงเหมื่อนกันครับว่า ทำไมถึงมาเลือกวิชาดาบอาทมาฏ ทำไมไม่เลือกวิชาดาบสายครูนาค หรือสายพุทไธสรรค์ หรือสายที่โพล่มาก่อนวิชาดาบอาทมาฏ


ที่ผมตอบคุณแบบนี้ เพราะคุณเขียนไว้ว่า


แม่แต่ปัจุบันนี้ ในโรงเรียนตำรวจหรือทหาร ยังฝึกวิชาป้องกันตัวของต่างชาติอย่างจริงจังตามกระแสนิยมเพราะคนสอนไปเรียนวิชาอื่นมาวิชามวยไทยไม่ถนัด อย่างนี้มันจะไม่หายได้ยังไงครับ หรือถามใหม่ว่าตำรวจหรือทหารเป็นมวยไทยจริงๆกี่คน

ผมก็ไม่แน่ใจว่า คุณอาจจะลืมว่าวิชาอาทมาทเองก็ได้รับเกียรติเข้าไปสอนในสถาบันการทหารชั้นสูงครับ ผมเอง ออกจะชื่นชมและดีใจ ที่อย่างน้อย ๆ ก็วิชาไทย ๆ เหล่านี้ยังได้รับการอนุรักษ์ไว้ในสถาบันการศึกษาด้านการป้องกันประเทศ ผมก็เลยเขียนไปว่า วิชานี้ได้รับเกียรติเข้าไปสอนในสถานที่ไหนบ้าง ก็ตามนี้ล่ะครับ

อย่างในกรณีของ จปร. นั้น เดิม รุ่นโบราณมาก ๆ หน่อย ก็มีมวยไทยโบราณสายของมวยโคราช สอนอยู่ โดย ร้อยโท บัว นิลอาชา หรือที่รู้จักกันในนาม ครูบัว วัดอิ่ม  ครูท่านนอกจากสอนมวยไทยสายโคราชแล้ว ก็ยังเมตตาเขียนตำราวิชาอาวุธไทยโบราณ ก็คือ กระบี่กระบอง ดาบ ฯลฯ ไว้ด้วย

ซึ่ง ถ้าอ้างอิงจากหนังสือสารคดีฉบับที่มีดาบอาทมาท ก็ให้ข้อมูลไว้ว่า ครูบัว ท่านก็ไปเรียนวิชาอาวุธไทยเพิ่มเติมจาก ครูเปลี่ยน เจริญพาศน์ และถ้าจำไม่ผิด ก่อนหน้านั้นก็จะมีคณะกระบี่กระบองจากสายวัดชำนิหัตถการ(วัดสามง่าม) ไปสอนให้อยู่ก่อนแล้ว

ต่อมาภายหลังจากที่ครูบัวท่านเกษียณออกไป  วิชาจากต่างชาติก็เข้ามาแทนที่ของไทย ๆ จนมายุคหลังก็มีมวยไทยของ อ. ท่านหนึ่ง (ขอสงวนนาม) ได้รับการบรรจุสอนให้กับบรรดานักเรียนนายร้อย เรื่อยมา และชมรมศิลปการต่อสู้ที่ จปร. ก็ได้สอนกันมารุ่นต่อรุ่นครับ 

บันทึกการเข้า
นักรบกองอาทมาฏ
อสุรผัด
*
ตอบ: 34


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 09 มิ.ย. 13, 23:45

ประเด็นที่ 5 เรื่องการอ้างอิงหลักฐานต่างๆ ไม่ว่าวิชาดาบไหนๆผมก็ว่ามันไม่มีหลักฐานอ้างอิงทั้งนั้น อย่างวิชาสายพุทไธสรรค์ซึ่งมีการกล่าวถึงอยู่ แต่ตัววิชาจริงๆที่ฝึกกันอยู่ตอนนี้มีหลักฐานไหมครับว่าเป็นวิชาที่สอนกันในสมัยโบราณ ทุกวิชาไม่มีการบันทึกทั้งนั้น ล้วนสอนกันปากต่อปาก ฝึกกันจำกัน แล้วจะเอาหลักฐานมาจากไหนกันล่ะครับ ไม่ใช้แต่วิชาดาบ วิชาอื่นๆก็เป็น ผมจึงดูจากตัววิชาว่ามันมีรากฐานมาจากไหน อะไรผสมอะไร แก่นของวิชาอยู่ที่ไหน มากกว่า แล้วเอามารวมกันกับประวัติศาสตร์ว่ามันเป็นไปได้หรือไม่ ประเทศเราทำได้เท่านี้ เพราะแค่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ยังผิดๆถูกๆเลยครับ จะหาอะไรกับ ที่เก่ากว่านั้น

โดยส่วนตัวผม หากท่านบอกว่าวิชาดาบของทุกครูที่สอนอยู่ตอนนี้ หรือจะมีวิชาอื่นโพล่ขึ้นมาอีกสักกี่วิชา จะบอกว่าเรียนมาหรือสืบทอดมาอย่างไร แต่ละวิชาแต่ละครูก็มีความเชื่อเป็นของตนเองทั้งนั้นครับ ซึ่งเป็นสิ่งจรรโลงจิตใจของผู้ฝึก เป็นสิ่งเคารพของวิชานั้นๆ ผมเชื่อในสิ่งที่เขาบอกผมครับ ผมเคารพในความเชื่อของครูทุกคน และขอบคุณที่ท่านกรุณาสอนวิชาดาบและมวย ให้วิชาอยู่กับประเทศของเราครับ
บันทึกการเข้า
นักรบกองอาทมาฏ
อสุรผัด
*
ตอบ: 34


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 10 มิ.ย. 13, 00:51

ขอตอบเรื่องของครูแปรงก่อนน่ะครับ
ครูแปรง ครูมวยไชยา
เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๑ ที่ ตำบลหนองชิ่ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ในวัยเด็กนั้นด้วยเป็นคนต่างจังหวัด ใช้ชีวิตตามแบบเด็กในชนบท จึงมีความถนัดในด้าน ยิงหน้าไม้ ยิงลูกกระสุน ธนู และปืน เพื่อยังชีพ และได้เริ่มเรียน มวย กับคุณพ่อ และคุณอา เมื่อเข้าช่วงวัยรุ่น

พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้เดินทางมาศึกษาต่อ ที่มหาวิทยาลัย รามคำแหง และได้สมัครเข้าเป็นสมาชิก ชมรมต่อสู้ป้องกันตัว แผนกมวยไทย ฝึกซ้อม และขึ้นชกมวย ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย อยู่พักหนึ่ง จึงย้ายมาเรียนที่ แผนก อาวุธไทย “สำนักดาบเจ้าราม” ซึ่งรุ่นพี่ในชมรมฯช่วงนั้น จะมีหลายคนมาจากหลายสำนัก รวมตัวกันในรามฯ เพื่อก่อตั้งเป็น แผนกอาวุธไทย
จากเวปนี้ครับ http://www.muaychaiya.com/kru-preang-master-of-muay-chaiya/
และนี้ครับรูปที่วันเกิดและวันตายของครูมาโนทย์ครับ

ชัดไหมครับว่าใครรุ่นพี่ใคร
บันทึกการเข้า
นักรบกองอาทมาฏ
อสุรผัด
*
ตอบ: 34


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 10 มิ.ย. 13, 01:19

เรื่องการคาดเชือก ผมไม่ลืมคำถามหรอกครับ คำตอบน่ะผมคาดไว้แล้วว่าท่านจะตอบผมว่ามีจริง แต่ส่วนขยายนี้ซิครับ

ที่บอกเพราะเคยเห็นมาแล้ว ในคลิปวิดีโอ ที่เขาโปรโมทมวยไชยาสายหนึ่งทางโทรทัศน์ ก็เห็นทางสายนั้นเขาถักก้นหอยได้ครับ แม้แต่รูปเก่า ๆ ของลูกศิษย์ครูเขตร์บางท่าน เช่น ครูทอง ก็เห็นถักก้นหอยเหมือนกัน  เพราะฉะนั้น ลูกศิษย์สายครูทอง ก็น่าจะทำกันได้เกือบหมด

ที่ได้น่ะได้แบบไหนครับ ตามรูปที่ผมลงให้ชม นั้นคือที่ท่านเข้าใจว่ามันคือสิ่งที่มีจริง

ท่านยังบอกอีกว่า
ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่า คนที่บอกว่าถักแบบนั้นไม่ได้ เพราะเรียนมาไม่ครบหรือเปล่า เพราะวิชานี้ เท่าที่รู้ พอเข้าสำนักไปสักระยะ ถ้าถึงเวลาและฝีมือพอตัวจะขึ้นครูได้  ครูก็จะถ่ายทอดวิชาถักแบบนี้มาให้ ไม่ได้ปิดบังอะไรทั้งสิ้น

ถ้าบอกว่า ทำไม่ได้ และสูญหายไป  พูดแบบนี้ เขียนแบบนี้  ต้องขอยืมสำนวนครูเขตร์มาใช้ล่ะครับ

พูดได้ทำได้จึงเป็นครู

ผมลงรูปให้ชมและผมก็ถามต่อว่า

แบบไหนครับท่านsamunที่ว่าเคยเห็น และเชื่อว่ามันมีจริง มันคือการถักเชือกคาดหมัดของปรมาจารย์เขตร มันเป็นแบบไหนครับ ก้นหอยที่ปรมาจารย์เขตรเขียนถึง หรือหากไม่เป็นการรบกวน ช่วยลงรูปให้ดูสักนิดได้ไหมครับ ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ ถ้าไม่มีผมก็ไม่สามารถเชื่อท่านได้ว่ามันมีจริง หรือไม่วิชานี้มันก็หายไปแล้ว เพราะที่ผมถามครูผม ครูทองก็ไม่เคยสอนถักก้นหอย ที่เห็นๆก็จับประเด็นในหนังสือปริทัศน์มวยไทย แล้วมาคาดๆให้ดู แล้วบอกว่ามันคือก้นหอยที่ปรมาจารย์เขตรสอนทั้งนั้น

ท่านก็ตอบผมว่า
อันดับแรกเลยนะครับ ต้องบอกว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผมก่อน ซึ่งสิ่งที่ผมบอกต่อไปนี้ อาจจะผิดหรือถูกก็ได้ เนื่องจากที่ผมบอกไปว่า ผมไม่เคยเรียนมา เพราะฉะนั้น ผมจึงไม่รู้ครับ ทำความเข้าใจตรงนี้ก่อนนะครับ

ที่ตอบผมตอนแรกหายไปไหนครับ
บันทึกการเข้า
นักรบกองอาทมาฏ
อสุรผัด
*
ตอบ: 34


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 10 มิ.ย. 13, 01:35

ที่ผมเอาการคาดเชือกขึ้นมาอย่างที่กล่าว ผมต้องการเทียบเคียงให้เห็นครับ ว่าสิ่งที่เราเห็นมันอาจจะยังไม่ใช่ก็ได้ เพราะก่อนนั้นยังไม่มีรูปที่ผมลงปี2009 ก่อนนั้นมีเวปๆหนึ่งกล่าวถึงการคาดเชือกและบอกว่าไม่มีใครคาดได้แล้ว ศูนย์หายไปแล้ว พอผมลงรูปไป ส่วนนั้นก็ปิดปรับปรุง นี้ดีน่ะครับที่ผมลงรูปไปนานแล้ว จึงยังตอบว่ามีได้ ยังไม่ศูนย์หาย หากเอามาลงตอนนี้ จะสนุกกว่าแต่ก่อนแน่

"อย่างที่ผมได้เรียนไปแล้วว่า ผมไม่เคยเรียนการถักก้นหอย เพราะฉะนั้น ผมจึงไม่มีความรู้ในเรื่องนี้

ผมได้แต่เดา ตามที่ครูเขตร์ท่านเขียนไว้ในหนังสือปริทัศน์มวยไทยเท่านั้น"

รวมถึงเรื่องที่สำนักดาบเจ้ารามด้วยหรือป่าวครับ นี้คือส่วนหนึ่งจากเวปครูแปรงที่ผมลิงค์ใว้

ครูแปรง จึงได้เรียนวิชา จากหลายสำนัก เช่น ดาบพุทไธสวรรค์, ดาบผดุงสิทธิ์, ดาบ พละ, ดาบพรานนก, ดาบอาทมาต, ดาบอาทมาต เท้าช้าง ปัตตานี, มีดสั้นทอง นับแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ – ๒๕๒๕ จึงจบหลักสูตร หลังจากนั้น ครูแปรง ยังได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม จากครูอีกหลายท่าน อาทิเช่น ครูพัน ยารนะ ครูดาบสะบัดชัย, ดาบสายกรมหลวงชุมพร จาก กี คลองตัน, ดาบบ้านไชว อยุธยา, ดาบสายอาจารย์นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา, ดาบและมวยในสายอาจารย์กิมเส็ง ซึ่งถือว่าเป็นอาจารย์ปู่ สายมวยทวีสิทธิ์ ในเวลาต่อมาอีกด้วย

ครูแปรงแยกดาบอาทมาฏออกจากดาบสายอืนๆ แสดงว่ามันไม่เหมื่อนกัน ถูกไหมครับ และเรียนในช่วงแรกๆของการเข้าไปเรียนที่กรุงเทพฯของครูมาโนทย์
บันทึกการเข้า
นักรบกองอาทมาฏ
อสุรผัด
*
ตอบ: 34


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 10 มิ.ย. 13, 02:33

จากงานวิจัยที่ผมลิงค์ แต่ต้น เอามาอีกที http://www.sac.or.th/databases/ethnicredb/research_detail.php?id=630

Abstract
การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชนชาติมอญซึ่งอพยพเข้ามาในอาณาจักรอยุธยาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พ.ศ.2127 ถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พ.ศ.2301 การที่ชนชาติมอญอพยพเข้ามาเนื่องจากสงครามระหว่างมอญกับพม่า พระมหากษัตริย์ของอยุธยาโปรดให้ไปตั้งถิ่นฐานตามที่ต่างๆและให้อยู่ดูแลควบคุมกันเอง โดยเน้นศึกษาบทบาทขุนนางมอญทั้งทางด้านทหารและพลเรือนปรากฏว่ามีขุนนางมอญและขุนนางเชื้อสายมอญที่น่าจะมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ขณะนั้น ดังปรากฏบทบาทขุนนางมอญในกองทหารหน้า ทหารเรือ ทหารม้า ทหารอาทมาต และขุนนางมอญยังมีบทบาทด้านพลเรือนด้วยดังจะเห็นได้จากมีขุนนางไทยเชื้อสายมอญได้รับตำแหน่งสำคัญ เช่น ออกญาโกษาธิบดีเหล็ก และออกญาโกษาธิบดีปาน และยังปรากฏว่าขุนนางมอญมีเกี่ยวข้องในการแย่งชิงอำนาจราชบัลังก์หลายครั้งและขุนนางมอญยังร่วมก่อกบฏอีกหลายครั้งด้วยกัน ขุนนางมอญจึงมีบทบาทความสำคัญต่อความมั่นคงของราชอาณาจักรและราชบัลลังก์ในขณะนั้นอย่างมาก
 
 History of the Group and Community 
จากหลักฐานทางเอกสารของทั้งไทยและต่างประเทศปรากฏว่าในสมัยอยุธยาตั้งแต่ พ.ศ.2127 สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาจนถึง พ.ศ. 2301 สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มอญจำนวนหนึ่งได้อพยพเข้ามาอยู่ในอาณาจักรอยุธยา เนื่องจากปัญหาการสู้รบระหว่างมอญกับพม่า การสู้รบกับพม่าได้ก่อให้เกิดความทุกข์ยากแก่มอญโดยทั่วไป เนื่องจากเมื่อพม่าเป็นฝ่ายชนะจะปกครองมอญอย่างกดขี่ มอญส่วนหนึ่งจึงพากันอพยพไปยังดินแดนอื่นซึ่งส่วนหนึ่งได้เข้ามายังอาณาจักรอยุธยา การอพยพของมอญเข้ามานั้นมีด้วยกันหลายครั้ง เมื่อมอญเหล่านั้นเข้ามาในอยุธยาพระมหากษัตริย์ทรงอนุญาตให้ตั้งถิ่นฐานอยู่ทั้งในเกาะเมืองและนอกเกาะเมืองอยุธยา การอพยพครั้งแรกในสมัยพระมหาธรรมราชา พ.ศ.2127 ปรากฏว่าให้ไปอยู่บริเวณบ้านใหม่มะขามหย่อง ครั้งที่2 พ.ศ.2136 ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งที่ 3 พ.ศ.2142 ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2175 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2201 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดเกล้าฯให้ไปตั้งบ้านเรือนที่บ้านสามโคก วัดตองปุ ชานพระนครด้านทิศเหนือและแถวคลองคูจามชานพระนครด้านทิศใต้ ครั้งที่ 6 - 8 ระหว่าง พ.ศ.2290 - 2301 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (หน้า75-76) มอญเหล่านี้ได้รวมตัวกันเป็นชุมชนที่ยังคงรักษาความเป็นชุมชนมอญไว้ได้ โดยมีการดูแลปกครองกันเองเมื่อมีความขัดแย้งในชุมชนก็จะตัดสินกันเอง โดยมีมอญบางส่วนได้เข้ารับราชการทำหน้าที่ทั้งทางด้านการทหารและพลเรือนดังปรากฏบทบาทของมอญ เช่น บทบาทด้านการทหาร ผู้เขียนเสนอว่าระหว่าง พ.ศ.2127-พ.ศ.2310 ขุนนางมอญมีบทบาทสำคัญกว่ากองทหารต่างชาติอื่นๆ โดยมีส่วนสำคัญในการรบกับพม่าหลายครั้ง โดยการรบกับจะทำหน้าที่เป็นหน่วยรบ ทหารรักษาพระองค์และหน่วยลาดตระเวน ส่วนบทบาทด้านพลเรือนได้แก่ ออกญาโกษาธิบดี (เหล็ก) และออกญาโกษาธิบดี (ปาน) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าประสบความสำเร็จด้านเจรจาทางการทูต นอกจากนี้ยังปรากฏว่าขุนนางมอญเข้าไปมีส่วนร่วมในการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองหลายครั้ง และมีการก่อกบฏหลายครั้ง ขุนนางมอญจึงมีบทบาทสำคัญในด้านความมั่นคงของราชอาณาจักรอยุธยาและมีบทบาทสำคัญต่อมาในสมัยธนบุรี
 
Settlement Pattern
จากพงศาวดารชุมชนมอญในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งอาจแบ่งลักษณะการตั้งถิ่นฐานหลักๆ ได้เป็น 2 แบบ คือ ชุมชนมอญภายในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาและชุมชนภายนอกเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา โดยชุมชนภายในเกาะเมือง ได้แก่ ชุมชนพระมหาเถรคันฉ่องซึ่งอยู่แถบวัดนก ตำบลหัวแหลม และวัดค้างคาว ชุมชนของพญาเกียรติ พญาพระราม อยู่ระหว่างวัดขมิ้นและวัดขุนแสน ตำบลบ้านขมิ้น ชุมชนภายนอกเกาะเมืองตามลำดับรัชกาล ได้แก่ ชุมชนมอญสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา อยู่นอกเกาะเมืองทางทิศเหนือ คือชุมชนบ้านใหม่มะขามหย่อง ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มบริเวณทางแยกของแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำสัก ชุมชนมอญสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสันนิษฐานว่าอยู่แถบชานเมือง ชุมชนมอญสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคก วัดตองปุชานพระนครด้านทิศเหนือและแถวคลองคูจามชานพระนครด้านทิศใต้ นอกจากนี้จากเอกสารอื่นยังปรากฏชุมชนมอญวัดพนัญเชิง ชุมชนมอญวัดโปรดสัตว์ หรือด่านขนอนบ้านตะนาวศรี ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะเมืองไปประมาณ 2 กิโลเมตรอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ชุมชนมอญปากคลองขุนละครไชย ซึ่งเป็นคลองที่แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยา ชุนมอญนอกเกาะเมืองอยุธยาจะตั้งอยู่บริเวณที่แม่น้ำมาบรรจบกันอาจเป็นชุมชนที่ทำหน้าที่ป้องกันข้าศึกที่จะเข้ามารุกรานพระนคร (หน้า32-45)
 Political Organization
มอญที่อยู่ในอาณาจักรอยุธยาจะได้มีการดูแลควบคุมกันเองเมื่อมีความขัดแย้งกันภายในชุมชนก็ให้ตัดสินกันเอง ดังเช่นชาติอื่นๆ ที่เข้ามาในอยุธยา มีมอญบางส่วนได้มีส่วนในการปกครอง กล่าวคือ ได้เข้ารับราชการ ขุนนางมอญมีภาระหน้าที่ของความเป็นขุนนางเหมือนกับขุนนางไทยทั่วไป มอญได้เป็นขุนนางเนื่องจากความสามารถในการรบ ในขณะนั้นอยุธยาต้องสู้รบกับพม่า ซึ่งต่อมาก็มีขุนนางมอญเข้ารับราชการโดยทำหน้าที่ทั้งด้านทหารและพลเรือน 1.บทบาทขุนนางมอญด้านการทหาร ปรากฏในกองทหารหน้าหรือเรียกว่าทหารเดินหน้า ทหารมอญน่าจะเข้าร่วมกับกองทัพอยุธยารบกับพม่าตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา ซึ่งผู้เขียนสันนิษฐานว่าขุนนางมอญมีส่วนสำคัญในการรบกับพม่าหลายครั้ง ซึ่งมีปรากฏชื่อขุนนางมอญชั้นผู้ใหญ่คือสมิงพระราม นอกจากนี้เหตุการณ์การสู้รบหลายครั้งที่น่าจะเป็นหน้าที่ของขุนนางมอญแม้จะไม่ระบุชื่อเช่นการส่งทหารไปตีเมืองทวายและเมืองตะนาวศรีซึ่งเป็นหัวเมืองมอญ เนื่องจากขุนนางมอญมีความชำนาญในพื้นที่มากกว่า (หน้า 53-57) บทบาทขุนนางมอญด้านทหารเรือ โดยทำหน้าที่ในการควบคุมไพร่หลวงซึ่งเป็นฝีพายเรือพระที่นั่งซึ่งมีฝีพายมอญปรากฏในบันทึกของเดอ ลาลูแบร์ นอกจากนี้การเก็บเรือพระที่นั่งและโรงเรือกระบวนต่างๆไว้ในโรงที่อยูที่วัดตองปุซึ่งเป็นวัดของชุมชนมอญ(หน้า58-63) บทบาทขุนนางมอญด้านทหารม้า สมัยสมเด็จพระนารายณ์มีขุนนางมอญเป็นทหารม้า สังกัดกรมพระอัศวราชขวา(หน้า64) บทบาททหารมอญด้านทหารอาทมาต ทำหน้าที่สืบข่าวสอดแนมข้าศึก(หน้า64-65) 2.บทบาทด้านพลเรือน ได้แก่ ออกญาโกษาธิบดีเหล็ก เป็นขุนนางเชื้อสายมอญทางฝ่ายบิดา ออกญาโกษาธิบดีปาน เป็นน้องชายของออกญาโกษาธิบดีเหล็กซึ่งได้รับยกย่องว่าประสบความสำเร็จด้านเจรจาทางการฑูต ในสมัยพระเจ้าเสือขุนนางเชื้อสายมอญมีอิทธิพลอยู่ในกรมพระคลัง(หน้า 67-71) นอกจากนี้ยังมีขุนนางมอญบทบาทในการเมือง โดยในสมัยอยุธยาช่วงพ.ศ.2171 - 2301 มีการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองถึง 8 ครั้ง ในการช่วงชิงอำนาจแต่ละครั้งจะมีขุนนางมอญร่วมอยู่ด้วย (หน้า81-95) และยังปรากฏว่าขุนนางมอญมีส่วนร่วมในการก่อกบฏด้วยกันหลายครั้ง เช่น กบฏพระธรรมเถียร กบฏมอญโพธิ์สามต้น กบฏมอญเขานางบวช กบฏสุกี้พระนายกอง(หน้า100-105)
 
 

 


บันทึกการเข้า
นักรบกองอาทมาฏ
อสุรผัด
*
ตอบ: 34


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 10 มิ.ย. 13, 02:53

จากเวป อยุธยาศึกษา http://www.ayutthayastudies.aru.ac.th/content/view/166/32/
ใน พ.ศ. ๒๑๑๔ สมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดให้พระนเรศวรขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลกขณะนั้นพระชันษาได้ ๑๖ ปี ด้วยทรงมีนโยบายจะฟื้นฟูหัวเมืองฝ่ายเหนือให้แข็งแรงอย่างเดิม และเพื่อสมานการแตกร้าวระหว่างเมืองเหนือกับชาวเมืองใต้ที่บังเกิดขึ้นเสมอมาให้กลับคืนดีเป็นพวกเดียวกัน เนื่องจากพระนเรศวรทรงสมภพในเมืองพิษณุโลก และทรงเป็นที่คุ้นเคยรักใคร่ของผู้เฒ่าผู้แก่ที่นั่นมาก่อน เมื่อเสด็จกลับมาอยู่ใหม่ไม่น่นนักก็เป็นที่นิยมนับถือของชาวพิษณุโลกทุกหมู่เหล่า ทำให้กิจการต่างๆ ในการปกครองของพระองค์เป็นไปโดยสะดวก นับตั้งแต่การคัดเลือกเด็กหนุ่มลูกหลานข้าราชการเข้ามาฝึกหัดใช้ในราชการปกครองและราชการทหาร ทดแทนข้าราชการประจำตำแหน่งดั้งเดิมที่พระชนกทรงเรียกตัวลงมาใช้สอยเสียในพระนครศรีอยุธยาเกือบหมด การนี้กลับเป็นผลดีแก่พระองค์เป็นอันมาก เพราะเป็นโอกาสให้พระองค์ทรงคัดเลือกคนหนุ่มมารับการฝึกอบรมวิชาตามที่ทรงศึกษาเล่าเรียนมาจากกรุงหงสาวดีได้ตามที่ทรงต้องการ ข้าราชการหนุ่มๆ พวกนี้เองที่ได้เป็นกำลังให้พระองค์ทรงบริหารราชการต่างๆ ลุล่วงไปด้วยดีและรวดเร็วตลอดมา

ที่ผมสงสัยคือวิชาอะไรที่ทรงสอน ตั้งแต่ที่ผมกล่าวในช่วงต้นๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.112 วินาที กับ 20 คำสั่ง