เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 36365 อยากทราบเรื่องกองอาทมาตค่ะ
ไพลินภัทร
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


 เมื่อ 26 เม.ย. 13, 22:26

เท่าที่ค้นดูคำๆ นี้ใช้หลายความหมาย
ทั้งหมายถึงเพลงดาบที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยพระนเรศวร กองทหารม้าส่งข่าว หน่วยสืบราชการลับ
เลยอยากทราบรายละเอียดและที่มาที่ไปของคำๆ นี้ค่ะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 27 เม.ย. 13, 08:53

กองอาทมาฏ เป็นกองที่เชี่ยวชาญในเพลงดาบและแข็งแกร่งในการต่อสู้รบ นัยว่าเป็กกองชาวมอญเข้าสังกัดกองนี้อยู่มาก สำหรับกองทหารม้าส่งข่าว หรือหน่วยราชการลับ เป็นเพียงการใช้คนของกองอาทหาฏไปทำภาระกิจนี้เท่านั้น เลยเรียกตามปากไปเสีย

ท่ารำพื้นฐานคือท่าคลุมไตรภพ, ตลบสิงขร และย้อนฟองสมุทร ซึ่งเป็นท่าเพลงดาบที่ผสมผสานความอ่อนช้อย แต่ว่องไวและปกป้องร่างกายได้เป็นอย่างดี

คลิปนี้ให้ดูลีลาของเพลงดาบแห่งกองอาทมาฏ ที่สวยงามและแฝงด้วยอันตรายมาก ๆ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 27 เม.ย. 13, 09:03

การลาดตระเวนสอดแนมข่าวคราวของข้าศึกตามชายแดนไทย-พม่าในสมัยโบราณ ใช้พวกมอญซึ่งพูดภาษาพม่าได้ ดำเนินชีวิตกลมกลืนไปกับพม่าได้ดี ไม่มีพิรุธ     พวกนี้สังกัดกองอาทมาต  เป็นสายลับไทยโบราณ
ตัวละครในเรื่องขุนช้างขุนแผนที่เป็นนักรบอาทมาต   คือขุนไกรพลพ่าย  พ่อของขุนแผน

เป็นทหารชาญชัยใจฉกรรจ์         คุมไพร่ทั้งนั้นได้เจ็ดร้อย
อาจองคงกระพันชาตรี         เข้าไหนไม่มีที่จะถอย
รบศึกศัตรูอยู่กับรอย                 ถึงมากน้อยทหารไม่หนีมา
กรมการเมืองสุพรรณสั่นหัว         เข็ดขามคร้ามกลัวใครไม่ฝ่า
โปรดปรานเป็นทหารอยุธยา         มีสง่าอยู่ในเมืองสุพรรณ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 28 เม.ย. 13, 22:50

กองลาดตระเวนหาข่าวจริง ๆ ยังมีอาทมาตเขมรด้วยนะครับ เท่าที่ทราบมาคร่าว ๆ คือเกิดในสมัยที่สยามมีศึกกับญวน

อาทมาตคำนี้ มาปรากฏเอายุครัตนโกสินทร์แล้ว ในยุคอยุธยาและธนบุรีไม่มีนะครับ
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 29 เม.ย. 13, 19:58

กองอาทมาฏ เป็นกองที่เชี่ยวชาญในเพลงดาบและแข็งแกร่งในการต่อสู้รบ นัยว่าเป็กกองชาวมอญเข้าสังกัดกองนี้อยู่มาก สำหรับกองทหารม้าส่งข่าว หรือหน่วยราชการลับ เป็นเพียงการใช้คนของกองอาทหาฏไปทำภาระกิจนี้เท่านั้น เลยเรียกตามปากไปเสีย

ท่ารำพื้นฐานคือท่าคลุมไตรภพ, ตลบสิงขร และย้อนฟองสมุทร ซึ่งเป็นท่าเพลงดาบที่ผสมผสานความอ่อนช้อย แต่ว่องไวและปกป้องร่างกายได้เป็นอย่างดี

คลิปนี้ให้ดูลีลาของเพลงดาบแห่งกองอาทมาฏ ที่สวยงามและแฝงด้วยอันตรายมาก ๆ


เห็นมาดเจ้าสำนักดาบอาทมาฏแล้วสุดยอด
เสียดายที่ครูมาโนช จากโลกนี้ไปแล้วครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 01 พ.ค. 13, 15:03

เลยอยากทราบรายละเอียดและที่มาที่ไปของคำๆ นี้ค่ะ

จาก พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา



อาทมาต มาจาก คำว่า อาจสามารถ   เป็นไปได้หรือไม่หนอ   ฮืม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 01 พ.ค. 13, 15:32

คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ เห็นทีจะเชื่อข้อสันนิษฐานข้างต้นอยู่มาก

คำนี้ปรากฏอยู่ในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง กรุงแตก ยศล่มแล้ว   ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 01 พ.ค. 13, 21:49



อาทมาต มาจาก คำว่า อาจสามารถ   เป็นไปได้หรือไม่หนอ   ฮืม

หรือว่า อาจสามารถ มาจากคำว่า อาทมาต?


บันทึกการเข้า
Thanate
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 02 พ.ค. 13, 13:07

กองอาทมาฏ เป็นกองที่เชี่ยวชาญในเพลงดาบและแข็งแกร่งในการต่อสู้รบ นัยว่าเป็กกองชาวมอญเข้าสังกัดกองนี้อยู่มาก สำหรับกองทหารม้าส่งข่าว หรือหน่วยราชการลับ เป็นเพียงการใช้คนของกองอาทหาฏไปทำภาระกิจนี้เท่านั้น เลยเรียกตามปากไปเสีย

ท่ารำพื้นฐานคือท่าคลุมไตรภพ, ตลบสิงขร และย้อนฟองสมุทร ซึ่งเป็นท่าเพลงดาบที่ผสมผสานความอ่อนช้อย แต่ว่องไวและปกป้องร่างกายได้เป็นอย่างดี

คลิปนี้ให้ดูลีลาของเพลงดาบแห่งกองอาทมาฏ ที่สวยงามและแฝงด้วยอันตรายมาก ๆ


เห็นมาดเจ้าสำนักดาบอาทมาฏแล้วสุดยอด
เสียดายที่ครูมาโนช จากโลกนี้ไปแล้วครับ

เสียดาย ครูมาโมช จริงๆครับ
ยังมี ครูหมี  คงพอได้ 
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 24 พ.ค. 13, 01:36

กองอาทมาต เท่าที่ไปหาข้อมูลเพิ่ม พบว่าเจอครั้งแรกในตอนปลายสมัยกรุงธนบุรีครับ ช่วงทำสงครามในแผ่นดินเขมร แต่เรียกว่ากองอาจารย์แทน ในจดหมายเหตุทัพเขียนไว้แบบนั้น


เท่าที่ทราบมา วิชาดาบทางนี้ พื้นฐานจริง ๆ มีไม่มาก คือ คลุมไตรภพ ตลบสิงขร และ ย้อนฟองสมุทร  ครูมาโนช และ ครูหมี ตลอดจน ครูโอ ล้วนแล้วแต่ได้พื้นฐานของวิชาดาบจ้าวรามมาก่อนอยู่แล้ว เมื่อมารวมกับเคล็ดของทางดาบอาฏมาท ก็เลยทำให้ยิ่งเด่นขึ้นไปอีก

ครูหมีเอง ก็มีพื้นฐานมาจากวิชาเจิงของภาคเหนือพื้นถิ่นอยู่แล้วด้วยเช่นกัน

บันทึกการเข้า
นักรบกองอาทมาฏ
อสุรผัด
*
ตอบ: 34


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 03 มิ.ย. 13, 15:01

พอดีเปิดเข้ามาเจอ เลยอยากจะแนะนำงานวิจัยเล่มนี้ครับ "http://www.sac.or.th/databases/ethnicredb/research_detail.php?id=630"

ผมเป็นคนหนึ่งที่ฝึกดาบอาทมาฏครับ ทุกวันนี้เราก็ยังฝึกกันอยู่ที่สำนักฯ
โดยส่วนตัวผมแล้วคำว่าอาทมาตหรือ อื่นๆที่ออกเสียงคล้ายกันผมคิดว่าหมายถึง กองทหารมอญ ครับ แต่วิชาดาบนั้นจากที่ในหนังสือสารคดีนั้นว่าเป็นวิชาดาบที่ถูกฉีกออกแล้วไปเก็บใว้ทางเหนือนั้น ผมมีความเห็นต่างจากนั้น
คือผมเชื่อประการหนึ่งว่าเป็นวิชาที่สมเด็จพระนเรศใช้สอนลูกขุนนางที่เกณฑ์มาฝึกวิชาที่พิษณุโลกเมื่องครั้งทรงเสด็จกลับมาจากการเป็นองค์ประกัน
เหตุผลหนึ่งที่สนับสนุนว่าวิชาดาบที่สำนักดาบอาทมาฏนเรศวรฝึกเป็นวิชาดาบที่ทรงสอน คือ "เป็นวิชาที่ผสมผสานวิชาดาบ หลายวิชาเข้าด้วยกัน เช่นวิชาดาบเหนือ วิชาดาบไต และรวมเข้ากับวิชาดาบของอยุธยา เป็นวิชาดาบที่เราฝึกอยู่ สังเกตุง่ายๆวิชาดาบทางเหนือและพม่าจะเน้น ตัดปาด วิชาดาบของอยุธยาจะเน้นปะทะ แต่อาทมาฏมีทั้งสองวิชานี้ ซึ่งคนที่จะคิดรวมวิชาดาบหลายๆวิชาเข้าเป็นวิชาเดียวกันนั้นผมไม่เห็นจะมีใครไปได้นอกจากสมเด็จพระนเรศ อาจเป็นไปได้มากว่าทรงเรียนวิชาดาบมาจากพม่าโดยที่พระองค์ทรงเป็นวิชาดาบของอยุธยาอยู่ก่อนแล้ว จึงทรงรวมวิชาดาบนี้ขึ้นมาใหม่ แต่การที่วิชาดาบนี้ไม่แพร่หลายไป อาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราชวงศ์ในแต่ละครั้งนั้นมักฆ่าขุนนางที่จงรักภักดีราชวงศ์เดิมเสียเป็นส่วนมาก จึงทำให้วิชานี้หายไปกับการเปลี่ยนราชวงศ์ แต่ยังมีฝึกอยู่ในกลุ่มคนมอญไม่แพร่หลายออกไป
อีกประการหนึ่งคือชื่อท่าต่างๆ ล้วนเป็นชื่อที่ถูกตั้งมาเป็นอย่างดี มีชื่อไม่ใช่น้อย เช่น ท่าแม่ไม้สามท่า ก็เรียกคลุมไตรภพ ไม้รำ12ท่า ท่าไม้รำสอดสร้อยมาลา เสือลากหาง ฟันเงื้อสีดา หงษ์ปีกหัก ท่ายักษ์ พระรามแผลงศร เชิญเทียนตัดเทียน มอญส่องกล้อง ลับหอกลับดาบ ช้างประสานงา กาล้วงไส้ พญาครุฑยุดนาค และ เรียงหมอน ชื่อท่าไพเราะทั้งนั้น ท่ากลยุทธ์ ท่ากลศึก ท่าตัดข้อตัดเอ็น  27 ท่า และท่าหนุมานเชิญธอีก 48 ท่า มีชื่อท่าทั้งนั้นครับ
บันทึกการเข้า
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 03 มิ.ย. 13, 18:29

จำได้ลางๆ ว่าอาจารย์คึกฤิทธิ์เคยเขียนไว้ในขุนช้างขุนแผนฉบับอ่านใหม่ แต่ตอนนี้ผมไม่มีหนังสืออยู่ในมือ ท่านอธิบายไว้ด้วยครับ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 04 มิ.ย. 13, 21:56

พอดีเปิดเข้ามาเจอ เลยอยากจะแนะนำงานวิจัยเล่มนี้ครับ "http://www.sac.or.th/databases/ethnicredb/research_detail.php?id=630"

ผมเป็นคนหนึ่งที่ฝึกดาบอาทมาฏครับ ทุกวันนี้เราก็ยังฝึกกันอยู่ที่สำนักฯ
โดยส่วนตัวผมแล้วคำว่าอาทมาตหรือ อื่นๆที่ออกเสียงคล้ายกันผมคิดว่าหมายถึง กองทหารมอญ ครับ แต่วิชาดาบนั้นจากที่ในหนังสือสารคดีนั้นว่าเป็นวิชาดาบที่ถูกฉีกออกแล้วไปเก็บใว้ทางเหนือนั้น ผมมีความเห็นต่างจากนั้น
คือผมเชื่อประการหนึ่งว่าเป็นวิชาที่สมเด็จพระนเรศใช้สอนลูกขุนนางที่เกณฑ์มาฝึกวิชาที่พิษณุโลกเมื่องครั้งทรงเสด็จกลับมาจากการเป็นองค์ประกัน
เหตุผลหนึ่งที่สนับสนุนว่าวิชาดาบที่สำนักดาบอาทมาฏนเรศวรฝึกเป็นวิชาดาบที่ทรงสอน คือ "เป็นวิชาที่ผสมผสานวิชาดาบ หลายวิชาเข้าด้วยกัน เช่นวิชาดาบเหนือ วิชาดาบไต และรวมเข้ากับวิชาดาบของอยุธยา เป็นวิชาดาบที่เราฝึกอยู่ สังเกตุง่ายๆวิชาดาบทางเหนือและพม่าจะเน้น ตัดปาด วิชาดาบของอยุธยาจะเน้นปะทะ แต่อาทมาฏมีทั้งสองวิชานี้ ซึ่งคนที่จะคิดรวมวิชาดาบหลายๆวิชาเข้าเป็นวิชาเดียวกันนั้นผมไม่เห็นจะมีใครไปได้นอกจากสมเด็จพระนเรศ อาจเป็นไปได้มากว่าทรงเรียนวิชาดาบมาจากพม่าโดยที่พระองค์ทรงเป็นวิชาดาบของอยุธยาอยู่ก่อนแล้ว จึงทรงรวมวิชาดาบนี้ขึ้นมาใหม่ แต่การที่วิชาดาบนี้ไม่แพร่หลายไป อาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราชวงศ์ในแต่ละครั้งนั้นมักฆ่าขุนนางที่จงรักภักดีราชวงศ์เดิมเสียเป็นส่วนมาก จึงทำให้วิชานี้หายไปกับการเปลี่ยนราชวงศ์ แต่ยังมีฝึกอยู่ในกลุ่มคนมอญไม่แพร่หลายออกไป
อีกประการหนึ่งคือชื่อท่าต่างๆ ล้วนเป็นชื่อที่ถูกตั้งมาเป็นอย่างดี มีชื่อไม่ใช่น้อย เช่น ท่าแม่ไม้สามท่า ก็เรียกคลุมไตรภพ ไม้รำ12ท่า ท่าไม้รำสอดสร้อยมาลา เสือลากหาง ฟันเงื้อสีดา หงษ์ปีกหัก ท่ายักษ์ พระรามแผลงศร เชิญเทียนตัดเทียน มอญส่องกล้อง ลับหอกลับดาบ ช้างประสานงา กาล้วงไส้ พญาครุฑยุดนาค และ เรียงหมอน ชื่อท่าไพเราะทั้งนั้น ท่ากลยุทธ์ ท่ากลศึก ท่าตัดข้อตัดเอ็น  27 ท่า และท่าหนุมานเชิญธอีก 48 ท่า มีชื่อท่าทั้งนั้นครับ

ตอนแรกผมก็เกือบจะเชื่อแล้วครับ แต่เผอิญได้ยินข่าวมาว่า ครูสุริยา ที่เป็นผู้สืบทอดวิชามา ก่อนที่จะถ่ายทอดให้มาจนสู่รุ่นหลัง ที่ในหนังสือสารคดีบอกว่าหายไปแล้วตามหาไม่เจอนั้น ผมเพิ่งทราบข่าวมาว่า ก็มีคนไปเจอท่าน จนสุดท้ายที่ท่านถึงแก่กรรมครับ

ถ้าจะว่าผสมดาบเหนือ ผมยังพอเป็นไปได้ เพราะหลาย ๆ ท่าเช่น สีไคล หรือ บิดบัวบาน ก็ยังพอมีเค้าลางพอจะกล้อมแกล้มไปเป็นพื้นฐานให้ได้ แต่ถ้าว่าเป็นก้าแลว (วิชาดาบไทใหญ่) มาผสมด้วย ผมว่าไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะก้าแลวที่เคยเห็น ส่วนใหญ่จะมีท่าดาบที่กระชับ รัดกุม ไม่มีลีลาเหมือนดาบสายเจิงหลาบเหนือทั่ว ๆ ไป เหมือนที่คนยวน คนลื้อ ใช้เลยสักนิดครับ

 
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 04 มิ.ย. 13, 22:04

้ก้าแลว โดยครูส่างคำ จางยอด
IRQ7fidHv80

คลิปนี้ อิมพอร์ต จากดอยไตแลง ฐานของ SSA เจ้ายอดศึก
zbi74RJDN9Y

นี้ก็อิมพอร์ตจากรัฐฉาน ครูส่างคำ พามาแสดงที่ จุฬาฯ
KEVAFMCm6ng

คลิปนี้ ของ อ้ายนิฮอน 
pTOqSwdHPTU
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 04 มิ.ย. 13, 22:19


นี่คือเจิงสายลื้อ ของพ่อหนานสาม ผู้ล่วงลับ
ZL6uwchbQUI

นี่สายของ อ้ายแสบ หรือ ตุ๊แสบ ในปัจจุบัน สายนี้ผมจำชื่อพ่อครูไม่ได้ แต่เป็นสำนักใหญ่ในเชียงใหม่ ถ้าจำไม่ผิด จะเป็นสายของพ่อครูคำสุข ช่างสาน
nQcT0nQxtE8
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.083 วินาที กับ 19 คำสั่ง