เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 7318 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 23 เม.ย. 13, 21:45

ต้นราชสกุล สุประดิษฐ์ ณ อยุธยา


บันทึกการเข้า
giggsmay
ชมพูพาน
***
ตอบ: 135


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 24 เม.ย. 13, 10:13

 ;Dมาขอนั่งที่โต๊ะหน้ากระดานดำเลยคะ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร พระประวัติของพระองค์ท่านไม่เป็นที่เผยแพร่สักเท่าไหร่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 24 เม.ย. 13, 11:21

    ย้อนกลับไปเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ยังทรงดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎอยู่ในรัชกาลที่ 2    พระชันษายังไม่ถึงปีผนวช   ก็ทรงมีหม่อมแล้วหนึ่งคน  ชื่อหม่อมน้อย 
    หม่อมน้อย เมื่อเกิดมาควรจะมีฐานันดรศักดิ์เป็นหม่อมเจ้า  เพราะว่าบิดาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า  พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช   ทรงพระนามว่าเจ้าฟ้าชายทัศไภย    ซึ่งประสูติในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิงฉิม) ธิดาของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช (หนู)   เจ้าฟ้าชายทัศไภยมีพระเชษฐาองค์หนึ่งทรงพระนามว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศพงศ์ ต้นราชสกุล "พงษ์สิน"
    เมื่อเปลี่ยนราชวงศ์    บรรดาพระราชโอรสสมเด็จพระเจ้าตากสินก็เปลี่ยนฐานะจากเจ้านายลงมาเป็นสามัญชน    ส่วนหนึ่งได้เข้ารับราชการ    สมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศไภยและพระเชษฐาทรงมีความรู้ทางการแพทย์  จึงได้เป็นแพทย์หลวงประจำอยู่ในราชสำนัก บรรดาศักดิ์พระพงศ์นรินทร์และพระอินทร์อภัย(หรือบางแห่งเรียกว่าพระอินทร์อำไพ)
    พระอินทร์อภัยลักลอบรักใคร่กับเจ้าจอมในรัชกาลที่ 2  ถูกจับได้ถือเป็นการผิดกฎมนเทียรบาลอย่างร้ายแรงจึงถูกประหารชีวิต  แต่ลูกเมียก็อยู่เป็นปกติต่อมา ไม่ได้รับโทษแต่อย่างใด
    หม่อมน้อยได้เป็น "ข้างใน" ของเจ้าฟ้ามงกุฎ  มีพระโอรส 2 องค์ ตอนแรกประสูติดำรงพระยศเป็นหม่อมเจ้า  องค์แรกคือหม่อมเจ้านพวงศ์  และองค์ที่สองคือหม่อมเจ้าสุประดิษฐ์
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 24 เม.ย. 13, 11:44

    ในปลายรัชกาลที่ 2  สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จประทับอยู่ที่พระราชวังเดิมทางฝั่งธนบุรี   กับหม่อมน้อยและหม่อมเจ้าชายลูกเธอเล็กๆ 2 องค์ดังกล่าว    เมื่อหม่อมเจ้าชายนพวงศ์พระชันษาได้ 2 ขวบ  หม่อมเจ้าสุประดิษฐ์พระชันษาได้ 1 เดือนกว่าๆ     พระชนกก็ออกผนวช  ตามธรรมเนียมของกุลบุตรในสมัยนั้น     พระองค์ท่านก็คงไม่ได้ตั้งพระทัยว่าจะผนวชอย่างถาวร  เพราะพระราชภารกิจทางบ้านเมืองในฐานะสมเด็จเจ้าฟ้าก็ยังรออยู่อีกมาก    
   พอผนวชได้แค่ 15 วัน  ก็เกิดเหตุผันผวนทางบ้านเมืองอย่างนึกไม่ถึง  คือพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ เกิดประชวรหนักอย่างกะทันหัน   ประชวรแค่ 1 วันก็ตรัสไม่ได้อีก   จึงมิได้ทรงออกพระโอษฐ์มอบราชสมบัติให้เจ้านายพระองค์ใด   ประชวรอยู่ 7 วันก็เสด็จสวรรคต      เจ้านายที่อยู่ในข่ายที่จะได้ราชสมบัติมี 2 พระองค์อย่างที่รู้ๆกันคือกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์และเจ้าฟ้ามงกุฎ   แต่กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงมีบารมีมากกว่า  
     เมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎทรงปรึกษาหารือเจ้านายผู้ใหญ่ที่ทรงเคารพนับถือควรจะเอาราชสมบัติไหม    มีกรมขุนอิศรานุรักษ์ผู้เป็นน้า เพียงพระองค์เดียวที่เห็นควร นอกนั้นบอกว่ายังไม่ถึงเวลา เช่น กรมหมื่นเดชาดิศร และกรมหมื่นนุชิตชิโนรส หรือสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส  เจ้าฟ้ามงกุฎจึงตัดสินพระทัยผนวชต่อโดยไม่มีกำหนดสึก
    หม่อมเจ้าเล็กๆสององค์นั้นจึงอยู่กับหม่อมแม่ต่อมา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 เม.ย. 13, 21:03 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 24 เม.ย. 13, 11:54

     ผู้ที่ยื่นมือเข้ามาอุปถัมภ์ค้ำจุนหม่อมเจ้านพวงศ์และหม่อมเจ้าสุประดิษฐ์ คือ "สมเด็จพระอัยกี"  สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีพันปีหลวง ผู้เป็นพระราชชนนีในสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎนั่นเอง     สมเด็จพระศรีสุริเยนทรท่านประทับอยู่ที่พระราชวังเดิมกับพระราชโอรสองค์เล็ก เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์(หรือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว)  ก็ทรงชุบเลี้ยงพระนัดดาเล็กๆ 2 องค์นี้ต่อมา  มีโอกาสก็พาเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ อยู่เป็นประจำ
     มีเรื่องเล่าซึ่งลือกันมาผิดๆ ว่า หม่อมเจ้าเล็กๆทั้งสององค์นี้เข้าไปอยู่ในวังกับกรมขุนกัลยาสุนทร   และพระนามนพวงศ์กับสุประดิษฐ์เป็นพระนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ    แต่ตามความจริงแล้วไม่ใช่     ทั้งสององค์ทรงอยู่กับสมเด็จย่าที่พระราชวังเดิมมาตลอด   ส่วนพระนาม ทรงได้กันมาจากคนละแห่ง   พระนามนพวงศ์ ทรงได้รับจากสมเด็จพระสังฆราช(ญาณสังวร) เป็นผู้ถวาย    ส่วนพระนามสุประดิษฐ์เป็นพระนามพระราชทานจากสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎเอง
    
     เจ้านายเล็กๆสององค์นี้เป็นสุขอยู่ใต้พระบารมีสมเด็จพระศรีสุริเยนทรฯ มาจนหม่อมเจ้านพวงศ์พระชันษา 15 ปี  หม่อมเจ้าสุประดิษฐ์พระชันษา 13 ปี   สมเด็จย่าก็เสด็จสวรรคต
     เหตุการณ์ในช่วงนี้ ขาดรายละเอียดที่เป็นหลักฐานเอกสาร   มีแต่คำบอกเล่าว่า ครอบครัวเล็กๆที่มีแต่แม่และลูกชาย ก็เกิดอาการ "บ้านแตก" ต้องแยกย้ายกันไปคนละทาง   ทั้งสององค์ก็มาผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศ  อาศัยพระบารมีอยู่ใกล้ชิดพระราชชนกอยู่ชั่วระยะหนึ่ง
     ส่วนหม่อมน้อย  ก็ออกจากพระราชวังเดิมมาอาศัยพระพงษ์นรินทร์ ผู้เป็นลุงอยู่ที่บ้านของท่าน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 24 เม.ย. 13, 18:56

      ทั้งหม่อมเจ้านพวงศ์และหม่อมเจ้าสุประดิษฐ์น่าจะบรรพชาเป็นสามเณรอยู่หลายพรรษา   จนพระชันษาครบปีบวชถึงได้ผนวช  แต่ทั้งสององค์ก็มิได้มุ่งจะเอาดีในทางธรรม  แต่สมัครพระทัยจะกลับมาทางโลกเสียมากกว่า      
      เมื่อสมเด็จพระบรมชนกมีพระราชประสงค์จะให้พระโอรสผนวชต่อไปไม่มีกำหนดสึก เพื่อเล่าเรียนเอาความรู้ชั้นเปรียญ      หม่อมเจ้านพวงศ์ก็ทรงมาถึงทางแยกว่าจะเดินทางไหนดี   ทรงตัดสินพระทัยว่าเอาทางโลกดีกว่า  ก็หนี ลาสิกขาบท   ทำเอาโดนกริ้ว    ถึงกับต้องหลบหนีออกจากกรุงเทพไปซ่อนองค์อยู่ที่เขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี   ร้อนถึงเจ้าฟ้ามงกุฎต้องส่งคนไปติดตามเอาพระโอรสกลับมา   ทรงลงโทษ ขังไว้ใต้พระปั้นหยาสักพัก  พอหายกริ้วก็พระราชทานอภัยโทษให้
    เวลานั้นหม่อมเจ้านพวงศ์เป็นหนุ่มเต็มตัวแล้ว พระชันษา 19  ก็เกิดประชวรพระโรคเรื้อรังขึ้นมา รักษาลำบาก   เจ้าฟ้ามงกุฎจึงให้ออกไปรักษาองค์อยู่ที่บ้านพระพงษ์นรินทร์ผู้เป็นพี่ชายของคุณตา      หม่อมเจ้านพวงศ์เกิดผูกสมัครรักใคร่กับหญิงสาวชื่อนกแก้ว   เมื่อความทราบถึงเจ้าฟ้ามงกุฎก็ทรงให้พระพงษ์นรินทร์เป็นผู้ใหญ่ไปสู่ขอ  ก็ทรงอยู่กันมาจนมีพระโอรส พระนามภายหลังว่าพระองค์เจ้าจิตราภรณ์
    เมื่อทรงมีครอบครัวแล้ว  จะอาศัยพระพงษ์นรินทร์อยู่ก็ลำบาก  เพราะบ้านช่องมีแต่จะคับแคบขึ้นทุกที     เจ้าฟ้ามงกุฎจึงขอให้พระพงษ์นรินทร์จัดการซื้อที่ดินแปลงหนึ่ง ปลูกบ้านให้พระโอรส  ก็ทรงอยู่บ้านนั้นมาจนตลอดรัชกาลที่ 3
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 เม.ย. 13, 21:07 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 24 เม.ย. 13, 19:07

   ส่วนหม่อมเจ้าสุประดิษฐ์ เมื่อเจริญพระชันษาขึ้นเป็นหนุ่ม ก็ทรงก่อประวัติศาสตร์ซ้ำรอยกับเจ้าพี่ขึ้นมาอีกองค์หนึ่ง     คือไม่สมัครพระทัยจะเอาดีทางธรรม  แต่จะเอาดีทางโลก    ไม่ทราบว่าทรงทูลขอสมเด็จพระราชชนกแล้วไม่โปรดประทานให้ หรือว่าไม่กล้าขอกันแน่     รู้แต่ว่าวันหนึ่งก็หนีสิกขาบท ลาผนวชแบบเดียวกันเอาดื้อๆ
   หม่อมเจ้าสุประดิษฐ์ตั้งแต่เยาว์พระชันษา ทรงเป็นหลานชายที่ทูลกระหม่อมอาโปรดปรานมาก    ทูลกระหม่อมอาที่ว่านี้ก็คือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์       สาเหตุที่โปรดปรานก็คือเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศท่านโปรดทรงปืน  ก็หัดหลานเล็กๆทั้งสององค์ให้หัดยิงปืน      ปรากฏว่าหม่อมเจ้านพวงศ์ไม่โปรดปืน ก็ทรงหลีกเลี่ยงไม่ค่อยจะหัด    ผิดกับหม่อมเจ้าสุประดิษฐ์ที่ไม่กลัวปืนมาแต่เด็ก   เมื่อผู้ใหญ่สอนให้ยิงก็ยิง    จึงเป็นที่โปรดปรานราวกับเป็นพระราชโอรสองค์หนึ่ง       เมื่อสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯเสด็จขึ้นครองวังหน้า  ก็โปรดเกล้าฯ อนุญาตเป็นพิเศษ ให้หม่อมเจ้าสุประดิษฐ์ซึ่งขณะนั้นทรงกรมเป็นกรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธรแล้ว  จะเสด็จเข้านอกออกในวังหน้าเมื่อใดก็ได้ทั้งสิ้น เหมือนกับเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ     ส่วนหม่อมเจ้านพวงศ์มิได้ทรงรับสิทธิพิเศษข้อนี้
    เมื่ออากับหลานรักกันมากเช่นนี้     หม่อมเจ้าสุประดิษฐ์รู้องค์ว่าลาผนวชโดยไม่ได้รับพระราชานุญาตเป็นต้องโดนเจ้าฟ้ามงกุฎกริ้วหนักแน่นอน  ก็ทรงหนีร้อนไปพึ่งเย็นที่ทูลกระหม่อมอา   คือพอออกจากวัดบวรนิเวศก็ข้ามฟากไปพระราชวังเดิมที่ประทับ  แล้วอาศัยพระบารมีคุ้มภัยอยู่ที่นั่น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 24 เม.ย. 13, 20:25

   เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศฯหรือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงรับหม่อมเจ้าสุประดิษฐ์ไว้ด้วยดี     ต่อมา เมื่อมีพระบรมราชโองการจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ให้ทรงบัญชาการทัพ เดินทางไปรบกับญวน  ก็ทรงนำหลานเธอองค์นี้ไปในกองทัพด้วย    เมื่อหม่อมเจ้าสุประดิษฐ์ไปกราบบังคมลาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ  เพื่อจะไปทัพ ก็ได้รับพระกรุณาพระราชทานเสื้อเยียรบับไปในการออกศึกครั้งนี้
   ทั้งขาไปและขากลับ  พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงพระกรุณาหม่อมเจ้าสุประดิษฐ์มาก    ทรงเอาไว้ใกล้พระองค์ตลอด   โปรดให้บรรทมในห้องเดียวกัน  ทรงดูแลเป็นอย่างดี  จนกระทั่งกลับมาถึงกรุงเทพ     ในตอนนั้นหม่อมเจ้าสุประดิษฐ์ทรงเป็นหนุ่มเต็มตัวแล้ว    คงจะถึงเวลามีหม่อมห้าม  จึงเสด็จไปอาศัยอยู่กับหม่อมเจ้านพวงศ์พระเชษฐา ที่คลองบางลำพูฝั่งเหนือ   และอยู่ที่บ้านเดียวกันจนตลอดรัชกาลที่ 3

   เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ    พระราชโอรสทั้งสองพระองค์ก็ทรงเลื่อนพระอิสริยยศขึ้นเป็นพระองค์เจ้าตามโบราณราชประเพณี    สมเด็จพระบรมราชชนกพระราชทานสร้อยพระนามว่าพระองค์เจ้าชายนพวงศ์ วรองค์เอกอรรคมหามกุฎ ปรมุตมราโชรส และพระองค์เจ้าชายสุประดิษฐ วรฤทธิราชมหามกุฎ บุรุษยรัตนราชวโรรส
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 24 เม.ย. 13, 20:40

       บัดนี้ เจ้านายทั้งสองพระองค์ก็กลายเป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ เป็นพระราชโอรสเพียง 2 พระองค์ในขณะนั้นของพระเจ้าแผ่นดิน     พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานวังให้ประทับอยู่ แยกกันเป็นสัดส่วน        วังของพระองค์เจ้านพวงศ์ คือที่เดิมซึ่งเคยเป็นบ้านของพระพงษ์นรินทร์ และรวมบ้านพระอินทร์อภัยคุณตาของพระองค์ท่านด้วย     ขณะนั้นบ้านว่างอยู่  ไม่มีเจ้าของเพราะพระพงษ์นรินทร์ถึงแก่กรรมไปตั้งแต่ในรัชกาลที่ 3      ส่วนบ้านที่เคยเป็นของพระองค์เจ้านพวงศ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯก็ทรงยกให้เป็นวังของพระองค์เจ้าสุประดิษฐ์
      พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดปรานพระราชโอรสทั้ง 2 พระองค์ในฐานะพระเจ้าลูกยาเธอรุ่นใหญ่  ทรงหวังว่าจะได้เป็นกำลังของบ้านเมือง และเป็นที่พึ่งของพระราชโอรสธิดาที่จะประสูติในภายหน้า       ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาทั้งสองพระองค์ขึ้นทรงกรมเป็น กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส  และ  กรมหมื่นวิษณุนาทนิภาธร
       แต่มารดาคือเจ้าจอมมารดาน้อยนั้นมีเรื่องให้ไม่โปรด จนกลายเป็นกริ้วหนัก    เห็นได้จากพระราชหัตถเลขาฉบับวันพุธขึ้น 5 ค่ำ เดือน 12  พ.ศ. 2398   ทรงมีไปถึงเจ้าจอมที่โปรดปรานคือเจ้าจอมมารดาผึ้ง มีข้อความตอนหนึ่งว่า

      " ข้าออกเรือกระบวรมาจากตำหนักน้ำ...ขึ้นมาถึงวัดเขมาตลาดแก้ว เวลาเช้า    มีเรือเก๋งลำหนึ่งพายตามขึ้นมา  แข่งเรือที่นั่งของข้า   เกินหน้าเรือตำรวจ  เรือที่นั่งรองทุกลำ   แข่งจนเก๋งเคียงเรือกันยาเรือที่นั่ง   แต่แรกข้าสำคัญว่านางหนูลูกรำเพย( หมายถึงเจ้าฟ้าหญิงจันทรมณฑล) จะร้องไห้   มารดาจะให้เอาใส่เรือเก๋งขึ้นมาส่งให้ข้ากระมัง ข้าจึงร้องถามไปว่าเรือใคร  เรือนั้นมีม่านบังมิด  มีผู้หญิงนั่งท้ายหลายคน  เรือตำรวจตามไปก็สำคัญว่าเรือข้างในในกระบวน  จึงไม่มีใครห้ามปล่อยให้พายขึ้น  สรรเพธภักดีร้องถามหลายคำก็ไม่บอก   ข้าถามหลายคำว่าอะไรๆ เรือใครก็ไม่บอก   บ่าวผู้หญิงข้างท้ายก็หัวร่อเยาะด้วยบานเต็มที่ จนคนในเรือที่นั่งโกรธว่าหัวร่อเยาะ  ข้าคิดจะเอาปืนยิงตามกฎหมาย  ก็กลัวจะถูกคนตายเขาจะลือไปว่าดุร้ายใจเบาทำคนตายง่ายๆ  พายแข่งไล่เรือที่นั่งอยู่นาน เห็นผิดทีแล้ว  จึงได้ร้องให้ตำรวจไล่จับ  ครั้นเรือไปจับจะฉุดเรือมาจึงพายหนีห่างออกไป  ไล่ไปไกลจึงได้ตัวเรือมา  ได้ความว่าเป็นเรือมารดากรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส มาทำหน้าเป็นเล่นตัว ล้อข้าต่อหน้าธารกำนัล  น่าชังนักหนา  ข้าสั่งให้พระอินทรเทพจับคุมเรือลงมาส่งตัวนายเข้ามาให้จำไว้ บ่าวให้จำไว้ข้างหน้า  ข้าได้เขียนหนังสือมาให้กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาสทราบแล้ว  ได้มีไปสั่งถึงท้าวศรีสัจจา  ท้าวโสภสนิเวศน์ ให้เอาตัวจำไว้ให้มั่นคง กว่าข้าจะกลับลงไป  อยากจะใคร่ให้เอาๆตัดหัวเสียตามสกุลพ่อมัน แซ่นี้มักเป็นเช่นนั้น"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 24 เม.ย. 13, 21:04

  แต่พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงกริ้วไปอย่างนั้นเอง      กลับมาถึงกรุงเทพ  กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาสทูลขอพระราชทานอภัยโทษให้มารดา  ก็พระราชทานอภัยให้   

  เจ้าจอมมารดาน้อยถึงแก่กรรมในรัชกาลที่ 4 นั้นเอง   ปลงศพที่สวนหลังวังกรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร    ถึงตรงนี้  ขอเล่าเกร็ดเพิ่มเติมว่ากรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร ทรงสร้างวัดขึ้นในเนื้อที่ตรงนั้น    และสร้างเจดีย์ขึ้นตรงที่ปลงศพเจ้าจอมมารดาน้อย    พอสร้างไปได้เล็กน้อย ไม่ทันแล้วเสร็จก็สิ้นพระชนม์เสียก่อน เมื่อ พ.ศ. 2405    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ  จึงทรงโปรดให้กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาสทรงสร้างวัดต่อ แต่ก็สิ้นพระชนม์อีกใน 5 ปีต่อมา ในพ.ศ. 2410 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงรับเป็นผู้สร้างวัดต่อมาจนสำเร็จ พระราชทานนามวัดว่า วัดตรีทศเทพ มีความหมายว่า "เทวดาสามองค์เป็นผู้สร้าง"

     ในการนี้ทรงสร้างพระพุทธรูปประธานถวายในพระอุโบสถ   โปรดฯให้สร้างพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร 2 องค์ เพื่ออุทิศฉลองแก่ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร และกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส ประดิษฐานไว้สองข้างพระพุทธรูปประธาน
บันทึกการเข้า
giggsmay
ชมพูพาน
***
ตอบ: 135


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 24 เม.ย. 13, 21:33

 :Dมารอท่านอาจารย์ตั้งแต่บ่ายสนุกมากเลยคะอยากจะเรียนต่อไม่ทราบว่าท่านอาจารย์มีเกร็ดชีวิตเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับ พระองค์เจ้านพวงศ์ และ พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ อีกมั้ยคะ พอดีเคยอ่านในนิตยสารพลอยแกมเพชรอ่านเจอแว่บๆว่า รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดพระธิดาของพระองค์เจ้านพวงศ์จนพระเจ้าลูกยาเธอของรัชกาลที่ 4 อิจฉาเอาอ่ะคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 24 เม.ย. 13, 21:36

ในพ.ศ. 2410 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงรับเป็นผู้สร้างวัดต่อมาจนสำเร็จ พระราชทานนามวัดว่า วัดตรีทศเทพ มีความหมายว่า "เทวดาสามองค์เป็นผู้สร้าง"

ตรีทศ ตามรูปศัพท์แปลได้ว่า สิบสาม (หรือสิบสามครั้ง = สามสิบ)

วัดตรีทศเทพจึงน่าจะแปลว่า วัดแห่งเทวดาสิบสาม (หรือสามสิบ) องค์ แต่มิใช่เช่นนั้น หากแปลว่า วัดแห่งเจ้าชายสามพระองค์  (ตรี = สาม ทศเทพ มาจาก ทสาเทพ = ชายเทวดา ก็คือเจ้าชายนั่นเอง)  ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 24 เม.ย. 13, 21:43

:Dมารอท่านอาจารย์ตั้งแต่บ่ายสนุกมากเลยคะอยากจะเรียนต่อไม่ทราบว่าท่านอาจารย์มีเกร็ดชีวิตเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับ พระองค์เจ้านพวงศ์ และ พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ อีกมั้ยคะ พอดีเคยอ่านในนิตยสารพลอยแกมเพชรอ่านเจอแว่บๆว่า รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดพระธิดาของพระองค์เจ้านพวงศ์จนพระเจ้าลูกยาเธอของรัชกาลที่ 4 อิจฉาเอาอ่ะคะ
มีเกร็ดอีกนิดหน่อยค่ะ   อีกวันสองวันน่าจะจบกระทู้นี้ได้

ข้อพิสูจน์ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงรักพระราชโอรสพระองค์ใหญ่มากแค่ไหน  คือกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส เคยถวายพระธำมรงค์ให้สมเด็จพระบรมราชชนก     สมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงสวมติดนิ้วพระหัตถ์อยู่เสมอ  รับสั่งว่า
" เป็นแหวนของพ่อใหญ่   ถ้าหากว่าหายคิดถึงเมื่อไร ก็จะถอด"   
แต่ก็ไม่เคยถอดเลย  ตราบจนเสด็จสวรรคต


บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 25 เม.ย. 13, 07:35

     หม่อมเจ้านพวงศ์เกิดผูกสมัครรักใคร่กับหญิงสาวชื่อนกแก้ว   เมื่อความทราบถึงเจ้าฟ้ามงกุฎก็ทรงให้พระพงษ์นรินทร์เป็นผู้ใหญ่ไปสู่ขอ  ก็ทรงอยู่กันมาจนมีพระธิดา พระนามภายหลังว่าพระองค์เจ้าจิตราภรณ์


อาจารย์คะ  หม่อมเจ้าจิตราภรณ์ เป็นพระโอรสค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 25 เม.ย. 13, 09:16

ขอบคุณค่ะ  ในหนังสือไม่ได้บอกว่าเป็นชายหรือหญิง เลยเข้าใจจากพระนามว่าเป็นหญิง

(ต่อ)

พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯสถาปนาทรงกรม  เป็นกรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร  เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 12 แรม 11 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก พ.ศ. 2399   ทำหน้าที่บังคับบัญชาราชการในกรมพระคลังมหาสมบัติ
เจ้ากรม คือ หมื่นวิษณุนาถนิภาธร
ปลัดกรม   หมื่นดัษกรกำราบ
สมุห์บัญชี   หมื่นทราบสกลการ

นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯยังพระราชนิพนธ์โคลงประทานพร  9 บท  ซึ่งน่าจะหาอ่านได้ยากแล้วในปัจจุบัน จึงขอนำลงทั้งหมด ตามนี้
(คงตัวสะกดแบบเดิม)

                  สุประดิษฐ์เจ้าบัดนี้                        มียศ
              เป็นต่างกรมปรากฏ                           ชื่อแล้ว
              จงเกษมส่างกำสรด                           เสวยศุข เทอญพ่อ
              จงปราศสรรพภัยแผ้ว                         ผ่องพ้นอันตราย

                 จงสบายกายพ้นโรค                       ร้อยประการ
              จงสถิตย์นับพรรษกาล                        เกือบร้อย
              จงทรงยศยิ่งนาน                              เสมอสม่ำ ไปเทอญ
              สมบัติอย่าได้น้อย                             เร่งได้โดยเจริญ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 20 คำสั่ง