มีเกร็ดเกี่ยวกับคำโบราณคำหนึ่งที่น่าสนใจในงานประพันธ์โคลงของจิตร คือคำว่า
"ขดานดือ"ในโคลงที่ชื่อว่า "จึ่งหมู่เขาเอ่ยอ้า โอษฐ์พร้องพธูไทย" ซึ่งจิตรเขียนเพื่อต้อนรับลมหนาวและการประกวดนางงาม ในนามปากกา "ขวัญนรา" ตีพิมพ์ครั้งแรกใน นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์สามัคคี ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๓ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙ ให้ความหมายของคำว่า "ขดานดือ" ไว้สั้น ๆ ว่า
ส่วนของร่างกายนับจากสะดือถึงหัวเหน่าดำเนินทวยระทดแท้ เทียวหนอ
ผายสะโพกสองเพลาคลอ คลั่งเคล้น
ขดานดือ ๒ เพล็ดแพล็มรอ รัดรูป โอยแม่
ทวยระทึกสะท้านเต้น ตุบเต้นติวตัว
๒ ขดานดือ (น.) ส่วนของร่างกายนับจากสะดือถึงหัวเหน่า ในกวีนิพนธ์ "คาวกลางคืน" ซึ่งจิตร ภูมิศักดิ์เขียนเมื่ออีก ๘ ปีต่อมาคือ พ.ศ. ๒๕๐๗ ก็มีศัพท์คำนี้
ฟลอร์โชว์ร่านร้อนยั่ว ยวนกระสือ
แอ่นอกโกยกามกระหือ หื่นไหม้
สยิวครางลูบ ขดานดือ เอวแตะ โอยแม่
(เสนอภาพแพร่พันธุ์ไว้ ยั่วย้อมเยาวชน)
จิตรอธิบายศัพท์คำนี้เพิ่มเติมว่า
"ขดานดือ" หมายถึง
บริเวณหน้าท้องที่ราบเหมือนแผ่นกระดาน นับแต่บริเวณสะดือลงไป คำนี้เป็นศัพท์สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น (จิตรหมายถึงระยะก่อนกรุงศรีอยุธยาเล็กน้อย จนกระทั่งถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒) มีใช้ในโคลงกำสรวลและทวาทศมาสตัวอย่างในกำสรวลสมุทรที่คุณม้าเคยยกมาแสดง
๒๑ จากมามาแกล่ไกล้ บางขดาน
ขดานราบคือขดานดือ ดอกไม้
มาเกาะกำแยลาญ ลุงสวาท กูเอย
ถนัดกำแยย้าใส้ พี่คาย ฯ
