เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 2835 ถามเรื่องหลังจากที่เรือรบฝรั่งเศสมาจอดหน้ากงสุล
ไพลินภัทร
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


 เมื่อ 17 เม.ย. 13, 20:50

คือดิฉันกำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องวิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒ อยู่ค่ะ
แต่บังเอิญได้เจอกับคนๆ หนึ่ง เขาเปรยว่า หลังจากที่เรือรบฝรั่งเศสเข้ามาจอดเทียบท่าในพระนครแล้ว
มีทหารเรือที่เคยสังกัดอยูกับสมเด็จพระปิ่นเกล้า วางแผนกันจะปีนเรือฝรั่ง นัดแนะวันเวลากันเรียบร้อย
แต่ความทราบถึงรัชกาลที่๕ เสียก่อน ท่านเลยสั่งห้ามไว้ แล้วให้มาเข้าเวรเฝ้าวังแทน
(ท่าทางจะคนละคดีกับพระพิเรนทร์นะคะ)

ครั้งจะถามคนที่ให้ข่าว เขาก็อันตรธานไปแล้ว เลยไม่ได้ความอะไร
พยายามหาข้อมูลตามอินทรเนตรก็ไม่พบข้อมูลใดที่พออ้างอิงได้
สรุปว่าเรื่องนี้จริงเท็จประการใด หากอาจารย์ท่านไหนทราบ โปรดไขข้อสงสัยให้ทีนะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 17 เม.ย. 13, 21:13

ไม่เคยได้ยินค่ะ   อาจจะมีผู้รู้ในเรือนไทยมาให้ความกระจ่างได้

สงสัยอยู่นิดหน่อยว่า  ฝรั่งเศสมาปิดปากอ่าวไทยเมื่อพ.ศ. 2437(ร.ศ. 112)   พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯเสด็จสวรรคตไปเมื่อพ.ศ. 2408  เกือบสามสิบปีก่อนหน้านี้  ก่อนหน้าสวรรคตก็ประชวรด้วยพระโรคเรื้อรังอยู่ถึง 5 ปี   
ทหารวังหน้าหนุ่มๆ ที่ฝึกกันมาอย่างน้อย 34 ปีก่อนหน้าร.ศ. 112   อายุคงจะเลยห้าสิบกว่าไปจนหกสิบ   ยังปีนเรือรบไหวหรือ?
บันทึกการเข้า
ไพลินภัทร
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 17 เม.ย. 13, 21:32

สงสัยอยู่เหมือนกันค่ะ
ก่อนหน้านี้เคยเปิดดูวันสวรรคตของพระปิ่นเกล้า ซึ่งเวลาห่างกันเอาเรื่องทีเดียว
ก็เลยสงสัยอยู่ลึกๆ ว่าหนูจะโดนท่านผู้นั้นวางยาเอา
แต่เห็นว่าประเด็นมันน่าสนใจก็เลยยังไม่ปัดตก
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 17 เม.ย. 13, 22:02

หลังพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯเสด็จสวรรคตเมื่อพ.ศ. 2408  กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงกำกับดูแลทหารเรือวังหน้าต่อมาจวบจนพ.ศ. 2428 จึงเสด็จทิวงคต พระบาทสมเด็จพระเจ้าจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงโอนทหารเรือวังหน้ามาขึ้นกับวังหลวงทั้งหมด หลังจากนั้นอีกนาน จึงเกิดเหตุการณ์ ร.ศ.112 ในพ.ศ.2436
 
ดังนั้นเรื่องที่คุณไพลินภัทรถามมาจึงน่าจะเป็นเรื่องยกเมฆยิ่งกว่าเป็นเรื่องเล่นพิเรนท์เสียอีก

สำหรับผู้ที่ไม่เคยได้ยินเรื่องพิเรนท์นะครับ มีผู้เล่าเอาไว้ดังนี้

เมื่อเกิดเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ฝรั่งเศสนำเรือรบเข้ามาคุกคามไทย ครั้งนั้นตำรวจหลวงผู้หนึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็นพระพิเรนทร์เทพ ฝึกบ่าวไพร่และอาสาสมัครให้ดำน้ำทน เพื่อไปเจาะเรือรบฝรั่งเศสให้จม บางคนดำน้ำแล้วทนไม่ไหวก็โผล่ขึ้นมา คุณพระพิเรนทร์ฯ คนนี้ก็ใช้ไม้ถ่อคอยค้ำคอกดน้ำไว้ ถึงกับมีคนตายจึงต้องเลิกฝึก ตั้งแต่นั้นมา ถ้าใครทำเรื่องประหลาดก็จะพูดกันว่า"เล่นอย่างพิเรนทร์" หรือเล่นอย่างพระพิเรนทร์เทพผู้นั้นเอง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 18 เม.ย. 13, 06:31

สำหรับผู้ที่ไม่เคยได้ยินเรื่องพิเรนท์นะครับ มีผู้เล่าเอาไว้ดังนี้

เมื่อเกิดเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ฝรั่งเศสนำเรือรบเข้ามาคุกคามไทย ครั้งนั้นตำรวจหลวงผู้หนึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็นพระพิเรนทร์เทพ ฝึกบ่าวไพร่และอาสาสมัครให้ดำน้ำทน เพื่อไปเจาะเรือรบฝรั่งเศสให้จม บางคนดำน้ำแล้วทนไม่ไหวก็โผล่ขึ้นมา คุณพระพิเรนทร์ฯ คนนี้ก็ใช้ไม้ถ่อคอยค้ำคอกดน้ำไว้ ถึงกับมีคนตายจึงต้องเลิกฝึก ตั้งแต่นั้นมา ถ้าใครทำเรื่องประหลาดก็จะพูดกันว่า"เล่นอย่างพิเรนทร์" หรือเล่นอย่างพระพิเรนทร์เทพผู้นั้นเอง

คำว่า พิเรนทร์ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ในกฎหมายตราสามดวง พระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง ปรากฏราชทินนามระบุไว้ว่า "หลวงพิเรณเทพบดีศรีสมุหะ เจ้ากรมพระตำรวจใหญ่ขวา ตราคนถือหวายมือขวา นา ๒๐๐๐"

ผู้เล่าเรื่องพระพิเรนทร์ฯ กับหน่วยจู่โจมสมัย ร.ศ. ๑๑๒ คือพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ  ไกรฤกษ์)  บุตรชายของท่านคือนายแพทย์นวรัต  ไกรฤกษ์ เขียนตามคำบอกเล่าเอาไว้ในหนังสือปกิณกะในรัชกาลที่ ๕ พิมพ์ในการทำบุญฉลองอายุครบ ๘๐ ปี ของมหาเสวกเอก พระยาบุรุษรัตนราชวัลลภ (นพ ไกรฤกษ์) จัดพิมพ์เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ ดังนี้

เมื่อไทยเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสใน ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) นั้น มีพลเมืองที่นิยมทางไสยศาสตร์เกี่ยวกับการอยู่ยงคงกระพันล่องหนหายตัวได้ คิดอาสาสมัครออกรบกับฝรั่งเศส มีพระตำรวจหลวงผู้หนึ่งราชทินนามว่า พระพิเรนทรเทพ ออกความคิดจะจัดตั้งและฝึกหัดหน่วยจู่โจมพิเศษ โดยให้ดำน้ำไปเจาะเรือรบฝรั่งเศสให้จม พระพิเรนทร์ฯ ได้จัดการฝึกหัดบ่าวไพร่และผู้อื่นที่อาสาสมัครในคลองหน้าบ้านของท่านทุกวัน เพื่อให้เกิดความชำนาญและดำน้ำได้ทนเป็นพิเศษ แต่บางคนดำน้ำได้ไม่นานก็โผล่ขึ้นมา พระพิเรนทร์ฯ ต้องใช้ไม้ถ่อค้ำคอไว้ไม่ให้โผล่ขึ้นมาเร็วเกินไปจนเกิดมีการตายขึ้นจากการกระทำดังนั้น ความคิดที่จะจัดตั้งหน่วยจู่โจมพิเศษจึงต้องล้มเลิกไป พวกชาวบ้านจึงพากันเรียกการกระทำของพระพิเรนทร์ฯ ว่า "เล่นอย่างพิเรนทร์" ซึ่งเป็นคำพูดติดปากกันต่อมา เมื่อมีใครทำสิ่งใดแผลง ๆ อุตรินอกลู่นอกทางในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ หรือไม่ควรกระทำ จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ "เล่นพิเรนทร์" หรือเป็น "คนพิเรนทร์"

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 18 เม.ย. 13, 10:05


มีทหารเรือที่เคยสังกัดอยูกับสมเด็จพระปิ่นเกล้า วางแผนกันจะปีนเรือฝรั่ง นัดแนะวันเวลากันเรียบร้อย
แต่ความทราบถึงรัชกาลที่๕ เสียก่อน ท่านเลยสั่งห้ามไว้ แล้วให้มาเข้าเวรเฝ้าวังแทน

ถ้าทหารเรือชรากลุ่มนั้นวางแผนจะเข้าโจมตีเรือรบฝรั่งที่ปากอ่าว  โดยพลการ  ไม่ขออนุญาตผู้บังคับบัญชาทั้งๆเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่โต  ระดับสงครามระหว่างประเทศ
ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ   พระองค์ท่านคงไม่ทรงทำแค่ให้ท่านเหล่านี้งกเงิ่นกันมาเข้าเวรเฝ้าวัง  แต่น่าจะลงพระราชอาญาหนัก    อย่างเบาก็จำคุก
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 20 คำสั่ง