เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5]
  พิมพ์  
อ่าน: 32304 ผมได้อ่านเรื่องราวของจิตร ภูมิศักดิ์ มีเรื่องตอนนึงที่สงสัยเกี่ยวกับ CIA
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 05 พ.ค. 13, 18:57

สหายไฟ - นายผี - อัศนี  พลจันทร  กล่าวถึงวาระสุดท้ายของ จิตร  ภูมิศักดิ์ ว่า การล้มของเขาเป็นการล้มที่ยิ่งใหญ่กว่าการล้มของ ซีซาร์, อาเธอร์ และนารายณ์มหาราช

สุจริต  สัจจพิจารณ์ ได้กล่าวถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิตของ จิตร  ภูมิศักดิ์ ไว้เช่นกัน เชิญคุณชูพงศ์และชาวเรือนไทยเข้าไปติดตามอ่านได้โดยพลัน ใน จากโซ่ตรวนถึงความตาย วาระสุดท้ายแห่งชีวิต จิตร ภูมิศักดิ์  โดย สุจริต  สัจจพิจารณ์

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 11 พ.ค. 13, 14:41

ชีวิตและผลงานของ จิตร ภูมิศักดิ์

เผยแพร่ทางสถานีไทยพีบีเอส   ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 14 พ.ค. 13, 07:51

พิธีเปิดอนุสรณ์สถาน จิตร ภูมิศักดิ์ โดย ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ  วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 15 พ.ค. 13, 18:58

ความทรงจำของ สุภา ศิริมานนท์ เกี่ยวกับ จิตร ภูมิศักดิ์

 จาก นิตยสาร "ทางอีศาน" ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๓ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๖   หน้า ๔๐  ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 15 พ.ค. 13, 19:25

ภาพจากนิตยสารฉบับเดียวกัน หน้า ๓๕  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เด็กชายน้อย
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 15 พ.ค. 13, 22:54

ผมสงสัยอีกแล้วครับ ว่าทำไม ญ ของจิตรไม่มีตีน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 15 พ.ค. 13, 23:12

จิตร ภูมิศักดิ์ เขียนอธิบายไว้ในบทความเรื่อง "เชิงอักษรไทย" ต้นฉบับเขียนไว้เมื่อ พ.ศ.  ๒๔๙๔ และนำมารวมพิมพ์อยู่ในหนังสือ "ศัพท์สันนิษฐานและอักษรวินิจฉัย" โดยสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. ๒๕๔๘ หน้า ๒๗๕ - ๒๘๕





รายละเอียดมากกว่านั้น คุณแป๋มได้กรุณาถ่ายภาพบทความจากหนังสือดังกล่าวลงไว้ที่ พันทิป ทั้งหมดแล้ว

คุณเด็กชายน้อยตามไปอ่านได้ตามอัธยาศัย

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 18 พ.ค. 13, 20:17

บทความอาจจะยาวไปหน่อย คุณม้าได้สรุปไว้สั้น ๆ ดังนี้

มีบทความของจิตร ภูมิศักดิ์ที่เขียนถึงเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจอยู่ในหนังสือชื่อ ศัพท์สันนิษฐานและอักษรวินิจฉัย พิมพ์โดยสนพ.ฟ้าเดียวกัน ปี ๒๕๔๘ ลองหาดูจากร้านหนังสือนะครับ


จิตรสันนิษฐานไว้ดังนี้


1.เชิงของ ญ มาจากเชิงของอักษรขอม รูปไม่ได้เหมือนไม้หันอากาศ แต่เหมือนตัวบนของ ญ

2.ในชั้นต้นไทยเอามาใช้ในการสังโยค โดยเชิง ญ นี้จะอยู่ใต้อักษรอื่นๆในคำเช่น ปรัชญา จะเขียนเอาเชิง ญ ไปอยู่ใต้ ช แทนที่จะอยู่บนบรรทัด รูป ญ ทีี่่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันจึงหมายถึง ญญ นั่นเอง ลักษณะนี้จิตรตรวจสอบพบในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยบางหลัก เขียน สัญญา ในรูป สัญา


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 18 พ.ค. 13, 20:28

3.ใช้กันนานเข้าเกิดความสับสน เชิง ญ ใต้อักษรอื่น(เช่น ช ในปรัชญาดังที่ได้กล่าวถึงข้างต้น) เขียนหวัดจนคนรุ่นหลังไม่รู้ว่าคือตัวอะไร ถึงยุคหนึ่งถึงกับใช้ ฯ เป็นเชิงแทนจนนักอักษรศาสตร์รุ่นหลังบางท่านสันนิษฐานว่าใช่ ฯ เพื่อละ ญ (แต่จิตรไม่เห็นด้วย) และในที่สุดก็เลิกใช้กันไป ในขณะที่ ญ กลายรูปเป็นเขียนแบบมีเชิงในทุกที่และมีความหมายเท่ากับ ญ ตัวเดียว


4.หลังจากช่วงที่จิตรเขียนบทความนี้ (๒๔๙๔ ในขณะที่จิตรเป็นนิสิตอักษรศาสตร์ จุฬาฯ) จิตรเริ่มเขียน ญ แบบไม่มีเชิง(เพราะเห็นว่าเขียนกันเพราะความสับสน)


เก็บความตามความรู้ความเข้าใจอันจำกัดของผมนะครับ ผู้สนใจแนะนำให้หาอ่านหนังสือจะดีที่สุดครับ เพราะมีบทความที่น่าสนใจอีกหลายเรื่องด้วยครับ



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 25 พ.ค. 13, 09:15

เวลา ๖ ปีผ่านไป ก่อนที่คนรุ่นใหม่ซึ่งเสาะแสวงหาประวัติศาสตร์สำหรับจิตสำนึกของตนจะมาค้นพบจิตร และเริ่มสร้างชีวิตของเขาขึ้นมา ตอนแรกที่กลุ่มศึกษาวรรณกรรมของธรรมศาสตร์กลุ่มหนึ่งเกิดสะดุดใจกับหนังสือ ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน ในห้องสมุดกลางของมหาวิทยาลัย นักศึกษากลุ่มนี้มิอาจระบุตัวผู้เขียนได้ และไม่รู้ว่าจะจัดเขาหรือเธอเอาไปไว้ตรงไหนในประวัติวรรณกรรมไทย ขณะนั้นเมื่อคนรุ่นใหม่เริ่มคิดเกี่ยวกับนัยของเหตุการณ์วันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ ในแง่มุมของประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมไทย ศูนย์กลางหนึ่งของความเคลื่อนไหวในการพยายามค้ำจุนวรรณคดีแบบใหม่เริ่มต้นเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา ด้วยกิจกรรมรวบรวมชีวประวัติของจิตรและขุดเอาผลงานของเขาขึ้นมาเผยแพร่  ชลธิรา สัตยาวัฒนา นักศึกษาและอาจารย์สอนวรรณคดีหัวใหม่คนหนึ่งจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินการรวบรวมรายละเอียดและเอกสารเกี่ยวกับชีวิตของจิตร คนในแวดวงมหาวิทยาลัยคนอื่น ๆ อย่างเช่น ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เป็นคนนำจิตรกลับมาจากชายขอบ และเสนอความเห็นสนับสนุนความเลื่องชื่อทางวิชาการของเขา เหตุดังนั้นจึงเท่ากับเป็นความพยายามที่จะนำเอานักเขียน-หน้าที่ในทางวิชาการมาให้แก่ชื่อจิตร ภูมิศักดิ์ เมื่อชลธิราเข้าป่าหลังวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙  “เมือง บ่อยาง” และ โลกหนังสือ ก็รับภาระต่อจากที่เธอทำค้างเอาไว้ และสืบค้นหาผลงานของเขาตลอดจนเอกสารเกี่ยวกับชีวประวัติของเขาเพิ่มขึ้น เพื่อใช้ดึงชีวิตหรือผลงานของเขาให้กลับคืนมาจากการสกัดและการแยกตัวออกอย่างที่มันถูกกำหนดให้เป็น แสงเงิน แม่ของจิตร คือแหล่งข้อมูลคนสำคัญ ตราบถึงวันตายของเธอเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ เธอผูกพันอย่างลึกซึ้งกับลูกชายของเธอตลอดชีวิตของเขา

จิตรมีความสำคัญยิ่งต่อจิตสำนึกของคนรุ่นใหม่ เห็นได้จากเมื่อตอนคนรุ่นหนุ่มสาวเข้าป่าหลังการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเมื่อวันที่  ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ พวกเขายังคนเข้าไปตั้งคำถามเกี่ยวกับเขาอยู่ ชีวิตของพวกเขาตอนนี้รวมเป็นหนึ่งเดียวกับของจิตรแล้วในการปฏิวัติต่อต้านรัฐบาลไทย การกบฏของจิตรถือเป็นแม่แบบสำหรับคนหนุ่มสาวทั้งหลาย จริง ๆ แล้วเขาตายอย่างไรกันแน่ ช่วงเวลาที่เขาอยู่กับพรรคนั้นเป็นอย่างไรกัน ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับคนในระดับเสมอกันเป็นอย่างไร แกนนำของ พ.ค.ท. ยังงงไม่หายกับความดึงดูดใจที่บุคคลหนึ่ง ซึ่งเห็นพ้องต้องกันแล้วว่า มีบทบาทเพียงเล็กน้อยในประวัติศาสตร์ของพรรคมีต่อผู้อื่น เนื่องในโอกาสครบรอบวันตายของจิตร เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ประวุฒิ ศรีมันตะเพื่อนสมัยเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยของจิตรคนหนึ่ง ซึ่งตอนนั้นตัวเขาเองก็อยู่ในป่าด้วย ได้จัดการสนทนาเรื่องชีวิตของจิตร เขาได้เล่าถึงความตายของจิตรด้วย  และเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ผู้นำ พ.ค.ท. ได้จัดการประชุมเพื่อแสดงความยกย่องจิตร และคนรุ่นเดียวกันอีกสองคนคือ เสนาะ มงคล กับ สมพงศ์ พึ่งประดิษฐ์ เพื่อประกาศยกย่องพวกเขาให้เป็นปัญญาชนคนสำคัญของพรรค

ชีวิตหรือผลงานของจิตร ภูมิศักดิ์ เริ่มมีโอกาสเผยแพร่สู่งานเขียนที่เป็นภาษาอังกฤษเป็นครั้งแรกในราวช่วงเวลานี้ด้วยเช่นกัน คือในบทความชื่อ “Jit Phumisak : Profile of a Revolutionary intellectual” ของเธเดียส ฟลัด (Thadeus Flood)  เมื่อข้าพเจ้าไปแสดงปาฐกถาเกี่ยวกับงานวิจัยของตัวเองที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ ห้องประชุมมีคนนั่งอยู่เต็มเพื่อรอฟังนักวิชาการชาวต่างประเทศพูดถึง “จิตร ภูมิศักดิ์” นิตยสารทางวรรณกรรมที่สำคัญในสมัยนั้นส่ง “เมือง บ่อยาง” มาจดบันทึกการปาฐกถา และโอกาสอันนี้ทำให้เกิดหนังสือเล่มหนึ่งตามมา ซึ่งได้ถ่ายทอดข้อสังเกตบางประการของข้าพเจ้า นี่เป็นพยานหลักฐานเพิ่มขึ้นคือ แขกจากโพ้นทะเลเพิ่มเติมส่วนของเขาลงไปในเรื่องราวของจิตรด้วย จิตร “ที่เป็นนักวิชาการ” ยังคงอยู่ในขั้นตอนของการถูกจัดให้เข้าที่เข้าทาง และการพูดคุยในเดือนตุลาคมครั้งนั้น ยังคงเป็นเหตุให้การขุดคุ้ยยังดำเนินต่อไปได้อีก


จาก บทความเรื่อง จิตร ภูมิศักดิ์ ในประวัติศาสตร์ไทย โดย Craig J. Reynolds  ในหนังสือ เจ้าสัว ขุนศึก ศักดินา ปัญญาชน และคนสามัญ รวมบทความประวัติศาสตร์ของ เครก เจ. เรย์โนลด์ส หน้า ๑๗๘-๑๗๙


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 27 พ.ค. 13, 14:27

เมื่อสมัยจิตร ภูมิศักดิ์ยังศึกษาอยู่ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้สนิทชิดเชื้อกับดร.วิลเลียม จอห์น เก็ดนีย์ ดุษฏีบัณทิตทางอักษรศาสตร์ฝ่ายภาษาโบราณตะวันออก ชาวอเมริกัน ที่ได้รับทุนรัฐบาลสหรัฐให้มาศึกษาวรรณกรรมไทย เป็นเวลาสองปี ซึ่งเมื่อหมดทุน ดร.เก็ดนีย์ ก็ไม่ยอมกลับประเทศ อาศัยความสามารถทางภาษาทำมาหาเลี้ยงตนเองโดยการรับแปลเอกสารต่าง ๆ ให้กับหน่วยงานของอเมริกาในไทย

จิตรจึงได้มาอยู่กับ ดร.เก็ดนีย์ กินฟรีอยู่ฟรี โดยแลกกับการทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ และช่วย ดร. เก็ดนีย์ ทำมาหากินแปลเอกสาร เป็นการตอบแทน ตั้งแต่เรียนปีหนึ่งที่จุฬาฯ  มีงานแปลเอกสารงานหนึ่งซึ่งว่ากันว่าซีไอเอว่าจ้างผ่านทาง ดร. เก็ดนีย์คือ แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto) โดยมีจุดประสงค์จะนำไปให้เจ้าหน้าที่และนักการเมืองไทยศึกษา เพื่อประโยชน์ด้านการต่อต้านคอมมิวนิสต์



ในบทความข้างบน เครก เจ. เรย์โนลด์ส ได้กล่าวถึงตอนนี้ไว้ในหน้า ๑๕๘  ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 31 พ.ค. 13, 12:22

ถึงวันพรากเขาลงมาจากยอดเขา ใต้เงามหานกอินทรี
ล้อมยิงโดยกระหยิ่มอิ่มในเหยื่อตัวนี้ โชคดีสี่ขั้นพันดาว....


คนที่ตายเป็นหัวหน้าใหญ่ มันเป็นการตัดเหง้าคอมมิวนิสต์แถวนี้เลยครับ เขามาจากกรุงเทพฯ มีความรู้ด้วย จบอักษรศาสตร์มั้ง ผมมารู้ทีหลังว่า เขาโกหกแม่ว่าจะมาทำงานก่อสร้างทางสายพังโคนถึงวาริชภูมิ เป็นงานปราบปรามชิ้นโบแดงของผม พอดีทางรัฐบาลรู้ข่าวจึงสั่งให้เปลี่ยนตัวกำนันภาคอีสานที่จะเดินทางไปดูงานที่อเมริกา จากนายกลึง ทิพย์ทอง กำนันตำบลช้างมิ่ง อำเภอพรรณานิคม เป็นนายคำพล แล้วให้จังหวัดนำตัวผมไปทำพาสปอร์ตที่กรุงเทพฯทันที ผมไม่คิดไม่ฝันมาก่อนเลยว่าจะได้ไปอเมริกา

คำพล อำพน (กำนันแหลม) ผู้ลั่นกระสุนสังหาร จิตร ภูมิศักดิ์



วีรกรรมของกำนันแหลมอยู่ในบทความของ เครก เจ. เรย์โนลด์ส หน้า ๑๗๖  ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 20 คำสั่ง