เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 38651 แซมมวล ไวท์ : การเมืองเรื่องฝรั่ง สมัยสมเด็จพระนารายณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 25 เม.ย. 13, 09:32

เอาขนมกับน้ำชาอังกฤษมาเสิฟเด็กๆก่อนค่ะ   รอเปิดเรียน


บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 25 เม.ย. 13, 20:49

  ชอบเข้ามาเรียนห้องนี้ เพราะนอกจากจะได้สาระที่ไม่เคยรู้ ก็ยังได้ชีวิตชีวาจากภาพแบบข้างบนด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 25 เม.ย. 13, 21:16

ถ้าหากว่ากระทู้นี้ยาว  ก็จะไม่เสิฟแค่ขนมน้ำยา  แต่จะถึงขั้นดินเนอร์ด้วยเลยค่ะ   ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 25 เม.ย. 13, 21:17

เอาภาพวาดของสมเด็จพระนารายณ์ที่ฝรั่งวาดมาให้ดูกันพลางๆก่อน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 27 เม.ย. 13, 14:52

น่าจะเป็นภาพวาดในจินตนาการของฝรั่ง

เหมือนดั่ง ภาพนี้ องค์ทางขวาพระเกศาสีทองเสียด้วย  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 28 เม.ย. 13, 14:29

    ในสมัยนั้นเจ้าเมืองหรือเจ้าท่าที่เขี้ยวลากดินไม่ได้มีแต่แซมมวล ไวท์คนเดียว     อะไรที่ไวท์ทำกับคนอื่น  คนอื่นก็ทำกับเขาได้เหมือนกัน  คนที่เป็นเจ้าเมืองค้าขายทางทะเลในยุคมือใครยาวสาวได้สาวเอา   ไม่มีกฎหมายนานาชาติมาควบคุม ย่อมจะต้องเป็นอะไรทำนองก๊อดฟาเธอร์อยู่ไม่มากก็น้อย   ไม่งั้นคงกินตำแหน่งนี้ไม่ได้นาน  ไม่ถูกฝ่ายตรงข้ามโค่นก็ถูกพวกเดียวกันชิงเก้าอี้ไปจนได้
    ไวท์จึงเจอคู่ปรับที่สมน้ำสมเนื้อกัน อันได้แก่อาลี บีค เจ้าเมืองมาสุลิปาตัม ( Masulipatam) ที่ในหนังสือบอกว่าจงใจกลั่นแกล้งไวท์ให้ได้รับความเสียหายเรื่องส่งสินค้าไปขายอยู่หลายครั้ง        ด้วยเหตุผลว่าไม่พอใจที่เมืองมะริดตกไปอยู่ในมือผู้บริหารชาวอังกฤษ แทนที่จะเป็นแขกพวกเดียวกันอย่างเมื่อก่อน     

    เมื่อสินค้ามาถึงเมืองนี้  เจ้าเมืองก็รีดนาทาเร้นเอาบ้าง แกล้งให้เกิดอุปสรรคต่างๆบ้าง    จนสินค้าจากเมืองมะริดเสียหายขาดทุน ไวท์เข้าเนื้อหนักเข้าจนโกรธแค้น ทนไม่ไหวก็คิดจะใช้กำลังปราบปรามอาลี บีคให้ราบ  โดยถือว่าอาลี บีคทำตัวเป็นปรปักษ์ร้ายแรงกับสยาม  ทั้งๆที่จริงแล้ว   สินค้าที่เสียหายมากกว่าสินค้าท้องพระคลังหลวงก็คือสินค้าของไวท์เองน่ะแหละ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 28 เม.ย. 13, 14:42

   แซมมวล ไวท์ทำหนังสือราชการมาถึงกรุงศรีอยุธยา  สาธยายให้ฟังถึงปัญหา แล้วทำเรื่องขออนุมัติขอให้สร้างเรือรบออกไปเล่นงานเรือของแคว้นกอลคันดาอันเป็นแคว้นที่อาลี บีคสังกัดอยู่   จับเรือของแคว้นเป็นเชลยเพื่อขู่ให้อาลี บีคยอมจำนน  ยอมจ่ายค่าเสียหายให้สยาม     ไวท์ยังแถมไปด้วยว่าพวกขุนนางมอญที่เป็นพวกอิสลามทางตอนใต้ก็ชักจะกำเริบก่อเรื่องขึ้นมาทำนองเดียวกัน     ก็ควรจะปราบปรามเสียให้เรียบ ในทำนองเดียวกัน
   ไม่นาน ไวท์ก็ได้หนังสือตอบจากเจ้าพระยาวิชเยนทร์ซึ่งเป็นบิ๊กสุดอยู่ในกรุงศรีอยุธยา   ตอบมาอย่างรอบคอบด้วยชั้นเชิงนักการทูตและนักการค้าเจนจัดว่าไวท์   ว่าเรื่องนี้ในเมื่อเป็นข้อขัดแย้งระหว่างอาณาจักร ก็ต้องทำตามขั้นตอน   อย่างแรกคือทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร บรรยายต้นสายปลายเหตุ พร้อมหลักฐาน   ยื่นให้เจ้าผู้ครองแคว้นกอลคันดาอย่างเป็นทางการเสียก่อน     ว่าทางสยามเสียหายอย่างไร ขนาดไหน จากขุนนางของพระองค์      ถ้าทางพระราชาฝ่ายโน้นยอมจ่ายค่าเสียหายก็จะได้จบกันไปไม่ต้องมีเรื่อง      แต่ถ้าดื้อแพ่งไม่ยอมจ่าย   ก็ให้ดัดแปลงเรือชื่อพรอสเพอรัสซึ่งเป็นเรือปืนประจำอยู่ที่มะริดให้เป็นเรือรบ    ให้กัปตันชาวอังกฤษชื่อจอห์น โค้ตส์ เป็นผู้บังคับการเรือ    นำเรือออกไปจับเรือพ่อค้าของกอลคันดาเป็นเชลย เพื่อยึดเป็นค่าเสียหาย
   วิชเยนทร์ไม่ลืมที่จะแถมท้าย กำชับกำชาอย่างเข้มงวด ว่าการจู่โจมทางทะเลครั้งนี้อย่าได้เผลอไปแตะต้องเรือของบริษัทอีสต์อินเดียเข้าเป็นอันขาด       เพราะวิชเยนทร์รู้ดีว่า แม้บริษัทที่อินเดียไม่มีเรือรบของตัวเอง เพราะมุ่งค้าขายอย่างเดียว  จึงไม่อยากเรียกเรือรบมาประจำอยู่ให้เปลืองค่าบำรุงและค่ากลาสีเปล่าๆปลี้ๆ    แต่ถ้าเมื่อใดถูกหางเลขจากการรบกันของสยามและกอลคันดา   อันเป็นเหตุให้เสียหายถึงกำไรที่พึงได้แล้ว   บริษัทจะต้องฟ้องรัฐบาลอังกฤษ   เมื่อนั้นก็กำลังรบก็จะถูกส่งมา     เท่ากับสยามไปแหย่เสือหลับเข้าให้แล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 28 เม.ย. 13, 14:51

    วัตถุประสงค์ของพระเอกและพระรองในตอนนี้เริ่มแตกต่างกัน   พระรองหรือเจ้าพระยาวิชเยนทร์ อยากได้กำไรจากการทำศึก แต่ไม่อยากให้อยุธยาเสี่ยงแม้แต่น้อยนิด      ส่วนพระเอกคือไวท์ไม่ได้เอาใจใส่ประโยชน์ที่จะเข้าท้องพระคลังมากกว่าเข้ากระเป๋าตัวเอง    เมื่อได้หนังสือราชการฉบับนี้    ก็เนื้อเต้น ถือว่าวิชเยนทร์เปิดไฟเขียวให้นายสยามขาวได้ทำมาหากินได้กว้างขวางเต็มเหนี่ยวกว่าก่อน 

   ไอ้เรื่องเรียกค่าเสียหายจากอาลี บีค หรือพระราชานั้น  ไวท์ไม่ค่อยอยากได้นัก  เพราะได้เงินมาก็เข้าท้องพระคลังอยุธยาไปเป็นส่วนใหญ่     สู้ได้ไฟเขียวมายึดเรือสินค้าต่างๆเป็นเชลยไม่ได้   กำไรเข้ากระเป๋ามากกว่ากันแยะ      แต่เมื่อท่านเจ้าพระยาผู้บังคับบัญชาสั่งมา   ข้าราชการอย่างไวท์ก็ทำตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง ใครจะมาตำหนิภายหลังไม่ได้  คือให้ตัวแทนของตัวเองทำบัญชี  โก่งค่าเสียหายเสียสูงลิบ   ยื่นไปให้กอลคันดา เพื่อพระราชาและอาลี บีคเห็นแล้วส่ายหน้าว่าใครมันยอมจ่ายก็บ้าแล้ว     ระหว่างนั้น  ไวท์ก็ทุ่มงบประมาณตกแต่งเรือปืนให้เป็นเรือรบ พรั่งพร้อมด้วยปืนใหญ่และกระสุนดินดำ  เพื่อจะโจมตีทางทะเลได้ด้วยกำลังเหนือกว่าเรือพ่อค้าทั่วไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 28 เม.ย. 13, 21:06

  แซมมวล ไวท์มีลูกน้องมือขวาเป็นคนอังกฤษเหมือนกันชื่อจอห์น โค้ทส์   ซึ่งมีนิสัยเอาแต่ได้ไม่แพ้นาย     จึงทำงานเข้าคู่กันได้ดี    ไวท์แต่งตั้งโค้ทส์เป็นกัปตันเรือรบ  เอาเรือออกทะเลไปเพื่อจะยึด(หรือพูดให้ตรงคือปล้น) เรือค้าขายในแถบทะเลอินเดียและฝั่งใต้ของพม่าให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้      แต่ห้ามไปแตะต้องเรืออังกฤษของบริษัทอีสต์อินเดียเป็นอันขาด     
  ในตอนแรกนี้ หน้าที่ของกัปตันโค้ทส์คือแล่นเรือตรงไปที่เมืองมัทราสก่อน เพื่อชี้แจงกับตัวแทนบริษัทที่โน่นว่า ที่มานี่ มาทำการในนามราชการสยาม     แล้วอย่าแวะเปล่าๆ ให้ถือโอกาสซื้อเสบียงอาหารและกระสุนดินดำเพิ่มเติมให้เต็มเพียบ     อย่าลืมจ้างกลาสีฝรั่งมาเป็นลูกเรือ    สรุปความว่าทำทุกอย่างเพื่อให้ปล้นสะดมในนามของอาณาจักรสยามได้ผลสมมุ่งหมาย

   เมื่อโค้ทส์พาเรือรบออกจากท่ามะริดไปแล้ว    ทางเมืองหลวงก็ส่งสารตราฉบับใหม่ไล่หลังมาเป็นการด่วน  สั่งเพิกถอนคำสั่งแรกที่อนุญาตให้ไปเล่นงานเรือสินค้าของกัลคอนดา     สาเหตุนั้นอาจเป็นได้ว่าสมเด็จพระนารายณ์ทรงเห็นว่าไม่ควรจะวู่วามทำสงครามกับอาณาจักรใกล้เคียง  ด้วยเหตุเพียงแค่นี้     หรือไม่ก็เป็นได้ว่าพ่อค้าแขกที่มะริดรู้ว่าไวท์กำลังจะไปปล้นสะดมเรือสินค้าของพวกตนที่ขึ้นล่องอยู่ในทะเลอินเดีย    ก็เลยทำเรื่องร้องเรียนไปที่อยุธยา  ขอให้ระงับทำศึกกับอาลี บิคไว้ก่อน   ไม่งั้นการค้าแถวนั้นล่มจมหมดแน่

   เหตุผลแท้จริงจะเป็นอย่างไหนก็ตาม    ไวท์ถือว่าสั่งลูกน้องมือขวาออกเรือไปคราวนี้เท่ากับพยัคฆ์ติดปีก   ยังไงเงินทองก็กองอยู่ข้างหน้าแล้วเห็นๆ   จะมาถอยเรือกลับเข้าท่า ก็หมดท่า   จึงไม่ยอมทำตามคำสั่งจากราชการ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 28 เม.ย. 13, 22:45

มาสุริปาตัมอยู่ในรัฐอานธรประเทศทางใต้ฝั่งตะวันออกของอินเดีย เป็นเมืองท่าที่ชาวอังกฤษมาตั้งสถานีการค้าในอ่าวเบงกอลเป็นแห่งแรกในปี1611 ตามประวัติศาสตร์ของเมืองนี้กล่าวว่าในระหว่างปี1686ถึง1756 ฝรั่งเศสและดัตช์ผลัดกันเข้ามายึดครอง สุดท้ายอังกฤษสามารถเข้ามาแย่งชิงกลับมาจากฝรั่งเศสได้อีกในปี1759 และผนวกอยู่ในเครือจักรภพจนกระทั่งอินเดียได้รับเอกราช ประวัติศาสตร์ของเมืองนี้ไม่ได้กล่าวถึงไวท์และลูกน้องมาประกาศสงครามในนามของสยามกับที่นี่ ซึ่งระบุว่าเป็นปี1685เลย

เมืองกอลคันดายิ่งหนักเข้าไปใหญ่ ด้วยอยู่ลึกจากมาสุริปาตัมเข้าไปในแผ่นดินใหญ่กว่า๓๒๐กิโลเมตร เรือรบลำเดียวจะมีสิทธิ์ไปข่มขู่อะไรเขาได้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 28 เม.ย. 13, 22:46

รูปเขียนของเมืองมาสุริปาตัมในปี1676 จะเห็นว่าเป็นเมืองท่าที่ดูมั่นคงกว่ามะริดมาก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 28 เม.ย. 13, 22:48

ส่วนเมืองกอลคันดาเป็นเมืองป้อมขนาดใหญ่ที่สร้างไว้ป้องกันกองทัพมุสลิมที่รุกเข้ามาจากเหนือ ปัจจุบันทรากป้อมนี้ยังเป็นสถานที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ดี


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 29 เม.ย. 13, 09:21

       สงสัยว่าสมเด็จพระนารายณ์อาจจะมารู้ทีหลัง   ขุนนางแขกในราชสำนักที่เป็นพวกเดียวกับพ่อค้าคงจะทูลว่าส่งเรือรบลำเดียวไปทำสงครามกับแคว้นนี้   ก็เท่ากับส่งเรือไปเที่ยวทะเลแล้วกลับมาเท่านั้น   เสียงบประมาณเปล่าๆ  ไม่รวมกับถูกอาลี บีคหรือพระราชาหัวร่อเอางอหายอีกด้วย    แต่จุดประสงค์แอบแฝงของไวท์  สมเด็จพระนารายณ์ไม่ทรงทราบ
       ที่มะริดมีเรือใหม่อีกลำหนึ่งเพิ่งต่อเสร็จ   ชื่อว่าเรือ "โดโรธี" (Dorothy)  ไวท์ตั้งใจจะทำเป็นเรือรบอีกลำหนึ่งไว้เสริมกำลังเรือลำแรก    เมื่อมีคำสั่งจากอยุธยามาถึง ในฐานะเจ้าท่าจะทำไม่รู้ไม่ชี้ไม่ได้    ไวท์ก็เลยสั่งขนปืนใหญ่ติดตั้งลงในเรือโดโรธีให้เป็นเรือรบ   สั่งฝรั่งอีกคนชื่อครอปลีย์ให้ทำหน้าที่กัปตันเรือ   เอาเรือลำที่สองนี้ออกไล่หลังเรือลำแรก  ให้ไปทันกันที่มัทราส    เพื่อยื่นหนังสือให้กัปตันโค้ทส์อย่างเป็นทางการ
      เรื่องดำเนินงานนี้  พระเอกเราเล่นลูกไม้ 2 แบบคือแบบเป็นทางการก็ทำตามคำสั่งจากอยุธยาไม่มีขาดตกบกพร่อง    เมื่อมีสารตราออกมาให้ระงับยับยั้งทำศึก    เจ้าท่าก็รีบส่งข่าวไปยับยั้งกับเรือรบ     แต่แบบที่ไม่เป็นทางการคือไวท์แอบส่งจดหมายฉบับที่สองแนบไปด้วย     ในนั้นสั่งโค้ทส์ว่าไม่ต้องทำตามคำสั่งจากอยุธยา  ให้เดินหน้าดำเนินการต่อไปอย่างที่วางแผนไว้แต่แรก    ถ้าเกิดอะไรขึ้นไวท์จะรับผิดชอบเอง      โค้ทส์ไม่ต้องรับผิด    แต่ถ้าทำตามแผนได้สำเร็จคือเที่ยวยึดเรือเชลยขนถ่ายสมบัติมาเข้ากระเป๋าได้มาก     ไวท์จะแบ่งส่วนให้อย่างงาม เรียกว่าเป็นเศรษฐีกันทั้งคู่
    เราก็คงเดาได้ไม่ยากว่า เมื่อโค้ทส์อ่านข้อความหมดทั้ง 2 ฉบับแล้วจะเลือกทำอย่างสมเด็จพระนารายณ์ทรงสั่งมา หรือทำอย่างที่ไวท์บอกให้ทำ
       
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 29 เม.ย. 13, 10:04

ถ้าใครอ่านเรื่องที่นายมอรีส คอลลีสเขียนชีวประวัติแซมมวล ไวท์ก็คงยากยิ่งที่จะทราบว่าตรงไหนเป็นเรื่องจริง ตรงไหนเป็นนิยาย
แต่เดี๋ยวนี้ง่ายขึ้นมาก ถ้าสงสัยที่ใดก็คลิ๊กหาอินทรเนตร ให้ท่านสอดส่องให้เราได้

อย่างเช่นที่ผมสงสัยว่า มะริดห่างจากมาสุริปัตนำตั้ง๑๙๐๐กิโลเมตร นายไวท์ส่งเรือลำที่สองไปตามหาเรือลำแรก ในสมัยที่มิได้มีไอโพน ไอแพดให้ติดต่อนั้น จะไปเจอกันได้ง่ายๆอย่างไร

แถมสั่งให้ไปทันกันที่มัทราช เมืองที่ไม่ใช่ทางผ่าน แต่อยู่ห่างมาสุริปัตนำไปทางใต้อีกเกือบ๔๐๐กิโลเมตร ถ้าเจอได้จริงก็คงเป็นเรื่องปาฏิหารย์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 29 เม.ย. 13, 10:26

  ไวท์สั่งให้กัปตันโค้ทส์นำเรือลำแรกไปที่มัทราส เพื่อจะแจ้งกับบริษัทอีสต์อินเดียให้ทราบว่ามาทำราชการในนามของสยาม    เรือคงจะพักอยู่ที่นั่นหลายวันหรืออาจจะแรมเดือน  กว่าจะซื้อเสบียง กระสุนและหาลูกเรือเพิ่มเติมได้ครบ       เมื่อส่งเรือลำที่สองตามมา ก็คงกะว่าเรือลำแรกยังอยู่ที่มัทราส  ส่งสารให้โค้ทส์ได้ที่นั่น กระมังคะ

   เรื่องที่คอลลิสเขียนขึ้น  รวบรวมจากจดหมายของไวท์  บันทึกและจดหมายเหตุในยุคนั้น   ต่างก็เล่าไม่ค่อยจะตรงกัน  แล้วแต่ใครได้ยินข่าวแบบไหน หรือเจอเข้าอย่างไร     เพราะฉะนั้นตัวผู้เขียนก็คงต้องตีความใส่สีใส่ไข่เข้าไปบ้าง    ขอเชิญอ่านด้วยวิจารณญาณ  ไม่ต้องเชื่อหมดค่ะ

   ไวท์น่าจะเป็นคนมีไหวพริบปฏิภาณอยู่มาก    จึงสามารถพลิกแพลงแผนเดิมที่ทำท่าจะเจ๊งไปแล้วให้กลับเข้ารูปเข้ารอยได้    ในเมื่อตอนนี้ไม่สามารถอ้างได้ว่าพาเรือรบไปทำศึกกับอาลี บีค    แต่จะให้เอาเรือกลับมะริดก็เสียการณ์เปล่าๆ       ไวท์ก็เลยคิดแผนสองโดยสั่งว่าเมื่อเรือโดโรธีนำคำสั่งมาให้กัปตันโค้ทส์แล้วก็กลับมะริด    หมายความว่าไม่ต้องมาร่วมรับรู้แผนของไวท์กับโค้ทส์ด้วย    ส่วนโค้ทส์ ถูกสั่งให้เดินเรือต่อไปจนถึงเมืองมาดาโพลัม(โปรดดูแผนที่ของออกพระศรีนวรัตน)  ซึ่งเป็นเมืองในเขตปกครองของอาลี บิค  อยู่ในแคว้นกอลคันดา     เมืองนี้มีอาชีพหลักคือต่อเรือขาย      ไปถึงก็ให้โค้ทส์สั่งต่อเรือ 3 ลำรวด   โดยอ้างว่าทำในนามของพระเจ้ากรุงสยาม
   เมื่อสั่งต่อเรือแล้วก็ให้เร่งให้ต่อเสร็จเร็วๆ    เพราะรู้ว่าต่อเรือตั้ง 3 ลำมันเป็นเรื่องใหญ่ไม่ใช่เล่น  อู่ต่อเรือที่ไหนจะเนรมิตให้ได้ทันใจ    ไวท์ก็สั่งโค้ทส์ให้โวยวายต่อว่าต่อขานว่าทางเมืองนี้กลั่นแกล้งหน่วงเหนี่ยว   ทำให้ฝ่ายสยามเสียหาย    ต้องปรับเงิน  ถ้าไม่มีเงินให้ปรับ(ซึ่งก็แน่อยู่แล้วว่าใครจะยอม) ก็ให้ยึดเรือสินค้าที่ท่าเรือเมืองนี้   เอากลับไปมะริด   
   ค่าเสียหายที่ว่านั้นจะไปเข้ากระเป๋าใคร  ไวท์ไม่ต้องอธิบาย และกัปตันโค้ทส์เองก็ไม่โง่พอที่จะถาม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 20 คำสั่ง