เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 38482 แซมมวล ไวท์ : การเมืองเรื่องฝรั่ง สมัยสมเด็จพระนารายณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 20 เม.ย. 13, 17:48

โดนทวงการบ้านกลางชั้นเรียน   ตกใจ
เดี๋ยวจะเปิดภาคค่ำค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 20 เม.ย. 13, 21:31

 ถึงแซมมวล ไวท์ ไม่ได้ออกปากออกมาดังๆว่า "หวานหมูตูละ"   แกก็คงคิดอะไรทำนองนี้อยู่ในใจ     พิสูจน์ได้จากเหตุการณ์หลังจากนั้นคือ  หนุ่มฝรั่งชาวกรีกหนึ่งคนและหนุ่มอังกฤษอีกหนึ่งคนต่างก็ผูกมิตรกันได้อย่างสนิทชิดเชื้อ ถูกอัธยาศัยกันเป็นอันดี      ต่างคนต่างก็รู้สึกว่าไม่มีอาณาจักรไหนในเอเชีย ที่เหมาะเจาะกับเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ ให้นักแสวงโชคได้ขุดทองกลับไปบ้านเกิดเมืองนอนตัวเองอย่างเศรษฐี มากกว่าอาณาจักรสยามอีกแล้ว
ต่างกันแต่ว่าแซมมวล ไวท์ไม่ได้ไยดีกับยศถาบรรดาศักดิ์   จึงไม่คิดจะตั้งตัวเป็นใหญ่เป็นโตอยู่ในสยาม    สู้หาลู่ทางสร้างฐานะให้ได้ผล    แล้วหอบเงินกลับไปนั่งกินนอนกินเป็นเศรษฐีอังกฤษดีกว่า     ผิดกับฟอลคอนที่ทะเยอทะยานมุ่งหวังจะเป็นเจ้าใหญ่นายโตอยู่ในอาณาจักรที่ต้อนรับเขาอย่างมิตร      ตอนนี้ในวัยแค่ 29 ปี  ฟอลคอนยังไม่ได้เข้ารับราชการ  เป็นแค่พ่อค้าอยู่ในสยาม    แต่เขาก็หาช่องทางจะเป็นให้ได้มากกว่านี้

สยามในตอนนั้นไม่ใช่บ้านป่าเมืองเถื่อนกระจอกๆ  แต่ว่าใหญ่โตพอๆกับลอนดอน  ในบันทึกของฝรั่งเศสเองก็ออกปากแสดงความทึ่งถึงสภาพหรูหราโอฬารของอยุธยา    พ่อค้าวาณิชเดินกันให้ว่อนทั้งในและนอกราชสำนัก       ในวังเองก็มีขุนนางทั้งชาวไทยและชาวเทศ  คอยชิงดีชิงเด่นกันอยู่เสมอ    เนื่องมาจากนโยบายเปิดกว้างทางการค้าสู่ต่างประเทศของพระเจ้าแผ่นดินมาตั้งแต่หลายรัชกาลก่อนๆนั่นเอง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 20 เม.ย. 13, 21:48

    พระเจ้าแผ่นดินสยามทรงเป็นนักธุรกิจที่แหลมคมในสายตาพ่อค้าต่างชาติ       เมื่อใครแล่นเรือเข้ามาค้าขาย ก็ไม่ใช่สักแต่ว่าสยามทำง่ายๆแบบใครซื้อมาก็ขายไป   แต่ว่าตั้งหลักรัดกุมดีทีเดียว   คือทรงตั้งพระคลังสินค้าขึ้นเป็นเอเยนต์หลวง    แล้วกำหนดสินค้าสำคัญหลายอย่างมิให้ซื้อขายโดยเสรี เช่น ช้าง ดินประสิว ดีบุก ตะกั่ว หมาก และไม้หอม      ล้วนแต่เป็นสินค้ามีค่า   ถ้าพ่อค้าต่างแดนต้องการสินค้าเหล่านี้  ก็ไม่มีสิทธิ์ซื้อจากประชาชน  แต่จะต้องซื้อจากเอเย่นต์หลวงเท่านั้น      ใครดอดไปแอบตกลงกับชาวบ้าน เพื่อซื้อขายกันโดยตรง  ชาวบ้านนั่นแหละจะถูกลงโทษหนัก ถึงขั้นประหารชีวิตก็มี   เพราะฉะนั้นก็ไม่มีใครกล้า
   พระคลังสินค้าไม่ใช่ผู้ผลิตสินค้าเหล่านี้   แต่เป็นตัวกลางระหว่างชาวบ้านกับพ่อค้าต่างชาติ   ในลักษณะตัวแทนจำหน่าย    เพราะฉะนั้นเราก็คงวาดภาพได้ว่า คนกลางที่ซื้อมาด้วยราคาถูกและขายด้วยราคาแพง  เรียกได้ว่าตามสบาย เพราะไม่มีคู่แข่ง  จะมีฐานะร่ำรวยอู้ฟู่ขนาดไหน    ส่วนพระเจ้าแผ่นดินผู้ก่อตั้งพระคลังสินค้านี้ก็คือกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจเต็มนั่นเอง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 21 เม.ย. 13, 09:10

   แต่การค้าขาย ก็เป็นที่รู้กันว่า ถ้าฝ่ายหนึ่งได้เปรียบ อีกฝ่ายก็ย่อมเสียเปรียบเป็นธรรมดา   
   ฝรั่งที่เข้ามาค้าขายสมัยอยุธยาล้วนแล้วแต่เดินเรือข้ามน้ำข้ามทะเลมาครึ่งโลก     ลำบากยากเย็นแทบเอาชีวิตไม่รอด ก็อยากจะตักตวงกำไรให้คุ้มเหนื่อย   มีทางไหนกอบโกยเอารัดเอาเปรียบได้ก็เอา  จะมามัวนึกถึงอะไรแฟร์ๆอยู่มันก็ผิดวิสัย    ดังนั้นเมื่อมาเจอผู้นำอาณาจักร มีมันสมอง   ฉลาดเฉลียวรู้ทัน  แทนที่จะโง่ให้เอาเปรียบได้ตามสบาย ฝรั่งก็ฮึดฮัดขัดใจ   แล้วก็เริ่มบีบบังคับด้วยประการต่างๆแบบ "กำหมัดคือยุติธรรมจงจำไว้"
    พระเจ้าแผ่นดินอยุธยาจึงต้องประสบความอึดอัดลำบากพระทัยกับฮอลันดาอยู่หลายครั้งในการติดต่อค้าขายด้วย      แต่จะปิดประเทศ ก็ไม่มีอะไรดีขึ้น   จะสู้ก็ไม่มีกำลังพอ     จึงทรงหันไปผูกมิตรกับบริษัทอีสต์อินเดีย เพื่อหวังจะได้พันธมิตรมาเป็นกำลังคานอำนาจฮอลันดา   แต่ตอนนั้นอีสต์อินเดียตั้งใจจะค้าขายโกยกำไรอย่างเดียว  ไม่สนใจการเมือง     อยุธยาจึงไม่ได้พันธมิตรอย่างที่หวัง 
   สมเด็จพระนารายณ์ทรงเปิดรับชนต่างชาติหลายอย่างต่างภาษาโดยมิได้รังเกียจ  เพื่อผลประโยชน์ทางติดต่อค้าขายต่างประเทศ  เพราะด้านนี้สามารถเพิ่มพูนพระราชทรัพย์ได้ดีกว่ารายได้จากทำไรไถนาหรือซื้อขายของป่ากันภายในประเทศ   นอกจากฝรั่งก็ยังมีแขกอีกหลายชาติด้วย      ที่ต้องเอ่ยถึงแขกเพราะต่อไปจะเกี่ยวข้องกับอนาคตของนายสยามขาวพระเอกในกระทู้นี้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 21 เม.ย. 13, 17:36

   ในอยุธยาตั้งแต่สมัยพระเจ้าปราสาททอง พระราชบิดาของสมเด็จพระนารายณ์    ฮอลันดาเป็นนักเลงใหญ่สุดทางทะเลอยู่แถวนั้น   เมื่ออยุธยาค้าขายเก่งถึงขั้นจัดเรือสินค้าไปขายถึงญี่ปุุ่น   ฮอลันดาซึ่งผูกขาดการค้ามาก่อน ก็โกรธที่มีคู่แข่ง   จึงใช้วิธีนักเลงโตหาเรื่องวิวาท ส่งทัพเรือมาปิดปากอ่าวไทย    เรือสินค้าหลวงที่เดินทางไปค้าขายกับจีนก็โดนจับเสียหลายครั้ง      อยุธยาไม่ทันรู้ตัวว่าจะเจอนักเลงใหญ่ ก็ตกใจ ป้องกันตัวไม่ทัน  จึงต้องยอมอ่อนข้อ ทำสัญญาค้าขายกับฮอลันดาโดยยอมประนีประนอมให้ฮอลันดาได้สิทธิประโยชน์ทางการค้าตามเดิม และเพิ่มขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย
  สมเด็จพระนารายณ์แม้ว่าทรงประนีประนอมกับฮอลันดา แต่ก็ระแวงภัยจากฝรั่งพวกนี้อยู่ไม่คลาย   จึงอยากจะคบฝรั่งที่มีอำนาจไว้อีกสักพวกหนึ่งให้คานอำนาจพวกนี้      ทรงเล็งไปที่บริษัทอีสต์อินเดียของอังกฤษ    แต่ตอนนั้นบริษัทอีสต์อินเดียไม่สนใจเรื่องการเมือง   มุ่งแต่การค้าอย่างเดียว  นโยบายของสมเด็จพระนารายณ์ก็เลยยังค้างเติ่งอยู่แค่นั้น

   นอกจากค้าขายกับฝรั่ง  สมเด็จพระนารายณ์ยังเปิดประตูรับแขกเข้ามาด้วยดี  มีขุนนางแขกจากตะวันออกกลางมารับราชการอยู่หลายคน    หนึ่งในจำนวนนั้น ชื่อ Ophra Synnoratth  หรือ"ออกพระศรีเนาวรัตน์" เดิมเป็นพ่อค้าชาวเปอร์เซียชื่ออกามูฮัมหมัด ได้มากินตำแหน่งขุนนางอยุธยา   มีหน้าที่ดูแลการค้าของหลวงให้กับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 21 เม.ย. 13, 17:50

  ออกพระศรีเนาวรัตน์ได้เอื้อเฟื้อช่วยเหลือพวกพ้องพ่อค้าชาวเปอร์เชียด้วยกันเป็นอย่างดี    คนไหนพอจะเข้ารับราชการได้ก็ส่งเสริมให้เป็นขุนนาง  คนไหนอยากเป็นพ่อค้าต่อไปเช่นเดิม   ก็ได้รับอภิสิทธิ์ประโยชน์ต่างๆ  เหนือกว่าพวกอื่น      ทั้งนี้ออกพระศรีฯได้ถวายเหตุผลต่อสมเด็จพระนารายณ์ว่า นอกจากจะได้เงินทองเข้าเพิ่มพูนในท้องพระคลังมากขึ้นแล้ว   ก็มีสินค้าอื่นๆมาป้อนอยุธยานอกเหนือจากสินค้าฮอลันดา     ยังจะได้อาศัยพ่อค้ามุสลิมเหล่านี้ไว้เป็นกำลัง คอยคานอำนาจกับฮอลันดาอีกด้วย     
   ผลงานของออกพระศรีฯ นับว่าเป็นผลดีทั้งกับผู้บริโภคชาวอยุธยาและทั้งตัวพ่อค้าเอง    คือสินค้าของพ่อค้าเปอร์เชียมาขึ้นท่าที่เมืองมะริด แล้วขนมาทางบก ข้ามเขามาขายที่อยุธยาได้ในราคาต่ำกว่าสินค้าจากฮอลันดา  เพราะต้นทุนถูกกว่า      ดังนั้น  อำนาจทางการค้าของฮอลันดาก็ลดน้อยลงไปโดยปริยาย   เพราะสินค้าขายสู้ของพ่อค้าแขกไม่ได้     แต่ถึงกระนั้น ขุนนางไทยที่จับตามองนโยบายนี้อยู่ก็ไม่ค่อยจะแฮปปี้นัก   เพราะเห็นผลร้ายหลายประการที่จะตามมา
   ๑  การลิดรอนกระเป๋าของฮอลันดาในลักษณะนี้  หากว่าเกิดแตกหักกันขึ้นมาระหว่างแขกกับฝรั่ง   อยุธยาผู้ตกอยู่ตรงกลางก็เดือดร้อนอีก   เพราะพ่อค้าเปอร์เชียมีแต่เงิน  แต่ไม่มีกำลังทางทัพเรือไว้คานอำนาจทัพเรือฮอลันดาได้
   ๒  ถึงไม่เกิดเหตุข้อ ๑   ก็อาจมีผลเสียระยะยาวจากพ่อค้าแขก  ที่ทวีอำนาจทางการเงินขึ้นทุกที      พวกนี้นอกจากเห็นประโยชน์ตัวเองเป็นใหญ่ มากกว่าจะซื่อสัตย์ต่อหน้าที่การงาน    ก็อาจมักใหญ่ใฝ่สูง ทะเยอทะยานขึ้นกุมอำนาจในราชสำนัก และครอบครองอาณาจักรได้ในวันหนึ่ง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 21 เม.ย. 13, 18:57

Ophra Synnoratth  หรือ"ออกพระศรีเนาวรัตน์"

ฟังคล้ายๆ Ophra C.Navarat เน๊าะ ชักใกล้ตัวเข้ามาแล้วละสินั่น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 21 เม.ย. 13, 19:19

    สมเด็จพระนารายณ์เองก็มิใช่ว่าไม่เห็นความเป็นไปได้ในข้อนี้   แต่ในเมื่อออกพระศรีเนาวรัตน์ยังหาเงินเข้าพระคลังให้ได้อยู่ ก็ไม่มีเหตุอันใดจะต้องปลด   จึงทรงใช้งานต่อไป  พร้อมกันนั้นก็ไม่สบายพระทัยนักที่พวกพ้องของออกพระศรีฯชักจะขยายวงกว้างออกไปทุกที      
    แต่คุณพระศรีฯ อดเป็นพระเอกในกระทู้นี้     อยู่มาวันหนึ่ง พงศาวดารก็บันทึกว่า ออกพระศรีเนาวรัตน์ถึงแก่กรรมไปแล้ว (ซะเฉยๆ)  สมเด็จพระนารายณ์ฯจึงทรงตั้งนโยบายใหม่  ไม่ใช้แขกเปอร์เชียมาควบคุมดูแลกิจการค้าขายทางทะเลด้านตะวันตกอีก   แต่จะเอาขุนนางไทยที่เชี่ยวชาญเรื่องการค้าต่างประเทศทางด้านอินเดียและตะวันออกกลางก็ยังหาไม่ได้       ด้วยเหตุนี้  เมื่อแซมมวล ไวท์เข้ามาอยู่ในสยาม   ส้มทองคำก็เลยหล่นลงมาที่เขาทั้งเข่ง

    สมเด็จพระนารายณ์ทรงหวังว่า นายเรืออังกฤษน่าจะตอบโจทย์ข้อนี้ได้ดีกว่าชาติอื่น     เรื่องจะเอาชาวดัทช์มาใช้งานเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว   จะเอาแขกอย่างเดิม พระองค์ก็ไม่โปรดจะให้พวกนี้มีอำนาจมากเกินไป       ทรงเห็นว่าชาวอังกฤษนี่แหละน่าจะดีกว่าเพื่อน    เพราะมีพรรคพวกน้อยมากในอยุธยา  เรื่องจะสมคบกันโกงกับพวกพ้องก็ย่อมน้อยลงไปตามส่วน       แซมมวล ไวท์มาอยู่ในอยุธยาพักหนึ่งก็เดินทางกลับไปประจำที่บริษัทอีสต์อินเดียในมัทราส     ส่วนจอร์ช ไวท์พี่ชายของเขาพ้นบทบาทในเรื่องนี้ไปแล้ว เพราะอยากกลับอังกฤษ ไม่อยากอยู่ในเอเชียไกลโพ้นอีก     หลังจากนั้นไม่เท่าไหร่ ทางบริษัทอีสต์อินเดียก็ได้รับพระราชสาส์นจากพระเจ้าแผ่นดินอยุธยา ขอยืมตัวแซมมวลไปเป็นนายเรือ คุมเรือค้าขายของสยาม    
   ทางบริษัทไม่ขัดข้อง ตกลงให้ยืมตัวไปทำงานเป็นเวลา 2 ปี   แซมมวลก็พาครอบครัวไปประจำการอยู่ที่มะริด ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญทางตะวันตกของอยุธยา    กลายเป็น Shabandar เป็นภาษาเปอร์เชียนแปลว่า "เจ้าแห่งท่า" หรือ "เจ้าท่า"  เมืองมะริด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 21 เม.ย. 13, 19:22

Ophra Synnoratth  หรือ"ออกพระศรีเนาวรัตน์"

ฟังคล้ายๆ Ophra C.Navarat เน๊าะ ชักใกล้ตัวเข้ามาแล้วละสินั่น

เอิ่ม...บทกิตติมศักดิ์ค่ะ   ไม่มีบทพูด     ออกมาค.ห. เดียว  คุณพระศรีเนาวรัตน์ก็ม้วนเสื่อเข้าโรงไปแล้ว  
ส่วนออกพระซีนวรัตนต้องบทยาวๆเป็นมหากาพย์
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 21 เม.ย. 13, 20:02

ออกพระซีนวรัตน ฟังดูดีกว่าซายานวรัตนมากมาย ยิงฟันยิ้ม

คุณพระศรีเนาวรัตน์ก็ม้วนเสื่อเข้าโรงไปแล้ว แต่ออกพระซีนวรัตนยังรอจะออกโรงอยู่ ทว่า อย่าว่าแต่มหากาพย์เลยขอรับ เรื่องนี้ บทลูกคู่ขานรับก็ยังหาไม่เจอ 

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 21 เม.ย. 13, 20:10

ออกพระซีนวรัตน ฟังดูดีกว่าซายานวรัตนมากมาย ยิงฟันยิ้ม

คุณพระศรีเนาวรัตน์ก็ม้วนเสื่อเข้าโรงไปแล้ว แต่ออกพระซีนวรัตนยังรอจะออกโรงอยู่ ทว่า อย่าว่าแต่มหากาพย์เลยขอรับ เรื่องนี้ บทลูกคู่ขานรับก็ยังหาไม่เจอ 

โปรดอ่านคำอ้างอิงจากซายาเพ็ญ

คิดว่าเรื่อง "นายสยาม ขาว" นี้ ซายานวรัตนถนัดอยู่



รอท่าอยู่นานแล้ว  ว่าเมื่อใดออกพระซีนวรัตนจะออกโรง     
เดี๋ยวขอเชิญนายสยามขาวขึ้นรับตำแหน่งผู้ว่าฯ เมืองมะริดก่อน  จากนั้นจะรีบส่งไม้ให้ท่านออกพระฯ เล่าต่อถึงผลงานที่แซมมวล ไวท์ฝากเอาไว้ในเมืองมะริดค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 21 เม.ย. 13, 20:22

หาบทยังไม่เจอเลยครับ ไม่รู้เอาไปไว้ไหนแล้ว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 21 เม.ย. 13, 20:22

หน้าที่เจ้าท่าของแซมมวล มีหลายอย่าง  อย่างแรกคือควบคุมดูแลเรือสินค้าหลวงที่เดินทางขึ้นล่องผ่านอ่าวเบงกอล   ให้ไปมาอย่างสะดวกปลอดภัย     อย่างที่สองคือมีหน้าที่จัดหาซื้อสินค้าเข้ามาตามคำสั่งของราชสำนักอยุธยา  และขายสินค้าของพระคลังหลวงออกไป   หรือเรียกว่าซื้อไปขายมาทั้งสองอย่าง       อย่างที่สามคือเก็บรักษาภาษีผลประโยชน์จากการค้าขายต่างๆของราชการ

หน้าที่นอกจากนี้คือรับคำสั่งจากศูนย์กลางที่อยุธยา แล้วแต่ว่าพระเจ้าแผ่นดินหรือกรมพระคลังสินค้าจะสั่งให้ทำอะไร     เช่นถ้าได้รับคำสั่งให้ต่อเรือรบ ก็ต่อให้เสร็จ   เพิ่มเติมสร้างป้อมคูประตูหอรบให้แข็งแรงมั่นคง    โดยเบิกงบประมาณได้จากท้องพระคลังที่กรุงศรีอยุธยา

แต่ขุนนางสมัยอยุธยาไม่มีเงินเดือน   ลักษณะนี้ยังคงต่อเนื่องมาจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น  นายสยามขาวแม้เป็นคนอังกฤษแต่มารับราชการในอยุธยาก็เจอระบบปลอดเงินเดือนเข้าเหมือนกัน   คำถามคือแซมมวลจะเอาอะไรกินเข้าไป   คำตอบก็คือแกอาจจะได้เบี้ยหวัด  จากส่วนแบ่งจากภาษีอาการและกำไรจากการค้า     นี่คือพูดอย่างเป็นทางการ   ถ้าพูดอย่างไม่เป็นทางการก็คือแกก็ต้องหาช่องทางเม้คมันนี่เข้ากระเป๋าเอง  ราชการก็หลับตาเสียข้างหนึ่งให้แก

อินเทอร์มิชชั่น โปรดรอออกพระศรีนวรัตน พาย้อนไปสู่เมืองมะริดต่อนะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 21 เม.ย. 13, 20:23

หาบทยังไม่เจอเลยครับ ไม่รู้เอาไปไว้ไหนแล้ว
ถ้าหาไม่ได้จริงๆ เดี๋ยวจะส่งไปให้ค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 21 เม.ย. 13, 20:58

เหวอ . .   หนักแล้ว อัตโน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 20 คำสั่ง