เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 135 เมื่อ 16 พ.ค. 13, 11:51
|
|
ไวท์ให้ทนายความยื่นเรื่องราวต่อสภาผู้แทนราษฎรอังกฤษที่มีพรรควิคเป็นเสียงข้างมากอยู่ตอนนั้น ร้องเรียนการกระทำอันไม่ชอบมาพากลของบริษัทอีสต์อินเดีย ว่ากระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญ บังอาจยึดเรือสินค้าของโจทก์ไปโดยพลการ ทำให้โจทก็ได้รับความเสียหายเป็นเงินรวมกันถึง 40,000 ปอนด์
ในคำฟ้อง ไวท์ได้ระบายสีประวัติตัวเองเสียสวยหรูในฐานะขุนนางสยามที่ได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ได้เคยทำราชการมีความดีความชอบปราบเจ้าผู้ครองรัฐกอลคันดา พูดง่ายๆว่าเป็นขุนนางระดับบิ๊กของราชอาณาจักรสยาม ต่อมาเมื่อบริษัทอีสต์อินเดียกระทำการอุกอาจ ยึดเรือหลวงของสยามโดยไม่ได้ประกาศศึกสงครามกันแม้แต่น้อย พระเจ้าแผ่นดินสยามก็ทรงแต่งตั้งไวท์เป็นราชทูตหลวงเดินทางเชิญเครื่องราชบรรณาการมาเจริญพระราชไมตรีกับพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ และเพื่อฟ้องร้องการกระทำของบริษัทที่ข่มเหงรังแกสยามด้วย แต่ยังไม่ทันออกเดินทางจากมะริด เรือเคอร์ตานาของกัปตันเวลเดนที่ได้รับคำสั่งจากบริษัทอีสต์อินเดียก็เดินทางไปจู่โจมมะริดเพื่อทำศึกเสียก่อน ทำให้การเดินทางต้องชะงักไป ไวท์เดินทางออกมาไม่ได้ ท่านที่อ่านมาตั้งแต่แรกคงจะนึกฉงนสนเท่ห์ว่าไวท์ได้เป็นราชทูตสยามแต่ครั้งไหน ทำไมในกระทู้ไม่ได้เล่าไว้ ก็จะให้เล่าได้ยังไงในเมื่อมันไม่เป็นความจริง ไม่ไวท์ก็ทนายความหัวหมอนั่นแหละแต่งนิยายเสริมเข้าไป เพราะยังไงเสียรัฐสภาอังกฤษก็ไม่มีทางไปสอบสวนหาข้อเท็จจริงจากกรุงศรีอยุธยาได้อยู่แล้วว่า เรื่องมันจริงหรือเท็จ แต่มันก็ได้ผลทางจิตวิทยาคือเสริมน้ำหนักเรื่องเข้าไป ขยายภาพไวท์ให้โอ่อ่าน่าเชื่อถือได้อีกมาก ถ้าหากว่าพวกนั้นโง่พอจะเชื่อว่าจริง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 136 เมื่อ 16 พ.ค. 13, 13:17
|
|
ไวท์โยนบาปทั้งหมดให้บริษัทอีสต์อินเดียรับไปเต็มๆ ในเหตุร้ายที่เกิดขึ้นในเมืองมะริด โดยอ้างว่าการที่บริษัทส่งเรือเคอร์ตาน่าไปนั้นเป็นความผิดพลาดอย่างร้ายแรง นอกจากขัดขวางราชการของไวท์ในฐานะราชทูตแล้ว ยังทำให้ชาวเมืองเกิดไม่พอใจชาวอังกฤษอย่างมากจนลุกฮือขึ้นเผาบ้านพักและฆ่าคนอังกฤษตายไปเป็นเบือ ตัวไวท์เองก็ต้องหนีจวนแจจะเอาชีวิตไม่รอด สูญเสียสินค้าและทรัพย์สินส่วนตัวไปคิดเป็นเงินสองหมื่นกว่าปอนด์ บวกค่าเสียหายทั้งหมดที่ไวท์คิดราคาจากบริษัทเป็นเงิน 40,000 ปอนด์
ข้ออ้างทั้งหมด ที่ทนายความของไวท์นำมามั่ว จับแพะชนแกะกันฝูงใหญ่ก็เพื่อนำไปสู่ข้ออ้างว่า เหตุทั้งหมดเกิดจากการผูกขาดของบริษัทอีสต์อินเดียที่อยากทำอะไรก็ทำตามใจชอบในการค้าทางตะวันออก จึงขอนำเรื่องขึ้นร้องเรียนสภาผู้แทนฯ เพื่อวินิจฉัยว่าการผูกขาดนี้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายของอังกฤษหรือไม่ ทั้งนี้ ไวท์ก็คงเชื่อมั่นล่วงหน้าอยู่แล้วว่าคดีของตนจะได้รับไฟเขียวจากนักการเมือง ผู้ซึ่งกระหายเนื้อเต้นอยู่แล้วที่จะยกเลิกอำนาจนายทุนผูกขาดของอิสต์อินเดีย เพื่อให้เกิดการแข่งขันทางการค้าในหลายๆบริษัท อันทำให้เกิดความรวยกระจายกันออกไปไม่กระจุกอยู่แต่พรรคพวกของอีสต์อินเดียเท่านั้น พวกนี้ย่อมจะยินดีกับคดีที่ไวท์ชงลูกส่งไปให้ อาจมีการปรึกษาหารือหรือวิ่งเต้นกันลับๆแล้วว่า จะเปิดไฟเขียวให้คดีของไวท์แน่นอน เมื่อเป็นเช่นนั้น นอกจากรอดตัวไม่ถูกอีสต์อินเดียดำเนินคดี ไวท์ก็จะเป็นฝ่ายตบทรัพย์ยักษ์ใหญ่มาได้อีกสี่หมื่นปอนด์ บวกกับเงินที่กอบโกยจากตำแหน่งหน้าที่ในมะริด นายสยามขาวก็จะไม่เป็นเศรษฐีอีกต่อไป แต่จะเหยียบขั้นมหาเศรษฐีคนหนึ่งของอังกฤษ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 137 เมื่อ 16 พ.ค. 13, 13:43
|
|
เมื่อพิจารณาจากประวัติของไวท์ คนอ่านหลายคนคงรู้สึกตรงกันว่านายคนนี้เป็นคนเลวที่ดวงดีหาตัวจับยาก ตั้งแต่ออกจากอังกฤษเดินทางมาแสวงโชคยังดินแดนทางตะวันออก ก็มิได้ทำสิ่งใดให้ดินแดนนั้นๆได้ดิบได้ดีขึ้นมาแม้แต่น้อย โดยเฉพาะราชอาณาจักรสยามที่อนุเคราะห์เขามาด้วยดี ให้โอกาสเขายิ่งกว่าบ้านเกิดเมืองนอนเขาเสียอีก เขาก็กลับสนองคุณสยามด้วยการปล้นสะดมก่อความเดือดร้อนแก่พ่อค้าวาณิชทั้งหลาย ผลเสียหายก็ตกแก่อาณาจักรว่าเป็นแหล่งของโจรสลัด จนเกิดเรื่องกระทบกระทั่งกับอาณาจักรใกล้เคียง และเรื่อยไปจนถึงบริษัทอีสต์อินเดีย
ที่ร้ายกว่านี้คือความไม่คิดหน้าคิดหลัง มุ่งแต่จะเอาตัวรอด ไวท์ทำให้เพื่อนร่วมเชื้อชาติอังกฤษในมะริดที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ด้วยต้องมาถูกฆ่าตายอย่างทารุณไปหลายสิบชีวิต ส่วนตัวเขากลับแคล้วคลาดไปอย่างเหลือเชื่อ จนได้กลับมาเสวยสุขที่บ้านเกิด ซ้ำยังทำท่าว่าจะประสบผลสำเร็จในอาชีพ กลายเป็นเศรษฐีใหญ่ ราวกับว่าบาปที่นายคนนี้ทำซ้ำแล้วซ้ำเล่ามาตลอดชีวิต ถูกสวรรค์มองว่าเป็นบุญกุศลไปเสียยังงั้นแหละ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 138 เมื่อ 16 พ.ค. 13, 13:47
|
|
สวรรค์ก็คงจะมองอย่างนี้เหมือนกันว่า ถ้านายไวท์ประสบผลสำเร็จหมดทุกอย่าง ผู้คนก็จะมองสวรรค์ในทางผิด ๆ แล้วอาจจะเชื่อว่าบาปบุญคุณโทษไม่มีจริง ดังนั้น สวรรค์ก็ลงดาบฟันฉับ ในขณะที่ไวท์กำลังฝันหวานว่าจะได้รับชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่จากบริษัทอีสต์อินเดีย ในระยะเวลาอันไม่นานเกินรอ เงินสี่หมื่นปอนด์ก็จะลอยมาสู่มือ โดยไม่ต้องลงทุนอะไรเลย นอกจากค่าทนายความ
หนึ่งเดือนหลังจากยื่นเรื่องต่อสภาผู้แทน ไวท์พำนักอยู่ที่เมืองบาธ ก็ถึงแก่กรรมอย่างปัจจุบันทันด่วน ไม่มีบันทึกหลักฐานว่าเขาป่วยเป็นอะไร แต่ในหนังสือ สันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากเชื้อไข้ป่าที่ติดตัวมาจากสยาม เมื่อครั้งเดินทางจากมะริดไปแก้ข้อหาที่ลพบุรี ไวท์ผู้ซึ่งรอดจากชะตากรรมด้วยมือมนุษย์มาได้ทุกครั้ง ก็ไม่รอดจากมือมัจจุราช ถูกพาตัวไปชดใช้กรรมโดยยังไม่ทันใช้เงินให้สมอยาก เมื่ออายุได้เพียง 39 ปี ทรัพย์สินของเขาตกเป็นของจอร์ช พี่ชาย ผู้ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก จอร์ชเองก็คงไม่อยากค้าความกับบริษัทอีสต์อินเดียต่อไป มันไม่น่าสนุกตรงไหนที่จะเป็นคดีความ โดยเฉพาะเมื่อเขาเองไม่ได้เป็นผู้เสียหายใดๆ ผลจึงปรากฏว่าหลังจากนั้นไม่นานจอร์ชก็ถอนฟ้องคดีนี้ อาจจะโดยอะลุ้มอล่วยยอมความกันกับบริษัทอีสต์อินเดีย จ่ายเงินใต้โต๊ะกันบ้างก็เป็นได้ จากนั้นก็เอาเงินที่น้องชายกอบโกยมาไปดำเนินชีวิตอย่างคหบดีอย่างเงียบๆ ไม่เป็นข่าวใดๆอีกในประวัติศาสตร์
จบเรื่องนายสยามขาวแต่เพียงนี้ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
spyrogira
อสุรผัด

ตอบ: 36
|
ความคิดเห็นที่ 139 เมื่อ 16 พ.ค. 13, 14:19
|
|
ขอบคุณครับอาจารย์ .... 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 140 เมื่อ 21 พ.ค. 13, 10:08
|
|
มีกลอนบทหนึ่งที่คิดว่าจะเข้ากับชีวิตของนายสยามขาวได้ดี จึงขอลงไว้ส่งท้ายกระทู้ เสียดายที่ไม่ทราบว่าใครแต่ง บางคนบอกว่ามาจากโอวาทของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) บางคนบอกว่าเป็นของท่านพุทธทาสภิกขุ
เมื่อเจ้ามา มีอะไร มาด้วยเจ้า เจ้าจะเอา แต่สุข สนุกไฉน เมื่อเจ้ามา มือเปล่า จะเอาอะไร เจ้าก็ไป มือเปล่า เหมือนเจ้ามา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
คริสต์ศตวรรษที่ 17
อสุรผัด

ตอบ: 17
|
ความคิดเห็นที่ 141 เมื่อ 07 ก.ค. 13, 12:00
|
|
ส่วนมะริดเล่า ทำไมจึงเป็นเมืองท่าสำคัญขึ้นมาได้
การค้าทางทะเลสู่กรุงศรีอยุธยา ตามเส้นทางด้านตะวันออกที่ส่วนใหญ่ค้าขายกับจีนนั้นไม่มีอุปสรรคปัญหา แต่เส้นทางเดินเรือทางตะวันตกมีพื้นที่อับลมในบริเวณที่เรียกว่า“ช่องแคบมะละกา” ตรงนั้นในบางฤดูกาลเรือสินค้าที่ใช้ใบไม่สามารถวิ่งผ่านได้ หรือวิ่งผ่านได้แต่ช้ามาก จนถูกชาวมลายูเมืองอาเจะห์ที่อยู่บนฝั่งพายเรือยาวมาปล้นเอาได้ถึงกลางทะเล
ดังนั้น พ่อค้าจึงเลือกที่จะเดินเรือมาที่มะริด แล้วถ่ายของเก็บไว้ในโกดัง รอกระทั่งฤดูที่ลมส่งท้ายเรือให้กางใบใช้ความเร็วเต็มที่ได้ จึงขนถ่ายสินค้าใส่เรือขนาดย่อมวิ่งเข้ากรุงศรีอยุธยาอีกทีหนึ่ง ส่วนคนถ้าไม่อยากอยู่รอ ก็สามารถเดินทางบกจากมะริด ผ่านตะนาวศรี ข้ามเขามาทางด่านสิงขร แล้วมาลงเรือต่อที่กุย หรือปราณบุรี เข้ากรุงศรีอยุธยาได้เลยโดยไม่ต้องมากับเรือ มะริดในสมัยที่หลังจากฝรั่งเริ่มค้นพบเส้นทางเดินเรืออ้อมแหลมกู๊ดโฮปมาเอเซียตะวันออกได้จึงมีความสำคัญขึ้นมาได้ฉะนี้
แผนที่เมืองมะริดซึ่งฝรั่งเศสทำไว้หลังจากนายสยามขาวหมดวาสนาไปแล้วนิดเดียวนั้น จึงเห็นอาคารยาวๆที่เป็นคลังสินค้ามากมาย ทั้งของเอกชนและของหลวง
เยืียมมากครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
คริสต์ศตวรรษที่ 17
อสุรผัด

ตอบ: 17
|
ความคิดเห็นที่ 142 เมื่อ 07 ก.ค. 13, 12:03
|
|
ระหว่างท่านอาจารย์เทาฯ ยังอ่านหนังสือเล่มนี้ไม่จบก็มาตั้งข้อสงสัยก่อน เพราะดูเหมือนผมน่าจะเคยซื้อและอ่านหนังสือเล่มนี้จากงานหนังสือนี่แหละหลายปีนานมากมาแล้ว แต่ความทรงจำเลือนลางเต็มทน จำได้ว่าเคยซื้อหนังสือเกี่ยวกับฝรั่งที่เข้ามาในสมัยพระนารายณ์นี่แหละ แต่จำชื่อฝรั่งไม่ได้ รู้แต่ไม่ใช่ฟอลคอนหรือฟอร์บัง คุ้นๆ ว่าไวท์นี่แหละแต่ไม่แน่ใจ ส่วนเนื้อหาในหนังสือเป็นอย่างไร ความทรงจำหายหมดสิ้นไม่หลงเหลือ จำได้แต่ว่าหนังสือเล่มที่ว่าเป็นหนังสือเก่าปกแข็ง กระดาษไม่ค่อยดีเท่าไหร่ หน้าปกเป็นรูปวาด หนาพอสมควร ลองไปหาๆ รูปหนังสือนี้ดู แต่ถ้าเป็นเล่มนี้ อาจจะเป็นเล่มที่ผมยังไม่เคยอ่าน เพราะหน้าปกไม่ค่อยคุ้นครับ  จะเป็นเล่มนี้ไหมครับ .. ผมมีแต่เล่มนี้ หนังสือเล่มนี้ดูท่าสมัยนี้คงจะหาซื้อยากครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 143 เมื่อ 07 ก.ค. 13, 12:16
|
|
ลองหาในกูเกิ้ลดูนะคะ อาจจะมีหนังสือมือสอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
คริสต์ศตวรรษที่ 17
อสุรผัด

ตอบ: 17
|
ความคิดเห็นที่ 144 เมื่อ 20 ก.ค. 13, 13:23
|
|
ขอบคุณครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
คริสต์ศตวรรษที่ 17
อสุรผัด

ตอบ: 17
|
ความคิดเห็นที่ 145 เมื่อ 20 ก.ค. 13, 13:27
|
|
รู้สึกภูมิใจนิดๆ ว่า ภาพยนตร์เรื่อง "ไพเรทส์ ออฟเดอะ แคริบเบียน" (Pirates of the Caribbean) หนังดังของ วอลท์ ดิสนีย์ พิคเจอร์ส รู้สึกจะดึงประวัติศาสตร์ตอนนี้มาใช้บางส่วน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 146 เมื่อ 23 ก.ค. 13, 10:09
|
|
ดิฉันดูหนังเรื่องนี้เหมือนกัน มีตั้งหลายภาค คุณ คริสต์ศตวรรษที่ 17 หมายถึงตอนไหนคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
คริสต์ศตวรรษที่ 17
อสุรผัด

ตอบ: 17
|
ความคิดเห็นที่ 147 เมื่อ 19 ส.ค. 13, 08:37
|
|
ภาพยนตร์วอลดิสนี่อาจจะไม่เรียนแบบเหมือนทีเดียวแต่มีบานส่วนที่ผู้แต่งได้อ่านมาแ้ล้ว ก็เชื่อว่าผู้แต่งก็ได้อ่านหนังสือเล่มนี้เช่นเดียวกัน
โจรลัดคาริบเบียน เป็นกลุ่มโจรลสัดธงดำซึ่งเป็นชาวสเปนส่วนใหญ่จะออกปล้นในทะเลแทบคาริบเบียนซึ่งสัญลักษณ์เป็นรูปหัวกระโหลกไขว้สีขาวในแบบต่างๆ เฉพาะกลุ่มนี่คือประวัุติศาสตร์จริงที่ภาพยนตร์นำมาแต่ง
อีสต์อินเดีย คัมปานีส์ คือบริษัทอินเดียตะวันออกส่วนใหญ่จะอยู่แถบตะวันออก เพราะไม่ใช่บริษัทอินเดียตะวันตกที่จะอยู่แถบอเมริกา ในเรื่องนี้เท่าที่พอจำได้ก็มีด้วย โจรสลัดสิงคโปร์ในภาค 3 ก็อยู่แถบมะระกาแถวบ้านเรา แซมมวล ไวท์ ก็น่าจะเป็นเรื่องหนึ่งที่มีส่วนในการจินตนาการของผู้แต่ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 148 เมื่อ 19 ส.ค. 13, 09:46
|
|
 ถ้าเจอเรื่องแนวนี้อีก จะนำมาเล่าสู่กันฟังอีกค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
คริสต์ศตวรรษที่ 17
อสุรผัด

ตอบ: 17
|
ความคิดเห็นที่ 149 เมื่อ 19 ส.ค. 13, 20:30
|
|
ดีครับชอบครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|