เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 9156 สมัยรัชกาลที่๕ เขาไปเที่ยวกันที่ไหนคะ
ไพลินภัทร
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


 เมื่อ 04 เม.ย. 13, 18:53

อยากทราบว่าสมัยรัชกาลที่๕ มีวัดวาอารามหรือสถานที่ไหนในกรุงเทพที่เขานิยมไปกันบ้างคะ

แล้วก็อยากทราบอีกเรื่องหนึ่งคือ สมัยนั้นเขานิยมใช้คำว่ากรุงเทพหรือบางกอกมากกว่ากันคะ?

แล้วก็อีกข้อนึงค่ะ ในปี2436 ถ้าทหารเขาประชุมกัน เขาประชุมกันในกระทรวงกลาโหมปัจจุบันหรือเปล่าคะ?
ทราบว่าในปีนั้นตึกสร้างแล้ว แต่ไม่แน่ใจว่าทำหน้าที่เหมือนปัจจุบันหรือเปล่า

ขอความกรุณาคุณลุงคุณน้าช่วยตอบเด็กน้อยที่เพิ่งศึกษาประวัติศาสตร์คนนี้ด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 04 เม.ย. 13, 20:20

นั่งยานเวลากลับไปไม่ได้เสียด้วย  ต้องเดาเอาอย่างเดียวค่ะ

1    สมัยนั้นการเดินทางไม่สะดวกเหมือนสมัยนี้ แม้แต่ว่าคลองให้นั่งเรือสัญจรกันสะดวกสบาย ไม่ต้องเจอรถติด  แต่ชาวบ้านเขาก็จะไปวัดใกล้บ้านมากกว่าข้ามเมืองไปทำบุญกันอีกฟากเมือง      จึงไม่รู้ว่าวัดไหนกันแน่ที่เป็นยอดนิยม  รู้แต่ว่าวัดใหญ่ๆก็น่าจะมีคนมากันมากกว่าวัดเล็กๆ
      ส่งคำถามต่อให้คุณพี่หนุ่มสยามและคุณน้าเพ็ญชมพูด้วยค่ะ
2    ชาวกรุงก็เรียกกรุงเทพ หรือพระนคร   คำว่าบางกอกเป็นคำที่ชาวต่างจังหวัดเรียกเมืองหลวง 
3    เรื่องทหารประชุมกันที่ไหน ใน พ.ศ. 2436   ยังนึกภาพไม่ออกค่ะ   
บันทึกการเข้า
ไพลินภัทร
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 04 เม.ย. 13, 23:48

ขอบคุณมากๆค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 05 เม.ย. 13, 06:51

สนามหลวงเป็นที่นิยมจัดงานมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ แล้ว

การเฉลิมฉลองการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๑๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๒๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดกิจกรรมขึ้นหลายอย่าง หนึ่งในกิจกรรมที่ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดขึ้นก็คือ “งานพิพิธภัณฑ์” ซึ่งเป็นการนำเอาสินค้าพื้นเมืองของประเทศในขณะนั้นมาจัดแสดงเป็นนิทรรศการซึ่งเรียกว่างาน “เอกษฮีบิชัน” ให้ประชาชนได้เข้าชม ณ ท้องสนามหลวง โดยเรียกนิทรรศการครั้งนั้นว่า “นิทรรศการแนชันนาลเอกษฮีบิชัน” (National Exhibition)

ทรงมีพระราชดำริว่า

“...บ้านเมืองเจริญด้วยการค้าขาย ราษฎรทำเรือกสวนไร่นาต่างๆ ได้รับผลประโยชน์มาก ควรจะนำพืชพันทางการเกษตรที่เกิดขึ้นในประเทศ และราษฎรมีไว้ซื้อขายกัน เครื่องมือที่ใช้ทำมาหากินทุกอย่าง รวมถึงสิ่งของที่ทำขึ้นด้วยฝีมือตนเอง ทั้งที่ใช้ภายในประเทศและที่ส่งขายไปยังต่างประเทศ มารวบรวมไว้ในที่แห่งหนึ่งเพื่อให้พระบรมวงศานุวงศ์ ราษฎรชาวสยาม และชาวต่างประเทศได้มาชม เพื่อเป็นการแสดงให้ทราบว่า สิ่งใดผลิตขึ้นที่ไหน ผู้ที่จะซื้อขายสินค้าจะได้ทราบแหล่งผลิตดังกล่าว...”

การจัดกิจกรรมในรูปแบบนิทรรศการครั้งนั้น ได้จัดสร้างอาคารชั่วคราวขึ้น ณ บริเวณท้องสนามหลวง ซึ่งได้เตรียมการล่วงหน้ากันนานนับปี โดยทรงมอบหมายให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ และกรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช (ต้นราชสกุลภาณุพันธ์) เป็นแม่งาน พร้อมทั้งประกาศเชิญชวนให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ประชาชน และเจ้าของห้างร้นนำสิ่งของมาร่วมกันจัดแสดงงาน ภายในงานมีสิ่งของที่นำมาแสดง เช่น ผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรม งานช่างฝีมือ โบราณวัตถุ ของหายาก สิ่งประดิษฐ์ทางวิชาการต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งก็เปรียบเทียบได้กับแนวทางการบริหารราชการในปัจจุบันที่มีการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มช่องทางการค้าขายมากยิ่งขึ้น

งานการจัดแสดงนิทรรศการครั้งนั้นได้มีบันทึกถึงบรรยากาศการจัดงานไว้ว่า

“ในงานมีการสร้างปะรำด้วยไม้ไผ่หลายหลัง มีรั้วไม้ไผ่กั้นโดยรอบและแบ่งเป็นห้อง ๆ ของที่นำมาจัดแสดงมีประมาณ ๔๐ ชนิด มีของน่าชมอยู่หลายห้อง เช่น เครื่องเพชรพลอย เครื่องเงิน การแสดงหุ่นในเครื่องแต่งกายแบบต่างๆ ภาพเขียน เครื่องมุก เครื่องจักสาน งาช้าง เครื่องมือประมง แร่ธาตุต่าง ๆ อาวุธ เหรียญและเงินโบราณ ตลอดจนพืชพันธุ์ของป่า ส่วนที่สำคัญที่สุด เห็นจะได้แก่ ส่วนของการส่งเสริมการศึกษา ซึ่งทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีกิจกรรมทางการศึกษา คือ ให้มีเทศนาพระราชประวัติพงศาวดารกรุงเทพฯ และพระบวรประวัติ รวมทั้งจัดแสดงหนังสือไทยฉบับตัวเขียนจากหอสมุดหลวง โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ ผู้บัญชาการกรมอารักษ์ทรงรับผิดชอบในการจัด”

งานนิทรรศการครั้งนั้น เริ่มจัดตั้งแต่วันที่ ๒๖ เมษายน ถึงวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๕ เป็นเวลา ๕๒ วัน โดยในวันเปิดงาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาเปิดงานและเสด็จทอดพระเนตรสิ่งของต่าง ๆ ที่นำมาจัดแสดงด้วย

ข้อมูลจาก เว็บพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระนคร

โรงเอกซฮิบิเช่อน ณ ท้องสนามหลวง


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 05 เม.ย. 13, 08:26

สมัยรัชกาลที่ ๕ คนนิยมไปทานอาหารแถวๆราชวงศ์ในเยาวราชหรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 05 เม.ย. 13, 09:30

ถนนราชวงศ์ตัดในรัชกาลที่ ๕ ก็จริง แต่สมัยนั้นการสัญจรส่วนใหญ่ยังเป็นทางน้ำ   ถนนราชวงศ์เป็นถนนที่ตัดขึ้นเพื่อการค้า  ขนสินต้าจากท่าราชวงศ์  ซึ่งเป็นท่าเรือสินค้าภายในประเทศ    มีเรือบรรทุกคนโดยสารและสินค้าไปจันทบุรี ชลบุรี และบ้านดอน (สุราษฎร์ธานี) ถนนราชวงศ์จึงมีสำนักงานร้านค้าของพ่อค้าจีน แขก และฝรั่งตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก   ยังไม่มีบะหมี่ราชวงศ์ขายให้คนมากินกัน

ร้านบะหมี่ราชวงศ์เกิดขึ้นในรัชกาลเท่าใดไม่ทราบ แต่ในรัชกาลที่ ๗  มีแล้ว   เป็นยุคที่รถยนต์มีใช้กันในหมู่เศรษฐีและข้าราชการฐานะดี      เรื่อยมาจนหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒  ตอนเด็กๆดิฉันเคยไปกิน จอดรถหน้าร้าน   แล้วคนขายนำถาดที่มีขาเกี่ยวมาเกาะกับหน้าต่างรถ วางชามบะหมี่ให้กินได้โดยไม่ต้องเข้าไปในร้าน ซึ่งคนแน่นมาก
บันทึกการเข้า
giggsmay
ชมพูพาน
***
ตอบ: 135


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 05 เม.ย. 13, 11:57

 ;)อย่างน้อยน่าจะมีคนไปเที่ยวที่ บ้านหิมพานต์ หรือว่า ปาร์คสามเสน ของพระสรรพการหิรัญกิจ มั่งเน้อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 05 เม.ย. 13, 13:59

ก็ท่องเที่ยวตามงานเทศกาลงานบุญครับ เช่น ถึงเทศกาลก็จะไปงานพระพุทธบาท สระบุรี

ในส่วนของที่ไม่สะดวกไปพระบาท สระบุรีก็มีงานพระบาทฯ ในกรุงเทพ หลายที่เช่น ที่วัดอัมรินทรฯ-วัดสามปลื้ม เป็นที่สนุกสนาน, งานรื่นเริงออกร้านค้าที่วัดเบญจมบพิตรก็จัดในฤดูหนาว, งานวัดภูเขาทอง วัดสระเกศ ครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 05 เม.ย. 13, 15:21

หากอยากไปดูละครต้องไปที่นี่

โรงละคร “ปรินซ์เทียเตอร์" ของ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าเตียน

เครื่องละครของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง
นี่ก็แปลกตาตามคอนเซ็ปต์ที่เขียนไว้ในโรงละคร
"สะแดงความดูเปนที่ประหลาดตา"



เดิมคณะละครของ เจ้าพระมหินทรศักดิ์ธำรงชื่อ "Siamese Theatre" เป็นละครที่เล่นเฉพาะเวลา ที่มีแขกบ้านแขกเมืองมาดู จนเมื่องานฉลองกรุง ๑๐๐ ปี ท่านได้นำละคร มาร่วมแสดงที่ท้องสนามหลวง ซึ่งมีการเรียกเก็บเงินคนดู จึงเป็นจุดเริ่มต้น ของการเก็บค่าตั๋ว เพราะนับจากนั้น ท่านได้เปลี่ยนชื่อ โรงละครมาเป็น "Prince Theatre" (หมายถึง ละครของพระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ ซึ่งเป็นหลานของท่าน)

ข้อมูลจาก เว็บปากเซ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 05 เม.ย. 13, 15:31

ต่อมา เมื่อเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๓๔๗ โรงละครปรินซ์เทียเตอร์ จึงตกเป็นของ เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (บุศย์) บุตรชาย ซึ่งเรียกละครของท่านว่า "ละครบุศย์มหินทร์"

โรงลครบุตรมหินทร มีถิ่นสถานอยู่ที่ เวิ้งเลื่อนฤทธิ์


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 05 เม.ย. 13, 19:45

ถ้าคุณเพ็ญชมพูไปโรงละครปรินซ์เทียเตอร์ ผมก็จะขอนั่งรถรางไปถนนเจริญกรุง ไปย่านเวิ้งนาครเกษม ไปดูโรงหนังที่เวิ้ง แล้วก็เลยไปอีกนิดไปดูโรงหนังพัฒนากร ด้วยเก้าอี้ไม่ตัวยาว ๆ แบบสบาย ๆ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 05 เม.ย. 13, 20:13

                                                     กำเนิดโรงภาพยนตร์ในสยาม

         นับจากปี ๒๔๔๐ เป็นต้นมา ได้มีคณะฉายภาพยนตร์เร่จากต่างประเทศเดินทางเข้ามาจัดฉายภาพยนตร์เก็บค่าดูจากสาธารณชนในสยามทีละรายสองรายเรื่อยมาโดยจัดฉายตามโรงละครบ้าง ตามโรงแรมบ้าง
         จนกระทั่งปี ๒๔๔๗ มีคณะฉายภาพยนตร์เร่จากญี่ปุ่นเดินทางเข้ามาจัดฉายภาพยนตร์ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวกับเหตุการณ์สู้รบระหว่างญี่ปุ่นกับรัสเซีย ซึ่งกำลังกระทำต่อกันอยู่ขณะนั้นโดยการกระโจมผ้าใบเป็นโรงฉายชั่วคราว ใบบริเวณลานว่างหรือเวิ้งของวัดชนะสงคราม (วัดตึก) กรุงเทพฯ
         ชะรอยคณะญี่ปุ่นคงเห็นว่า สยามในขณะนั้นยังไม่มีใครตั้งโรงภาพยนตร์ฉายกันเป็นการประจำถาวร ทั้งๆ ที่ชาวสยามให้ความสนใจนิยมดูภาพยนตร์ ดังนั้นเมื่อคณะญี่ปุ่นกลับไปแล้ว ในปีต่อมาพวกเขาได้เดินทางกลับเข้ามาอีก คราวนี้เข้ามาจัดตั้งโรงฉายภาพยนตร์เป็นการถาวรขึ้นในบริเวณเวิ้งวัดตึกนั้นเองจัดฉายภาพยนตร์เป็นประจำทุกวัน จนชาวสยามเรียนภาพยนตร์ติดปากว่าหนังญี่ปุ่น และเรียกโรงภาพยนตร์นี้ว่าโรงหนังญี่ปุ่น    นับว่ากิจการรุ่งเรืองมาก เป็นเหตุให้นักธุรกิจชาวสยามคิดจัดตั้งโรงภาพยนตร์ขึ้นบ้างที่ละโรงสองโรง เช่น โรงกรุงเทพซินีมาโตกราฟ หรือ บริษัทรูปยนตร์กรุงเทพ หรือโรงหนังวังเจ้าปรีดา (เปิด ๒๔๕๐) โรงหนังสามแยก (เปิด ๒๔๕๑) โรงหนังรัตนปีระกา (เปิด ๒๔๕๒) โรงหนังพัฒนากรหรือบริษัทพยนตร์พัฒนากร (เปิด ๒๔๕๓)
         โรงภาพยนตร์ต่างๆ เหล่านี้ต่างก็แข่งขันกันอย่างเต็มที่ในการจัดรายการฉายภาพยนตร์ ซึ่งในเวลานั้นยังเป็นภาพยนตร์เบ็ดเตล็ดม้วนสั้นๆ ม้วนหนึ่งกินเวลาฉายไม่กี่นาที เป็นภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์สำคัญๆ หรือสถานที่ที่น่าสนใจอย่างภาพยนตร์ข่าวสาร สารคดี และภาพยนตร์ที่จัดฉากแสดงอย่างละครหรือนิยายสั้นๆ
         การแข่งขันระหว่างโรงภาพยนตร์ต่างๆ ในกรุงเทพฯได้เข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะระหว่างสองบริษัทใหญ่คือ บริษัทรูปยนตร์กรุงเทพ และ บริษัทยนตร์พัฒนากร ซึ่งนับจากปี ๒๔๕๖ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ต่างก็แข่งกันสร้างโรงภาพยนตร์ในเครือของตนขึ้นตามตำบลสำคัญๆ ทั่วกรุงเทพฯ โรงภาพยนตร์ของบริษัทรูปยนตร์กรุงเทพได้แก่ โรงปีนัง โรงสิงคโปร์ โรงชะวา โรงสาธร ส่วนโรงภาพยนตร์ของบริษัทพยนต์พัฒนากร ได้แก่ โรงพัฒนากร โรงพัฒนาลัย โรงพัฒนารมย์ โรงบางรัก โรงบางลำพู โรงนางเลิ้ง

http://www.artbangkok.com/detail_page.php?sub_id=454
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 05 เม.ย. 13, 20:33

นอกจากจะหาความสำราญจากการที่ไปงานวัด ดูภาพยนตร์ แล้วก่อนหน้านี้พวกผู้ดีหรือเจ้านายก็จะพากันไปเที่ยวทุ่ง (แต่ไม่ได้ไปทุ่งกันนะครับ - ไปทุ่ง แปลว่า ไปถ่ายท้อง)  ยิงฟันยิ้ม

การพายเรือไปในทุ่งนาที่ถูกน้ำท่วม ยามน้ำหลาก เป็นกิจกรรมที่นิยมกันมากในสมัยรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ ซึ่งนิยมพากันพายเรือไปตามลำห้วยต่าง ๆ พายลึกเข้าไปยังท้องทุ่ง ไปเก็บผักลอยน้ำ ไปเก็บสายบัว

และสำหรับพระมหากษัตริย์และเจ้านายชั้นสูง ก็จะเสด็จไปยัง "พระราชวังบางปะอิน" หรือไม่ก็เสด็จประพาสไปยังหัวเมืองต่าง ๆ ซึ่งได้ผลพลอยได้คือ ยังสามารถเข้าไปดูการบ้านเมืองต่าง ๆ ของพระราชอาณาเขตอีกด้วย

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 07 เม.ย. 13, 14:42

วันหยุดยาวอย่างนี้ ชวนคุณหนุ่มไปช็อปปิ้งของหรู ๆ ที่ห้างแบดแมนกันดีกว่า

เคยได้ยินชื่อห้างแบดแมนมาตั้งแต่เด็กๆ  คู่กับชื่อห้างไว้ท์อะเวย์ ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าอยู่ไหน   ไปถามลุงเกิ้นดูถึงรู้ว่ามีชื่อเต็มๆว่า ห้างแบดแมน แอนด์ กำปะนี (Harry A. Badman and Go.,) สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) นับว่าเป็นห้างฝรั่งรุ่นแรกๆ ของบ้านเมืองไทย เดิมที "ห้างแบดแมน" ตั้งอยู่ที่หัวมุมกระทรวงมหาดไทย ถนนบำรุงเมือง ก่อนจะย้ายมาตั้งอยู่ที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา หัวถนนราชดำเนินกลาง
"ห้างแบดแมน" เริ่มกิจการเมื่อปี 2422 เป็นห้างขายของจากต่างประเทศ คล้ายๆ ห้างสรรพสินค้าในปัจจุบัน และเล่าลือกันว่าห้างแบดแมนมีความหรูหรามาก ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่นำมาขาย ก็ล้วนแล้วแต่เป็นของฝรั่งทันสมัย เช่นสุรา ยารักษาโรค และพืชไร่ที่ต้องสั่งเข้ามาจากต่างประเทศ จึงไม่น่าแปลกใจที่จะเป็นห้างที่เจ้านายและพระบรมวงศานุวงศ์เข้ามาซื้อ สินค้ากันมาก

เวลาต่อมาเมื่อห้างแบดแมนได้ปิดตัวลง อาคารถูกใช้เป็นตึกกรมโฆษณาการ แล้วก็เปลี่ยนชื่อเป็นกรมประชาสัมพันธ์






บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 07 เม.ย. 13, 15:02

หรือจะไปช็อปปิ้งที่ห้างคนไทย ที่ห้างสิทธิพันธ์ ห้างสันตโภชน์ ห้างคู่แฝดที่อยู่ใกล้ ๆ กัน

สันตโภชน์หุ้นจำกัด ป้ายอักษรหน้าห้าง



บรรยากาศในห้าง สะอาด เรียบร้อย น่าเดินช็อบปิ้ง


ร้านค้าที่ลงทุนโดยคนไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๕๓  ได้แก่ ห้างสิทธิพันธ์ ตั้งอยู่ที่ถนนเฟื่องนคร ซึ่งนอกจากจำหน่ายสินค้าทั่วไป ยังรับตกแต่งบ้านเรือนด้วย ซึ่งยุคนั้นเป็นที่นิยมของเจ้านาย และขุนนาง ห้างสันตโภชน์ จำหน่ายผลไม้ ไม้แปรรูป อาหารแห้ง ต่อมาได้ขยายกิจการเป็นร้านอาหาร บาร์ เลาจน์ ร้านขายสรรพสินค้า เสื้อผ้าสตรี และขายยา ซึ่งสินค้าที่จำหน่ายในห้างดังกล่าวเป็นสินค้าจากต่างประเทศ มีราคาแพง และเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย

ข้อมูลจาก วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๔ เรื่องการขยายตัวของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ และผลกระทบต่อร้านขายของชำดั้งเดิม ของ คุณคุณาธิป แสงฉาย หน้า ๒๗

บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 20 คำสั่ง