เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7
  พิมพ์  
อ่าน: 32071 สยามใหม่ ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 03 เม.ย. 13, 07:23

เชิญแต่งตัวออกจากบ้านด้วยชุดลินินสีขาว สวมเสื้อนอก เลิกเคี้ยวหมากได้แล้ว แต่งตัวให้เข้ากับแฟชั่น สวมกระโปรงยาว มาเชิญรำวงมาตรฐานที่ทางรัฐบาลจัดให้
และพร้อมเข้าสู่ยุค "มาลานำไทย" กันเถิดครับ  ยิ้มเท่ห์

และเรามีสำนักใหม่เกิดขึ้น "สำนักวัธนธัมทางจิตใจ" พ.ส. ๒๔๘๗


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 03 เม.ย. 13, 08:05

ขมีขมันมาตามคำเชิญของคุณหนุ่มสยาม  

ยุคของข้าราชการไทยในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2   เป็นยุคที่มีสีสันยิ่งกว่ายุคใดๆ    เพราะนอกจากจะต้องขายก๋วยเตี๋ยวเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลแล้ว       ในขณะที่ระเบิดลงตูมๆเหนือหัวอยู่ไม่เว้นแต่ละวัน    ข้าราชการก็ต้องแบ่งเวลาราชการในวันพุธไปหัดรำวงมาตรฐานตามคำสั่งของท่านผู้นำด้วย

นายแปลกของคุณประกอบ  เป็นผู้สนใจศิลปวัฒนธรรมไทยหลายสาขา รวมทั้งบันเทิงเริงรำ      สมัยนั้นไม่มีไฟฟ้าใช้ตอนค่ำคืน ชาวบ้านในกรุงเทพธนบุรีถ้าอยากเล่นอะไรรื่นเริงกันคลายเครียด   ก็จะรำโทนกันในหมู่บ้านของพวกเขา    เพราะรำง่าย ไม่มีแบบแผนยุ่งยาก ใครอยากรำก็รำ  จังหวะสนุกสนาน  เครื่องดนตรีก็มีแต่โทน ยืนพื้น     ท่านผู้นำก็เลยจับรำโทนมาพัฒนา ให้ไฮคลาส เป็นรำวงมาตรฐาน  โดยมอบหมายให้กรมศิลปากรจัดการปรับปรุงการรำ และบทร้อง  ให้มีแบบแผนเป็นระบบระเบียบ   จากนั้นข้าราชการที่ตำแหน่งการงานถูกจับให้หันซ้ายหันขวาได้ง่ายอยู่แล้ว ก็ต้องมาหัดรำวงมาตรฐานกัน
 
กรมศิลปากร ประพันธ์ 4 บทเพลง คืองามแสงเดือน  ชาวไทย ,รำซิมารำและ คืนเดือนหงาย ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ประพันธ์ 6 บทเพลง คือ ดอกไม้ของชาติ , ดวงจันทร์-วันเพ็ญ ,หญิงไทยใจงาม ,ยอดชายใจหาญ ,ดวงจันทร์ขวัญฟ้า ,บูชานักรบ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 03 เม.ย. 13, 08:12

    รำโทนของเดิมชาวบ้านรำกันตามใจชอบ   เมื่อถูกจับขึ้นมาตรฐาน ป.ISO    กรมศิลปากรก็จัดท่ารำเสียใหม่  โดยนำท่ารำจาก ท่าแม่บทของนาฏศิลป์ไทย มากำหนดเป็นท่ารำของ “รำวงมาตรฐาน”   เป็นมรดกที่ท่านผู้นำทิ้งไว้ให้สังคมไทยจนมาถึงทุกวันนี้    เด็กนักเรียนเล็กๆในโรงเรียนรัฐ  เมื่อหัดแสดงขึ้นเวทีในชั้นอนุบาลหรือประถม 1  ก็จะต้องหัดรำวงมาตรฐานกัน 
   สำหรับผู้ประดิษฐ์ท่ารำวงมาตรฐานคือ หม่วมต่วน (ศุภลักษณ์  ภัทรนาวิก) นางมัลลี คงประภัศร์ และคุณครูละมุล ยมะคุปต์

     

บันทึกการเข้า
sirinawadee
ชมพูพาน
***
ตอบ: 101


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 03 เม.ย. 13, 10:16

นิยายพลนิกรกิมหงวนให้บรรยากาศของยุคนั้นได้ดีมากค่ะ มีตอนที่ท่านเจ้าคุณทั้งหลายไม่มีบรรดาศักดิ์แล้ว ก็เรียกหากันว่านายอู๊ด นายประสิทธิ์ ตัวเอกสาวๆ ในเรื่องก็สวมหมวก พูดจ๊ะจ๋า ฉันเธอ การปฏิบัติตามคำสั่ง เอ้ย คำขอของรัฐบาล ยุคสงครามเกาหลี รวมทั้งการเรียกสหรัฐอเมริกาว่า พี่ชายของประเทศไทย

เวลาท่านเจ้าคุณปัจจนึกจะพูดอะไร มักอินโทรว่า เพื่อเป็นการตอบสนองคำวิงวอนของนายกรัฐมนตรีที่รักของเรา 

อ่านๆ แล้วก็ไม่แน่ใจว่าท่านผู้่เขียนเห็นดีด้วยหรือประชดกันแน่ค่ะ

บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 03 เม.ย. 13, 18:07

คำขึ้นต้นดังว่านั้น  เป็นส่วนหนึ่งของวัธนทัมไทยยุคใหม่ครับ  จดหมายราชการในสมัยนั้นจะต้องขึ้นคำนำในทำนองนั้นทั้งหมดครับ  คุณปรีชาผู้แต่งพลนิกรกิมหงวนท่านถ่ายทอดไว้สมบูรณ์เลยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 03 เม.ย. 13, 20:15

เชิญแต่งตัวออกจากบ้านด้วยชุดลินินสีขาว สวมเสื้อนอก เลิกเคี้ยวหมากได้แล้ว แต่งตัวให้เข้ากับแฟชั่น สวมกระโปรงยาว มาเชิญรำวงมาตรฐานที่ทางรัฐบาลจัดให้

เจ้าลืมนอนซ่อนพุ่มกระทุ่มต่ำ                       เด็ดใบบอนช้อนน้ำที่ไร่ฝ้าย
พี่เคี้ยวหมากเจ้าอยากพี่ยังคาย                     แขนซ้ายคอดแล้วเพราะหนุนนอน

ข้างบนนี้คือคำตัดพ้ออันลือชื่อของขุนแผนต่อนางวันทอง   ในพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2   ตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง
ถ้าหากว่าขุนแผนและนางวันทองมีชีวิตต่อมาจนถึงยุคสยามใหม่    สงสัยว่าจะต้องถูกตำรวจจับเข้าสักครั้งหนึ่งแน่ๆ    เพราะไม่ปฏิบัติตามนโยบายของจอมพล ป. ว่าด้วยเรื่องกินหมาก

เมื่อกำหนดให้ราษฎรไทยสวมหมวก นุ่งกางเกงหรือกระโปรง  สวมรองเท้า เพื่อจะได้เป็น "อารยะ" แล้ว   สิ่งต่อไปที่ถูกกำจัดออกไปจากชีวิตประจำวันของคนไทย ก็คือ หมาก และแน่นอนว่า พลูก็โดนด้วย

รัฐบาลถือว่าการกินหมากเป็นสิ่งเสื่อมเสียเกียรติอย่างร้ายแรง   เพราะ
"...คนกินหมากเป็นคนป่าเถื่อน  เหมือนเนื้อสัตว์สดๆติดเลือดแดงที่ปาก    ในการกินหมาก  ผู้คนต้องเคี้ยวเอื้องเหมือนควาย   ทำให้ปากเหม็น   ฟันเขยิน เสียระเบียบ   หน้ากร้านแก่เกินอายุ   เป็นโรครำมะนาด    ปลายประสาทลิ้นชา   เป็นโรคเบื่ออาหาร  โรคท้องร่วง   อาจเป็นมะเร็งได้ง่าย  ธาตุไฟหย่อน   และทำให้สถานที่ต่างๆของบ้านเมืองขาดความสวยงาม   เพราะนักกินหมากชอบบ้วน เลอะเทอะ"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 03 เม.ย. 13, 21:32

ไม่รู้ว่าการวินิจฉัยโรคข้างบนนี้ถูกต้องหรือเปล่า   ต้องฝากให้ผู้รู้ช่วยอธิบายด้วยค่ะ

มาตรการกำจัดหมากไปจากปากฟันคนไทย ทำกันอย่างเด็ดขาดเอาจริงเอาจัง   กระทรวงมหาดไทยออกคำสั่งห้ามประชาชนที่กินหมากเข้าไปติดต่อในสถานที่ราชการ     นอกจากนี้ยังทำหนังสือเวียน 'ด่วนมาก' ไปยังจังหวัดต่างๆให้กวดขันเรื่องคนกินหมาก   ห้ามขายพลูในตลาด    ห้ามปลูกต้นพลู   ห้ามทำสวนพลู      ยุคนี้จึงเกิดการบุกเข้าโค่นสวนหมากสวนพลูของประชาชน อย่างถูกต้องโดยทางราชการเอง    ราวกับว่าหมากพลูเป็นไร่ฝิ่นที่จะต้องกวาดล้างออกไปให้หมด   
รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยสมัยนั้นชื่อหลวงพรหมโยธี  ได้กวดขันเรื่องหมากถึงขั้นมีคำสั่งว่า นายอำเภอคนใดกินหมาก  ก็ให้เลิกเสีย   และกินความไปถึงการเลี่ยมฟันทองด้วย    ข้อหลังนี้ไม่เกี่ยวกับหมาก  แต่เหมือนกันในแง่ที่ว่า ทำให้เสียบุคลิก

ในเมื่อหักด้ามพร้าด้วยเข่าเช่นนี้     ประชาชนทั้งหนุ่ม กลางคนและแก่ที่เคยชินกันกินหมาก ก็เดือดร้อนกัน     ทำให้หมากและพลูต้องหลบลงใต้ดิน กลายเป็นสินค้าตลาดมืด    เพราะอุปสงค์อุปทานมีมากเกินกว่าจะปล่อยให้ถูกโค่นโดยดี
บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 04 เม.ย. 13, 00:02

กรมศิลปากร ประพันธ์ 4 บทเพลง คืองามแสงเดือน  ชาวไทย ,รำซิมารำและ คืนเดือนหงาย ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ประพันธ์ 6 บทเพลง คือ ดอกไม้ของชาติ , ดวงจันทร์-วันเพ็ญ ,หญิงไทยใจงาม ,ยอดชายใจหาญ ,ดวงจันทร์ขวัญฟ้า ,บูชานักรบ

ชวนให้นึกถึงสมัยโน้น ผมอายุสัก ๙ ขวบได้ อ่านหนังสือโฆษณาชวนเชื่อที่เขาส่งมาให้พ่อเป็นประจำอยู่บ่อยๆ อ่านแล้วก็เชื่อหมด วันหนึ่งอ่านอะไรสักอย่างที่เขาว่าภริยานายแปลกเป็นคนแต่ง ไม่แน่ใจว่าเป็นเพลง หรือ โคลงกลอน ผมอดชื่นชมไม่ได้ พูดกับพ่อว่า เก่งจังมีความรู้มากมาย พ่อตอบแบบเปรยๆว่า หาคนอื่นแต่งให้ง่าย  ผมเลยหายซื่อไร้เดียงสาขึ้นมาก
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 04 เม.ย. 13, 02:06

ชวนให้นึกถึงสมัยโน้น ผมอายุสัก ๙ ขวบได้ อ่านหนังสือโฆษณาชวนเชื่อที่เขาส่งมาให้พ่อเป็นประจำอยู่บ่อยๆ อ่านแล้วก็เชื่อหมด วันหนึ่งอ่านอะไรสักอย่างที่เขาว่าภริยานายแปลกเป็นคนแต่ง ไม่แน่ใจว่าเป็นเพลง หรือ โคลงกลอน ผมอดชื่นชมไม่ได้ พูดกับพ่อว่า เก่งจังมีความรู้มากมาย พ่อตอบแบบเปรยๆว่า หาคนอื่นแต่งให้ง่าย  ผมเลยหายซื่อไร้เดียงสาขึ้นมาก

ฮิฮิ ขนาดท่านอาจารย์หมอศานติยังเรียกนายแปลกแบบผมเลย มีพวกแล้ว  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 04 เม.ย. 13, 08:03

วันหนึ่งอ่านอะไรสักอย่างที่เขาว่าภริยานายแปลกเป็นคนแต่ง ไม่แน่ใจว่าเป็นเพลง หรือ โคลงกลอน ผมอดชื่นชมไม่ได้ พูดกับพ่อว่า เก่งจังมีความรู้มากมาย พ่อตอบแบบเปรยๆว่า หาคนอื่นแต่งให้ง่าย  ผมเลยหายซื่อไร้เดียงสาขึ้นมาก

ภรรยาคุณแปลกแต่งโคลงเก่งอยู่ดอก

เคยลง ปัจฉิมกาลอนุสรณ์ ในกระทู้เก่าของคุณนวรัตน จับความตามเนื้อเรื่องตั้งแต่คุณแปลกต้องลี้ภัยระหกระเหินไปเขมรจนถึงไปพำนักเป็นการถาวรที่ญี่ปุ่น

ปัจฉิมกาลอนุสรณ์
ท่านผู้หญิงละเอียด  พิบูลสงคราม

ชีวาประวัติผู้                 มีนาม
ป. พิบูลสงคราม            ชื่อก้อง
ไม่ร่วมรัฐบาลตาม           ผู้ปฏิ  วัติเฮย
เนรเทศตนเองต้อง          ตกด้าวกัมพูชา

พระกรุณาท่วมท้น           เกษีย์
องค์กระษัตริย์ธิบดี          เด่นเกล้า
อีกสมเด็จราชินี              วรนาถ
พระโปรดรับให้เข้า           ดั่งเช่นแขกเมือง


..............................................

บูชาพระพุทธเจ้า                       อาศรม  วิสิทธิ์แฮ
อีกพระธรรมแห่งบรม-                 ศาสตร์เจ้า
พระสงฆ์ปฏิบัติพรหม-                 จรรย์เคร่ง  ครัดนา
ท่านพิบูลฯ ใฝ่เฝ้า                      ปฏิบัติพร้อมปณิธาน

สำราญสัมฤทธิ์แล้ว                     ดั่งประสงค์
เราต่างมุ่งหน้าพะวง                     กลับเหย้า
สู่ประเทศญีุ่ปุ่นตรง                      บินผ่าน  ไทยพ่อ
อยู่อย่างสุขห่างเศร้า                    ตราบท้าวอวสาน

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 04 เม.ย. 13, 11:55

ฝีมือแต่งกลอนก็ไม่เบา   ยิ้มเท่ห์

หนังสือวรรณคดีสาร  เล่มนี้พิมพ์ออกมาในงานวันคล้ายวันเกิดจอมพล ป. พิบูลสงคราม (14 กรกฎาคม 2486)  ที่หน้ารองปกพิมพ์ข้อความว่า
   “วรรนคดีสาร   ไนอภิลักขิตสมัยคล้ายวันเกิด  พนะท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม   นายกกัมการ อำนวยการวรรนคดีสมาคมแห่งประเทสไทย  14  กรกดาคม 2486  เล่มที่ 12   กรกดาคม 2486  ปีที่ 1”
   ในงานวันนั้น   นักปราชญ์ทางวรรณคดีทำพานดอกไม้และเขียนบทกวีเป็นคำสดุดดีหัวข้อ “ดอกไม้วรรนคดี” มาร่วมงาน
   ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ทำพานดอกไม้เป็นรูปสมเด็จพระศรีสุริโยทัยทรงช้างศึก  และเขียนกลอนสดุดีดอกกระดังงา  ดังนี้
            ...........................................
ของ พนะ พันโทหยิง ล.พิบูลสงคราม
รูปพระสุริโยทัยซงช้างสึก (เครื่องหมายสำนักวัธนธัมฝ่ายหยิง)
คำสดุดี
     ๐ อันมาลีสรีประเทสทั่วเขตขันธ์                      มีมากพรรนมากหย่างต่างกลิ่นสี
บ้างสีงามกลิ่นหอมหวนยวนรึดี                             บ้างงามสีแต่ไร้กลิ่นประทิ่นชม
บ้างมีชื่อเป็นมงคลสุภผลพร                                เปนนุสรน์บำรุงขวันอันเหมาะสม      
แม้ไร้กลิ่นชื่อชวนไห้ไฝ่นิยม                               รื่นอารมน์ประดับโลกนิรันดร์กาล
เมื่อขึ้นชื่อว่ามาลีเป็นสรีเลิส                                ชนชูเชิดประกอบสุขทุกสถาน
ชมมาลีชวนไห้ใจชื่นบาน                                   งามตระกานเกียรติมาลีไม่มีคลาย
     ดอกเอ๋ยดอกกะดังงา                                  อันคุนค่าเป็นสรีมาลีหลาย
เปนพรรนไม้ยืนต้นแขงแกร่งไม่กลาย                      แม้ลมชายไม่สท้านชูก้านไบ
เปนดอกไม้รวมหยู่เปนหมู่ช่อ                               ไม่แตกกอแตกต้นหนไสว
เจ้าทนลมทนแดดแผดเผาไป                               คงที่ไนความสดชื่นทุกช่อพวง
สแดงว่ากะดังงาเจ้ากล้าแขง                                ไม่แขยงขยาดภัยอันไหย่หลวง  
เจ้ามั่นสามัคคียิ่งสิ่งทั้งปวง                                  หยู่เปนพวงเปนช่อไม่ห่างไกลกัน      
       ดอกเอ๋ยดอกกะดังงา                                สีเจ้าน่าคิดกะไรชวนไฝ่ฝัน
เมื่อยามอ่อนเขียวขจีสดสีครัน                              เหมือนสีไบไม่แปรผันให้ผิดไป
เมื่อยามแก่เหลืองอร่ามช่างงามนัก                          แจ้งประจักส์เจ้ามีจิตคิดไฉน
เจ้ารักเกียรติรักสักดิ์รักวินัย                                 เจ้าปักไจรักเผ่าพันธุ์ไม่ผันแปร
เจ้ายึดมั่นพุทธสาสน์จิตมาดหมาย                          ไม่สนสับกลับกลายหลายกระแส
เจ้ามั่นรักสลักซวงไนดวงแด                                 จิตแน่วแน่น่าชื่นชมนิยมครัน
ดอกเอ๋ยดอกกะดังงา                                        กลิ่นอบอวนยวนวิญญาน์พาสุขสันติ์
ไช้อบน้ำอบผ้าสารพัน                                       ปรุงสุคันธ์ประเทืองกลิ่นประทิ่นไกล
อันบุหงากะดังงาพากลิ่นหวน                                หอมยียวนชื่นวิญญาน์จะหาไหน
ควนจัดว่ากะดังงามาลาไทย                                 เปนดอกไม้ดีเลิสประเสิดเอย ๐

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 04 เม.ย. 13, 12:54

ขอต่อเรื่องหมากอีกหน่อย
ในบรรดานโยบายของจอมพลป.  เห็นด้วยเรื่องเดียวคือเรื่องเลิกกินหมาก    แต่น่าจะเป็นการขอร้องหรือชักชวนมากกว่าโค่นสวนหมากสวนพลูให้ชาวสวนเดือดร้อน      ถ้าเป็นสมัยนี้เห็นจะโดนเดินขบวนประท้วงกันแน่ๆ
ในเมื่อประเทศเราไม่ได้กวดขันกันเรื่องระเบียบวินัย  ขยะยังถูกทิ้งกันตามใจชอบ แม้ว่ามีถังขยะตั้งให้ก็ดูจะไม่พอเพียง     ถ้าคนไทยยังกินหมากกันอยู่    น้ำหมากคงจะแดงเถือกเลอะเทอะตามถนนหนทาง หรือแม้แต่ในห้องน้ำโรงแรมห้าดาว หรือศูนย์การค้าเริ่ดหรู ก็อาจจะเช็ดน้ำหมากกระจายกันไม่หวัดไม่ไหว
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 04 เม.ย. 13, 13:06

ขอต่อเรื่องหมากอีกหน่อย
ในบรรดานโยบายของจอมพลป.  เห็นด้วยเรื่องเดียวคือเรื่องเลิกกินหมาก    แต่น่าจะเป็นการขอร้องหรือชักชวนมากกว่าโค่นสวนหมากสวนพลูให้ชาวสวนเดือดร้อน      ถ้าเป็นสมัยนี้เห็นจะโดนเดินขบวนประท้วงกันแน่ๆ
ในเมื่อประเทศเราไม่ได้กวดขันกันเรื่องระเบียบวินัย  ขยะยังถูกทิ้งกันตามใจชอบ แม้ว่ามีถังขยะตั้งให้ก็ดูจะไม่พอเพียง     ถ้าคนไทยยังกินหมากกันอยู่    น้ำหมากคงจะแดงเถือกเลอะเทอะตามถนนหนทาง หรือแม้แต่ในห้องน้ำโรงแรมห้าดาว หรือศูนย์การค้าเริ่ดหรู ก็อาจจะเช็ดน้ำหมากกระจายกันไม่หวัดไม่ไหว


ปัจจุบันนี้ที่อินเดีย พม่า ไต้หวัน ยังนิยมการทานหมากกันอยู่ เอาแบบว่าการขายหมากที่ประเทศไต้หวัน ขายกันตามท้องถนน ร้านแผงลอย เรียกขวัญใจลุกค้าหนุ่ม ๆ ได้มากเลย  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 04 เม.ย. 13, 13:29

^
คนขายน่าสนใจกว่าหมาก  ยิ้มเท่ห์

v
คราบน้ำหมากในนิวเดลี ค่ะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 04 เม.ย. 13, 13:37

แผงขายหมากพลูและคนขายฉบับคลาสสิก ที่พม่า   

แผงขายหมากพลู ของสำคัญของชาวพม่า

มีทั่วไปทุกมุมถนน



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.099 วินาที กับ 20 คำสั่ง