เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
  พิมพ์  
อ่าน: 32216 สยามใหม่ ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 30 มี.ค. 13, 17:28

ยังติดไม่ออกเลยครับจะเปลี่ยนจาก วี ไปเป็นอื่นได้อย่างไร  ถ้าจะต้องกราบขอความกรุณาท่านอาจารย์พิจารณาหาชื่อที่เป็นเพศชายไม่ไม่แปลกเหมือนท่านผู้นำแล้วละครับ
ส่งไม้ต่อให้ท่านซายาทั้งหลาย รับช่วงตั้งชื่อให้คุณ วี_มี ต่อไปค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 30 มี.ค. 13, 17:31

ทนไม่ได้กับตัวสะกดพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว   เลิกเสียได้ดีแล้ว
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 30 มี.ค. 13, 18:33

ทนไม่ได้กับตัวสะกดพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว   เลิกเสียได้ดีแล้ว

ตัดข้อความให้อ่านกันเล่น ๆ ครับ  ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 30 มี.ค. 13, 20:23

ภาษาไทยในยุคสยามใหม่  หรือยุค "วัธนธัม" นี้    จะว่าไปก็มีการอ้างเหตุผลที่ไปที่มาอยู่เหมือนกัน   ไม่ใช่ว่าบทจะเกิดก็เกิดขึ้นมาลอยๆ   
ในเรือนไทยมีการพูดถึงที่มาในกระทู้เก่า  จึงขอยกมาให้อ่านกันอีกครั้งค่ะ

ในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพกล่าวถึง "สี่ปุโรหิต" ในยุควัธนธัมนำไทยไว้ว่า

"   ในยุควัธนธัมนำไทยนั้น  ได้มีการปรับปรุงภาษาไทยครั้งใหญ่  ซึ่งกล่าวกันว่า เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ประเทศไทยได้ยินยอมให้ญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทย  เพื่อทำสงครามปลดปล่อยชนผิวเหลืองในสงครามมหาเอเชียบูรพา  และแม่ทัพญี่ปุ่นได้ยื่นข้อเรียกร้องแก่จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในเวลานั้นว่า ภาษาไทยนั้นเรียนรู้ได้ยาก  เพราะมีพยัญชนะ  สระ และวรรณยุกต์หลากหลายมาก  เพื่อความสะดวกจึงเห็นสมควรให้ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาราชการแทน  จอมพล ป.  พิบูลสงคราม จึงหาทางออกโดยแจ้งให้แม่ทัพญี่ปุ่นในประเทศไทยทราบว่า ประเทศไทยมีภาษาอยู่สองชุด ชุดแรกสำหรับใช้ในราชการซึ่งอาจจะเรียนยากสักหน่อย  ส่วนอีกชุดสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันและสามัญชนทั่วไปนิยมใช้กัน  ซึ่งชุดนี้น่าจะตรงกับความต้องการของญี่ปุ่น
 แต่ในความเป็นจริงประเทศไทยมิได้แบ่งภาษาออกเป็นสองชุดอย่างที่แจ้งแก่ญี่ปุ่น  ด้วยเหตุนี้จึงมีการเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีและแต่งตั้งคณะกรรมการวัธนธัมไทยขึ้น  มีจอมพล ป.  พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี  เป็นประธานกรรมการ    พระยาอนุมานราชธน (ยง  เสฐียรโกเศศ) และพระราชธรรมนิเทศ เป็นรองประธานกรรมการคนที่ ๑ และ ๒ ตามลำดับ  กับมีผู้ทรงคุณวุฒิทางภาษาอีกอีก ๒๓ คนร่วมเป็นกรรมการ 
คณะกรรมการปรับปรุงตัวอักษรไทยนี้  ใช้เวลาประชุมเพียง ๒ ครั้ง  ในวันที่  ๒๓ และ ๒๖ พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๔๘๕  ก็สามารถปรับปรุงตัวอักษรไทยแล้วเสร็จ  และได้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี  เมื่อวันที่  ๒๙  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๔๘๕  กำหนดให้ลดรูปพยัญชนะไทยลงเหลือเพียง ๓๑ ตัว  ประกอบด้วยอักษร “ก ข ค ง จ ฉ ช ซ ญ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ส ห อ ฮ “  กับได้มีการตัดสระ ใ (ไม้ม้วน) ออก  ส่วนตัว “ทร” ให้ใช้ “ซ” แทน  และได้ตัดเชิงล่างของ “ญ” ออก" 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 30 มี.ค. 13, 20:25


ต่อจากความเห็นของคุณวีหมี

ผมเคยได้อ่านเรื่องที่มาอธิบายกันตอนหลังว่า ต้นเหตุที่จอมพลป.คิดและผลักดันภาษาไทยวิบัติขึ้นมาในช่วงนั้น เพราะญี่ปุ่นจะบังคับให้บรรจุภาษาญี่ปุ่นให้เรียนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาบ้าง ให้เป็นภาษาราชการของไทยบ้าง ผมก็ฟังหูไว้หู มิอยากเชื่อไปทั้งหมด เพราะมันเป็นไปได้ยากที่จะเป็นเช่นนั้น ด้วยว่า

1 ในประเทศที่ญี่ปุ่นปลดปล่อยแท้ๆ อย่าง มลายู และสิงคโปร ไม่พูดถึงจีนและฟิลลิปปินส์เพราะผมไม่ทราบ แต่สองประเทศดังกล่าวข้างต้นญี่ปุ่นยังทำไม่ได้เลย นอกจากผลักดันให้มีการสอนในระดับสูงๆ เท่านั้น

2 ญี่ปุ่นอาจจะมาปรารภเรื่องความซับซ้อนของภาษาไทยจริง ผมเคยมีเพื่อนญี่ปุ่นคนหนึ่ง บริษัทส่งมาทำธุรกิจในเมืองไทยแต่อาศัยเป็นคนมีพรสวรรค์ทางภาษา เลยสนใจเรียนภาษาไทย เรียนแล้วก็มาบ่นอย่างว่าและแสดงความเห็นว่า ถ้าอักษรไทยทำให้ง่ายลงแบบญี่ปุ่นมีตัวอักษรคันจิ(อักษรดั้งเดิมที่เอามาจากจีน)  และตัวคะตะคะนะ ที่คิดขึ้นใหม่ให้ง่ายลงมาก และสามารถออกเสียงตามภาษาต่างประเทศได้ ก็จะดี (เพื่อนคนนี้เก่งมาก เรียนการศึกษาผู้ใหญ่ของไทยอยู่2ปีก็สอบเทียบประถม4ได้) ผมคิดว่าตอนนั้นญี่ปุ่นคงมาขายไอเดียนี้ให้จอมพลป. แล้วท่านอาจจะเห็นดีเห็นชอบ อยากให้ภาษาไทยมีศัพท์แสงและตัวสะกดง่ายลงเช่นนั้นบ้างก็ได้

3 สมมุติว่าญี่ปุ่นมาขอร้องแกมบังคับไทยจริงๆให้หลักสูตรไทยสอนภาษาญี่ปุ่น ในฐานะผู้นำประเทศ ถ้าเห็นว่าหากฝืนไม่ได้จริงๆ เพราะญี่ปุ่นใหญ่มากและจะใหญ่อย่างนั้นไปอีกนานๆในโลกนี้ การเรียนภาษาญี่ปุ่นก็มีประโยขน์ในการสื่อสัมพันธ์กับเขาเช่นภาษาอังกฤษนั่นแหละ เรียนไว้เป็นภาษาที่2 ก็ไม่น่าจะเสียหาย
แต่หากว่า ญี่ปุ่นไม่ใหญ่จริง แต่แพ้สงครามตามอย่างที่เป็นไป ก็เลิกเรียน เหมือนในมลายูและสิงคโปรที่กลับไปเรียนภาษาอังกฤษเหมือนเดิม ไม่เห็นจะต้องไปทำอะไรกับภาษาไทยของเราถึงขนาดนั้น

4 ภาษาไทยของจอมพลป. มิใช่แค่อักขระวิบัติ แต่เป็นภาษาวิบัติ มีความมุ่งหมายที่จะปฏิวัติภาษาไทยแบบหลวงเสียใหม่ให้สมกับที่ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองมาแล้ว ยกตัวอย่าง เช่น สรรพนามทั้งหมดที่แสดงระดับชนชั้นของบุรุษที่1กับที่2 เปลี่ยนเหลือเพียงท่านกับฉัน การวันเฉลิมพระชนม์พรรษาให้เปลี่ยนไปใช้วันเกิดในพระเจ้าอยู่หัว แทนเป็นต้น

ผมจึงคิดว่า การที่มาบอกภายหลังว่าที่ทำไปอย่างนั้น เพราะญี่ปุ่นอย่างโน้นอย่างนี้ ผมจึงเห็นว่าเป็นเพียงข้อแก้ตัว หลังจากถูกคนไทยด่ายับเยินไปแล้ว 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 30 มี.ค. 13, 20:42

  นอกจากเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนภาษา   คนไทยยังประสบความเปลี่ยนแปลงอันน่ามหัศจรรย์ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์   คือต้องเปลี่ยนเครื่องแต่งกายด้วย
  เมื่อก่อนนี้ นอกเหนือจากแต่งกายด้วยเครื่องแบบตามอาชีพต่างๆเช่นทหาร ตำรวจ  ข้าราชการกรมกองต่าง ซึ่งเป็นระเบียบตายตัวตามสายอาชีพนั้น  คนไทยจะแต่งกายอย่างใดก็เป็นไปตามใจชอบ   แม้แต่ข้าราชการเองเมื่อพ้นเวลาทำงานจะแต่งลำลองออกนอกบ้านแบบไหนก็ได้      คนไทยในยุคนั้นยังนุ่งผ้าม่วงไปทำงาน   ถึงเวลาเที่ยวก็นุ่งกางเกงแพรแบบกางเกงจีนสีต่างๆ    อยู่บ้านจะนุ่งผ้าขาวม้า หรือโจงกระเบนหยักรั้ง  หรือนุ่งโสร่งตัวเดียว  ไม่สวมเสื้อ  ก็ไม่มีใครว่า     
  ผู้หญิงก็เช่นกัน ที่ติดการนุ่งโจงกระเบนมาตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์   จะสวมเสื้อหรือห่มผ้าแถบผืนเดียวก็ทำได้  หรือสวมเสื้อคอกระเช้าก็ไม่มีใครเห็นเป็นของแปลก      ส่วนรองเท้าจะสวมหรือไม่สวมก็แล้วแต่ถนัด ทั้งหญิงและชาย
  แต่รัฐบาล"สยามใหม่" เห็นว่าการแต่งกายแบบไม่มีระเบียบตายตัว นุ่งห่มกันตามใจชอบแบบนี้เป็นเรื่องน่าอับอาย   ไม่เหมาะกับประเทศที่กำลังก้าวไปสู่อารยะ      จึงได้ออกประกาศของกระทรวงมหาดไทย  (ซึ่งก็มีผลพอๆกับกฎหมาย) ให้คนไทยแต่งกายเสียใหม่  ล้มล้างรูปแบบเดิมๆโดยสิ้นเชิง
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 30 มี.ค. 13, 20:48

   กล่าวคือ
  1   ผู้ชายต้องนุ่งกางเกงขายาว    ห้ามนุ่งโจงกระเบน  หรือโสร่ง    ต้องสวมเสื้อนอก  รองเท้าหุ้มส้นและถุงเท้า   และสวมหมวก
  2   ผู้หญิงต้องนุ่งกระโปรงหรือผ้าซิ่น   ห้ามนุ่งโจงกระเบน   ห้ามเดินเท้าเปล่า ต้องสวมรองเท้ารัดส้นหรือหุ้มส้น  สวมเสื้อมีแขนเวลาออกไปไหนมาไหน  ห้ามห่มผ้าแถบหรือเสื้อคอกระเช้า   และต้องสวมหมวก

    เรื่องหมวก เป็นข้อกำหนดใหญ่ของรัฐบาลยิ่งกว่ากางเกงหรือกระโปรง     เพราะท่านผู้นำเมื่อไปดูงานในประเทศตะวันตกเห็นผู้คนเขาสวมหมวกกันทั้งนั้น    ประเทศเขาก็ใหญ่โตเจริญก้าวหน้า     ดังนั้นเพื่อให้ไทยเจริญก้าวหน้า  ผู้คนก็ต้องสวมหมวก   คือหมวกเป็นสาเหตุ และความเจริญเป็นผลสืบเนื่องจากเหตุ
     นับเป็นตรรกะที่ออกจะแปลก  แต่ในเมื่อเป็นความคิดของท่านผู้นำซะอย่าง     จึงไม่มีใครกล้าตั้งคำถามอยู่ดี   
 
     จอมพลป. ให้ความสำคัญแก่หมวกมากแค่ไหน  เห็นได้จากหลังประกาศสงครามกับพันธมิตรเพียงวันเดียว  ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะตึงเครียดอย่างหนักของสงคราม     จอมพลป.  ออกประกาศทางวิทยุกระจายเสียงว่า
     " พี่น้องสตรีอย่านึกว่า   ยามศึกไม่จำเป็นจะต้องสวมหมวก     การสวมหมวกยามนี้ยิ่งจำจะเป็นมากกว่ายามใดๆ"
     ขอหมายเหตุว่า หมวกที่ว่านี้ก็คือหมวกธรรมดานี่แหละ  มิใช่หมวกกันน็อค  หรือหมวกกันกระสุน หรือเซฟตี้แฮทชนิดใด


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 30 มี.ค. 13, 20:54

 ยิ้มกว้างๆ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 30 มี.ค. 13, 20:55

ดิฉันคิดว่าคนซ้ายน่าจะแต่งเครื่องแบบ ไม่นิสิตจุฬา ก็นักศึกษาธรรมศาสตร์


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 30 มี.ค. 13, 21:16

   แต่รัฐบาล"สยามใหม่" เห็นว่าการแต่งกายแบบไม่มีระเบียบตายตัว นุ่งห่มกันตามใจชอบแบบนี้เป็นเรื่องน่าอับอาย   ไม่เหมาะกับประเทศที่กำลังก้าวไปสู่อารยะ      จึงได้ออกประกาศของกระทรวงมหาดไทย  (ซึ่งก็มีผลพอๆกับกฎหมาย) ให้คนไทยแต่งกายเสียใหม่  ล้มล้างรูปแบบเดิมๆโดยสิ้นเชิง

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง คำแนะนำในการแต่งกายของประชากรไทย  



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 31 มี.ค. 13, 08:45



เพลง สวมหมวก
คำร้อง จมื่นมานิตย์นเรศร์
ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน
ขับร้อง มัณฑนา โมรากุล

เชิญซิคะ เชิญร่วมกันสวมหมวก
แสนสะดวกสบายด้วยทั้งสวยหรู
ปรุงใบหน้าให้อร่ามงามหน้าดู
อีกจะชูอนามัยให้มั่นคง

สมศักดิ์ศรีมีสง่าเป็นอารยะ
หมวกนี้จะชวนให้ชมสมประสงค์
ถึงไม่สวยหมวกจะช่วยเสริมทรวดทรง
งามระหงเลิศวิไลหญิงไทยเรา

อย่ารีรอเลยเจ้าขามาช่วยกัน
สมานฉันท์สร้างไทยให้เทียมเขา
สวมหมวกเถิดจะสำรวยสวยไม่เบา
สนองเค้าท่านผู้นำกล่าวคำชวน

ซ้าย - คุณรุจี อุทัยกร  ขวา - คุณมัณฑนา โมรากุล ผู้ร้องเพลงนี้ ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔   ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 31 มี.ค. 13, 09:10

ชื่อเดิมของมัณฑนา  โมรากุล เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (แพ) ตั้งให้ว่า "เจริญ"   ครูสกนธ์ มิตรานนท์เป็นคนเปลี่ยนชื่อจาก "เจริญ" มาเป็น "จุรี โมรากุล" ต่อมาชื่อ จุรี โมรากุล ถูกปลี่ยนอีกครั้งเป็น "มัณฑนา โมรากุล" และประกาศอย่างเป็นทางการทางวิทยุให้ทราบทั่วกันตามคำสั่งของจอมพลป.พิบูลสงคราม
      
"ท่านบอกว่า จุรี แปลว่า พู่สีแดงที่ปลายหอก ท่านเขียนชื่อ วชิรา มัทนา มัณฑนา รุจิรา ให้จมื่นมานิตย์เอามาให้ดิฉันเลือก ดิฉันเลือกมัณฑนา แหม..ดวงตอนนั้นมันขึ้นเหลือเกิน เปลี่ยนชื่อก็ต้องประกาศวิทยุ"
      
ตอนนั้น จอมพลป. พิบูลสงครามชื่นชมนักร้องหญิงคนหนึ่งของวงหัสดนตรีกรมโฆษณาการ รุ่นเกล้เคียงกับมัณฑนา โมรากุล แต่กระนั้นท่านจอมพลก็ยังมาเลียบ ๆ เคียง ๆ ถามความสมัครใจกับมัณฑนา โมรากุล เรื่องที่เธอถูกโยงเข้าไปเกี่ยวข้องนั้น เกิดจากกรณีที่ท่านพบเห็นว่า มัณฑนา โมรากุล เจ้าของเสียงเพลง "สวมหมวก" (คำร้อง – จมื่นมานิตย์นเรศ ปี ๒๔๘๔ ) ส่งเสริมวัฒนธรรมสมัยใหม่ตามประกาศรัฐนิยม (สวมหมวก สวมถุงน่อง เลิกกินหมากและกล่าวคำว่าสวัสดี) กลับฝ่าฝืนไม่ยอมสวมหมวกในที่สาธารณะ
      
"ดิฉันถูกเรียกไปไต่สวนเรื่องไม่สวมหมวก เวลานั้นไปติดต่อราชการต้องสวมหมวก ถ้าไปโรงพยาบาลแล้วไม่สวมหมวกจะไม่ได้รับการต้อนรับ วันนั้นเรานั่งรถกลับบ้านหมวกมันก็เผยิบ ๆ เราเห็นว่า ใกล้ถึงวังสวนสุพรรณแล้ว พอรถถึงกรมการปกครองฯก็เลยถอดหมวกเอามาวางไว้บนตัก บังเอิญท่านจอมพลเอารถออกจากกรมการปกครองฯพอดี เราก็ตกใจ พอรุ่งขึ้นมีจดหมายเรียกตัวนางสาวมัณฑนาไปสอบสวนที่วังสวนกุหลาบ พระราชธรรมนิเทศ รองอธิบดีกรมโฆษณาการเป็นผู้สอบ ทำไมมัณฑนาผู้ร้องเพลงสวมหมวก แต่ไม่มีหมวกบนหัว?"
        
"ตอนนั้นดิฉันยังเด็ก ร้องไห้ใหญ่เลย ดิฉันบอกว่า ลมมันตี เห็นว่าใกล้ถึงวังสวนสุพรรณแล้วก็เลยถอด ท่านจะเอาโทษดิฉันตัดเงินเดือน ๓ เดือน ฉันบอกว่า ฉันต้องเลี้ยงแม่ พ่อติดคุก น้องอีกหลายคน ท่านบอกว่าเรื่องนี้ต้องไต่สวนกันตลอดชีวิต ตอนหลังเรื่องไม่สวมหมวกพับไป เอาเรื่องไม่เคารพผู้นำขึ้นมาแทน ท่านจอมพลฯ เห็นว่าไม่ได้ไหว้ท่าน ดิฉันตอบว่าตกใจจริง ๆ ไม่คิดว่าจะเจอท่านที่หลังวังสวนสุพรรณ มันเป็นคราวเคราะห์ของดิฉัน นักดนตรีพูดกันว่า เฮ้ย...งานนี้โดนเก็บ (เป็นภรรยาลับ) อีกคนแล้ว ต้องหานักร้องใหม่อีกแล้ว"
      
"ตอนหลังท่านถามตรง ๆ ว่า อยากสบายแบบ..(นักร้องหญิงคนหนึ่งของกรมฯ รุ่นใกล้เคียงกับมัณฑนา) ดิฉันก็บอกตรงๆ ว่า ไม่อยากสบาย ท่านถามว่าทำไม...เค้ามีรถยนต์ มีแหวนเพชรนะ-ไม่ค่ะ-คุณพ่อดิฉันติดคุกอยู่บางขวาง ท่านก็อึ้งไป หลวงอดุลย์เค้าจับ ดิฉันบอกว่า พ่อติดคุก แล้วลูกต้องไปเป็นดอกไม้ของศัตรู พ่อมิช้ำใจตายในคุกหรือ ท่านตอบว่า ฉันไม่ข่มขืนใจใคร ต่อไปนี้จ่ายเด็กคนนี้อีกเดือนละ ๕๐๐ บาท เพราะเป็นเด็กรู้พระคุณ ตอนนั้นเงินเดือน ๔๕๐ บาทเอง เพราะแรงกตัญญูนี่แหละจึงดันชีวิตได้ ๑๒ ปี"
      
"ตอนที่ท่านเข้าคุก มีคนมาตามดิฉันให้ไปที่กระทรวงยุติธรรม ให้ดิฉันพูดว่าเคยถูกบังคับให้เป็นเมียท่าน ดิฉันบอกว่า ดิฉันไม่ทำ เพราะดิฉันไม่ได้โดนบังคับ จะให้พูดในสิ่งที่ไม่จริง ดิฉันไม่ทำ หลายคนก็มองว่า ทำไมดิฉันไม่เล่นศัตรูกลับ ดิฉันถือว่าท่านมีพระคุณ"

เก็บความจาก ผู้จัดการ


      
บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 31 มี.ค. 13, 10:16

เรื่องรองเท้าผมจำได้ดี พี่เลี้ยงผมตอนผมเป็นเด็กบ้านเดิมอยู่ราชบุรี เดินเท้าเปล่ามา ๒๐ กว่าปี พอออกกฎว่าต้องใส่รองเท้าก็ต้องกระเสือกกระสนหารองเท้า แต่รองเท้าที่มีขายมีเ​ฉพาะสำหรับคนที่ใส่รองเท้ามาแต่เด็ก พี่เลี้ยงผมมีเท้าแบบเดินคันนามาแต่เล็ก ปลายเท้าแผ่ หารองเท้าที่ได้ขนาดไม่ได้ บ้านผมอยู่ลึกเข้าไปในกรมช่างอากาศ เวลาไปจ่ายตลาดพี่เลี้ยงก็เดินหิ้วรองเท้าจนถึงหน้ากรมแล้วค่อยใส่เพื่อเดินไปตลาด ขากลับพอพ้นยามหน้ากรมก็ถอดรองเท้าเดินจนถึงบ้าน

โจงกะเบนก็น่าเสียดายที่เลิกไป เพราะมีประโยชน์สองอย่าง อย่างแรกคือเป็นที่ให้เด็กอายุสามสี่ขวบอย่างผมเกาะ โดยเฉพาะเวลาจ่ายตลาด เวลาเขาก้มลงเลือกผลไม้จากหาบที่วางอยู่กับพื้น ผมยืนอยู่ข้างหลังก็เกาะหางโจงกะเบนไว้ ทำให้อุ่นใจว่าพี่เลี้ยงจะไม่หายไปไหนแน่  ประโยชน์อีกอย่างคือ ทำให้หญิงมีความเสมอภาคกับชายในด้านการปัสสาวะ จะทำที่ไหนก็ได้ ชายยืนข้างรั้วได้ หญิงก็ปลดหางโจงกะเบนออก นั่งลงข้างรั้วได้อย่างมิดชิดเหมือนกัน   ๕๕๕

จำได้ว่าเขาสั่งฟันต้นหมากต้นพลูหมด พี่เลี้ยงผมแทบแย่ ไปดูรูปเก่าๆเห็นหน้าบึ้งทุกรูป คงเป็นที่ไม่มีหมากเคี้ยว พออพยพไปโคราชปรากฎว่าชาวบ้านยังเก็บต้นหมากต้นพลูไว้ใช้ส่วนตัวอยู่บ้าง แต่ไม่มีขายแล้ว ถ้าจะว่าจอมพล ป.ทำอะไรดีแก่ชาติ ผมก็จะเสนอว่าการให้คนไทยเลิกหมากได้อาจนับว่าเป็นงานชิ้นโบว์แดง จำได้ว่าเดินไปไหนมีแต่ร่องรอยของคนบ้วนน้ำหมากไว้ สดๆบ้าง เก่าๆ บ้าง มีกระโถนไว้บ้วนน้ำหมากในบ้านทุกบ้าน นอกจากนั้นผมคิดว่ามะเร็งของช่องปาก ลิ้น ฯลฯ คงจะสูงพอดู
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 31 มี.ค. 13, 13:25

จำได้ว่าเขาสั่งฟันต้นหมากต้นพลูหมด พี่เลี้ยงผมแทบแย่ ไปดูรูปเก่าๆเห็นหน้าบึ้งทุกรูป คงเป็นที่ไม่มีหมากเคี้ยว พออพยพไปโคราชปรากฎว่าชาวบ้านยังเก็บต้นหมากต้นพลูไว้ใช้ส่วนตัวอยู่บ้าง แต่ไม่มีขายแล้ว

ส.ส.เชียงใหม่สมัยนั้นตั้ง กระทู้ถามรัฐบาลถึงเหตุผลที่สั่งให้เจ้าหน้าที่ตัดต้นพลูของราษฏร  กะซวงมหาดไทยตอบว่า

"เจ้าของสวนพลูเหล่านั้นได้ซาบซึ้งไนนโยบายของรัถบาลเปนหย่างดีจึงยินยอมไห้ตัดด้วยความสมัคใจ ไม่มีไครเดือดร้อน และขอไห้แก้ไขความเดือดร้อนแต่หย่างได"



บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 31 มี.ค. 13, 15:39

วีงสวนสถพรรณที่คุณทัณฑนาท่านกล่าวถึงนั้พอจะทราบว่า อยู่ริมคลองสามเสนติดกับโรงโซดาหลวงสวนดุสิตตรงใกล้แยกสวนรื่นในปัจจุบัน
แต่กรมการปกครองนั้นจะอยู่ในบริเวณพระที่นั่งนงคราญสโมสร  ที่ปัจจุบันเป็นกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ้น  ใกล้กับวังสวนกุหลาย  ใช่หรือไม่ครับ?
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 20 คำสั่ง