เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 32190 สยามใหม่ ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 28 มี.ค. 13, 21:16

การกำหนดชื่อคนไทยให้แบ่งแยกเพศกันชัดเจน  เป็นเรื่องอลหม่านอีกครั้งหนึ่งในหมู่ประชาชน   เพราะแต่เดิมมาชื่อชาวบ้านไทย มักใช้ได้ทั้งชายหญิง   ไม่ว่าชื่อจัน  อิน  บุญ  ทองอยู่ ฯลฯ    เมื่อจะต้องเปลี่ยนกันใหม่แทบจะไม่เว้นคน  ก็ต้องเกิดขั้นตอนให้ต้องเรียนรู้กันคือ
1   ชื่อของตนจัดอยู่ในเพศเดียวกับเจ้าของชื่อหรือไม่
2   ถ้าต้องเปลี่ยน จะเปลี่ยนเป็นอะไร

ถ้าข้อแรกผ่านได้ ว่าชื่อเดิมนั้นตรงตามเพศดีอยู่แล้ว   เจ้าของชื่อก็เบาใจว่าไม่ต้องเปลี่ยน      แต่ถ้าไม่ผ่านเพราะไปสังกัดชื่อของเพศตรงข้าม   ก็ต้องเปลี่ยนใหม่ หรือไม่ก็เติมคำเข้าไปให้เป็นชื่อตรงตามเพศตัวเอง   
เช่นชื่อถนอมเฉยๆ  จัดว่าเป็นชื่อผู้ชาย   แต่ถ้าเติมคำว่า จิตต์ ว่าศรี เข้าไป ก็จะกลายเป็นชื่อผู้หญิง  ถูกต้องตามวัธนธัม

อย่างนักหนังสือพิมพ์อาวุโสท่านหนึ่งชื่อนายประหยัดศรี ก็ต้องเปลี่ยนเป็นนายประหยัด ศ. สุภาพสตรีผู้หนึ่งชื่อสมัย ก็ต้องเติมคำว่าสวาทเข้าไปเป็นสมัยสวาท ขนาดนางสาวไทยชื่อเรียม ก็ต้องเปลี่ยนเป็นเรียมรมย์ แม้แต่สมเด็จพระพันวษาอัยยิกาเจ้าทรงพระนามเดิมว่า สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา ก็ทรงได้รับคำแนะนำให้เปลี่ยนพระนามเสียใหม่เพราะพระนามเดิมฟังเป็นเพศชาย ทำให้กริ้ว ตรัสตอบมาว่า
" ชื่อของฉัน ทูลกระหม่อม (หมายถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ผู้เป็นสมเด็จพระบรมราชชนก) พระราชทานให้ ท่านทรงทราบดีว่าฉันเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย"
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3477.120
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 28 มี.ค. 13, 21:39

  ชื่อชายหรือหญิงตามกำหนดของรัฐบาลนี้  บางเรื่องก็ฟังแปลกๆ  เช่นชื่อบุญ ถือเป็นชื่อผู้ชาย  แต่บุญเจือ นับอยู่ในชื่อผู้หญิง   
  ชื่อดอกไม้ส่วนใหญ่ถูกนับเป็นชื่อผู้หญิง   แต่ดอกไม้บางชนิดก็เว้นไว้เป็นชื่อผู้ชาย เช่น แก้ว เข็ม พุด เทียน ส้ม     แต่ถ้ามีคำอื่นบวกเข้ามา  แก้ว เป็นแก้วมณี  เข็ม เป็นเข็มทอง  เทียน เป็นเทียนหอม    ก็นับเป็นชื่อผู้หญิง

   นวัตกรรมใหม่ของการเรียกชื่ออีกแบบหนึ่งคือ  มีชื่อต้น และชื่อรอง   ส่วนนามสกุลมีอยู่แล้วตั้งแต่รัชกาลที่ 6      เรื่องชื่อต้นและชื่อรองเห็นชัดว่านำมาจากประเทศตะวันตก    แต่เหตุผลที่ว่าทำไมต้องมีชื่อรอง     ก็เป็นคนละอย่างกับเหตุผลของฝรั่ง     ชื่อรองนั้นมีเผื่อเอาไว้   ในกรณีเจ้าตัวอยากจะใช้ชื่อย่อมากกว่าชื่อเต็ม   เช่นชื่อนายสิน นพกุล   จะใช้ ส.นพกุล  รัฐบาลก็ไม่ห้าม     ทีนี้คนนามสกุลนพกุล ที่มีชื่อขึ้นต้นด้วย ส.  เกิดมีหลายคนด้วยกัน      เมื่อมีนายคนหนึ่งใช้ชื่อนายส.นพกุลขึ้นมา  ก็ไม่รู้ว่า ส.ไหน   จึงต้องมีชื่อรองเอาไว้ให้รู้ว่าเป็นใครกันแน่  เช่นนายสิน ประเสริฐ นพกุล  เขียนว่า นายส.ป. นพกุล   นายสิริ มานิต นพกุล ก็เป็น นายส.ม. นพกุล

   กำหนดกันละเอียดขนาดนี้แล้ว   คณะกรรมการคณะที่กำหนดกฏเกณฑ์การตั้งชื่อคงจะมีคนที่ละเอียดยิ่งขึ้นไปกว่า    จึงเผื่อเอาไว้ในกรณีอันหายากยิ่ง  คือเผื่อว่าชื่อย่อของชื่อต้นและชื่อรองก็ยังดันมาซ้ำกันอีก  แล้วจะทำอย่างไร     แทนที่จะตอบว่างั้นก็อย่าใช้ชื่อย่อ  ใช้ชื่อเต็มไปเสียเลยให้หมดเรื่อง   ท่านก็เปิดโอกาสให้ 50%  คือย่อครึ่งและเต็มครึ่ง  อันได้แก่ชื่อต้นต้องเขียนชื่อเต็ม และชื่อรองใช้ตัวย่อ  เช่นนายสิน ป. นพกุล
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 29 มี.ค. 13, 06:53

อย่างนักหนังสือพิมพ์อาวุโสท่านหนึ่งชื่อนายประหยัดศรี ก็ต้องเปลี่ยนเป็นนายประหยัด ศ. สุภาพสตรีผู้หนึ่งชื่อสมัย ก็ต้องเติมคำว่าสวาทเข้าไปเป็นสมัยสวาท ขนาดนางสาวไทยชื่อเรียม ก็ต้องเปลี่ยนเป็นเรียมรมย์

คุณแสงเงินมีบุตร ๒ คน คนโตเป็นหญิงชื่อ ภิรมย์ คนน้องเป็นชายแม่ตั้งชื่อให้คล้องจองกับพี่ว่า สมจิตร   

เมื่อคุณแปลกมีนโยบายให้ตั้งชื่อตามเพศ  สมจิตร ก็ต้องเปลี่ยนชื่อเป็น จิตร  ภูมิศักดิ์

บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 29 มี.ค. 13, 06:54

อ่านเรื่องชื่อบุคคลที่ท่านอาจารย์ใหญ่นำเสนอมาแล้ว  ให้หวนคำนึงถึงคุณครูผู้ใหญ่ท่ล่วงลับไปแล้วท่านหนึ่ง
ท่านเล่าให้ฟังว่า เดิมท่านชื่อเอี้ยง  เป็นชื่อที่บิดามารดาท่าตั้งให้  เมื่อออกไปเรียนต่อต่างประเทศท่านก็เป็นมิสเตอร์เอี้ยงไม่มีปัญหาอันใด
จบการศึกาากลับมารับราชการท่านก็คงเป็นครูเอี้ยงของศิษย์  แจ่เมื่อท่านผู้นำสั่งให้เปลี่ยนชื่อเพราะชื่อเอี้ยงนั้นเป็นชื่อที่ไม่สามารถระบุเพศได้ชัดเจน
ท่านเลยต้องเปลี่ยนชื่อ  และไหนๆ จะต้องเปลี่ยนแล้วท่านเลยเปลี่ยนจาก นกเอี้ยง ไปเป็นพญานก ที่ชื่อ อินทรีย์ เสียเลย  จากนั้นมาคนไทย
จึงรู้จักปูชนียาจารย์ท่านนี้ในชื่อ อินทรีย์  จันทรสถิตย์  มากกว่าราชทินนามหลวงอิงคศรีกสิการ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 29 มี.ค. 13, 11:11

เมื่อคุณแปลกมีนโยบายให้ตั้งชื่อตามเพศ  สมจิตร ก็ต้องเปลี่ยนชื่อเป็น จิตร  ภูมิศักดิ์

ยังมีอีกหลาย "สม" ที่ต้องเปลี่ยนจาก "หญิง" เป็น "ชาย"

หลายคนก็เป็นที่รู้จักภายหลังในเกือบอีก ๔๐ ปีต่อมา เช่น

1. ว่าที่นายร้อยตรี สมจิตร์ ชมะนันทน์ (พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์)
2. ว่าที่นายร้อยตรี ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา (พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
3. ว่าที่นายร้อยตรี พร ธนะภูมิ (พลเอก พร ธนะภูมิ)
4. ว่าที่นายร้อยตรี ฉลาด หิรัญศิริ (พลเอก ฉลาด หิรัญศิริ)
5. ว่าที่นายร้อยตรี สมบุญ ชุณหะวัณ (พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ)
6. ว่าที่นายร้อยตรี สมหมาย ณ นคร (พลเอก เสริม ณ นคร)
7. ว่าที่นายร้อยตรี วัฒนเพิ่ม บุนนาค (พลตำรวจตรี โชติพัฒน์ บุนนาค)
8. ว่าที่นายร้อยตรี เฉลิมศรี จารุวัสตร์ (พลโท เฉลิมชัย จารุวัสตร์)




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 29 มี.ค. 13, 20:44

   
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยรัฐนิยม ฉบับที่ ๑๑

เรื่อง กิจประจำวันของคนไทย
    ด้วยรัฐบาลได้พิจารณาเห็นว่า การรู้จักปฏิบัติกิจประจำวันเป็นข้อสำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวแก่การผะดุง ส่งเสริมวัฒนธรรมของชาติ อันจะเป็นผลให้ประชาชนพบเมืองไทยทั่วไปมีสุขภาพแข็งแรงมั่นคง เป็นกำลังของชาติสืบไป คณะรัฐมนตรีจึ่งได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ประกาศเป็นรัฐนิยมไว้ดั่งต่อไปนี้

     ๑. ชนชาติไทยพึงแบ่งเวลาในวันหนึ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ ปฏิบัติงานที่เป็นอาชีพส่วนหนึ่ง ปฏิบัติกิจส่วนตัวส่วนหนึ่ง และพักผ่อนหลับนอนอีกส่วนหนึ่ง ให้เป็นระเบียบและมีกำหนดเวลาอันเหมาะสมจนเกิดเป็นนิสสัย

     ๒. ชนชาติไทยพึงปฏิบัติกิจประจำวันตามปกติดั่งต่อไปนี้
        ก. บริโภคอาหารให้ตรงตามเวลาไม่เกิน ๔ มื้อ
        ข. นอนประมาณระหว่าง ๖ ถึง ๘ ชั่วโมง

     ชนชาติไทยพึงตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ประกอบกิจการงานของตนโดยไม่ท้อถอย และหลีกเลี่ยง กับควรหยุดเพื่อรับประทานอาการและพักกลางวันไม่เกิน ๑ ชั่วโมง เมื่อพ้นกำหนดเวลาทำงานเวลาเย็น ควรออกกำลังกายโดยเล่นกิฬากลางแจ้งวันหนึ่งอย่างน้อย ๑ ชั่วโมง หรือประกอบงานอื่น เช่น ทำสวนครัว เลี้ยงสัตว์ หรือปลูกต้นไม้ เป็นต้น เมื่อชำระล้างร่างกายแล้ว รับประทานอาหาร

     ๓. ชนชาติไทยพึงใช้เวลาว่างเวลากลางคืน ทำการงานอันจำเป็นที่คั่งค้างอยู่ให้เสร็จ หรือสนทนาปราศัยกับบุคคลในครอบครัว มิตรสหาย ศึกษาหาความรู้โดยการฟังข่าวทางวิทยุกระจายเสียง อ่านหนังสือ หรือในการมหรสพ หรือศิลปกรรม แล้วแต่โอกาส

     ๔. ชนชาติไทยพึงใช้เวลาในวันหยุดงาน ให้เป็นประโยชน์แก่ร่างกายและจิตต์ใจ เช่นประกอบกิจในทางศาสนา ฟังเทศน์ ทำบุญ ศึกษาหาความรู้ ท่องเที่ยว เล่นกีฬา หรือพักผ่อนเป็นต้น.                                                  
    ประกาศที่ลงมติเป็นเอกฉันท์ของคณะรัฐมนตรีฉบับนี้ อ่านแล้วยังสงสัยถึงจุดมุ่งหมาย     ว่าตั้งใจจะให้มีผลบังคับตามนี้จริงหรือ    บางข้ออย่างข้อ ๑  ก็น่าจะปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยเริ่มมีชุมชนขึ้นในโลก   เพราะมนุษย์ก็ต้องทำงานหาเลี้ยงปากท้อง  เว้นเวลาไว้ทำเรื่องส่วนตัวบ้าง   ทำเสร็จก็พักผ่อนนอนหลับ    ไม่เห็นจะต้องมาออกประกาศกัน
    ส่วนข้อ ๒    ก็ไม่รู้ว่ามุ่งผลบังคับใช้มากน้อยแค่ไหน     ถ้าชาวบ้านสมัยนั้นเลิกงานแล้วกลับไปนั่งในบ้าน ไม่ออกกำลังกายเล่นกีฬากลางแจ้ง  จะมีโทษอย่างใดหรือไม่
    ข้อ ๓   ชาวบ้านที่เลิกงานกลับบ้าน  เขาก็พูดคุยกับลูกเมีย   มีวิทยุก็ฟังวิทยุ  มีหนังสือก็อ่าน    มันก็เป็นกิจวัตรประจำวันทำกันทั่วไปอยู่แล้ว
    
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 30 มี.ค. 13, 11:04

ถ้ารัฐนิยมบังคับใช้มาจนปัจจุบัน   เห็นทีชื่อสมาชิกในเรือนไทยจะต้องเปลี่ยนใหม่หลายคน   อย่างน้อย  Siamese ก็ต้องเป็น Thai
คุณ V_Mee  คงต้องเปลี่ยน เพราะ V เฉยๆไม่รู้เพศไหน   
ส่วนคุณเพ็ญชมพู  ยังไม่รู้ว่าจะเปลี่ยนดีหรือไม่ 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 30 มี.ค. 13, 11:52

ถ้ารัฐนิยมบังคับใช้มาจนปัจจุบัน   เห็นทีชื่อสมาชิกในเรือนไทยจะต้องเปลี่ยนใหม่หลายคน   อย่างน้อย  Siamese ก็ต้องเป็น Thai
คุณ V_Mee  คงต้องเปลี่ยน เพราะ V เฉยๆไม่รู้เพศไหน  
ส่วนคุณเพ็ญชมพู  ยังไม่รู้ว่าจะเปลี่ยนดีหรือไม่  

ต้องเปลี่ยนเล็กน้อยตาม ประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่อง การปรับปรุงตัวอักสรไทย ประกาส นะ วันที่ ๒๙ พรึสภาคม  ๒๔๘๕  

เป็น .....



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 30 มี.ค. 13, 14:21

ที่แน่ๆคือไม่ใช่...




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 30 มี.ค. 13, 14:30

^
^
คงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะในชื่อข้างบนมีพยัญชนะที่คุณแปลกให้งดใช้อยู่ ๒ ตัว





บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 30 มี.ค. 13, 14:36

เรื่องการตัดเชิงของ ญ ออก ตรงกับความเห็นของคุณจิตร ภูมิศักดิ์

เรื่องนี้อยู่ในบความชื่อ "เชิงอักษรไทย" ศัพท์สันนิษฐานและอักษรวินิจฉัย, จิตร ภูมิศักดิ์, ฟ้าเดียวกัน, กรุงเทพฯ, พิมพ์ครั้งที่ ๑, ๒๕๔๘, น. ๒๗๕ - ๒๘๕


http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/01/K5040700/K5040700.html#9   ความคิดเห็นที่ ๙-๑๙  แผยแพร่ในพันทิป โดย คุณแป๋ม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 30 มี.ค. 13, 15:50

อ่านมาจนถึงหน้าสุดท้ายแห่งประกาศนี้ ได้ข้อสรุปว่า ต้องเขียนดังนี้แล

เพ็นชมพู



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 30 มี.ค. 13, 16:12

ไคร่ส่งเสิมไห้ไช้ชื่อ เพ็นชมพู  เผื่อรับราชกานไนกระซวง จักได้จเรินพัธนาสถาพอนต่อไป  

ภาษาไทยของสยามใหม่ ก่อความอลหม่านในสังคม ไม่ใช่เฉพาะลำบากต้องไปเปลี่ยนชื่อในทะเบียนบ้านที่อำเภอ  อย่างเรื่องก่อนเท่านั้น     แต่ต้องมาเริ่มต้นเปลี่ยนทุกสิ่งทุกอย่างที่เขียนด้วยภาษาไทย  ตั้งแต่ป้ายชื่อถนน เอกสารราชการทุกชนิด  ตำราเรียนทุกวิชาที่ใช้ภาษาไทย     ธนบัตร  เครื่องพิมพ์ดีด  ตัวเรียงพิมพ์ในโรงพิมพ์     หนังสืออ่านจริงอ่านเล่นทุกประเภทที่พิมพ์ด้วยภาษาไทย ฯลฯ
ในเมื่อช่วงนั้น (พ.ศ. 2485) เป็นช่วงประเทศไทยตกอยู่ในภาวะสงคราม   เศรษฐกิจทรุดหนัก  ข้าวของเงินทองขาดแคลนไปหมดทุกหย่อมหญ้า    การเปลี่ยนทุกอย่างเพื่อรองรับภาษาไทยชุดใหม่นี้จึงนับเป็นความสิ้นเปลืองอย่างมหาศาล     แต่ก็ไม่มีใครท้วงติงได้   เพราะท่านผู้นำตัดสินใจตามนี้ไปแล้ว   รัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรีจึงมีมติเป็นเอกฉันท์เช่นเดียวกับเรื่องอื่นๆก่อนหน้านี้  ให้ประกาศใช้ภาษาไทยแบบใหม่ ตั้งแต่วันที่ 29 พรึสภาคม พ.ศ. 2485
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 30 มี.ค. 13, 16:25

ยังติดไม่ออกเลยครับจะเปลี่ยนจาก วี ไปเป็นอื่นได้อย่างไร  ถ้าจะต้องกราบขอความกรุณาท่านอาจารย์พิจารณาหาชื่อที่เป็นเพศชายไม่ไม่แปลกเหมือนท่านผู้นำแล้วละครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 30 มี.ค. 13, 17:13

นำเอกสารร่วมสมัย หนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (แพ) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๖ ดังนี้


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 20 คำสั่ง