เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 32189 สยามใหม่ ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 26 มี.ค. 13, 14:11

ไทยเรามีนายกรัฐมนตรีคนแรกเมื่อพ.ศ. 2475  เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองได้สำเร็จ      พระยามโนปกรณ์นิติธาดาแม้ได้ชื่อว่าเป็นผู้นำทางการเมืองคนแรกในระบอบประชาธิปไตย      แต่ตัวท่านเองก็มิได้ก่อตั้งนโยบายการบริหารใหม่ๆขึ้นมาด้วยตัวเอง    ทิศทางการเมืองในช่วงนั้นยังคงอยู่ในอำนาจของคณะราษฎร์ ที่ประกอบด้วยนายทหารหนุ่มๆและพลเรือนปัญญาชน ที่ก่อการปฏิวัติขึ้นมา 
 
พระยามโนปกรณ์ฯ ได้ชื่อว่าเป็นนายกรัฐมนตรีที่พยายามประสานประโยชน์ระหว่าง "กลุ่มอำนาจเก่า" คือกลุ่มบุคคลสำคัญในระบอบราชาธิปไตย และ "กลุ่มอำนาจใหม่" คือกลุ่มผู้นำในการปฏิวัติ    ด้วยเหตุนี้เอง  จึงไม่เป็นที่พอใจของกลุ่มอำนาจใหม่   ทำให้ท่านต้องถูกบังคับให้พ้นจากเก้าอี้ไปในระยะเวลารวดเร็ว

การเมืองไทยล้มลุกคลุกคลานด้วยการเปลี่ยนมืออำนาจมาตั้งแต่พ.ศ. 2475  จนถึงพ.ศ. 2481   ก็ได้นายกรัฐมนตรีที่ก้าวจากทหารมาเป็นผู้นำระบอบประชาธิปไตยอย่างที่เรียกกัน     จอมพลป. พิบูลสงครามมองเห็นความยุ่งยากทางการเมืองที่เรื้อรังมาตลอด 6 ปี      จึงเลือกวิธียุติปัญหาด้วยการเก็บกวาดผู้คนที่คิดว่าเป็นตัวปัญหาออกไปจากบ้านเมือง  ด้วยวิธีการเด็ดขาด   ไม่ประนีประนอมอีกต่อไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 26 มี.ค. 13, 14:35

    เมื่อจอมพลป. ก้าวขึ้นนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรี    ในหนึ่งเดือน ผลงานแรกก็คือทำให้ผู้คนที่จอมพลป.เห็นว่าเป็นศัตรูทางการเมือง กลายเป็นลูกไก่ในกำมือ   ด้วยการออกคำสั่งเด็ดขาด  สั่งจับถึง 50 คน  ด้วยข้อหาเดียวกันหมดคือกบฏภายในพระราชอาณาจักร    คนเหล่านี้ไม่ถูกส่งผ่านการกระบวนการยุติธรรมอย่างผู้ถูกจับกุมทั่วไป  แต่ถูกส่งตัวขึ้นศาลพิเศษ โดยไม่มีใครในรัฐบาลหรือประชาชนคัดค้านได้     คำสั่งออกมาอย่างรวดเร็วแบบสายฟ้าแลบ  คือประหารชีวิต 18  คน จำคุกตลอดชีวิต 26 คน   ที่เหลือโชคดีกว่านิดหน่อยคือถูกเนรเทศออกนอกประเทศ
    วิธีการแบบนี้เหมือนจุดไฟเผาหญ้า   พอไฟไหม้ หญ้ารกๆก็ราบไปหมดทันตาเห็น   ส่วนจะไหม้อะไรอย่างอื่นที่ไม่ใช่หญ้า เช่นต้นไม้หรือสัตว์เล็กๆหรือเปล่า  ไม่ต้องคำนึงถึงในขณะนั้น    อย่างน้อยทุกอย่างที่เคยเป็นเสี้ยนเป็นตอก็ไม่เหลือเกะกะอีก    
    ในปีต่อมาคือพ.ศ. 2482  จอมพลป.มิได้นั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีเก้าอี้เดียว   แต่ว่านั่งคร่อมลงไปหลายๆตัวพร้อมกัน   เช่นเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ตำแหน่งหลังนี้ นั่งเก้าอี้ในปี 2485)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 26 มี.ค. 13, 14:47

  เมื่อขจัดเสี้ยนหนาม ที่จอมพลป.เห็นว่าเป็นตัวปัญหาได้   ขั้นต่อไปคือใช้อำนาจในมือที่มีอยู่ สร้างสิ่งที่เห็นว่าเป็นผลดีต่อการบริหารประเทศ ที่ถูกกุมบังเหียนด้วยมือตนเองมากที่สุด       สิ่งนั้นคือปลุกสำนึกของประชาชนให้ไปทางเดียวกัน  ได้แก่สำนึกในเรื่อง "ชาติ"
  ประชาชนไทยสมัยนั้นถูกกระตุ้นเตือนจากสื่อที่มีอยู่ 2 อย่างคือวิทยุและหนังสือพิมพ์  ไม่เว้นแต่ละวัน   ให้เกิดความตื่นตัวและฮึกเหิมใจว่าประเทศกำลังก้าวกระโดดไกลอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน     แทนที่จะเป็นเรือพายที่พายเอื่อยๆเฉื่อยๆ อย่างที่พวกเขาเคยชินมาตั้งแต่เกิด   สยามกำลังเป็นรัฐนาวาแล่นฉิวไปสู่ความเป็น "สยามใหม่"   มีโอกาสรุ่งเรืองเป็นอารยะประเทศ  ไม่น้อยไปกว่าประเทศมหาอำนาจอื่นๆ   
สยามใหม่ในความหมายของจอมพลป. ประกาศออกมา คือ
"มีวัธนธัมดี   มีอนามัยดี  มีการแต่งกายอันเรียบร้อย   มีที่พักอาศัยดี  และมีที่ทำมาหากินดี"
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 26 มี.ค. 13, 17:43

เดี๋ยวนี้พัฒนาแล้วขยับจากเด็กหลังห้องหลับๆ ตื่นๆ มาหน้าห้องลงชื่อเข้าเรียนก่อนเลยครับ  ยิงฟันยิ้ม มานั่งรอซายานวรัตนด้วย
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 26 มี.ค. 13, 17:50

มีเด็กโค่งมาลงทะเบียนประเดิมแล้ว      ขอเอาข้าวแช่มาเสิฟก่อนนะคะ   เหมาะกับอากาศร้อนจัดของเดือนมีนาคม
แล้วค่อยเปิดชั้นเรียนภาคค่ำค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 26 มี.ค. 13, 20:17

  จอมพลป. มีความหวังอันรุ่งโรจน์เช่นเดียวกับผู้นำที่เป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรงอยู่ในโลกยุคนั้น    ยุโรปมีฮิตเลอร์และมุสโสลินี ผู้เป็น "ความหวังใหม่"ของเยอรมนีและอิตาลี      สยามก็มีจอมพลป. นำทางไปสู่สยามใหม่ แตกต่างจากสยามเก่าที่ล้าหลังคร่ำครึในหลายๆด้าน อย่างในอดีต
  ผลงานแรกของจอมพลป. ที่ออกมาเป็นรูปธรรม  คือ  เมื่อจะเป็นสยามใหม่  ก็ต้องเปลี่ยนชื่อประเทศใหม่เป็นอันดับแรก     ไม่เป็นสยามแล้ว   แต่เป็น "ประเทศไทย"  เพื่อให้ถูกต้องตามเชื้อชาติ    เพราะแต่เดิมแม้ประเทศมีชื่อว่าสยาม  แต่สำหรับคนที่อาศัยอยู่ในประเทศ  เราเรียกว่า "คนไทย"   
  คนไทยแต่เดิมแบ่งตามท้องถิ่นเป็นไทยเหนือ  ไทยอีสาน  ไทยใต้ และแบ่งตามเชื้อชาติศาสนา เช่นเป็นไทยมุสลิม    ผู้นำไทยลบคำขยายทั้งหมด  เหลือแต่ "คนไทย" เฉยๆ  คำเดียว
   การเปลี่ยนจาก "สยาม" เป็น "ประเทศไทย" เป็นเรื่องใหญ่   แม้แต่เรื่องบางเรื่องไม่น่าจะใหญ่ก็เป็นเรื่องใหญ่ด้วยจนได้      เห็นได้จากสภาผู้แทนราษฎรต้องถกเถียงกันเป็นเหตุการณ์สำคัญ ถึงกับต้องลงมติให้โหวตเพราะตกลงกันไม่ได้      นั่นคือ คำว่า ไทย  จะต้องมี ย ยักษ์ หรือว่าเป็น "ไท" เฉยๆ
   ในที่สุด ต้องลงคะแนนกัน ชนะกันไม่ห่างนักด้วยคะแนนโหวต 64 ต่อ 57  ให้มีคำว่า ย  ต่อท้าย ไท
   เหตุผลก็คือ
   "ไทยมี ย เปรียบเหมือนผู้หญิงที่ดัดคลื่นแต้มลิปสติค เขียนคิ้ว   ส่วนไท  ไม่มี ย  นั้นเปรียบเหมือนหญิงที่งามโดยธรรมชาติ   แต่ไม่ได้ตกแต่ง"
บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 26 มี.ค. 13, 20:29

๕๐ คนที่โดนจับ ประหารบ้าง จำคุกบ้าง มีใครบ้างครับ?
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 26 มี.ค. 13, 20:49

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3025.75

อยู่ในคคห.ที่ ๘๒ ๘๓ และ ๘๔ ครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 26 มี.ค. 13, 20:50

    ในที่สุด ต้องลงคะแนนกัน ชนะกันไม่ห่างนักด้วยคะแนนโหวต 64 ต่อ 57  ให้มีคำว่า ย  ต่อท้าย ไท
   เหตุผลก็คือ
   "ไทยมี ย เปรียบเหมือนผู้หญิงที่ดัดคลื่นแต้มลิปสติค เขียนคิ้ว   ส่วนไท  ไม่มี ย  นั้นเปรียบเหมือนหญิงที่งามโดยธรรมชาติ   แต่ไม่ได้ตกแต่ง"

จิตร ภูมิศักดิ์ให้ความเห็นดังนี้

ข้อนี้ดูเหมือนจะเป็นที่รู้กันทั่วไปแล้วว่า เกิดขึ้นจากความเฟื่องในภาษาไทยบาลีและสันสกฤต

ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเขียน ไท เฉย ๆ ไม่มี ย แต่พอถึงจารึกสมัยพญาลือไท เราก็ได้พบว่าเริ่มเขียน ไทย ขึ้นปะปนกับ ไท เป็นสองรูป สาเหตุก็เพราะไทยยุคพญาลือไทนั้นกำลังเฟื่องภาษาบาลี ภาษาบาลีนั้นไม่มีสระ ไอ เมื่อจะเขียน ไท ด้วยภาษาบาลี ก็ต้องแผลงเป็น เทยฺย อย่างชื่อพญาลือไทย ก็เขียนเป็น ลีเทยฺย (ซึ่งเดี๋ยวนี้เราถอดออกมาเป็นลิไท ไม่รู้ว่าจะยอมเพ้อคลั่งบาลีกันไปด้วยถึงไหน) ฉนั้นเวลาเขียนเป็นภาษาไทยก็เลยเอา ย พ่วงท้ายเข้าให้ด้วยเป็น ไทย  แต่ที่บางแห่งในจารึกหลักเดียวกันนั้นเองก็ยังเขียน ไท, ลืมใส่ ย ของสำคัญเสียก็มี ! จารึกรุ่นหลัง ๆ ลงมาที่แก่วัดมาก ๆ ถึงกับใช้ เทยฺย ปนกับ ไทย ก็มี เช่นจารึกวัดช้างค้ำ จังหวัดน่าน พ.ศ. ๒๐๙๑ เขียนว่า :

"จุลศักราชได้ ๙๑๐ ตัว ในปีวอกขอมภิเสยฺย, เทยฺยภาสาว่าปีเปลิสัน, ในเดือนมาฆะ ไทย ว่าเดือน ๕....."

(วารสารศิลปากร ปีที่ ๔ เล่ม ๔ พ.ย. ๒๕๐๓ น. ๕๓)

ความคลั่งไคล้ภาษาบาลีเช่นนี้เอง จึงทำให้ ไทย เขียนมี ย ติดมาจนถึงทุกวันนี้

จาก หนังสือ "ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ" โดย จิตร  ภูมิศักดิ์ หน้า ๖๑๐-๖๑๑

ถ้าเปรียบเทียบโดยใช้เหตุผลของจิตร ภูมิศักดิ์น่าจะเป็นว่า

"ไทยมี ย เปรียบเหมือนผู้ชายที่บวชเรียน ชำนาญภาษาบาลีสันสกฤต  ส่วนไท ไม่มี ย นั้นเปรียบเหมือนผู้ชายที่ยังไม่ได้บวชเรียน"


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 26 มี.ค. 13, 20:58

มัวไปงุ่มง่ามหารายชื่อให้อาจารย์หมอศานติ  กลับมาที่กระทู้  ซายานวรัตนดอทซี เร็วปานสายฟ้าแลบ  มาเฉลยเรียบร้อยแล้ว   
ขอขอบพระคุณ

ส่วนเรื่องไทย มี ย ไม่มี ย    ส.ส.ในสมัยโน้นเห็นทีจะติดใจสาวๆดัดผมเป็นคลื่นทาปากเขียนคิ้ว มากกว่าสาวที่งามอย่างธรรมชาติ เลยโหวตกันออกมาด้วยเหตุผลนี้     
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 26 มี.ค. 13, 21:01

   การเปลี่ยนจาก "สยาม" เป็น "ประเทศไทย" เป็นเรื่องใหญ่   
 

เรื่องใหญ่อย่างหนึ่ง ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในหมวดพระมหากษัตริย์อย่างมาก เพราะคำว่าสยาม มีหลายคำที่แฝงอยู่ในหมวดนี้พอสมควร เช่น สยามินทร์, สยามมงกุฎราชกุมาร แต่ทราบกว่าจะมีการประสานการใช้คำสยามให้กลับมาก็นานพอสมควร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 26 มี.ค. 13, 21:17

     การเปลี่ยนชื่อจากสยามเป็นไทย  ไม่ได้จำกัดแค่ชื่อประเทศ   แต่อะไรๆที่มีคำว่าสยามก็โดนหางเลขต้องเปลี่ยนเป็นไทยไปด้วย เช่นชื่อ Siam Society (สยามสมาคม)  ก็ถูกเปลี่ยนเป็น Thailand Research Society     เรื่องนี้  พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร   รับสั่งว่า
  " เพราะในกรมนราฯ (หมายถึงพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์)  แกกลัวตาแปลกเกินกว่าเหตุไปนั่นเอง"
    
     สมัยนั้น เป็นที่เข้าใจได้ไม่ยากนักว่า เมื่อจอมพลป.มีอำนาจเบ็ดเสร็จแต่ผู้เดียว และใช้อำนาจนั้นอย่างไม่เห็นแก่หน้าผู้ใด      ประชาชนไม่ว่าคนไหนย่อมถูกปลุกให้เกิดสำนึกว่า การปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาลย่อมเป็นการประพฤติปฏิบัติตัวอย่างปลอดภัยที่สุด    รัฐบาลเองก็ไม่ได้ปล่อยเวลาให้ผ่านไปอย่างเปล่าประโยชน์    แต่เดินหน้าสายฟ้าแลบสั่งนโยบายออกมาในรูปที่เรียกว่า "รัฐนิยม" ออกมาเป็นประกาศให้ประชาชนปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ถึง 12 ฉบับ  เพื่อความเจริญก้าวหน้าไปสู่ความเป็นอารยะประเทศ  ได้แก่
      
รัฐนิยม ฉบับที่ 1
    เรื่องการใช้ชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482
    วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2482 ให้เปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” ตามที่เรียกขานประชาชนว่าคนไทย ชื่อประเทศก็ควรเรียกว่าประเทศไทย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 26 มี.ค. 13, 21:18

รัฐนิยม ฉบับที่ 2
    ประกาศไม่ให้คนไทยประพฤติตนเป็นตัวแทนของต่างชาติ และไม่ให้ขายที่ดินให้ต่างชาติ

รัฐนิยม ฉบับที่ 3
    เรื่องการเรียกคนในประเทศว่า “คนไทย” แม้มีเชื้อสายอื่นก็ให้ถือว่ามีสัญชาติไทย มิให้แบ่งแยก เป็นความต่อเนื่องจากรัฐนิยมแบบแรก นั่นคือการเรียกชื่อว่า “ไทยเหนือ ไทยอีสาน ไทยใต้ ไทยอิสลาม” ให้เรียกว่า “ไทย” โดยรวมเพื่อขจัดความแตกต่าง ซึ่งกำหนดให้เลิกเรียกชื่อชาวไทยโดยใช้ชื่อไม่ต้องตามเชื้อชาติ และนิยมของผู้เรียก แต่ให้ใช้คำว่า “ไทย” แก่ชาวไทยทั้งมวลโดยไม่แบ่งแยก ทั้งนี้รัฐบาลมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความเป็นปึกแผ่นดินมั่นคงของประเทศและความกลมเกลียวสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติไทยทั่วทุกภาคของประเทศ
     กล่าวได้นับว่านับเป็นครั้งแรกที่มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่า “ชาวไทยมุสลิม” เป็นคนไทยเช่นเดียวกับคนไทยทั่วไปบนผืนแผ่นดินไทย มีข้อความว่าด้วยรัฐบาลเห็นว่า “การเรียกว่าไทย” บางส่วนไม่ต้องตามชื่อเชื้อชาติ และความนิยมของผู้ถูกเรียกก็ได้
      การเรียกชื่อแบ่งแยกคนไทยออกเป็นหลายพวก หลายเหล่า เช่น ไทยเหนือ ไทยอีสาน ไทยใต้ และไทยอิสลาม ก็ดีไม่สมควรแก่สถานของประทศไทย ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งอันเดียวกันจะแบ่งแยกมิได้จึงประกาศไว้ในรัฐนิยมไว้ ดังนี้
      1 ให้เลิกการเรียกชาวไทยโดยใช้ชื่อที่ไม่ต้องตามเชื้อชาติและความนิยมของผู้เรียก
      2 ให้ใช้คำว่า ไทย แก่ชาวไทยทั้งมวลโดยไม่แบ่งแยก    
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 26 มี.ค. 13, 21:18


รัฐนิยม ฉบับที่ 4
    เรื่องการเคารพธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี
รัฐนิยม ฉบับที่ 5
    เรื่องให้ชาวไทยพยายามใช้เครื่องอุปโภค บริโภคที่ผลิตขึ้นในประเทศไทย
รัฐนิยม ฉบับที่ 6
    เรื่องทำนอง และเนื้อร้องเพลงชาติ
รัฐนิยม ฉบับที่ 7
    เรื่องชักชวนให้ชาวไทยร่วมกันสร้างชาติ
รัฐนิยม ฉบับที่ 8
    เรื่องเพลงสรรเสริญพระบารมี
รัฐนิยม ฉบับที่ 9
    เรื่องภาษาและหนังสือไทยกับหน้าที่พลเมืองดี ซึ่งกำหนดให้ชนชาติไทย ถือเป็นพลเมืองดีที่จะต้องศึกษาให้รู้หนังสือไทยอันเป็นภาษาของชาติอย่างน้อยต้องให้อ่านออก เขียนได้ และถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญในการช่วยเหลือสนับสนุนแนะนำชักจูงให้พลเมืองที่ยังไม่รู้ ภาษาไทยหรือยังไม่รู้หนังสือไทยให้รู้ภาษาไทยหรือหนังสือไทยจนอ่านออกเขียนได้ ทั้งนี้เพื่อ ไม่ให้เกิดความแตกแยกและความแตกต่างของท้องที่ถิ่นกำเนิด
รัฐนิยม ฉบับที่10
    เรื่องการแต่งกายของประชาชนชาวไทยและห้ามผิดเพศ : กำหนดให้คนไทยต้องแต่งกายตามที่รัฐบาลกำหนดไว้ว่าเป็นสุภาพชน เช่น ผู้ชายสวมหมวกใส่เสื้อชั้นนอกคอเปิดหรือปิด สวมกางเกงขายาวแบบสากล สวมรองเท้าหุ้มส้นและหรือหุ้มข้อ และถุงเท้า ส่วนผู้หญิงก็ต้อง สวมหมวก ใส่เสื้อนอกคลุมไหล่ สวมผ้าถุง ใส่รองเท้าหรือหุ้มส้นและถุงเท้า เป็นต้น

รัฐนิยม ฉบับที่ 11
    เรื่องกิจประจำวันของคนไทย ( ประกาศเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2484 ) โดยชนชาติไทยพึงบริโภคอาหารให้ตรงเวลา ไม่เกินวันละ 4 มื้อ และนอนประมาณ 6-8 ชั่วโมงต้องมุ่งมั่นทำงาน พักกลางวันไม่เกิน 1 ชั่วโมง มีเวลาทำสวนครัว เลี้ยงสัตว์ ปลูกต้นไม้ ทั้งชำระร่างกายแล้วจึงรับประทานอาหารว่าง ในเวลากลางคืนก็ควรใช้ในการพบปะสนทนาในครอบครัว มิตรสหาย ทั้งใช้ศึกษาหาความรู้ หรือในการมหรสพ ส่วนวันหยุดก็ควรใช้ให้เป็นประโยชน์ ต่อร่างกายและจิตใจ เล่นกีฬา พักผ่อน ทำบุญ ฟังเทศน์ เป็นต้น

รัฐนิยม ฉบับที่ 12
    เรื่องการช่วยเหลือคุ้มครองเด็ก คนชรา หรือคนทุพพลภาพ ประกาศเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2485
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 26 มี.ค. 13, 21:22

   การเปลี่ยนจาก "สยาม" เป็น "ประเทศไทย" เป็นเรื่องใหญ่   

เรื่องใหญ่อย่างหนึ่ง ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในหมวดพระมหากษัตริย์อย่างมาก เพราะคำว่าสยาม มีหลายคำที่แฝงอยู่ในหมวดนี้พอสมควร เช่น สยามินทร์, สยามมงกุฎราชกุมาร แต่ทราบกว่าจะมีการประสานการใช้คำสยามให้กลับมาก็นานพอสมควร

ก็ยังสงสัยอยู่เหมือนกัน  ว่าชื่อสยามที่เป็นชื่อเฉพาะต่างๆ จะแก้ไขอย่างไร  อย่างคำว่าสยามินทร์   ยังไงก็ใช้คำว่าไทย แทนไม่ได้   
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 20 คำสั่ง