เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 32185 สยามใหม่ ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 26 มี.ค. 13, 21:39

     ในเมื่อต้องการก้าวไปข้างหน้า  รัฐบาลชุด "รัฐนิยม" จึงพยายามทิ้งส่วนต่างๆในอดีตออกไป  รวมประเพณีและความเชื่อแต่เดิมด้วย   เช่นประกาศให้วันที่ 24 มิถุนายนซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นวันชาติ     เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็น 1 มกราคม  แทนที่จะเป็น 1 เมษายน  อย่างเดิมที่นับกันมาตั้งแต่พ.ศ. 2432   ทำให้การนับปีเปลี่ยนไป   เดือนธันวาคมกลายเป็นเดือนสุดท้ายของปีแทนที่จะเป็นเดือนมีนาคม  
    จอมพลป.ได้มอบหมายให้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวรรณไวทยากร  กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์  ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ และหลวงวิจิตรวาทการ ค้นคว้าหาเหตุผลว่าเหตุใดจึงสมควรเปลี่ยนวันปีใหม่ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี     ท่านทั้งสอง ก็ค้นคำตอบมาให้จนได้  ว่า
    1    มีผู้เข้าใจผิดว่าวันปีใหม่ 1 มกราคมเป็นวันปีใหม่ของคริสตศาสนา    แต่ความจริงใช้กันมาก่อนพระเยซูประสูติถึง 46 ปี   ผู้ริเริ่มคือจูเลียส ซีซาร์
    2    ประเทศทางตะวันออกที่นับ 1 มกราคม เป็นปีใหม่ก็มีแล้ว คือจีนกับญี่ปุ่น
    3    นำประเทศเข้าสู่ระดับสากล
    4    ใกล้เคียงกับคติโบราณของไทยมาก
    5    ถูกต้องกับลักษณะดินฟ้าอากาศ    เพราะตั้งแต่เดือนมกราคมไป อากาศในประเทศไทยดีที่สุด
    6    ยกเลิกสงกรานต์ คือยกเลิกเอาศาสนาพราหมณ์มาคร่อมพุทธศาสนา
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 26 มี.ค. 13, 21:43

ไม่เพียงแต่ชื่อประเทศเท่านั้นที่ถูกเปลี่ยน แม้แต่ชื่อตำบล อำเภอหากมีชื่อที่สื่อถึงต่างชาติ ก็ต้องถูกเปลี่ยนด้วย

พระราชกฤษฎีกาต่อจากฉบับข้างบนอีก ๒ ฉบับคือ พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒ (อีกฉบับหนึ่ง) และ พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๓ เปลี่ยนชื่อตำบลและอำเภอกันอุตลุดเพื่อสนองรัฐนิยมของท่านผู้นำ

ตำบลไหน อำเภอไหน มีคำว่า ญวน ลาว ขอม เขมร กัมพุช พม่า ลังกา จีน  ถูกเปลี่ยนหมด

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 26 มี.ค. 13, 22:06

ตามไปอ่านในราชกิจจาฯ ตามที่คุณเพ็ญชมพูบอกไว้    เห็นเปลี่ยนกันอุตลุดอย่างที่ว่า
ขอยกมาให้อ่านกัน เป็นตัวอย่าง ถึงชื่อตำบลที่ไม่น่าจะเปลี่ยนก็ต้องเปลี่ยน

ตำบลวัดสามจีน           เปลี่ยนเป็น          ตำบลสามแยก
ตำบลบ้านญวนสามเสน   เปลี่ยนเป็น          ตำบลวชิรพยาบาล
ตำบลบ้านทะวาย          เปลี่ยนเป็น          ตำบลยานนาวา
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 27 มี.ค. 13, 07:08

แม้ว่าจะมีประกาศในราชกิจจาฯ เปลี่ยนแปลงชื่อ "สยาม" เป็น "ไทย" เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๒ แต่ก็กว่าจะลงตัวคงอีกนาน อย่างตราไปรษณียากรพระบรมฉายาลักษณ์ รัชกาลปัจจุบัน ออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๐ ยังเป็น "สยาม"


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 27 มี.ค. 13, 18:03

รีบมานั่งฟังอาจารย์ทั้งหลายบรรยาย
ชอบฟังเรื่องจอมพล ป.
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 27 มี.ค. 13, 20:03

นอกจากรัฐนิยมทั้งหลายนั้นแล้ว  เมื่อนายพันเอก หลวงพิบูลสงครามได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีเต็มตัวแล้ว  ภารกิจหนึ่งที่ไม่ค่อยมีคนทราบคือ เมื่อเสร็จการพระราชทานเพลิงศพ เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้านครน่านตนสุดท้ายที่ถึงพิราลัยใน พ.ศ. ๒๔๗๔ แล้ว  ทายาทเจ้านครน่านได้มีหนังสือกราบบังคมทูลรัชกาลที่ ๗ ขอให้ทรงตั้งเจ้าราชวงศ์สิทธิสาร ผู้เป็นน้องของเจ้ามหาพรหมสุรธาดาเป็นเจ้านครน่านต่อไป  แต่เนื่องจากเวลานั้นเป็นสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว  รัชกาลที่ ๗ จึงพระราชทานฎีกานั้นไปให้รัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดาพิจารณา  คณะรัฐมนตรีสมัยนั้นได้พิจารณาเห็นว่า รัฐบาลราชาธิปไตยในสมัยรัชกาลที่ ๗ เคยมีดำริที่จะไม่ตั้งเจ้าผู้ครองนครอีกต่อไป  เมื่อเจ้านครตนใดพิราลัยลลงก็จะไม่ตั้งอีก  แต่ก็ยังมิได้จัดการอะไรจนเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วจึงได้มีพระราชกระแสพระราชทานไปพร้อมกับฎีกาของเจ้านายเมืองน่านว่า  เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยเช่นนี้ควรที่รัฐบาลจะได้พิจารณาทบทวนนโยบายเดิมเสียด้วย  รัฐบาลในยุคนั้นพิจารณากันต่อเนื่องยาวนาน  มีการเสนอว่าควรจะเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองนคร  แล้วสถาปนาเจ้านายฝ่ายเหนือให้เป็น Prince แบบที่ญี่ปุ่นตั้งเจ้านายเกาหลี  บ้างก็เสนอให้ตั้งเป็นพระองค์เจ้า  แยกเป็นวงศ์ ณ เชียงใหม่  ณ ลำปาง  ณ ลำพูน  ณ น่านกันไป  สุดท้ายเมื่อจอมพลป เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรก  ก็ได้มีบัญชาว่า ไม่ให้ทั้งยศ ทั้งตำแหน่ง ให้แต่เงินประจำตำแหน่งเพียงอย่างเดียว  การปกครองหัวเมืองมณฑลพายัพในรูปแบบหัวเมืองประเทศราชจึงเป็นอันสิ้นสุดลงด้วยประกาศิตของท่านผู้นำในระบอบประชาธิปไตยด้วยประการฉะนี้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 27 มี.ค. 13, 20:57

ขอบคุณคุณ V_Mee และท่านอื่นๆที่ช่วยเข้ามาบรรยายให้เกิดทั้งความรู้ และสีสันในกระทู้นี้ค่ะ  

นอกจากตำบลอำเภอทั้งหลายถูกเปลี่ยนชื่อ เพื่อลบประวัติส่วนที่มีชื่อเชื้อชาติอื่นๆมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในอดีต   คำว่า "สยามินทร์" ก็ถูกลบออกไปจากยุคสยามใหม่ เท่าที่จะลบได้ด้วย

ในเพลงสรรเสริญพระบารมี  คำว่า "สยามินทร์" ถูกตัดทอนออกไป   เท่านั้นยังไม่พอ  เนื้อเพลงก็ยังถูกหั่นให้สั้น   เหลือหัวท้ายเพียงแค่นี้เอง

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยรัฐนิยม ฉะบับที่ ๘
เรื่องเพลงสรรเสริญพระบารมี
    โดยเหตุที่ได้บัญญัติให้เรียกชื่อประเทศว่าประเทศไทย รัฐบาลจึงเห็นสมควรแก้ไขบทเพลงสรรเสริญพระบารมี มิให้มีคำว่า สยาม และตัดทอนข้อความและทำนองให้กระทัดรัดเหมาะสมยิ่งขึ้น คณะรัฐมนตรีจึงลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ประกาศเป็นรัฐนิยม แก้ไขบทเพลงสรรเสริญพระบารมีแบบพิศดาร ให้มีข้อความดั่งต่อไปนี้

ข้าวรพุทธเจ้า เอามโนและศิระกราน
นบพระภูมิบาล บรมกษัตริย์ไทย
ขอบันดาล ธประสงค์ใด
จงสิทธิดั่ง หวังวรหฤทัย
ดุจถวายไชย ชโย
                           
                     ส่วนทำนองเพลงแบบสังเขปนั้นให้คงไว้ตามเดิม

                                                ประกาศมา ณ วันที่ ๒๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๘๓

                                                                                             พิบูลสงคราม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 27 มี.ค. 13, 22:16

     รัฐนิยมทั้ง 12 ฉบับ ทำให้คนไทยรู้สึกตัวว่ากำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่จริงๆ    เพราะไม่เคยมีผู้ปกครองประเทศในยุคไหนเลยที่กำชับกำชาประชาชนอย่างละเอียดลออ ถึงขั้นก้าวล้ำเข้ามาในบ้านช่องห้องหับ  ในมุ้งในม่านของประชาชนไทย   
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยรัฐนิยม ฉบับที่ ๑๑

เรื่อง กิจประจำวันของคนไทย
     ด้วยรัฐบาลได้พิจารณาเห็นว่า การรู้จักปฏิบัติกิจประจำวันเป็นข้อสำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวแก่การผะดุง ส่งเสริมวัฒนธรรมของชาติ อันจะเป็นผลให้ประชาชนพบเมืองไทยทั่วไปมีสุขภาพแข็งแรงมั่นคง เป็นกำลังของชาติสืบไป คณะรัฐมนตรีจึ่งได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ประกาศเป็นรัฐนิยมไว้ดั่งต่อไปนี้

     ๑. ชนชาติไทยพึงแบ่งเวลาในวันหนึ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ ปฏิบัติงานที่เป็นอาชีพส่วนหนึ่ง ปฏิบัติกิจส่วนตัวส่วนหนึ่ง และพักผ่อนหลับนอนอีกส่วนหนึ่ง ให้เป็นระเบียบและมีกำหนดเวลาอันเหมาะสมจนเกิดเป็นนิสสัย

     ๒. ชนชาติไทยพึงปฏิบัติกิจประจำวันตามปกติดั่งต่อไปนี้
        ก. บริโภคอาหารให้ตรงตามเวลาไม่เกิน ๔ มื้อ
        ข. นอนประมาณระหว่าง ๖ ถึง ๘ ชั่วโมง

     ชนชาติไทยพึงตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ประกอบกิจการงานของตนโดยไม่ท้อถอย และหลีกเลี่ยง กับควรหยุดเพื่อรับประทานอาการและพักกลางวันไม่เกิน ๑ ชั่วโมง เมื่อพ้นกำหนดเวลาทำงานเวลาเย็น ควรออกกำลังกายโดยเล่นกิฬากลางแจ้งวันหนึ่งอย่างน้อย ๑ ชั่วโมง หรือประกอบงานอื่น เช่น ทำสวนครัว เลี้ยงสัตว์ หรือปลูกต้นไม้ เป็นต้น เมื่อชำระล้างร่างกายแล้ว รับประทานอาหาร

     ๓. ชนชาติไทยพึงใช้เวลาว่างเวลากลางคืน ทำการงานอันจำเป็นที่คั่งค้างอยู่ให้เสร็จ หรือสนทนาปราศัยกับบุคคลในครอบครัว มิตรสหาย ศึกษาหาความรู้โดยการฟังข่าวทางวิทยุกระจายเสียง อ่านหนังสือ หรือในการมหรสพ หรือศิลปกรรม แล้วแต่โอกาส

     ๔. ชนชาติไทยพึงใช้เวลาในวันหยุดงาน ให้เป็นประโยชน์แก่ร่างกายและจิตต์ใจ เช่นประกอบกิจในทางศาสนา ฟังเทศน์ ทำบุญ ศึกษาหาความรู้ ท่องเที่ยว เล่นกีฬา หรือพักผ่อนเป็นต้น.

                                                       ประกาศมา ณ วันที่ ๘ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๘๔

                                                                                               พิบูลสงคราม
                                                                                               นายกรัฐมนตรี

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 28 มี.ค. 13, 07:06

     รัฐนิยมทั้ง 12 ฉบับ ทำให้คนไทยรู้สึกตัวว่ากำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่จริงๆ   

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/RKJ/announce/search_result.jsp?SID=53A2027F07A2B43A6120826D1D5BB830

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 28 มี.ค. 13, 08:56


http://www.ratchakitcha.soc.go.th/RKJ/announce/search.jsp  ชื่อเรื่อง - รัฐนิยม น่าจะหาได้ง่ายกว่า

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 28 มี.ค. 13, 11:05

     รัฐนิยมทั้ง 12 ฉบับ ทำให้คนไทยรู้สึกตัวว่ากำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่จริงๆ    เพราะไม่เคยมีผู้ปกครองประเทศในยุคไหนเลยที่กำชับกำชาประชาชนอย่างละเอียดลออ ถึงขั้นก้าวล้ำเข้ามาในบ้านช่องห้องหับ  ในมุ้งในม่านของประชาชนไทย   

คุณแปลกยุ่มย่ามไปถึงชื่อของบุคคล กำหนดไว้เลยว่าชื่อไหนสำหรับผู้ชาย ชื่อไหนสำหรับผู้หญิง



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 28 มี.ค. 13, 11:15

     รัฐนิยมทั้ง 12 ฉบับ ทำให้คนไทยรู้สึกตัวว่ากำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่จริงๆ    เพราะไม่เคยมีผู้ปกครองประเทศในยุคไหนเลยที่กำชับกำชาประชาชนอย่างละเอียดลออ ถึงขั้นก้าวล้ำเข้ามาในบ้านช่องห้องหับ  ในมุ้งในม่านของประชาชนไทย   

คุณแปลกยุ่มย่ามไปถึงชื่อของบุคคล กำหนดไว้เลยว่าชื่อไหนสำหรับผู้ชาย ชื่อไหนสำหรับผู้หญิง



เรื่องชื่อกำหนดเพศว่า ชื่อใดบ่งบอกความเป็นชาย เช่น สามารถ, ชาญศึก, สมชาย  ส่วนชื่อบ่งบอกความเป็นสตรี คือ สมหญิง, จินตนา, ประภาพันธ์ ตรงนี้เองก็ไม่วายเกิดปัญหา

สมเด็จพระพันวัสสา "สว่างวัฒนา" ถูกท่านผู้นำทักท้วงว่าพระนามบ่งบอกความเป็นชาย สมควรเปลี่ยนพระนามให้เหมาะสมกับยุคสมัย

สมเด็จฯท่านตรัสคืนว่า "ชื่อฉัน ทูลกระหม่อมทรงทราบดีว่าฉันเป็น หญิง หรือ ชาย"  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 28 มี.ค. 13, 11:23

หลักเกณฑ์การตั้งชื่อชาย-หญิง ของคณะกรรมการโดยมีแนวทางตามดำริของคุณแปลก  ยิ้มเท่ห์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 28 มี.ค. 13, 11:45

[สมเด็จพระพันวัสสา "สว่างวัฒนา" ถูกท่านผู้นำทักท้วงว่าพระนามบ่งบอกความเป็นชาย สมควรเปลี่ยนพระนามให้เหมาะสมกับยุคสมัย

สมเด็จฯท่านตรัสคืนว่า "ชื่อฉัน ทูลกระหม่อมทรงทราบดีว่าฉันเป็น หญิง หรือ ชาย"  ยิ้มเท่ห์

ตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการ  

พระนาม "สว่าง" เป็นชาย, "วัฒนา" เป็นหญิง แต่เมื่อนำมารวมกันแล้วก็น่าจะเป็นชื่อ "หญิง"





คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 28 มี.ค. 13, 12:01

มีประกาศเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมาถึง ๓ ฉบับ

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ชื่อบุคคล

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ชื่อบุคคล (ฉบับที่ ๒)

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ชื่อบุคคล (ฉบับที่ ๓)

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง