เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 47117 รอยสักของไทย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 23 มี.ค. 13, 09:26

   ดาราสาว  Evan Rachel Wood  น่าจะเป็นคนไม่กลัวความเจ็บ เพราะเนื้อตัวเธอสักไว้ถึง 9 แห่งรวมทั้งด้านในริมฝีปาก ซึ่งไม่โชว์ให้ใครเห็น  (งั้นจะสักไว้ทำไมล่ะ หนู?)   ลองนึกถึงเนื้ออ่อนๆด้านในริมฝีปาก แค่เป็นร้อนในยังเจ็บแทบตาย   นี่เธอเล่นให้ช่างเอาเข็มสักลงไป...อึ๋ย...
   อ้อ  ข้อความยาวเหยียดบนหลังคอ  เธอเอามาจากคำคมของ Edgar Allan Poe  นักเขียนเรื่องลึกลับชาวอเมริกัน  ซึ่งเขียนไว้ว่า  “All my only weapon that I vividly see or seems, – a dream within a dream?”   เธอคงจะชอบประโยคนี้มาก  เลยโชว์ให้คนอื่นอ่านซะเลย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 23 มี.ค. 13, 09:34

ครั้งหนึ่ง จอห์นนี่ เด็ปป์เคยเป็นแฟนกับวีโนน่า ไรเดอร์  ก็เลยสักคำว่า  “Winona Forever” เอาไว้ที่ไหล่ข้างหนึ่ง   แต่ในเวลาเปลี่ยน รักก็เปลี่ยน  พอเลิกกันคำนี้ก็กลายเป็นหนามยอกใจ     ต้องกลับไปให้ช่างสักเอาเข็มจิ้มลงไปใหม่  ดัดแปลงเป็นคำว่า “Wine is good.” ก็โล่งอกไป
บทเรียนนี้สอนให้รู้ว่า  อย่าสักชื่อแฟนลงไปเพื่อยืนยันความรักอมตะระหว่างกัน   เพราะจะเจ็บตัวซ้ำสองหลังจากเจ็บใจตอนเลิกรากันแล้ว

คราวนี้จอห์นนี่เอาใหม่   สักแบบมั่นใจไม่ต้องแก้ไข คือสักรูปนกกระจอกบินเหนือคลื่น  พร้อมกับชื่อ Jack อยู่ข้างใต้   หมายถึงแจ๊ค สแปโรว์  ตัวเอกในหนัง “Pirates” - Captain Jack Sparrow  ที่เขาแสดงจนลือลั่นไปทั่วโลก      แบบนี้เก็บไว้ได้ตลอดไป


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 23 มี.ค. 13, 10:13

ออกนอกทางไปหอมปากหอมคอ    กลับมาที่เรื่องจีนเส็ง

จีนเส็งแกจะโยกย้ายไปอยู่ที่ไหนยังไง  ไม่เจอหลักฐานจะติดตามได้  แต่ก็เดาว่าในเมื่อพระเจ้าอยู่หัวมิได้ริบทรัพย์สิน แกก็คงจะไปตั้งหลักแหล่งในถิ่นใหม่ห่างกรุงเทพได้ไม่ยาก     ลูกเมียก็ไปอยู่พร้อมหน้ากัน ไม่ได้โดดเดี่ยว    แสดงว่าก็ทรงพระเมตตามิให้แกตกระกำลำบาก ต้องพลัดพรากจากครอบครัว
แต่การสักหน้า คือการบอยคอตจีนเส็งไปในตัวมิให้คบหาสมาคมกับใครได้สะดวก     เพราะชาวบ้านเห็นรอยสักก็ต้องซักถามเอาความจริง หรือสืบรู้กันว่าเป็นคนต้องพระราชอาญา    ทำให้ปลีกตัวออกห่าง    ทรงใช้วิธีการเช่นนี้เพราะวิชาที่จีนเส็งใช้นั้นจะได้ผลหรือไม่ได้ผลก็ตาม  เป็นวิชาที่ชักนำคนให้เกิดความงมงาย  เกิดผลเสียหายได้ในวงกว้างยิ่งกว่าจีนเส็งไปทำร้ายใครเพียงคนสองคนแล้วจบแค่นั้น

การสักหน้าจีนเส็งในคดีนี้ น่าจะเป็น "เชือดไก่ให้ลิงดู"  เพื่อมิให้คนเอาอย่าง เกิดเล่นของขลังกระทำรำเพรำพัดกันมากมาย ทำให้คนอื่นๆเดือดร้อนกันไปทั่ว     ก็ทรงตัดไฟเสียแต่ต้นลม

ขอจบกระทู้แค่นี้ค่ะ   แต่ถ้าใครจะเพิ่มเติมอยากคุยเรื่องรอยสัก หรือเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวกับจีนเส็ง  ก็เชิญได้ตามสะดวก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 23 มี.ค. 13, 11:44

แวะมาบอกคุณ SILA ว่า ดาราสาวไทยก็นิยมสักเหมือนกัน ค่ะ
ในรูปคือหยาดทิพย์ ราชปาล


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 23 มี.ค. 13, 12:15

Angelina Jolie (L) has her shoulder blade tattooed with ancient Khmer script
by Thai tattoo master Noo Kampai in Thailand 2003.



ยันตร์ห้าแถว

ดาราไทยตามรอยดารานอก หรือ ดารานอกตามรอยดาราไทย



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 23 มี.ค. 13, 19:45

ดูไม่ออกว่าภาษาญี่ปุ่นหรือจีน    ต้องรอคุณม้ามาเฉลยว่าเธอสักว่าอะไร


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 23 มี.ค. 13, 19:49

บ๊ะ จะสองทุ่มกว่าแล้ว มัวแต่ชักช้ามาไม่ทัน   สงสัยท่านอาจารย์เทาฯของเราทานข้าวเย็นไปซะแล้ว ไม่งั้นจะเอารูปรอยสักร่างไม่เน่าแต่สยองมาให้ชมเป็นการช่วยท่านอาจารย์ลดน้ำหนักไปในตัวซะหน่อย  ลังเล  ลังเล  ลังเล


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 23 มี.ค. 13, 20:01

^


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 23 มี.ค. 13, 20:10

ยันต์ของไทยที่เก่าแก่ที่สุดกลุ่มหนึ่ง และใช้มาจนถึงทุกวันนี้คือ "ตัวเฑาว์" อันมีรากฐานมากจากตัวอักษร "ธ" คือ ธรรม มีแล้วคงกระพัน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 23 มี.ค. 13, 21:48

ดูไม่ออกว่าภาษาญี่ปุ่นหรือจีน    ต้องรอคุณม้ามาเฉลยว่าเธอสักว่าอะไร

上帝與你常在 = พระเจ้าอยู่กับคุณเสมอ



บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 24 มี.ค. 13, 04:29

ผุ้หญิงสาวอเมริกันมีนิยมสักเหมือนกัน แต่มีหลายรายที่พออายุมากขึ้นเสียใจที่ไปสักไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสักตรงที่ที่ซ่อนไม่ได้ หรือบางทีสักอะไรบางอย่างที่ทำให้หางานดีๆไม่ได้ เช่นสักรูปใบกัญชาไว้ที่แขน พอจะหางานทำ คนที่จะจ้างถ้าเห็นที่สักก็จะถอย  บางคนเขาเรียกสักบนตัวสาวว่า tramp stamp หรือ ตราพเนจร มีความหมายไปทางสำส่อน
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 25 มี.ค. 13, 09:58

    พูดถึงรอยสักไทย แล้วก็นึกถึงพระนาม พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
เว็บต่างๆ กล่าวถึงรอยสักของพระองค์ท่านตามๆ กันว่า

         ทรงสักยันต์ทั้งพระองค์ตั้งแต่สมัยวัยหนุ่ม รูปสักมีดังนี้ หนุมาน, ลิงลม(บริเวณพระชงฆ์ เพื่อเดินเร็ว),
มังกร (เลื่อยพันบริเวณแขน), อักขระ(บริเวณข้อนิ้ว เพื่อชกต่อยหนัก)
      
        บริเวณอุระสัก “ร.ศ. 112 ตราด” เพื่อจำไม่ลืมกับการบุกรุกของกองเรือรบฝรั่งเศสที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา

         หม่อมเจ้าหญิงเริงจิตรแจรง อาภากร พระธิดาของเสด็จในกรมฯมีบันทึกยืนยันว่า ทรงสักทั้งองค์ตั้งแต่สมัยหนุ่มๆ เล่ากันต่อมาว่า เมื่อหลวงปู่ขัน วัดนกกระจาบจะสักอาคมเพิ่มเติมให้ปรากฏว่าพระวรกายไม่มีที่ว่าง จึงได้อักขระ “นะ”  คำเดียวที่บริเวณกัณฐมณี (ลูกกระเดือก) เท่านั้น

เสด็จในกรมฯ ทรงสัก ร.ศ. ๑๑๒
                            ตราด

ให้นักเรียนนายเรือรุ่นแรกๆเพียงไม่กี่คนด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง รวมทั้งที่พระอุระของพระองค์ก็สักคำนี้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 25 มี.ค. 13, 10:41

 เพิ่งทราบจากข้อความของคุณ SILA เดี๋ยวนี้เอง   ว่าพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงสักทั้งพระองค์  พยายามหาพระรูปที่พอมองเห็นรอยสักบนพระองค์บ้าง ก็ยังหาไม่เจอ   
แต่ไปเจอรอยสัก  “ร.ศ. 112 ตราด" ในภาพของพลเรือตรี พระยาหาญกลางสมุทร ร.น. (บุญมี พันธุมนาวิน)นายทหารเรือไทยคนแรกที่ได้ไปศึกษาวิชาการเรือดำน้ำ ณ ประเทศอังกฤษ เป็นนายทหารรุ่นบุกเบิกและเป็นศิษย์คนสนิทของกรมหลวงชุมพรเขตต์อุดมศักดิ์
ท่านได้เคยถ่ายรูปรอยสักของตนไว้ ซึ่งตัวหนังสือที่อยู่ที่กลางหน้าอกคือคำว่า “ร.ศ.๑๑๒ ตราด” ท่านเจ้าคุณเขียนคำอธิบายไว้ว่าท่านสักไว้ตั้งแต่ยังเรียนอยู่ที่โรงเรียนนายเรือ อายุราว ๑๖ ปี เมื่อราวพ.ศ.๒๔๔๙ แต่ถ่ายรูปนี้ไว้เมื่ออายุได้ ๕๑ ปี เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๔ มีคำบรรยายพิมพ์บอกไว้ใต้รอยสักในรูปว่า

“การสัก ร.ศ.๑๑๒ และตราด นี้ ก็เนื่องมาจากที่ชาติไทยถูกอินโดจีน ฝรั่งเศส รุกรานใน ร.ศ. ๑๑๒ นั้น และยังโกงยึดเมืองตราดไว้อีกจนไทยต้องยอมยกมณฑลบูรพาแลกเปลี่ยน เรื่องนี้ในกรมหลวงชุมพรฯ พระอาจารย์ของข้าพเจ้าทรงเกรี้ยวกราดและเจ็บแค้นฝังพระทัยนักหนา ทรงทนไม่ไหวและจะได้เป็นที่ระลึกและฝังใจกันได้เพื่อทำการตอบแทน จึงได้ทรงสัก ร.ศ.๑๑๒ และ ตราด ในพระองค์ท่าน และบรรดาสานุศิษย์ที่โปรดปรานทั่วไป ข้าพเจ้าสักในวันรุ่งขึ้นจากวันที่พระองค์ทรงสักอายุราว ๑๖ ปี”


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 25 มี.ค. 13, 11:17

สำหรับชายไทยภาคกลาง  ถ้าหากว่าเกิดเป็นชาวบ้านธรรมดา ที่สมัยอยุธยาเรียกว่า "ไพร่" พอโตขึ้นเป็นหนุ่ม อยากสักหรือไม่อยากสักก็ต้องเจอรอยสักทุกคน   เพราะทุกคนต้องขึ้นทะเบียนเป็นไพร่หลวงที่มีสังกัดกรมกอง    วิธีรู้ว่าใครเป็นไพร่หลวงก็คือ ต้อง  "สักเลก"
คำว่า "เลก" หรือเลข หมายถึงชายฉกรรจ์ โตเป็นหนุ่มวัดส่วนสูงได้ถึง 2.5  ศอก หรือตั้งแต่ 150 ซ.ม. ขึ้นไป ก็ต้องเป็นเลกไปจนถึงอายุ 70 ปี   มีหน้าที่เข้ามารับใช้ราชการ ปีละกี่เดือนก็ว่ากันไป    วิธีรู้ว่าใครเป็นใคร สังกัดไหน   ทางการใช้สักคือการเอาเหล็กแหลมแทงตามเส้นหมึกที่เขียนไว้  ทำให้ผิวหนังเป็นรอยตัวอักษร  บอกชื่อเมือง ชื่อมูลนายที่สังกัด โดยสักที่ข้อมือด้านหน้า คือด้านหลังมือ   
รอยนี้ติดแน่นไม่ลบเลือน เอาออกไม่ได้  จะหนีไปไหนทางการบ้านเมืองก็ตามตัวพบเพราะรอยสักนี้เอง

หนังสือ "คนไท (เดิม) ไม่ได้อยู่ที่นี่" โดย บี.เจ. เทอร์วีล, แอนโทนี ดิลเลอร์ และ ชลธรา สัตยาวัฒนา  มีตอนหนึ่งเขียนถึง "การสักในระบบราชการ" โดย บี.เจ. เทอร์วีล เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสักในระบบราชการของไทยตั้งแต่สมัยอยุธยามาจนถึงรัตนโกสินทร์ ดังนี้

หลักฐานในสมัยอยุธยาได้บันทึกไว้ว่าการสักข้อมือของชายไทยเป็นเครื่องหมายแสดงตำแหน่งทางราชการ

ซีมอง เดอ ลา ลูแบร์ ซึ่งเดินทางเข้ามาอยุธยาใน พ.ศ. ๒๒๓๐ และ พ.ศ. ๒๒๓๑ ได้บันทึกไว้ว่า

".....ข้าราชการแต่ละคนจะมี  Pagayaus เป็นเครื่องหมายประจำกรมกองปรากฎอยู่บนข้อมือด้านนอก โดยการใช้แท่งเหล็กร้อนตราลงไปและกดทับด้วยสมอเหล็ก ผู้รับใช้ประเภทนี้เรียกว่า "บ่าว"

ลา ลูแบร์ นั้นเห็นจะไม่คุ้นเคยกับการสัก ทั้งยังไม่เข้าใจวิธีการลงสีที่ใต้ผิวหนังจึงเรียกการสักว่าเป็นการ "ตราด้วยแท่งเหล็กร้อน" บันทึกของชาวเปอร์เซียในราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์ได้กล่าวถึงเรื่องการสักที่ถูกต้องเอาไว้ว่าไม่ใช่ การประทับตรา และยังอธิบายขยายความถึงความแพร่หลายของระบบการสักไว้ดังนี้

"......พวกเขาจะได้รับการสักเป็นข้อความต่าง ๆ ด้วยตัวหนังสือของพวกเขา เปรียบได้กับที่พวกเตอร์ก และพวกอาหรับเผ่าเบดูอินตกแต่งร่างกายด้วยการทำจุดและเส้นเป็นลวดลายบนผิวหนัง เหล่าข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งสูงสุดที่ทำหน้าที่ในการจับกุม ประหารและทรมานบางพวก ก็มีรอยสักบนแขนขวา บางพวกก็สักบนแขนซ้าย  ส่วนพวกที่ทำหน้าที่ส่งข่าวสารและกำกับเส้นทาง ต่างก็มีลายสักเฉพาะของตน หน้าที่ทางราชการทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นตำแหน่งที่ต้องสืบต่อจากบิดาไปยังบุตรชาย"

ตามหลักฐานข้างต้นจะเห็นว่าการสักนับเป็นสิ่งที่ทำกันเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการบริหารงานราชการสมัยอยุธยาในพุทธศตวรรษที่ ๒๓ รอยสักซึ่งใช้เพื่อการบริการราชการนั้น ได้พัฒนาจนเป็นเครื่องหมายและสัญลักษณ์ในรูปของรหัส ซึ่งเพียงแต่เหลือบมองก็ทราบว่า ผู้มีรอยสักอย่างนั้น ๆ มีหน้าที่ทางราชการในหน่วยใด การสักข้อมือขวาหรือข้างซ้าย น่าจะสืบเนื่องมาจากการจัดระบบราชการในสมัยโบราณที่แบ่งเป็นกรมต่าง ๆ ซึ่งแยกไปสังกัดในกรมขวา หรือกรมซ้าย

การสักนับเป็นเครื่องมือของทางราชการที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมไพร่หลวง หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. ๒๓๑๐ และเกิดศึกแย่งชิงอำนาจกันขึ้น สิ่งที่สำคัญมากในเวลานั้นก็คือ ผู้ชายทุกคนต้องมีเครื่องหมายเพื่อแสดงว่า เป็นสมัครพรรคพวกของใคร ช่วงตอนปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ และครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ราชการส่วนกลางได้จัดส่งคณะเจ้าหน้าที่ไปทำการสักและขึ้นทะเบียนชายไทยทุกคน การสักได้ใช้ในระบบราชการไทยเรื่อยมาจนตลอด ๔ รัชกาลต้นของราชวงศ์จักรี เพิ่งจะมายกเลิกในปลายรัชการที่ ๕ เมื่อมีการประกาศให้เลิกการเกณฑ์แรงงาน

การสักซึ่งทำโดยราชการนี้นับได้มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ของไทย ในการศึกษาตามแนวประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์นี้เราจะตั้งเป็นข้อสังเกตว่า การสักชนิดนี้ได้พัฒนาขึ้นมาในหมู่ชนชาวสยามเท่านั้นมิได้หมายรวมถึงรัฐไทอื่น ๆ เมื่อชนชาติสยามได้แผ่อำนาจทางการปกครองไปยังนครเวียงจันทน์ในตอนต้นของพุทธศตวรรษที่ ๒๔ รัฐบาลได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการสักคนลาวเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นพลเมืองของประเทศสยาม ปรากฏว่าคนลาวได้ต่อต้านและตอบโต้อย่างรุนแรง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 25 มี.ค. 13, 11:22

บี.เจ. เทอร์วีล  อธิบายถึงการสักในระบบราชการของชนชาติไท ต่ออีกว่า

ในการปกครองบ้านเมืองของชนชาติไทกลุ่มอื่น ๆ เช่น ไทอาหม เป็นต้น ไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้ใช้การสักเพื่อกำหนดหน้าที่และฐานะของคนในสังคม ดูจะเป็นไปได้อย่างมาทีเดียวที่การสักชนิดนี้คงมีแต่ชาวสยามเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้นที่ถือปฏิบัติมาแต่ครั้งอดีตกาล

ในภูมิภาคนี้ นอกจากชาวสยามแล้ว พบว่ามีแต่ชาวเวียดนามเท่านั้นที่มีการสักในระบบราชการ มีหลักฐานบันทึกไว้ว่า ในศตวรรษที่ ๑๑ (นับแบบเวียดนาม) ทหารรักษาพระองค์จะได้รับการสักที่หน้าผาก ซึ่งนับเป็นรอยสักแห่งเกียรติยศของอาชีพที่น่าภาคภูมิใจ และในศตวรรษที่ ๑๓ (นับแบบเวียดนาม) ทหารที่จงรักภักดีต่อชาติจะมีรอยสักที่แขนเป็นข้อความว่า "มงโกลจงพินาศ" กล่าวโดยสรุป การสักร่างกายให้มีเครื่องหมายซึ่งลงไม่ได้เพื่อแสดงสถานะของคนในสังคม ที่มีปรากฏในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมิใช่กิจกรรมที่เป็นของวัฒนธรรมเดียว คือของชาวสยามเท่านั้น จากหลักฐานต่าง ๆ ที่มีอยู่ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ชาวสยามได้ยืมแนวคิดเรื่องการสักชนิดนี้มาจากชาวเวียดนามกระนั้นหรือ? หรือชนสองกลุ่มนี้ต่างก็คิดวิธีการนี้ขึ้นมาเอง?

อย่างไรก็ตาม การสักทางราชการดูเหมือนจะไม่ใช่ลักษณะร่วมของวัฒนธรรมไทโบราณซึ่งแพร่กระจายทั่วภาคพื้นี้ และจากหลักฐานต่าง ๆ ก็มิได้สนับสนุนความเกี่ยวพันระหว่างการสักชนิดนี้กับวัฒนธรรมออสโตรเอเชียติค



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.166 วินาที กับ 20 คำสั่ง