เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 57048 สถูปและอัฐิสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร จริงหรือ ?
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 25 มี.ค. 13, 09:37

บางกอกโพสท์ ฉบับวันนี้มีบทความ  In search of a king ครับ

http://www.bangkokpost.com/lifestyle/interview/342224/in-search-of-a-king

         Every day, some 30 people would be seen working at the site.
Some were seen digging into the ground, while others were digging into the centre
of the stupas. Myanmar historian Mickey Heart was there to help with historical details.
Retired architect Chantharid Virochsiri analysed the stupas, while two engineers
ensured safety on the site. These veterans were supported by young professionals.


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 25 มี.ค. 13, 09:54

เข้าไปอ่านในบางกอกโพสท์ ข้อความที่อาจารย์ปฏิพัฒน์กล่าวไว้ทิ้งท้ายดีครับ

"''Although the tomb couldn't be verified, we will bring back the missing parts of King Uthumporn's life that have never been recorded in Thai history,'' said Patipat"


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 25 มี.ค. 13, 09:56

^


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 25 มี.ค. 13, 17:50

ตามรอยกินนรพม่า

กินนรที่ชเวซิกอง พุกาม ภาพโดยคุณปฏิพัฒน์  พุ่มพงศ์แพทย์





คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 29 มี.ค. 13, 05:44

ภาพเพิ่มเติมจากอาจารย์ธีรศักดิ์  วงศ์คำแน่น

แผนผังและภาพเจดีย์ในตำแหน่งต่าง ๆ เปรียบเทียบลักษณะของเจดีย์ที่พบพระอัฐิกับลักษณะของเจดีย์อยุธยาและเจดีย์พม่าทั่ว ๆ ไป




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 18 ก.ค. 13, 11:48

         วันนี้นสพ. คมชัดลึกมีบทความเรื่องสถูป ดังนี้ ครับ

พบสถูป‘พระเจ้าอุทุมพร’ในพม่าพัฒนาเป็นมรดกประวัติศาสตร์ : เต๋อ สมิหลา

              เมื่อต้นเดือนมีนาคม ๒๕๕๖ ผู้เขียนมีโอกาสได้เดินทางไปทำบุญไหว้พระที่ประเทศพม่า
จุดหนึ่งที่หัวหน้าคณะทัวร์ได้พาไปชม คือ “สุสานลินซินกอง” (สุสานล้านช้าง) เมืองมัณฑะเลย์ และ
ไม่ไกลจากสะพานไม้ “อูเบ็ง” ซึ่งเป็นสะพานไม้สักยาวที่สุดในโลก  ด้านหนึ่งของสะพานนี้ คือ
ที่ตั้งของหมู่บ้านคนไทย ที่ถูกกวาดต้อนไปสมัยกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐ ทุกวันนี้
คนไทยเหล่านั้นก็คือคนพม่าเชื้อสายสยาม ที่เรียกว่า “โยเดีย”

              ที่สุสานแห่งนี้กำลังมีการขุดแต่งสถูป ที่เชื่อว่าเป็นที่บรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร
ซึ่งสิ้นพระชนม์ขณะเป็นบรรพชิต เมื่อ พ.ศ.๒๓๓๙

              ตามประวัติศาสตร์ไทย สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร เป็นกษัตริย์ช่วงสั้นๆ เมื่อ พ.ศ.๒๓๐๑ ต่อมา
ได้ทรงพระผนวชในปีเดียวกัน เพื่อให้พระเชษฐา คือ สมเด็จพระเอกทัศ ขึ้นครองราชย์แทน

              เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐ ได้เสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่า สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ สวรรคตในครั้งนั้น
พม่าได้กวาดชาวกรุงศรีอยุธยาไปยังพม่าจำนวนมาก รวมทั้งได้นิมนต์พระเจ้าอุทุมพร ซึ่งทรงพระผนวช
ให้เสด็จไปยังพม่าด้วย

              ชาวพม่ามีความศรัทธาเลื่อมใสในพระเจ้าอุทุมพรมาก ถึงกับถวายพระนามในพุทธศาสนา
ทางการพม่าว่า “มหาเถระอุทุมพร” (Maha Thera Udumbara) ทรงเป็นมหาเถระชั้นสูงที่ชาวพม่า
ให้ความเคารพนับถือเป็นพิเศษ   


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 18 ก.ค. 13, 11:55

              เมื่อ พระมหาเถระอุทุมพร สวรรคตใน พ.ศ.๒๓๓๙ ครั้งนั้นตามหลักฐานบันทึกของพม่า
กษัตริย์พม่าคือ “พระเจ้าปดุง” หรือพระนามอย่างเป็นทางการ คือ “พระเจ้าโบดอพญา” ได้พระราชทาน
เพลิงพระศพ “พระมหาเถระพระเจ้าอุทุมพร” เป็นพิธีหลวงอย่างสมพระเกียรติ ณ บริเวณสุสานล้านช้าง

              ต่อมาสุสานแห่งนี้กลายเป็นสุสานร้างมานานปี จนถึงทุกวันนี้ ทางการพม่าต้องการจะพัฒนา
พื้นที่รกร้างให้คืนสู่สภาพที่ดีขึ้น จึงได้มีการขุดแต่งสถูปต่างๆ พบว่ามีหมู่สถูปหนึ่งพิเศษกว่าสถูปองค์อื่นๆ
ซึ่งประกอบด้วยหมู่สถูป ๔ องค์ คือ สถูปที่บรรจุบรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรดังกล่าว จึงได้แจ้ง
มาให้ทางเมืองไทยทราบ พร้อมกับให้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ไปทำงานร่วมกับทางคณะทำงานของพม่า

              คณะทำงานฝ่ายไทยที่เดินทางไปทำงานร่วมกับคณะของพม่า เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๖ คือ
๑.คุณวิจิตร ชินาลัย สถาปนิกอำนวยการ / นักอนุรักษ์ ๒.ดร.สุเมธ  ชุมสาย ณ อยุธยา ศิลปินแห่งชาติ /
สถาปนิกอาวุโส / นักอนุรักษ์ / นักเขียน / นักประวัติศาสตร์ ๓.คุณปองขวัญ ลาซูส สถาปนิก / นักอนุรักษ์
๔.ออท.ประดาป พิบูลสงคราม ที่ปรึกษา ๕.คุณชาตรี รัตนสังข์ วิศวกรอาวุโส และ ๖.คุณพัทธมน นิยมค้า
สถาปนิกประสานงาน

              ในการทำงาน คณะผู้เชี่ยวชาญทั้งฝ่ายพม่าและไทยได้ค้นพบบาตร ซึ่งอยู่บนพานแก้วแว่นฟ้า
ในสถูปองค์หนึ่ง จึงร่วมกันทำพิธีกราบบังคมทูลขอขมา ขอพระบรมราชานุญาตทำการเปิดฝาบาตร เพื่อ
สำรวจดูสิ่งของข้างใน จึงได้พบพระอัฐิเป็นจำนวนมาก ห่ออยู่ในผ้าจีวร


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 18 ก.ค. 13, 11:58

              “บาตร” ที่อยู่บนพานแก้วแว่นฟ้านี้ ถือเป็นบาตรพระราชทานของกษัตริย์พม่า ที่เรียกว่า
“บาตรแก้วมรกต” ประดับประดาด้วยกระจกสีฉาบปรอท มีเส้นทองสีลายต่างๆ สวยงามมาก...จากหลักฐาน
“บาตรพระราชทาน” นี่เองที่เชื่อได้ว่า พระอัฐิในบาตรนี้เป็นของพระเจ้าอุทุมพร อย่างแน่นอน

               การขุดแต่งสุสานแห่งนี้ พม่าถือว่าเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญ จึงต้องการอนุรักษ์ไว้
โดยทางฝ่ายไทยยินดีให้ความร่วมมือ เพื่อให้เป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ ที่แสดงถึงความสัมพันธ์
ระหว่างพม่ากับไทย และเป็นสัญลักษณ์ของชาวพม่าเชื้อสายไทยที่พำนักอยู่ในพม่า ตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๑๐
จนถึงทุกวันนี้

              เมื่อโครงการนี้ได้ดำเนินการจนสำเร็จสมบูรณ์ในวันข้างหน้า ก็จะเป็นอีกจุดหนึ่งที่คนไทย
เมื่อเดินทางไปทำบุญไหว้พระยังเมืองพม่า จะได้ไปเยี่ยมชม และสักการะพระบรมอัฐิของ พระเจ้าอุทุมพร
อีกด้วย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 18 ก.ค. 13, 12:20

ช่วยทำลิ้งก์ให้คุณศิลา  ยิงฟันยิ้ม

พบสถูป‘พระเจ้าอุทุมพร’ในพม่าพัฒนาเป็นมรดกประวัติศาสตร์ : เต๋อ สมิหลา


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 18 ก.ค. 13, 12:36

รายละเอียดเพิ่มเติมจาก เดลินิวส์

กระทรวงการต่างประเทศของไทยขอให้มีโครงการสำรวจภายในองค์เจดีย์ร่วมกันระหว่างไทยกับพม่า เพื่อหาหลักฐานภายในองค์เจดีย์ที่เชื่อว่าเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ทางพม่าจึงอนุมัติเป็นชื่อโครงการว่า ’Joint development of Thai government and Myanmar government for fact finding Archaeological of the stupa believed to be that of King Udumbara (Dok Dua)” ซึ่งมีระยะเวลาการทำงาน ๑ เดือน โดยมีมาตรฐานในการปฏิบัติทุกขั้นตอน

ถึงแม้พื้นที่สุสานจะกว้างใหญ่มาก แต่เราก็ไม่ได้ขุดแบบไร้ทิศทาง เพราะตัวสถูปไม่ได้ฝังอยู่ในดินด้วยความสูงโผล่พ้นป่าหญ้ารกร้างทำให้เรารู้จุดที่จะสำรวจ รวมทั้งมีฐานเจดีย์ให้เห็น จึงเริ่มสำรวจบริเวณนั้นก่อน ชิ้นแรกที่ขุดพบคือ ชิ้นส่วนของบาตร ซึ่งเป็นบาตรพระราชทานที่พระเจ้าแผ่นดินโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิและบรรจุไว้ในเจดีย์ พม่าเรียกว่า “บาตรแก้วมรกต” ประดับประดาด้วยกระจกสีฉาบปรอท มีเส้นทอง นอกเหนือจากนี้บาตรดังกล่าวยังตั้งอยู่บนพานแก้วแว่นฟ้า ซึ่งเป็นกระจกเขียนสีลายเทวดาและลายต่าง ๆ สวยงามมาก

จากข้อสังเกตที่เชื่อว่าเป็นของสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร คือ เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญของพม่าที่มาทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ไทย กล่าวถึง ๓ ประเด็นสำคัญ คือ

๑. พระเถระธรรมดาไม่สามารถใช้บาตรลักษณะนี้ตั้งอยู่บนพานแก้วแว่นฟ้าได้ ต้องเป็นของที่พระราชทานเท่านั้น

๒. เจ้าประเทศราชที่บรรจุพระศพหรือบรรจุอัฐิอยู่บริเวณสุสานล้านช้างทั้งหมดมีการตรวจสอบแล้วพบว่าไม่มีหัวหน้าวงศ์ตระกูลหรือเจ้าประเทศราชที่เป็นลำดับพระมหากษัตริย์ที่เป็นระดับมหาเถระ ดังนั้นบาตรนี้จึงเป็นสมณศักดิ์ของพระเถระเท่านั้น

๓.  สายวงศ์สกุลของชาวต่างชาติประเทศราชทั้งหลายไม่มีสายสกุลไหนที่เดินทางไปพม่าทั้งพระบรมวงศานุวงศ์มากเท่ากับสายสกุลอยุธยา

อย่างไรก็ตาม คณะเจ้าหน้าที่ไม่ได้ขุดลงไปแค่เจดีย์ ๒ องค์ที่เห็นเท่านั้น ก่อนจะขุดเราต้องทราบโครงสร้างก่อนโดยเริ่มดายหญ้านำแปรงค่อย ๆ ปัด บันทึกวาดภาพ วัดขนาดและวิเคราะห์ร่วมกันกับนักวิชาการพม่า เราพบต้นโพธิ์ขนาดใหญ่อายุประมาณหลายร้อยปีที่โอบอุ้มเจดีย์ทรงโกศไว้ด้วย จากนั้นค่อย ๆ เปิดหน้าดินก็เจอโครงสร้างค่อนข้างใหญ่ซึ่งคาดว่าจะเป็นวิหาร แต่ด้านบนพังไปหมดแล้ว เพราะในสมัยนั้นน่าจะใช้เครื่องไม้ เสาไม้ ซึ่งเป็นที่นิยมของพม่า ทำให้ไม้ผุพังไปตามกาลเวลา แต่พื้นเป็นอิฐยังคงอยู่ นอกจากนี้ยังเจอกำแพงแก้วและฐานเจดีย์มากมาย

เจดีย์องค์หนึ่งอยู่ตรงทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อขุดลงไปไม่ลึกมากก็เจอบาตร ตัวพานซึ่งเป็นไม้ไม่ได้อยู่แล้ว เพราะไม้อยู่ในดินโดนความชื้นปลวกก็กิน แต่กระจกอยู่ได้ตลอดและมีดินโอบอุ้มไว้ ส่วนตัวบาตรฝังไว้ในดิน ทำจากดินเผาประดับกระจก จากการศึกษาของที่นิยมทำในสมัยราชวงศ์พระเจ้าปดุงก็เป็นบาตรดินเผาเคลือบแต่ลายซึ่งประดับกระจกไม่เหมือนกับของคนอื่น เพราะเป็นบาตรที่ทำมาเพื่อพระองค์เท่าที่ทางนักวิชาการพม่าไปดูมาบอกว่าไม่เคยเจอลายที่สวยขนาดนี้ แต่รูปแบบการติดกระจก และบาตรดินเผาเคลือบเป็นสมัยนิยมก็จริง แต่ฝีมือขนาดนี้ชาวบ้านทำหรือใช้เองไม่ได้ต้องเป็นการสั่งทำเฉพาะกษัตริย์ และจากการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาเปิดบาตรพบพระบรมอัฐิ ประกอบด้วย พระเศียร กราม และชิ้นส่วนอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก เพราะในสมัยก่อนจะใช้ไฟต่ำตอนถวายพระเพลิง จึงเหลือเศษพระอัฐิหลายชิ้น ที่สำคัญพระอัฐิทั้งหมดห่ออยู่ในผ้าเหลืองซึ่งเป็นผ้าจีวร จึงเน้นย้ำได้ว่าเป็นสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร

ต่อมาทางการพม่าประกาศว่าไม่สามารถรื้อถอนสุสานได้แล้ว เพราะเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญของเมืองอมรปุระ ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีการประท้วงจากหลายฝ่ายจนเป็นข่าวอยู่เรื่อย ๆ เราจึงไปขออนุญาตที่จะปฏิสังขรณ์หรืออนุรักษ์ไว้จากซากโบราณสถานที่มีอยู่เดิม และนำสิ่งของที่ค้นพบไปบรรจุและตั้งชื่อโครงการว่า “โครงการอนุสรณ์สถานมหาเถระสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร สุสานล้านช้าง อมรปุระ” (Mahatera King Udumbara Memorial Ground) โดยการรวบรวมกลุ่มนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญของพม่าซึ่งเป็นคนเชื้อสายอยุธยามาร่วมโครงการด้วย

ทันทีที่ได้รับคำตอบอนุญาตจากพม่า ขั้นตอนต่อไปเราจะทำการอนุรักษ์บริเวณสุสานหลวงแห่งนี้ไว้ โดยเป็นโครงการที่ทำร่วมกับนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญของพม่า เพื่อให้เป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ของพม่าที่แสดงถึงความสำคัญระหว่างพระมหากษัตริย์พม่ากับพระมหากษัตริย์ไทย เป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนชาวพม่าเชื้อสายไทยที่อยู่ที่พม่า เพราะว่าอีก ๒ ปีข้างหน้าเราจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โครงการนี้จึงถือเป็นโครงการดี ๆ ที่พม่าเห็นชอบด้วย



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 18 ก.ค. 13, 15:36

^
โห ต่อยอดเจดีย์องค์กลางเป็นทรงไทย เลยหรอนี่  ตกใจ

เจดีย์ที่ค้นพบบาตร คือ เจดีย์ No. 2
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 18 ก.ค. 13, 20:52

น่าจะเป็นเจดีย์เบอร์ ๓ มากกว่า  ยิ้มเท่ห์

สงสัยบ้างไหมว่า สถูปที่พบบาตรบรรจุพระอัฐิบนพานแว่นฟ้า พบกันที่ไหน....นี่เป็นภาพของสถูปเล็ก ๆ ที่ขุดลงไปและพบของดังกล่าว ซึ่งไม่ใช่สถูปทรงกระบอกอย่างที่เข้าใจกัน ซึ่งสถูปทรงกระบอกนั้นนักโบราณคดีท่านให้ความเห็นไว้ว่าเป็นสถานที่เผา


บันทึกการเข้า
พีรศรี
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 19 ก.ค. 13, 03:21

การกระชับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน การตระหนักรู้ในมิติทางประวัติศาสตร์ ย่อมเป็นเรื่องที่ดี
แต่ถ้าเกิดขึ้นบนความบิดเบือนข้อมูลประวัติศาสตร์และโบราณคดี  โดยงบประมาณอันมาจากภาษีของคนทั้งประเทศ คงไม่ดีแน่ๆ
เท่าที่ดูงานนี้ เหมือนตั้งธงไว้แล้วว่า “ต้องใช่” มันก็ใช่แหละครับ ดูไปเรื่อยๆ มันก็ใช่ไปเอง
บังเอิญผมไม่มีความรู้เลย เรื่องบาตรพม่า ว่าบาตรที่พบมีดีวิเศษ ผิดกับบาตรอัฐิธรรมดาอย่างไร
รูปแบบและยุคสมัยของสถูปทรงต่างๆ ในบริเวณ ผมก็ไม่มีความรู้อีก
ไม่ใช่ตั้งใจจะไม่เชื่อนะครับ แต่อยากเห็นหลักฐาน ข้อวิเคราะห์ ที่ละเอียด และมีหลักการกว่านี้
ไม่ใช่  “เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญของพม่า” ซึ่งก็ไม่รู้ว่าใคร บอกอะไรมาก็เชื่อ บอกให้ไหว้อะไรก็ไหว้

งานขุดค้นโบราณคดี เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะ แต่ “เจ้าหน้าที่ไทย” มีแต่สถาปนิกและนักการทูตเป็นหลัก แปลกไหมครับ
ทางกรมศิลปากร มีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านนี้โดยตรง แล้วด้านสื่อเขาก็ไว ทำไมงานนี้ยังเงียบ
ไม่ออกมาส่งเสียง หรือแสดงความจำนงร่วมงาน อันนี้ก็แปลกอีก

ท้ายที่สุด การต่อเติมโบราณสถานดังในภาพ perspective ไม่ทราบว่าเอาหลักฐานที่ไหนมา
ถ้านึกเอาเอง ผิดหลักการของกฎบัตรเวนิซ (Venice Charter) อย่างร้ายแรงนะครับ   
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 19 ก.ค. 13, 15:01

งานขุดค้นโบราณคดี เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะ แต่ “เจ้าหน้าที่ไทย” มีแต่สถาปนิกและนักการทูตเป็นหลัก แปลกไหมครับ
ทางกรมศิลปากร มีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านนี้โดยตรง แล้วด้านสื่อเขาก็ไว ทำไมงานนี้ยังเงียบ
ไม่ออกมาส่งเสียง หรือแสดงความจำนงร่วมงาน อันนี้ก็แปลกอีก

ที่มีสถาปนิกเป็นหลักเนื่องจากโครงการนี้ ฝ่ายไทยเราเรียกว่า โครงการขุดค้นทางโบราณคดีเพื่อหาร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสถูปที่เชื่อว่าเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร อยู่ในความรับผิดชอบของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์   ยิ้มเท่ห์

รายละเอียดของการทำงานในโครงการนี้ มีอยู่ในรายการสยามสาระพา

ภาคแรก

รายการสยามสาระพา วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖


ภาคที่สอง



ที่น่าแปลกใจคือค่าใช้จ่ายในโครงการนี้มาจากการขอบริจาค ไม่มีเงินสนับสนุนจากรัฐบาล  ฮืม

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 19 ก.ค. 13, 16:19

คุณวิจิตร ชินาลัย กับ ดร.สุเมธ ชุมสายนั่น ไม่ใช่สถาปนิกธรรมดาๆนะครับ ท่านมีผลงานในด้านอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมมากมายเหลือคณานับ เป็นที่ยอมรับแม้ในหมู่นักวิชาการด้านเดียวกันของกรมศิลปากร

สำหรับผม แค่เห็นหน้าท่านทั้งสองเข้าไปเกี่ยวข้อง ก็เชื่อถือผลลัพท์ไปครึ่งหนึ่งแล้ว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 20 คำสั่ง