เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 57049 สถูปและอัฐิสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร จริงหรือ ?
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 19 มี.ค. 13, 14:10

ชิ้นส่วนอัฐิที่ถูกนำออกมาจากสถูปองค์หนึ่ง ซึ่งคาดว่าจะเป็นของพระเจ้าอุทุมพร นำออกมากระทำพิธีขอขมา หลังจากการสำรวจขุดค้น


นึกถึงวิธีการพิสูจน์ตัวบุคคลใน กรณีพระเจ้าริชาร์ดที่ ๓ แห่งอังกฤษ

ว่าแต่ว่าเราจะพอหาเชื้อสายของพระเจ้าอุทุมพรในปัจจุบันได้บ้างไหมหนอ

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 19 มี.ค. 13, 14:22

ชิ้นส่วนอัฐิที่ถูกนำออกมาจากสถูปองค์หนึ่ง ซึ่งคาดว่าจะเป็นของพระเจ้าอุทุมพร นำออกมากระทำพิธีขอขมา หลังจากการสำรวจขุดค้น


นึกถึงวิธีการพิสูจน์ตัวบุคคลใน กรณีพระเจ้าริชาร์ดที่ ๓ แห่งอังกฤษ

ว่าแต่ว่าเราจะพอหาเชื้อสายของพระเจ้าอุทุมพรในปัจจุบันได้บ้างไหมหนอ



ผมว่ายากนะคุณเพ็ญฯ เพราะว่ากระดูกถูกเผาไฟแล้ว รหัสพันธุกรรมหรือ DNA คงสลายไปหมดแล้ว อีกประการหนึ่งเราไม่มีเชื้อสายราชวงศ์บ้านพลูหลวงไว้เจาะเลือด อีกทั้งขุนหลวงหาวัดท่านถือเพศบรรพชิตเป็นพระจนวันมรณภาพ ดังนั้นยากที่จะเจอ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 20 มี.ค. 13, 09:38

ผมว่ายากนะคุณเพ็ญฯ เพราะว่ากระดูกถูกเผาไฟแล้ว รหัสพันธุกรรมหรือ DNA คงสลายไปหมดแล้ว  อีกประการหนึ่งเราไม่มีเชื้อสายราชวงศ์บ้านพลูหลวงไว้เจาะเลือด อีกทั้งขุนหลวงหาวัดท่านถือเพศบรรพชิตเป็นพระจนวันมรณภาพ ดังนั้นยากที่จะเจอ

หากใช้ดีเอ็นจากไมโตคอนเดรียอาจจะพอมีหวัง

ไมโตคอนเดรียลดีเอ็นเอยังมีคุณสมบัติที่ถือวำเป็นข้อเดํนหลายประการ เชํน สามารถใช้แสดงความสัมพันธ์ในเครือญาติฝ่ายมารดา ใช๎ในกรณีที่สิ่งสํงตรวจไมํสามารถตรวจด๎วยนิวเคลียร์ดีเอ็นเอได้อยำงสมบูรณ์ในหลายกรณี เชํน กรณีสิ่งสํงตรวจเป็นเส้นผม โครงกระดูกที่มีอายุเกำหรือมีการเผาไหม้ หรือในสิ่งสํงตรวจที่มีการเนำสลาย

จากบทความเรื่อง ไมโตคอนเดรียลดีเอ็นเอและการประยุกต์ใช้ในงานนิติวิทยาศาสตร์

เรื่องขุนหลวงหาวัดท่านไม่มีทายาทสายตรง เป็นกรณีเดียวกับพระเจ้าริชาร์ดที่ ๓

ดังนั้นในกรณีของริชาร์ด ตัวริชาร์ดเอง  กษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 4 และเจ้าหญิงแอนน์แห่งยอร์คซึ่งทั้งสามเป็นพี่น้องกันจะมีไมโตคอนเดียเหมือนกันผ่านทางมากดาของทั้งสาม  ดังนั้นแม้ริชาร์ดไม่มีรัชทายาทสายตรง ถ้าสามารถสืบสายตระกูลฝ่ายหญิงทางสายของเจ้าหญิงแอนน์แห่งยอร์ค ก็จะสามารถระบุความเกี่ยวกันธุ์ทางสายเลือดกับริชาร์ดที่ 3 ได้


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 20 มี.ค. 13, 09:47

สงสัยบ้างไหมว่า สถูปที่พบบาตรบรรจุพระอัฐิบนพานแว่นฟ้า พบกันที่ไหน....นี่เป็นภาพของสถูปเล็ก ๆ ที่ขุดลงไปและพบของดังกล่าว ซึ่งไม่ใช่สถูปทรงกระบอกอย่างที่เข้าใจกัน ซึ่งสถูปทรงกระบอกนั้นนักโบราณคดีท่านให้ความเห็นไว้ว่าเป็นสถานที่เผา


ข่าวจากคณะสำรวจ

สวัสดีครับ มีข่าวดีกรณีที่บรรจุอัฐิสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ได้พบอัฐิบรรจุในบาตรประดับกระจกปิดทอง วางบนพานแว่นฟ้าในเจดีย์ในกำแพงแก้วมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของเจดีย์ประธาน ตามผังที่ทีมสถาปนิกจัดทำขึ้น ๑๔ มีนา ๒๐๑๓ เวลา ๑๔.๒๒ น. ตามเวลาประเทศเมียนม่าร์

รศ.ธีรศักดิ์ วงศ์คําแน่น สถาปนิกหัวหน้าคณะสำรวจภาคสนาม



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 20 มี.ค. 13, 17:25

ภาพพระเจ้าอุทุมพร จากเอกสาร ชเวนันเลทง (Shwe nan let thon) ต้นฉบับเก็บรักษาไว้ที่ห้องสมุดอาณานิคมในลอนดอน ภาพนี้จากฉบับที่คัดลอกมาเพื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ คำบรรยายใต้ภาพเป็นภาษาพม่า  นายแพทย์ทิน มอง จี” (Tin Maung Kyi) นักวิชาการทางสังคมศาสตร์หลังเกษียณ ผู้มีเชื้อสาย "โยดะยา" (ไทย) แปลจากภาษาพม่าเก่าแบบบรรทัดต่อบรรทัด ความว่า

"ผู้ก่อตั้งที่สามแห่งรัตนปุระ (อังวะ) และพระเจ้าช้างเผือก
ต่อสู้และชนะอโยธยา,
กับกษัตริย์
กษัตริย์ถูกนำตัวมาที่นี่ ในช่วงการครองราชย์ของพระเชษฐาของพระองค์ (กษัตริย์บาดุง)
กษัตริย์ (ไทย) ขณะอยู่ในสมณเพศ, มรณภาพที่อมรปุระ ที่ลินซิน-กอง
สุสาน, พระองค์ถูกบรรจุ/เผาพระศพด้วยสมพระเกียรติในความเป็นเชื้อพระวงศ์

นี่คือภาพของเจ้าฟ้าเอกทัศน์"

บรรทัดสุดท้าย คุณหมอสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นความเข้าใจผิดเรื่องชื่อ เพราะควรเป็นชื่อของเจ้าฟ้าอุทุมพร เนื่องจากในประวัติศาสตร์พม่าและประวัติศาสตร์ไทย กษัตริย์จากกรุงศรีอยุธยาองค์สุดท้ายสวรรคตจากเหตุสงครามที่กรุงศรีอยุธยานั่นเอง

ข้อมูลจากบทความเรื่อง สถูปเจ้าฟ้าอุทุมพร และลูกหลานชาวโยดะยาในพม่า “คุณหมอทิน มอง จี” โดย คุณวลัยลักษณ์ ทรงศิริ จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ฉบับที่ ๙๖ ตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

สุสานลินซิน-กอง ก็คือ สุสานล้านช้าง นั่นแล





บันทึกการเข้า
TriMok
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 20 มี.ค. 13, 21:57

ถ้าเป็นกระดูก เจ้าฟ้าอุทุมพร สมัยตอนเสียกรุงศรีฯ จริง แล้วพระองค์จะได้กลับมาบรรทมตลอดกาล ยังแผ่นดินอยุธยา อันเป็นแผ่นดินเกิดหรือไม่หนอ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 21 มี.ค. 13, 08:19

ภาพเพิ่มเติมและคำบรรยาย จากอาจารย์ธีรศักดิ์ วงศ์คําแน่น สถาปนิกหัวหน้าคณะสำรวจภาคสนาม

๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ - พานบรรจุพระอัฐิส่วนหนึ่ง ทำพิธีทางศาสนา  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 21 มี.ค. 13, 08:26

๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ - เจดีย์องค์ที่ขุดพบอัฐิบรรจุในบาตรบุกระจกตั้งบนพานแว่นฟ้า สังเกตลักษณะองค์ระฆังไม่รัดเข็มขัดกับฐานบัวถลาที่ปรากฏแต่แรกก็ลักษณะนี้ ขนาดและเนื้ออิฐเหมือนองค์ประธาน องค์นี้ตั้งอยู่ภายในกำแพงแก้วมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนองค์ที่เปิดประเด็นกันแต่แรกเป็นรูปโกฐ ขนาดและเนื้ออิฐเป็นรุ่นหลัง ตั้งนอกกำแพงแก้ว และไม่พบอะไรในนั้น   ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 21 มี.ค. 13, 08:40

สภาพการขุดสำรวจวันที่ ๙ มีนาคม พบฐานเจดีย์ ฐานอาคารมากมายเป็นบริเวณกว้างเกินกว่าที่ตั้งเป้าไว้   ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ศุศศิ
อสุรผัด
*
ตอบ: 32


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 21 มี.ค. 13, 16:01

เข้ามาติดตาม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 21 มี.ค. 13, 16:24

เข้ามาติดตาม

คือ ณ ตอนนี้ได้มีการค้นพบอัฐิบรรจุในบาตรดินเผา วางอยู่พานแว่นฟ้า ซึ่งมีลวดลายประดับอยู่ ทำให้เชื่อว่าต้องเป็นบุคคลสำคัญอย่างแน่นอน แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นของใคร เนื่องจากยังไม่มีจารึกหรือตัวอักษรบ่งบอกว่าเป็นอัฐิใคร ส่วนการที่เชื่อว่าสุสานตรงนี้นั้นเป็นสถานที่ฝังพระอัฐิของพระเจ้าอุทุมพร ยังคงเชื่อถือกันอยู่ จะต้องตรวจอิฐว่าอยู่ในยุคใด จึงจะกำหนดได้อย่างคร่าว ๆ

ทั้งนี้พระเจ้าอุทุมพร ในช่วงเวลาที่เหลือหลังจากไปพม่าแล้วก็อยู่ในเพศบรรพชิต อยู่ที่วัดมะเดื่อที่กษัตริย์พม่าสร้างให้ ก็ย่อมเสมือนว่าถูกราชสำนักพม่าเฝ้ามองอยู่เช่นกัน และการอยู่ในเพศบรรพชิตจนมรณะภาพก็ถือเป็นพระสงฆ์ที่น่าเลื่อมใสเช่นกัน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 21 มี.ค. 13, 21:08

บน  - Before (พ.ศ. ๒๕๕๕)  

ล่าง - After   (พ.ศ. ๒๕๕๖ ระหว่างการขุดสำรวจ)  



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 21 มี.ค. 13, 21:19

ถ้าเป็นกระดูก เจ้าฟ้าอุทุมพร สมัยตอนเสียกรุงศรีฯ จริง แล้วพระองค์จะได้กลับมาบรรทมตลอดกาล ยังแผ่นดินอยุธยา อันเป็นแผ่นดินเกิดหรือไม่หนอ

เกิดคำถามในใจเช่นเดียวกับคุณ TriMok    ที่จริงทางฝ่ายไทยไปช่วยกันขุดค้นหาถึงขนาดนี้ก็น่าจะมีโอกาสอัญเชิญพระอัฐิกลับมา ถ้าพิสูจน์ได้ว่าเป็นของพระเจ้าอุทุมพร       อย่างน้อยพระองค์ท่านไม่ทรงมีโอกาสจะได้กลับมาตุภูมิเมื่อยังมีพระชนม์ชีพอยู่   ก็น่าจะได้กลับมาในปัจจุบัน     ไหนๆไทยก็เป็นแผ่นดินเกิดของท่าน    ทางพม่าก็ไม่น่าจะขัดข้องอะไร

ปัญหาก็คือขอหลักฐานว่าเป็นเจ้านายของเรา ให้แน่ๆละกัน   เผื่อไปเจอทีหลังว่าเป็นสถูปและอัฐิของเจ้าเมืองพม่าท่านใดท่านหนึ่งในอดีต   เดี๋ยวจะต้องมอบคืนพม่าให้เป็นเรื่องยุ่งยากกันอีก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 21 มี.ค. 13, 21:34

อาจารย์ธีรศักดิ์ วงศ์คําแน่น สถาปนิกหัวหน้าคณะสำรวจภาคสนาม เล่าเรื่องถึงการขุดค้นและข้อสังเกตทางสถาปัตยกรรมไว้ดังนี้

สวัสดีครับ ระหว่างวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ถึง ๑๘ มีนา ๒๐๑๓ คือวันที่ผมเพิ่งลงเครื่องมานี้ ผมมีโอกาสได้ไปร่วมศึกษาสำรวจชุมชนโยเดีย โดยเฉพาะการตามรอยพระบาทยาตราสมเด็จพระอุทุมพรหรือขุนหลวงหาวัด กษัตริย์พระองค์ที่ ๓๒ แห่งศรีอยุธยา ซึ่งเมือกรุงแตก พระองค์ในสมณะเพศจำต้องเสด็จไปประทับที่เมืองพม่าจนสวรรคต ภาพนี้คือแผนผังของกลุ่มเจดีย์บริเวณสุสานชื่อล้านช้าง เมืองอมรปุระ ซึ่งชาวโยเดียหรือพี่น้องอยุธยาที่อพยพไปตั้งถิ่นฐาน ประวัติศาสตร์ว่าเป็นเรือนแสนคนคราวนั้นเชื่อว่าเป็นที่บรรจุรพระอัฐิของพระองค์ท่าน เรื่องของเรื่องก็คือทางการพม่าเขาจะรื้อสุสานพัฒนาที่ดิน ทางไทยจึงเดินทางไปขอสำรวจสถานที่ตรงนี้เสียก่อน ครั้นเมื่อถากถางสุสานที่รกร้างเป็นป่า กองขยะ และขุดแต่งบริเวณก็พบว่ามีแผนผังสวยงาม ประกอบด้วยองค์เจดีย์หลัก เจดีย์บริวาร กำแพงแก้ว ฐานวิหารและอื่น ๆ อีก ดังในภาพครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 21 มี.ค. 13, 21:41

เมื่อขุดพบอัฐิบรรจุในบาตรวางบนพานแว่นฟ้า ฝ่ายนักประวัติศาสตร์ โบราณคดีคงต่างให้ข้อมูลร่วมกับนักวิชาการพม่า ในส่วนของทีมงานสถาปัตยกรรมมีข้อสังเกตดังนี้

๑. ตำแหน่งอยู่ภายในกำแพงแก้ว อยู่ตรงทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศมงคล

๒. รูปแบบองค์เจดีย์ที่เหลือปรากฏเพียงครึ่งหนึ่งยังดูคุ้นตากับทางบ้านเรา คือเป็นทรงระฆังหรือไม่ก็ทรงโอคว่ำ ต่างจากทรงของพม่า ฐานบัวถลา ๓ ชั้น องค์เจดีย์ไม่คาดเข็มขัดแบบพม่าหรือพุกาม
 
๓. เจดีย์รูปแบบที่ว่านี้เท่าที่ตามหาที่อมรปุระ สกาย มัณฑะเลย์ พุกาม อังวะ พบน้อยมาก ที่อมรปุระพบ ๓ องค์ รวมทั้งองค์ที่ขุดพบ

๔. เจดีย์ที่ลบมุมของฐานแบบบ้านเราพบหลักฐานทั้วเก่าและใหม่ ๓ แห่ง คือ เจดีย์ ๔ องค์ล้อมต้นโพธิ์วัดดอกเดือที่สมเด็จพระอุทุมพรทรงประทับ กับเจดีย์ร้างมุมกำแพงวัดอ่านชื่อไม่ออก เมืองสกายตรงข้ามกับโบสถ์ที่มีภาพฝาผนังฝีมือโยเดีย และสันษฐานว่าพระองค์ทรงประทับครั้งแรก และอยู่ฝั่งแม่น้ำอีรวดีตรงข้ามกับเมืองอังวะ และที่วัดจำชือไม่ได้ที่ประวัติศาสตร์พม่าว่าพระองค์ท่านเคยเสด็จประทับ  นอกจากเจดีย์ ยังมีเจดีย์และฐานเจดีย์ใหญ่น้อยมากมาย เท่าที่พบขณะนี้มาก นับเอาเองครับ เฉพาะที่อยู่ภายในกำแพงแก้ว หรือกำแพงเตี้ย ๆ รอบเจดีย์หลัก พบหลักฐานว่าโผล่จากดินอยู่ก่อนแล้ว ๑ องค์ (อยู่มุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) กับที่พบฐานอย่างน้อยอีก ๔ ตำแหน่ง พอทีมโบราณคดีขุดสำรวจตรงองค์ที่โผล่พ้นตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ก็ได้พบหลักฐานสำคัญดังข่าวที่คงแพร่มาแล้วบ้าง ขณะที่ทางทีมงานจะแถลงอย่างเป็นทางการเร็ว ๆ นี้

๕. นอกจากนี้ จากการหาวิญญาณอยุธยาหรือไทยจากองค์เจดีย์ ได้พบเจดีย์มีบัลลังก์รับปล้องไฉน ๑ องค์ เท่านั้น ที่เมืองสกาย คือทางหาข้อมูลเสริมทางฝ่ายประว้ติศาสตร์โบราณคดี

อย่างไรก็ดี ยังต้องมีการหาหลักฐานต่อไปอีก ยังไม่เป็นที่ยุติครับ ที่น่ายินดีเบื้องต้น คือทางรัฐบาลพม่า ไม่ไถทิ้งแล้วตรงนี้ จะเปลี่ยนเป็นการพัฒนาเชิงอนุรักษ์ต่อไป


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.044 วินาที กับ 20 คำสั่ง