เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 57095 สถูปและอัฐิสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร จริงหรือ ?
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


 เมื่อ 18 มี.ค. 13, 10:36

เมื่อช่วงต้นเดือนกุมพภาพันธ์ ๒๕๕๖ มีข่าวพัดเข้ามายังฝ่ายสยามประเทศว่า ทางการพม่านั้นจะทำการพัฒนาที่ดินบริเวณใต้เมืองมัณฑเลย์ โดยที่ดินที่พัฒนานี้เป็นที่ตั้งของกลุ่มสุสานโบราณ ที่เรียกว่า "สุสานล้านช้าง"

โดยก่อนหน้านี้ในหน้าประวัติศาสตร์และคำบอกเล่าลือกัน ก็กล่าวไปในทิศทางที่ว่าเป็นพระสถูปที่บรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ซึ่งมีอีกชื่อที่เรียกกันว่า "ขุนหลวงหาวัด" หรือ "เจ้าฟ้าดอกเดื่อ" ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

ดังนี้แล้วทางรัฐบาลพม่า จึงได้ร่วมมือกับทีมงานโบราณคดีของไทย เชิญให้ไปทำการสำรวจและขุดค้นบริเวณสุสานล้านช้าง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 18 มี.ค. 13, 10:50

มาทำความรู้จักกันคร่าว ๆ ก่อนว่าสถานที่ตั้งชุมชมที่เขตกรุงมัณฑเลย์ มีอะไรบ้าง

นี่เป็นแผนที่ดาวเทียมจาก Google มองลงมายังเมืองมัณฑเลย์ ซึ่งในอดีตเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง ๓ เมืองคือ อังวะ - อมรปุระ - มัณฑเลย์ อยู่ใกล้ ๆ กัน ส่วนเมืองมัณฑเลย์นั้นอยู่ทางทิศเหนือ ตัวเมืองเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส มีคูน้ำล้อมรอบ มีการวางแผนผังเมืองเป็นระเบียบ ถนนตัดเป็นตารางหมากรุก ศูนย์กลางเมืองเป็นที่ตั้งของพระราชวังมัณฑเลย์

ทิศใต้ของเมืองมัณฑเลย์ ระยะทางกว่า ๒๐ กิโลเมตรเป็นที่ตั้งของอ่าวต่าวตะหมั่น (สี่เหลี่ยมบานเย็น) และเมืองสะกาย (สี่เหลี่ยมเหลือง) อันเป็นที่ตั้งของชุมชมชาวสยาม (โยเดีย) ชาวอยุธยาที่ถูกกวาดต้อนไปยังพม่าเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ (สภาพหมู่บ้านชุมชนต่างชาติ ก็เหมือนกับในประเทศไทย ที่กรุงเทพมหานคร ก็มีหมู่บ้านลาว หมู่บ้านเขมร หมู่บ้านเวียดนาม ที่กวาดต้อนเทครัวจากสงคราม)



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 18 มี.ค. 13, 11:09

บริเวณอ่าวต่าวตะหมั่น (สี่เหลี่ยมบานเย็น) เป็นที่ตั้งของสะพานอูเป่ง ซึ่งเป็นสะพานที่ก่อสร้างทอดข้ามทะเลสาบนี้ เป็นสะพานไม้สัก ใช้เสาสะพานจากพระราชวังกรุงอังวะมาสร้างไว้ โดยพระเจ้าปดุง ทรงสั่งให้ขุนนางชื่อ "อูเป่ง" มาดำเนินการก่อสร้างและกลายเป็นชื่อสะพานในที่สุด ความยาวของสะพานไม้นี้ยาวถึง ๒ กิโลเมตร มีนักท่องเที่ยวชาวไทยไปเยี่ยมเยือนกันมากมาย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 18 มี.ค. 13, 11:15

แผนที่แสดงเมืองเก่าของพม่า คือ เมืองสะกาย - อังวะ - อมรปุระ - มัณฑเลย์


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 18 มี.ค. 13, 13:38

รายงานข่าวเกี่ยวกับสุสานล้างช้าง ที่จะทำการสำรวจขุดค้น


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 18 มี.ค. 13, 13:59

และเมื่อทางการพม่าเริ่มให้คณะสำรวจเข้าพื้นที่สำรวจทางโบราณคดี สิ่งที่เราพยายามค้นหาก็คือ เป็นเจดีย์บรรจุพระอัฐิจริงหรือไม่ และอยู่ในสภาพอย่างไร
(เครดิตภาพนี้ขอขอบคุณทีมงานขุดค้นทุกท่าน )


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 มี.ค. 13, 12:43 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 18 มี.ค. 13, 14:13

การสำรวจขุดค้น อันดับแรกต้องกรุยทางตัดต้นไม้ออกไปให้หมด เปิดเผยพื้นที่รอบ ๆ มีหลุมศพของสมัยปัจจุบันปะปนอยู่ด้วย เจดีย์องค์ประธานส่วนบนได้พังหมดแล้ว ส่วนเจดีย์ทรงกระบอกที่เชื่อกันว่าเป็นที่บรรจุอัฐิยังคงอยู่


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 18 มี.ค. 13, 14:49

และแล้วผลจากการขุดค้นบริเวณรอบ ๆ ก็พบของเข้าจริง ๆ เป็นบาตรโลหะ วางไว้บนพานแว่นฟ้า มีฝาปิดปิดทองคำเปลว และประดับด้วยลวดลายวัสดุแวววาวคล้ายกระจก และมีลายสัตว์หิมพานต์อยู่ที่ฐานแว่นฟ้า

ไม่ธรรมดาซะแล้ว สำหรับการค้นพบครั้งนี้


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 18 มี.ค. 13, 16:18

การสำรวจขุดค้น อันดับแรกต้องกรุยทางตัดต้นไม้ออกไปให้หมด เปิดเผยพื้นที่รอบ ๆ มีหลุมศพของสมัยปัจจุบันปะปนอยู่ด้วย เจดีย์องค์ประธานส่วนบนได้พังหมดแล้ว ส่วนเจดีย์ทรงกระบอกที่เชื่อกันว่าเป็นที่บรรจุอัฐิยังคงอยู่

สถูปทรงกระบอกนี้นักโบราณดคีท่านให้ความเห็นว่า เป็นจุดถวายพระเพลิงพระศพพระเจ้าอุทุมพร ซึ่งการขุดพบบาตรพระอัฐิไม่พบที่สถูปแห่งนี้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 19 มี.ค. 13, 08:18

รายการสยามสาระพา วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 19 มี.ค. 13, 09:06

ชิ้นส่วนที่ทำออกมาหลังการสำรวจขุดค้น


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 19 มี.ค. 13, 09:12

ชิ้นส่วนอัฐิที่ถูกนำออกมจากสถูปองค์หนึ่ง ซึ่งคาดว่าจะเป็นของพระเจ้าอุทุมพร นำออกมากระทำพิธีขอขมา หลังจากการสำรวจขุดค้น


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 19 มี.ค. 13, 09:23

สงสัยบ้างไหมว่า สถูปที่พบบาตรบรรจุพระอัฐิบนพานแว่นฟ้า พบกันที่ไหน....นี่เป็นภาพของสถูปเล็ก ๆ ที่ขุดลงไปและพบของดังกล่าว ซึ่งไม่ใช่สถูปทรงกระบอกอย่างที่เข้าใจกัน ซึ่งสถูปทรงกระบอกนั้นนักโบราณคดีท่านให้ความเห็นไว้ว่าเป็นสถานที่เผา


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 19 มี.ค. 13, 09:28

แผนผังประกอบเพื่อให้ทำความเข้าใจในเบื้องต้นว่า สิ่งก่อสร้างของสถูปพระเจ้าอุทุมพร ตั้งอยู่บริเวณใด (วงกลมน้ำเงิน) ซึ่งอยู่ริมกำแพงแก้วของสถูปประธาน

ส่วนสถูปทรงกระบอกนั้นตั้งอยู่นอกกำแพงแก้วของสถูปประธาน (ล่างซ้าย)

สถูปต่าง ๆ ที่อยู่ในสุสานนี้ต่างก็ไม่รอดพ้นจากการขุดเจาะหาสมบัติเช่นเดียวกับโบราณสถานอื่น ๆ แต่โชคดีที่การขโมยนั้นยังไม่ลึกพอ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 19 มี.ค. 13, 09:53

เห็นคลิปรายการที่คุณเพ็ญฯ นำมาลงไว้แขกผู้รับเชิญได้กล่าวถึงพระพุทธรูปไม้แกะสลักโดยฝีมือของพระเจ้าอุทุมพร ที่วัดมะเดื่อ ประเทศพม่า เลยหามาให้ชมครับ

เครดิตภาพ Aliz in Wonderland และกล่าวเพิ่มเติมว่า วัดแห่งนี้ได้รับการบูรณะมาหลายครั้งและองค์พระพุทธรูปไม้ ได้ถูกครอบทับไปเรียบร้อยแล้ว

ที่มา http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/10/K8409694/K8409694.html


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 20 คำสั่ง