เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
อ่าน: 57051 สถูปและอัฐิสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร จริงหรือ ?
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 29 ก.ค. 13, 10:06

             รูปเรื่องราวเพิ่มเติม จากเดอะ เนชั่น วันนี้ ครับ

      http://www.nationmultimedia.com/life/Salvaging-a-lost-king-30211274.html

           Salvaging a lost king

Phatarawadee Phataranawik
The Nation July 29, 2013

        Udumbara had relinquished the throne of Ayutthaya, only to be captured
by the Burmese


           The resting-place in Myanmar of Siam's King Udumbara is to be restored
as a memorial ground and an "Ayutthaya cultural heritage centre" built nearby,
at a cost of at least Bt39 million.

         Myanmar's government had planned to raze the historic tomb in Mandalay
to make way for urban development. Architect Vichit Chinalai led a Thai team
to the site at the edge of Taungthaman Lake last August, excavated a stupa
and verified that this was indeed the tomb of the Siamese monarch.

         Vichit and Myanmarese archaeologist Win Muang and Myint Hsan Heart sought
authority to restore the site and set up the Udumbara Memorial Foundation to
look after it. It has endorsed the project and plans to raise the needed funds.


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 29 ก.ค. 13, 10:08

            Last month the team unearthed further evidence at the site, including
an alms bowl containing human remains, fragments of a monk's robe and a third
artefact that remains unidentified but was once the property of another royal
personage.

            Vichit says the tomb resembles a small cetiya that's larger and older
than any other grave marker in the cemetery on Linzin Hill.

            "Based on chronical records and our new discoveries, we can now say
the tomb belongs to Udumbara," Vichit tells The Nation.

            "The alms bowl is made of terracotta and decorated with colourful glass
mosaics, signifying it was used by a Mahatheara (high-ranking) monk," Vichit says.
     
            "The glass mosaics are in the dok dua formation, just like the Yethaphan
Pwint - the goolar flower in the king's crest."

             Win Muang Kyi acknowledges that the bowl's design is not Burmese


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 29 ก.ค. 13, 10:12

          Myanmar history records Udumbara being among 100,000 Siamese captured
by King Hsinbyushin (1736-76) of Burma's Konbaung Dynasty during the invasion
of Ayutthaya in 1767. They were taken to Hsinbyushin's capital, Ava.

            Udumbara was a monk when he was taken to Burma.
            He is often referred to as King Dok Dua, referring to the flower of the
madua tree. Udumbara is "madua flower" in Pali. He was the youngest son of King
Borommakot (1733-58) and a minor queen called Phiphit Montri, and yet came to
be designated uparat (crown prince).
            Such was the insecurity of his position upon assuming the throne when
his father died, though, that Udumbara decided to abdicate in favour of his meddlesome
elder brother Suriyamarin (1758-67).

            He built a monastery called Wat Pradu Songtham and retired there, only to
be seized by the Burmese when Ayutthaya fell in 1767 and led away to captivity,
dying after 29 years in a foreign land in 1796.


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 29 ก.ค. 13, 10:15

          The joint Myanmar and Thai working team has laid out plans for
a 10-rai Mahathera King Udumbara Memorial Ground near the burial site and
is seeking the permission of local authorities to establish a cultural centre.
          Surrounded by 200-year-old trees, it would show how the Siamese captives
lived in and around Mandalay in the 18th century. The project includes restoration
of the royal graveyard complex.

          The first phase would focus on developing the grounds. Then the cultural
centre would be erected utilising Ayutthaya-style architecture, while inside it would
be decked with hi-tech displays.

           "When we are granted permission and secure ownership of the site, the project
will take at least two years," says Vichit, who's already devoted nearly a decade to
the possibilities. Only since Myanmar began opening up to the world last year has he
been able to imagine possibility becoming probability.

           Scholars in Mandalay and Thailand are now hoping this project will not only
prevent a great loss in terms of our history but also boost Thai-Myanmar people to
people relationship and yet potentially huge tourism industry.


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 29 ก.ค. 13, 10:31

ท่าทางโปรเจคนี้จะดำเนินไปด้วยความเชื่อมั่นว่าเป็นสถูปและอัฐิของพระเจ้าอุทุมพรจริงๆ      ผลที่ตามมา อย่างหนึ่งคือเป็นแหล่งท่องเที่ยว    ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากไทยได้ไม่น้อยเลย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 29 พ.ย. 13, 11:12

สภาพล่าสุดของแหล่งขุดค้น "สถูปพระเจ้าอุทุมพร"



บันทึกการเข้า
sigree
อสุรผัด
*
ตอบ: 54


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 07 ธ.ค. 13, 07:20

ให้ประวัติศาสตร์นอกคอกนิด

คำว่านอกคอกเพราะแม้แต่มาเลย์ก็มองว่านอกคอก  เป็นนักประวัติศาสตร์กลุ่มหนึ่งส่วนใหญ่อยู่ใน เคด้า มาเลเซีย พวกเขาเชื่อว่าพวกเขาไม่ใช่มลายู แต่เป็น Siam Muslim

และเชื่อว่าช่วงปลายของอยุทธยา  ชาวอยุทธยาเข้ารับอิสลามเสียมากแล้วแม้แต่พระเจ้าแผ่นดินก็รับอิสลามหลายพระองค์และมีหลุมบางพระองค์ที่เคด้าห์
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 11 มี.ค. 14, 10:14

วันนี้(11 มีนาคม 2557) คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ เขียนบทความลงนสพ. มติชนรายวันว่า

              สถูปอัฐิไทย ในพม่า?

       สถูปบรรจุอัฐิพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) คงเป็นข่าวอีกเรื่อยๆ ตราบที่ความเป็นไทย
ยังมีอิทธิพลเหนือความเป็นจริง

        กรมศิลปากรเคยตรวจสอบและมีคำแถลงเป็นทางการนานแล้วว่าเป็นเรื่องเลื่อนลอย แสดง
หลักฐานครบครันว่าไม่มีจริง แต่ที่เป็นข่าวขึ้นมาก็เพื่อสร้างกระแสท่องเที่ยวพม่า ผมเคยทำรายงาน
เรื่องนี้ลงในศิลปวัฒนธรรม (ฉบับสิงหาคม 2545)

       เมื่อต้นปี 2556 เป็นข่าวอีกครั้ง มีรายงานอยู่ในมติชน คอลัมน์สุวรรณภูมิสังคมวัฒนธรรม
(วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม 2556) ว่าไม่มีจริงเหมือนที่เคยบอกไว้ก่อนแล้ว

        คราวนี้มีอีก ถือเป็นข่าวประจำปี แต่ทางการไทยกับพม่าไม่รับรองว่ามีจริง จะขอยกข้อความ
จากข่าวมาแบ่งปันไว้ (มติชนรายวัน ฉบับวันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557 หน้า 1)

          ดังนี้

          “กรมศิลปากรนำคณะผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ เดินทางไปยัง
เมืองมัณฑะเลย์และเมืองสะกาย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ตามโครงการศึกษาทาง
ประวัติศาสตร์และโบราณคดี เรื่องชาวอยุธยาในเมียนมาร์ : ศึกษาในเขตปกครองมัณฑะเลย์
และเขตปกครองสะกาย

          หลังคณะกรรมการพัฒนาเมืองมัณฑะเลย์มีแผนปรับสภาพพื้นที่สุสานลินซินกง เมืองอมรปุระ
ซึ่งเชื่อว่ามีสถูปบรรจุพระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร) หรือ
ขุนหลวงหาวัด กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เพื่อรองรับการขยายตัวของเมือง       
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 11 มี.ค. 14, 10:16

      นายเอนก สีหามาตย์ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า การเดินทางไปศึกษาข้อมูลครั้งนี้
กรมศิลปากรได้หารือกับกรมโบราณคดีของพม่าแล้ว รับทราบข้อมูลว่าการขุดค้นดังกล่าว
ยังไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลกลางของพม่า เพียงแต่ขออนุญาตจากคณะกรรมการพัฒนา
เมืองมัณฑะเลย์เท่านั้น ถือว่ายังไม่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศอย่างเป็นทางการ

      ขณะเดียวกัน รายงานการค้นพบของสมาคมจิตพรรณที่เสนอมายังกรมศิลปากร มีข้อ
ขัดแย้งหลายประการที่ทำให้ไม่น่าเชื่อถือ และการดำเนินงานยังไม่มีนักโบราณคดีของไทย
และพม่าร่วมคณะทำงาน จึงไม่อาจสรุปหลักฐานทางโบราณคดีว่าสถูปที่ค้นพบเป็นที่บรรจุ
พระบรมอัฐิสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรหรือไม่ จึงถือว่าทางการไทยไม่รับรองการขุดค้นดังกล่าว
ซึ่งควรศึกษาข้อมูลให้รอบด้านกว่านี้”


          แถลงอย่างที่คัดมานี้นับว่าดีแล้ว สมควรแล้ว

          แต่ถึงทางการไทยและพม่าจะไม่รับรองว่ามีสถูปจริงบรรจุอัฐิพระเจ้าอุทุมพร ก็ต้องไม่ขัด
ขวางเอกชนที่เชื่อว่ามี แล้วลงทุนลงแรงไปศึกษาค้นคว้าด้วยความเชื่อเป็นส่วนตัว

          และไม่ควรดูแคลนลดทอนคุณค่ารายงานการศึกษาค้นคว้าของเอกชนที่คิดต่างจากราชการ
กับนักวิชาการกระแสหลัก
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 07 ต.ค. 17, 14:25

เมื่อเร็วๆนี้ ผมได้พบกับคุณวิจิตร ชินาลัย อดีตกรรมธิการอนุรักษศิลปสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยามฯหลายยุคหลายสมัย ตั้งแต่ปี ๒๕๒๑ จนถึง ๒๕๔๘  ผมเองได้เข้าไปร่วมในคณะกรรมาธิการชุดนี้ที่หลังท่านก็ตาม แต่ก็เป็นที่ชอบอัธยาศัยซึ่งกันและกัน  เรา(หมายถึงคณะกรรมธิการ) ล้วนเข้ามาทำงานให้สมาคมแบบจิตอาษา ไม่มีรายได้ ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง แต่ก็สร้างผลงานไว้แยะพอสมควร แม้จะอยู่ภายใต้บรรยากาศของการเร่งรัดพัฒนาบ้านเมืองอย่างเมามันของสังคม  ซึ่งบางครั้งก็มองข้ามศิลปวัฒนธรรมเก่าๆของชาติ ที่มักจะถูกกล่าวหาว่าล้าสมัย

ผมทราบว่าคุณวิจิตรได้อุทิศตนเป็นผู้แทนของสมาคมสถาปนิกสยาม ไปเป็นผู้อำนวยโครงการอนุรักษ์สถูปของสมเด้จเจ้าฟ้าอุทุมพรที่พม่าแบบทุ่มเทหัวจิตหัวใจ  ตื้นลึกหนาบางในเรื่องที่ถกกันมาในกระทู้นี้ท่านคงต้องทราบดีอยู่  เมื่อเจอกันครั้งล่าสุดจึงถามท่าน  ปรากฏว่าเลยต้องนั่งคุยกันยาว และท่านก็ส่งเอกสารมาให้ชุดใหญ่ เป็นงานวิชาการแบบเนื้อๆทั้งนั้น

ผมจะค่อยๆอ่านทำความเข้าใจในเนื้อหาที่ไม่ยาก แต่สลับซับซ้อนนี้ แล้วย่อยมาให้ท่านทั้งหลายได้อ่านแล้วเข้าใจมันได้ง่ายๆตามสไตล์ของผม แล้วท่านจะได้พบคำตอบบรรดามีที่ยกขึ้นมาถามก่อนหน้าในกระทู้นี้  แม้ใครก็ตามจะตอบคำถามที่สำคัญที่สุดไม่ได้ว่า แล้วปัญหามันจะจบลงเมื่อไหร่ อย่างไร

ณ บัดนี้ ผมจะหยุดให้ท่านอ่านทบทวนความในกระทู้ย้อนหลังไปพลางๆก่อน  เมื่อผมเริ่มกระทู้ใหม่ของผมแล้ว ท่านจะได้ตามเรื่องต่อได้ทันทีนะครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 07 ต.ค. 17, 18:33

ต่อเลยครับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 07 ต.ค. 17, 20:10

ตั้งกระทู้ใหม่เลยค่ะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 07 ต.ค. 17, 20:37

รอพร้อมๆกันก่อนนะคร้าบ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 08 ต.ค. 17, 16:48

มาจองที่ไว้ก่อนครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 08 ต.ค. 17, 17:23

เชิญมาลงทะเบียนเร้ว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.099 วินาที กับ 19 คำสั่ง