เมื่อขุดพบอัฐิบรรจุในบาตรวางบนพานแว่นฟ้า ฝ่ายนักประวัติศาสตร์ โบราณคดีคงต่างให้ข้อมูลร่วมกับนักวิชาการพม่า ในส่วนของทีมงานสถาปัตยกรรมมีข้อสังเกตดังนี้
๑. ตำแหน่งอยู่ภายในกำแพงแก้ว อยู่ตรงทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศมงคล
๒. รูปแบบองค์เจดีย์ที่เหลือปรากฏเพียงครึ่งหนึ่งยังดูคุ้นตากับทางบ้านเรา คือเป็นทรงระฆังหรือไม่ก็ทรงโอคว่ำ ต่างจากทรงของพม่า ฐานบัวถลา ๓ ชั้น องค์เจดีย์ไม่คาดเข็มขัดแบบพม่าหรือพุกาม
๓. เจดีย์รูปแบบที่ว่านี้เท่าที่ตามหาที่อมรปุระ สกาย มัณฑะเลย์ พุกาม อังวะ พบน้อยมาก ที่อมรปุระพบ ๓ องค์ รวมทั้งองค์ที่ขุดพบ
๔. เจดีย์ที่ลบมุมของฐานแบบบ้านเราพบหลักฐานทั้วเก่าและใหม่ ๓ แห่ง คือ เจดีย์ ๔ องค์ล้อมต้นโพธิ์วัดดอกเดือที่สมเด็จพระอุทุมพรทรงประทับ กับเจดีย์ร้างมุมกำแพงวัดอ่านชื่อไม่ออก เมืองสกายตรงข้ามกับโบสถ์ที่มีภาพฝาผนังฝีมือโยเดีย และสันษฐานว่าพระองค์ทรงประทับครั้งแรก และอยู่ฝั่งแม่น้ำอีรวดีตรงข้ามกับเมืองอังวะ และที่วัดจำชือไม่ได้ที่ประวัติศาสตร์พม่าว่าพระองค์ท่านเคยเสด็จประทับ นอกจากเจดีย์ ยังมีเจดีย์และฐานเจดีย์ใหญ่น้อยมากมาย เท่าที่พบขณะนี้มาก นับเอาเองครับ เฉพาะที่อยู่ภายในกำแพงแก้ว หรือกำแพงเตี้ย ๆ รอบเจดีย์หลัก พบหลักฐานว่าโผล่จากดินอยู่ก่อนแล้ว ๑ องค์ (อยู่มุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) กับที่พบฐานอย่างน้อยอีก ๔ ตำแหน่ง พอทีมโบราณคดีขุดสำรวจตรงองค์ที่โผล่พ้นตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ก็ได้พบหลักฐานสำคัญดังข่าวที่คงแพร่มาแล้วบ้าง ขณะที่ทางทีมงานจะแถลงอย่างเป็นทางการเร็ว ๆ นี้
๕. นอกจากนี้ จากการหาวิญญาณอยุธยาหรือไทยจากองค์เจดีย์ ได้พบเจดีย์มีบัลลังก์รับปล้องไฉน ๑ องค์ เท่านั้น ที่เมืองสกาย คือทางหาข้อมูลเสริมทางฝ่ายประว้ติศาสตร์โบราณคดี
อย่างไรก็ดี ยังต้องมีการหาหลักฐานต่อไปอีก ยังไม่เป็นที่ยุติครับ ที่น่ายินดีเบื้องต้น คือทางรัฐบาลพม่า ไม่ไถทิ้งแล้วตรงนี้ จะเปลี่ยนเป็นการพัฒนาเชิงอนุรักษ์ต่อไป
