^
^
ผมยังมีเรื่องเล็กๆน้อยๆที่ยังติดใจอยู่บางเรื่องครับ
โคนของเสาธงในภาพขวาของ ค.ห.30 จะเห็นมีเสาหลักที่เป็นไม้ (

) ไม้ประกบอยู่สองด้านของเสาธง พอไปดูรูปใน ค.ห.5,6 และ 10 เสาประกับโคนเสาธงดูเหมือนเป็นเสาปูนสั้นๆ และแถมมีอยู่เสาเดียวอีกต่างหาก มีรูเพื่อร้อยน็อตยึดเสาธงให้ติดกันแข็งแรง โดยสภาพดังรูปใน ค.ห.5,6 และ 10 นี้ เรื่องราวก็ดูจะสอดคล้องกับที่คุณโชดกได้เล่าเป็นบันทึกไว้ คือใช้คน 2-3 คนช่วยกันถอด (น็อตที่ร้อยอยู่) และช่วยกันแยกและยกเสาธงที่ยาวประมาณ 5 เมตรออกมาได้ง่ายๆไม่ลำบาก
พอไปดูรูปใน ค.ห. 34 ตามเรื่องที่กล่าวกันมา ภาพก็คือ เอาเสาธงที่ยกมา เอาโคนเสียบแทรกเข้าไประหว่างเสาไม้สองต้นที่ใช้เป็นฐาน (เมื่อเทียบขนาดกับตัวคนแล้ว เสาธงคงจะยาวสัก 7 -8 เมตรเลยทีเดียว) อันนี้คงเป็นเรื่องที่ทำไม่ง่ายเสียแล้ว คงจะต้องมีการขยับปรับระยะของเสาฐานให้พอดีกับขนาดของเสาธง จะต้องมีการเจาะรูกันใหม่เพื่อให้สามารถร้อยน็อตยึดได้ ในมุมที่คิดมานี้ ก็น่าจะเป็นเรื่องการจะต้องมีการเตรียมฐานให้พอดีกับเสาธงที่จะเชิญลงมา
อนึ่ง เคยได้ทราบมานานแล้วว่า มันมีข้อตกลงอะไรสักอย่าง ทำให้ทหารไทยไม่สามารถมีกองกำลังเข้าใกล้เขตแดนในระยะหนึ่งที่กำหนดไว้ (หากจำไม่ผิด คือ 15 กม.) เราจึงต้องใช้กองกำลัง ตชด. ที่มีสภาพและสมรรถนะเกือบเท่ากับทหาร อยู่ตามพื้นที่ชายแดนต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่อาจะแปลกและไม่แปลกไปพร้อมๆกัน คือการเห็นทหารปรากฎในภาพของ ค.ห.34 แทนที่จะเห็น ตชด. เป็นหลัก
ผมคิดเตลิดเปิดเปิงเข้าป่าไปแล้วครับ