เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 11917 เชิญธงลงจากเขาพระวิหาร ใครบัญชาการ ?
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 19 มี.ค. 13, 08:48

จากเวปนี้

http://www.siamdara.com/column/00005062.html#abc

แสดงว่าผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ยืนยันว่าพลโทประภาส(จอมพล)ได้มาที่เขาพระวิหารจริง แต่ภาพที่ถ่ายลงมาตามที่เราดูกันนั้น คนละเหตุการณ์กับของรองปลัดพ่วงแน่


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 19 มี.ค. 13, 11:50

ประมวลจากทุกหลักฐาน (หากถูกต้อง) ลำดับเหตุการณ์อาจเป็นดังนี้

คุณพ่วง สุวรรณรัฐ รองปลัดกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นสั่งการให้นำธงชาติไทยพร้อมเสาลงจากเขาพระวิหาร โดยบรรทุกลงมาโดยรถจิ๊ปของ ตชด. (ไม่มีภาพประกอบ เพราะไม่มีการถ่ายภาพ)

เมื่อนำลงมาข้างล่างแล้วจึงแบกเสาธงที่มีธงชาติไทติดอยู่ตรงปลายเสาลงจากรถ และแบกมาตั้งไว้หน้าฐาน ตชด. เบื้องล่าง (คือภาพที่เห็นพลโทประภาส รมต.มหาดไทยในขณะนั้น ยืนบัญชาการอยู่)





บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 19 มี.ค. 13, 12:36

เป็นข้อสันนิฐานที่มีความเป็นไปได้มากครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 19 มี.ค. 13, 12:47

คำอธิบายภาพ

๑๕ กรกฎาคม ๒๕๐๕ หลังคำพิพากษาศาลโลก พลโท ประภาส จารุเสถียร รมว.มหาดไทย (ยืนซ้ายสุด) คุมตำรวจตระเวนชายแดนเชิญเสาธงชาติไทยจากยอดผาเป้ยตาดีมาทั้งเสา โดยไม่มีการเชิญธงชาติลงจากยอดเสา แล้วนำมาตั้งไว้ที่ผามออีแดง

ถ้างั้นพลโทประภาสท่านก็ไปที่เขาพระวิหารจริง   แต่หยุดบัญชาการอยู่ที่ฐานตชด. เบื้องล่าง   ไม่ได้ขึ้นไปถึงยอดผาเป้ยตาดี
คนขึ้นไปเชิญธงลงจากเขาพระวิหารคือคุณพ่วง สุวรรณรัฐ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 19 มี.ค. 13, 13:32

สังเกตในสี่เหลี่ยมแดง มีอักษรเขียนไว้

คล้าย ๆ กับคำว่า "ฐาน.."





บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 19 มี.ค. 13, 20:26

ขอยืมมาจากเพื่อน คุณสัมพันธ์ รัตนจันทร์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 19 มี.ค. 13, 20:27

ที่ประดิษฐานธงชาติไทยครั้งอดีต


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 19 มี.ค. 13, 20:30

ยืมกันไปยืมกันมา


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 19 มี.ค. 13, 20:31

1


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 19 มี.ค. 13, 20:31

2


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 19 มี.ค. 13, 20:32

3


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 19 มี.ค. 13, 20:33

4


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 19 มี.ค. 13, 20:35

5


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 19 มี.ค. 13, 20:37

ข้อความโดย: เทาชมพู
อ้างถึง
ถ้างั้นพลโทประภาสท่านก็ไปที่เขาพระวิหารจริง   แต่หยุดบัญชาการอยู่ที่ฐานตชด. เบื้องล่าง   ไม่ได้ขึ้นไปถึงยอดผาเป้ยตาดี
คนขึ้นไปเชิญธงลงจากเขาพระวิหารคือคุณพ่วง สุวรรณรัฐ

เราคงได้คำตอบแล้ว


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 19 มี.ค. 13, 22:38

ขออนุญาตครับ

คุณนวรัตน์ กล่าวถึงไลเคน เลยไปกระตุ้นต่อมความรู้สึกให้พิจารณาดู ก็เลยเห็นอะไรเลยเถิดออกไป ดังนี้

ไม่เคยไปในพื้นที่ละแวกนี้เลย    เมื่อดูภาพถ่ายเก่าๆเหล่านี้แล้ว รู้สึกบอกไม่ถูก เหมือนกับเป็นภาพถ่ายต่างสถานที่กัน  จะว่าถ่ายต่างมุมกันก็ อืม์ บอกไม่ถูก 

ผมพอมีความรู้เพียงเรื่องของหิน  หินที่รองรับตัวปราสาทนี้เป็นหินตะกอน (หรือหินชั้น) ที่เป็นหินทราย มีชื่อหน่วยหินว่าพระวิหาร อยู่ในหินชุดโคราช  วางตัวในแนวค่อนข้างราบ คล้ายวางหนังสือทับซ้อนกัน  เมื่อถูกกัดกร่อน แตกออก ขยับเขยื้อนออกมา สภาพการวางตัวของหินที่แตกออกมาส่วนมากก็จะยังคงสภาพการวางแบนราบอยู่ ที่จะเป็นก้อนวางตะแคงหรือวางตั้งนั้นก็มี แต่ไม่น่าจะมีมากยกเว้นบริเวณลาดเชิงเขาหรือข้างร่องน้ำ

จาก 2 รูปในความเห็นที่ 28     รูปซ้าย จะเห็นว่าหินแต่ละชั้นที่วางทับซ้อนกันนั้น จะเป็นชั้นบางกว่าชั้นหินในรูปขวา เหมือนกับอยู่คนละสถานที่ มิใช่อยู่รองรับเสาธงต้นเดียวกัน

อีก 2 รูปในความเห็นที่ 20  แล้วเทียบกับรูปในความเห็นที่ 21     ภาพถ่ายมุมสูงของ ค.ห. 21 แสดงถึงพื้นที่ค่อนข้างราบจากหน้าผาถึงตัวปราสาท มีเนินหินปูดขึ้นมาสองที่ คือ ที่บริเวณลูกศรชี้เป้ยตาดี และอีกเนินถัดไปทางตัวปราสาท  ภาพซ้ายของ ค.ห.20 ประเมินจากระยะแล้ว เสาธงน่าจะอยู่บนเนินที่อยู่ถัดไปทางปราสาทจากจุดชี้เป้ยตาดี   ส่วนรูปขวาของ ค.ห. 20 นั้น เหมือนกับถ่ายมุมเงยมาจากร่องน้ำ หรือเนินนั้นจะต้องสูงพอได้เลยทีเดียว และเนินนี้ก็ไม่น่าจะอยู่รอบปราสาท เพราะรอบๆนั้นเป็นพื้นที่ราบ

แล้วก็ ฐานของเสาธงที่เห็นในทั้งสองรูปใน ค.ห. 20  ก็ไม่เหมือนกับในรูปที่ 5, 6 และ 10   คนละทรงกันเลย 

รูปที่ 5, 6 และ 10    แสดงถึงฐานของเสาธงว่าอยู่ระหว่างบริเวณเนินสองเนินที่เห็นในภาพที่ 21   ไม่อยู่บนเนินไม่เหมือนกับภาพใน ค.ห. 20

ด้วยไม่เคยไปเลย และมีความรู้ประกอบน้อยมาก    ผมเห็นว่า รูปที่ถ่ายแบบติดเสาธงเหล่านั้น คงจะต่างเวลากัน และในแต่ละช่วงเวลาคงจะมีการย้ายสถานที่ตั้งเสาธง คือ ต่างตำแหน่งกัน และอาจจะไปถึงระดับต่างสถานที่กันก็ได้

เดาเอาว่า รูปขวาของ ค.ห.20 นั้น น่าจะเป็นรูปแรกๆ เพราะการปักธงแสดงเขตแดนนั้น ปรกติก็จะปักกันให้ชิดเขตแดนที่สุด ในกรณีนี้เป็นหน้าผา ก็น่าจะปักกันที่ตรงนั้น และขอเดาไปให้สุดๆเลยว่า อาจจะปักตรงจุดที่จุดแบ่งเขตตรงบริเวณทางเดินที่ไต่ขึ้นมาจากฝั่งเขมร    รูปซ้าย อาจะเป็นรูปที่ถ่ายในช่วงเวลาต่อมา  ส่วนรูปใน ค.ห.5, 6, 10 นั้นคงจะเป็นหลังๆมากแล้ว

รูปใน ค.ห. 28 ซ้าย เห็นป้ายภาษาไทยชัดเลย ดูจากลักษณะการแต่งตัวของคนในภาพ น่าจะเป็นยุคก่อนกรณีฟ้องร้องของเขมร  แล้วก็ดูที่ฐานของเสาธง ก็ไม่เหมือนกับในรูปอื่นๆ

คงไม่ชักใบให้เรือเสียนะครับ
 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 20 คำสั่ง