เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 11875 เชิญธงลงจากเขาพระวิหาร ใครบัญชาการ ?
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 20 มี.ค. 13, 06:59

ขอย่อยความเห็นอันมีค่าของคุณตั้งให้เห็นชัดๆหน่อย จะได้คิดตามได้ลื่นไหล

ผมพอมีความรู้เพียงเรื่องของหิน หินที่รองรับตัวปราสาทนี้เป็นหินตะกอน (หรือหินชั้น) ที่เป็นหินทราย มีชื่อหน่วยหินว่าพระวิหาร อยู่ในหินชุดโคราช วางตัวในแนวค่อนข้างราบ คล้ายวางหนังสือทับซ้อนกัน เมื่อถูกกัดกร่อน แตกออก ขยับเขยื้อนออกมา สภาพการวางตัวของหินที่แตกออกมาส่วนมากก็จะยังคงสภาพการวางแบนราบอยู่ ที่จะเป็นก้อนวางตะแคงหรือวางตั้งนั้นก็มี แต่ไม่น่าจะมีมากยกเว้นบริเวณลาดเชิงเขาหรือข้างร่องน้ำ

จาก 2 รูปในความเห็นที่ 28 รูปซ้าย จะเห็นว่าหินแต่ละชั้นที่วางทับซ้อนกันนั้น จะเป็นชั้นบางกว่าชั้นหินในรูปขวา เหมือนกับอยู่คนละสถานที่ มิใช่อยู่รองรับเสาธงต้นเดียวกัน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 20 มี.ค. 13, 07:01

อีก 2 รูปในความเห็นที่ 20 แล้วเทียบกับรูปในความเห็นที่ 21 ภาพถ่ายมุมสูงของ ค.ห. 21 แสดงถึงพื้นที่ค่อนข้างราบจากหน้าผาถึงตัวปราสาท มีเนินหินปูดขึ้นมาสองที่ คือ ที่บริเวณลูกศรชี้เป้ยตาดี และอีกเนินถัดไปทางตัวปราสาท ภาพซ้ายของ ค.ห.20 ประเมินจากระยะแล้ว เสาธงน่าจะอยู่บนเนินที่อยู่ถัดไปทางปราสาทจากจุดชี้เป้ยตาดี ส่วนรูปขวาของ ค.ห. 20 นั้น เหมือนกับถ่ายมุมเงยมาจากร่องน้ำ หรือเนินนั้นจะต้องสูงพอได้เลยทีเดียว และเนินนี้ก็ไม่น่าจะอยู่รอบปราสาท เพราะรอบๆนั้นเป็นพื้นที่ราบ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 20 มี.ค. 13, 07:07

แล้วก็ ฐานของเสาธงที่เห็นในทั้งสองรูปใน ค.ห. 20 ก็ไม่เหมือนกับในรูปที่ 5, 6 และ 10 คนละทรงกันเลย

รูปที่ 5, 6 และ 10 แสดงถึงฐานของเสาธงว่าอยู่ระหว่างบริเวณเนินสองเนินที่เห็นในภาพที่ 21 ไม่อยู่บนเนินไม่เหมือนกับภาพใน ค.ห. 20

ด้วยไม่เคยไปเลย และมีความรู้ประกอบน้อยมาก ผมเห็นว่า รูปที่ถ่ายแบบติดเสาธงเหล่านั้น คงจะต่างเวลากัน และในแต่ละช่วงเวลาคงจะมีการย้ายสถานที่ตั้งเสาธง คือ ต่างตำแหน่งกัน และอาจจะไปถึงระดับต่างสถานที่กันก็ได้

เดาเอาว่า รูปขวาของ ค.ห.20 นั้น น่าจะเป็นรูปแรกๆ เพราะการปักธงแสดงเขตแดนนั้น ปรกติก็จะปักกันให้ชิดเขตแดนที่สุด ในกรณีนี้เป็นหน้าผา ก็น่าจะปักกันที่ตรงนั้น และขอเดาไปให้สุดๆเลยว่า อาจจะปักตรงจุดที่จุดแบ่งเขตตรงบริเวณทางเดินที่ไต่ขึ้นมาจากฝั่งเขมร รูปซ้าย อาจะเป็นรูปที่ถ่ายในช่วงเวลาต่อมา ส่วนรูปใน ค.ห.5, 6, 10 นั้นคงจะเป็นหลังๆมากแล้ว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 20 มี.ค. 13, 07:10

รูปใน ค.ห. 28 ซ้าย เห็นป้ายภาษาไทยชัดเลย ดูจากลักษณะการแต่งตัวของคนในภาพ น่าจะเป็นยุคก่อนกรณีฟ้องร้องของเขมร แล้วก็ดูที่ฐานของเสาธง ก็ไม่เหมือนกับในรูปอื่นๆ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 20 มี.ค. 13, 07:21

คงไม่ชักใบให้เรือเสียนะครับ

ไม่หรอกครับ ต้องขอขอบคุณคุณตั้งอย่างมากด้วย

สรุปว่า รูปนี้ คงมิได้ถ่าย ณ เป้ยตาดี
ดังนั้น ผู้ที่บัญชาการระหว่างเชิญธงชาติลงมาจากเป้ยตาดีคือ นายพ่วง สุวรรณรัฐ ในตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 20 มี.ค. 13, 08:12

คงไม่ชักใบให้เรือเสียนะครับ

ไม่หรอกครับ ต้องขอขอบคุณคุณตั้งอย่างมากด้วย

สรุปว่า รูปนี้ คงมิได้ถ่าย ณ เป้ยตาดี
ดังนั้น ผู้ที่บัญชาการระหว่างเชิญธงชาติลงมาจากเป้ยตาดีคือ นายพ่วง สุวรรณรัฐ ในตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย

แล้วภาพนี้ควรถ่ายไว้ที่ไหน  ฮืม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 20 มี.ค. 13, 08:22

แผนผังปราสาทเขาพระวิหารและชะง่อนผาเป้ยตาดี พ.ศ. ๒๕๐๓


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 20 มี.ค. 13, 08:42

คงไม่ชักใบให้เรือเสียนะครับ

ไม่หรอกครับ ต้องขอขอบคุณคุณตั้งอย่างมากด้วย

สรุปว่า รูปนี้ คงมิได้ถ่าย ณ เป้ยตาดี
ดังนั้น ผู้ที่บัญชาการระหว่างเชิญธงชาติลงมาจากเป้ยตาดีคือ นายพ่วง สุวรรณรัฐ ในตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย

แล้วภาพนี้ควรถ่ายไว้ที่ไหน  ฮืม

เมื่อนำลงมาข้างล่างแล้วจึงแบกเสาธงที่มีธงชาติไทยติดอยู่ตรงปลายเสาลงจากรถ และแบกมาตั้งไว้หน้าฐาน ตชด. เบื้องล่าง (คือภาพที่เห็นพลโทประภาส รมต.มหาดไทยในขณะนั้น ยืนบัญชาการอยู่)

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 21 มี.ค. 13, 21:27


แล้วภาพนี้ควรถ่ายไว้ที่ไหน  ฮืม

ถ่ายที่หน้าฐาน ตชด. เบื้องล่าง   ถูกต้องไหมคะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 21 มี.ค. 13, 21:42

^
^
ผมยังมีเรื่องเล็กๆน้อยๆที่ยังติดใจอยู่บางเรื่องครับ

โคนของเสาธงในภาพขวาของ ค.ห.30   จะเห็นมีเสาหลักที่เป็นไม้ (ฮืม) ไม้ประกบอยู่สองด้านของเสาธง พอไปดูรูปใน ค.ห.5,6 และ 10  เสาประกับโคนเสาธงดูเหมือนเป็นเสาปูนสั้นๆ และแถมมีอยู่เสาเดียวอีกต่างหาก มีรูเพื่อร้อยน็อตยึดเสาธงให้ติดกันแข็งแรง   โดยสภาพดังรูปใน ค.ห.5,6 และ 10 นี้ เรื่องราวก็ดูจะสอดคล้องกับที่คุณโชดกได้เล่าเป็นบันทึกไว้ คือใช้คน 2-3 คนช่วยกันถอด (น็อตที่ร้อยอยู่) และช่วยกันแยกและยกเสาธงที่ยาวประมาณ 5 เมตรออกมาได้ง่ายๆไม่ลำบาก  

พอไปดูรูปใน ค.ห. 34 ตามเรื่องที่กล่าวกันมา ภาพก็คือ เอาเสาธงที่ยกมา เอาโคนเสียบแทรกเข้าไประหว่างเสาไม้สองต้นที่ใช้เป็นฐาน (เมื่อเทียบขนาดกับตัวคนแล้ว เสาธงคงจะยาวสัก 7 -8  เมตรเลยทีเดียว) อันนี้คงเป็นเรื่องที่ทำไม่ง่ายเสียแล้ว คงจะต้องมีการขยับปรับระยะของเสาฐานให้พอดีกับขนาดของเสาธง จะต้องมีการเจาะรูกันใหม่เพื่อให้สามารถร้อยน็อตยึดได้  ในมุมที่คิดมานี้ ก็น่าจะเป็นเรื่องการจะต้องมีการเตรียมฐานให้พอดีกับเสาธงที่จะเชิญลงมา

อนึ่ง เคยได้ทราบมานานแล้วว่า มันมีข้อตกลงอะไรสักอย่าง ทำให้ทหารไทยไม่สามารถมีกองกำลังเข้าใกล้เขตแดนในระยะหนึ่งที่กำหนดไว้ (หากจำไม่ผิด คือ 15 กม.)  เราจึงต้องใช้กองกำลัง ตชด. ที่มีสภาพและสมรรถนะเกือบเท่ากับทหาร อยู่ตามพื้นที่ชายแดนต่างๆ  จึงเป็นเรื่องที่อาจะแปลกและไม่แปลกไปพร้อมๆกัน คือการเห็นทหารปรากฎในภาพของ ค.ห.34 แทนที่จะเห็น ตชด. เป็นหลัก

ผมคิดเตลิดเปิดเปิงเข้าป่าไปแล้วครับ    

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 22 มี.ค. 13, 12:47

อ่านข้อสังเกตของคุณตั้งแล้วก็ยังไม่เข้าใจว่าหมายความอะไร  เป็นเสาธงคนละเสา หรือฐานคนละฐาน หรือไงคะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 22 มี.ค. 13, 23:15

ครับ

ไปในทำนองที่คุณเทาชมพูว่านั้นแหละครับ 

ลองเรียบเรียงใหม่ครับ    แบบมาตรฐานของตั้งเสาธงชาติไทยที่เราเห็นกันคุ้นตานั้น ส่วนฐานจะประกอบด้วยเสาสองต้นประกับเข้ากับส่วนที่ที่เป็นตัวเสาธง โดยจะมีน็อตร้อยยึดอยู่สามรู (บน กลาง ล่าง) น็อตร้อยที่รูกลางจะใช้เป็นจุดหมุนสำหรับการยกเสาธงขึ้นให้ตั้งตรง จากนั้นจึงร้อยน็อตรูบนและล่างเพื่อยึดเสาให้มั่นคงถาวร ผมเชื่อว่าเสาธงชาติที่ปักตั้งตระหง่านอยู่ตามชายแดน ณ แห่งใดก็ตาม จะเป็นการสร้างตามแบบมาตรฐานที่ได้กล่าวมานี้ เสาธงที่สร้างในสมัยก่อนๆนั้นจะใช้ไม้ทั้งหมด และที่หัวเสาสองเสาที่เป็นส่วนฐานสำหรับประกับตัวเสาธงนั้น จะมีการกลึงหัวเสาเป็นทรงจุกอีกด้วย

ประเด็นข้อสังเกตของผม คือ

ข้อแรก ฐานของเสาธงที่เห็นในภาพถ่าย 5, 6 และ 10 นั้น เป็นลักษณะของเสาปูน ดูคล้ายกับว่ามีอยู่เสาเดียว และมีรูร้อยน็อตเพีย 2 รู  มีบันใดขึ้นลงสองด้าน   ทำให้มองได้ว่า อาจจะเป็นเสาธงที่ตั้งอยู่หน้าฐานของหน่วยที่อยู่ประจำการรักษาสถานที่ ซึ่งจะต้องมีการกระทำพิธีชักธงขึ้นลงทำความเคารพประจำวัน (ใช้สองคนช่วยกัน ขึ้นลงคนละบันใด)      ฐานของเสาธงชาติตามรูปดังกล่าวนี้ จึงอาจจะไม่ใช่ฐานของเสาธงชาติที่ปักแสดงอธิปไตยเหนือดินแดนนี้

ข้อสอง เนื่องจากเสาธงที่ปักแสดงอธิปไตยเหนือดินแดน จะต้องเป็นการสร้างตามแบบมาตรฐาน ดังนั้น เมื่อถอดยกออกมาแล้ว ก็สามารถนำไปใส่กับฐานที่สร้างมาบนมาตรฐานเดียวกันได้เลย       หากเป็นตามข้อสังเกตนี้ ภาพที่เห็นพลโทประภาส ยืนบัญชาการอยู่นั้นก็ถูกต้อง ส่วนฐานของเสาธงที่เห็นในภาพตามที่อ้างถึงในข้อแรกนั้นก็ไม่น่าจะใช่  สถานที่ๆไปยกเสาธงลงมาน่าจะเป็นในภาพของ ค.ห.28

ข้อสาม  ข้อสังเกตที่ว่าเสาธงสูงมากกว่าที่คุณโชดกได้บรรยายไว้ (ประมาณ 5 เมตร)  เมื่อเทียบเคียงกับความสูงของคนในภาพที่มีพลโทประภาสยืนอยู่ ก็คงจะในราว 7+ เมตร    ความสูงในระดับนี้ ผมเห็นว่าเสาธงคงจะไม่แข็งแรงและไม่เหมาะลงตัวกับฐานที่กล่าวถึงในข้อแรก ทั้งการรับน้ำหนักจากการโอนเอนไปมาของเสา และลมซึ่งค่อนข้างจะแรงมาก เนื่องจากอยู่ใกล้ขอบหน้าผา    ดังนั้น หากฐานของเสาธงตามภาพที่อ้างถึงในข้อแรกเป็นฐานของเสาธงชาติไทยที่เชิญลงไปจริง ความสูงของเสาธงตามที่คุณโชดกบรรยายไว้ ก็น่าจะมีความถูกต้อง  ซึ่งก็จะไปขัดแย้งกับขนาดความสูงของเสาธงในภาพที่มีพลโทประภาส   

ก็เลยงงกับความคิดของตนเอง  ผมว่ามันมี irregularity ระหว่างภาพกับข้อมูล ซึ่งข้อสังเกตของผมอาจจะไม่มีความถูกต้องอย่างสิ้นเชิงไปเลยก็ได้ครับ 

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 23 มี.ค. 13, 08:10

ก็ยังงงๆอยู่เหมือนกัน
แต่เกิดความคิดขึ้นมาขณะอ่านค.ห.คุณตั้ง แล้วย้อนไปดูรูป    ว่าธงไทยรวมทั้งเสาที่เชิญลงมาจากเขาพระวิหาร คงพังหมดสภาพไปนานแล้วตั้งตัวผืนธงและตัวเสา      ก็เลยมีการสร้างธงขึ้นมาใหม่ คนละแบบกัน ทั้งเสาธงทั้งฐาน  ปักเอาไว้บริเวณข้างล่างที่เคยเชิญธงเดิมลงมา  ให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายรูปว่านี่แหละธงที่เคยอยู่บนยอดเขาพระวิหาร 
เสาธงเก่าไม่เหลือซาก   เสาธงใหม่เหลือแต่ฐาน  ตามกาลเวลา
ใช่ไหมคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 21 เม.ย. 13, 08:35

ในคลิปวิดีโอนี้ มีตอนหนึ่งพูดถึงการเชิญธงลงมาจากยอดเขาพระวิหารด้วยค่ะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 21 เม.ย. 13, 08:47



นาทีที่ ๔.๕๕ - นาทีที่ ๕.๑๐

ไม่มีข้อมูลใหม่

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.086 วินาที กับ 19 คำสั่ง