เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 17675 เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 12 มี.ค. 17, 13:01

หมายเหตุ เวลาของเรือนไทยเร็วไป ๑ ช.ม. (ขณะพิมพ์เป็น ๑๒.๕๒ แต่ขึ้นเวลาเป็น ๑๓.๕๒) ตามเมืองนอก
ปรับเวลาออมแสงกระมัง

คุณศิลาร่วมเดินทางมาถึงสถานีออมแสงแรกของปี ๒๕๖๐ แล้ว  ยิ้มกว้างๆ

บันทึกการเข้า
admin
เทพารักษ์
มัจฉานุ
*****
ตอบ: 50


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 12 มี.ค. 17, 21:26

ปรับเวลาแล้วครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 13 มี.ค. 17, 10:48

บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 28 มี.ค. 17, 11:35

แสงเเดดสัมพันธ์กับชีวิตความเป็นอยู่มาก
ตอนไปสิงคโปร์ เช้าๆ ออกมาหาโจ๊กรับทาน
โจ๊กริมทางนอกเมืองจะเก็บร้านแล้ว

หย่อนตัวลงนั่ง สั่งโจ๊ก และหันไปสั่ง "โอวเลี้ยง" ชูหนึ่งนิ้วประกอบ
อาตี๋หน้าเหรอ อาแป๊ะแก่กุลีกุจอชงให้ พลางบอกว่า
หลานชายมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ มันฟัง [ฮกเกี้ยน] ไม่รู้เรื่องหรอก

"อาแปะ ลื้อเก็บร้านเร็วจัง"
"แปดโมงแล้ว คนหมดแล้ว"
ดูเหมือนเจ็ดโมงแดดยังไม่ออก แต่สิงคโปร์สายแล้วเพราะข้ามขั้นไปใช้เวลาฮ่องกง



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 28 มี.ค. 17, 14:28

"อาแปะ ลื้อเก็บร้านเร็วจัง"
"แปดโมงแล้ว คนหมดแล้ว"
ดูเหมือนเจ็ดโมงแดดยังไม่ออก แต่สิงคโปร์สายแล้วเพราะข้ามขั้นไปใช้เวลาฮ่องกง

ดูจากแผนที่เขตเวลา (time zone map) จะเห็นว่าประเทศที่อยู่ในเขต GMT+๗ มีเพียงไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม และอินโดนีเซียเท่านั้นที่กำหนดเวลาตามความเป็นจริง ส่วนมาเลเซีย, สิงคโปร์, ฮ่องกง และจีน อยู่ในเขตเวลาเดียวกับเราแท้ ๆ กลับใช้เวลา GMT+๘

หากเรากำหนด GMT+๘ บ้างก็ไม่น่าแปลก


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 28 มี.ค. 17, 14:55

การที่บุคคลจากแต่ละประเทศ ตื่นนอนไม่พร้อมกัน เข้าทำงานไม่พร้อมกัน รับประทานอาหารไม่พร้อมกัน ฯลฯ ได้ถูกกำหนดไว้ด้วยมาตรฐานแห่งเวลา ชาติใดที่มีมาตรฐานแห่งเวลาเป็นจุดร่วมกับนานาอารยประเทศมากที่สุด ย่อมมีความได้เปรียบ ด้วยความต้องการแห่ง Real Time ซึ่งเป็นผลลัพธ์แห่งเทคโนโลยียุคดิจิทัล ความเหลื่อมล้ำทางเวลาย่อมเป็นผลเสียต่อการประกอบธุรกิจ

สิงคโปร์และมาเลเซียอยู่ทางทิศตะวันตกของ กัมพูชา ลาว และเวียดนาม และอยู่ทางทิศใต้ของไทย ด้วยหลักแห่งธรรมชาติแล้ว สิงคโปร์และมาเลเซียควรมีเวลามาตรฐานเดียวกับไทย แต่กลับกำหนดมาตรฐานไว้เร็วกว่าไทย กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ทั้งที่พระอาทิตย์ขึ้นภายหลังประเทศเหล่านี้

ที่เป็นเช่นนี้ เพราะสิงคโปร์และมาเลเซีย “เลือก” ที่จะตื่นนอนพร้อมกับ จีน ฮ่องกง ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ บรูไน ฯลฯ และไม่ได้เรียกร้องว่า ๖ โมงเช้าของพวกเขา พระอาทิตย์จะต้องขึ้นแล้ว

เร็วนี้ ๆ ได้มีการสถาปนาเวลามาตรฐานอาเซียน หรือ ASEAN Common Time เพื่อกำหนดให้ประเทศส่วนใหญ่ของอาเซียน รวมถึงไทย ใช้ GMT+8 เป็นมาตรฐานแห่งเวลา ซึ่งจะลดความเสียเปรียบเนื่องด้วยความแตกต่างของเวลา และทำให้ไทยสามารถก้าวได้ทันเพื่อนบ้าน แต่เป็นที่น่าเสียดายสำหรับชาวไทย เพราะมีรายงานข่าวว่า ประชากรไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการที่ต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการที่ต้องตื่นเร็วขึ้น ๑ ชั่วโมง หากประเทศไทยเลือกใช้เวลามาตรฐานอาเซียน  

ความเจริญก้าวหน้าของประเทศย่อมมาจากการเสียสละของคนในชาติ บางครั้งเพียงแค่ตื่นนอนเร็วขึ้นเพียงหนึ่งชั่วโมง สามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างที่ไม่อาจคาดคิด แต่ในครั้งนี้ การปรับเปลี่ยนมาตรฐานแห่งเวลา ไม่ได้หมายความว่าจะต้องตื่นเร็วขึ้นแต่เพียงอย่างเดียว แต่ทุกคนจะได้เข้านอนกันเร็วขึ้นอย่างที่ไม่ต้องพยายาม โปรดให้โอกาสประเทศไทยกันครับ

จากบทความเรื่อง ไทยเกือบช้าที่สุดในอาเซียน ของ ดร. อธิป อัศวานันท์



 
บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 29 มี.ค. 17, 15:55

ในเดือนมิถุนายนปีหนึ่ง จากปักกิ่ง นั่งรถไฟไปฉางชุน เพื่อต่อไปวลาดิวอสตอค
ถึงฉางชุนราวตีสามครึ่ง แวะ 1 คืน ยามวิกาลหวั่นๆ อยู่ว่ารถราคงหายาก
เปิดม่านหน้าต่าง ตะลึง แสงอาทิตย์อร้าอร่ามดั่งเจ็ดโมงเช้าบ้านเรา

เพื่อนร่วมทางชาวจีนบอกว่า ฤดูเซี่ยเทียนประหยัดไฟดี เพราะมืดจริงๆ สองสามชั่วโมงเอง
กลับบ้านมาดูแผนที่ ฉางชุนอยู่สูงขึ้นไปกว่าชิคาโกเล็กน้อย แต่กว่าจะมืดเกือบเที่ยงคืน
ตีสามก็สว่างจ้า เป็นเมืองที่ไม่หลับไหล
นกกาคงไม่ได้หลับได้นอน เช่นกัน
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 03 ก.ย. 18, 11:20

มีแถลงข่าวจาก European Commission - Press release เมื่อ 31 August 2018 เรื่อง

      Summertime Consultation: 84% want Europe to stop changing the clock

อ่านเนื้อหาต่อที่  http://europa.eu/rapid/press-release_IP-18-5302_en.htm

รูป theverge.com


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 03 ก.ย. 18, 11:55

อ่านเนื้อหาต่อที่  http://europa.eu/rapid/press-release_IP-18-5302_en.htm

ร่วมด้วยช่วยลิ้งก์  ยิงฟันยิ้ม

http://europa.eu/rapid/press-release_IP-18-5302_en.htm
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 03 ก.ย. 18, 16:07

ถ้ายุโรปยกเลิกจริงๆ  อเมริกาก็คงต้องยกเลิกไปด้วย
มาสนับสนุนอีกรายค่ะ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 28 ต.ค. 18, 11:01

          วันอาทิตย์ที่ 29 ต.ค. นี้ อังกฤษจะปรับเวลาถอยหลัง 1 ชั่วโมงเตรียมเข้าสู่ฤดูหนาว
เปลี่ยนมาใช้เวลามาตรฐานกรีนิชหรือ GMT (Greenwich Mean Time) ทำให้เวลาที่อังกฤษ
ช้ากว่าที่ไทย 7 ชั่วโมง

https://www.bbc.com/thai/international-41786279?ocid=socialflow_facebook


บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 31 ต.ค. 18, 11:25

ผมขออนุญาตสอบถามเพื่อความเข้าใจอีกครั้งนะครับ เวลาช้าลง หมายความว่าอย่างไรครับ

สมมุติ ในขณะที่นาฬิกาแสดงตัวเลข 8.00 น. ในฤดูร้อน
ถ้าเป็นในฤดูหนาว ในจังหวะเดียวกัน นาฬิกาจะแสดงตัวเลขอะไรครับ 7.00 หรือ 9.00 ครับ   

 
 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 31 ต.ค. 18, 11:34

คุณนริศสามารถหารายละเอียดเรื่องเวลาออมแสงในอังกฤษได้ที่นี่

https://www.istudyuk.co.th/daylight-saving-time-in-uk/


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 01 พ.ย. 18, 18:02

ผมขออนุญาตสอบถามเพื่อความเข้าใจอีกครั้งนะครับ เวลาช้าลง หมายความว่าอย่างไรครับ

สมมุติ ในขณะที่นาฬิกาแสดงตัวเลข 8.00 น. ในฤดูร้อน
ถ้าเป็นในฤดูหนาว ในจังหวะเดียวกัน นาฬิกาจะแสดงตัวเลขอะไรครับ 7.00 หรือ 9.00 ครับ  

ตอบ  เป็น 9.00 น. ค่ะ
daylight savings time (ตามที่เรียกในสหรัฐอเมริกา) ถึงฤดูหนาว ทางการตั้งเวลาเร็วขึ้น 1 ชม. ค่ะ เพราะฉะนั้นจะค่ำเร็วมาก
ในโคโลราโด  ห้าโมงเย็น(ซึ่งก่อนหน้านี้คือสี่โมงเย็น)ก็มืดสนิท
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 01 พ.ย. 18, 19:20

ที่อังกฤษมีการหมุนเข็มนาฬิกาอยู่ ๒ ครั้ง คือ มีนาคม (ฤดูใบไม้ผลิ - Spring) หมุนเข็มชั่วโมงไปข้างหน้า และ ตุลาคม (ฤดูใบไม้ร่วง - Autumn, Fall) หมุนเข็มชั่วโมงกลับมาข้างหลัง ฤดูร้อน (Summer) เริ่มเดือนมิถุนายน และฤดูหนาว (Winter) เริ่มเดือนธันวาคม

เข็มนาฬิกาบอกเวลาในฤดูร้อนที่ ๘.๐๐ น. ถูกหมุนกลับมาที่ ๗.๐๐ น.ในฤดูใบไม้ร่วง และก็ยังคงเป็น ๗.๐๐ น. ในฤดูหนาวอยู่นั่นเอง


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 20 คำสั่ง