เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 17681 เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 12 มี.ค. 13, 11:32

สำนักเลขาธิการอาเซียนจึงได้เสนอแนวทางการกำหนดเวลาร่วมกันของอาเซียนเป็น ๒ ลักษณะ เพื่อให้สมาชิกพิจารณาคัดเลือก ได้แก่

๑. เลื่อนเร็วขึ้น ๓๐ นาที หมายถึงการกำหนดให้เวลามาตรฐานของอาเซียน (ACT) เป็นเวลาก่อนเวลามาตรฐานกรีนิช ประเทศอังกฤษ (Greenwich Mean Time : GMT) ๗.๕ ชั่วโมง หรือ GMT+๗.๕ ชั่วโมง ปัจจุบันไทยมีเวลามาตรฐานเท่ากับ GMT+๗ หรืออีกนัยหนึ่ง ก็คือ ก่อนเวลามาตรฐานกรีนิช ๗ ชั่วโมง ประเทศอาเซียนที่มีเวลาก่อนกรีนิช ๗ ชั่วโมง เหมือนประเทศไทย ได้แก่ เวียดนาม อินโดนีเซีย ลาว และกัมพูชา

๒. เลื่อนเร็วขึ้น ๑ ชั่วโมง หมายถึง การกำหนดให้เวลามาตรฐานของอาเซียน (ACT) เป็นเวลาก่อนเวลามาตรฐานกรีนิช ๘ ชั่วโมง หรือเท่ากับ GMT+๘ ซึ่งจะทำให้เวลาท้องถิ่นของประเทศอาเซียนไปตรงกับเวลาท้องถิ่นของกรุงปักกิ่ง กรุงไทเป และฮ่องกง อีกทั้งยังจะทำให้เวลาท้องถิ่นอาเซียนใกล้เคียงกับเวลาที่กรุงโตเกียว และกรุงโซล ปัจจุบัน ประเทศสมาชิกอาเซียนที่กำหนดเวลาท้องถิ่นอยู่ที่ GMT+๘ อยู่แล้ว ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน

โครงการการใช้เวลามาตรฐานร่วมกันของอาเซียน (ACT) ยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาและยังไม่ได้ข้อสรุปชัดเจน ซึ่งที่ประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการปี ๒๕๓๙ ณ ประเทศอินโดนีเซีย ได้กำหนดที่จะนำผลศึกษามาพิจารณาทบทวนกันในช่วงปี ๒๕๔๓-๒๕๔๖ แต่เนื่องจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินเอเชียตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ เป็นต้นมา ประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่ประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจและการเงินอย่างร้ายแรง ทำให้ประเด็นเรื่องการใช้เวลามาตรฐานร่วมกันของอาเซียนจึงยังไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรจากประเทศสมาชิก เมื่อเทียบกับประเด็นเศรษฐกิจทั่วไปของกลุ่มอาเซียน

ดูจากแผนที่เขตเวลา (time zone map) จะเห็นว่าประเทศที่อยู่ในเขต GMT+๗ มีเพียงไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม และอินโดนีเซียเท่านั้นที่กำหนดเวลาตามความเป็นจริง ส่วนมาเลเซีย, สิงคโปร์, ฮ่องกง และจีน อยู่ในเขตเวลาเดียวกับเราแท้ ๆ กลับใช้เวลา GMT+๘

หากเรากำหนด GMT+๘ บ้างก็ไม่น่าแปลก






บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 08 มี.ค. 15, 08:36

ทุก ๆ ปี เวลาใน "เรือนไทย" จะเปลี่ยนไปคือเร็วขึ้น ๑ ชั่วโมงในเดือนมีนาคม และช้าลง ๑ ชั่วโมงในเดือนพฤศจิกายน

เวลาออมแสงในอเมริกา ยกเว้นฮาวาย อเมริกันซามัว กวม เปอร์โตริโก หมู่เกาะเวอร์จิน หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา และอริโซนา (ยกเว้นเขตสงวนเผ่านาวาโฮ) ยิงฟันยิ้ม



เวลาออมแสงเริ่มต้นแล้วในวันนี้ เวลาในเรือนไทยก็จะเร็วขึ้น ๑ ชั่วโมงเป็นการชั่วคราว (จนกว่าแอดมินจะปรับลงให้เป็นปรกติ)  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 08 มี.ค. 15, 09:03

คุณหมอเพ็ญไม่เคยพลาดอยู่แล้ว
แอดมิน รับแซ่บ ด่วน!
บันทึกการเข้า
admin
เทพารักษ์
มัจฉานุ
*****
ตอบ: 50


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 08 มี.ค. 15, 12:50

ขอบพระคุณครับ ผมตั้งเตือนตัวเองไว้ล่วงหน้าหลายเดือน ยังมีประสิทธิภาพไม่ไดีเท่า  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 09 มี.ค. 15, 10:53

สถานีต่อไป วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ และล่วงหน้าในอีก ๔ ปี  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 19 มี.ค. 15, 18:31

ก่อนที่กระทู้จะตกหน้าไป  ก็จะขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกสองสามเรื่องครับ ขออภัยครับ

เวลาออมออมแสงจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลใดก็ไม่ทราบ แต่เคยได้ยินเมื่อครั้งไปปฎิบัติงานในกรุงออตตาวา แคนาดา ครั้งหนึ่งว่า ในปีนั้นรัฐจะขอเริ่มเร็วกว่าวันกำหนดเดิม ด้วยเหตุผลว่า ต้องการประหยัดพลังงานเพิ่มมากขึ้น
 
จึงพอจะทำให้เกิดความเข้าใจพื้นฐานของความคิดในเรื่องของเวลาออมแสงนี้ แล้วก็ทำให้พอเข้าใจว่า ด้วยเหตุใดหลายประเทศที่ตั้งอยู่ในละติจูดสูงๆด้วยกัน จึงมีทั้งการใช้และการไม่ใช้เวลาออมแสง    พื้นฐานแท้ๆมันไปเกี่ยวพันกับเรื่องทางเศรษฐกิจนั่นเอง
 
ขยับเวลาเร็วขึ้นเพื่อให้คนไปอยู่กับบ้าน ซึ่งใช้พลังงานโดยรวมๆกันน้อยกว่าช่วงเวลาของการทำงาน คือ เป็นการปรับ peak load และลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า    ขยับเวลาช้าลงก็เช่นเดียวกัน คนจะไปอยู่นอกบ้านนานขึ้น มีกิจกรรมใช้ไฟน้อยลง
   
ในละติจูดสูงๆนั้น กว่าดวงอาทิตย์จะลับขอบฟ้าก็สามสี่ทุ่มและกว่านั้น  จะนอนก็ต้องใช้ม่านช่วยปิดแสง ม่านหน้าต่างบ้านเขาจึงมี 2 ชั้น แยกเรียกว่า curtain และ blinder   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 19 มี.ค. 15, 19:08

curtain และ blinder 


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 01 พ.ย. 15, 07:22

ท่านผู้โดยสารโปรดทราบ ๆ เราเดินทางมาถึงสถานีเวลาออมแสงถอยหลังไป ๑ ชั่วโมงแล้ว

ทุก ๆ ปี เวลาใน "เรือนไทย" จะเปลี่ยนไปคือเร็วขึ้น ๑ ชั่วโมงในเดือนมีนาคม และช้าลง ๑ ชั่วโมงในเดือนพฤศจิกายน

สถานีต่อไป วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘

จนกว่าท่านแอดมินจะปรับเวลาให้เป็นปรกติ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 01 พ.ย. 15, 08:13

ความจริงแล้ววันนี้เป็นวันสิ้นสุดเวลาออมแสงซึ่งเริ่มต้นเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๘ ในอเมริกาทุกคนหมุนเข็มนาฬิกาเดินหน้ามา ๑ ชั่วโมง  เมื่อจบเทศกาลออมแสงจึงเตือนกันใหญ่ให้หมุนเข็มนาฬิกากลับไป ๑ ชั่วโมง (ตรงกันข้ามกับในเรือนไทย)  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
admin
เทพารักษ์
มัจฉานุ
*****
ตอบ: 50


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 01 พ.ย. 15, 13:12

ขออภัยที่มาช้าครับ เดี๋ยวนี้ผมจะตั้งเวลาล่วงหน้า เตือนให้มาแก้เวลาในเรือนไทย เสียแต่ว่าบางครั้งอยู่ในที่ๆไม่สะดวกจะทำได้ ก็เลยช้าหน่อยครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 13 มี.ค. 16, 21:14

เราเดินทางมาถึงสถานีแรกของปี ๒๐๑๖ อีกแล้ว (เวลาเดินหน้าไป ๑ ชั่วโมง) ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
admin
เทพารักษ์
มัจฉานุ
*****
ตอบ: 50


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 13 มี.ค. 16, 21:24

ขอบคุณครับ ผมนึกว่าตั้งเตือนไว้แล้ว ปรากฏว่าที่ตั้งไว้ไม่รู้ว่าหายไปไหน  อายจัง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 06 พ.ย. 16, 07:18

วันนี้ (อาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙) รถไฟออมแสงแห่งเรือนไทยเข้าเทียบชานชลาสถานีที่ ๒ ของปี ๒๐๑๖ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในอเมริกาต้องหมุนเข็มนาฬิกาย้อนหลังไป ๑ ชั่วโมง ส่วนในเรือนไทยตรงกันข้ามกันคือต้องหมุนเข็มเดินหน้าไป ๑ ชั่วโมง
บันทึกการเข้า
admin
เทพารักษ์
มัจฉานุ
*****
ตอบ: 50


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 06 พ.ย. 16, 10:40

จัดการเรียบร้อยแล้วครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 06 พ.ย. 16, 11:11

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.037 วินาที กับ 20 คำสั่ง