เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 17758 เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



 เมื่อ 10 มี.ค. 13, 09:21

ทุก ๆ ปี เวลาใน "เรือนไทย" จะเปลี่ยนไปคือเร็วขึ้น ๑ ชั่วโมงในเดือนมีนาคม และช้าลง ๑ ชั่วโมงในเดือนพฤศจิกายน

เวลาของกระทู้นี้ เวลาจริง (ในเมืองไทย) คือ ๙ นาฬิกา ๒๑ นาที แต่ใน "เรือนไทย" คือ ๑๐ นาฬิกา ๒๑ นาที

ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ เรื่องนี้มีคำอธิบาย



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 10 มี.ค. 13, 09:31

คำถามที่พบเสมอเมื่อถึง

เดือนมีนาคม

คำถาม

คือเวลาในเรือนไทยเนี่ยครับ มันเวลาของประเทศไหนกันแน่ครับ
ไม่ใช่เวลาของอังกฤษ หรือไทย หรือจะเป็นของอเมริกา
ผมสงสัยว่าเป็นเวลาของอินเดียหรือบังคลาเทศหรือเปล่าครับ
ตั้งตามเวลาไทยไม่ได้หรือครับ

คำตอบ

พี่ว่าคงเป็นเพราะตอนนี้้ในอเมริกายังใช้เวลา day light saving's time อยู่น่ะค่ะ  มันจึงขาดไปชั่วโมงนึง  ปีหนึ่งในอเมริกาและยุโรปจะเปลี่ยนเวลาสองครั้ง  แต่เมืองไทยไม่เปลี่ยน  เลยออกจะสับสนกันน่ะค่ะ

และพฤศจิกายน

คำถาม

เวลาในเรือนไทยช้าไปหนึ่งชั่วโมง ขณะนี้ เวลา 6.59

คำตอบ

สาเหตุจากสิ้นสุดเวลาออมแสงที่อเมริกา

เรือนไทยอิงการปรับเวลาที่อเมริกา เพราะมี server อยู่ที่นั่น

ปีนี้ที่อเมริกา เวลาออมแสงจะเริ่มตั้งแต่เวลา ๒ นาฬิกาของวันที่ ๑๑ มีนาคม และจะสิ้นสุดลงเวลา ๒ นาฬิกาของวันที่ ๔ พฤศจิกายน

"เวลาออมแสง" คุณรู้จักหรือไม่ !!!


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 10 มี.ค. 13, 10:30

เวลาออมแสง หรือ daylight saving time - DST คืออะไร

คุณวิกกี้ อธิบายไว้ดังนี้

เวลาออมแสง (daylight saving time - DST) หรือ เวลาฤดูร้อน (summer time) เป็นข้อตกลงในการปรับนาฬิกาไปข้างหน้า เพื่อให้มีแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาบ่ายมากขึ้นและมีแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาเช้ามีน้อยลง โดยปกติแล้วจะปรับไปข้างหน้าหนึ่งชั่วโมง ก่อนจะเข้าฤดูใบไม้ผลิ และปรับกลับหลังในฤดูใบไม้ร่วง เวลาออมแสงในยุคสมัยใหม่ถูกเสนอขึ้นครั้งแรกโดย William Willett นักก่อสร้างชาวอังกฤษ หลายประเทศได้เริ่มใช้เวลาลักษณะนี้นับตั้งแต่นั้น โดยมีรายละเอียดแตกต่างไปตามสถานที่และมีการเปลี่ยนแปลงครั้งคราว
 
การเลื่อนนาฬิกาของเวลาออมแสงนี้ก่อให้เกิดความท้าทายต่าง ๆ เวลาลักษณะนี้ทำให้การรักษาเวลายุ่งยากขึ้น ก่อความวุ่นวายให้การนัดหมาย การเดินทาง การบัญชี การลงบันทึก อุปกรณ์การแพทย์ และเครื่องจักรอุตสาหกรรม ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์จำนวนมากสามารถปรับนาฬิกาของตัวได้อัตโนมัติ แต่การปรับนี้ก็อาจทำได้จำกัดและมีความผิดพลาด โดยเฉพาะเมื่อกฎของเวลาออมแสงเปลี่ยน
 
ระบบเวลาออมแสงมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีช่วงแสงสว่างที่ "เหมาะสม" ตามความต้องการของท้องถิ่น โดยปรับนาฬิกาให้เข้ากับการขึ้นลงของดวงอาทิตย์ ซึ่งเปลี่ยนไปตามฤดู ตามความเอียงของแกนโลก
 
ในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ เริ่มทำการปรับเวลาออมแสงแตกต่างจากประเทศอื่นโดยการ เริ่มต้น ๓ อาทิตย์ก่อนเวลาออมแสงปกติ และสิ้นสุด ๑ อาทิตย์หลังเวลาออมแสงปกติ ซึ่งลงชื่อรับรองโดยประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ในวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
 
ในประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เคยมี DST ได้แก่มาเลเซียและฟิลิปปินส์




สีฟ้า      - บริเวณที่มีการใช้เวลาออมแสง

สีเหลือง - บริเวณที่เคยใช้เวลาออมแสง
 
สีแดง    - บริเวณที่ไม่เคยมีการใช้เวลาออมแสง

ผลของเวลาออมแสง คุณประกอบและคุณหมอศานติน่าจะให้ข้อมูลได้มากกว่านี้

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 10 มี.ค. 13, 10:43

เวลาออมแสงในอเมริกา ยกเว้นฮาวาย อเมริกันซามัว กวม เปอร์โตริโก หมู่เกาะเวอร์จิน หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา และอริโซนา (ยกเว้นเขตสงวนเผ่านาวาโฮ) ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 10 มี.ค. 13, 11:20

ขณะนี้ เวลาใน "เรือนไทย" เป็นเวลาออมแสงแบบที่ใช้ในอเมริกา

คิดว่าคงกลับมาใช้เวลา "เมืองไทย" ในไม่ช้านี้



บันทึกการเข้า
admin
เทพารักษ์
มัจฉานุ
*****
ตอบ: 50


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 10 มี.ค. 13, 12:15

ขอบคุณคุณเพ็ญชมพูที่แจ้งเตือนครับ เป็นข้อจำกัดของระบบที่ใช้อยู่ครับ ต้องแก้มือทุกครั้ง แล้วก็ลืมทุกครั้งเสียด้วยสิครับ

 อายจัง
บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 10 มี.ค. 13, 21:41

เวลาออมแสง (Daylight Saving Time) เรื่มตอนหมดฤดูหนาว ไปสุดสิ้นตอนฤดูใบไม้ร่วง วิธีจำ (mnemonic) ที่ผมใช้คือ Fall back then spring forward. แปลได้สองอย่าง ถอยหลังแล้วกระโดดไปข้างหน้า หรือ ถอยหลังตอนฤดูใบไม้ร่วงแล้วกระโดดไปข้างหน้าตอนฤดูใบไม้ผลิ  ม่ายงั้นจำไม่ได้ว่าจะตั้งให้เร็วชึ้นหรือช้าลง
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 11 มี.ค. 13, 02:28

เรื่องเศร้าๆ ของเวลาออมแสงคืออีกไม่กี่วันข้างหน้าที่อังกฤษจะปรับเวลาเร็วขึ้นหนึ่งชั่วโมง จากเดิมตื่น 7 โมงเช้า จะกลายเป็น 8 โมงกลายเป็นสายโด่ง ปรับทีขาดทุนไป 1 ชั่วโมง ผมเลยชอบตอนปรับเวลาให้ช้าลงมากกว่า เพราะเดิมตื่น 7 โมงเช้า กลายเป็น 6 โมงเช้าแทน รู้สึกเหมือนได้กำไรมา 1 ชั่วโมง
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 11 มี.ค. 13, 09:54

        ที่อังกฤษ - British Summer Time (BST) เริ่มต้นที่ 
วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนมีนาคม จนถึง วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนตุลาคม
ปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๓๑ มีนาคม - ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๖ 

         2013: Sunday, 31 March, 01:00 - Sunday, 27 October, 02:00

     
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 11 มี.ค. 13, 11:05

การเลื่อนนาฬิกาของเวลาออมแสงนี้ก่อให้เกิดความท้าทายต่าง ๆ เวลาลักษณะนี้ทำให้การรักษาเวลายุ่งยากขึ้น ก่อความวุ่นวายให้การนัดหมาย การเดินทาง การบัญชี การลงบันทึก อุปกรณ์การแพทย์ และเครื่องจักรอุตสาหกรรม ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์จำนวนมากสามารถปรับนาฬิกาของตัวได้อัตโนมัติ แต่การปรับนี้ก็อาจทำได้จำกัดและมีความผิดพลาด โดยเฉพาะเมื่อกฎของเวลาออมแสงเปลี่ยน

อยากฟังคุณหมอศานติและคุณประกอบเล่าประสบการณ์ความยุ่งยากอื่น ๆ ที่พบ อันมีผลเนื่องมาจากเวลาออมแสง



บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 11 มี.ค. 13, 17:55

นอกจากความรู้สึกว่าขาดทุนหรือกำไรเวลา 1 ชั่วโมงตอนที่มีการปรับเวลา ความยุ่งยากอื่นๆ แทบไม่ค่อยมีครับ ที่มีก็เห็นจะเป็นเรื่องที่ต้องปรับนาฬิกาบางเรือนใหม่เท่านั้น แต่ที่อังกฤษนี่มีนาฬิกาที่เรียกว่า radio control   คือรับสัญญาณเวลาทางคลื่นวิทยุจากไหนก็ไม่รู้  ในเมืองไกลปืนเที่ยงนอกตัวเมืองในหมู่บ้านชนบทแบบของผมนาฬิกาก็ยังรับสัญญาณได้  ดังนั้นเวลาเปลี่ยนนาฬิกาพวกนี้ก็เปลี่ยนให้เองอัตโนมัติ สะดวกดีมาก ต้องปรับใหม่แต่นาฬิกาข้อมือหรือนาฬิกาในรถเท่านั้น  นอกนั้นก็ต้องปรับเวลาโทรกลับบ้านที่เมืองไทยนิดหน่อย แต่อย่างอื่นเรียกได้ว่าไม่มีผลกระทบครับ


จริงๆ แล้วการปรับเวลานี่ผมว่าจะเป็นสำหรับประเทศที่อยู่บนๆ หรือใต้ๆ มากๆ ด้วยเพราะในฤดูที่แตกต่างช่วงเวลากลางวันกลางคืนจะแตกต่างกันมาก ไม่เหมือนกับเมืองไทยที่ไม่ว่าฤดูไหนกลางวันกลางคืนก็ยาวพอๆ กัน  ดังนั้นการปรับเวลาทำให้ช่วงเวลากลางวันโดยเฉพาะเวลาทำงานจะตรงกับเวลาที่มีแสงอาทิตย์มากกว่า ก็นับว่าเหมาะสมดีครับ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 11 มี.ค. 13, 20:04

รู้จักเวลาออมแสงครั้งแรกเมื่อไปเรียน    เพราะกลางวันกลางคืนของที่โน่นสั้นยาวไม่เท่ากัน  ไม่เหมือนบ้านเรา    หน้าร้อนของเขา สว่างไปจนสามทุ่ม   ส่วนหน้าหนาวแค่ห้าโมงเย็นก็มืดแล้ว   จึงต้องมีการปรับเวลาให้เร็วขึ้นช้าลง
ตอนแรกก็ไม่ชอบการปรับเวลา   เพราะฤดูหนาวมืดเร็ว  ยิ่งถอยเวลาไปอีกหนึ่งชั่วโมงยิ่งทำให้มืดเร็วหนักขึ้น  แทนที่จะมืดห้าโมงเย็นก็กลายเป็นมืดตั้งแต่สี่โมง  ตอนเช้าเคยมี class ตอนเจ็ดโมงเช้า    ความจริงมันก็แปดน่ะแหละ  แต่เจ็ดหรือแปดก็หนาวดับจิตเท่ากัน

ขอสารภาพว่าโพสต์กระทู้นี้ด้วยความยากลำบาก เพราะเริ่มจะสับสนว่าหน้าร้อนหน้าหนาวนี่มันเร็วหรือช้ายังไงกันแน่  ขนาดอ่าน Fall back then spring forward. ของอาจารย์หมอศานติเป็นแนวทางแล้วนะคะ
บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 11 มี.ค. 13, 22:10

เพิ่งเมื่อคืนนี้เองครับ นัดเพื่อนฝรั่งสองคู่ไปทานอาหารกันตอนหนึ่งทุ่ม มาหนึ่งคู่ตรงเวลาดี แต่อีกคู่ 19:15 ก็ยังไม่มา โดยมากคู่นี้เขาตรงต่อเวลามาก เลยโทร.ไปหา ปรากฎว่าทั้งสามีภริยาลืมเรื่องออมแสง ไม่ได้ปรับเวลาใหม่ เลยมีเรื่องเก็บไว้ล้อกันวันหลัง

เดือนแรกที่ผมมาอยู่อเมริกาตรงกับหน้าร้อนพอดี ตีห้าก็สว่างจ้า กว่าพระอาทิตย์จะตกก็สามทุ่ม รู้สึกง่วงนอนทั้งวัน นึกไม่ออกจนมานึกได้ว่าอยู่เมืองไทยเข้านอนหลังพระอาทิตย์ตกสัก 3-4 ชม. ตื่นก็ตอนพระอาทิตย์ขึ้น ติดนิสสัยไปทำแบบนั้นคืนหนึ่งๆเลยได้นอนไม่พอ ต้องหัดดูนาฬิกา  

มีเด็กไทยซื่อๆ อายุ 20 โดนเขาหลอกให้เอายาเสพย์ติดเข้าประเทศ โดนจับได้ โดยมากผมไม่ยุ่งด้วย แต่รายนี้ผมว่าโดนต้มจริงๆ เลยช่วย ไม่มีที่อยู่ ภริยาผมก็ใจดียอมให้มาพักที่ apartment ที่ผมเช่าอยู่ ร้านอาหารข้างบ้านกำลังบูรณะ ต้องการคนช่วย ผมเลยแนะให้เด็กไปหาเขา เขานัดพบเพื่อสัมภาษณ์ 10 โมงเช้า ผมกินข้าวเช้าอยู่สัก 8 โมง ภริยาถามว่า "...หายไปไหน ออกไปแต่เช้า" ผมว่า "เขามีนัดไม่ใช่เหรอ" "ใช่ แต่นัด 10 โมง นี่แค่ 8 โมง"  อีกสักพักเขากลับมา บอกว่าร้านยังไม่เปิด เห็นพระอาทิตย์ขึ้นสูงแล้ว ผมเลยบอกเขาว่า "พระอาทิตย์ฝรั่งเชื่อไม่ได้หรอก ต้องดูนาฬิกา"

นานๆเจอคนซื่อก็ทำให้ปลื้มใจ แต่ต้องระวังจัง  ตอนพักอยู่กับผมมีเด็กสาวโทรมาหาทุกวัน ถามไปถามมาได้ความว่าเป็นลูกสาว อายุ 14-15 ของคนข้างบ้านคนที่เป็นต้นคิดให้ทางคนที่เมืองไทยลอบเอายาเสพย์ติดว่าเป็นเครื่องแกงใส่กระเป๋าเข้าประเทศ ท่าทีเด็กแก่เกินวัย ผมเลยต้องอธิบายให้ฟังว่าอเมริกันเคร่งเรื่องนึ้มากกว่าไทย(สมัยโน้น) ติดตะรางเอาง่ายๆ จะแก้ตัวว่า เด็กมันยั่วผม ไม่ได้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 11 มี.ค. 13, 23:42

การผิดนัดน่าจะเป็นปัญหาพื้นฐานของการปรับเวลาออมแสง  ยิ้มเท่ห์

เรื่องการปรับเวลาให้เร็วขึ้น ๑ ชั่วโมงนี้ เมืองไทยก็เคยมีคนเสนออยู่เหมือนกัน แต่ไม่เกี่ยวกับ "แสง" หากเกี่ยวกับ "ทรัพย์" ข้อเสนอนี้เกิดขึ้นเมื่อง ๒๐ ปีที่แล้ว

ข่าวเก่าจาก หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ

จู่ ๆ ช่วงกุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ ปีนี้ อุทัย พิมพ์ใจชน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ก็เกิดปิ๊งในไอเดียของตัวเอง ที่จะให้มีการปรับปรุงเวลาประเทศไทยให้เร็วขึ้นหนึ่งชั่วโมงด้วยเหตุผลเชิงเศรษฐกิจ ที่จะทำให้นักธุรกิจ นักการค้าระหว่างประเทศและนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีความได้เปรียบในการบริหารเวลา เพราะเวลาที่ปรับเร็วขึ้นนี้จะใกล้เคียงประเทศฮ่องกง แต่จะเร็วกว่าสิงคโปร์ และจะช้ากว่าญี่ปุ่นเพียงหนึ่งชั่วโมงจากเดิมที่ช้าถึง ๒ ชั่วโมง

 รมว. อุทัยมอบหมายให้ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ประธานคณะที่ปรึกษาฝ่ายการต่างประเทศของกระทรวงฯ ศึกษาความเป็นไปได้ และได้มีการเปิดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนถึงผลดีของการปรับเวลานี้ ว่าเป็นประโยชน์ต่อการติดต่อทางธุรกิจกับกลุ่มประเทศอาเซียน และตะวันออกไกล นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดไฟฟ้า

คุณชายสุขุมพันธ์ยังให้ทัศนะต่อไปว่า ปัจจุบันสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป หากยังเป็นสังคมเกษตรเหมือนเดิมก็ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงเวลา แต่หากเปลี่ยนแปลงเวลาแล้วไม่กระทบต่อเกษตรกรก็ควรทำ เพราะการทำเกษตรกรรมนั้นขึ้นอยู่กับแสงอาทิตย์ ไม่จำเป็นต้องปลุกควายขึ้นมากินหญ้าเร็วขึ้น!

 "เวลาไม่ใช่เรื่องศักดิ์สิทธิ์เหมือนศาสนาที่แตะต้องไม่ได้ แต่เป็นสิ่งที่ทำขึ้นมาเพื่อความสะดวก แต่ยอมรับว่าเป็นเรื่องใหม่ หากเปลี่ยนเวลาจริงก็ต้องเลื่อนเวลาของนักเรียนให้เหมาะสมขึ้น" คุณชายสุขุมพันธ์แถลงข่าว

 งานนี้ กรมอุทกศาสตร์ ผู้ดูแลรักษาเวลาบอกว่าเป็นเรื่อง SENSITIVE แม้จะเปลี่ยนเวลาสักวินาทีเดียว เพราะตามข้อตกลงที่ประเทศต่าง ๆ ทำไว้กับสถาบันเวลามาตรฐานสากล B.I.P.M. และ U.S.N.O. แห่งราชนาวีสหรัฐฯ ได้มีการแบ่งโซนเวลาทั่วโลก โดยไทยนั้นถือเอาเวลาที่เห็นดวงอาทิตย์เร็วกว่าเมืองกรีนิช ประเทศอังกฤษ ๗ ชั่วโมง

 อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา ประเทศสิงคโปร์ก็เคยประสบความสำเร็จในการขอเปลี่ยนแปลงเวลาทางเศรษฐกิจเพื่อให้ใกล้เคียงกับฮ่องกงมาแล้ว

 "เราไม่จำเป็นต้องทำขนาดนี้ หากอยากจะเปิดตลาดหุ้นให้ตรงกับฮ่องกง ก็เปิดตลาดหุ้นไทยให้เร็วขึ้นก็ได้" เจ้ากรมอุทกศาสตร์ พล.ร.ท. ถนอม เจริญลาภกล่าว

 แต่ในแวดวงนักธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ฯ ธีรศักดิ์ สุวรรณยศ กรรมการผู้จัดการ บงล. นครหลวงเครดิต กลับเห็นว่าการปรับเวลาเร็วขึ้นหนึ่งชั่วโมงนี้จะก่อให้เกิดผลบวกมากกว่า เพราะเมื่อเวลาทำการซื้อขายหุ้นในไทยเท่ากับเวลาเปิดตลาดหุ้นฮ่องกง ก็จะมีส่วนช่วยให้นักลงทุนต่างชาติหันมาสนใจซื้อขาย

 "ปกติตลาดหุ้นไทยเปิดและปิดทำการซื้อขายหุ้นช้ากว่าตลาดฮ่องกง พอนักลงทุนต่างชาติซื้อขายหุ้นฮ่องกงจนปิดตลาดก็เลิกซื้อแล้ว โดยส่วนตัวผมจึงเห็นด้วยให้เลื่อนเวลาเร็วขึ้นหนึ่งชั่วโมง แม้จะตื่นเร็วขึ้น แต่ก็เลิกงานเร็วทำให้มีเวลาอยู่กับครอบครัว" ธีรศักดิ์กล่าว

 ขณะที่วิเชียร เจียกเจิม กรรมการผู้จัดการ บงล. เกียรตินาคินให้ทัศนะว่า ไม่น่าจำเป็นที่เราจะปรับเวลาให้เร็วขึ้น เพราะภาวะซื้อขายหุ้นแต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นมากกว่าความสัมพันธ์ระหว่างตลาดหุ้น

 ยังเป็นข้อถกเถียงถึงความได้เปรียบเสียเปรียบที่จะเกิดขึ้นจากการบริหารเวลาใหม่ของไทยว่า ถ้าเวลาไทยเท่ากับสิงคโปร์ ธุรกิจบ้านเราก็ยิ่งเสียเปรียบเพราะสิงคโปร์เป็นแหล่งดึงดูดนักลงทุนที่มีความพร้อมและแรงจูงใจมากกว่า

 คุ้มหรือไม่! เมื่อมองจากปริมาณการค้ากับสิงคโปร์และมาเลเซีย ซึ่งไทยเทียบเวลาแข่งขันด้วย ทำไมจึงไม่เปลี่ยนไปตั้งเวลาให้เท่ากับญี่ปุ่นซึ่งมีปริมาณการค้าสูงกว่า?

 คำถามเหล่านี้ยังไม่ครอบคลุมไปถึงผลกระทบเชิงสังคมวัฒนธรรม ความเชื่อทางโหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ และอีกร้อยแปดพันประการที่น่าปวดเศียรเวียนเกล้า

 แต่สำหรับอุทัย พิมพ์ใจชน รมว. พาณิชย์ ที่คิดการใหญ่จะบริหารเวลาประเทศไทยใหม่ ต้อนรับศักราชใหม่ของนโยบายอาฟต้า เขตการค้าเสรีอาเซียน ด้วยการทลายกำแพงเวลา นอกเหนือจากการลดกำแพงภาษีการค้าในภูมิภาคนี้ทั้งหมด อาจจะเป็นไอเดียสุดเท่ของรัฐบาลชุดนี้ก็ได้ !!!
 

แต่ในที่สุดข้อเสนอนี้ก็ตกไป

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 12 มี.ค. 13, 09:31

เรื่องการปรับเวลาประเทศไทยให้เร็วขึ้น ๑ ชั่วโมงยังมีการพูดถึงกันอีกใน พ.ศ. ๒๕๓๘ และ พ.ศ. ๒๕๔๔

บทความจาก กระแสทรรศน์ บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยจำกัด

เวลามาตรฐานประเทศไทย : ปรับเร็วขึ้น ๑ ชั่วโมง เปลี่ยนอนาคตเศรษฐกิจไทย

การประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๔๔ ได้มีการเสนอแนวคิดในการปรับเวลามาตรฐานของประเทศไทยให้เท่ากับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย เป็นต้น เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการสร้างคุณภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นมาตรการ ๑ ใน ๒๘ มาตรการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน

แนวคิดในการปรับเปลี่ยนเวลามาตรฐานของประเทศไทย ได้เคยเป็นประเด็นที่ได้รับการวิพากวิจารณ์กันมาครั้งหนึ่งแล้วในช่วงปี ๒๕๓๖ สมัยที่นาย อุทัย พิมพ์ใจชน ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มีแนวความคิดที่จะเปลี่ยนเวลาในประเทศไทยให้เร็วขึ้น ๑ ชั่วโมง เป็นเวลาเดียวกับสิงคโปร์และฮ่องกง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของไทยให้เทียบเท่ากับทั้งสองประเทศ อย่างไรก็ตาม แนวคิดดังกล่าวได้เงียบหายไปในเวลาต่อมา

หลังจากนั้น ๒ ปี การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๕ ปี ๒๕๓๘ ที่กรุงเทพ ได้มีการเสนอให้ประเทศสมาชิกอาเซียนพิจารณาความเป็นไปได้ในการกำหนดการใช้เวลาเดียวกัน (ASEAN Common Time : ACT) เพื่อเป็นแนวทางสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในประชาคมอาเซียน อีกทั้งยังมีวัตถุประสงค์ที่จะให้การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนขยายตัวเพิ่มขึ้น ช่วยให้การเดินทางติดต่อค้าขายและการเจรจาต่อรองต่าง ๆ มีความสะดวกรวดเร็ว ปราศจากอุปสรรคทางด้านเวลา สำนักเลขาธิการอาเซียนได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เวลามาตรฐานอาเซียน ซึ่งเห็นว่าในกรณีที่ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการปรับเวลาท้องถิ่นให้เพิ่มขึ้นหรือลดลง ในช่วง ๓๐ นาที หรือ ๑ ชั่วโมง ประเทศสมาชิกจะไม่ประสบปัญหามากนัก เนื่องจากประเทศสมาชิกอาเซียนไม่มีปรากฏการณ์ที่ระยะเวลากลางวันสั้นกว่ากลางคืนมาก

บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 19 คำสั่ง