เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
อ่าน: 17322 แก๊งแสบกับแก๊งโจ๋ ในวงการสงฆ์สมัยพุทธกาล
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 14 มี.ค. 13, 11:22

ห้ามใช้ขนเจียมดำเกิน๒ ส่วนใน๔ส่วน เมื่อหล่อเครื่องปูนั่ง

ภิกษุฉัพพัคคีย์หล่อสันถัตด้วยขนเจียมดำล้วนเพียงแต่เอาขนเจียมขาวหน่อยหนึ่งใส่ลงไปที่ชาย มีผู้ติเตียน จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุจะหล่อสันถัตใหม่ พึงถือเอาขนเจียมดำ๒ส่วน ขนเจียมขาว๑ส่วน ขนเจียมแดง๑ส่วน ถ้าไม่ทำตามส่วนนั้น ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์


เห็นความแสบไหมครับ พอพระพุทธเจ้าท่านห้ามขนเจียมดำล้วน เพราะหายาก มีราคาแพงระยับ ท่านก็พริ้วไปใช้ขนเจียมสีขาวหน่อยหนึ่งไปใส่ที่ชายเพื่อให้พ้นไปจากคำว่าดำล้วน คราวนี้พระพุทธเจ้าถึงกับต้องทรงกำหนดสัดส่วนที่จะผสมไว้เลย
 
สิกขาบทที่ทรงบัญญัติห้ามเนื่องจากขนเจียมยังมีอีกหลายข้อ แต่ไม่ได้เป็นนวตกรรมของแก๊งฉัพพัคคีย์ ผมของดที่จะกล่าวถึง

อ้อ มาถึงตรงนี้แล้วคงเข้าใจมากขึ้น เจียมจึงไม่น่าจะเป็นจามรีเท่านั้น แต่น่าจะหมายถึงสัตว์ให้ขนทั่วๆไป เช่นแพะและแกะด้วยครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 14 มี.ค. 13, 12:56

อ้อ มาถึงตรงนี้แล้วคงเข้าใจมากขึ้น เจียมจึงไม่น่าจะเป็นจามรีเท่านั้น แต่น่าจะหมายถึงสัตว์ให้ขนทั่วๆไป เช่นแพะและแกะด้วยครับ

ท่านรอยอินวิสัชนาไว้ดังนี้

เจียม หมายถึง เครื่องลาดลักษณะเหมือนพรม ทําด้วยขนสัตว์ชนิดหนึ่งในจําพวกกวาง มีอยู่ทางเหนือของประเทศจีน (เจียม มาจากภาษาเขมร แปลว่า แกะ)

สัตว์จำพวกกวางมีอยู่ทางเหนือจีน คือตัวอะไร  ต้องสืบสวนกันต่อไป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 14 มี.ค. 13, 13:11

อยากจะถามใครก็ตามที่มีความเชื่อเช่นนี้ว่า ทําด้วยขนสัตว์ชนิดหนึ่งในจําพวกกวาง มีอยู่ทางเหนือของประเทศจีน นำมาอินเดียในสมัยพุทธกาลอย่างไร จนแพร่หลายเป็นที่รู้จักของคนระดับที่มาบวชพระ

ขนาดพระถังซำจั๋งเดินทางมาคัดลอกพระไตรปิฎกในปีพ.ศ.๑๑๗๐ ยังลำบากลำบนแทบเอาชีวิตไม่รอด แล้วพ่อค้าขนสัตว์จะไหวหรือ ได้กำไรเที่ยวละสักเท่าไหร่กันเชียว
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 14 มี.ค. 13, 20:32

ห้ามไปดูกองทัพที่ยกไปภิกษุฉัพพัคคีย์ไปดูกองทัพที่ยกไป พระเจ้าปเสนทิทอดพระเนตรเห็นก็ทรงทักท้วง คนทั้งหลายพากันติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุไปดูกองทัพที่เขายกไป ต้องปาจิตตีย์
ภายหลัง มีญาติผู้ใหญ่ของพระภิกษุองค์หนึ่งบาดเจ็บล้มป่วย ให้คนมาบอกพระภิกษุองค์นั้นถึงวัดให้ไปหา จึงทรงอนุญาตให้ไปในกองทัพได้เมื่อมีเหตุสมควร.

ห้ามพักอยู่ในกองทัพเกิน ๓ คืนภิกษุฉัพพัคคีย์มีเหตุจำเป็นไปในกองทัพ และพักอยู่เกิน ๓ คืน มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า เมื่อมีเหตุจำเป็นจะต้องไปในกองทัพ ภิกษุจะพักอยู่ในกองทัพได้ไม่เกิน ๓ ราตรี ถ้าอยู่เกินกว่านั้น ต้องปาจิตตีย์

ห้ามดูเขารบกัน เป็นต้น เมื่อไปในกองทัพ
ระหว่างภิกษุฉัพพัคคีย์มีเหตุจำเป็นต้องไปพักในกองทัพ ๒-๓ ราตรี เธอได้ไปดูการรบ การตรวจพล การจัดทัพ และดูทัพที่จัดเป็นกระบวนเสร็จแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งในจำนวน ๖ รูป ถูกลูกเกาทัณฑ์(เพราะไปดูเขารบกัน) เป็นที่เยาะเย้ยติเตียนของคนทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุที่พักอยู่ในกองทัพ ๒-๓ ราตรี ไปดูการรบ การตรวจพล การจัดทัพ และทัพที่จัดเป็นขบวนเสร็จแล้ว ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 14 มี.ค. 13, 20:38

ห้ามฉันอาหารในโรงพักเดินทางเกิน ๑ มื้อ

ภิกษุฉัพพัคคีย์ไปฉันอาหารในโรงพักคนเดินทางที่ผู้ใจบุญจัดอาหารให้เป็นทานแก่ผู้คนเดินทางที่มาพัก แล้วเลยติดใจ ถือโอกาสไปพักและฉันเป็นประจำ เป็นที่ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุพึงฉันอาหารในโรงทานได้เพียงมื้อเดียว ถ้าฉันเกินกว่านั้น ต้องปาจิตตีย์
ภายหลังทรงผ่อนผันให้ภิกษุไข้ ซึ่งเดินทางต่อไปไม่ไหวฉันเกินมื้อเดียวได้

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 14 มี.ค. 13, 20:40

ห้ามขออาหารประณีตมาเพื่อฉันเอง

ภิกษุฉัพพัคคีย์ขออาหารประณีต คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้, น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด นมเปี้ยว มาเพื่อฉันเอง เป็นที่ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ทำเช่นนั้น เว้นไว้แต่อาพาธ

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 15 มี.ค. 13, 06:39

พระฉัพพัคคีย์มิได้เป็นต้นบัญญัติของศีลเท่านั้นนะครับ แม้แต่เรื่องการเข้าพรรษา พระพุทธเจ้าได้ทรงวางระเบียบขึ้น ก็เพราะความขยันแต่ไม่รู้กาละเทศะของแก๊งนี้ ปกติก่อนหน้านั้น พระอริยะสงฆ์ในช่วงต้นพุทธกาลจะทราบดีว่าสิ่งใดควรหรือไม่ควรกระทำ

ทั้งนี้เพราะสมัยหนึ่ง พระฉัพพัคคีย์ได้เกิดฟิตจัดขึ้นมา ชวนกันออกเดินทาง(อ้างว่า)เพิ่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในชนบทต่างๆ โดยไม่ย่อท้อทั้งในฤดูหนาวฤดูร้อน และแม้แต่ฤดูฝน ทำให้ชาวบ้านได้พากันติเตียนว่า พวกพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาไม่ยอมหยุดพักสัญจรแม้ในฤดูฝน ในขณะที่นักบวชในศาสนาอื่นหยุดเดินทางในช่วงนั้น เพราะจะหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะไปเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวบ้านให้ได้รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากินจนถึงแก่ความตาย เมื่อพระพุทธเจ้าทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้ภิกษุประจำพรรษาอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาสามเดือนดังที่ทุกท่านทราบดีอยู่แล้ว

แต่แก๊งพระฉัพพัคคีย์ออกไปเผยแพร่อะไร อย่างไร และก่อนออกเผยแพร่ได้มีพฤติกรรมหลายอย่างนั้น ทำให้เกิดข้อบัญญัติเป็นศีลของสงฆ์ตามมาอีกหลายข้อทีเดียว
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 15 มี.ค. 13, 06:45

เรื่องเรียนดิรัจฉานวิชา

พระฉัพพัคคีย์เรียนดิรัจฉานวิชา  ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระพุทธเจ้า ทรงตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเรียนดิรัจฉานวิชา รูปใดเรียนต้องอาบัติทุกกฏ


 
ดิรัจฉานวิชาคือวิชาที่ขวางต่อมรรคผลนิพพาน เพราะการใช้เวลาศึกษาในวิชาเหล่านั้นย่อมทำให้เนิ่นช้าในการบำเพ็ญเพียรเพื่อให้บรรลุธรรม มากน้อยขึ้นอยู่กับความหมกมุ่นของผู้ที่ใฝ่ใจในวิชาเหล่านั้น
วิชาทางโลกทั้งหมดถือเป็นดิรัจฉานวิชาตามนัยยะนี้ เพราะเป็นวิชาที่จำเป็นต้องเรียนให้รู้เพื่อใช้ในการดำรงชีวิต มนุษย์ก็เช่นเดียวกับสัตว์โลกอื่นๆที่ต้องอาหารใส่ท้อง และการเอาตัวให้รอดจากสถานการณ์ร้ายที่อาจเกิดขึ้นไปวันหนึ่งๆ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 15 มี.ค. 13, 06:47

เรื่องสอนดิรัจฉานวิชา

เมื่อไม่ให้เรียนต่อ เรื่องที่เรียนมาแล้วก็คงสอนได้ เพราะพระพุทธเจ้ายังมิได้ทรงห้าม
สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์สอนดิรัจฉานวิชา ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่าเหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระพุทธเจ้า ทรงตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสอนดิรัจฉานวิชา รูปใดสอนต้องอาบัติทุกกฏ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 15 มี.ค. 13, 07:15

ห้ามกล่าวธรรมพร้อมกับผู้ไม่ได้บวชในขณะสอน

ภิกษุฉัพพัคคีย์สอนอุบาสกทั้งหลายให้กล่าวธรรม(พร้อมกัน)โดยบท ทำให้อุบาสกเหล่านั้น ขาดความเคารพในภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้สอนธรรมแก่อนุปสัมบันพร้อมกันโดยบท


ท่านอ่านแล้วคงงงเหมือนผมในตอนแรก

คือเมื่อสอนวิชาอื่นไม่ได้ ภิกษุฉัพพัคคีย์ก็จะสอนธรรมะในพระพุทธศาสนานี่แหละ โดยคงจะชวนพระใหม่และอุปสัมบันในวัด หมายถึงนักบวชที่ยังไม่ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในที่นี้คือเณร เณรี ยายชีตาเถรที่บรรพชาถือศีลอย่างน้อย๘ข้อ ให้มาเรียนด้วยกันเยอะๆ

พอมาเรียนแล้ว ก็ให้มีการท่องบทสวด หรือกถาธรรมใดๆขึ้นดังๆพร้อมกันทั้งพระและผู้ที่ไม่ใช่พระ  ทำให้เกิดภาพที่ไม่น่าดูขึ้น พระพุทธเจ้าจึงทรงห้าม จะเรียนจะสอนก็ทำได้ แต่ห้ามสั่งให้ท่องออกเสียงพร้อมๆกัน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 15 มี.ค. 13, 09:42

ภิกษุฉัพพัคคีย์จะมีกึ๋นไปสอนใครแค่ไหนไม่ทราบ แม้แต่เรื่องอย่างนี้ยังต้องทำให้พระพุทธเจ้าท่านทรงต้องบัญญัติศีล

ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อตน

ภิกษุฉัพพัคคีย์ไปพูดกับคณะบุคคล ซึ่งเตรียมอาหารและจีวรไว้ถวายแก่สงฆ์ เพื่อให้เขาถวายแก่ตน เขาถูกรบเร้าหนัก ก็เลยถวายไป ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อตน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์


สมัยนั้น ชาวบ้านหมู่หนึ่งจัดภัตตาหารพร้อมทั้งจีวร จะไปถวายสังฆทานสงฆ์ ณ พระเชตวันอารามด้วยตั้งใจว่าเมื่อพระฉันแล้วจะถวายจีวรให้ครองในโอกาสนั้นเลย จีวรในสมัยพุทธกาลเป็นของหายาก พระภิกษุยังต้องชักบังสุกุลผ้าห่อศพมาทำความสะอาดต้มย้อม แล้วนำมาตัดเย็บต่อกันเป็นจีวรห่มกาย นานๆจะมีอุบาสกอุบาสิกานำอติเรกจีวร คือจีวรใหม่ๆป้ายแดงมาถวาย ถ้าเขามิได้เจาะจงจะถวายแก่พระภิกษุองค์ใดโดยเฉพาะ ของถวายนั้นก็จะถือเป็นของสงฆ์ หมายถึงถวายเป็นส่วนกลาง สุดแล้วแต่คณะสงฆ์จะมอบให้แก่องค์ใดอีกทีหนึ่ง ในครั้งนั้นชาวบ้านที่ไปทำบุญถวายสังฆทาน ตั้งใจจะถวายจีวรให้เป็นขององค์ที่สงฆ์มอบหมายให้เป็นผู้มารับสังฆทานนั้นด้วยเลย

หนึ่งในแก๊งฉัพพัคคีย์ทราบเข้า จึงได้เข้าไปหาชาวบ้านหมู่นั้นก่อนแล้วกล่าวว่า ขอท่านทั้งหลายจงให้จีวรนี้แก่อาตมาเถิด เขากล่าวตอบว่า ท่านเจ้าข้า พวกกระผมจัดถวายไม่ได้ เพราะพวกกระผมได้จัดอาหารพร้อมทั้งจีวรไว้เพื่อสงฆ์ทุกๆปีเป็นธรรมเนียมปฏิบัติอยู่ เธอก็พูดแค่นได้จนเขารำคาญ ต้องถวายไป
"แค่นได้"เป็นภาษาโบราณตรงกับศัพท์สมัยนี้ว่าตื้อ

สุดท้าย พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงบัญญัติข้อห้ามดังกล่าว

ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อบุคคล

เรื่องทำนองเดียวกันเลย เมื่อพระพุทธเจ้าทรงห้ามพระร่วมแก๊งแล้ว ทั้งแก๊งก็เลยปรึกษากันว่า งั้นเราก็ฟอร์มทีมเป็นคณะสงฆ์ซะเลยดีกว่า เพราะพระพุทธเจ้าท่านมิได้ทรงห้าม ได้มาแล้วค่อยมาดูกันอีกทีว่าจะมอบให้ใคร
 
ครั้นแล้วก็เกิดเรื่องตามมา ท่านย้อนกลับไปอ่านข้อความข้างบนได้ เพียงแต่เปลี่ยนคำว่าอาตมาเป็นคณะของอาตมาเท่านั้น
พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มขึ้นมาว่า ภิกษุน้อมลาภที่เขากะว่าจะถวายแก่สงฆ์ไปเพื่อบุคคล ต้องปาจิตตีย์

สงสัยจริงๆ เวลาท่านไปสอนพระใหม่เรื่องศีล ท่านจะสอนเรื่องที่ท่านทำเลอะเทอะไว้อย่างไร
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 15 มี.ค. 13, 09:51

ห้ามเก็บบาตรเกิน๑ลูก ไว้เกิน๑๐วัน

ภิกษุฉัพพัคคีย์สะสมบาตรไว้เป็นอันมาก ถูกมนุษย์ติเตียนว่าเป็นพ่อค้าบาตร พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุเก็บบาตรอติเรก (คือที่เกิน ๑ ลูก ซึ่งเกินจำเป็นสำหรับใช้เป็นประจำ) ไว้เกิน ๑๐ วัน ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.


 
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 15 มี.ค. 13, 09:54

ห้ามแสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนเกินกำหนด

ภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผ้าอาบน้ำฝน จึงแสวงหาและทำนุ่ง ก่อนเวลา(จะถึงหน้าฝน) ต่อมาผ้าเก่าชำรุด เลยต้องเปลือยกายอาบน้ำฝน พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ให้แสวงหาผ้าอาบน้ำฝนได้ภายใน ๑ เดือนก่อนฤดูฝน ให้ทำนุ่งได้ภายใน ๑๕ วันก่อนฤดูฝน ถ้าแสวงหาหรือทำก่อนกำหนดนั้น ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 15 มี.ค. 13, 09:55

ห้ามขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร

ภิกษุฉัพพัคคีย์เที่ยวขอด้ายเขามาให้ช่างหูกทอเป็นจีวร ด้วยเหลือก็ไปขอเขาเพิ่ม ให้ช่างหูกทอเป็นจึวรอีก ด้ายเหลืออีก ก็ไปขอด้ายเขาสมทบ เอาไปให้ช่างหูกทอเป็นจีวรอีก รวม ๓ ครั้ง คนทั้งหลายพากันติเตียน พระผู้พระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุขอด้ายเขาด้วยตนเอง เอามาให้ช่างหูกทอเป็นจีวร ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 15 มี.ค. 13, 10:11

อันนี้เข้าข่ายความผิดในคดีอาญา ฐานหมิ่นประมาท

ห้ามโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล

ภิกษุฉัพพัคคีย์แกล้งโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมีมูล พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล ต้องปาจิตตีย์
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 20 คำสั่ง