เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 17374 แก๊งแสบกับแก๊งโจ๋ ในวงการสงฆ์สมัยพุทธกาล
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 11 มี.ค. 13, 23:36

เราลองมานึกถึงพระพุทธเจ้า
ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาตญฺจ เช้าขึ้นมาต้องเสด็จออกบิณฑบาต ท่านไม่ได้ออกไปบิณฑบาตเฉย ๆ แต่ท่านตั้งใจที่จะไปโปรดคน สงเคราะห์คน ก็แปลว่า ต้องไปเทศน์โปรดเขาด้วย เดินทางไกลอีก

สายณฺเห ธมฺมเทสนํ ตอนบ่ายเทศน์โปรดชาวบ้าน

ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ เวลาเย็นก็ให้โอวาทพระภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี สิกขมานา

อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ เที่ยงคืนแล้วก็แก้ปัญหาให้พรหมและเทวดา

ปจฺจุสฺเสว คเต กาเล ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ พอใกล้รุ่งก็ตรวจนิสัยสัตว์โลก ว่าวันนี้จะไปโปรดใคร แล้วพระองค์ยังต้องมาเจอประเภทภิกษุฉัพพัคคีย์อีก ท่านเอาเวลาที่ไหนมา ?

ท่านไม่ได้บัญญัติแค่มูลบัญญัติ คือ ศีลต้น ไม่ได้บัญญัติแค่อนุบัญญัติ ก็คือข้อห้ามรอง ๆ ลงมา แต่ท่านจะต้องบอกด้วยว่า แต่ละข้อจะต้องทำอย่างไร ต้องห้ามอย่างไร อย่างเช่นว่า ถ้าหากโดนอาบัติปาราชิกต้องทำอย่างไร โดนอาบัติสังฆาทิเสสต้องทำอย่างไร ลักษณะไหนจึงโดน ลักษณะไหนจึงไม่โดน มันเหมือนกับอธิบายความกฎหมาย เท่ากับทำตำราขึ้นมาอีกเล่มหนึ่ง แล้วท่านเอาเวลาที่ไหนมาอธิบายละเอียดขนาดนั้น ? ท่านอธิบายอย่างไม่มีช่องทางให้เล็ดลอดเลย


แต่ยังมีคนสงสัยว่าพระพุทธเจ้าท่านเป็นสัพพัญญูขนาดนั้น ทำไมท่านไม่ห้ามไปเสียก่อน? รอให้เกิดเรื่องก่อนแล้วค่อยห้าม มันเสียเวลา...
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 11 มี.ค. 13, 23:40

มีคำอธิบายง่าย ๆ ว่าถ้าห้ามก่อน เขาจะไม่เชื่อว่ามันแหกคอกได้ขนาดนั้น

คุณเคยได้อ่านพระวินัย รถวินีตสูตรหรือยัง ? สุดท้ายไม่มีอะไรแล้ว แม้กระทั่ง กบ ปลา งู เขาก็ยังเอา นี่ถ้าเจองูเขี้ยวยาว ๆ ละก็....แค่นึกก็สยองแล้ว แต่คนหน้ามืดเขาทำของเขาได้ เขาถือว่าพระพุทธเจ้ายังไม่ได้ห้าม

เขาไม่ได้รักในพระศาสนา แค่อาศัยอยู่เฉย ๆ แค่ปัญหาเรื่องบวชก็แย่แล้ว พระบวชเข้ามาก็มีแต่สารพัดโรคเต็มไปหมด เพราะหมอชีวกโกมารภัจจ์ ท่านปวารณารักษาพระ คราวนี้ท่านรับราชการเป็นหมอหลวง รักษาพระพุทธเจ้าด้วย รักษาพระเณรทั่วไปด้วย จึงไม่มีเวลาที่จะไปรักษาคนอื่น คนทั่วไปไม่รู้จะรักษากับใคร เพราะหมออื่นรักษาหายบ้างไม่หายบ้าง แถมโกงเงินอีกต่างหาก แต่ถ้ารักษากับหมอชีวกโกมารภัจจ์หายแน่นอน เขาก็เลยวางแผนว่า ในเมื่อหมอชีวกโกมารภัจจ์รักษาแต่พระเณร เขาก็บวชเข้ามา รักษาจนหายเขาก็สึกไป แต่คราวนี้หมอชีวกไปเจอเข้าสิ "อ้าว...ท่านบวชอยู่ไม่ใช่หรือ ?" "หายแล้วจ้ะ" หมอชีวกโกมารภัจจ์ท่านจำหน้าคนที่ไปรักษากับท่านได้ ก็เลยไปกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า บรรดาโรคน่ารังเกียจ ๕ อย่าง อย่าให้บวชได้ไหม ? พระพุทธเจ้าก็ต้องบัญญัติขึ้นมา ห้ามพระที่เป็นโรค ๕ อย่างนี้บวช ก็คือ กุฏฐัง โรคเรื้อน คัณโฑ โรคฝีดาษ กิลาโส โรคกลาก พวกกลากวงเดือน เรื้อนกวาง สะเก็ดเงิน โสโส โรคไข้มองคร่อ(วัณโรค) อปมาโร โรคลมบ้าหมู


ขอขอบคุณความเห็นจาก http://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=1499
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 12 มี.ค. 13, 07:56

อ้างถึง
อ่านๆไปก็อดเหนื่อยใจกับพวกสองแก๊งค์นี้ไม่ได้ เลยทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า สมัยพุทธกาล ไม่มีการจับพระภิกษุสึกเลยหรือไร เพราะสองแก๊งค์นี้น่าจะโดนจับสึกไปนานแล้ว ข้อหาก่อเรื่องไม่ได้หยุด
เลยนึกสงสัยว่าสมัยพุทธกาล คงไม่มีการจับพระภิกษุสึกละกระมัง หรือมีแต่ไม่ได้บันทึกไว้ ทั้งนี้ไม่รวมผู้ที่สมัครใจสึกออกไปด้วยเหตุผลส่วนตัวนะคะ

แต่แรกที่พระพุทธเจ้ายังมิได้ทรงบัญญัติพระวินัย เป็นศีลข้อห้ามไม่ให้พระภิกษุประพฤติผิดสมณสารูปอย่างโน้นอย่างนี้ ถ้าพระภิกษุองค์ใดไปประพฤติเข้า เป็นครั้งแรกถือว่าไม่ผิด หากห้ามแล้วประพฤติเช่นนั้นอีกจึงผิด
การจับสึกพระภิกษุ มีเหตุเดียวคือประพฤติเหตุให้ต้องอาบัติปาราชิก คือเสพเมถุน ๑ ลักทรัพย์ที่มีค่าแม้น้อย๑ ฆ่าคนตาย๑ กล่าวอวดอุตริมนุสธรรม(คืออวดอ้างคุณวิเศษที่ตนไม่มี)อีก๑
สี่ประการนี้ทำผิดเมื่อไร ก็ขาดจากการเป็นสมณะโดยอัตโนมัติทันที ถ้าไม่ยอมละจีวรออกจากตน หมู่สงฆ์จึงจะพรากจีวรออกจากร่างของสมีผู้นั้นได้

สมีที่พ้นจากการเป็นสมณะด้วยอาบัติปาราชิกคงมีแต่สมัยพุทธกาล แต่มิได้มีบันทึกประวัติไว้ว่ามีใครบ้าง
พระไตรปิฎกเองก็มาบันทึกสมัยหลังที่มีวัสดุและวิธีการเขียนแล้ว ก่อนหน้านั้นใช้วิธีท่องจำต่อๆกันมาแบบปากต่อปากทั้งสิ้น ถึงปัจจุบันจะมีพระไตรปิฎกฉบับที่พิมพ์หมึกบนกระดาษอย่างดี แต่ก็ยังสืบต่อประเพณีที่กระทำกันมาแต่สมัยพุทธกาล โดยประชุมสงฆ์ให้พระภิกษุที่เป็นตัวแทนของหมู่ทบทวนความจำโดยการท่องดังๆให้ทุกคนได้ยิน เรียกว่าสวดปาฏิโมกข์ นานเป็นชั่วโมงๆ โดยมีอีกองค์หนึ่งเปิดคัมภีร์อ่านตรวจสอบไปด้วย ท่องผิดตรงไหนท่านก็จะทักให้แก้ไขทันที

ฉะนั้นวิธีการบันทึกด้วยความสามารถในการจำของมนุษย์จึงมีแต่เรื่องสำคัญที่สุดที่จะสืบรักษาพระศาสนาไว้เท่านั้น
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 12 มี.ค. 13, 08:20

อ้างถึง
มีผลงานอัปยศของพระภิกษุฉัพพัคคีย์อีกเรื่องที่ดิฉันอ่านเจอ แต่ไม่เข้าใจ เป็นเรื่องพระเสพสุราในสมัยพุทธกาล ต้องอาบัติสถานเบาคืออาบัติปาจิตตีย์เท่านั้น

ดังที่พระไตรปิฎกบันทึกไว้ว่า ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่โฆสิตาราม ในเมืองโกสัมพี ทรงปรารภพระสาคตะเถระเรื่องดื่มสุรา เรื่องมีอยู่ว่า พระสาคตะเถระได้ปราบนาคของพวกชฏิลได้ ทำให้ชาวบ้านดีใจ ปรึกษากันว่าจะถวายอะไรดีที่เป็นสิ่งของหาได้ยาก พระภิกษุฉัพพัคคีย์ก็ออกโรง แนะให้ถวายเหล้าใสสีแดงดั่งเท้านกพิราบ ชาวบ้านจึงเตรียมเหล้าแดงไว้ และถวายให้พระสาคตะดื่ม ทำให้พระสาคตะเกิดความเมามายไม่ได้สติ หลับฟุบอยู่ที่ประตูเมือง
พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุดื่มสุรา(น้ำเมาที่กลั่น) และเมรัย (น้ำเมาที่หมักหรือดอง) ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด ทำให้คณะสงฆ์ ได้กำหนดเป็นโทษทางพระธรรมวินัย เกี่ยวกับการดื่มสุราของพระภิกษุ-สามเณร

จริงๆแล้วการดื่มน้ำเมาเป็นการผิดศีลห้า ซึ่งเป็นศีลของฆราวาสชาวพุทธ พระภิกษุต้องรู้อยู่แล้วว่าฉันไม่ได้ ทำไมในตอนนี้ทำเหมือนไม่รู้เลยว่าดื่มไม่ได้ ที่จริงน่าจะมีบัญญัติแต่แรกแล้วด้วยซ้ำ
ดังที่คุณsamun007นำมาลงไว้
พระสาวกในพรรษาต้นๆของพระพุทธศาสนาล้วนแต่มีอินทรีย์แก่กล้ามาทั้งนั้น จะเห็นว่าส่วนใหญ่ได้ฟังธรรมะเพียงครั้งสองครั้งก็เข้าใจ ที่มีสำนวนเรียกว่าดวงตาเห็นธรรม ศีลก็จะเกิดโดยอัตโนมัติเรียกว่าอินทรีย์สังวรณ์ศีล คือมีสติระลึกรู้กายอยู่ตลอดเวลา จะไม่เผลอไปทำชั่วอันเนื่องด้วยกายและวาจา พระพุทธเจ้าท่านจึงทรงไม่มีความจำเป็นที่ต้องบัญญัติศีลมากมายมาควบคุมความประพฤติของพระสาวกรุ่นนี้

ศีลสำคัญในพระพุทธศาสนาคือปัญจศีล หรือศีล๕ เป็นศีลหลักของมนุษย์ผู้เจริญทุกคน สมณสงฆ์มีศีลหลักเรียกว่า สมณศีล คือศีล๑๐ เพิ่มจากฆราวาสอีก๕ข้อ คือ ห้ามบริโภคอาหารในยามวิกาล๑ ห้ามฟ้อนรำขับร้องเล่นดนตรี๑ ห้ามปรุงแต่งกายด้วยเครื่องสำอางค์ทั้งหลาย๑ ห้ามนอนบนฟูกหนานุ่มสบาย๑ ห้ามถือเงินทองของมีค่า๑ แต่พระพุทธเจ้าจะเพียงแค่ทรงบอกศีลเหล่านี้แก่พระสาวก โดยไม่จำเป็นต้องบอกโทษของการละเมิด ที่เรียกว่าอาบัติ เพราะพอท่านทราบแล้วก็น้อมรับศีลนั้นไปปฏิบัติด้วยความเคารพ

ต่อมาคนไม่มีคุณภาพเริ่มเข้ามาบวชมากขึ้น พวกหัวหมอก็เห็นว่าการทำเช่นนั้นเช่นนี้พระพุทธเจ้ามิได้ทรงห้ามไว้ หรือผิดศีลบ้างคงไม่เป็นไรเพราะไม่ได้กำหนดโทษไว้นี่นา ก็กระทำลงไป กรณีย์พระสาคตะเถระ แม้จะเป็นพระชั้นผู้ใหญ่ก็มิได้หมายความว่าท่านผู้นี้ได้บรรลุอริยะธรรม ซึ่งจะถือเป็นพระอริยะบุคคลระดับพระโสดาบันขึ้นไป พระแก่พรรษาเหล่านี้จึงอาจจะมีโอกาสเผลอกระทำผิดเป็นเหตุให้คนทั้งหลายติเตียนและมาถึงพระเนตรพระกรรณของพระพุทธเจ้าได้ การปราบงูใหญ่สำเร็จมิได้มีข้อความอันใดบอกว่าปราบด้วยอภิญญาอันเป็นคุณวิเศษของพระอริยะเจ้า(บางองค์) พระสาคตะเถระอาจจะเป็นแค่หมองูเก่าตั้งแต่ก่อนบวชก็ได้ เมื่อเห็นไวน์แดงของหายากที่ชาวบ้านนำมาถวายจึงเกิดกิเลศที่จะเสพ เลยเป็นต้นเหตุให้เกิดศีลข้อสุราเมระยะมัชชะปะมา
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 12 มี.ค. 13, 11:20

ความแสบของภิกษุฉัพพัคคีย์ทำให้พระพุทธเจ้าต้องทรงบัญญัติพระวินัยขึ้นเป็นจำนวนมาก แม้ภิกษุกลุ่ม๖นี้จะยอมรับ แต่มีครั้งหนึ่งก็ได้แกล้งกล่าวติเตียนพระวินัยว่า สิกขาบทเล็กๆน้อยๆ ชวนให้น่ารำคาญ รบกวนทั้งกายและใจเปล่าๆ พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติสิกขาบทขึ้นมากำกับอีก ความว่า เมื่อสวดปาฏิโมกข์ ภิกษุแกล้งกล่าวติเตียนสิกขาบท ต้องปาจิตตีย์

ความจริงสิกขาบททั้ง๒๒๗ข้อ มีนับร้อยข้อที่บุคคลปกติก็ไม่ปฏิบัติเช่นนั้นอยู่แล้ว แต่ใครจะรู้ว่าในอนาคตของพระพุทธศาสนา จะมีโฆษบุรุษเช่นพวกแก๊งแสบเข้ามาอาศัยผ้าเหลืองคลุมกายเพื่อยังชีพ และมีวัตรปฏิบัติที่ทำลายศรัทธาของฆราวาสแม้จะโดยมิได้ตั้งใจ พระพุทธเจ้าจึงทรงไม่ละเลยที่จะป้องกันเหตุเช่นนั้น แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย

มาดูว่าแก๊งแสบได้ประพฤติสิ่งใดบ้าง ที่เป็นเหตุให้เกิดสิกขาบทเหล่านี้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 12 มี.ค. 13, 11:31

หมวดว่าด้วยความเหมาะสมแก่สมณเพศ มี ๒๖ สิกขาบท

สิกขาบทที่ ๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักนุ่ง(สบง)ให้เป็นปริมณฑล คือเบื้องล่างปิดเข่า เบื้องบนปิดสะดือ ไม่ห้อยหน้าห้อยหลัง
สิกขาบทที่ ๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักห่ม(จีวร)ให้เป็นปริมณฑล คือให้ชายผ้าเสมอกัน ไม่ห้อยหน้าห้อยหลัง
สิกขาบทที่ ๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักปกปิดกายด้วยดี ไปในบ้าน คือให้นุ่งสบงห่มจีวรให้เรียบร้อย เมื่อไปบ้านคฤหัสถ์ สิกขาบทที่ ๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักปกปิดกายด้วยดี นั่งในบ้าน ให้นั่งเรียบร้อย ระวังไม่ให้โป๊
สิกขาบทที่ ๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักสำรวมด้วยดี ไปในบ้าน 
สิกขาบทที่ ๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักสำรวมด้วยดี นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๗ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีตาทอดลง ไปในบ้าน
สิกขาบทที่ ๘ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีตาทอดลง นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๙ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เวิกผ้า ไปในบ้าน 
สิกขาบทที่ ๑๐ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เวิกผ้า นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๑๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่หัวเราะดัง ไปในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๑๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่หัวเราะดัง นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๑๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่พูดเสียงดัง ไปในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๑๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่พูดเสียงดัง นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๑๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงกาย ไปในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๑๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงกาย นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๑๗ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขน ไปในบ้าน.
สิกขาบที่ ๑๘ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขน นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๑๙ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขน ไปในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๒๐ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่สั่นศีรษะ นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๒๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอามือค้ำกาย ไปในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๒๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอามือค้ำกาย นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๒๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอาผ้าคลุมศีรษะ ไปในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๒๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอาผ้าคลุมศีรษะ นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๒๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เดินกระโหย่งเท้า ไปในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๒๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งรัดเข่า ในบ้าน.
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 12 มี.ค. 13, 11:55

หมวดว่าด้วยการฉันอาหาร มี ๓๐ สิกขาบท

สิกขาบทที่ ๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพ
สิกขาบทที่ ๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักแลดูแต่ในบาตร รับบิณฑบาต
สิกขาบทที่ ๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณบาตพอสมส่วนกับแกง 
สิกขาบทที่ ๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตพอสมเสมอขอบปากบาตร
สิกขาบทที่ ๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพ
สิกขาบทที่ ๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักแลดูแต่ในบาตร ขณะฉันบิณฑบาต
สิกขาบทที่ ๗ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาต ไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป
สิกขาบทที่ ๘ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง
สิกขาบทที่ ๙ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาต ไม่ตักเจาะลงไป
สิกขาบทที่ ๑๐ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับด้วยหวังจะได้มาก
สิกขาบทที่ ๑๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่เจ็บไข้ จักไม่ขอแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน
สิกขาบทที่ ๑๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยหมายว่าท่านจะยกอาหารในบาตรให้
สิกขาบทที่ ๑๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป
สิกขาบทที่ ๑๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ประดิษฐ์ประดอยทำคำข้าว
สิกขาบทที่ ๑๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่อ้าปากในเมื่อคำข้าวยังไม่มาถึง
สิกขาบทที่ ๑๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอามือทั้งมือใส่ปากในขณะฉัน
สิกขาบทที่ ๑๗ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่พูดทั้งที่ปากยังมีคำข้าว
สิกขาบทที่ ๑๘ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันโยนคำข้าวเข้าปาก 
สิกขาบทที่ ๑๙ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่กัดคำข้าว
สิกขาบทที่ ๒๐ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย
สิกขาบทที่ ๒๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง 
สิกขาบทที่ ๒๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว 
สิกขาบทที่ ๒๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันแลบลิ้น 
สิกขาบทที่ ๒๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันดังจั๊บๆ  ยิงฟันยิ้ม
สิกขาบทที่ ๒๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันดังซู๊ด ๆ ยิงฟันยิ้ม
สิกขาบทที่ ๒๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียมือ 
สิกขาบทที่ ๒๗ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียบาตร 
สิกขาบทที่ ๒๘ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก 
สิกขาบทที่ ๒๙ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ
สิกขาบทที่ ๓๐ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 12 มี.ค. 13, 12:02

หมวดว่าด้วยการแสดงธรรมมี ๑๖ สิกขาบท

สิกขาบทที่ ๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ.
สิกขาบทที่ ๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ.
สิกขาบทที่ ๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีมีดดาบหอกในมือ.
สิกขาบทที่ ๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีธนูหน้าไม้ในมือ.
สิกขาบทที่ ๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมรองเท้าไม้
สิกขาบทที่ ๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมรองเท้า
สิกขาบทที่ ๗ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่ในยานพาหนะ
สิกขาบทที่ ๘ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนที่นอน
สิกขาบทที่ ๙ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งรัดเข่า
สิกขาบทที่ ๑๐ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่โพกศีรษะ
สิกขาบทที่ ๑๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่คลุมศีรษะ
สิกขาบทที่ ๑๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรานั่งอยู่บนแผ่นดิน จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่บนอาสนะเครื่องปูนั่ง
สิกขาบทที่ ๑๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรานั่งอยู่บนอาสนะต่ำ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งบนอาสนะสูง
สิกขาบทที่ ๑๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรายืนอยู่ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่
สิกขาบทที่ ๑๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราเดินไปข้างหลัง จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่เดินไปข้างหน้า
สิกขาบทที่ ๑๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราเดินไปนอกทาง จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในทาง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 12 มี.ค. 13, 12:04

หมวดเบ็ดเตล็ด มี ๓ สิกขาบท

สิกขาบทที่ ๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ.
สิกขาบทที่ ๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงบนของเขียว (พืชพันธุ์ไม้)
สิกขาบทที่ ๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในแหล่งน้ำ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 12 มี.ค. 13, 12:15

ผมนับดูฝีมือของแก๊งแสบ เฉพาะงานนี้ทำให้เกิดศีลถึง ๗๕ ข้อจากจำนวนทั้งหมด ๒๒๗ เลยทีเดียว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 12 มี.ค. 13, 18:45

ขอออกนอกทางสายใหญ่หน่อยค่ะ   เห็นค.ห. 37 แล้วรู้สึกอย่างที่รู้สึกมาหลายครั้งว่าภาษาในพระไตรปิฎกนี้ช่างทำความเข้าใจได้ยากจริงๆ   บ่อยครั้งอ่านไม่รู้เรื่องเลย

คำว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้" คำว่า ไม่เป็นไข้ หมายถึงคนที่ปกติดี ไม่เจ็บไม่ป่วย(ไม่ว่าทางกายหรือทางจิต) ใช่ไหมคะ   ไม่ได้หมายความว่า "เฉพาะไม่เป็นไข้ แต่เป็นอย่างอื่นเช่นปวดหัวปวดท้อง ไม่นับ"

สิกขาบทที่ ๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ.
สิกขาบทที่ ๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ.
สิกขาบทที่ ๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีมีดดาบหอกในมือ.
สิกขาบทที่ ๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีธนูหน้าไม้ในมือ.

ภาษาพวกนี้ถ้าหากว่าเอาวิชาตรรกวิทยามาจับ  ก็จะกลายเป็นว่า  ถ้าคนเป็นไข้ที่มีร่มในมือ และมีอาวุธต่างๆในมือ  ภิกษุก็แสดงธรรมได้น่ะซี    เพราะห้ามแต่คนไม่เป็นไข้เท่านั้นนี่
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 12 มี.ค. 13, 19:06

ตามนั้นแหละครับ ที่ตัวอย่างสำนวนเต็มๆ

ธรรมเทศนาปฏิสังยุต ๑๖ สิกขาบท  สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๗

             [๘๕๗] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้กั้นร่ม. บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย  ...  ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์จึงได้แสดงธรรมแก่บุคคลผู้กั้นร่มเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนี้แก่พระผู้มีพระภาค.
ทรงสอบถาม
             พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอธรรมแก่บุคคลผู้กั้นร่ม จริงหรือ?
             พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

             พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้แสดงธรรมแก่บุคคลผู้กั้นร่มเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
             ๒๐๒. ๕๗. ก. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลมีร่มในมือ.
             ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ
ฉะนี้.

             [๘๕๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายรังเกียจเพื่อจะแสดงธรรมแก่คนเป็นไข้มีร่มในมือ ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงไม่แสดงธรรมแก่คนเป็นไข้ซึ่งมีร่มในมือเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.

ทรงอนุญาตให้แสดงธรรมแก่คนไข้
             ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า เราอนุญาตให้แสดงธรรมแก่คนเป็นไข้มีร่มในมือได้.

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ
             ๒๐๒. ๕๗. ข. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีร่มในมือ.
สิกขาบทวิภังค์
             ที่ชื่อว่า ร่ม ได้แก่ร่ม ๓ ชนิด คือ ร่มผ้าขาว ๑ ร่มลำแพน ๑ ร่มใบไม้ ๑ ที่เย็บเป็นวงกลมผูกติดกับซี่.
             ที่ชื่อว่า ธรรม ได้แก่ ถ้อยคำที่อิงอรรถอิงธรรม เป็นพุทธภาษิต สาวกภาษิต อิสีภาษิต เทวตาภาษิต.
             บทว่า แสดง คือแสดงโดยบท ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ อักขระ.

             อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่บุคคลไม่เป็นไข้ผู้กั้นร่ม ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดง
ธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้กั้นร่ม ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร
             ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 12 มี.ค. 13, 19:15

ผมหลีกเลี่ยงที่จะยกมาทั้งต้นฉบับ เพราะกลัวผู้อ่านหลายท่านจะเหนื่อยเสียก่อน จึงพยายามหาฉบับย่อมานำเสนอ แต่เพื่อการวิเคราะห์ก็จำเป็นต้องเอามาลง

สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๘
             [๘๕๙] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้ถือไม้พลอง ...

พระอนุบัญญัติ
             ๒๐๓. ๕๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีไม้พลองในมือ.
สิกขาบทวิภังค์
             ที่ชื่อว่า ไม้พลอง ได้แก่ ไม้พลองยาวสี่ศอกของมัชฌิมบุรุษยาวกว่านั้นไม่ใช่ไม้พลองสั้นกว่านั้น ก็ไม่ใช่ไม้พลอง.
             อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ถือไม้พลอง ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้ถือไม้พลอง ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร
             ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑   ไม่ต้องอาบัติแล.
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ.
-----------------------------------------------------
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๙
             [๘๖๐] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้ถือศัสตรา ...
พระอนุบัญญัติ
             ๒๐๔. ๕๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีศัสตราในมือ.
สิกขาบทวิภังค์
             ที่ชื่อว่า ศัสตรา ได้แก่ วัตถุเครื่องประหารมีคมข้างเดียว มีคมสองข้าง.
             อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรม แก่บุคคลผู้ไม่เป็นไข้ผู้ถือศัสตรา ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้ไม่เป็นไข้ ผู้ถือศัสตรา ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
             ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ.
-----------------------------------------------------
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
             [๘๖๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้ถืออาวุธ ...
พระอนุบัญญัติ
             ๒๐๕. ๖๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีอาวุธในมือ.
สิกขาบทวิภังค์
             ที่ชื่อว่า อาวุธ ได้แก่ ปืน เกาทัณฑ์.
             อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้ถืออาวุธ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ มีมือถืออาวุธ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
             ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 12 มี.ค. 13, 19:26

อ้างถึง
คำว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้" คำว่า ไม่เป็นไข้ หมายถึงคนที่ปกติดี ไม่เจ็บไม่ป่วย(ไม่ว่าทางกายหรือทางจิต) ใช่ไหมคะ   ไม่ได้หมายความว่า "เฉพาะไม่เป็นไข้ แต่เป็นอย่างอื่นเช่นปวดหัวปวดท้อง ไม่นับ"

ผมคิดเช่นนั้นครับ คำว่า ไม่เป็นไข้ หมายถึงคนที่ปกติดี ไม่เจ็บไม่ป่วย(ไม่ว่าทางกายหรือทางจิต)

อ้างถึง
ถ้าคนเป็นไข้ที่มีร่มในมือ และมีอาวุธต่างๆในมือ  ภิกษุก็แสดงธรรมได้น่ะซี
ถูกต้องครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 12 มี.ค. 13, 20:00

ที่บอกตัวเองว่าพอจะเข้าใจในตอนแรก    เจอตัวอย่างยาวเหยียดเข้าเลยเข้ารกเข้าพง    มึนตึ้บไปแล้ว
 ลังเล
ขอความกรุณาท่านซายา  อธิบายแบบสบายๆสไตล์นวรัตนดอทซีได้ไหมคะ ว่าเรื่องถือร่มไม่ถือร่ม ถือไม้พลองอาวุธอะไรต่อมิอะไรนี่  ข้อห้ามจริงๆคืออะไรกันแน่    และทำไมจะต้องเป็นเช่นนั้น
ทำไมคนปกติ ต้องห้ามไม่ให้ถืออะไรทั้งหมด ถ้าจะฟังธรรม     ทำไมคนไม่ปกติ ถึงอนุโลมยอมให้ฟังธรรมได้หมดล่ะคะ ไม่ว่าจะถืออะไรก็ตาม แม้แต่ถือสิ่งที่ไม่น่าไว้วางใจเช่นอาวุธ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.086 วินาที กับ 20 คำสั่ง