เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 17319 แก๊งแสบกับแก๊งโจ๋ ในวงการสงฆ์สมัยพุทธกาล
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 10 มี.ค. 13, 09:35

คราวนี้แก๊งแสบเล่นแก๊งโจ๋แร๊งงค์

ครั้งนั้นภิกษุพวก๖ ได้ทำภิกษุรูปหนึ่งในพวก๑๗ ให้หัวเราะด้วยการจี้ด้วยนิ้วมือ  เธอสะดุ้ง หายใจไม่ทันถึงกับขาดใจมรณภาพลง พระภิกษุอื่นๆทราบเข้าก็พากันตำหนิติเตียน แล้วนำความไปกราบทูลพระพุทธเจ้า ทรงตรัสถาม พระฉัพพัคคีย์ก็รับสารภาพ

จึงทรงติเตียนโฆษบุรุษทั้งหลาย แล้วบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุจี้ภิกษุอื่นด้วยนิ้วมือ ภิกษุใดละเมิดต้องอาบัติปาจิตตีย์
ส่วนแก๊งแสบกระทำก่อนบัญญัตินี้ ถือเป็นอาทิกัมมิกะ จึงรอดตัวไป

ถามว่า ทำไมแก๊งแสบจึงไม่ต้องปาราชิกในข้อที่ว่าห้ามฆ่ามนุษย์

ในทางพระพุทธศาสนาแล้ว บุคคลใดจะถือว่าได้กระทำผิดศีลหรือไม่ ให้ดูที่เจตนาของบุคคลขณะที่กระทำกรรมนั้น
พวกแก๊งแสบมิได้มีเจตนาจะฆ่าพระแก๊งโจ๋(แม้อาจจะหมั่นไส้อยู่บ้างก็ตาม) เพียงแต่ประสงค์จะแกล้งเล่นเพื่อความบันเทิงของตน แต่บังเอิญพลาดพลั้งไปเหยื่อจึงตาย ก็มีความผิดแค่ฐานประมาท
แต่นี่ไม่ใช่กฎหมายของบ้านเมืองนะครับ ทว่าในพระไตรปิฎกมิได้กล่าวต่อในเรื่องนี้ว่าเป็นคดีถึงพระอัยการหรือไม่อย่างไร สันนิฐานว่าบ้านเมืองก็คงไม่เอาความ เพราะแก๊งแสบยังคงก่อเรื่องต่อไปในนามของภิกษุฉัพพัคคีย์อีกหลายเรื่อง

โปรดติดตาม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 10 มี.ค. 13, 09:46

กระทู้โน้นเขามีอาหารสารพัดคาวหวานมารับรองแขกเรือน ของพ้มค่อนข้างจะแห้งแล้งหน่อยนะขอรับท่าน  มีแต่ข้าวก้นบาตร เชิญรับประทานระหว่างรอคอย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 10 มี.ค. 13, 19:00

^
เดี๋ยวเด็กชายประกอบจะผอม
และ
เสียชื่อเจ้าของเรือนหมด



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 10 มี.ค. 13, 19:16

อย่างหนึ่งที่เห็นได้จากกรณีดังกล่าว คือสังคมสมัยพุทธกาลไม่ได้อยู่กันแบบต่างคนต่างอยู่อย่างยุคนี้    ดูเหมือนชุมชนจะเข้มแข็งมากทีเดียว ในการสอดส่องความประพฤติของสมาชิกในชุมชนนั้น
พระสงฆ์อื่นๆเมื่อเห็นพระด้วยกันทำอะไรไม่สมควร แม้จะเป็นเรื่องที่สมัยนี้เอาหูไปนาเอาตาไปไร่กันได้ อย่างเช่นแกล้งไปนอนเบียดพระผู้ใหญ่เพื่อแย่งที่นอน     พระสงฆ์อื่นก็ไม่นิ่งดูดาย   ต้องร้องเรียนถึงพระพุทธองค์

บางเรื่องแม้สิ่งที่ทำไม่ใช่ความผิดคิดร้าย   แต่ดูแล้วไม่สำรวม เช่นไปว่ายน้ำเล่น   พระโจ๋ว่ายน้ำคึกคะนองอาจจะโดดน้ำตูมๆ หรือเล่นขี่คอกันในน้ำประสาเด็ก  พระเจ้าปเสนทิโกศลและพระมเหสีได้เสด็จไปเจอเข้า ท่านก็ไม่ถือว่าชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์   แต่หาอุบายร้องเรียนให้พระพุทธเจ้าทรงทราบจนได้
ปัญหาเรื่องพระสงฆ์แสดงกิริยาไม่สมกับสมณสารูปมีเยอะมาก  ถึงไม่ว่ายน้ำ แต่ไปเล่นสาดน้ำสงกรานต์  ปีนขึ้นน้ำตกไปนอนแช่น้ำตก แบบนี้ก็ไม่สมกับสมณสารูปเช่นกัน
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 10 มี.ค. 13, 20:53

สำรับท่านซายานวรัตนนี่ตำรับวัดป่าชัดๆ    ส่วนของท่านอาจารย์เทานี่ต้องระดับเจ้าคุณฯ วัดหลวงชั้นเอกฉันแล้วครับ ไอ้กระผมมันเด็กวัดป่าเก่า คอยถือปิ่นโตตามขบวนพระบิณฑบาต เห็นข้าวเหนียวมะม่วงได้แต่เมียงมอง แม้ตอนนี้ก็ไม่ได้สัมผัสมา 2 ปีแล้ว  ร้องไห้

วงการพระสงฆ์สมัยพุทธกาลจะว่าท่านสอดส่องกันดีก็ว่าได้ครับ แต่บางอารมณ์เวลาอ่านพุทธประวัติหรือการบัญญัติศีลต่างๆ ก็รู้สึกได้ว่าพระปุถุชน(พระที่ยังไม่ถึงระดับพระอริยะ)สมัยนั้นท่านก็นินทาหรือซุปซิบกันเก่งเหมือนกัน ซุบซิบๆ กันดังไปถึงพระพุทธองค์
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 11 มี.ค. 13, 07:39

ภัตตาหารที่ท่านอาจารย์เทาชมพูนำมาเสริฟเอาใจอุบาสกอุบาสิกาที่เข้ามาในห้องนี้ เป็นแบบที่ล่อโฆษบุรุษเข้ามาบวชในพุทธศาสนา ขนาดสมัยพุทธกาล จังหันบิณฑบาตจะเป็นคล้ายกับในบาตรพระป่าทางอีสานบ้านเฮา ยังมีแก๊งแสบแก๊งโจ๋ และสิงห์เดี่ยวอีกหลายองค์บวชเข้ามาหวังความสุขสบาย

แต่ไม่เป็นไรนะครับ ใครทำอะไรก็ได้อย่างนั้น ถ้าท่านอาจารย์เทาชมพูเจริญศรัทธาถวายจังหันอันประณีต ท่านก็จะได้อานิสงส์จากการนั้นไปสะสมในกองบุญของท่าน ส่วนพระที่ฉันอาหาร ท่านคิดท่านพูดท่านปฏิบัติอย่างไร ท่านย่อมได้รับผลดีชั่วอย่างนั้น พระแท้ท่านจึงหมั่นเจริญสติรักษาจิตอยู่ทุกขณะ ไม่ให้ฟุ้งซ่านไปกับกิเลศตัณหา
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 11 มี.ค. 13, 07:52

กลับมาที่แก๊งแสบซึ่งยังคงหมั่นไส้แก๊งโจ๋อยู่

ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แกล้งพูดเย้าหยอกพระสัตตรสวัคคีย์ว่า พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว สงฆ์ไม่พึงอุปสมบทบุคคลมีอายุหย่อน๒๐ปี ดังนั้นพวกท่านซึ่งมีอายุหย่อน๒๐ปี ถึงจะบวชแล้วก็เป็นแค่อนุปสัมบันของพวกเรากระมัง พระสัตตรสวัคคีย์เหล่านั้นอัดอั้นมากก็ร้องไห้

การบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเรียกว่าอุปสมบท  อุปสัมบันแปลว่าผู้ที่ผ่านการบวชคือพระภิกษุ อนุปสัมบันคือผู้ที่ยังไม่ได้ผ่านการบวชแบบอุปสมบท ใช้กับเณรที่การบวชจะเป็นแบบย่อเรียกว่าบรรพชา หรืออุบกสกอุบาสิกาที่ปฏิบัติธรรมเคร่งครัด เช่นแม่ชีในสมัยนี้
ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ราหุลพระราชโอรสออกบวช แต่เมื่อทรงมีอายุหย่อน๒๐ปี พระพุทธเจ้าจึงทรงบรรชาให้โดยถือแค่ศีล๑๐ พระราหุลถือว่าเป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา

คราวนั้น ภิกษุทั้งหลายถามว่าพวกท่านร้องไห้ทำไม ครั้นพระสัตตรสวัคคีย์เล่าให้ฟังแล้ว ในที่สุดความไปก็ไปถึงพระพุทธเจ้า ทรงตรัสถาม พระฉัพพัคคีย์ก็รับสารภาพ

จึงทรงติเตียนโฆษบุรุษทั้งหลาย แล้วบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุใดแกล้งก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่น ด้วยหมายใจว่า จักให้เธอหมดความผาสุกแม้ครู่หนึ่ง ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์

ส่วนแก๊งแสบกระทำก่อนบัญญัตินี้ ถือเป็นอาทิกัมมิกะ จึงรอดตัวไป
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 11 มี.ค. 13, 07:54

ยังครับยัง เมื่อพูดเย้าแหย่ยังกลายเป็นผิดไปแล้ว ก็ทำแบบหนังใบ้ก็แล้วกัน

ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์โกรธ น้อยใจ เงื้อฝ่ามือขึ้นทำท่าเหมือนจะตบพระสัตตรสวัคคีย์ พระสัตตรสวัคคีย์ตกใจหลบหัวซุกหัวซุนแล้วร้องไห้ ภิกษุทั้งหลายถามว่าพวกท่านร้องไห้ทำไม ครั้นพระสัตตรสวัคคีย์เล่าให้ฟังแล้ว ในที่สุดความไปก็ไปถึงพระพุทธเจ้า ทรงตรัสถาม พระฉัพพัคคีย์ก็รับสารภาพ

จึงทรงติเตียนโฆษบุรุษทั้งหลาย แล้วบัญญัติสิกขาบท ภิกษุโกรธเคือง แล้วเงื้อมือจะทำร้าย ภิกษุ ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์

ส่วนแก๊งแสบกระทำก่อนบัญญัตินี้ ถือเป็นอาทิกัมมิกะ จึงรอดตัวไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 11 มี.ค. 13, 09:03

ภัตตาหารที่ท่านอาจารย์เทาชมพูนำมาเสริฟเอาใจอุบาสกอุบาสิกาที่เข้ามาในห้องนี้ เป็นแบบที่ล่อโฆษบุรุษเข้ามาบวชในพุทธศาสนา

จะเอายังไงได้ทั้งนั้น      บ้านหลังนี้เจ้าเรือนตามใจสมาชิกอยู่แล้ว  ยิ้มเท่ห์
ถ้าไม่ชอบอาหารระดับเจ้าคุณวัดหลวงช้้นเอก   ดิฉันขอเสิฟท่านอุบาสกทั้งสองเสียใหม่   ให้ถูกใจท่านค่ะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 11 มี.ค. 13, 09:37

อดเลยอัตโน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 11 มี.ค. 13, 10:52

^
โสน้าน่า

แก๊งแสบทั้ง๖ มิได้ตั้งเป้าจะเล่นงานเฉพาะแก๊งโจ๋ คือใครเข้ามาขวางหูขวางตาพวกตะแก พวกตะแกก็เล่นงานหมด

ภิกษุฉัพพัคคีย์มักจะทะเลาะกับภิกษุผู้ทรงศีลอื่นๆ แล้วด่าแช่งด้วยคำด่า๑๐ประการ คือถ้อยคำที่พาดพิงถึง ๑ชาติกำเนิด ๒ชื่อ ๓โคตร ๔การงาน ๕ศิลปะ ๖อาพาธ ๗เพศ ๘กิเลส ๙อาบัติ และ๑๐คำด่าที่เลวทรามต่ำช้า
 
ในที่สุดความไปก็ไปถึงพระพุทธเจ้า ทรงตรัสถาม พระฉัพพัคคีย์ก็รับสารภาพ
จึงทรงติเตียนโฆษบุรุษทั้งหลาย แล้วบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุด่าภิกษุอื่น ภิกษุใดละเมิดต้องอาบัติปาจิตตีย์

ส่วนแก๊งแสบกระทำก่อนบัญญัตินี้ ถือเป็นอาทิกัมมิกะ จึงรอดตัวไป
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 11 มี.ค. 13, 10:56

ไม่ด่าก็ได้ไม่พูดเท็จก็ได้ เอาเรื่องจริงมาพูดก็ทำให้ท่านพลุ่งพล่าน เป็นที่สนุกสนานสะใจแก่หมู่ตนได้เหมือนกัลลล์

ครั้งนั้น ภิกษุฉัพพีคคีย์พูดส่อเสียดภิกษุสองฝ่ายซึ่งทะเลาะกัน ฟังความข้างนี้ไปบอกข้างโน้น ฟังความข้างโน้นไปบอกข้างนี้เพื่อให้แตกร้าวกัน ทำให้ทะเลาะกันยิ่งขึ้น
ในที่สุดก็มีพระภิกษุผู้ทรงศีลนำความไปถึงพระพุทธเจ้า ทรงตรัสถาม พระฉัพพัคคีย์ก็รับสารภาพ

จึงทรงติเตียนโฆษบุรุษทั้งหลาย แล้วบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุพูดส่อเสียดให้ภิกษุอื่นทะเลาะกัน ภิกษุใดละเมิดต้องอาบัติปาจิตตีย์

ส่วนแก๊งแสบกระทำก่อนบัญญัตินี้ ถือเป็นอาทิกัมมิกะ จึงรอดตัวไป

คำว่าพูดส่อเสียด หลายคนเข้าใจว่าคือคำพูดเสียดสี คือด่าท่านทางอ้อม ความจริงแล้วไม่ตรงกับความหมายในพระพุทธศาสนา การพูดส่อเสียดคือการยุให้คนเขาตีกัน อันเป็นกิจวัตรของบรรดาแกนนำม๊อบป่วนเมืองทั้งหลายนั่นเอง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 11 มี.ค. 13, 21:00

อ่านๆไปก็อดเหนื่อยใจกับพวกสองแก๊งค์นี้ไม่ได้      เลยทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า สมัยพุทธกาล ไม่มีการจับพระภิกษุสึกเลยหรือไร   เพราะสองแก๊งค์นี้น่าจะโดนจับสึกไปนานแล้ว  ข้อหาก่อเรื่องไม่ได้หยุด     
เลยนึกสงสัยว่าสมัยพุทธกาล คงไม่มีการจับพระภิกษุสึกละกระมัง หรือมีแต่ไม่ได้บันทึกไว้  ฮืม  ทั้งนี้ไม่รวมผู้ที่สมัครใจสึกออกไปด้วยเหตุผลส่วนตัวนะคะ

มีผลงานอัปยศของพระภิกษุฉัพพัคคีย์อีกเรื่องที่ดิฉันอ่านเจอ แต่ไม่เข้าใจ    เป็นเรื่องพระเสพสุราในสมัยพุทธกาล ต้องอาบัติสถานเบาคืออาบัติปาจิตตีย์เท่านั้น

ดังที่พระไตรปิฎกบันทึกไว้ว่า    ครั้งหนึ่ง  พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่โฆสิตาราม ในเมืองโกสัมพี   ทรงปรารภพระสาคตะเถระเรื่องดื่มสุรา เรื่องมีอยู่ว่า พระสาคตะเถระได้ปราบนาคของพวกชฏิลได้ ทำให้ชาวบ้านดีใจ ปรึกษากันว่าจะถวายอะไรดีที่เป็นสิ่งของหาได้ยาก    พระภิกษุฉัพพัคคีย์ก็ออกโรง  แนะให้ถวายเหล้าใสสีแดงดั่งเท้านกพิราบ ชาวบ้านจึงเตรียมเหล้าแดงไว้ และถวายให้พระสาคตะดื่ม  ทำให้พระสาคตะเกิดความเมามายไม่ได้สติ   หลับฟุบอยู่ที่ประตูเมือง
พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุดื่มสุรา (น้ำเมาที่กลั่น) และเมรัย (น้ำเมาที่หมักหรือดอง) ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด  ทำให้คณะสงฆ์ ได้กำหนดเป็นโทษทางพระธรรมวินัย เกี่ยวกับการดื่มสุราของพระภิกษุ-สามเณร

จริงๆแล้วการดื่มน้ำเมาเป็นการผิดศีลห้า   ซึ่งเป็นศีลของฆราวาสชาวพุทธ    พระภิกษุต้องรู้อยู่แล้วว่าฉันไม่ได้    ทำไมในตอนนี้ทำเหมือนไม่รู้เลยว่าดื่มไม่ได้    ที่จริงน่าจะมีบัญญัติแต่แรกแล้วด้วยซ้ำ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 11 มี.ค. 13, 23:31

อ่านๆไปก็อดเหนื่อยใจกับพวกสองแก๊งค์นี้ไม่ได้      เลยทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า สมัยพุทธกาล ไม่มีการจับพระภิกษุสึกเลยหรือไร   เพราะสองแก๊งค์นี้น่าจะโดนจับสึกไปนานแล้ว  ข้อหาก่อเรื่องไม่ได้หยุด     
เลยนึกสงสัยว่าสมัยพุทธกาล คงไม่มีการจับพระภิกษุสึกละกระมัง หรือมีแต่ไม่ได้บันทึกไว้  ฮืม  ทั้งนี้ไม่รวมผู้ที่สมัครใจสึกออกไปด้วยเหตุผลส่วนตัวนะคะ

มีผลงานอัปยศของพระภิกษุฉัพพัคคีย์อีกเรื่องที่ดิฉันอ่านเจอ แต่ไม่เข้าใจ    เป็นเรื่องพระเสพสุราในสมัยพุทธกาล ต้องอาบัติสถานเบาคืออาบัติปาจิตตีย์เท่านั้น

ดังที่พระไตรปิฎกบันทึกไว้ว่า    ครั้งหนึ่ง  พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่โฆสิตาราม ในเมืองโกสัมพี   ทรงปรารภพระสาคตะเถระเรื่องดื่มสุรา เรื่องมีอยู่ว่า พระสาคตะเถระได้ปราบนาคของพวกชฏิลได้ ทำให้ชาวบ้านดีใจ ปรึกษากันว่าจะถวายอะไรดีที่เป็นสิ่งของหาได้ยาก    พระภิกษุฉัพพัคคีย์ก็ออกโรง  แนะให้ถวายเหล้าใสสีแดงดั่งเท้านกพิราบ ชาวบ้านจึงเตรียมเหล้าแดงไว้ และถวายให้พระสาคตะดื่ม  ทำให้พระสาคตะเกิดความเมามายไม่ได้สติ   หลับฟุบอยู่ที่ประตูเมือง
พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุดื่มสุรา (น้ำเมาที่กลั่น) และเมรัย (น้ำเมาที่หมักหรือดอง) ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด  ทำให้คณะสงฆ์ ได้กำหนดเป็นโทษทางพระธรรมวินัย เกี่ยวกับการดื่มสุราของพระภิกษุ-สามเณร

จริงๆแล้วการดื่มน้ำเมาเป็นการผิดศีลห้า   ซึ่งเป็นศีลของฆราวาสชาวพุทธ    พระภิกษุต้องรู้อยู่แล้วว่าฉันไม่ได้    ทำไมในตอนนี้ทำเหมือนไม่รู้เลยว่าดื่มไม่ได้    ที่จริงน่าจะมีบัญญัติแต่แรกแล้วด้วยซ้ำ

ขออนุญาต นำแนวคิดเรื่องทำไมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยช้า ดังนี้ครับ


".....ศีลนั้นบัญญัติขึ้นในพรรษาที่ ๒๑ ของพระพุทธเจ้า เพราะว่าช่วง ๒๐ ปีแรกนั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นพระอริยเจ้าทั้งหมด ท่านรู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร แต่พอระยะหลังการบวชแพร่หลายไปเรื่อย ๆ จากการประทานเอหิภิกขุ คือ พระพุทธเจ้าบวชให้ด้วยพระองค์เอง ก็กลายเป็นให้สงฆ์บวชด้วยญัตติจตุตถกรรม บุคคลที่บวชเข้ามาเป็นปุถุชนเสียเยอะ ก็เลยมีผิดพลาดขึ้นมา ต้องเริ่มบัญญัติศีลไล่ไปเรื่อย พระพุทธเจ้าประกาศศาสนา ๔๕ ปี ช่วง ๒๕ ปีหลัง คณะสงฆ์เริ่มมีปัญหามากขึ้น เพราะคนร้อยพ่อพันแม่เริ่มเข้ามาบวชด้วยกัน ต้องมีข้อห้ามอย่างนั้น ข้อห้ามอย่างนี้ โดยเฉพาะภิกษุที่เขาเรียก ฉัพพัคคีย์ ก็คือ พวก ๖

พระภิกษุพวก ๖ นี่สุดยอดมนุษย์เลย มีพระปัณฑุกะ พระโลหิตกะ พระเมตติยะ พระภุมมชกะ พระอัสสชิ พระปุนัพพสุกะ ท่านทั้ง ๖ นี้ เวลาจะทำอะไรมีการวางแผนชนิดยอดเยี่ยมมาก คำนวณเลยว่า เมืองสาวัตถีนี้ประกอบไปด้วยสองล้านครอบครัว มีมหาเศรษฐีมาก บวชแล้วเราควรจะไปอยู่ที่นั่น พอ ๖ คนบวชด้วยกันแล้วแยกกันไปอยู่คนละทิศละทาง แล้วก็ก่อปัญหาสารพัด


แต่คราวนี้เวลาเขาจะทำอะไร เขาทำในแบบที่ว่าไปไม่ล้ำเส้น เรื่องไหนที่ไม่ห้ามเขาทำ...พอห้ามเมื่อไรก็หยุด พระฉัพพัคคีย์และพระโลลุทายีเป็นต้นกำเนิดศีลเกือบ ๒๒๗ ข้อ ต้องบอกว่าเป็นบุญคุณของท่านจริง ๆ...ไม่อย่างนั้นเราจะไม่มีศีลขนาดนั้น เพราะท่านทำทุกเรื่อง เราอ่านประวัติไปก็เครียดแทน ลองมานึกว่าถ้าเราเป็นพระพุทธเจ้า แล้วมีลูกศิษย์ประเภทหาเรื่องให้ทุกวัน แล้วไม่ใช่ใกล้ ๆ นะ เทียบแล้วกิฏาคีรีชนบทก็ประมาณสุไหงโกลก ส่วนพระพุทธเจ้าอยู่กรุงเทพฯ แล้วเขาก่อเรื่องที่นั่น พระองค์ก็ต้องตามไปสอบสวนกัน
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 11 มี.ค. 13, 23:32

ครั้งแรกท่านไปเผาป่า แล้วมีคนตายไปหลายคน พระพุทธเจ้าสอบสวนว่า"เธอมีเจตนาหรือไม่ ?" เขาบอกว่า"ไม่มีเจตนา" พระพุทธเจ้าบอกว่าถ้าอย่างนั้นเธอโดนอาบัติถุลลัจจัย ไม่โดนปาราชิก ภิกษุฉัพพัคคีย์เลยรอดไป ครั้งต่อมาก็เผาอีก พระพุทธเจ้าถามว่า "เธอตั้งใจหรือเปล่า ?" ภิกษุฉัพพัคคีย์บอกว่า"ตั้งใจ" คราวนี้โดนปาราชิก เราจะเห็นความดีของคนสมัยก่อนว่าพูดจริงทำจริง ไม่โกหก ถามอย่างไรตอบอย่างนั้น ทำอย่างไรรับอย่างนั้น

เราจะเห็นคุณความดีของท่านหลายอย่าง และที่แน่ ๆ เราจะเห็นคุณของพระพุทธเจ้าอย่างยิ่งเลยว่า พระพุทธเจ้าไม่ใช่แค่บัญญัติสิกขาบท ๒๒๗ ข้อ ยังมีอภิสมาจาร คือ มารยาทเล็กน้อย ๆ อีก ๔๐๐ - ๕๐๐ ข้อ แล้วสิกขาบทแต่ละข้อ ยังมีอนุบัญญัติตามมาอีก บางข้อเขาแหกคอกไปได้ ๒๐๐ กว่ามุม อย่างเช่นว่า ห้ามภิกษุเสพเมถุน ก็คือ ห้ามมีเมีย เขาตีความว่าห้ามมีเมียที่เป็นมนุษย์ ก็เลยไปเสพเมถุนกับลิง พอห้ามเสพเมถุนกับมนุษย์และสัตว์เดรัจฉาน เขาก็ตีความว่าซากศพไม่ใช่มนุษย์ ก็เลยไปเสพเมถุนกับซากศพอีก ทีนี้พอเขาใช้คำว่า ปัสสาวะมรรค ก็คือ ช่องเพศธรรมดา เขาก็เลี่ยงไปเสพเมถุนทางช่องปากอีก เขาเลี่ยงไปเรื่อย.... กระทั่งรอยแผลเขายังทำได้ คนหน้ามืดขึ้นมานี่ไม่รู้จะว่าอย่างไรจริง ๆ ถ้าหากใครไปอ่านพระวินัยปิฎก คนที่ประเภทเลี่ยงกฎหมายเขาเลี่ยงกันสุดชีวิตจริง ๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 19 คำสั่ง