เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12
  พิมพ์  
อ่าน: 109465 บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 22 มิ.ย. 14, 14:31

..สุดท้ายแล้ว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 22 มิ.ย. 14, 15:00

ขอบคุณครับ


บันทึกการเข้า
chakad77
อสุรผัด
*
ตอบ: 38


ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 23 มี.ค. 15, 22:14

เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน มีคฤหาสน์โบราณหลังหนึ่งไม่ทราบว่าเป็นของท่านไหน
บริเวณใกล้เคียงมีซอยชื่อว่า ซอยพระยามุกมนตรี ที่สามารถไปยังบ้านหลังนั้นได้ ไม่ทราบว่าเกี่ยวกันไหม



ทราบแล้วนะครับ บ้านหลังนี้คือบ้านของ เจ้าพระยามุขมนตรี ศรีสมุหพระนครบาลฯ (อวบ เปาโรหิตย์)  ซึ่งก็ตรงกับชื่อซอยพระยามุขมนตรี(ซอยเจริญกรุง51)  ทางเข้าบ้านท่านนั่นแหละ
บันทึกการเข้า
manu
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 22 พ.ค. 20, 18:21

ตึกเหลืองที่ตั้งอยู่ที่วชิรพยาบาลขณะนี้ได้ทำการอนุรักษ์โดย บ.กัณกนิษณ์ โดยงบประมาณของกรุงเทพมหานคร 50 กว่าล้านบาท กำลังจะเสร็จในวันที่ 27 พค. 2563 และกำลังอยู่ในระหว่างการคัดเลือก การอนุรักษ์ในระยะที่ 2 จากการสำรวจและออกแบบเพิ่มเติมจากกรมศิลปากรครับ
บันทึกการเข้า
manu
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 22 พ.ค. 20, 18:32

กำลังจะเริ่มเฟส 2 ครับ





บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 22 พ.ค. 20, 21:08

เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน มีคฤหาสน์โบราณหลังหนึ่งไม่ทราบว่าเป็นของท่านไหน
บริเวณใกล้เคียงมีซอยชื่อว่า ซอยพระยามุกมนตรี ที่สามารถไปยังบ้านหลังนั้นได้ ไม่ทราบว่าเกี่ยวกันไหม



ทราบแล้วนะครับ บ้านหลังนี้คือบ้านของ เจ้าพระยามุขมนตรี ศรีสมุหพระนครบาลฯ (อวบ เปาโรหิตย์)  ซึ่งก็ตรงกับชื่อซอยพระยามุขมนตรี(ซอยเจริญกรุง51)  ทางเข้าบ้านท่านนั่นแหละ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 22 พ.ค. 20, 21:10

ตึกเหลืองที่ตั้งอยู่ที่วชิรพยาบาลขณะนี้ได้ทำการอนุรักษ์โดย บ.กัณกนิษณ์ โดยงบประมาณของกรุงเทพมหานคร 50 กว่าล้านบาท กำลังจะเสร็จในวันที่ 27 พค. 2563 และกำลังอยู่ในระหว่างการคัดเลือก การอนุรักษ์ในระยะที่ 2 จากการสำรวจและออกแบบเพิ่มเติมจากกรมศิลปากรครับ
นับเป็นข่าวดีสำหรับนักอนุรักษ์ค่ะ   แต่สงสัยว่า 50 ล้านจะพอหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
manu
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 23 พ.ค. 20, 07:26

งบเฟสที่ 1 รวม 50 กว่าล้านกำลังก่อสร้างเสร็จ กำลังคัดเลือก บ.ก่อสร้างเฟสที่ 2 งบเพิ่มเติมอีก 50 กว่าล้านเท่าๆกันครับ ไม่รวมการยกตึกซึ่งต้องรอจังหวะ และอาจมีการก่อสร้างเฟสที่ 3 ซึ่งขึ้นอยู่กับความเห็นของกรมศิลปากรครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 23 พ.ค. 20, 08:29

บ้านพระสรรพการหิรัญกิจ (เชย อิศรภักดี) ตั้งอยู่ที่ริมถนนสามเสน ทิศเหนือจดถนนสุโขทัย ทิศใต้จดถนนสังคโลก ทิศตะวันออกจดถนนสามเสน ทิศตะวันตกจดคลองอั้งโล่ เป็นบ้านที่พระสรรพการหิรัญกิจ ผู้จัดการแบงก์สยามกัมมาจล เริ่มสร้างในราวพ.ศ. ๒๔๔๘ ด้วยงบประมาณถึงพันชั่ง (๘๐,๐๐๐ บาท) แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๑


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 23 พ.ค. 20, 08:57

บ้านพระสรรพการหิรัญกิจประกอบด้วยตึกสองหลัง คือ ตึกเหลือง และตึกชมพู ตึกเหลืองเป็นตึกใหญ่อยู่ทางทิศเหนือ เป็นอาคารสูง ๓ ชั้น รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิค (Neo-Classic) ผสมผสานรูปแบบและเครื่องตกแต่งสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งหลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน ถัดมาทางทิศใต้มีตึกชมพู เป็นอาคารสูง ๓ ชั้น มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิค (Neo-Classic) เช่นกัน แต่มีความเป็นเอกภาพมากกว่า ภายในทั้งตึกใหญ่และ ตึกเล็กมีการประดับตกแต่งอย่างวิจิตรพิสดาร มีเครื่องเรือนที่นำเข้าจากยุโรปทั้งสิ้น

น่าเสียดายที่ปัจจุบันตึกชมพูได้ถูกรื้อถอนไปแล้วยังคงเหลือแต่ตึกเหลือง

ภาพลงสีโดยคุณหนุ่มสยาม จาก สยามพหุรงค์ งามนัก ๆ
 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 23 พ.ค. 20, 16:35

พอมาไล่อ่านแล้วก็เสียดายหลายที่นะคะบางที่ทรุดโทรมไปไม่มีคนมาดูแล บางที่ก็ถูกล้อถอนไป ทางที่ก็ถูกเปลี่ยนให้ไม่เหลือเค้าเดิม
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 25 พ.ค. 20, 13:36

ตึกพวกนี้คือที่เขาใช้ถ่ายละครประเภทท่านชาย เจ้าคุณปู่เจ้าคุณตาอะไรทำนองนี้รึเปล่าคะ
บันทึกการเข้า
NT
มัจฉานุ
**
ตอบ: 92


ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 25 พ.ค. 20, 13:46

ตึกพวกนี้คือที่เขาใช้ถ่ายละครประเภทท่านชาย เจ้าคุณปู่เจ้าคุณตาอะไรทำนองนี้รึเปล่าคะ

ละครบางเรื่องก็ถ่ายทำในโรงถ่ายที่จัดวางเฟอร์นิเจอร์ให้ดูย้อนยุคครับ แต่บางเรื่องก็ถ่ายที่บ้านเก่าอาคารเก่าจริงๆ ครับผม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 25 พ.ค. 20, 14:15

ปัจจุบันคงไม่สามารถใช้ตึกเหล่านี้เป็นฉากในการถ่ายทำละครได้  เพราะทรุดโทรมมากและบูรณะยังไม่เสร็จสิ้น  แต่จุดประสงค์ของท่านเจ้าของบ้านก็นับว่าเพื่อการบันเทิงเหมือนกัน  ยิงฟันยิ้ม

พระสรรพการหิรัญกิจเป็นผู้ที่มีความคิดก้าวหน้ากว่าใครในสมัยนั้น ท่านตั้งใจจะเปิดบ้านนี้ให้เป็นสวนสาธารณะให้คนเข้าชมอาณาบริเวณได้ เรียกว่า บ้านหิมพานต์หรือป๊ากสามเสน ในขณะที่เมืองไทยสมัยนั้นยังไม่มีสวนสาธารณะเลยก็น่าจะเข้าท่าอยู่

เมื่อสร้างเสร็จแล้ว สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เสด็จไปเปิดบ้านหิมพานต์ เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๑ นับว่าบ้านหิมพานต์หรือป๊ากสามเสนเป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย

ป๊ากสามเสนหรือบ้านหิมพานต์เปิดบริการตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑ ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านพักของพระยาสรรพการหิรัญกิจหนึ่งในผู้บริหารธนาคารไทยพาณิชย์ ในป๊ากมีที่ดินประมาณ ๑๖,๐๐๐๐ ตารางวา กลางป๊ากมีตึก ๒ หลังทำอย่างประณีตงดงาม

ตอนหน้าของตึกมีโรงละครใหญ่อย่างงาม ๑ โรง มีกรงเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ มีสระน้ำและสนามหญ้า มีเขาที่ก่อด้วยหินขนาดใหญ่พร้อมด้วยถ้ำสำหรับเข้าไปเที่ยวภายในได้ เขาและถ้ำนี้มีน้ำพุกระโจนออกมาไม่ขาดสาย ด้านหน้าน้ำพุเป็นสระประดับประดาด้วยเครื่องทอง ภายในถ้ำมีทางขึ้นบนยอดเขาได้และมีพระพุทธรูปสำหรับบูชาในถ้ำ

ส่วนบริเวณหลังตึกมีเขาดิน ภายในเขามีอุโมงค์กว้างขวาง บนเขามีถนนทำด้วยปูนซีเมนต์ มีที่พักทำด้วยศิลาและปลูกไม้หอม มีสระน้ำข้าง ๆ เขาก่อด้วยศิลาเป็นหย่อม ๆ สำหรับนั่งดูน้ำ มีโรงเครื่องดื่มต่าง ๆ เช่นโรงกาแฟที่มีหมากพลูบุหรี่ มีเก้าอี้สำหรับนั่งเล่นตามสนาม มีเรือสำหรับพายเล่นในคลองและในสระ มีท่าน้ำและสนามหญ้าขนาดใหญ่และเล็ก และชายป่าที่ล้วนปลูกไม้ดอกและไม้ประดับ สำหรับผู้ที่ต้องการไปเที่ยวชมในป๊ากต้องเสียเงินค่าผ่านประตูคนละหนึ่งบาท  เปิดให้เข้าชมได้ตั้งแต่เวลา ๗ โมงเช้าจนถึงสองยามหรือเที่ยงคืน ครั้นต่อมาก็มีการนำภาพยนตร์จากยุโรปเข้ามาฉายทุกคืนวันอังคารและวันพฤหัสบดีตั้งแต่เวลา ๑ ทุ่มจนถึง ๔ ทุ่มครึ่ง

ป๊ากสามเสนมีลักษณะเป็นสวนสนุกที่ยังไม่ถึงกับเป็นสวนสาธารณะและคล้ายคลึงกับสวนสำราญในสังคมจารีตที่เป็นพื้นที่เฉพาะกลุ่มชนชั้นนำ เช่น สวนขวาและสวนสราญรมย์ที่ประกอบด้วยต้นไม้ สระน้ำ สนามหญ้า ภูเขา และเครื่องบันเทิงประเภทต่าง ๆ

การสร้างสวนสนุกในยามค่ำคืนให้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของคนกรุงเทพฯ จึงทำให้กรอบความคิดเรื่องสวนเพื่อความสำราญไม่ได้เป็นพื้นที่ของชนชั้นนำอย่างในสังคมจารีตอีกต่อไป แต่ได้เริ่มเป็นพื้นที่ใหม่สำหรับสาธารณชนที่ทุกคนสามารถเข้าไปใช้ชีวิตยามค่ำคืนในสวนสนุกได้

การเปิดบริการป๊ากสามเสนได้รับความสนใจจากคนกรุงเทพฯ อยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะเมื่อนำภาพยนตร์เข้ามาฉาย แต่ผู้ที่เข้าไปชมและใช้บริการกิจกรรมยามค่ำคืนต่าง ๆ ในป๊ากสามเสนกลับพบว่าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนชั้นนำมากกว่าสามัญชน

ทั้งนี้อาจพิจารณาได้จากอัตราค่าผ่านประตูที่เก็บอยู่ที่ ๑ บาทต่อ ๑ คน เมื่อเทียบกับรายได้ของสามัญชนส่วนใหญ่แล้วก็ยังนับว่าเป็นราคาที่ค่อนข้างสูง ประกอบกับความไม่สะดวกในการเดินทางกลับบ้านของสามัญชนที่ไม่มียานพาหนะส่วนตัว เพราะเมื่อเวลาหนังเลิกตอน ๔ ทุ่มหรือเวลาปิดบริการป๊ากตอนเที่ยงคืนรถรางเที่ยวสุดท้ายได้หมดไปตั้งแต่ ๒ ทุ่มแล้ว ในเรื่องการเดินทางจึงเห็นได้ว่ายานพาหนะเป็นสิ่งสำคัญต่อการใช้ชีวิตยามค่ำคืนนอกบ้านของคนกรุงเทพฯ ที่สามารถพาพวกเขาไปสู่พื้นที่กลางคืนของเมืองที่ใดและจะกลับเมื่อใดก็ได้

อย่างไรก็ตาม ป๊ากสามเสนก็เป็นพื้นที่แรกที่แสดงให้เห็นการใช้พื้นที่สวนเพื่อความสำราญในยามค่ำคืนร่วมกันระหว่างชนชั้นสูงกับสามัญชนก่อนที่จะมีสวนสาธารณะเพื่อสาธารณชนในเมืองอย่างแท้จริงที่สวนลุมพินีในปลายทศวรรษที่ ๒๔๖๐

(จากหนังสือ กรุงเทพฯ ยามราตรี ของ วีระยุทธ ปีสาลี พิมพ์โดย สำนักพิมพ์มติชน ๒๕๕๗)

จากบทความเรื่อง ป๊ากสามเสน : ที่เที่ยวเตร่ยามค่ำคืนในสยามยุคแรกมีสวนสนุกด้วย

บันทึกการเข้า
manu
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 19 ก.ค. 20, 20:21

วันที่ 21 กค. 2563 ทางวชิรพยาบาลจะได้ทำการส่งมอบพื้นที่ให้ บ.กัณกนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัดเพื่อเริ่มต้นโครงการอนุรักษ์อาคารวชิรานุสรณ์ (ตึกเหลือง) ระยะที่ 2 ตามแบบที่จัดทำโดยกรมศิลปากรครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 20 คำสั่ง