เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 12
  พิมพ์  
อ่าน: 109193 บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 08 มี.ค. 13, 22:03

คุณพระเขียนคำนำไว้ดังนี้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 08 มี.ค. 13, 22:15

ตัวอย่างอักขระสมัยของพระอรรถวสิษฐ์สุธี - ซ้าย แลพระบรมราชาธิบาย (บรรทึกท้วงอักขระสมัย) - ขวา  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 08 มี.ค. 13, 22:22

จากหนังสือข้างบน นอกจากเราจะได้ความรู้เรื่องภาษาไทยแล้ว

ที่สำคัญเราได้ทราบว่าท่านได้เป็นพระอรรถวสิษฐ์สุธีไม่ภายใน พ.ศ. ๒๔๖๓ ก็ก่อนหน้านั้น

ข้อมูลอีกเรื่องหนึ่ง ที่เราได้ทราบจากหนังสือเล่มนี้ คือปีทีท่านเกิด คือ พ.ศ. ๒๔๒๓ และปีที่ท่านเสียชีวิต คือ พ.ศ. ๒๔๙๖




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 08 มี.ค. 13, 22:31

เป็นอันสิ้นข้อสงสัย ท่านผู้นี้ถือเป็นอัจฉริยะผู้หนึ่งทีเดียว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 08 มี.ค. 13, 23:04

พระอรรถวสิษฐสุธี เป็นนักเขียนในนิตยสารรายเดือน "ศัพท์ไทย" ซึ่งออกระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๔ - ๒๔๖๗

คุณวันดีได้กรุณาคัดลอกผลงานมาเผยแพร่ดังตัวอย่างนี้

คุณพระอรรถวสิษฐสุธี  เขียน  คอลัมน์ "ทำไม"  ตั้ง ๓ หน้า   ใน ศัพท์ไทยตอนที่สอง  หน้า ๑๕๖ - ๑๕๘

ขอคัดลอกบางตอนมาลงเพราะเป็นความคิดแบบไทย ๆ ที่ไม่ได้ลอกของฝรั่งมา       ๙๐ ปีแล้วที่ท่านเขียนไว้


ถาม                  ทำไมชายบางคนจึงชอบคบหญิงชั่ว
ตอบ                  เพราะคนดีเขาไม่คบด้วย

ถ.                    ว่าไปไหนมา  ทำไมจึงตอบว่า "เปล่า"
ต.                    เพราะไม่ใช่กงการของผู้ถาม

ถ.                    ทำไมผู้หญิงจึงชอบทำบุญมาก
ต.                    เพราะชาติหน้าอยากให้สวยกว่าชาตินี้

ถ.                    ทำไมหนังสือกลอนถึงผู้หญิงจึงเรียกว่าเพลงยาว
ต.                    เพราะแต่งไม่รู้จบจักสิ้น

ถ.                    ทำไมผู้หญิงจึงไม่ค่อยเชื่อคำผู้ชาย
ต.                    เพราะผู้ชายไม่เคยพูดจริงกับผู้หญิง

ถ.                    ทำไมผู้หญิงไทยชอบกินหมาก
ต.                    เพราะไม่อยากให้ปากอยู่นิ่ง ๆ

ถ.                    ทำไมเพื่อนตายจึงหายาก
ต.                    ถมไป       อยู่สวรรค์ก็มี  นรกก็มี


อ่านดูแล้ว เห็นว่าท่านเป็นผู้มีอารมณ์ขันคนหนึ่งเทียว


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 08 มี.ค. 13, 23:18

"ธรรมศาสตร์วินิจฉัย" ผลงานทางด้านหนังสือกฎหมายของพระอรรถวสิษฐสุธี


 


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 09 มี.ค. 13, 07:15

พระสรรการหิรัญกิจดับไป เกิดพระอรรถวสิษฐสุธีขึ้นใหม่ในภพปัจจุบันนี้เอง

ผมรู้สึกดีใจที่ได้ยกข้อสงสัยของตนมาตั้งเป็นกระทู้ ทำให้รู้จักคนไทยที่น่านับถือท่านนี้ ต้องขอขอบคุณผู้ร่วมให้ข้อมูลทุกท่านด้วยครับ
กระทู้นี้คงจบลงแล้ว แต่คงยังไม่ปิดหากผู้ใดประสงค์จะเพิ่มเติมคำถามคำตอบใดๆนะครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 09 มี.ค. 13, 07:37

พระสรรการหิรัญกิจดับไป เกิดพระอรรถวสิษฐสุธีขึ้นใหม่ในภพปัจจุบันนี้เอง

ผมรู้สึกดีใจที่ได้ยกข้อสงสัยของตนมาตั้งเป็นกระทู้ ทำให้รู้จักคนไทยที่น่านับถือท่านนี้ ต้องขอขอบคุณผู้ร่วมให้ข้อมูลทุกท่านด้วยครับ
กระทู้นี้คงจบลงแล้ว แต่คงยังไม่ปิดหากผู้ใดประสงค์จะเพิ่มเติมคำถามคำตอบใดๆนะครับ


ยกมือสูง ๆ ถามต่อว่า เมื่อบ้านหิมพานต์ถูกยึดและกลายมาเป็นวชิระพยาบาลแล้ว ที่ดินทั้งกว่า ๒๗ ไร่ย่อมตกเป็นของโรงพยาบาล แล้วคำถามที่สงสัยคือ ตัวท่านพร้อมบุตรกว่า ๒๐ ชีวิตย้ายไปอยู่ตรงไหน ซึ่งในด้านบนผมกล่าวไว้ว่าท่านมีบ้าน "อิศรภักดี" ถนนสามเสน นั่นหมายความว่ายังมีบ้านที่พำนักสุดท้ายของท่านอีก หน้าตาเป็นอย่างไรหนอ ?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 09 มี.ค. 13, 09:21

คุณหมอสมบอกปีที่ถึงแก่กรรมของคุณพ่อผิดไป ๗ ปี    คุณพระถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๗๓ ปี
ชีวิตท่าน ถ้าหากว่าไปเกิดในประเทศที่สนใจทำหนังทำละครทีวีแบบสู้ชีวิต  น่าจะเป็นดราม่าขนาดยาวได้เรื่องหนึ่งทีเดียว

มาพูดถึงบ้านสามเสนที่ท่านระบุไว้ในหนังสือที่เขียน ว่าอยู่ตรงไหน

ดิฉันคิดว่าบ้านสามเสนน่าจะมาปลูกทีหลังท่านถูกฟ้องล้มละลาย   เพราะคนที่ถูกฟ้องล้มละลาย ทรัพย์สินต่างๆที่มีอยู่ย่อมถูกยึดหมดเพื่อเอาไปขายทอดตลาดให้เจ้าหนี้     ถ้าบ้านสามเสนยังมีตัวตนอยู่ในยุคเดียวกับบ้านหิมพานต์เป็นต้องโดนยึดด้วยแน่นอน
เมื่อคุณพระเคลียร์หนี้สินหมดแล้ว   มาเริ่มต้นใหม่เป็นอัยการในปลายรัชกาลที่ ๖   ท่านคงจะหาที่ดินแถวถนนสามเสนสักแปลงมาปลูกบ้านใหม่ได้ไม่ยาก    หรืออาจจะเป็นที่ดินของญาติพี่น้อง หรือที่ดินที่ท่านใส่ชื่อญาติพี่น้องเอาไว้เพื่อให้พ้นจากการถูกยึดก็เป็นได้   ดิฉันคิดว่าเป็นอย่างหลัง    เพราะท่านเลือกอยู่ตรงที่เป็นถิ่นเดิมของท่าน ใกล้บ้านหิมพานต์    แสดงว่าอาจเป็นที่ดินที่มีมาแต่ดั้งเดิมในละแวกนี้
บ้านสามเสนยังอยู่หรือไม่     เมื่อสิ้นคุณพระแล้ว ลูกๆจำนวน ๒๐ คนอาจจะขายเพื่อแบ่งมรดกกัน   ป่านนี้กลายเป็นอาคารพานิชย์  หรือถ้าแจ๊กพ็อทกว่านี้ก็ถูกทางการเวนคืนตอนขยายถนนไปแล้วก็เป็นได้      ถ้าหากยังสืบได้ว่ายังอยู่ดีมาจนทุกวันนี้ ก็น่าจะจัดเรือนไทยทัวร์ไปดูกันอย่างยิ่ง
บันทึกการเข้า
giggsmay
ชมพูพาน
***
ตอบ: 135


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 09 มี.ค. 13, 11:15

แล้วของสะสมของตกแต่งภายในบ้านหิมพานต์ก็โดนยึดไปด้วยมั้ยคะหรือว่าขนย้ายออกมาได้ยึดแต่ตัวบ้านแล้วก็ที่ดิน แล้วตอนที่บ้านหิมพานต์เปิดให้บริการทั้งละครแล้วก็ให้ชมสวนพักผ่อนหย่อนใจมีคนไปใช้บริการเยอะมั้ยคะช่วงเปิดใหม่ๆอ่ะคะ ขอบคุณคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 09 มี.ค. 13, 11:45

ปีทีท่านเกิด คือ พ.ศ. ๒๔๒๓

มีหลักฐานในตราประจำตัวของท่านซึ่งอยู่ด้านหน้าของ "เหรียญอนุญาตชมสวน ๑๒๗" ตรงกลางเป็นรูปโล่ มีตัวเลขว่า "ร.ศ. ๙๙" ทั้งสองข้างมีเทวดาถือพระขรรค์ เหนือโล่มีพญานาค ๓ เศียร ด้านล่างตรงกลางแถบผ้ามีตัวเลขว่า " ๑๒๔๒" คือ จ.ศ. ๑๒๔๒  

ทั้ง ร.ศ. ๙๙ และ จ.ศ. ๑๒๔๒ เป็นปีนักษัตรเดียวกันคือ ปีมะโรง ซึ่งมีพญานาคเป็นสัญลักษณ์ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๒๓ ซึ่งเป็นปีเกิดของพระสรรพการหิรัญกิจหรือพระอรรถวสิษฐสุธีในเวลาต่อมา



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 09 มี.ค. 13, 14:20

มาต่อคำตอบที่ว่าทำไมพระสรรพการหิรัญกิจ ถึงได้เป็นผู้จัดการแบงค์สยามกัมมาจล ซึ่งได้เคยอธิยายไว้ว่าท่านได้ถือหุ้นเป็นอันดับสอง จึงได้นำทะเบียนผู้ถือหุ้นมาให้ชมกัน

อันดับ ๑ กรมหมื่นมหิศพระราชหฤทัย จำนวน ๕๐๓ หุ้น เป็นเงิน ๕๐๓,๐๐๐ บาท

อันดับ ๒ พระสรรพการหิรัญกิจ จำนวน ๓๔๐ หุ้น เป็นเงิน ๓๔๐,๐๐๐ บาท

อันดัย ๓ ดอยน์เอเซียทิช จำนวน ๓๓๐ หุ้น เป็นเงิน ๓๓๐,๐๐๐ ยาท

อันดับ ๔ กิมเซ่งหลี  จำนวน ๓๑๔ หุ้น เป็นเงิน ๓๑๔,๐๐๐ บาท

อันดับ ๕ พระคลังข้างที่ จำนวน ๓๐๐ หุ้น เป็นเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 09 มี.ค. 13, 14:38

คุณพระสรรพการฯ มีเงินมาลงทุนมากกว่าฝรั่งไทยจีนใดๆ เสียอีก  ตระกูลของท่านค้าขายอะไรหนอถึงมีเงินมากขนาดนี้   น่าจะเป็นการค้าระหว่างประเทศ    เห็นว่าท่านเคยเดินทางไปหลายประเทศ ซื้อข้าวของงามๆมาประดับบ้านหิมพานต์
อาจจะทำกิจการอิมพอร์ตเอกซพอร์ตกระมัง?
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 09 มี.ค. 13, 20:43

ความสัมพันธ์ระหว่างพระสรรพการหิรัญกิจ กับ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย นอกจากจะเข้าชื่อร่วมถือหุ้นใหญ่ของแบงก์สยามกัมมาจลแล้ว วังของกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (พื้นที่สีบานเย็น) และบ้านพระสรรพการหิรัญกิจ (พื้นที่สีเขียว) ยังอยู่ใกล้กันอีกด้วย


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 09 มี.ค. 13, 21:02

อันดัย ๓ ดอยน์เอเซียทิช จำนวน ๓๓๐ หุ้น เป็นเงิน ๓๓๐,๐๐๐ ยาท

อันดับ ๓ เป็นธนาคารเยอรมันชื่อว่า Deutsch Asiatische Bank (ดอย์ตช อาสิอาติสเช บังก์) ครั้งที่คุณพระสรรพการฯทำเรื่องยุ่งเหยิงไว้ที่แบงก์สยามกัมมาจล ผู้ที่แบงก์เยอรมันส่งมาดูแลกิจการคือ Herr. P. Schwarze (แฮร์ ปี. ชวาร์ซ)

ในหนังสือประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ ได้กล่าวถึงพระสรรพการหิรัญกิจว่า

แฮร์ ปี. ชว๊าร์ซ (Herr. P. Schwarze), ผู้จัดการแบงก์สยามกัมมาจลถวายฎีกา มีใจความว่า ในชั้นต้นแบงก์สยามกัมมาจลได้แคยมีผู้จ้ดการ ๒ คน, เปนไทยคน ๑. พระสรรพการหิรัญกิจ (เชย อิศรภักดี, ภายหลังเปนพระอรรถวสิษฐ์สุธี) ผู้จัดการฝายไทย, ได้ทำการยุ่งเหยิงไว้มากจนต้องออกแล้ว, ผู้ถวายฎีกาได้เปนผู้จัดการโดยลำพังสืบมา, ได้อุตสาหะจัดการแก้ไขการที่พระสรรพการได้ทำยุ่งไว้จนแบงก์ต้องเสียหายน้น จนเปนที่เรียบร้อย, โดยชักเอากำไรจากทางแพนกการต่างประเทศของแบงก์น้นมาเจือจานและได้จัดการงานให้ดำเนิรมาโดยเรียบร้อยตลอด......

แม้แบงก์เยอรมันมีหุ้นเพียง ๑ ใน ๕ เท่านั้นก็ดูจะมีสิทธิ์มีเสียงดังพอสมควรในแบงก์สยามกัมมาจล เพราะชวาร์ซเป็นถึงผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศ เมื่อมีเรื่องยุ่งเหยิงของคุณพระสรรพการฯ ชวาร์ซถึงกับยื่นฎีกาว่าหากผู้จัดการฝ่ายไทยดำเนินการอย่างใดต้องให้ผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศทราบด้วย แต่หากผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศดำเนินการอย่างใดแล้ว ผู้จัดการฝ่ายไทยไม่จำเป็นต้องรู้เห็นด้วย โดยขอให้รัชกาลที่ ๖ ทรงมีพระบรมราชโองการบังคับพระคลังข้างที่ให้ตกลงตามที่ชวาร์ซเสนอ  ทรงนำฎีกานี้เข้าปรึกษาในเสนาบดีสภา ในที่สุดได้ข้อตกลงวินิจฉัยว่าให้ยกฎีกาของชวาร์ซนี้เสีย

ทรงมีความเห็นว่า

"ส่วนในทางการเงินนั้นก็เปนรัฐประศาสโนบายของเยอรมันอันดำเนิรอยู่โดยทั่วไปหลายแห่ง, คือเอาทุนไปลงไว้ตามบริษัทหรือแบงก์ใหญ่ ๆ ในประเทศต่าง ๆ ที่เขาปราถนาจะครอบงำ, แล้วแลดำเนิรอุบายให้กิจการในบริษัทหรือแบงก์นั้น ๆ ยุ่งเหยิง, แล้วเขาจึ่งตั้งตัวเปนผู้ที่เมตตาเข้าช่วยดูแลแก้ไข, แล้วในที่สุดก็รวบเอาอำนาจอำนวยการในบริษัทหรือแบงก์นั้น ๆ ไปไว้ในกำมือเยอรมันหมด, อุบายนี้ได้ดำเนิรสำเร็จมาแล้วในประเทศอิตาลีเปนตัวอย่าง จนเวลานั้นเยอรมันคุยป๋อว่า อิตาเลียนเท่ากับเปนทาสน้ำเงินของเขาทั้งหมด, สำหรับกรุงสยาม, เยอรมันได้มุ่งจะดำเนิรแบบเดียวกับอิตาลี, ไกเสอร์จึงได้สั่งดยู๊กโยฮันน์อัลเบร็คต์เข้ามา, เพราะรู้อยู่ว่าเปนคนโปรดของทูลกระหม่อม, ต่อมา พอพระสรรพการทำยุ่งและต้องออกจากตำแหน่งผู้จ้ดการ ฝ่ายเยอรมันนึกว่าสำเร็จตามอุบายของเขาได้อีกขั้น ๑, แต่พะเอินมาเกิดมีกรรมการผู้แทนพระคลังข้างที่ขัดคอขึ้น, จึ่งออกขัดใจ, และเปนธรรมเนียมของเยอรมัน, เมื่อจะเอาอะไรไม่ได้อย่างใจก็ต้องนึกถึงใช้อำนาจข่มขู่ก่อน,......"

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 20 คำสั่ง