เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 12
  พิมพ์  
อ่าน: 109457 บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 06 มี.ค. 13, 10:37

เบื้องต้นทราบว่าบ้านพระสรรพการนั้นคงนำบ้านเข้าไปจดจำนองกับทางธนาคาร หรือไม่ก็กู้เงินจากธนาคารมาเพื่อก่อสร้างบ้านที่ใช้เงินมากมายขนาดนี้ นอกจากนี้แล้วความสัมพันธ์ระหว่างพระสรรพการ กับธนาคารสยามกัมมาจล ท่านได้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นอันดับที่ ๒ รองจากพระยาพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย โดยเป็นผู้ลงเงินทุนร่วมกัน และพระสรรพการก็ได้เข้าดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการในธนาคารอีกด้วย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 06 มี.ค. 13, 11:17

^
อ้างถึง
ดูใจร้อนรน ชอบกล .... คิคิคิ

เดี๋ยวผมจึงจะเข้ามาต่อนะครับ


ส่วนเรื่องค่าก่อสร้างบ้านพระสรรพการนั้น มีที่มาซึ่งผมได้จากเวปนี้

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/10/K9856616/K9856616.html

ส่วนว่าทำไมถึงถูก หรือทำไมธนาคารถึงแพง อันนี้ผมก็จนปัญญาหาข้อเท็จจริงครับ งงได้อย่างเดียว


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 06 มี.ค. 13, 12:44

ฉายหนังตัวอย่างเรื่องที่จะเขียนในลำดับต่อไปสักหน่อย พอให้ได้คำตอบนิดนึงว่า มูลค่าของทรัพย์สินตรงนี้ของพระสรรพการที่ว่าสร้างด้วยงบประมาณ80,000บาท นั้น อีกสี่ปีต่อมามีมูลค่าต่างกัน 3 เท่าทีเดียว
80,000บาท จึงอาจจะเป็นค่าก่อสร้างตึกหลังใดหลังหนึ่ง ไม่น่าจะใช่ทั้งหมด
 
วชิรพยาบาล ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2455 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อที่ดิน ( ที่ดินโฉนดเลขที่ 145/3354/ว เลขที่ 19 จำนวน 27 ไร่ ) และสิ่งก่อสร้าง ( ตึกแบบฝรั่งขนาดใหญ่ 2 หลัง เรือนนอนไม้ 1 หลัง และกระโจม 1 หลัง ) ในราคา 3,000 ชั่ง ( 240,000 บาท ) จากแบงค์สยามกัมมาจลทุน จำกัด ซึ่งแต่เดิมคือ บ้านเลขที่ 677 ถนนสามเสน อำเภอดุสิต เป็นของพระสรรพการหิรัญกิจ(เชย อิสรภักดี) และโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม ) เป็นแม่กองคุมงานดัดแปลงให้เป็นสถานพยาบาล
บันทึกการเข้า
giggsmay
ชมพูพาน
***
ตอบ: 135


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 06 มี.ค. 13, 12:55

 ;Dมีเพื่อนบ้านอยู่แถวนั้นอ่ะคะแถววชิระพยาบาลมีประกันสังคมที่นั่นคนที่บ้านเพื่อนก็รักษาที่นั่นกันหมดเพราะว่าใกล้บ้านเพื่อนบอกที่วชิระพยาบาลผีดุมากไม่รู้ว่าเป็นผีคนไข้หรือว่าผีเจ้าของบ้านเดิม เพื่อนเคยเจอผีที่วชิระอยู่ 2 ครั้ง หลอนมากเลยเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมเป็นโรงพยาบาลอื่นเลย บรี๋ออออออ เหมือนกันนะคะ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 06 มี.ค. 13, 13:12

สิบกว่าปีมาแล้วผมได้ไปนอนที่นั่นมาคืนนึง ตึกเก่า ห้องที่อยู่ก็เต็มไปด้วยบรรยากาศแบบหนังผีครบครัน แต่ก็ผ่านไปแบบไม่เห็นมีอะไรนะครับ

เมื่อสมัยเด็กๆผมไปวชิระบ่อยมาก เพราะแม่ไปเยี่ยมป้าที่เป็นนางพยาบาลอยู่ที่นั่นแล้วเอาผมไปเป็นเพื่อน เดินผ่านตึกเหลืองทีไรก็นึกประหลาดใจว่าเป็นวังเก่าของใครหนอ เพิ่งมาทราบคำตอบก็ตอนแก่แล้วนี่แหละ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 06 มี.ค. 13, 13:44

ตึกเหลือง ภาพโดยคุณ akkarachai



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 06 มี.ค. 13, 18:54

นอกจากนี้แล้วความสัมพันธ์ระหว่างพระสรรพการ กับธนาคารสยามกัมมาจล ท่านได้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นอันดับที่ ๒ รองจากพระยาพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย โดยเป็นผู้ลงเงินทุนร่วมกัน และพระสรรพการก็ได้เข้าดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการในธนาคารอีกด้วย

ผู้จัดการธนาคารสยามกัมมาจลเวลานั้นมี ๒ คนคือ พระสรรพการหิรัญกิจ (เชย อิศรภักดี - ต่อมาคือพระอรรถวสิษฐ์สุธี) เป็นผู้จัดการฝ่ายในประเทศ และ Herr. P. Schwaeze ชาวเยอรมัน เป็นผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศ 



 
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 06 มี.ค. 13, 19:04

หนังสือราชกิจจานุเบกษา เรื่อง โอนที่ดินบ้านสามเสนปาร์กให้แบงก์สยามกัมมาจล โดยที่ดินด้านหนึ่งติดกับที่ดินของพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 06 มี.ค. 13, 19:13

เบื้องต้นทราบว่าบ้านพระสรรพการนั้นคงนำบ้านเข้าไปจดจำนองกับทางธนาคาร หรือไม่ก็กู้เงินจากธนาคารมาเพื่อก่อสร้างบ้านที่ใช้เงินมากมายขนาดนี้ นอกจากนี้แล้วความสัมพันธ์ระหว่างพระสรรพการ กับธนาคารสยามกัมมาจล ท่านได้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นอันดับที่ ๒ รองจากพระยาพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย โดยเป็นผู้ลงเงินทุนร่วมกัน และพระสรรพการก็ได้เข้าดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการในธนาคารอีกด้วย

พระสรรพการ กับธนาคารสยามกัมมาจล ท่านได้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นอันดับที่ ๒ รองจากพระยาพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย จัดตั้งบริษัท แบงก์สยามกัมมาจลทุน จำกัด เมื่อพ.ศ. ๒๔๔๙ เวลาถ่ายรูปพระสรรพการก็จะอยู่ในตำแหน่งกลางเสมอ  (ที่มา ศิลปวัฒนธรรม เดือนกันยายน ๒๕๔๓)
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 06 มี.ค. 13, 19:18

ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศถอดพระสรรพการหิรัญกิจ



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 06 มี.ค. 13, 19:48

ข้อมูลของคุณหนุ่มสยามแสดงว่าพระสรรพการหิรัญกิจเป็นคนมีเงินมาก่อน จึงได้รับความไว้วางพระทัยจากกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ให้เป็นผู้รับผิดชอบทางการเงินการทอง ตามความเชื่อว่ารวยแล้วคงจะไม่โกง ซึ่งพิสูจน์กันมาหลายครั้งแล้วว่าความเชื่อดังกล่าวนี้เชื่อไม่ได้

เรามาค่อยๆอ่านกันไปนะครับ ข้างล่างนี้มาจากประวัติของธนาคารไทยพาณิชย์

บุคคลัภย์เปิดดำเนินการในวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ โดยมีพระสรรพการหิรัญกิจ เป็นผู้จัดการดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ โดยรับเงินฝาก ซึ่งกำหนดจ่ายดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละ ๗.๕ ปรากฎว่ามีเงินฝากที่ระดมได้เป็นจำนวน ๘๐,๐๐๐ บาทเศษ ในเวลาอันสั้นนี้เมื่อนำมารวมเข้ากับทุนของบุคคลัภย์แล้ว ได้นำไปให้กู้ยืมในธุรกิจเกี่ยวกับที่ดิน สิ่งก่อสร้างและรับจำนองเป็นส่วนใหญ่

หลังจากเปิดดำเนินธุรกิจได้ ๓ เดือนแล้ว กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ทรงพิจารณาเห็นว่า กิจการของบุคคลัภย์สามารถดำเนินการไปได้ดี มีปริมาณเงินรับและจ่ายได้ไม่ติดขัด จึงได้เริ่มก้าวเข้ามาประกอบธุรกิจ ในด้านการเบิกถอนเงินด้วยเช็ค ในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๔๗ โดยที่บุคคลัภย์เป็นกิจการที่ดำเนินงานด้วยชาวไทย สามารถให้บริการตลอดจนชี้แจงระบบการหักบัญชี การโอนเงินด้วยเช็คแก่ลูกค้าไทย จีนได้เป็นอย่างดี บรรดาพ่อค้า นักธุรกิจและทางราชการ จึงนิยมใช้บริการกันอย่างมากมาย ปริมาณเงินรับเข้าและจ่ายออกจึงสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเฉลี่ยแล้ว จากเดิมมีเงินรับเข้าประมาณ ๕๐,๐๐๐ บาทเศษต่อเดือน ก็เพิ่มเป็น ๕๐๐,๐๐๐ บาทเศษต่อเดือน ส่วนเงินจ่ายก็เพิ่มขึ้นจากระดับ ๕๐,๐๐๐ บาทเศษต่อเดือน เป็น ๓๐๐,๐๐๐ บาทเศษต่อเดือน หลังจากการประกอบธุรกิจที่กล่าวครบ ๔ เดือน ก็พอดีกับเป็นเวลาสิ้นปี เมื่อปิดงวดบัญชีสิ้นปีแล้ว ปรากฏว่ามีผลกำไรอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ อันเป็นเครื่องชี้ว่า การดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ของบุคคลัภย์ สามารถดำเนินการไปได้ดี กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย จึงตัดสินพระทัย ที่จะเริ่มประกอบธุรกิจด้านการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะด้านการแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งเป็นธุรกิจที่สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศผูกขาดไว้ทั้งหมด
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 06 มี.ค. 13, 19:56

ครั้นเริ่มศักราชใหม่ในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๔๘ บุคคลัภย์จึงเริ่มดำเนินธุรกิจด้านการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเงินตราขึ้นอีกประเภทหนึ่ง นอกจากนี้โดยที่บรรดาพ่อค้าไทยและจีน โดยเฉพาะพ่อค้าข้าวและกิจการโรงสีข้าว ซึ่งเป็นสินค้าออกที่สำคัญของไทยขณะนั้น พ่อค้าเหล่านี้ไม่ใคร่ได้รับความเอาใจใส่จากสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมาก่อน เมื่อมีธนาคารที่ให้บริการโดยมิได้มีข้อแตกต่างกันระหว่างลูกค้า จึงต่างก็นิยมมาใช้บริการของ บุคคลัภย์กันอย่างมากมาย ปริมาณเงินรับเข้าจึงทวีขึ้นเป็นจำนวนถึง ๑.๑๔ ล้านบาทต่อเดือน ในขณะที่มีเงินจ่ายสูงขึ้นเป็นจำนวน ๑ ล้านบาทต่อเดือน และเมื่อได้ดำเนินงานมาครบปี และปิดงวดบัญชีแล้วปรากฏว่ามีผลกำไรสูงอย่างไม่คาดคิดมาก่อนถึง ๙๐,๐๐๐ บาทเศษ นับว่าธุรกิจด้านการค้าระหว่างประเทศประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม และเป็นธุรกิจที่สร้างผลกำไรให้กับบุคคลัภย์อย่างมากมาย

จากการทดลองดำเนินงานธนาคารพาณิชย์ แล้วขยายขอบเขตของธุรกิจให้กว้างขึ้นเรื่อย ๆ จนประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีเช่นนี้ เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า หากจะดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์เต็มตัวแล้ว ด้วยปริมาณของธุรกิจในขณะนั้น ประกอบเข้าด้วยกับการที่พนักงานของบุคคลัภย์ ก็มีประสบการณ์พอสมควรแล้ว ก็คงจะสามารถดำเนินกิจการธนาคารไปได้ตลอดรอดฝั่ง

กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย จึงทรงตัดสินพระทัยที่จะตั้งธนาคารพาณิชย์ขึ้นดำเนินงานอย่างเปิดเผย โดยกำหนดเงินทุนไว้เป็นจำนวน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท แบ่งออกเป็นหุ้นจำนวน ๓,๐๐๐ หุ้น ราคา ๑,๐๐๐ บาทต่อหุ้น โดยที่ทรงตระหนักดีถึงความสำคัญของธุรกิจด้านการค้าต่างประเทศ ดังนั้นเพื่อให้ธนาคารที่จะทรงตั้งขึ้น สามารถดำเนินธุรกิจด้านนี้ได้อย่างกว้างขวาง มีตัวแทนอยู่ในทวีปยุโรป รวมทั้งเพื่อให้พนักงานของธนาคารได้มีโอกาสเรียนรู้ วิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับการติดต่อด้านการค้าต่างประเทศ พระองค์จึงทรงเชิญชวนให้ดอยซ์เอเชียติสแบงก์ (Deutsch Asiatische Bank) ของประเทศเยอรมนี และเดนดานส์เกลานด์มานด์ส แบงก์ (Den Danske Landmancls Bank) ธนาคารจากประเทศเดนมาร์ก เข้ามาร่วมถือหุ้นด้วยจำนวน ๓๓๐ หุ้น และ ๒๔๐ หุ้น ตามลำดับ และเมื่อทรงจำหน่ายหุ้นได้ครบแล้ว จึงทรงยื่นขอเปลี่ยนกิจการบุคคลัภย์เป็นธนาคารพาณิชย์ต่อทางราชการ


ช่วงนี้เองที่ Twentieth Century Impressions in Siam มารู้จักและประทับใจในตัวพระสรรพการหิรัญกิจมาก
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 06 มี.ค. 13, 20:00

ยุคแบงค์สยามกัมมาจล

บริษัทแบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด เปิดดำเนินการในอาคารที่ทำการของ บุคคลัภย์เดิม ที่ตำบลบ้านหม้อ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ โดยมีพระสรรพการหิรัญกิจ เป็นผู้จัดการฝ่ายในประเทศ และนายเอฟ คิเลียน ตัวแทนผู้ถือหุ้นชาวต่างประเทศ สัญชาติเยอรมัน เป็นผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศ ในการเปิดดำเนินกิจการธนาคารขึ้นนี้ คณะผู้จัดตั้งได้ขอพระราชทานตราอาร์มแผ่นดิน มาเป็นตราประจำธนาคารมาตั้งแต่ต้น

การดำเนินธุรกิจนั้น แบงก์สยามกัมมาจล มีการรับฝากเงินตามปกติทั่วไปของธนาคารพาณิชย์ แต่ที่พิเศษ ได้แก่ การเสนอให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๒ ต่อปี แก่ลูกค้าที่มีเงินเหลือในบัญชีเดินสะพัด นับว่าลูกค้าจะได้ประโยชน์จากเงินของตน ที่เหลือจากการหักบัญชีด้วยเช็คอย่างเต็มที่ บริการด้านนี้ได้สร้างความนิยมในหมู่ลูกค้าเป็นอย่างสูง นอกจากนั้น ก็เป็นการให้สินเชื่อเกี่ยวกับ การค้าและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนกิจการโรงสีข้าว ซึ่งเป็นผลิตผลหลักของประเทศ เป็นสำคัญ

ในด้านของบริการที่ให้แก่การค้าระหว่างประเทศนั้น โดยที่ปริมาณการส่งข้าวออกไปต่างประเทศสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากที่เคยส่งออกเฉลี่ยเป็นจำนวน ๓,๘๕๐,๐๐๐ หาบต่อปี ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๑๘ – ๒๔๒๒ การส่งออกข้าวได้เพิ่มขึ้นถึงเฉลี่ยปีละ ๑๔,๗๖๐,๐๐๐ หาบต่อปี ใน พ.ศ. ๒๔๕๐ ประกอบกับธนาคารมีตัวแทนในทวีปยุโรป สามารถอำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างมาก ทั้งพ่อค้าข้าวทั้งไทยและจีน ซึ่งควบคุมการค้าข้าวของประเทศไทยไว้ได้เกือบทั้งหมด มีความนิยมมาใช้บริการของธนาคารมากกว่าจะไปติดต่อกับธนาคารอื่นๆ ซึ่งไม่สะดวกในการใช้ภาษาในการตกลงเงื่อนไขต่าง ๆ ดังนั้นปริมาณธุรกิจด้านการค้าระหว่างประเทศ จึงเป็นธุรกิจที่สำคัญมากด้านหนึ่งของธนาคารในทันทีที่เปิดดำเนินธุรกิจ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้แบงก์สยามกัมมาจล ตกลงว่าจ้างให้ นาย พี ชวาร์ตเช่ (Mr. P.Schwarze) ชาวเยอรมันที่ธนาคารเยอรมันสาขาเมืองเซี่ยงไฮ้ ส่งเข้ามาแทน นาย เอฟ คิเลียน เป็นผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศต่อไป


ผู้จัการฝ่ายในประเทศกับผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศคงไม่ได้ก้าวก่ายหน้าที่ในความรับผิดชอบของแต่ละคน พระสรรพการหิรัญกิจจะปล่อยเงินกู้ให้ใคร ฝรั่งก็คงไม่ได้รับรู้แต่ต้น
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 06 มี.ค. 13, 20:06

หลังจากที่แบงก์สยามกัมมาจล เปิดดำเนินการเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรก และสามารถดำเนินงานได้ราบรื่น ก็เป็นตัวอย่างให้บรรดาผู้มีฐานะและพ่อค้าชาวจีนในกรุงเทพฯ พากันยื่นขออนุญาตเปิดธนาคารพาณิชย์ขึ้นอีกหลายแห่ง ได้แก่ บริษัท แบงก์ยู่เส็งเฮง พ.ศ. 2450 บริษัท บางกอกซิตี้แบงก์ จำกัด พ.ศ. 2452 บริษัท แบงก์มณฑล จำกัด

ตรงนี้มีข้อความหนึ่งผมหาเจอในเวปลงไว้ว่า พ.ศ. ๒๔๕๓ เปิดบริษัทแบงก์มณฑล ทุนจำกัด ของนายเชย สรรพาพร
นายเชย สรรพาพรจะเป็นคนเดียวกับ พระสรรพการหิรัญกิจ (เชย) หรือเปล่า ท่านก็ต้องเดาเอาเอง

บริษัทแบงก์มณฑล ทุนจำกัด หาข้อมูลยากในเวป แต่มีธนาคารมณฑลเกิดในยุคก่อนสงครามอีกแห่งหนึ่ง ผู้ถือหุ้นไม่เกี่ยวกัน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 06 มี.ค. 13, 20:21

การที่แบงก์สยามกัมมาจล ยังคงเปิดดำเนินการในอาคารเดิมของบุคคลัภย์ ในขณะที่มีปริมาณธุรกิจสูงขึ้น ทั้งมีพนักงานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงทำให้จำเป็นต้องแสวงหาที่ทำการใหม่ หลังจากซื้อที่ดินย่านตลาดน้อย ติดกับตำบลสำเพ็งย่านธุรกิจที่สำคัญ และสร้างสำนักงานชั่วคราวขึ้น เมื่อได้ย้ายเข้าไปทำงานในสำนักงานชั่วคราวแล้ว จึงลงมือก่อสร้างสำนักงานแห่งใหม่จนแล้วเสร็จ แบงก์สยามกัมมาจล จึงย้ายขึ้นไปทำการในตัวตึกสำนักงานตลาดน้อยในพ.ศ. ๒๔๕๓ และได้เปิดบริการด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ได้แก่ เงินฝากสงวนทรัพย์ หรือเงินฝากออมทรัพย์ขึ้นดำเนินการเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อช่วยให้ประชาชนรู้จักออมทรัพย์ ซึ่งมีที่เก็บที่ปลอดภัยและได้รับผลตอบแทนตามสมควรขึ้น

นอกจากนี้ยังได้ริเริ่ม นำบริการเงินฝากประจำ เงินฝากเผื่อเรียก (Deposit at call) และการให้กู้เบิกเกินบัญชีขึ้นอีกเช่นกัน แต่อย่างไรก็ดีในช่วงแห่งการขยายตัว ในด้านการให้บริการเพิ่มขึ้น ณ ที่ทำการชั่วคราวแห่งใหม่นี้ ผู้ถือหุ้นชาวต่างประเทศได้ขอถอนหุ้นทั้งหมด และผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศก็ขอลาออก ดังนั้น แบงก์สยามกัมมาจล จึงไม่มีผู้ถือหุ้นสำคัญเป็นชาวต่างประเทศมาตั้งแต่ครั้งนั้น

ในปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๕๒ ถึง ๒๔๕๓ นี้ เป็นช่วงที่เศรษฐกิจการค้า ฝืดเคือง เนื่องจากผลิตข้าวได้น้อย การค้าข้าวตกต่ำทำให้พ่อค้าข้าวต้องเลิกกิจการไปจำนวนมาก และหนี้ของธนาคารหลายแห่งกลายเป็นหนี้เสียไป บริษัทแบงก์ยู่เสงเฮง จึงได้รับเอากิจการ บริษัท บางกอกซิตี้แบงก์ ทุนจำกัด เข้ามารวมกันและตั้งชื่อใหม่ว่า บริษัท แบงก์จีนสยามทุน จำกัด ใน พ.ศ. ๒๔๕๓ โดยมีเงินทุนจำนวน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท แต่ภาวการณ์ค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการค้าข้าวก็ยังคงตกต่ำติดต่อกันมาอีกหลายปี บริษัท แบงก์จีนสยาม ซึ่งขาดเงินทุนหมุนเวียนอยู่แล้วจึงต้องเลิกกิจการ แบงก์สยามกัมมาจล ซึ่งมีตัวแทนธนาคารอยู่ในตึกที่ทำการเดียวกันก็ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเป็นจำนวนถึง ๕ ล้านกว่าบาท จึงต้องเพิ่มทุนอีกจำนวน ๓ ล้านบาท พร้อมทั้งปรับปรุงองค์กรใหม่ โดยให้มีผู้จัดการเพียงคนเดียวและให้นายวิลเลเก (Mr.A.Willeke) ชาวเยอรมันซึ่งมาจากธนาคารเยอรมันที่เซี่ยงไฮ้ส่งมาแทน นายชวาร์ตเช่ ดำรงตำแหน่งนี้ต่อมา


ครับ ท่อนนี้มีสาระสำคัญน่าที่จะกล่าวถึง คือเมื่อย้ายที่ทำการธนาคารมาที่ตลาดน้อยไม่นาน ฝ่ายฝรั่งเกิดไม่พอใจนโยบายบางประการที่มิได้ระบุให้ชัดเจนว่าอะไร ถึงกับถอนตัวและผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศลาออก ช่วงนั้นพระสรรพการหิรัญกิจเป็นผู้จัดการแต่เพียงคนเดียว ไม่นานก็เกิดวิกฤตการณ์ เริ่มจากวงการค้าข้าวแล้วกระทบเป็นลูกโซ่มาที่ธนาคาร ลูกค้าใหญ่ไม่มีเงินชำระหนี้ หลายแบงก์ล้มเพราะคนแห่ไปถอนเงิน
ในช่วงนี้สยามกัมมาจลก็อยู่ในขั้นโคม่า และคงมีการตรวจสอบลูกหนี้รายใหญ่ที่ไม่มีความสามารถจะชำระหนี้ได้ แล้วไปจ๊ะเอ๋ว่าผู้จัดการก็เป็นลูกหนี้ประเภทนี้ด้วย

พระสรรพการหิรัญกิจจึงมีอันต้องออกจากธนาคารในปีนี้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.08 วินาที กับ 20 คำสั่ง