เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 12
  พิมพ์  
อ่าน: 109476 บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 06 มี.ค. 13, 20:29

เรื่องดังกล่าวนี้ มีงานวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผมโยงไว้ให้แล้วข้างล่าง

www.polsci.chula.ac.th/sumonthip/buss-crimefinance.doc

ที่ระบุถึงกรณีย์พระสรรพการหิรัญกิจมีดังนี้

การที่แบงก์สยามกัมมาจลก็ดำเนินนโยบายการกู้เงินเช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ต่างชาตินั้น เป็นเพราะผู้ถือหุ้นชาวไทยไม่ค่อยมีบทบาท แม้จะมีหุ้นมากกว่าก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากการฉ้อโกงของผู้บริหารชาวไทย ทำให้การบริหารเป็นไปตามนโยบายของผู้ถือหุ้นต่างชาติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระราชประสงค์จะให้คนไทยมีบทบาทในการบริหารกิจการธนาคารมากยิ่งขึ้น ดังพระราชดำรัสในการประชุมเสนาบดีสภา วันที่ 12 ธันวาคมพ.ศ.2453 ความว่า

“เรื่องแบงก์ได้ลองคิดแก้ไขอยู่บ้างแล้วตามการที่เป็นมา เมื่อพระสรรพการออกจากผู้จัดการแบงก์สยามกัมมาจลแล้ว คงมีแต่มิสเตอร์สวาชเป็นผู้จัดการผู้เดียว เมื่อเป็นเช่นนี้เขาก็เดินปอลิซีที่จะให้เป็นของฝรั่งไปอย่างเดียว……ควรจะมีผู้จัดการฝ่ายไดไทยด้วยพอจะได้กำกับกัน แลอย่างต่ำก็พอรู้ว่าเขาจะทำอย่างไร…”

ปัญหาการทุจริตของแบงก์สยามกัมมาจลที่สำคัญเกิดขึ้น 2 ครั้ง ครั้งแรกนั้นเป็นเพราะพระสรรพการหิรัญกิจ(เชย) ผู้อำนวยการฝ่ายไทยถอนเงินไปจนเกิดความเสียหายขึ้นในปี ร.ศ.129 (พ.ศ.2453) ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ถือหุ้นต่างชาติเข้ากำกับดูแลนโยบายของธนาคารเสียเองเป็นส่วนใหญ่ ดังข้อความในรายงานเสนาบดีสภาเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ร.ศ.129 ว่า

“….กรมหลวงดำรงรับสั่งว่า บริษัทนี้ตามพระบรมราชานุญาตมีกำหนดเงินทุนไว้ว่า ฝรั่งจะเข้าหุ้นส่วนเกินกว่าส่วนหนึ่งในสามไม่ได้ แต่ที่จริงทุนฝรั่งที่มีอยู่เดี๋ยวนี้ส่วนหนึ่งในห้าเท่านั้น แลในข้อบังคับของแบงก์มีอยู่ว่าต้องมีผู้อำนวยการไทย 1 ฝรั่ง 1 และถ้าผู้อำนวยการจะถอนเงินมีกำหนดตั้งแต่เท่านั้นเท่านี้ขึ้นไปต้องบอกกรรมการ แต่ก่อนก็มีผู้อำนวยการไทย 1 ฝรั่ง 1 แต่ต่างคนต่างทำการไปไม่รู้ถึงการ พระสรรพการจึงถอนเงินโดยไม่บอกกรรมการได้ จนต้องออกจากผู้อำนวยการ การที่ต่างคนต่างทำไม่มีใครกำกับใครเช่นนี้จึงเกิดการเสียหายขึ้น เมื่อเกิดการเสียหายขึ้นแล้วไทยต้องเสีย 4 ส่วนฝรั่งเสียส่วนเดียว…”
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 06 มี.ค. 13, 20:42

ช่วงชีวิตที่ขึ้นสู่จุดสูงสุด ได้เป็นเอกอัครมหาเศรษฐีของพระสรรพการหิรัญกิจดูจะสั้นมาก ดังTime lineที่ผมสรุปไว้ให้ดังนี้

๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ ก่อตั้งบุคคลัภย์ ได้เป็นเป็นผู้จัดการ ประสพความสำเร็จทางธุรกิจงดงาม
พ.ศ. ๒๔๔๘  คงคิดว่าตนจะรวยแท้แน่นอน จึงเริ่มสร้างบ้าน
 ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ “บุคคลัภย์” แปลงโฉมเป็นธนาคารในนาม "บริษัท แบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด"
๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๔๙ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย กราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๐ เจ้านายโดยตรง พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัยสิ้นพระชนม์
๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๑ บ้านหิมพานต์ก่อสร้างแล้วเสร็จ เปิดป๊ากสามเสน
พ.ศ. ๒๔๕๓ เปิดบริษัทแบงก์มณฑล ทุนจำกัด ของนายเชย สรรพาพร (?)
พ.ศ. ๒๔๕๓ แบงก์สยามกัมมาจลย้ายสำนักงานไปอาคารใหม่ที่ตลาดน้อย
พ.ศ. ๒๔๕๓ พระสรรพการหิรัญกิจออกจากผู้จัดการแบงก์สยามกัมมาจล
พ.ศ. ๒๔๕๔ พระสรรพการหิรัญกิจ ถูกฟ้องล้มละลาย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 06 มี.ค. 13, 20:53

จากเวปของคณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล

ที่ตั้งวชิรพยาบาลแต่เดิมทีเดียว(ไม่รวมที่ดินแปลงใหม่ที่ได้จัดซื้อเพื่อขยายเขตต์โรงพยาบาลไปจดริมแม่น้ำเจ้าพราะยาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙) คือ ผืนที่ดินซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ ๒๗ ไร่เศษ สิ่งก่อสร้างที่สำคัญมีตึกแบบเก่าขนาดใหญ่ ๒ หลัง ที่เคยมองเห็นจากด้านหน้าโรงพยาบาล เดิมเป็นบ้านเลขที่ ๖๗๑ ถนนสามเสน อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร ของพระสรรพการหิรัญกิจ (นายเชย สรรพการ) ตึกเก่า ๒ หลังนี้ หลังใหญ่เป็นตึก ๓ ชั้น (ไม่นับชั้นล่างสุดซึ่งเป็นพื้นซีเมนต์) ส่วนหลังเล็กเป็นตึก ๒ ชั้น ทั้ง ๒ หลังเป็นตึกแบบโบราณพื้นไม้สัก ตัวตึกไม่ปรากฏโครงเหล็กผนังตึกก่ออิฐถือปูนหนาไม่น้อยกว่าหนึ่งฟุตครึ่ง ลักษณะเดิมสลักเสลามาก ทราบว่าได้ถูกลบลวดลายออกให้ภายในตึกเป็นแบบเรียบๆ เสียมากตั้งแต่เริ่มใช้เป็นสถานพยาบาล แม้กระนั้นก็ยังปรากฏลวดลายสวยงามตามฝา เพดานประตู หน้าต่าง อีกหลายแห่ง แบบคฤหาสน์โบราณ มุขด้านหลังตลอดจนบันไดด้านหลังเป็นหินอ่อนนอกจากนั้นยังมีเรือนไม้ลักและกระโจมไม้สัก ซึ่งมีแบบและลวดลายพร้อมด้วยกระจกหลากสีสวยงามแบบโบราณ ส่วนบริเวณทั่วไปมีทั้งที่ราบเนินดินสูง อุโมงค์ ภูเขาจำลอง โขดหิน ต้นไม้ใหญ่น้อยประดับประดาเป็นจำนวนมาก และมีทั้งทางคดเคี้ยวไปมาแบบเดินในสวนสาธารณโบราณ สถานที่นี้ปรากฏในเอกสารบางฉบับ เรียกชื่อว่า “หิมพานต์ปาร์ค” ภายในปาร์คนี้มีคลองโดยรอบสี่เหลี่ยม ตามรูปที่ดินแล้วบรรจบกันไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาเรียกชื่อว่า “คลองอั้งโล่” ขณะนี้บางตอนของคลอง ทางด้านหน้าและด้านหลังของโรงพยาบาลได้ถมดินหมดสภาพของคูคลองไปบ้างแล้ว

ที่ดินและตึกรวมทั่งสิ่งปลูกสร้างในปาร์คนี้ ต่อมาได้ตกเป็นกรรมสิทธิของแบงค์สยามกันมาจลทุนจำกัดจนกระทั่ง ร.ศ.๑๓๑ (พ.ศ.๒๕๕) พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดซื้อที่ดิน พร้อมด้วยตึกและสิ่งปลูกสร้าง (ที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๔๕/๓๓๕๔-๕/อ เลขที่ ๑๙) ในราคา ๒๔๐,๐๐๐ บาท ทรงมอบให้กรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาล เป็นผู้ปกปักษ์รักษาใช้เป็นสถานพยาบาลช่วยเหลือประชาชนผู้เจ็บป่วย



พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาเปิดโรงพยาบาลด้วยพระองค์เองเมื่อวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๕ (แต่ในรูปนี้ดูเหมือนสมเด็จกรมพระยาดำรงฯจะกำลังทรงกระทำพิธีเปิดประตูใหญ่อยู่ มีพระสรรพการหิรัญกิจยืนอยู่ใกล้ๆ เห็นจะเป็นวันเปิดสามเสนป๊ากเสียละกระมัง-navarat.c)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 07 มี.ค. 13, 08:54

คำจำกัดความนี้ผมไม่ได้ว่าเอง แต่มาจากคำสรรเสริญของฝรั่งในยุคนั้น ความว่า “บ้านส่วนตัวของเขานั้น มีชื่อเสียงร่ำลือกันว่างามที่สุดในกรุงเทพที่อยู่นอกพระราชวัง”

ในหนังสือ "สารจากนครพิงค์ถึงบางกอก" ซึ่งเขียนเป็นจดหมายโต้ตอบกันแบบ "สาส์นสมเด็จ" ระหว่าง "พลูหลวง" (ประยูร อุลุชาฏะ) และ ส.ตุลยานนท์ กล่าวถึงเรื่องนี้ทำนองเดียวกัน

พระอรรถวสิษฐ์สุธี ได้สร้างบ้านอย่างใหญ่โต เพราะความเป็นเศรษฐี เลียนแบบพระที่นั่งอัมพรสถานทุกประการ ในวันขึ้นบ้านใหม่ รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จราชดำเนินไปในงานและทรงมีลายพระหัตถเลขาถึงพระราชชายาเจ้าดารารัศมี (ซึ่งขณะนั้น เสด็กลับไปเยี่ยมนครเชียงใหม่) ได้เล่าในลายพระหัตถเลขาว่า ไปขึ้นบ้านใหม่พระสรรพการ (บรรดาศักดิ์ขณะนั้น) พระที่นั่งอัมพรสถานเป็นอย่างไร ที่บ้านนั้นก็อย่างนั้นทุกอย่าง ชั่วแต่ขนาดเล็กกว่า

ลองเปรียบเทียบดู  บน - พระที่นั่งอัมพระสถาน  ล่าง - บ้านของพระสรรพการหิรัญกิจ




บันทึกการเข้า
giggsmay
ชมพูพาน
***
ตอบ: 135


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 07 มี.ค. 13, 09:30

 :Dอย่างนี้แบบที่โบราณบอกไว้เหรอเปล่าคะว่า ทำเทียมเจ้าเทียมนาย จัญไรจะกินหัว  รูดซิบปาก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 07 มี.ค. 13, 10:31

ภรรยาของท่านคือคุณทรัพย์ ธิดาของขุนนางผู้ใหญ่อีกท่านหนึ่งของสยาม

ในหนังสืองานศพของท่านใช้ชื่อว่า "นางอรรถวสิษฐ์สุธี (ทรัพย์ ยมาภัย)"



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 07 มี.ค. 13, 10:45

กำลังนึกคำเดียวกับคุณกิ๊กอยู่เลยค่ะ   รูดซิบปาก

ถ้ามองว่าคุณพระเอาเงินชาวบ้านที่ฝากแบงค์มาลงทุนสร้างบ้านหิมพานต์และสามเสนป๊าก   ก็ไม่แปลกใจว่าทำไมกลายเป็นหนี้ NPL  เพราะเป็นการลงทุนที่ไม่มีผลตอบแทนขึ้นมาเลยก็ว่าได้   คุณพระจะเอาเงินที่ไหนไปจ่ายดอกเบี้ยให้แบงค์สยามกัมมาจลได้ไหว    ไม่ต้องพูดถึงเงินต้นด้วยซ้ำ
เงินจำนวนมหาศาลถูกถมจมลงไปในตึก  ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ดูดเงินให้จมหาย   ไม่ก่อผลผลิตใดๆ     นอกจากค่าก่อสร้างที่ดิฉันแน่ใจว่าเกิน 80,000 บาทไปหลายเท่าแล้ว  ค่าบำรุงรักษาและดูแลอีกล่ะ เท่าไหร่   เดือนนึงต้องจ่ายเงินก้อนโตทีเดียว   ตัวอย่างง่ายๆ ในบ้านนี้มีโรงละครส่วนตัวด้วย ก็แปลว่าต้องเลี้ยงพวกละครและดนตรี  หรือต่อให้ไปจ้างมาเล่น ก็เป็นรายจ่ายที่ไหลออกอย่างเดียว ไม่มีไหลเข้า เพราะท่านไม่ได้เปิดให้ประชาชนเข้าชม

อย่างเดียวที่คุณพระกำหนดให้เป็นรายได้กลับเข้ามาคือค่าเข้าชมป๊ากปีละ 200 บาท กับ 100 บาท    ในปลายรัชกาลที่ 5 ที่ครอบครัวใหญ่ๆอยู่กันหลายสิบคนจ่ายค่ากับข้าววันละ 1 บาทก็พอกิน   ปลาทูเข่งละ 1 สตางค์   เงิน 200 บาทน่าจะสร้างเรือนไม้หลังเล็กๆให้ชาวบ้านอยู่ได้ 1 หลังทีเดียว
เพราะฉะนั้น  ในสยามจะมีเศรษฐีกี่คนยอมควักกระเป๋าจ่ายเงิน 200 บาทตั้งแต่ต้นมือ เพื่อจะได้พาลูกเมียจำนวนรวมแล้วไม่เกิน 2 คนเข้าไปเดินชมบ้านและสวน  เป็นเวลา 1 ปี     เดินชมสวนมันก็ไอ้แค่นั้นแหละ  ใครจะทนชมกันได้ 365 วันต่อปี หรืออาทิตย์ละครั้งรวมเป็น 52 ครั้ง   ไม่เบื่อกันบ้างหรือ    ถ้าจะเอาเพื่อนฝูงไปสังสรรค์เฮฮา เพื่อนก็ต้องควักกระเป๋าซื้อเหรียญด้วย  เพราะเจ้าของบ้านเล่นกำจัดจำนวนคนถูกพาเข้า
ดิฉันคิดว่าต่อให้คุณพระแถมให้แขกได้พักฟรี 1 ปีรวด เป็นบริการหลังการขายค่าเข้าชม โดยโรงแรม 6 ดาวหลังแรกในประวัติศาสตร์ไทย  เหรียญทองราคา 200 บาท  ก็ยังแพงไปด้วยซ้ำสำหรับกระเป๋าเศรษฐีสยามยุคนั้น


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 07 มี.ค. 13, 11:42

ใน หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนายประสงค์ อิศรภักดี วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๕

เนื้อหาส่วนหนึ่งเป็นคำทำนายฝัน ประมวลตามความเชื่อ ตามคติชาวบ้าน โดย อำมาตย์โท พระอรรถวสิษฐ์สุธี(เชย อิศรภักดี) เรียบเรียงไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 07 มี.ค. 13, 11:48

หมายความว่าคุณพระ ได้รับคืนบรรดาศักดิ์เป็นพระอรรถวสิษฐ์สุธี ตามเดิม   ฮืม  ฮืม  ฮืม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 07 มี.ค. 13, 11:56

ในหนังสือประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ ได้กล่าวถึงพระสรรพการหิรัญกิจว่า

แฮร์ ปี. ชว๊าร์ซ (Herr. P. Sxhwarze), ผู้จัดการแบงก์สยามกัมมาจลถวายฎีกา มีใจความว่า ในชั้นตนแบงก์สยามกัมมาจลได้แคยมีผู้จ้ดการ ๒ คน, เปนไทยคน ๑. พระสรรพการหิรัญกิจ (เชย อิศรภักดี, ภายหลังเปนพระอรรถวสิษฐ์สุธี) ผู้จัดการฝายไทย, ได้ทำการยุ่งเหยิงไว้มากจนต้องออกแล้ว, ผู้ถวายฎีกาได้เปนผู้จัดการโดยลำพังสืบมา, ได้อุตสาหะจัดการแก้ไขการที่พระสรรพารได้ทำยุ่งไว้จนแบงก์ต้องเสียหายน้น จนเปนที่เรียบร้อย, โดยชักเอากำไคจากทางแพนกการต่างประเทศของแบงก์น้นมาเจือจานและได้จัดการงานให้ดำเนิรมาโดยเรียบร้อยตลอด......

ประมวลจากเอกสารข้างบนจึงเป็นที่ทราบแน่ชัดว่า หลังจากที่พระสรรพการหิรัญกิจถูกถอดยศใน ร.ศ. ๑๓๐ (พ.ศ. ๒๔๕๔) แล้ว คงได้กลับเข้ารับราชการอีกเป็น "พระอรรถวสิษฐ์สุธี" อย่างน้อยก็ก่อน พ.ศ. ๒๔๖๗

ส่วนรายละเอียดการกลับเข้ารับราชการเป็นเช่นใดนั้น คงต้องสืบสวนกันต่อไป

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 07 มี.ค. 13, 14:13

ได้แต่เดาว่าคุณพระคงจะเคลียร์หนี้สินได้หมดแล้ว    ส่งเงินคืนแบงค์สยามกัมมาจล รวมดอกเบี้ยด้วย    จึงได้รับโปรดเกล้าฯพระราชทานบรรดาศักดิ์คืน
ในราชกิจจาฯ น่าจะมีเรื่องนี้นะคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 07 มี.ค. 13, 15:09

นามสกุล "อิศรภักดี" ได้รับพระราชทานเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘   พระสรรพการหิรัญกิจยังคงเป็น "นายเชย" อยู่

หมายเหตุ นายช่วง เดิมคือ หลวงประสารอักษรพรรณ (อยู่ในประกาศเดียวกับนายเชย ครา ร.ศ. ๑๓๐)



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 07 มี.ค. 13, 15:34

ช่วงชีวิตที่ขึ้นสู่จุดสูงสุด ได้เป็นเอกอัครมหาเศรษฐีของพระสรรพการหิรัญกิจดูจะสั้นมาก ดังTime lineที่ผมสรุปไว้ให้ดังนี้

๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ ก่อตั้งบุคคลัภย์ ได้เป็นเป็นผู้จัดการ ประสพความสำเร็จทางธุรกิจงดงาม
พ.ศ. ๒๔๔๘  คงคิดว่าตนจะรวยแท้แน่นอน จึงเริ่มสร้างบ้าน
 ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ “บุคคลัภย์” แปลงโฉมเป็นธนาคารในนาม "บริษัท แบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด"
๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๔๙ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย กราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๐ เจ้านายโดยตรง พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัยสิ้นพระชนม์
๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๑ บ้านหิมพานต์ก่อสร้างแล้วเสร็จ เปิดป๊ากสามเสน
พ.ศ. ๒๔๕๓ เปิดบริษัทแบงก์มณฑล ทุนจำกัด ของนายเชย สรรพาพร (?)
พ.ศ. ๒๔๕๓ แบงก์สยามกัมมาจลย้ายสำนักงานไปอาคารใหม่ที่ตลาดน้อย
พ.ศ. ๒๔๕๓ พระสรรพการหิรัญกิจออกจากผู้จัดการแบงก์สยามกัมมาจล
พ.ศ. ๒๔๕๔ พระสรรพการหิรัญกิจ ถูกฟ้องล้มละลาย 

พ.ศ. ๒๔๕๔(หรือ ๒๔๕๕ ร.ศ. ๑๓๐)  พระสรรพการหิรัญกิจถูกถอดยศ
พ.ศ. ๒๔๕๘   ได้รับพระราชทานนามสกุล อิศรภักดี  ยังคงเป็น "นายเชย" อยู่
พ.ศ. ๒๔๖๗   เรียบเรียง "คำทำนายฝัน ประมวลตามความเชื่อ ตามคติชาวบ้าน" ในฐานะอำมาตย์โท พระอรรถวสิษฐ์สุธี(เชย อิศรภักดี)
พ.ศ. ๒๔๗๐   หนังสืองานศพของคุณนายทรัพย์ ยมาภัย   ใช้ชื่อว่า นางอรรถวสิษฐ์สุธี

หรือว่า คุณพระสรรพฯ จะได้คืนบรรดาศักดิ์แล้วเลื่อนขึ้นเป็นพระอรรถวสิษฐ์สุธีในภายหลัง  ฮืม ฮืม ฮืม   ถ้าเป็นเช่นนั้นก็คือท่านตกอับอยู่ไม่ถึง ๑๐ ปี
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 07 มี.ค. 13, 15:43

ข้อมูลนี้น่าสนใจ

สำหรับเบื้องหลังชีวิต ทพ.สม นั้นเป็นบุตรของ พระอรรถวสิทธิ์สุธี (เชย อิศรภักดี) ซึ่งเป็นต้นตระกูล “อิศรภักดี”  รวมถึงมีหลาน ๆ เป็นหม่อมเจ้ารวมด้วยกันทั้งหมด ๕ คน หนึ่งในนั้น คือ หม่อมเจ้าชาตรี  เฉลิมยุคล ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักกันดีในวงการภาพยนตร์ไทย

จาก บทความเรื่อง 'ทพ.สม อิศรภักดี' นักเขียนใหม่วัย 90 ปีกับหนังสือเล่มแรก

ถ้าข้อมูลนี้ถูกต้อง หมายความว่าพระอรรถวสิษฐ์สุธีนอกจากจะเป็นบิดาของทันตแพทย์สมแล้ว ยังเป็นบิดาของหม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยาด้วย

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 07 มี.ค. 13, 15:46

อีกสำนวนหนึ่งของบัญชีนามสกุลพระราชทานในหมวดอักษร อ

อิศรภักดี Isarabhakti นายช่วง (ประสารอักษรพรรณ) นายเชย (สรรพการหิรัญกิจ) กับรองอำมาตย์ตรีเคลื่อน ผู้พิพากษาศาลมณฑลพายัพ สำหรับบรรดาผู้สืบสกุลจากพระยาพรหมาภิบาล(แขก)

จากวงเล็บท้ายชื่อของบิดา หรือจะไขปริศนาว่าทำไมพระสรรพการจึงเคยท่องเที่ยวตระเวนไปทั่วมลายูและอินโดเนเซีย ตระกูลนี้ดั้งเดิมอาจเป็นมุสลิมก็ได้
อ้อ ตำแหน่งroyal guardที่ผมไปแปลว่าราชองครักษ์นั้น แท้จริงท่านเป็นพระตำรวจหลวงครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง