NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 05 มี.ค. 13, 15:43
|
|
ภรรยาของท่านคือคุณทรัพย์ ธิดาของขุนนางผู้ใหญ่อีกท่านหนึ่งของสยาม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 05 มี.ค. 13, 16:10
|
|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย(พระรูปด้านล่าง) ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีพระคลังมหาสมบัติในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าสยามจะเสียเปรียบมากหากไม่มีธนาคารพาณิชย์ของเราเองเป็นฐานรองรับการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจการเงินของประเทศ จึงทรงจัดหาเงินทุนก้อนแรกจำนวน30,000บาท เพื่อทดลองตั้งธนาคารขนาดเล็กๆขึ้นก่อนในนาม"บุคคลัภย์"(Book Club) เปิดกระทำการในวันที่ 4 เดือนตุลาคม รัตนโกสินทร์ศก 123 (พ.ศ.2448) โดยแจ้งไว้ในหนังสือบริคณฑ์สนธิว่าจะประกอบกิจการห้องสมุด คือ จะมีหนังสือประเภทต่างๆไว้บริการให้สมาชิกอ่านหรือขอยืมได้ เหตุที่ต้องพรางความจริงเช่นนั้น เพราะทรงเกรงว่าหากไม่สำเร็จจะได้ไม่อัปยศมากนัก
ออฟฟิศแห่งแรกของบุคคลัภย์ คือ ตึกแถวของพระคลังข้างที่ที่ตำบลบ้านหม้อ เมื่อก่อตั้งแล้วกรมหมื่นฯได้เริ่มสั่งซื้อพัศดุเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ให้พระสรรพการหิรัญกิจเป็นผู้จัดการ มีพนักงาน18คน มีคอมปราโดร์(Comprador)หรือนายหน้าหาคนมากู้เงินเป็นชาวจีนในสยาม 4 คน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 05 มี.ค. 13, 16:16
|
|
ลักษณะการดำเนินธุรกิจ คือ เป็นธนาคารพาณิชย์นั่นเอง โดยรับเงินฝากจากประชาชนและจ่ายดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละ 7.50 ซึ่งมีเพียงระยะแรกเท่านั้นก็มีผู้นำเงินมาฝากถึง 80,000 บาทเศษ เมื่อนำมารวมกับทุนก่อตั้งของ “บุคคลัภย์” แล้ว สามารถนำไปให้กู้ยืมไปทำธุรกิจเกี่ยวกับที่ดิน สิ่งก่อสร้าง และรับจำนองได้
หลังจากเปิดดำเนินการมาได้ 3 เดือน กิจการดำเนินไปอย่างราบรื่น และได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากชาวสยามซึ่งได้รับทราบข่าวในลักษณะปากต่อปาก “บุคคลัภย์” จึงเพิ่มธุรกรรม โดยมีการถอนเงินได้ด้วยเช็ค ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบกิจการและประชาชนต่างมีความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกันมากขึ้น และเริ่มเคยชินกับระบบบริหารการเงินแบบใหม่ในระยะเวลาอันรวดเร็ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 05 มี.ค. 13, 16:51
|
|
แต่เมื่อข่าวการยื่นขอจดทะเบียนประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ของสยามแพร่ออกไป ก็เกิดกระแสต่อต้านจากผู้บริหารธนาคารต่างประเทศที่เปิดสาขาดำเนินการอยู่ในกรุงเทพ เป็นผลให้ สถานกงสุลประเทศอังกฤษได้ยื่นบันทึกต่อกระทรวงการต่างประเทศ ในเรื่องที่เสนาบดี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ไปดำเนินกิจการธนาคารพาณิชย์แข่งขันกับเอกชน ย่อมจะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม ในที่สุด กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัยทรงเลือกที่จะกราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2449 รวมทั้งพระสรรพการหิรัญกิจด้วย ความบีบคั้นจากต่างประเทศก็หมดลง
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ทรงมีพระชนมายุสั้น สิ้นพระชนม์เมื่อ15 เมษายน พ.ศ. 2450นั่นเอง พระชันษาเพียง 42 พรรษา ไม่ทันเห็นตึกที่ทำการใหม่ของธนาคารสยามกัมมาจล ซึ่งฝ่ายกิจการภายในประเทศตกอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของพระสรรพการหิรัญกิจ อดีตข้าราชการในพระองค์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 05 มี.ค. 13, 19:39
|
|
โบกมือจอดนิด ๆ ขอหยอดแผนที่แปลนสามเสนปาร์คให้ชมกันก่อนที่จะไปเรื่องอื่นต่อไป
สามเสนปาร์ค มีแผนผังบ้านเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าออกแม่น้ำเจ้าพระยา ตัวเรือนกลุ่มประธานอยู่ค่อนมาติดถนนสามเสน มีประตูทางเข้าหลักสองประตู มีบ่อน้ำอยู่หน้าบ้านและสวนพร้อมทางเดินแบบวงกลม พื้นที่หลังบ้านมีขนาดกว้างขวางถึงสองในสาม ทำเป็นทางเดินเล่นได้กว้างขวาง มีเขาดินอยู่สี่ลูก พร้อมทำทางเดินอย่างยุโรป
รอบพื้นที่อาณาเขตบริเวณสามเสนปาร์คทั้งสามด้านจะขุดเป็นทางน้ำไว้รอบบริเวณ โดยนำน้ำมาจากคลองอั้งโล่ซึ่งขุดนำน้ำมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาอีกทอดหนึ่ง ด้านเหนือของบ้านติดกับแนวห้องแถวปลูกไว้อย่างแน่นหนา ด้านใต้ติดกับถนนสังคโลก ด้านตะวันออกติดกับถนนสามเสน ด้านตะวันตกติดกับที่ทำท้องร่องปลูกพืชและค่อยเป็นถนนขาว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 05 มี.ค. 13, 19:54
|
|
หยอดมานิ๊ดเดียว ขอใหญ่ๆ เยอะๆ สวยๆ ชัดๆ แล้วก็เร็วๆด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 05 มี.ค. 13, 20:13
|
|
ค่อยๆเอาแผนที่ปัจจุบันมาวางอย่างเจียมตัว มิบังอาจเทียบแผนที่โบราณ
หาคลองอั้งโล่ไม่เจอ คงถมไปนานแล้ว แต่ถนนสังคโลกทางใต้ ถนนสามเสนทางตะวันออก และถนนขาวทางด้านตะวันตกยังอยู่ คงทำให้ท่านผู้เข้ามาอ่านนึกทิศทางออกนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 05 มี.ค. 13, 20:30
|
|
หยอดมานิ๊ดเดียว ขอใหญ่ๆ เยอะๆ สวยๆ ชัดๆ แล้วก็เร็วๆด้วย
ดูใจร้อนรน ชอบกล .... คิคิคิ  ใหญ่ ๆ สวย ๆ ชัด ๆ ไม่รู้จะเยอะยังไง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 05 มี.ค. 13, 20:38
|
|
ขยายส่วนหน้าบ้านสามเสน ที่มีตึกหลักสามหลัง อาคารหลังประธานของพื้นที่ ด้านหน้าจัดให้มีการขุดบ่อน้ำ ส่วนอาคารหลังเล็กกว่าทำทางเดินเป็นทางวนรอบ ๆสวน ด้านหลังอาคารหลังเล็กมีสิ่งก่อสร้างสี่เหลี่ยมผืนผ้าตั้งอยู่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 05 มี.ค. 13, 20:42
|
|
พื้นที่สวน สร้างเป็นภูเขาไว้ สี่ลูก พร้อมทางเดินรอบ ๆ สามเสนปาร์ค
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 05 มี.ค. 13, 20:50
|
|
หยิบแผนที่อีกระวางเทียบกัน อันนี้ พ.ศ. ๒๔๕๓ ของโรงเรียนข้าราชการพลเรือน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บ้านสามเสนปาร์คหลังผ่านภาวะล้มละลาย ถูกยึดเข้าเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แล้วก็กลายมาเป็น "วชิรพยาบาล"
โครงสร้างสิ่งก่อสร้างยังคงเดิม แต่อาคารประธานหลังบนเหมือนจะต่อเติมยื่นออกไปชิดรั้วด้านเหนือเพิ่มมากขึ้น คลองอั้งโล่ยังสวยงามเช่นเดิม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 06 มี.ค. 13, 07:07
|
|
เสียดายที่หารูปบ้านพระสรรพการและป๊ากสามเสนได้เพียงเท่านี้ แต่กระนั้นก็พอเพียงที่จะบอกอะไรต่ออะไรให้คนสมัยนี้ได้รู้ได้พอควร
Twentieth Century Impressions in Siam เขียนเรื่องราวของพระสรรพการในฐานะบุคคลชั้นสูงของสังคมไทยสมัยรัชกาลที่๕ พร้อมลงรูปประกอบถึงสามหน้าอย่างชื่นชม ผมเห็นคราวใดก็สนใจใคร่ทราบประวัติของท่านผู้นี้ต่อ แต่แล้วก็หันไปสนใจเรื่องอื่นก่อนทุกที จนกระทั่งครั้งนี้ ครั้นทราบแล้วก็อดนำมาแบ่งปันในเรือนไทยมิได้ Twentieth Century Impressions in Siam คงจะทำต้นฉบับขึ้นก่อนตีพิมพ์หนังสืออย่างน้อยปีสองปี ข้อมูลที่นำมาเขียนจึงน่าจะประมาณปี๒๔๔๙-๕๐ ตามที่ผมแปลความมาลงข้างล่าง
พระสรรพาการหิรัญกิจ เป็นบุตรคนที่สามของพระพรหมภิบาล ราชองครักษ์ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในวงราชการและเป็นผู้ที่ได้รับความเคารพนับถืออย่างกว้างขวางในสยาม เมื่อจบการศึกษาแล้ว ท่านได้เข้ารับราชการอยู่ร่วมสิบปีภายใต้พระบัญชาของพระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เสนาบดีพระคลังมหาสมบัติ การจัดตั้งธนาคารสยามกัมมาจลและการที่ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทำให้ท่านต้องลาออกจากราชการ มาอุทิศเวลาทั้งหมดทำงานให้แก่กิจการดังกล่าวเพียงแห่งเดียว ความสำเร็จและความมั่นคงของธนาคารแห่งนี้ได้แสดงถึงความสามารถในการบริหารจัดการและความรอบรู้ในด้านการเงินของท่านเป็นอย่างดี พระสรรพาการเป็นนักสะสมของโบราณชั้นยอด ได้เคยเดินทางไปแล้วอย่างทั่วถึงในสหพันธรัฐมลายูและอินเดียตะวันตก(อินโดนีเซีย) บ้านส่วนตัวของท่าน ซึ่งมีชื่อเสียงว่างามที่สุดในกรุงเทพด้านนอกพระราชวังนั้น ได้จัดตั้งของที่ระลึกงามๆได้มาจากการเดินทางเหล่านั้น บริเวณสวนที่อยู่โดยรอบคฤหาสน์ทั้งสองเปิดให้สาธารณะชนเข้าชมตลอดเวลา และมีโรงละครเล็กๆชั้นเยี่ยมที่เพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดแสดงการละครสมัยใหม่ครบครัน พี่ชายคนที่สองของพระสรรพาการเคยไปยุโรปมาสองครั้งแล้ว และครั้งสุดท้ายได้นำน้องชายคนเล็กที่สุดไปด้วย น้องคนนี้ตั้งใจจะทำงานธนาคาร และกำลังได้รับการศึกษาอย่างเข้มข้นอยู่ในประเทศอังกฤษ พระสรรพาการสมรสกับคุณทรัพย์ ธิดาของข้าราชการที่โดดเด่นอีกท่านหนึ่ง
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 06 มี.ค. 13, 08:04
|
|
แบงก์สยามกัมมาจลตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้ๆกับตลาดน้อย ซึ่งเป็นย่านคนจีนและพ่อค้าฝรั่งที่ธนาคารต่างประเทศยุคแรกในสยามมากระจุกตัวอยู่ อันมี ธนาคารอินโดจีนของฝรั่งเศส(บนซ้าย) ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้(ล่างขวา) ธนาคารชาร์เติร์ด ของอังกฤษ และธนาคารจีนสยามหรือธนาคารยู่เสงเฮง(ล่างซ้าย) เพื่อความสะดวกของลูกค้าที่ดำเนินกิจการนำเข้าส่งออก โรงสี โรงเลื่อย โกดังสินค้า ข้าว และอื่นๆ
พระสรรพการก็เป็นบุุคคลระดับนายธนาคารอินเตอร์ที่มีรูปอยู่ในกรอบขวามือด้านบนนั่นเลยทีเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 06 มี.ค. 13, 08:24
|
|
สำนักงานธนาคารสยามกัมมาจลเป็นอาคาร๓ชั้นขนาดกลางที่มีความสวยงามประณีตตามแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกในยุค “โบซาร์” (Beaux Arts) ผสมกับ “นีโอคลาสสิก” (Neo-classic) ออกแบบโดยสถาปนิกชาวอิตาเลียนผู้มีชื่อเสียงในกรุงสยามในขณะนั้น คือ นายอันนิบาเล ริก๊อตติ (Annibale Rigotti) และนาย มาริโอ ตามันโย (Mario Tamagno) ทั้งคู่ได้รับการศึกษาด้านสถาปัตยกรรมและศิลปะอย่างดีเยี่ยมจากประเทศอิตาลี ได้เข้ามารับราชการอยู่ที่กระทรวงมหาดไทยในช่วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงกำลังพัฒนาสยามให้ทันสมัยในแนวทางของชาวตะวันตก บุคคลทั้งสองได้ฝากฝีมือการสร้างพระที่นั่ง ปราสาทราชวัง ถนน สะพาน และคฤหาสน์ต่างๆไว้ในเมืองไทยมากมาย ผลงานชิ้นเอกก็คือพระที่นั่งอนันตสมาคมนั่นเอง
บริษัทที่ดำเนินการรับเหมาก่อสร้างอาคารของสยามกัมมาจลหลังนี้ได้แก่ ห้างยี ครูเซอร์ เสียค่าออกแบบก่อสร้างรวมค่าวัสดุวัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่นำเข้าจากเสปญเป็นส่วนใหญ่ เป็นเงินราว ๓๐๐,๐๐๐บาท
ดูราคาค่าก่อสร้างแล้วยังงงๆว่า งบสร้างบ้านและสวนของพระสรรพาการอยู่ที่๘๐,๐๐๐บาทเท่านั้น อะไรจะขนาดนี้
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 06 มี.ค. 13, 10:19
|
|
ยังสงสัยเรื่องราคาบ้านเหมือนกันค่ะ มัน ๘๐๐๐๐ บาท หรือ $๘๐๐๐๐ หรือ ๘๐๐๐๐ ปอนด์กันแน่ เพราะพระที่นั่งอนันตสมาคม สร้างด้วยราคา ๑๕ ล้าน ค่าบ้านคุณพระสรรพาการทั้งหลังใหญ่ หลังเล็ก แถมโรงละคร อาจจะน้อยกว่า แต่ก็ไม่น่าจะแค่แปดหมื่นเท่านั้น ต่อให้ไม่รวมค่าที่ดินก็เถอะ ถ้าบอกว่าแปดแสนก็ยังถือว่าราคาถูกเสียอีก มันน่าจะเป็นล้านขึ้นไป
เคยได้ยินมาว่าวังบางขุนพรหมราคา ๓ ล้าน ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|