เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 12
  พิมพ์  
อ่าน: 109518 บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 12 มิ.ย. 14, 13:03

adminไม่เข้ามาตอบ ตัวสำรองเลยต้องลงสนาม

ภาพที่สแกนได้ จะเป็น jpg ซึ่งคุณคงจะsaveไว้ในไฟล์ใดไฟล์หนึ่ง
การโหลดเข้าหน้าในเรือนไทย คุณต้องคลิ๊กที่ตอบก่อน ต่อด้วยตัวเลือกเพิ่มเติม แล้วกดBrowseเพื่อเลือกไฟล์ดังกล่าวและรูปๆนั้น เมื่อคลิ๊กที่รูป url addressของรูปจะปรากฏขึ้นเอง หลังจากนั้นคุณก็ส่งข้อความได้

ลองดูนะครับ ไม่ยาก แต่คุณอาจต้องย่อรูปก่อน อย่าให้ใหญ่กว่า 250KB
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 12 มิ.ย. 14, 13:05

ช่วยคุณ tita  ยิงฟันยิ้ม

ดูจากแผนที่นี้  พื้นที่ระหว่างถนนขาวกับแม่น้ำเจ้าพระยา  เป็นล็อกๆ  เริ่มจากทิศใต้
- วัดราชผาติการาม (วัดส้มเกลี้ยง)
- คลอง
- [บ้านพระยาอรรถกิจ (พ่อตา อ. สัญญา ธรรมศักดิ์ - นพ. เสริมศักดิ์ เพ็ญชาติ ] [วัดส้มเกลี้ยง]
- วังกรมหมื่นทิวากร (โรงเรียนเขมะสิริอนุสรณ์)
- วังพระองค์เจ้าวิวัฒน์ไชย ไชยยันต์ (มจ. วิวัฒน์ไชย ไชยยันต์)(โอรส ก. มหิศร) (ภัตตาคารบ้านคุณหลวง)
- วังกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (ต้นสกุลไชยยันต์) โอรสองค์สุดท้อง ร.๔  อนุชา ร.๕ (เป็นผู้ก่อตั้ง ธนาคาร - ธ.ไทยพาณิชย์)  ทรงอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงสุภางค์ภักดิ์ จรูญโรจน์  เป็นผู้สร้างตึกไชยยันต์ ตึกสามพี่น้อง โรงเรียนวัดราชาธิวาส (ดับเพลิงสามเสน)
   ล็อกนี้ช่วงด้านติดถนนขาวส่วนหนึ่งกั้นเว้าเข้ามาเป็น ๒ แปลง  แปลงหนึ่งเขียนว่าตึกคหบดี ณ นคร  อีกแปลงเขียนว่าตึก
- คลอง
- [วังพลเรือตรี นพ. หม่อมเจ้าถาวรมงคล ไชยยันต์ (โอรส ก. มหิศร)] [คานเรือไหหลำ]
ริมแนวด้านนี้เป็นห้องแถวตลอดแนวที่ชิดถนน (ที่ต่อมาจากถนนสุโขทัย) แต่เขียนชื่อว่าถนนดาวข่าง (หรือดาวช่าง?)

ปล. ข้อความเขียนตามแผนที่ค่ะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 12 มิ.ย. 14, 15:36

ขอบคุณคุณเพ็ญชมพูและคุณ Navarat.C มากค่ะ  ในหนังสือมีรูปตึกเหลืองอยู่รูปหนึ่ง  เดี๋ยวจะลองกลับไปย่อรูปและแนบไฟล์ตามแนวทางที่แนะนำค่ะ

ในบทที่ศิษย์เก่าได้มาเล่าถึงความทรงจำ  มีพูดถึงตึกเหลืองอยู่บ้าง  โดยเฉพาะในรุ่นแรกๆ

คุณยุพิน  วีรานุวัตติ์ (รุ่นที่ ๑)  อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลเกื้อการุณย์ (วชิรพยาบาล)  เล่าไว้ว่า
"ตึกวชิรานุสรณ์ (ตึกเหลือง)  เป็นตึกโบราณที่คลาสสิกมาก  เป็นทั้งตึกเรียนและหอพัก"
"ด้านชีวิตความเป็นอยู่ของนักเรียนพยาบาล  บรรยากาศการอยู่หอพักที่ตึกเหลืองแบ่งเป็นชั้น ๒ กับชั้น ๓  ดิฉันอยู่ชั้น ๓  ห้องหนึ่งมี ๖ -๗ เตียง  แยกย้ายกันนอนตามตัวอักษร โดยมีอาจารย์ผอบ  จักษุรักษ์ เป็นอาจารย์ฝ่ายปกครอง  อาจารย์มีความใกล้ชิด  ให้การดูแลลูกศิษย์อย่างทั่วถึงและอบอุ่นเสมอทั้งการกินและการนอน  ประกอบกับที่ดิฉันชอบช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสัญชาตญาณด้านจิตอาสา  จึงเป็นคนแรกของรุ่นที่อาสาอยู่ในห้องอินเฟิร์มของรุ่น  แต่ขณะเดียวกันการเรียนพยาบาลเป็นการเรียนหนัก  ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ  ตื่นเช้าต้องไปอาบน้ำหลังตึกเหลือง  ตักน้ำใส่กาละมัง  หิ้วน้ำไปซักผ้า  กลางคืน ๑ ทุ่มเข้าห้อง Study  แล้วสวดมนต์ ๒ ทุ่มก่อนขึ้นห้องนอน  ส่วนกลางคืนเจ้หมวยขายก๋วยเตี๋ยวราดหน้าเพราะมีบ้านพักในโรงเรียน  เราได้แอบอาจารย์ซื้อก๋วยเตี๋ยวมาทานกันในห้องพัก  สมัยเรียนพยาบาลยังอยู่ในช่วงเป็นวัยรุ่น  ตามประสาเด็กมาจากต่างจังหวัด  ไม่เคยจากบ้านมาทำให้ต้องปรับตัวกันมาก  ที่โรงเรียนมีต้นไม้ที่ให้ผลดกมาก เช่น ต้นชมพู่ ต้นมะม่วง และต้นมะละกอ  พวกเราก็เขย่าต้นให้ผลร่วงหล่นลงมา  มะละกอเอามาตำส้มตำ  มะม่วงจิ้มพริกกับเกลือ  ทั้งอร่อยและสนุกตามประสาวัยซน  เสื้อผ้าต้องซักรีดเอง  กลับบ้านต้องมีญาติมารับจึงจะออกจากหอพักได้  การใช้ชีวิตในหอพักจึงมีทั้งความสนุกสนานกับเพื่อนและความรักผูกพันกับอาจารย์"

คุณนวลจันทร์  เพียรธรรม (รุ่นที่ ๔) )  อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลเกื้อการุณย์ (วชิรพยาบาล)  เล่าไว้ว่า
"ตึกเรียนแสนโก้ของพวกเรา  ก่อนอื่นต้องขอเล่าถึงตึกเรียนเสียก่อน  เพราะชอบมากประทับใจมาก  สมัยนั้นพอเดินเข้ามาด้านหน้า คือถนนสามเสน  แต่ครั้งกระโน้นยังไม่มีตึกสมัยใหม่สูงๆ  ด้านหน้ามีสนามหญ้ากว้างขวางเขียวขจี  มีตึกใหญ่สีเหลืองสไตล์โคโลเนียนตั้งเด่นเป็นสง่า  มีสวนหย่อม มีภูเขา มีถ้ำจำลอง  แต่งแซมด้วยต้นลั่นทม (ต้นลีลาวดี)  ตรงนั้นตรงนี้อยู่ด้านขวามือของตึก"

แต่พอมาถึงรุ่นที่ ๔  คุณนวลจันทร์ฯ เล่าว่า  เรือนนอนเป็น "เรือนไม้ชั้นเดียวเก่าๆ ติดกับคลองตื้นๆ เล็กๆ และรั้วเก่าๆ ด้านถนนสุโขทัย" แล้วค่ะ  แต่งยังคงร่มรื่นอยู่  คุณนวลจันทร์ฯ ก็เอ่ยถึงการปีนต้นชมพู่ลูกดก และต้นมะม่วง ไว้ด้วย
บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 12 มิ.ย. 14, 19:04

ตึกวชิรานุสรณ์  (ตึกเหลือง)

หมายเหตุ : หนังสือไม่ได้ระบุปี พ.ศ. ของภาพค่ะ  แต่ภาพอยู่ในบททศวรรษที่ ๑ (พ.ศ. ๒๔๙๗ - ๒๕๐๗)


บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 12 มิ.ย. 14, 19:10

ภาพนี้อยู่ในหน้าเดียวกัน  ใต้ภาพเขียนว่า "อาจารย์สมรวย  สุขพิศาล กับนักเรียนพยาบาล หน้าตึกวชิรานุสรณ์ (ตึกเหลือง)"


บันทึกการเข้า
NT
มัจฉานุ
**
ตอบ: 92


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 12 มิ.ย. 14, 19:36

เรียนสอบถามว่า ขณะนี้วังเสด็จพระองค์อาทรฯ เป็นบ้านพักหรือสถานที่ราชการ หรือเป็นของภาคธุรกิจครับ ผมทราบเพียงว่าบ้านหัวมุมขวามือ คือสำนักตรวจบัญชีกองทัพบก ส่วนหลังตรงกลางเป็นคอนโดมิเนียม ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 13 มิ.ย. 14, 08:35

แผนที่บล็อกที่ติดกับถนนสามเสนและถนนราชวิถีของ ม.ร.ว. เหมือนหมาย  จรูญโรจน์ ยังไม่ละเอียดพอ คือ มีวังพระองค์เจ้าอาทร บ้านพระยาไกรฤกษ์ และบ้านสกุลไกรฤกษ์



มีแผนที่อีกเวอร์ชั่นหนึ่งจากหนังสือย้อนรอยเจ้าจอมก๊กออ ของ ดร.กัณฑาทิพย์ สิงหะเนติ ซึ่งคัดลอกจาก หนังสือพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕ พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา แสดงว่าบล็อกนี้มีเจ้าของคือ ที่พรัพย์สินฯ พระองค์เจ้าอาทรฯ พระยาประเสริฐฯ และพระยาบุรุษฯ  

คุณวีมีเคยอธิบายไว้ดังนี้

ที่ดินพระราชทานริมถนนราชวิถีฝั่งเหนือนั้นมี ๓ แปลงติดต่อกันครับ  แปลงแรกทางตะวันออกติดกับสี่แยกซางฮี้เป็นของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรนิพยนิภา  ซึ่งมีเจ้าจอมมารดาเป็นพวกไกรฤกษ์  ปัจจุบันตกเป็นมรดกแก่ทายาทของคุณพูนเพิ่ม  ไกรฤกษ์ อดีตเลขาธิการพระราชวัง และท่านผู้หยฺงกุณฑี (สุจริตกุล) ไกรฤกษ์  แปลงกลางเป็นของพระยาประเสริฐศุภกิจ ซึ่งต่อมาตกเป็นมรดกแก่ ดร.พิริยะ  ไกรฤกษ์ ก่อนที่จะเปลี่ยนมือเป็นดุสิตอเวนิวในปัจจุบัน  ส่วนแปลงด้านตะวันตกนั้นเป็นของพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ  ซึ่งปัจจุบันเป็นของกองทัพบก


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 13 มิ.ย. 14, 09:12

อ้างถึง
เรียนสอบถามว่า ขณะนี้วังเสด็จพระองค์อาทรฯ เป็นบ้านพักหรือสถานที่ราชการ หรือเป็นของภาคธุรกิจครับ ผมทราบเพียงว่าบ้านหัวมุมขวามือ คือสำนักตรวจบัญชีกองทัพบก ส่วนหลังตรงกลางเป็นคอนโดมิเนียม ขอบคุณครับ
ข้อมูลจากคุณวิกี้มีว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา (21 เมษายน พ.ศ. 2432 — 23 มีนาคม พ.ศ. 2501) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาชุ่ม (สกุลเดิม: ไกรฤกษ์)

ที่ดินที่สร้างวังของพระองค์ท่านเป็นมรดกทางฝ่ายพระมารดา เมื่อสิ้นพระชนม์จึงทรงยกให้ลูกหลาน ผู้ที่ครอบครองต่อมาคงจะเป็นนายพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ เมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรมแล้ว ได้ยินว่าได้ตกมาเป็นของบุตรชายคนโต คือ นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ ซึ่งปัจจุบันพำนักอยู่ที่นั่นพร้อมด้วยภริยา ม.ร.ว. เบญจาภา (จักรพันธุ์) และลูกๆ
รูปถ่ายของคุณ akkarachai


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 13 มิ.ย. 14, 09:17

กำลังจะโพสต์ภาพตำหนักทิพย์ของ คุณ akkarachai ทีเดียว

รถไฟเกือบชนกันอีกแล้ว  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 13 มิ.ย. 14, 09:33

บ้านของพระยาประเสริฐศุภกิจ (เพิ่ม ไกรฤกษ์) น้องชายของพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์)



นี่คือรูปบ้านของพระยาประเสริฐศุภกิจ ตอนตกเป็นของดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ปัจจุบันเป็นสโมสรของดุสิต อเวนนิว

ปัจจุบันใช้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ดุสิตอเวนิว  เป็นทางเข้าหลักของอาคาร ภายในอาคารชั้นล่างเป็นห้องรับแขกรวม สำนักงานของผู้จัดการอาคาร ห้องจดหมาย ห้องติวและเรียนพิเศษ ชั้นบนมีห้องเรียนพิเศษ ห้องประชุม ห้องพระและนั่งสมาธิ แต่อีกซีกหนึ่งของอาคารถูกปิดตายทั้งชั้นบนและชั้นล่าง

ข้อมูลจาก ดุสิตสโมสร



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 13 มิ.ย. 14, 09:41

ส่วนข้อความนี้คงจะไม่ชนกับใครนะครับ

อ้างถึง
ที่ดินที่สร้างวังของพระองค์ท่านเป็นมรดกทางฝ่ายพระมารดา เมื่อสิ้นพระชนม์จึงทรงยกให้ลูกหลาน ผู้ที่ครอบครองต่อมาคงจะเป็นนายพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ เมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรมแล้ว ได้ยินว่าได้ตกมาเป็นของบุตรชายคนโต คือ นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ ซึ่งปัจจุบันพำนักอยู่ที่นั่นพร้อมด้วยภริยา ม.ร.ว. เบญจาภา (จักรพันธุ์) และลูกๆ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 13 มิ.ย. 14, 10:10

บ้านพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสำนักงานตรวจบัญชีกองทัพบก
 
บริเวณที่ตั้งสำนักงานตรวจบัญชีกองทัพบก เดิมคือ บ้านพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์) ผู้รับราชการสนองพระเดชพระคุณพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี ถึง ๓ แผ่นดิน ท่านได้ถวายตัวเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็ก ใน รัชกาลที่ ๕  ด้วยความอุตสาหะและจงรักภักดีจนได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้เป็นผู้ตามเสด็จอย่างใกล้ชิดโดยตลอด ท่านได้ทุ่มเทให้กับการรับราชการสนองพระเดชพระคุณ จนแทบไม่ได้กลับบ้าน ซึ่งอยู่ไกลออกไป

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานที่ดินบริเวณปลายถนนราชวิถีให้ท่านได้ปลูกสร้างบ้านพักอาศัย เพื่อสะดวกในการเดินทางไปรับราชการ และยังพระราชทานเงินถึง ๓๐๐ ชั่ง เพื่อใช้ในการปลูกสร้างบ้าน หลังใหญ่จึงได้สร้างขึ้นด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก โดยอาศัยช่างก่อสร้างชาวต่างประเทศ ชุดเดียวกับที่สร้างพระที่นั่งอนันตสมาคมใช้เวลาก่อสร้างประมาณ ๖ ปี  โดยท่านเป็นผู้วางแบบแปลนเองทั้งหมดหลังคาทรงปั้นหยา อวดพื้นหลังคา ด้วยกระเบื้องว่าว เจาะตกแต่งช่องหน้าต่างเล็ก ๆ บนหลังคา

วันประวัติศาสตร์ของบ้านหลังนี้คือวันที่ ๑๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๔๘ ด้วยเป็นวันทำบุญขึ้นบ้านใหม่ โดยเป็นวันที่ รัชกาลที่ ๕ และ รัชกาลที่ ๖ ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ทรงเสด็จพระราชดำเนินเหยียบบ้านหลังนี้ทุกห้อง เพื่อเป็นสิริมงคล ทรงเสวยพระกระยาหารโดยพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ เป็นผู้ถวายพระกระยาหารด้วยตนเอง

กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๑

นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๒๒ เป็นต้นมา  สำนักงานตรวจบัญชีกองทัพบกคือผู้รับผิดชอบสถานที่แห่งนี้ได้พยายามอย่างยิ่งที่จะรักษาคุณค่าและความงดงามของสถานที่นี้ไว้ แต่ก็ยากเกินกว่าที่จะดำเนินการได้โดยลำพัง จากวันนั้นถึงปัจจุบันกว่า ๙๘ ปี อาคารที่โดดเด่นและสะดุดตาหลังใหญ่ยังคงตั้งตระหง่านอยู่อย่างสงบรอการบูรณะให้คงสภาพเดิม เพื่อเป็นทรัพย์ของแผ่นดินที่ทรงคุณค่าตลอดไป

จนกระทั่งปีพุทธศักราช ๒๕๔๕ เป็นต้นมาได้มีการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารอนุรักษ์มาโดยลำดับ เพื่อให้คงไว้ในสภาพสมบูรณ์ที่สุด


ก่อนบูรณะมีสภาพที่ทรุดโทรม แล้วหลังคาก็ผุทุกวันจะมีนกมาทำรัง  
หลังการบูรณะ



มุมนี้สวย

ป.ล. ภาพที่หายไปในกระทู้ "บ้านบุรุษรัตนราชพัลลพ"นามบ้าน นามความดี" ที่เรือนไทย สามารถตามหาได้ที่ วิชาการ.คอม


บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 13 มิ.ย. 14, 11:12

สีเหลืองแบบนี้เป็นสีท็อปฮิตของสมัยนั้นหรือเปล่าคะ  เพราะสังเกตเห็นว่าตึกสวยๆสมัยก่อนมักจะทาสีนี้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 13 มิ.ย. 14, 14:06

สีที่ใช้กันในโบราณกาลได้มาจากวัสดุตามธรรมชาติ ที่หาได้ง่ายหน่อยก็ที่นำดินมาบดเป็นฝุ่น มีเพียงไม่กี่สี คือสีแดง สีขาว และสีเหลือง กลุ่มนี้จะราคาไม่แพงมากถ้าเทียบกับสีดำ ที่ทำมาจากเขม่าไฟ หรือสีครามที่ทำมาจากต้นคราม ซึ่งจะพบได้ในภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นส่วนใหญ่

สีฝุ่นจะต้องถูกนำมาผสมกับน้ำแล้วต้ม ก่อนเติมกาวที่เคี่ยวจากหนังสัตว์ลงไปให้มีความหนืดเหนียว แล้วจึงนำไปทาอาคารต่อไป
สีทาอาคารที่ฮิตที่สุดน่าจะเป็นสีขาว ซึ่งถูกสุด แล้วจึงเป็นสีเหลืองและสีแดงตามลำดับ ผมคิดว่านอกจากสีขาวแล้ว สีเหลืองจะมีธรรมชาติที่กลมกลืนกันได้ดีแม้ความเข้มจะต่างกัน ผิดกับสีแดงที่ยากจะหาฝุ่นที่มีความเข้มของสีเสมอกันหมด ยิ่งทาผนังใหญ่ยิ่งมองเห็นคล้ายกับว่ามันด่าง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 13 มิ.ย. 14, 14:24

คำถามของคุณแอนนา คุณ Bagheera ตอบไว้อยู่ใน พันทิป  มีเหตุมีผลน่าสนใจเหมือนกัน

สังเกตไหมครับว่า   ตึกทั้งหลายตามรูปที่คุณยกมานั้นเป็นสถาปัตยกรรมเก่าของยุโรปทั้งหมดซึ่งไทยคงจะรับเข้าไปในช่วงตั้งแต่รัชกาลต้น ๆ ที่เริ่มติดต่อและส่งลูกหลานไปเรียนยุโรปกัน  สีเหลืองนั้นเป็นที่นิยมใช้ในยุโรปในยุค Barock และตามมาด้วยยุค Neobarock ซึ่งตึกที่สำคัญ ๆ ไม่ว่าจะเป็น  ราชวัง ไปรษณีย์ วิลล่า   สถานีรถไฟ ฯลฯ  จะนิยมทาสีเหลืองที่เรียกว่า Ocker โดยเฉพาะอย่างยิ่งปราสาทของออสเตรีย

และแม้แต่ในปัจจุบันนี้สีเหลืองและสีอิฐ terrocotta ก็ยังจัดว่าได้รับความนิยมรอง ๆ ลงมาจากสีขาวที่เลือกใช้ทาสีบ้านกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ้านในแถบยุโรปใต้แถมเมดิเตอเรเนียน  เพราะสีเหลืองเป็นสีที่ให้ความรู้สึกอบอุ่น และมีพลังของแสงอาทิตย์ และยังแปลนัยยะอื่น ๆ ได้อีกมากมาย  เช่น ทองคำ  นอกจากสีเหลืองแล้วก็จะมีสี earth tone อื่น ๆ  ซึ่งสามารถกลมกลืนกับธรรมชาติแวดล้อมได้เป็นอย่างดี


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 19 คำสั่ง