NAVARAT.C
|
คำจำกัดความนี้ผมไม่ได้ว่าเอง แต่มาจากคำสรรเสริญของฝรั่งในยุคนั้น ความว่า “บ้านส่วนตัวของเขานั้น มีชื่อเสียงร่ำลือกันว่างามที่สุดในกรุงเทพที่อยู่นอกพระราชวัง”
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 05 มี.ค. 13, 14:21
|
|
ภาพที่เป็นประจักษ์พยานเหล่านี้ตีพิมพ์ในหนังสือ Twentieth Impressions of Siam ราวปีค.ศ.๑๙๐๘ ตรงกับพ.ศ. ๒๔๕๑ ซึ่งอยู่ในช่วงปลายรัชกาลที่๕
ขอเชิญทัศนา
ภาพแรก คือ ๑ กำแพงบ้านทางด้านนอกถนน (กำลังก่อสร้างใกล้เสร็จ) ๒ โรงละครขนาดเล็ก ระหว่างการก่อสร้าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 05 มี.ค. 13, 14:22
|
|
ภาพขยายโรงละคร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 05 มี.ค. 13, 14:24
|
|
ภาพต่อไป ๑ คฤหาสน์หลังใหญ่ของบ้าน ๒ คฤหาสน์หลังย่อม ๓ ห้องรับรองแขก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 05 มี.ค. 13, 14:25
|
|
คฤหาสน์หลังใหญ่ของบ้าน แบบชัดๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 05 มี.ค. 13, 14:29
|
|
คฤหาสน์หลังย่อม แบบชัดๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 05 มี.ค. 13, 14:31
|
|
ห้องรับรอง แบบชัดๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 05 มี.ค. 13, 14:33
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 05 มี.ค. 13, 14:36
|
|
บ้านพระสรรพการหิรัญกิจ (เชย อิศรภักดี) ตั้งอยู่ที่ริมถนนสามเสน ทิศเหนือจดถนนสุโขทัย ทิศใต้จดถนนสังคโลก ทิศตะวันออกจดถนนสามเสน ทิศตะวันตกจดคลองอั้งโล่ เป็นบ้านที่พระสรรพการหิรัญกิจ ผู้จัดการแบงก์สยามกัมมาจล เริ่มสร้างในราวพ.ศ. ๒๔๔๘ ด้วยงบประมาณถึงพันชั่ง (๘๐,๐๐๐ บาท) แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๑
บ้านพระสรรพการหิรัญกิจประกอบด้วยตึกสองหลัง คือ ตึกเหลือง และตึกชมพู ตึกเหลืองเป็นตึกใหญ่อยู่ทางทิศเหนือ เป็นอาคารสูง ๓ ชั้น รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิค (Neo-Classic) ผสมผสานรูปแบบและเครื่องตกแต่งสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งหลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน ถัดมาทางทิศใต้มีตึกชมพู เป็นอาคารสูง ๓ ชั้น มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิค (Neo-Classic) เช่นกัน แต่มีความเป็นเอกภาพมากกว่า ภายในทั้งตึกใหญ่และ ตึกเล็กมีการประดับตกแต่งอย่างวิจิตรพิสดาร มีเครื่องเรือนที่นำเข้าจากยุโรปทั้งสิ้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 05 มี.ค. 13, 15:04
|
|
อื้อฮือ.. บ้านศาลาแดงของเจ้าพระยายมราช ขนาดเท่ากับบ้านหลังย่อมของคุณพระสรรพการฯ เท่านั้นเอง
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 05 มี.ค. 13, 15:10
|
|
^ ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาบ้านระดับเหล่านี้น่าจะมโหฬารทีเดียว
พระสรรพการหิรัญกิจเป็นผู้ที่มีความคิดก้าวหน้ากว่าใครในสมัยนั้น ท่านตั้งใจจะเปิดบ้านนี้ให้เป็นสวนสาธารณะให้คนเข้าชมอาณาบริเวณได้ เรียกว่า บ้านหิมพานต์หรือป๊ากสามเสน ในขณะที่เมืองไทยสมัยนั้นยังไม่มีสวนสาธารณะเลยก็น่าจะเข้าท่าอยู่
เมื่อสร้างเสร็จแล้ว สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เสด็จไปเปิดบ้านหิมพานต์ เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๑ นับว่าบ้านหิมพานต์หรือป๊ากสามเสนเป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย
ที่ล้ำสมัยอีกอย่างหนึ่งคือการจำหน่ายเหรียญหิมพานต์ป๊าก ใครซื้อเหรียญนี้แล้วจะมีอำนาจในการเช่าชมสวนได้ รายละเอียดตามโฆษณาที่ลงไว้ แต่ผมดูราคาแล้วก็น่าเป็นห่วงอยู่ว่าจะมีคนซื้อสักกี่คนกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 05 มี.ค. 13, 15:18
|
|
มารู้จักท่านเจ้าของบ้านกันหน่อย
ผู้ที่เป็นเจ้าของคฤหาสน์และสวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทยนี้คือ พระสรรพการหิรัญกิจ(เชย อิศรภักดี) ภายหลังมีบรรดาศักดิ์เป็นพระอรรถวสิษฐสุธี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
giggsmay
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 05 มี.ค. 13, 15:25
|
|
ราคาเข้าขมปาร์คสามเสนท่าจะแพงเกินไปกิจการเลยไปไม่รอด เสียดายตึกเล็กมากๆที่โดนทุบทิ้งไปแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 05 มี.ค. 13, 15:38
|
|
คงไม่มีงบประมาณพอจะรักษา และแพ้ความต้องการใช้พื้นที่ของโรงพยาบาลด้วย ส่วนตึกใหญ่ก็คงอีกไม่นานแหละครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 05 มี.ค. 13, 15:39
|
|
พระสรรพการหิรัญกิจ เดิมชื่อเชย(นั่งขวาสุด) เป็นบุตรคนที่สามของบิดา คือ พระพรหมาภิบาลผู้เป็นสมุหราชองครักษ์ซึ่งเป็นที่รู้จักและให้ความเคารพอย่างกว้างขวางในสยาม เมื่อจบการศึกษาแล้ว ท่านได้เข้ารับราชการอยู่ร่วมสิบปีภายใต้พระบัญชาของพระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เสนาบดีพระคลังมหาสมบัติ โดยเฉพาะในเรื่องของการจัดตั้งธนาคารสยามกัมมาจล ซึ่งทำให้ท่านต้องลาออกจากราชการ มาอุทิศตนในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายในประเทศเพียงอย่างเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|